ไปกด Link ได้ที่แฟนเพจ https://www.facebook.com/skymantaf หรือ Follow ได้ที่ Twitter https://twitter.com/skymantaf หรือที่ http://www.thaiarmedforce.com นะครับ
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2550
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
18 ธันวาคม 2550
 
All Blogs
 
กองทัพเรือไทย ..... ต่อเรื่องเองทำไม? ...... ล้าสมัยหมดแล้ว


เรือหลวงนราธิวาส เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งในชุดเรือหลวงปัตตานี กับเฮลิคอปเตอร์ Super Lynx 300


ผมขออนุญาตก๊อปปี้คำพูดในกระทู้การต่อเรือของกองทัพเรือไทยของคุณ Love come in ในหว้ากอมาลง ณ ที่นี้ครับ ..... อีกส่วนหนึ่งผมขออนุญาตแสดงความเห็นเกี่ยวกับกรณีนี้ครับ

ยินดีที่คุณ Love come in เปิดประเด็นเรื่องนี้มาครับ ซึ่งน่าคิดและน่าสนใจทีเดียว ลองอ่านกันดูครับ






ผมว่า ทร น่าจะเลิกต่อเรือได้แล้ว
ผมเห็นว่าหลังพระราชดำรัสในหลวง ทาง ทร มีโครงการจะต่อเรือเพิ่มเติมให้ใหญ่ขึ้น

แต่ผมว่ามันไม่มีประโยชน์เลย ถ้าจะต่อเรือแบบเดิมๆ
เพราะเรือต้องใช้อีก 20-30 ปี ถ้าต่อแบบเดิม
พอต่อเสร็จก็ล้าสมัยทันที
แถมยังต้องใช้แบบล้าสมัยไปอีกตั้ง20-30ปี

เรือยุคที่มีเทคโนโลยีเสตลมีโอกาสอยู่รอดในสนามรบมากกว่า น่ากลัวกว่า ในเมื่อแนวโน้วมันไปทางนั้นแล้ว

จะมาต่อเรือแบบเดิมๆเพิ่ม มันก็ไม่มีประโยชน์อะไร
ถ้าเราใช้อาวุธในลักษณะของการป้องปรามประเทศเพื่อนบ้าน เรือที่ล้าสมัยมันไม่มีประโยชน์สักเท่าไรเลย ไม่มีใครกลัว
แถมยังต้องเสียค่าต่อเรือ และ ค่าบำรุงรักษาอีก

ผมว่า ทร น่าจะทุ่มเงินทั้งหมดกับการพัฒนาเทคโนโลยีของกองเรือยุคใหม่จะดีกว่า

ผมว่าอย่าง ทอ ที่ซื้อเครื่องบินสวีเดนนั้น ดีจริงครับ
เป็นการซื้อที่ยกระดับการพัฒนาภาพรวมอย่างเป็นระบบของ ทอ ได้เลย

อยากเห็นอะไรแบบนี้บ้างกับ ทร ครับ
ไม่ใช่เดี๋ยวจะต่อเรือ เดี๋ยวจะเอาเรือดำร้ำ

จากคุณ : Love come in






อ่าววววววว เดี๋ยวก็มีคนบอกจะให้ต่อเอง เดี๋ยวก็มีคนบอกว่าอย่าต่อเลย ........ คนไทยเอาใจยากจังเนอะ

เทคโนโลยีกองเรือยุคใหม่คืออะไรล่ะครับ? ถ้าจะตอบคำตอบ ต้องเคลียร์ประเด็นนี้ก่อนครับ

ถ้าจะเป็นเทคโนโลยีสเตลล์ ก็ใช่ครับ มีความเป็นไปได้

แต่มันก็ต้องมาพร้อมความจำเป็นครับ

เรือชั้นใหม่ ๆ ของสหรัฐ ญี่ปุ่น หรืออังกฤษ ก็ยังไม่มีเทคโนโลยีสเตลล์เต็มรูปแบบเลย แล้วทร.บ้านเรา จำเป็นหรือเปล่าครับที่ต้องมีเทคโนโลยีเสตลล์มากขนาดนั้น เพราะมันไม่ใช่แค่การออกแบบไม่กี่เดือน มันจำเป็นต้องใช้เวลาหลายปี เงินทุนหลายร้อยล้าน ซึ่งมองดูแล้ว ไม่คุ้มค่าโดยสิ้นเชิงที่จะลงทุน เพราะเทคโนโลยีสเตลล์ในเรือ ไม่ได้มีความสำคัญกับการยุทธทางเรือมากเท่ากับอากาศยาน และเราก็ไม่ได้มีเงินมากพอที่จะลงทุนทำการวิจัยเทคโนโลยีในระดับนั้นครับ




แบบเรือที่ทร.ออกแบบในปัจจุบันนี้ ไม่ได้ล้าสมัยเลยครับ ทร.ออกแบบได้ดี มีความสามารถในการออกแบบเรือเป็นอันดับต้น ๆ ของอาเซียนด้วยซ้ำ

เรือชุดเรือ ต.991 ........ ความที่มันเล็กและติดอาวุธเพียงปืนกล ไม่ใช่อุปสรรคหรือข้อเสียเปรียบในการรบเลยครับ เพราะหน้าที่ของมันคือ เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง มีหน้าที่ป้องกันภัยคุกคามในระดับต่ำ เช่นเรือตรวจการณ์ด้วยกันเอง การทำประมงและการคุ้มครองเรือประมงของไทย การป้องกันและปรามปรามการกระทำผิดกฏหมายทางทะเล การลาดตระเวนชายฝั่งที่ไม่ไกลจนเกินไป (ภาษาทางเรือเรียกว่า Green water) ..... ผมพูดได้เลยว่า เรือชุดเรือต. 991 มีความทันสมัยเป็นอันดับต้น ๆ ของเรือตรวจการณ์ในอาเซียนแล้วครับ

ส่วนเรือปัตตานี ซึ่งเป็นเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งนั้น สามารถปฏิบัติการได้ในทะเลที่ลึกกว่าครับ (Blue Water ที่ไม่ไกลจนเกินไป) เรือลำนี้ เราออกแบบเองร้อยเปอร์เซนต์ เราจ้างจีนต่อ เพราะตอนนั้นจีนเสนอราคามาถูกมาก ถูกกว่าต่อในประเทศอีก (ซึ่งผมไม่ค่อยเห็นด้วยนักที่จะไปต่อที่จีนเพราะเหตุผลนี้ แต่จีนเขาก็มีเหตุผลที่อยากได้ดีลนี้ และตอนนั้นเงินก็ไม่มีมาก) วัตถุดิบจีนที่เราใช้ มีแค่คนงานจีนและอู่จีน เหล็กยังไปซื้อจากญี่ปุ่นเลยครับ เมื่อต่อมาเสร็จ มีปัญหาด้านการแผ่รังสีอิฟาเรดที่มากเกินสเปค และได้รับการแก้ไขแล้ว เรือได้รับการติดตั้งอาวุธในไทย ระบบอิเล็กทรอนิกต์ในเรือส่วนมากเป็นระบบยุโรป (ซึ่งผมว่าบางระบบดีกว่าของสหรัฐ) ล้วนเป็นระบบที่ทันสมัยทั้งสิ้น รูปทรงการออกแบบ ทันสมัยใกล้เคียงเรือชั้นนำในภูมิภาคเช่น MEKO A-100 ของมาเลเซีย หรือ Sigma-class OPV ของอินโดนิเซีย ..... แต่เราออกแบบเอง ไม่ได้ซื้อแบบเขามาครับ

ทร. มีโครงการจะจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งอีก 4 ลำ ทดแทนเรือรุ่นสงครามโลกครั้งที่สองที่ใกล้จะต้องปลดประจำการ ซึ่งมีเสียงเชียร์ให้ดำเนินการต่อเองในประเทศ โดยปรับปรุงแผนแบบของเรือปัตตานีที่เรารู้จุดดีจุดด้อยแล้ว ยิ่งมีกระแสพระราชดำรัส ประกอบกับโครงการต่อเรืออเนกประสงค์อีก 1 ลำในประเทศในปีหน้า ทำให้เรามีหวังว่า น่าจะได้เห็นเรือลำใหม่ ๆ ที่ระวางขับน้ำไม่มากนัก เป็นเรือ Made In Thailand ครับ

มันต้องเริ่มจากจุดนี้ก่อน อุตสาหกรรมทางทะเลของไทยจึงจะพัฒนาได้ทัดเทียมเพื่อนบ้าน ต้องอาศัยการสนับสนุนจากรัฐบาลในการให้โปรเจ็คอย่างต่อเนื่องด้วยครับ อู่อิเติลไทย, อู่ยูนิไทย, อู่กรุงเทพ, อู่มาร์ซัน จะได้มีงาน ได้รับประสบการณ์ ซึ่งจะเป็นผลงานที่ทำให้ลูกค้าต่างชาติมั่นใจได้มากขึ้นครับ (เช่นในกรณีเรือรบที่อู่มาร์ซันได้รับงานต่อเรือเร็วโจมตีอาวุธปล่อยนำวิถีให้กับกองทัพเรือปากีสถาน)

ซึ่งถ้าเราอยากต่อ OPV ในประเทศจริง ๆ อยากให้ทร.ใช้โมเดลเดิมที่เคยใช้ก่อนที่จะไปต่อเรือปัตตานีที่จีนครับ คือให้อู่ในไทย จับคู่กับอู่ต่างชาติในการยืนซองประมูล ซึ่งกำหนดเงื่อนไขในการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วย การทำแบบนี้จะทำให้อู่ในเมืองไทยได้รับงาน ประเทศได้รับเทคโนโลยี ในราคาที่ไม่ได้สูงมากจนเกินไป

ส่วนเรือฟริเกตขนาดใหญ่ที่จะเป็นกำลังรบหลักของทร. อีก 2 ลำ ตอนนี้ถ้าเรายังไม่มีเทคโนโลยี ก็ควรจะต้องจ้างเขาต่อครับ โดยต้องมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วย อู่ในยุโรปหลาย ๆ อู่พร้อมจะให้อู่แล้วครับ ส่วนระบบอิเล็กทรอนิคในเรือ ซื้อเขาเถอะครับ เราทำเองไม่ไหวแน่

ทำเป็นขั้น ๆ ไปครับ อย่าเพิ่งใจร้อน ทุกอย่างต้องเริ่มจากพื้นฐานก่อนครับ ถ้าพื้นฐานแน่น จะพัฒนาอะไรต่อ ก็ทำได้สะดวกขึ้นแล้วล่ะครับ ^ ^

อีกกรณีหนึ่ง.....

เรือในชุดเรือหลวงเจ้าพระยาและเรือชุดเรือหลวงนเรศวรนั้น ที่เราไปต่อที่จีน ไม่ใช่เพราะค่าคอมมิชชั่นอะไรหรอกครับ

ตอนนั้น กองทัพเรือไทย ขนาดแคลนเรืออย่างรุนแรง เรือที่มีอยู่ ก็เล็กมาก เรือฟริเกตุก็ล้าสมัยเต็มทน แค่ลาดตระเวนในอ่าวไทย ยังทำได้ไม่เต็มที่เลยครับ ตอนนั้น เราจำเป็นต้องเพิ่มกำลังทางเรืออย่างเร่งด่วน

จีนเสนอแบบเรือชั้นเจียงหูมาให้ทร.ครับ ในราคามิตรภาพ คือลำละ 2,000 ล้านบาทเท่านั้น เรือนเรศวรจะแพงกว่าหน่อย เพราะทร.ไปร่วมแก้แบบและ redesign ใหม่ รวมถึงขยายขนาด แต่รวม ๆ แล้ว ทั้ง 6 ลำ นี้ ถ้าไปซื้อเรือยุโรปจะได้ราว ๆ 2 ลำเท่านั้น ต่อในประเทศ ก็ไม่ได้ราคานี้

นอกจากเรือจีนทั้ง 6 ลำ ทร.ก็ไปเอาเรือ Knox มือสองจากสหรัฐมาอีก 2 ลำ ปัจจุบันคือเรือในชุดเรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งมีระบบที่ยังทันสมัยอยู่ และทร.ก็ได้เรียนรู้ระบบหลาย ๆ อย่างของสหรัฐที่ไม่เคยมีใช้

ตอนนั้นมันไม่ใช่เรื่องที่ว่าดีหรือไม่ดีกว่าแล้วล่ะครับ มันเป็นเรื่องที่ว่า อะไรที่พอใช้ได้ ก็ต้องเอามาก่อนแล้วครับ อู่ในประเทศตอนนั้น ก็ยังต่อได้ไม่ถูกเท่า เงินเราก็ไม่มีมากครับ

ซึ่งเหตุผลนี้คล้าย ๆ กับปัตตานีครับ เพราะตอนนั้นงบประมาณก็ยังน้อย ต่อในประเทศไม่ไหว และจีนก็ต้องการเรียนรู้เทคโนโลยีระบบอิเล็กทรอนิคของยุโรปรวมถึงแบบเรือของเรา เขาก็เสนอราคามาต่ำสุด ๆ ครับ

แต่ต่อไป เรือในระดับพันกว่าตัน คงต่อในประเทศแล้วล่ะครับ ส่วนเรือที่ใหญ่ในระดับ 3,000 - 4,000 ตัน ก็คงยังจำเป็นต้องจ้างเขาอยู่ เพราะเทคโนโลยีเรายังไม่เอื้อให้ทำครับ ต้องค่อย ๆ พัฒนาไปครับ



Create Date : 18 ธันวาคม 2550
Last Update : 18 ธันวาคม 2550 15:42:26 น. 6 comments
Counter : 5730 Pageviews.

 
ชี้แจงให้เข้าใจแบบนี้ก้ดีครับ เพราะที่หลายคนสงสัยเพราะไม่มีข้อมุลน่ะครับ

ที่จริง ทร.ทอ.ทบ. น่าจะมีประชาสัมพันะืเกี่ยวกับข้อมุลที่เปิดเผยได้บ่อยๆนะครับ

ปล.อ่อ ถ้ามีประชาสัมพันธ์บ่อยๆเดี๋ยวก้โดนด่าอีกล่ะมั้ง


โดย: Jump.Jr วันที่: 18 ธันวาคม 2550 เวลา:12:57:00 น.  

 
สนับสนุนครับ อยากให้ต่อเอง


โดย: kickaflow วันที่: 18 ธันวาคม 2550 เวลา:16:38:25 น.  

 
ตามที่ในหลวงพูดแหละค่ะ


โดย: bestcat วันที่: 18 ธันวาคม 2550 เวลา:22:02:37 น.  

 
ชอบกองทัพเรือเพราะเป็นโอลีฟ


โดย: นางน่อยน้อย วันที่: 19 ธันวาคม 2550 เวลา:7:24:48 น.  

 
^
^
^
เชื่อแล้วว่าเป็นโอลีฟ


โดย: Skyman (Analayo ) วันที่: 19 ธันวาคม 2550 เวลา:7:32:57 น.  

 
เห็นด้วยกับท่านอนาลาโย่ เต็มสตีมเลยครับ เพราะเราควรสนับสนุนให้อู่ในประเทศเราให้ค่อยๆมีประสบการณ์ไปเรื่อยๆทีละขั้นตอนนั่นล่ะครับ

ส่วนพระราชดำรัชของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น ผมเห็นด้วยกับพระองค์ท่านอยู่แล้วครับ

ถ้าเรามีปัญญาหาเรือระบบอิจิสสักลำ แล้วก็เรือดำน้ำอีกสักสองสามลำ ผมว่าเราลองแหย่งๆไปแถวๆบ่อน้ำมันของเขมรดู ให้ฮุนเซนแกเสียวเล่นๆ ก็น่าสนุกดีนะครับ ฮิฮิ


โดย: BrettAnderson วันที่: 27 ธันวาคม 2550 เวลา:17:55:57 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Analayo
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 56 คน [?]




หากโลกนี้มีความยุติธรรม เราคงไม่ต้องมีศาล ไม่ต้องมีทหาร ไม่ต้องมีตำรวจหรอก/Skyman
@ จ่อยน้องลิง @
@ จ่อยหัวหอม @
X
X



free counters


Friends' blogs
[Add Analayo's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.