<<
สิงหาคม 2549
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
11 สิงหาคม 2549
 
 
ฝนดาวตกเปอร์เซอิด (Perseid Meteors shower)

ฝนดาวตกเปอร์เซอิด (Perseid Meteors shower)
กลับมาอีกครั้งกับ ฝนดาวตกเปอร์เซอิด (Perseid Meteor Showers) ในเดือนสิงหาคมตรงกับวันที่ 11 หรือ 12 ของทุกปี จนเราคนไทยมักเรียกฝนดาวตกนี้ว่า "ฝนดาวตกวันแม่" เพราะเป็นฝนดาวตกที่มีช่วงสูงสุดอยู่ราววันที่ 12 สิงหาคม ซึ่งตรงกับ วันเฉลิมพระชนน์พรรษา หรือ วันแม่ ของเราชาวไทยนั่นเอง แต่ฝนดาวตกเปอร์เซอิคเกิดขึ้นช่วงฤดูฝนของเมืองไทยทุกที จนเราชาวไทยไม่ค่อยมีโอกาสได้เห็นฝนดาวตกนี้กันเลย แต่สำหรับทางฝั่งยุโรปและอเมริกา เป็นช่วงฤดูร้อนท้องฟ้าโปร่ง จึงกลายเป็นฝนดาวตกยอดนิยมของชาวตะวันตกไป และภาพถ่ายที่ได้ก็จะมากจากทางอเมริกาเป็นส่วนมาก ถึงกระนั้นเราก็ควรจะทำความรู้จักกับฝนดาวตกเปอร์เซอิคไว้บ้าง


ภาพไฟร์บอลของฝนดาวตกเปอร์เซอิค ซึ่งถ่ายไว้โดย Rick Scott และ Joe Orman ใน Arizona เมื่อปีค.ศ.1997 ด้วยฟิล์มโกดัก P1600 เลนซ์มุมกว้าง 21 มม. F/2 เปิดหน้ากล้องนาน 8 นาที

ประวัติความเป็นมา ชื่อ Perseid ถูกตั้งขึ้นโดยนักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี Giovanni V.Schiaparelli เมื่อปี คศ.1866 โดยให้ชื่อนั้นเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับกลุ่มดาว ที่อยู่ใกล้เคียงกับจุด radiant หรือจุดเสมือนแหล่งกำหนดของดาวตก นั่นก็คือกลุ่มดาวเจ้าชายเปอร์เซอุส (Perseus) โดยที่ Schiaparelli สังเกตว่าจุด radiant ของฝนดาวตกนี้ใกล้เคียงกับ แนวการเคลื่อนที่ของดาวหาง 109P/ Swift-Tuttle ซึ่งเข้ามาในระบบสุริยะชั้นในเมื่อปี คศ.1862 โดยมีคาบการโคจรทุกๆ 130 ปี มีวงโคจรเลยดาวพลูโตออกไปอีก ครั้งหนึ่งนักดาราศาสตร์เคยวิตกกังวลว่าดาวหางนี้จะชนโลก แต่ข้อมูลปัจจุบันและการคำนวนใหม่พบกว่า ดาวหางดวงนี้ไม่มีอะไรต้องห่วงแล้ว อย่างน้อยก็อีกก็หลายร้อยปี การกลับมาเยือนของดาวหาง Swift-Tuttle ล่าสุดเมื่อปี คศ. 1992 ก็มาช่วยเพิ่มอนุภาคให้กับ ฝนดาวตกนี้ ช่วยเพิ่มสีสรรให้กับฝนดาวตกนี้น่าสนใจขึ้น ซึ่งมีรายงานว่า ฝนดาวตกเปอร์เซอิดเพิ่มขึ้นราว 200-500 ดวงต่อชั่วโมงในปี คศ.1993


ภาพฝนดาวตกเปอร์เซอิด เมื่อปี คศ.1993

อนุภาคเศษฝุ่นผงของดาวตกเปอร์เซอิดนี้ มีขนาดใหญ่ไม่เกินเม็ดทราย (ดังรูป)


ซึ่งจะเคลื่อนผ่านชั้นบรรยากาศด้วยความเร็วประมาณ 132,000 ไมล์ต่อชั่วโมงหรือ 59 กิโลเมตรต่อวินาที จะช้ากว่าของฝนดาวตกลีโอนิด ซึ่งเร็วประมาณ 72 กิโลเมตรต่อวินาที
ฝนดาวตกเปอร์เซอิดเป็นหนึ่งในฝนดาวตกประจำปีที่น่าสนใจของประเทศแถบยุโรป และอเมริกา เพราะเป็นฝนดาวตกฤดูร้อน แต่ในประเทศไทยส่วนใหญ่จะ Peak สูงสุดในช่วงฤดูฝนที่ให้ฝนดาวตกเปอร์เซอิดไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าที่ควรในบ้านเรา เหมือนอย่างฝนดาวตกลีโอนิด
จุดเด่นของฝนดาวตกเปอร์เซอิดคือมีไฟร์บอลที่โดดเด่นสวยงามเหมือนกับฝนดาวตกเจมินิดในเดือนธันวาคม



การสังเกตฝนดาวตกเปอร์เซอิด
ฝนดาวตกนี้ มีจุดเรเดียน (Radiant) หรือจุดกำเนิดอยู่ในกลุ่มดาวเปอร์เซอุส ใกล้กับดาวแกมม่าเปอร์ซี่ ซึ่งในวันที่ 11-12 สิงหาคม กลุ่มดาวนี้จะเริ่มขึ้นจากขอบฟ้าหลังเที่ยงคืนไปแล้ว ดังนั้นช่วงการสังเกตดีที่สุดต้องราวๆ ตี2- ตี3 แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับช่วงเวลา Peak สูงสุดของฝนดาวตกในปีนั้นๆ การสังเกตให้มองไปทางฟ้าซีกเหนือ ดังรูป (เพราะกลุ่มดาวเปอร์เซอุสเป็นกลุ่มดาวฟ้าซีกเหนือ) แล้วมองท้องฟ้ามุมกว้างๆ ซึ่งดาวตกจะปรากฏห่างจากจุดเรเดียนประมาณ 30-40 องศาโดยรอบ ซึ่งดาวตกจะมีทิศทางผ่านกลุ่มดาวแคสสิโอเปีย กลุ่มดาวสารถี และกลุ่มดาวแอนโดรเมด้า เป็นส่วนใหญ่

ฝนดาวตกเปอร์เซอิด ปี พ.ศ.2549
สำหรับในปีนี้ ฝนดาวตกมีคาบเกี่ยวอยู่ระหว่างวันเสาร์ที่ 12 กับวันอาทิตย์ที่ 13 สิงหาคม หรือหลังเที่ยงคืนวันเสาร์ที่ 12 (ตามเวลาประเทศไทย) ตรงกับวันแรม 4 ค่ำ ดวงจันทร์ครึ่งดวงกำลังอยู่ทางขอบฟ้าด้านทิศตะวันออกพอดีขณะที่กลุ่มดาวเปอร์เซอุสขึ้น จึงทำให้แสงจันทร์เป็นอุปสรรคสำหรับการดูฝนดาวตกเปอร์เซอิดในปีนี้ สำหรับช่วง Peak สูงสุดของฝนดาวตกในปีนี้ จะเกิดขึ้นช่วงหัวค่ำของทางฝั่งอเมริกาเหนือในวันที่ 12 สิงหาคม ซึ่งตรงกับเวลาเช้าวันอาทิตย์ของประเทศไทย ทำให้คาดได้ว่าฝนดาวตกเปอร์เซอิดในปีนี้เมืองไทยมีโอกาสเห็นได้น้อยมาก แม้ท้องฟ้าจะเคลียร์ให้ก็ตาม ...

SkyWatcher.....




Create Date : 11 สิงหาคม 2549
Last Update : 11 สิงหาคม 2549 3:47:26 น. 40 comments
Counter : 1717 Pageviews.

 

โอเล่พาPhil Collins มาเที่ยวบล็อกแป๊ปซี่จ้า


โดย: โอน่าจอมซ่าส์ วันที่: 11 สิงหาคม 2549 เวลา:3:48:51 น.  

 


โดย: โอน่าจอมซ่าส์ วันที่: 11 สิงหาคม 2549 เวลา:3:51:54 น.  

 
ไม่เคยได้ดูฝนดาวตกเลยค่ะ แถวๆนี้จะมีตกบ้างมั๊ยคะ อยากดูจังเลย


โดย: pim(พิม) วันที่: 11 สิงหาคม 2549 เวลา:4:26:03 น.  

 
เคยไปนอนดุกับ พ่อ แม่ แล้วก้อเพื่อนๆ แม่ด้วย แต่แม่มัวแต่ไปเมาส์กะเพื่อนๆเฉยเลย จำได้ว่าเป็นหน้าหนาว พ่อเอาผ้ามาห่อเราเป็นมัมมี่เลยค่ะ


โดย: นุ่มนิ่ม (Mudblood Lady No.7 @ Daigon ) วันที่: 11 สิงหาคม 2549 เวลา:4:36:49 น.  

 
ไม่แน่ใจเลยค่ะว่าจะมีโอกาสได้ดูรึเปล่า เพราะอยู่ในเมืองแสงไฟเยอะ คงต้องออกไปนอกเมือง แต่ก็ไม่รู้จะไปดูที่ไหน อยากดู นอร์ทเทิร์น ไลน์ ด้วยนะคะ ยังไม่เคยได้ดูเลย


โดย: พิม (pim(พิม) ) วันที่: 11 สิงหาคม 2549 เวลา:4:40:29 น.  

 
นอนท่าไหนหว่า
ท่าตรงกะบาลไม่มีนา


โดย: แตนต่อย วันที่: 11 สิงหาคม 2549 เวลา:5:00:56 น.  

 
เพราะรักคือการให้
จึงไม่ได้อะไรกลับคืนมา
เพราะรักคือเวลา
จึงไม่มีค่ากับการรอคอย


โดย: ต้นไม้ที่ชายเล เพอคัสชั่น ณ.ภูเล (เพอคัสชั่น ณ. ภูเล ) วันที่: 11 สิงหาคม 2549 เวลา:6:10:38 น.  

 
แวะมาเยี่ยมคะ


โดย: NIRISSA วันที่: 11 สิงหาคม 2549 เวลา:6:41:16 น.  

 


มาจิบกาแฟไปอ่านไปเพลินดี
สบายดีตามเคยเน๊าะคุณ ????


โดย: อุ้มสี วันที่: 11 สิงหาคม 2549 เวลา:7:23:57 น.  

 
แวะมาแปะความคิดถึง..

...อยากเห็นฝนดาวตก...

อยากอธิษฐานกับดวงดาว...

อยากกินข้าวผัดกระเพราไข่ดาว..

แหะ ๆ..อันหลังเริ่มไม่เกี่ยวกันแย้วเนอะ..

จุ้บ ๆ


โดย: i'm not superman วันที่: 11 สิงหาคม 2549 เวลา:8:50:03 น.  

 
ใครมีข้อมูลดาวอังคารใกล้โลกมั่ง แชร์หน่อยดิTHANKS.


โดย: NOI.CM IP: 203.170.209.53 วันที่: 11 สิงหาคม 2549 เวลา:9:10:06 น.  

 
ไม่ค่อยเห็นดาวเท่าไหร่
รู้แต่ว่าช่วงนี้พระจันทร์สวย
^^


โดย: I am just fine^^ วันที่: 11 สิงหาคม 2549 เวลา:11:07:20 น.  

 
ดาวอังคาร (Mars) ดาวเคราะห์วงนอกดวงแรกที่อยู่ถัดจากโลกไปมีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 ปี 11 เดือน ทำให้ตำแหน่งของดาวอังคารเปลี่ยนกลุ่มดาวไปเรื่อยๆ ดาวอังคารพึ่งมีตำแหน่งใกล้โลก (Opposition) เมื่อเดือนตุลาคม 2548 ที่ผ่านมาและจะกลับมา Opposition อีกครั้งในวันที่ 18 ธันวาคม 2550 หลังจากที่ผ่านช่วง Opposition เมื่อปี 48 มาดาวอังคารมีความสว่างสุงสุด -2.27 และเริ่มลดลงเพราะโลกซึ่งมีความเร็วในวงโคจรเร็วกว่าดาวอังคารก็จะเริ่มทิ้งดาวอังคารห่างออกไปเรื่อยๆ ความสว่างของดาวอังคารก็เริ่มลดลงเรื่อยๆ
ช่วงต้นเดือนมกราคมดาวอังคารอยู่ในกลุ่มดาวแกะ (Aries) มองเห็นได้ในช่วงหัวค่ำ ถ้ายังไม่ตกลบขอบฟ้าไปก่อน ทำให้เราสามารเห็นดาวอังคารได้ตลอดทั้งคืน ดาวอังคารมีการเปลี่ยนตำแหน่งกลุ่มดาวไปทีละน้อยๆ ในสภาวะการเคลื่อนที่ปกติไปทางทิศตะวันออกเข้าไปในกลุ่มดาววัว (Taurus)ในเดือน กพ.และมีค. คนคู่(Gemini)ในเดือน เมย.และ พค. ปู(Cancer)เดือนมิย.......ไปเรื่อยๆจนถึงเดือนกันยายน ดาวอังคารเข้าไปอยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว (Virgo) พร้อมกับที่ดวงอาทิตย์ก็เข้าไปอยู่ในราศีกันย์ด้วย ทำให้ดาวอังคารและดวงอาทิตย์อยู่ใกล้กันมากเกินไป โดนดาวอังคารจะไปอยู่ด้านหลังดวงอาทิตย์ในวันที่ 23 ตุลาคม หลังจากนั้นเราจะเห็นดาวอังคารอีกครั้งก่อนรุ่งเช้าในกลุ่มดาวคันชั่ง และจะเห็นไปจับกลุ่มกับดาวเคราะห์อีก 2 ดวงคือดาวพฤหัส กับดาวพุธบริเวณหัวกลุ่มดาวแมงป่องของเช้าวันที่ 19 ธันวามคม แล้วปลายเดือนธันวาคม 49 ดาวอังคารจะเข้าไปอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกงู (Ophiucus) และมีความสว่างเพียง 1.54






โดย: pooktoon วันที่: 11 สิงหาคม 2549 เวลา:11:57:03 น.  

 
เคยดูลีโอนิดส์หลายปีมาแล้ว ไม่หลับไม่นอนเลยครับ แต่ฝนดาวตกคราวนี้ไม่รุ้จะได้เห็นหรือดูหรือเปล่าครับ แถวบ้านแสงไฟสว่างโล่ ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะครับคุณ pooktoon


โดย: Due_n (Due_n ) วันที่: 11 สิงหาคม 2549 เวลา:12:25:56 น.  

 


จะรอดูนะ....



โดย: อย่ามาทำหน้าเขียวใส่นะยะ วันที่: 11 สิงหาคม 2549 เวลา:12:36:57 น.  

 

เคยถ่อไปดูฝนดาวตกเมื่อหลายปีก่อนโน้นน่ะค่ะ

เห็นบ้าง ไม่เห็นบ้าง หลับๆ ตื่นๆ ดูทั้งคืน... ว่าไปก็อยากไปนอนดูดาวอีกนะคะเนี่ย

^^


โดย: p_jung IP: 61.47.71.134 วันที่: 11 สิงหาคม 2549 เวลา:12:41:53 น.  

 
แบบนี้ต้องรอดูแล้วล่ะครับ


โดย: ดำรงเฮฮา วันที่: 11 สิงหาคม 2549 เวลา:14:40:13 น.  

 
ไม่เคยได้ดูฝนดาวตกเลยค่ะ


โดย: bagarbu (bagarbu ) วันที่: 11 สิงหาคม 2549 เวลา:14:41:05 น.  

 
พี่โมรู้จักแต่ดาวลูกไก่ กุ๊กๆ


โดย: Love U forever. วันที่: 11 สิงหาคม 2549 เวลา:16:44:14 น.  

 


โดย: หนุอุ๋ม (tenno_jung ) วันที่: 11 สิงหาคม 2549 เวลา:17:43:27 น.  

 



สบายดีมั้ยค่ะ วันแม่อย่าลืมบอกรักคุณแม่น่ะค่ะ






โดย: icebridy วันที่: 11 สิงหาคม 2549 เวลา:17:46:21 น.  

 
COME FOR VISIT


โดย: rsamlha IP: 124.120.203.54 วันที่: 11 สิงหาคม 2549 เวลา:17:52:38 น.  

 
ปวดหัวบล๊อคนี้ทุกทีเลย ใกล้ถึงวันแม่แล้วดิ คนที่มีแม่ก็ดูแลเอาใจใส่ท่านดีๆนะ ของพี่ไม่มีนะ แม่เสียไปหลายปีละ แต่ฝันถึงประจำเลย แม่คือผู้ที่เสียสละ และเข้มแข็งที่สุดสำหรับพี่


โดย: เที่ยงตรง วันที่: 11 สิงหาคม 2549 เวลา:20:10:37 น.  

 
ยิ่งกว่าฝนดาวตกของ F4
อีกน้ออ อิอิ
เคยเห็นฝนดาวตกครั้งแรกเมื่อหลายปีมาละ ที่มันตกแบบว่าแว่บๆๆ ทุกนาทีอะค่ะ สวยดี ๆๆ
อธิษฐานได้หลายข้อเลย เพราะมีหลายดวง โฮะๆๆ


โดย: Lvanilla วันที่: 12 สิงหาคม 2549 เวลา:0:13:05 น.  

 
เราคุ้น แต่ ดาวไถ อ่ะค่ะ

ที่มันมีสาวดวงเรียงกันอ่ะ
อยู่ที่ไหนของโลกก็จำได้
ดูง่ายดี


ปล.ไม่นับดาวไถ ที่ใส่หมวกนะค่ะ


โดย: 3L วันที่: 12 สิงหาคม 2549 เวลา:4:16:48 น.  

 
แก้ไข " มีสามดวงเรียงกันค่ะ "


โดย: 3L วันที่: 12 สิงหาคม 2549 เวลา:4:18:26 น.  

 
หมอนวดชอบเรียนรู้เรื่องบรรยากาศนอกโลกด้วยค่ะ ที่บ้านมีกล้องดูดาวด้วย ได้ดูแค่ช่วงหน้าร้อนวันที่ท้องฟ้าโปร่ง ขอลงชื่อเป็นหนอนความรู้ด้วยคนค่ะ


โดย: หมอนวดไดอารี่...จ้ะ (Odense ) วันที่: 12 สิงหาคม 2549 เวลา:4:30:30 น.  

 
สวัสดีวันแม่แห่งชาติครับ..วันนี้มาร่วมทำความดีเพื่อถวายแม่ของเรากันนะครับ..


โดย: pooktoon วันที่: 12 สิงหาคม 2549 เวลา:10:00:48 น.  

 


สุขสันต์วันแม่เจ้าค่ะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 12 สิงหาคม 2549 เวลา:10:20:09 น.  

 
วันแม่
ขอให้แม่มีความสุขร่างการแข็งแรง ร่ำรวยเงินทอง
รักแม่นะ แต่ไม่กล้าบอก


โดย: จูน,การตูน IP: 58.147.93.109 วันที่: 13 สิงหาคม 2549 เวลา:11:57:12 น.  

 
ฝนดาวตกครั้งนี้ดีมาก


โดย: เบส IP: 125.24.114.221 วันที่: 13 สิงหาคม 2549 เวลา:16:36:22 น.  

 


โดย: ส IP: 125.24.114.221 วันที่: 13 สิงหาคม 2549 เวลา:16:37:47 น.  

 


โดย: น IP: 125.24.114.221 วันที่: 13 สิงหาคม 2549 เวลา:16:38:11 น.  

 
ฝนดาวตกครั้งนี้สวยมากตรงกับวันเเม่แห่ง....<

โดย: เเมมๆ IP: 203.151.140.118 วันที่: 13 สิงหาคม 2549 เวลา:20:58:50 น.  

 
ก็ดีเหมือนกัน


โดย: ไอบ้าแวะมาดู IP: 202.129.0.164 วันที่: 14 สิงหาคม 2549 เวลา:10:48:11 น.  

 
ไม่เห็นอ่ะค่ะ (จริงๆก็ไม่ได้รอดู) ช่วงนี้แถวฝรั่งเศสฝนตกบ่อยค่ะ ฟ้ามืดเลย


โดย: ตรีนุช3903 วันที่: 14 สิงหาคม 2549 เวลา:21:32:28 น.  

 
ไม่ยักกะเห็จเลยคับฟ้ามืดตื้ดตื๋อ


โดย: คนอยากแจมมม IP: 58.147.89.254 วันที่: 15 สิงหาคม 2549 เวลา:20:47:54 น.  

 
สบายไหม


โดย: ไพศาล IP: 192.168.212.197, 127.0.0.1, 125.27.173.54 วันที่: 31 กรกฎาคม 2552 เวลา:14:26:19 น.  

 

เสียดายไทยอดเห็นฝนดาวตก 'เปอร์เซอิด' วันแม่

ผอ.สถาบันวิจัยดาราศาสตร์เผย 11-12 ส.ค.นี้ จะเกิดปรากฏการณ์ฝนดาวตกเปอร์เซอิด ซึ่งปีนี้จะมีอัตราตกสูงถึง 100 ดวง/ชม. แต่น่าเสียดายที่ประเทศไทยจะมีเมฆเต็มท้องฟ้า แสงจันทร์รบกวน..

วานนี้ (10 ส.ค.) นายบุญรักษา สุนทรธรรม ผอ.สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน) หรือ สดร. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เปิดเผยว่า วันที่ 11-12 ส.ค.ของทุกปี จะมีปรากฏการณ์ฝนดาวตกเปอร์เซอิด (Perseid Meteors shower) หรือฝนดาวตกวันแม่เกิดขึ้น โดยในปีนี้จะมีอัตราการตกสูงถึง 100 ดวงต่อชั่วโมง ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังเที่ยงคืนของวันที่ 11 ส.ค.คาบเกี่ยวเช้าวันที่ 12 ส.ค.

อย่างไรก็ตาม น่าเสียดายที่ประเทศไทยไม่สามารถชมปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ เนื่องจากตรงกับช่วงฤดูฝน มีเมฆกระจายเต็มท้องฟ้า ประกอบกับช่วงเวลาดังกล่าวยังมีแสงจันทร์รบกวน ทำให้ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยไม่สามารถชมฝนดาวตกครั้งนี้ได้ มีเพียงประเทศฝั่งยุโรป และสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อน ท้องฟ้าโปร่ง สามารถมองเห็นปรากฏการณ์ได้ชัดเจน จึงกลายเป็นฝนดาวตกยอดนิยมของชาวตะวันตกไป

นายบุญรักษา กล่าวต่อว่า แต่ประเทศไทยยังมีโอกาสเห็นปรากฏการณ์ฝนดาวตกชนิดอื่นๆ โดยในช่วงเดือน พ.ย. จะมีฝนดาวตกลีโอนิดส์ (Leonids) ซึ่งปีนี้จะเกิดขึ้นหลังเที่ยงคืนของวันที่ 17 พ.ย. ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของท้องฟ้า โดยจะมีอัตราการตกประมาณ 40-50 ดวงต่อชั่วโมง แม้จะไม่มากนัก แต่อาจมีโอกาสเห็นไฟร์บอล (Fire Ball) ซึ่งเป็นฝนดาวตกที่มีความสว่างคล้ายลูกไฟและมีความสวยงามมาก


โดย: bright IP: 118.173.6.32 วันที่: 12 สิงหาคม 2552 เวลา:15:57:50 น.  

 
ครูให้ทำงาน


โดย: mat IP: 118.172.202.34 วันที่: 4 สิงหาคม 2553 เวลา:21:53:58 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 

pooktoon
Location :
ระยอง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




"มีคนให้เรารักก็เป็นสุขแล้ว ยิ่งคนที่เรารัก เขารักเรานั้นสุขยิ่งกว่า" free counters
[Add pooktoon's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com