<<
มกราคม 2550
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
31 มกราคม 2550
 
 
มาร์ส โกลบอล เซอร์เวเยอร์ อาจจะถึงจุดสิ้นสุด ...............

ดูเหมือนว่ายาน มาร์ส โกลบอล เซอร์เวเยอร์(Mars Global Surveyor) ของนาซ่าจะมาถึงจุดสิ้นสุดการดำเนินงานแล้ว ยานนี้เป็นยานที่ทำงานมานานที่สุดและสร้างผลงานได้มากที่สุดในบรรดาปฏิบัติการทั้งหลายที่ถูกส่งไปสู่ดาวเคราะห์แดง


Michael Meyer หัวหน้านักวิทยาศาสตร์การสำรวจดาวอังคาร ที่สำนักงานใหญ่นาซ่า ในวอชิงตัน กล่าวว่า มาร์ส โกลบอล เซอร์เวเยอร์ ได้ทำเกินกว่าที่คาดหวังทุกประการ มันกลายเป็นปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สู่ดาวอังคารที่มีประสิทธิผลมากที่สุด และมันก็อาจจะให้การค้นพบที่มากขึ้นตราบใดที่การสำรวจที่มันได้ทำยังคงต้องวิเคราะห์ผลต่อไปอีกหลายปี กล้องของยานได้ส่งภาพมากกว่า 240,000 ภาพกลับสู่โลก
ยานโคจรลำนี้ไม่ได้ติดต่อกับโลกตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน การวิเคราะห์เบื้องต้นบอกว่าแผงโซลาร์ซึ่งหมุนได้ฝืด เพิ่มโอกาสที่ยานจะไม่มีพลังงานเหลือพอที่จะสื่อสาร วิศวกรกำลังสืบหาความเป็นไปได้อื่นๆ ที่จะอธิบายการเงียบหายของสัญญาณวิทยุ Fuk Li ผู้จัดการโครงการสำรวจดาวอังคารที่ JPL กล่าวว่า โดยความจริงแล้ว เราได้ทำทุกๆ ทางที่จะนำระบบสื่อสารกลับมาอีกครั้ง และเราก็กำลังเผชิญหน้ากับสิ่งที่ว่าการสำรวจจาก มาร์ส โกลบอล เซอร์เวเยอร์ ที่เคยหลั่งไหลมาอย่างมากได้จบลงแล้ว แต่เราก็ยังไม่ล้มเลิกความพยายาม
ความพยายามที่จะติดต่อกับยานและตรวจสอบว่าเกิดอะไรขึ้นกับมันยังคงมีอยู่ต่อไป ยานดาวอังคารลำใหม่ล่าสุดของนาซ่า มาร์ส รีคอนเนสซองค์ ออร์บิเตอร์(Mars Reconnaissance Orbiter) ได้หันกล้องของมันเข้าหา มาร์ส โกลบอล เซอร์เวเยอร์ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน Doug McCuistion ผู้อำนวยการโครงการสำรวจดาวอังคารที่สำนักงานใหญ่นาซ่า กล่าวว่า เราได้มองหามาร์ส โกลบอล เซอร์เวเยอร์ด้วยเครื่องตามรอยดาว(star tracker), กล้องรอบยาน และกล้องความละเอียดสูงบน MRO การวิเคราะห์ภาพเบื้องต้นไม่ได้แสดงให้เห็นร่องรอยของยานเลย ความเป็นไปได้ทางอื่นที่จะศึกษาถึงสถานะของมาร์ส โกลบอล เซอร์เวเยอร์ ก็คือแผนการที่จะส่งคำสั่งเพื่อให้มันเป็นเครื่องส่งสัญญาณซึ่งยานโรเจอร์ลำหนึ่งของนาซ่าจะได้ยิน จะเกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน(ความคืบหน้าล่าสุด เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน โรเวอร์ออพเพอร์ทูนิตี้ตรวจไม่พบสัญญาณจาก มาร์ส โกลบอล เซอร์เวเยอร์ ในระหว่างความพยายามจะทำให้ยานโคจรติดต่อกับโรเวอร์ และก็พยายามอีกครั้งในวันต่อมาแต่ก็ไร้ผลเช่นเดิม)
มาร์ส โกลบอล เซอร์เวเยอร์ ถูกส่งออกสู่อวกาศในวันที่ 7 พฤศจิกายน 1996 และเริ่มโคจรรอบดาวอังคารในวันที่ 11 กันยายน 1997 มันบุกเบิกการชะลอยานด้วยอากาศ(aerobraking) ที่ดาวอังคาร โดยใช้การหย่อนตัวอย่างระมัดระวังลงสู่ชั้นบรรยากาศเพื่อให้เสียดสีเพื่อลดวงโคจรจากรียาวเป็นเกือบกลม จากนั้นปฏิบัติการก็เริ่มการสร้างแผนที่ในเดือนเมษายน 1999 แผนเดิมก็คือตรวจสอบดาวเคราะห์เป็นเวลา 1 ปีดาวอังคารหรือเกือบ 2 ปีโลก จากคุณค่าข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่ส่งกลับโดยยานทำให้นาซ่าต้องยืดอายุปฏิบัติการมา 4 ครั้ง
Tom Thorpe ผู้จัดการโครงการมาร์ส โกลบอล เซอร์เวเยอร์ ที่ JPL กล่าวว่า มันเป็นเครื่องกลที่พิเศษสุดที่ได้ทำสิ่งต่างๆ ที่ผู้ออกแบบไม่เคยคิดว่าจะทำได้แม้จะอยู่ในสภาพปีกหัก, ไจโรสโคปเสียไป 1 ตัว และข้อต่อหมุนเสีย ผู้สร้างและดำเนินงานจะภูมิใจกับตำนานการค้นพบทางวิทยาศาสตร์และยังเป็นปฏิบัติการสนับสนุนปฏิบัติการอื่นๆ ในอนาคต ยานได้สำรวจกำหนดจุดร่อนลงจอดของโรเวอร์แฝดทั้งสองของนาซ่าในปี 2004 และหาจุดสำหรับการร่อนลงจอดในอนาคตองปฏิบัติการฟินิกซ์(Phoenix) และห้องทดลองวิทยาศาสตร์ดาวอังคาร(Mars Science Labaoratory) มันยังจับตาดูสภาวะชั้นบรรยากาศในระหว่างแอโรเบรคของยานรุ่นใหม่กว่า เป็นยานเชื่อมสัญญาณของโรเวอร์และให้ข้อมูลแผนที่เกี่ยวกับสภาวะรอบข้างของโรเวอร์
Glenn Cunningham ซึ่งเคยจัดการโครงการโกลบอล เซอร์เวเยอร์ ตั้งแต่ช่วงพัฒนาและส่ง กล่าวว่า เมื่อเรามองการส่งเมื่อสิบปีก่อน เราประหลาดใจว่าเราจะสร้างปฏิบัติการที่กินเวลานานมากๆ แน่นอนว่าเราไม่คิดว่ามันจะทำงานมาได้ถึงสิบปี
การค้นพบที่สำคัญอื่นๆ เกี่ยวกับดาวอังคารของปฏิบัติการประกอบด้วย
- กล้องของยานพบห้วยลึก(gullies) ที่ตัดที่ลาดชันที่มีหลุมอุกกาบาตอยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งบ่งชี้ทางธรณีวิทยาว่าห้วยลึกนี้ยังใหม่ นักวิทยาศาสตร์แปลผลว่าเป็นหลักฐานของกิจกรรมจากน้ำของเหลว โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เพิ่งเกิดเมื่อไม่นาน
- สเปคโตรมิเตอร์อินฟราเรดแผนที่แร่ธาตุพบแร่อย่างหนึ่งที่รวมตัวกันมากคือสินแร่เฮมาไทต์(hematite) อณูละเอียดซึ่งมักจะก่อตัวภายใต้สภาวะเปียก การค้นพบนี้นำไปสู่การเลือกบริเวณที่อุดมด้วยเฮมาไทต์แห่งหนึ่งเป็นที่ร่อนลงจอดของโรเวอร์ออพเพอร์ทูนิตี้ของนาซ่า
- ความวัดความสูงด้วยเลเซอร์(Laser altimeter) ได้สร้างแผนที่ภูมิประเทศทั่วทั้งดาวอังคาร เครื่องมือนนี้เผยให้เห็นหลุมอุกกาบาตที่กร่อนมากหรือถูกฝังไว้หลายๆ แบบที่ยากเกินกว่าที่การสำรวจครั้งก่อนๆ ที่ตรวจพบได้ และสร้างแผนที่หุบลึก(canyon) ภายในขั้วน้ำแข็ง
- เครื่องวัดแม่เหล็ก(magnetometer) พบร่องรอยซากสนามแม่เหล็กซึ่งบ่งชี้ว่าดาวอังคารครั้งหนึ่งเคยมีสนามแม่เหล็กทั่วทั้งดาวเคราะห์เหมือนกับโลก ซึ่งห่อหุ้มพื้นผิวจากรังสีคอสมิคที่อันตรายร้ายแรงไว้
- กล้องพบบริเวณรูปร่างเหมือนพัดที่มีขอบหยักโค้งซึ่งเป็นหลักฐานถึงปากแม่น้ำโบราณที่เกิดขึ้นจากน้ำที่ไหลกินเวลายาวนานบนดาวอังคารในอดีต
- ตามการทำงานอย่างยาวนานทำให้ มาร์ส โกลบอล เซอร์เวเยอร์ ตามรอยการเปลี่ยนแปลงตลอดวัฏจักรประจำปีที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าช่วงฤดูร้อน 3 ครั้งติดๆ กันบนดาวอังคารพบการหายไปของน้ำแข็งแห้ง(คาร์บอนไดออกไซด์) ใกล้ขั้วใต้ของดาวอังคารที่หดลงจากปีที่ผ่านๆ มา ซึ่งบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศที่เกิดขึ้น

แหล่งข่าว
jpl.nasa.gov : NASA’s Mars Global Surveyor may be at mission’s end

rook (sararook@hotmail.com) : รายงาน






Create Date : 31 มกราคม 2550
Last Update : 31 มกราคม 2550 15:34:34 น. 15 comments
Counter : 3766 Pageviews.

 


โดย: pooktoon วันที่: 31 มกราคม 2550 เวลา:15:45:01 น.  

 
แฟนคนที่หนึ่ง มา เยือน รอกิ๊กคนถัดไป มาตอบ


โดย: ดาริกามณี IP: 125.24.184.134 วันที่: 31 มกราคม 2550 เวลา:16:30:26 น.  

 
ดาริ แกเล่นแรงงี้เดี๋ยวแฟนเราเข้ามาเห็น เราก้อโดนตีหัวแตกละสิ เพิ่งเคลียร์กันไปได้ไม่ถึง อาทิตย์เลย เหอๆๆๆ



โดย: pooktoon วันที่: 31 มกราคม 2550 เวลา:16:43:58 น.  

 
สวัสดีค่ะ มาเยี่ยมเยียนค่ะ
ทานข้าวหรือยังค่ะ
สบายดี นะค่ะ
(@^_^@)


โดย: STAR ALONE (STAR ALONE ) วันที่: 31 มกราคม 2550 เวลา:18:09:58 น.  

 


โดย: กิ๊กนัมเบอร์ปลาทู IP: 125.24.171.92 วันที่: 31 มกราคม 2550 เวลา:18:35:12 น.  

 
ตามมาอ่านคร้าบบบ แบกเอาสาระกลับบล็อกอีกแล้ว เปงไงบ้างครับพี่ pooktoon? สบายดีนะครับพี่


โดย: Due_n วันที่: 31 มกราคม 2550 เวลา:20:18:59 น.  

 
ขอบคุณสำหรับความรู้ที่มอบให้ ...


โดย: @ ปั๊กกาเป้า @..อิอิ วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:0:04:56 น.  

 
ดาริ แกเล่นแรงงี้เดี๋ยวแฟนเราเข้ามาเห็น เราก้อโดนตีหัวแตกละสิ เพิ่งเคลียร์กันไปได้ไม่ถึง อาทิตย์เลย เหอๆๆๆ



โดย: pooktoon 31 มกราคม 2550 16:43:58 น.
------------------------

อ๊ะ... เดี๋ยวกิ๊ก นัมเบอร์ ต้นไม้ จะมาละแปะเม้นต์ ในไม่ช้า ( ให้ตูนไปตามแก้ตัว อีก รอบ ....คริ คริ )

อ๊ะ หัวแตกชิมะ มามะ เย็บห้าย...

(ซวยแน่แก...)




* ปล. ชีวิตนี้หามี อะไรเป็นสุขเท่าได้แกล้งเพื่อนชื่อตูน อีก ว้า...


โดย: ดาริกามณี วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:8:53:55 น.  

 
มารอดูกิ๊กนัมเบอร์ ทรี โฟร์ มด..แอร๊ยยย..เค้าม่ายย้อมมมมมม....

อิอิ


โดย: กิ๊กนัมเบอร์ปลาทู (i'm not superman ) วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:18:11:51 น.  

 
สวัสดีเจ้าค่ะ
ต้องขอบอกว่าขอปริ้นหน่อยนะเจ้าค่ะ เอาไว้อ่านนะเจ้าค่ะ ขอบคุณมากเจ้าค่ะที่แวะที่เยี่ยม เสร็จภาระเรื่องเงานแล้วเจ้าค่ะ ไว้มาเยี่ยมบ่อย ๆ เจ้าค่ะ



โดย: บูรพกาล (กลกาล ) วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:0:59:16 น.  

 
ได้ยินชื่อมาตั้งนานแล้วน่ะยานลำนี้...เหอ ๆ ส่งไปนี่ทำงานคุ้มเลย


โดย: Skyman (Analayo ) วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:12:28:46 น.  

 
hosting by pHosted.com

เอาดอกไม้จากเขาใหญ่มาฝากค่ะ


โดย: opleee วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:15:17:00 น.  

 
อยากอ่านเรื่องร่องรอยน้ำในดาวเคราะห์อื่นๆ โดยเฉพาะดาวอังคารอ่ะพี่ รีเควสสสคร้าบบ พี่ pooktoon สบายดีนะครับ?


โดย: Due_n วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:21:40:04 น.  

 
คุยอารัยกานน้อ


โดย: เวฟ IP: 203.156.162.1 วันที่: 13 พฤศจิกายน 2551 เวลา:9:29:14 น.  

 
คัยรู้เรื่องแม่เหล็กบ้างคร๊าบบบ....บอกน่อย
อยากได้เครื่องวัดค่า G ของแม่เหล็กน่ะ


โดย: เวฟ IP: 203.156.162.1 วันที่: 13 พฤศจิกายน 2551 เวลา:9:32:14 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 

pooktoon
Location :
ระยอง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




"มีคนให้เรารักก็เป็นสุขแล้ว ยิ่งคนที่เรารัก เขารักเรานั้นสุขยิ่งกว่า" free counters
[Add pooktoon's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com