เหรียญมีสองด้าน แล้วแต่คุณจะเลือกมองด้านไหน
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2549
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
27 พฤศจิกายน 2549
 
All Blogs
 
การค้ารวม 10 เดือนของปี 49

นับจากต้นปีที่ผ่านมา ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องมาเรื่อยๆ จนกระทั่งในเดือนพ.ย.49 ค่าเงินบาททะลุต่ำกว่า 37 บาทเรียบร้อย แต่ตัวเลขการส่งออกตลอด 10 เดือนที่ผ่านมา กลับเกินดุลอยู่ 447.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เกิดอะไรขึ้นกับเศรษฐกิจไทยกันแน่

สาเหตุที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น เกิดจากภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐอยู่ในช่วงชะลอตัว อีกทั้งปัญหาการขาดดุลการค้าอย่างมากของสหรัฐ ก่อให้เกิดความไม่สมดุลในเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้เงินทุนไหลเข้ามาสู่ประเทศในเอเชียเป็นจำนวนมากนับตั้งแต่ต้นปี 2549 สกุลเงินในเอเชียต่างๆจึงพากันแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เมื่อเทียบกับในประเทศเอเชียด้วยกันเองแล้ว นับจากต้นปีที่ผ่านมา ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นร้อยละ 10.2 วอนเกาหลีใต้แข็งค่าขึ้นร้อยละ 7.9 รูเปียห์อินโดนีเซียแข็งค่าขึ้นร้อยละ 7.8 เปโซฟิลิปปินส์แข็งค่าขึ้นร้อยละ 6.9 และดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่าขึ้นร้อยละ 6.1 ผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจึงไม่มากเท่าที่เห็นจากการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาท แต่ส่วนต่างของค่าเงินบาทที่แข็งค่ามากว่าเงินสกุลอื่นก็ยังคงมีผลกระทบอยู่บ้าง

ในมุมมองระดับจุลภาค สามารถแบ่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกได้เป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มผู้นำเข้าสินค้ามาเพื่อแปรรูปเพิ่มมูลค่าสินค้าและส่งออก กลุ่มนี้จะไม่ได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนมากนัก เพราะมูลค่าการส่งออกที่ลดลงได้ถูกชดเชยไปกับต้นทุนมูลค่าการนำเข้าที่ลดลงจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าไปในระดับหนึ่ง แต่ในกรณีกลุ่มผู้ส่งออกสินค้าที่ใช้ปัจจัยการผลิตจากในประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะสินค้าเกษตร จะได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาทเต็มๆ

ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมานับจากต้นปี 2549 ภายใต้การแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องของค่าเงินบาท การค้าระหว่างประเทศของไทยโดยรวมยังสามารถเกินดุลการค้าได้อยู่ 447.1 ล้านเหรียญสหรัฐ นับเป็นสิ่งดีต่อดุลการชำระเงินและทุนสำรองระหว่างประเทศ แต่เมื่อคิดเป็นมูลค่าเงินบาทแล้ว ประเทศไทยกลับขาดดุลการค้าถึง 17,080.2 ล้านบาท นั่นหมายถึงรายได้ของผู้ส่งออกที่จะต้องรับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

สาเหตุที่รายได้ของผู้ส่งออกรายย่อยของไทยในปัจจุบันลดลงอย่างมากมาจากการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาท ดังที่เคยได้กล่าวไปแล้วในเรื่อง การส่งออกโต เกิดจากความมั่งคั่งของใครกันแน่ นั่นคือ โดยปกติแล้ว การตกลงทางการค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย จะมีการตกลงเรื่องสินค้าและราคากันก่อน การแข็งค่าของค่าเงินบาท ทำให้รายได้ของผู้ส่งออกลดลง นั่นคือ หากทำสัญญาขายสินค้าไว้ที่ 1,000 ดอลลาร์ ณ วันนี้ (ค่าเงินบาทเท่ากับ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) ตกลงส่งมอบและชำระเงินในอีก 1 เดือน พอถึงกำหนดชำระเงิน ผู้ส่งออกของไทยจะได้รายได้ 1,000 เหรียญสหรัฐตามสัญญา แต่ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเป็น 36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ผู้ส่งออกไทยจะเสียรายได้ไป 1 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แม้จะมีการประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนไว้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ช่วยได้เพียงระยะ 3-6 เดือนเท่านั้น ในปัจจุบันค่ามาร์จิ้นของธุรกิจอยู่ที่ร้อยละ 5-8 ซึ่งนั่นคือกรอบที่ผู้ส่งออกแต่ละรายจะสามารถแบกรับได้

การเกินดุลการค้าการค้าภายใต้ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง


แม้ในภาพเศรษฐกิจมหภาค การแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาทในขณะนี้ จะยังไม่ใช่เรื่องน่ากังวลต่อการส่งออกของไทยมากนัก เพราะเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งทางการค้าอื่นในภูมิภาคเอเชีย ต่างก็ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกกันถ้วนหน้า แต่ในภาพของจุลภาคหรือผู้ส่งออกรายย่อยแล้ว การแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาท จะส่งผลกระทบให้รายได้ของผู้ส่งออกอย่างแน่นอนครับ


Create Date : 27 พฤศจิกายน 2549
Last Update : 27 พฤศจิกายน 2549 1:15:33 น. 0 comments
Counter : 6354 Pageviews.

TheShadow
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ข่าวเศรษฐกิจไทย
ข่าวต่างประเทศ


ข้อมูลเศรษฐกิจในประเทศ
ข้อมูลเศรษฐกิจต่างประเทศ
ค้นคว้าข้อมูลทั่วไป
แหล่งเชื่อมโยงอื่นๆที่น่าสนใจ
Friends' blogs
[Add TheShadow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.