ไปกด Link ได้ที่แฟนเพจ https://www.facebook.com/skymantaf หรือ Follow ได้ที่ Twitter https://twitter.com/skymantaf หรือที่ http://www.thaiarmedforce.com นะครับ
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
2 กรกฏาคม 2552
 
All Blogs
 
โครงการจรวดเพื่อความมั่นคง

ภูมิภาคอาเซียนกำลังเข้าสู่ยุคของจรวดหลายลำกล้องไปจนถึงขีปนาวุธทางยุทธวิธี เริ่มต้นด้วยเวียดนามที่จัดหาจรวด SCUD B/C (ไม่ทราบจำนวน) มาประจำการ, มาเลเซียที่จัดหาจรวด ASTROS จากบราซิลจำนวน 2 กองพัน , สิงคโปร์ที่จัดหาจรวด HIMARS จากสหรัฐจำนวน 18 ระบบ .... เร็ว ๆ นี้มีข่าวว่าพม่าอาจจะจัดหาขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์จากเกาหลีเหนือ ยังไม่ทราบจรวดของจรวดที่พม่าอาจจะจัดหาจากเกาหลีเหนือ (ถ้าจัดหาจริง?) นะครับ แต่ถ้าพิสัยราว ๆ 1,500 กิโลเมตร ก็น่าจะเป็นพวกจรวดตระกูลโนดอง-1 ซึ่งเกาหลีเหนือส่งออกให้กับบางประเทศเช่นอิหร่าน (ชื่อเรียกในอิหร่านคือ ซาร์ฮาร์บ-3) ครับ

โครงการจรวดเพื่อความมั่นคงเกิดขึ้นและได้รับอนุมัติจากสภากลาโหมในราวเดือน กันยายน 2549 ครับ เท่าที่มีข้อมูลคือ โครงการในเพสแรกแบ่งเป็น 3 โครงการคือ พัฒนาจรวดหลายลำกล้องขนาด 160 มิลลิเมตรระยะยิงราว 40 กิโลเมตร (น่าจะคล้ายระบบ LAROM ของโรมาเนีย) การพัฒนาจรวดหลายลำกล้องไม่นำวิถีที่มีระยะยิง 80 กิโลเมตร ระยะยิงน่าจะใกล้เคียงกับ M270 MLRS ของสหรัฐครับ และสุดท้ายก็คือการพัฒนาพัฒนาขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ Turbojet และนำวิถีด้วย GPS และ INS ที่พิสัยยิงไม่เกิน 300 กิโลเมตร คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณจำนวน 437 ล้านบาทเมื่อต้นปี 2551 เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์กรมหาชน) ในราวปลายปี 2551 กลาโหมก็อนุมัติโอนโครงการและงานวิจัยไปยัง สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์กรมหาชน) ครับ โดยการพัฒนาทั้งหมดนั้นร่วมมือกับประเทศจีนภายใต้การลงนามระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทยกับประธานคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2550 ในระหว่างเยือนประเทศไทย และโครงการจะเป็นแม่บท 10 ปี ระหว่างปี 2550-2559 ครับ



ข่าวที่ออกมาบ้างก็คือกองทัพกำลังสร้างโรงงานประกอบเครื่องยนต์เทอร์โบเจ็ตที่ลพบุรีเมื่อราวปีที่ผ่านมา และมีการจัดหาจรวดหลายลำกล้อง WS-1B จากประเทศจีนจำนวน 9 ระบบเข้ามา (ไม่แน่ใจเรื่องจำนวน) คาดว่าเพื่อเปิดโครงการนี้ โดยรวมแล้วเมื่อจบแผนแม่บทในปี 2559 ไทยน่าจะทำการพัฒนาจรวดที่คล้าย ๆ WS-1 ของจีนได้ครับ

ตรงนี้คือข้อมูลที่รวบรวมมาตามสื่อต่าง ๆ ครับ ข้อมูลมันกระจายกันมาก ผมเอามาต่อเข้าด้วยกันให้ตัวเองพอเห็นภาพ แต่ข่าวไม่ค่อยมีออกเท่าไหร่ครับทั้งในไทยและต่างประเทศ ตอนนี้ไม่รู้เหมือนกันว่าเค้าทำไปกันถึงไหนแล้วครับ แต่ถ้าโครงการดำเนินไปจนเป็นในลักษณะที่คล้าย ๆ โครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ JF-17 ของจีนและปากีสถาน ก็ถือว่าน่าสนใจมากทีเดียวในแง่เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาและการส่งออกอาวุธของไทย

ผมไม่ทราบรายละเอียดและสถานะปัจจุบันของโครงการเหมือนกันครับว่าทำไปถึงไหนแล้ว แต่เท่าที่เปิดตามเอกสารงบประมาณของกลาโหม (ที่มีในเว็บของกลาโหม) มีการอนุมัติงบมาต่อเนื่องหลายปีแล้ว ดังนั้นโครงการคงยังทำต่อไปเรื่อย ๆ ครับ ต้องรอดูหน้าตาของต้นแบบที่ออกมาก่อน ซึ่งถ้าพัฒนาได้และได้เทคโนโลยีระบบนำวิถีและระบบขับดันของจรวดที่ดีพอ ก็อาจจะมีการประยุกต์ไปในจุดประสงค์อื่นเช่นนำไปติดบนเรือรบหรือเป็นจรวดป้องกันฝั่งที่วางกำลังในชายฝั่งทะเล อะไรทำนองนั้นครับ

อาเซียนกำลังเข้าสู่ยุคขีปนาวุธทางยุทธวิธี คงไม่จำเป็นว่าเราจะต้องมีระบบป้องกันภัยทางอากาศแบบ Patriot เต็มประเทศน่ะครับเพราะเราไม่มีงบประมาณมากขนาดนั้น ขออนุญาตวิชาการหน่อยว่า ไอเดียตรงนี้น่าจะเป็นการใช้ทฤษฎีการป้องปราม (Deterrence) และทฤษฎีการถูกทำลายทั้งสองฝ่าย (Mutual Assured Destruction) ซึ่งก็คือ ถ้าอาเซียนมีจรวดพวกนี้กันหมด และมีจำนวนที่มากจนแต่ละฝ่ายคิดว่าถ้ามันถูกยิงออกมาแล้วฝ่ายตนก็คงเสียหายมากจนเกินเยียวยา พอ ๆ กับการที่ตนแน่ใจว่าถ้ายิงออกไปแล้วจะสามารถทำให้ฝ่ายตรงข้ามสายหายจนเกินเยียวยาเช่นกัน สุดท้ายจะไม่มีใครกล้ายิง และมันจะปรับสมดุลของดุลยภาพทางทหารในภูมิภาคนี้ไปเอง อาเซียนเราก็จะปลอดสงครามได้เพราะพม่าก็รู้ว่าถ้ายิงจรวดใส่เราเราก็มีจรวดที่จะยิงพม่าจนเสียหายมากพอกัน มาเลเซียก็รู้ว่าแม้จะถล่มเกาะสิงคโปร์ด้วยจรวดของตนสิงคโปร์ก็มีหมัดสวนที่มาเลเซียยับเยินได้เช่นกัน

ทฤษฎีนี้อาจจะฟังดูตลก แต่มันก็ช่วยในโลกเรารอดพ้นจากสงครามนิวเคลียร์และหยุดสงครามเย็นมาแล้ว ส่วนตัวผมก็เชื่อมั่นในทฤษฎีนี้น่ะครับ

สิ่งที่ผมดีใจ (และแปลกใจ) ว่าชาตินี้รัฐบาลไทยกับกองทัพทำอะไรดี ๆ กับเขาก็เป็น (ด้วยเหรอ?) นั่นก็คือ ในขณะที่เพื่อนบ้านเราเลือกซื้อจรวดเข้าประจำการ เรากลับเลือกร่วมมือกับจีนที่มีประสบการณ์แล้วในการพัฒนาจรวด ข้อดีตรงนี้ ดีกว่าการพัฒนาจรวดด้วยตัวเองคนเดียวทั้งหมด เพราะเราไม่มีกำลังด้านงบประมาณ รวมถึงด้านเทคโนโลยีที่รอบด้านพอจะทำให้สิ่งที่ทำออกมามีประสิทธิภาพได้ สุดท้ายมันอาจจะเป็นโครงการที่เกือบล้มเหลวคล้าย ๆ โครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ Tejas ของอินเดีย (อินเดียเข็ดมาก) แต่ถ้าเราร่วมมือกับจีน จีนมีอะไร เรามีอะไร สามารถมาแชร์กันได้ และการลงทุนร่วมกันก็จะทำให้มันไม่หนักสำหรับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากเกินไป (เป็น Risk-sharing partner) สุดท้าย จีนมีเทคโนโลยีทางฝั่งสังคมนิยมที่เราไม่มี ถ้ามันเข้ามารวมกันได้ก็น่าจะดีกับเรา และถ้ารัฐบาลผลักดันอย่างจริงจังให้มันออกมาในลักษณะที่คล้าย ๆ โครงการพัฒนา JF-17 ของจีนและปากีสถาน มันก็จะทำให้ไทยกลายเป็นประเทศผู้ส่งออกอาวุธได้ในที่สุด

เมื่อเร็ว ๆ นี้มีข่าวออกมาว่าพม่ากำลังสร้างเครือข่ายอุโมงค์ที่จะเป็นฐานทัพใต้ดิน หลายท่านถามว่าจะทำยังไงดี? ซื้อ Bunker Bluster ดีไหม? ซื้อเครื่องบินโจมตีพิสัยใกล้ดีไหม? ส่วนตัวแล้วผมคิดว่าอย่าไปมองเรื่องที่ว่าเราต้องหาอะไรมาทำลายจรวดของพม่าเลยครับ ในสถานการณ์เดียวกันถ้าเปลี่ยนจากการคิดว่าการจัดหาจรวดของพม่าเป็นภัยคุกคามที่ต้องทำลาย มาเป็นภัยคุกคามที่ต้องยกระดับความสามารถของตนเองให้เท่ากับหรือเหนือกว่าพม่า โอกาสสำหรับประเทศเรามันก็จะตามมาอีกมาก ถ้าเรามองเป็นภัยคุกคามันก็จะเป็นภัยคุกคาม ถ้าเรามองเป็นโอกาสมันก็จะเป็นโอกาสครับ

ที่พูดนี้อยากให้มันเป็นจริงมาก ๆ เลย ขอให้มันเป็นจริงแล้วกันครับ

อ่านเพิ่มเติม

"กองทัพบกจะทำบั้งไฟเข้าประจำการ"

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=09-02-2008&group=1&gblog=72

"รู้กันหรือยังว่ากองทัพบกทำวิจัยจรวดกับจีน"

//www.thaiarmedforce.com/forum/viewtopic.php?f=5&t=19&start=15

"เรือดำน้ำพิทักษ์โลกในสงครามเย็น"

นาวาเอก กระแสร์ เม่งอำพัน. นาวิกาธิปัตย์สาร ฉับับที่ 75 วิวัฒนาการของสงคราม (ต.ค. 2551 - ม.ค. 2552). ISSN 0859-5224. หน้า 15 - 30

"การจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์กรมหาชน)"

//www.dti.or.th/news/files/download/070521_PPT_2-Sawetanant.pdf

"สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์กรมหาชน)"

'//www.dti.or.th/


Create Date : 02 กรกฎาคม 2552
Last Update : 5 กรกฎาคม 2552 1:59:46 น. 14 comments
Counter : 6110 Pageviews.

 
อุ๊ยเจิม


โดย: น้าหนูนีล_น้องขวัญ วันที่: 2 กรกฎาคม 2552 เวลา:16:06:26 น.  

 
น้าโย ดึกดื่นไม่หลับไม่นอน อยู่หน้าจอตลอดเลย

น้องขวัญเธอคงมีแอบชิมบ้าง แต่คงไม่เป็นไร ส่วนผสมทุกอย่างทานได้


โดย: แม่น้องขวัญ_ซาแมนต้า วันที่: 3 กรกฎาคม 2552 เวลา:3:35:23 น.  

 
หนูว่าพม่าไม่น่าเป็นภัยกับเราเท่าเขมรนา


โดย: น้องผิง วันที่: 3 กรกฎาคม 2552 เวลา:10:35:33 น.  

 
ฮาโหล จำเค้าได้ป่าวเนี่ย

ไว้มาใหม่อีกทีนะจ๊ะ

สบายดีป่าว ? คิดถึงๆ


โดย: unsa วันที่: 4 กรกฎาคม 2552 เวลา:2:32:11 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับพี่โย

เมื่อวานอ่านคำสัมภาษณ์ของท่านฮุนเซน
และท่านสุเทพของเรา


มันต้องมีใครคนนึงที่โกหกอย่างมหาวายร้ายเลยนะครับ
สถานการณ์ชายแดนถึงเป็นแบบนี้









emoemoemo


โดย: กะว่าก๋า วันที่: 4 กรกฎาคม 2552 เวลา:7:31:11 น.  

 
emo

มีความคิดมานำเสนอ

"บั้งไฟเพื่อความมั่นคง"

สนใจไหมก๊ะ กำลังเขียนแผนส่งกองทัพ

(ทัพลิงนะ )


โดย: น้าหนูนีล_น้องขวัญ วันที่: 4 กรกฎาคม 2552 เวลา:20:14:11 น.  

 
ว๊าาาา คนบ้านนี้ฟามจำสั้นแฮะ
จำเราไม่ได้ซะงั๊น...


5555+


โดย: unsa วันที่: 4 กรกฎาคม 2552 เวลา:20:35:22 น.  

 


โดย: เพลงเสือโคร่ง วันที่: 4 กรกฎาคม 2552 เวลา:21:24:50 น.  

 
นั่นน่ะสิครับพี่โย

emoemoemo


โดย: กะก๋า (กะว่าก๋า ) วันที่: 4 กรกฎาคม 2552 เวลา:22:35:24 น.  

 
emoemo


โดย: จูหน่านพ วันที่: 5 กรกฎาคม 2552 เวลา:11:46:15 น.  

 
พี่โยน่าร๊ากกกกกก


โดย: น้าหนูนีล_น้องขวัญ วันที่: 5 กรกฎาคม 2552 เวลา:22:17:19 น.  

 
emoemo พี่โย น่าร๊ากกก กรี๊ดดดด


โดย: น้าหนูนีล_น้องขวัญ วันที่: 7 กรกฎาคม 2552 เวลา:7:53:56 น.  

 
กองทัพไทย มีอะไรดีดีเยอะครับ


โดย: Mdiic~* วันที่: 4 สิงหาคม 2552 เวลา:22:37:45 น.  

 
ขีปนาวุน่ากลัว




โดย: yoddel19 วันที่: 18 กรกฎาคม 2553 เวลา:16:45:21 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Analayo
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 56 คน [?]




หากโลกนี้มีความยุติธรรม เราคงไม่ต้องมีศาล ไม่ต้องมีทหาร ไม่ต้องมีตำรวจหรอก/Skyman
@ จ่อยน้องลิง @
@ จ่อยหัวหอม @
X
X



free counters


Friends' blogs
[Add Analayo's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.