เหรียญมีสองด้าน แล้วแต่คุณจะเลือกมองด้านไหน
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2549
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
26 พฤษภาคม 2549
 
All Blogs
 
พัฒนาการของนโยบายการเงินของไทย

พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485
ถูกตราขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ซึ่งภายใต้พรบ.ดังกล่าว ธปท.มีหน้าที่ดำเนินธุรกิจของ
ธนาคารกลาง และหน้าที่อื่นๆ
ซึ่งจะถูกกำหนดโดยการตราพระราชกฤษฎีกา

ถึงแม้ในกฎหมายนี้จะมิได้มีการระบุเกี่ยวกับ
การดำเนินนโยบายการเงินอย่างชัดแจ้ง
แต่ก็ได้กำหนดให้คณะกรรมการธนาคารฯ
มีอำนาจในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน
ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธปท. เรียกเก็บจากการเป็นแหล่ง
เงินกู้แหล่งสุดท้าย (Lender of the Last Resource) ของสถาบันการเงิน

นอกจากนี้ ยังให้อำนาจ ธปท.ในการซื้อขายตราสารหนี้
และเงินตราต่างประเทศ
ตลอดจนการให้สินเชื่อแบบมีหลักทรัพย์ค้ำประกันแก่สถาบันการเงิน
ซึ่งในเรื่องเหล่านี้ ธปท.มิได้กระทำเพื่อค้ากำไร
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า กฏหมายมีบทบัญญัติโดยอ้อม
ให้ธปท.เป็นผู้ดำเนินนโยบายการเงินอย่างชัดเจน
และในทางปฏิบัติ ธปท.จะดำเนินธุรกิจของธนาคารกลาง
โดยคำนึงถึง เสถียรภาพทางด้านการเงินและระบบการเงิน
ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว


นโยบายการเงินของไทยสามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วงคือ

1) การผูกค่าเงินบาทกับค่าเงินตราต่างประเทศ
ทั้งในรูปของเงินตราต่างประเทศสกุลเดียว หรือกับตะกร้าเงิน
(Pegged Exchange Rate)
(ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 - มิถุนายน 2540)
นโยบายนี้เริ่มใช้ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา
โดยช่วงแรกใช้วิธีผูกค่าเงินไว้กับสกุลอื่นหรือทองคำ
และเปลี่ยนไปใช้ระบบผูกค่าเงินบาทกับตระกร้าเงิน
ในช่วงพฤศจิกายน 2527 - มิถุนายน 2540
ซึ่งภายใต้ระบบตะกร้าเงินนี้
กองทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Equalization Fund: EEF)
จะเป็นผู้ประกาศค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ในแต่ละวัน
สำหรับการดำเนินนโยบายการเงินในช่วงนี้
มุ่งเน้นเกี่ยวกับการทำให้ปัจจัยภายในประเทศ
สอดคล้องกับการกำหนดค่าเงิน ภายใต้ระบบดังกล่าวเป็นสำคัญ

2) การกำหนดเป้าหมายทางการเงิน (Monetary Targeting)
(กรกฎาคม 2540 - พฤษภาคม 2543)
หลังจากที่ไทยเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยน
มาเป็นแบบลอยตัว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 นั้น
ไทยขอรับความช่วยเหลือด้านการเงินจาก IMF
และได้มีการกำหนดเป้าหมายเชิงนโยบายแบบใหม่ คือ
Monetary Targeting ซึ่งเป็นการกำหนดเป้าหมายทางการเงิน
โดยอิงกับกรอบการจัดทำโปรแกรมกับ IMF
เพื่อให้เกิดความสอดคล้องระหว่างนโยบายการเงิน
นโยบายการคลัง และดุลการชำระเงิน
และให้ได้ภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจและระดับราคาตามที่กำหนดไว้
จากการประเมินภาพเศรษฐกิจดังกล่าว
ธปท.สามารถกำหนดเป้าหมายฐานเงินรายไตรมาสและรายวัน
เพื่อใช้เป็นหลักในการบริหารสภาพคล่องรายวัน
ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับสภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ยในระบบการเงิน
มิให้เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างผันผวนจนเกินไป

3) การกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ (Inflation Targeting)
(23 พฤษภาคม 2543 - ปัจจุบัน)
หลังจากธปท.ได้พิจารณาปัจจัยต่างๆ ในระบบการเงิน
ทั้งปัจจุบัน และในอนาคตแล้ว เห็นว่า
การใช้ปริมาณเงินเป็นเป้าหมายนั้น
มีประสิทธิผลน้อยกว่าการใช้เงินเฟ้อเป็นเป้าหมาย
เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเงินและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจไม่มีเสถียรภาพ
นอกจากนี้ การที่ระบบการเงินในประเทศเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ทำให้ความต้องการสินเชื่อของภาคเอกชน
รวมทั้งความสามารถของระบบการเงิน
ในการขยายสินเชื่อในแต่ละช่วงมีความไม่แน่นอน
ดังนั้น ธปท. จึงเปลี่ยนมาใช้อัตราเงินเฟ้อเป็นเป้าหมาย
ในการดำเนินนโยบายการเงินในปัจจุบันแทน

ภายใต้การการดำเนินนโยบายการเงินแบบกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อนั้น
ธปท.ได้กำหนดให้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน
(14-day Repurchasing Rate: RP-14)
เป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ซึ่งคณะกรรมการนโยบายการเงินจะส่งสัญญาณทางการเงิน
ผ่านอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว
โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการรักษาเสถียรภาพด้านราคา
และเพื่อให้อัตราเงินเฟ้อเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
นอกจากนี้ ธปท. จะทำธุรกรรมต่างๆในตลาดการเงิน
เพื่อช่วยสนับสนุนการดำเนินนโยบายการเงิน
ธุรกรรมที่สำคัญคือ การซื้อ/ขายพันธบัตรในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
และการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange Swap)
ซึ่งการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวในปัจจุบัน
ทำให้ธปท.สามารถดำเนินนโยบายการเงินภายในประเทศอย่างมีอิสระมากขึ้น
โดยธปท.ไม่จำเป็นต้องรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนไว้ ณ อัตราที่กำหนด
การเข้าแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนโดยตรงของธปท.จึงลดลง

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


Create Date : 26 พฤษภาคม 2549
Last Update : 26 พฤษภาคม 2549 11:46:48 น. 0 comments
Counter : 4489 Pageviews.

TheShadow
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ข่าวเศรษฐกิจไทย
ข่าวต่างประเทศ


ข้อมูลเศรษฐกิจในประเทศ
ข้อมูลเศรษฐกิจต่างประเทศ
ค้นคว้าข้อมูลทั่วไป
แหล่งเชื่อมโยงอื่นๆที่น่าสนใจ
Friends' blogs
[Add TheShadow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.