ไปกด Link ได้ที่แฟนเพจ https://www.facebook.com/skymantaf หรือ Follow ได้ที่ Twitter https://twitter.com/skymantaf หรือที่ http://www.thaiarmedforce.com นะครับ
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2550
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
15 มิถุนายน 2550
 
All Blogs
 
เกร็ดความรู้...ที่คุณอาจจะยังไม่รู้...เกี่ยวกับกองทัพอากาศไทย

เครื่องบินที่ทอ.สร้างเอง



บริพัตร



เพียงราว ๆ 10 ปีนับจากพี่น้องตระกูลไรต์ประดิษฐ์เครื่องบินลำแรกเป็นผลสำเร็จ บรรพบุรุษของเราก็สามารถสร้างเครื่องบินเองได้ และนำเข้าประจำการ นั่นคือเครื่องบินที่ชื่อว่า บริพัตร นั้นเอง

แต่การสร้างเครื่องบินใช้เองก็เว้นช่วงมานานมาก เนื่องจากในช่วงสงครามเย็น ทอ.ได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐเป็นจำนวนมาก ครั้งต่อมาที่มีการสร้างเครื่องบินและนำเข้าประจำการคือเครื่องบินที่ชื่อว่า จันทรา หรือ บ.ฝ.๑๗ โดยประจำการประมาณ 12 เครื่อง รุ่นสุดท้ายที่ทอ.สร้างและนำเข้าประจำการคือ Fantrainer ซึ่งร่วมมือกับบริษัทของเยอรมันทำการผลิต แต่เครื่องบินประสบอุบัติเหตุค่อนข้างบ่อย จึงประจำการอยู่ได้ราว ๆ 10 ปี ครับ

นอกจากนั้น ก็ยังมีเครื่องบินที่ทอ.ทำการวิจัยและพัฒนาเองอยู่จำนวนหนึ่งครับ สามารถชมภาพได้ที่นี่

"ทำไมเราไม่ "ทำเครื่องบินเอง" ซักที "

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=03-04-2006&group=1&gblog=35


การรบทางอากาศครั้งแรก



น.ต. ศานิต นวลมณี


จะว่าโชคดีก็ไม่ใช่ แต่จะว่าโชคร้ายก็ไม่เชิง เพราะทอ.ไทยเป็นหนึ่งในทอ.ไม่กี่แห่งในอาเซียนและเอเชียที่มีประวัติการสู้รบทางอากาศเป็นของตนเอง ยุทธเวหาครั้งแรกของไทยเกิดขึ้นในสงครามอินโดจีนระหว่างไทยและฝรั่งเศส เรื่องนี้เชิญอ่านประวัติได้จากบทความนี้ครับ (ผมก๊อปมาจากไหนก็ไม่ทราบ ขออภัยครับ)

"การรบทางอากาศครั้งแรงในประเทศไทย


ภายหลังจากการที่ประเทศไทย ต้องสูญเสียดินแดนไปมากกว่า ๕ ครั้ง ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๑๐ ถึง ๒๔๔๙ รวมพื้นที่มากกว่า ๔๖๗,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร และประชากรในพื้นที่มากกว่า ๓,๖๔๐,๐๐๐ คน ในพื้นที่ประเทศลาวและเขมรในปัจจุบัน ให้กับฝรั่งเศส พร้อมค่าปรับ ๔ ล้านบาท ในช่วงของการล่าอาณานิคม ความรู้สึกที่ทุกข์และขมขื่นของคนไทย หลายสิบปี ได้โอกาสเหมาะที่จะเรียกร้องขอความเป็นธรรม รวมถึงการขอปรับปรุงเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส ให้เหมาะสมกับกฎหมายระหว่างประเทศในช่วงที่ฝรั่งเศสแพ้กองทัพเยอรมันในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่ ๒ แม้ว่าก่อนหน้านั้นประเทศไทยจะขอเจรจาเกี่ยวกับเรื่องนี้มาหลายครั้ง ซึ่งครั้งนี้ฝรั่งเศสก็ไม่ยอมเช่นเดิม กลับยังมีการส่งกำลังทหารมาเพิ่มเติมในหลายจุดที่สำคัญตามแนวชายแดนไทย กองทัพอากาศจัดกองทัพเพื่อเตรียมรับสถานะการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นมีการจัดส่งเครื่องบินขับไล่จำนวนมากไปประจำที่อุดรธานี อุบลราชธานี และนครพนม แม้ว่าเครื่องบินของฝ่ายไทยจะออกลาดตระเวณรักษาเขตทุกวัน แต่ข้าศึกก็ยังเล็ดรอดบินข้ามเขตมาลาดตระเวณถ่ายภาพเหนือดินแดนฝ่ายเราหลายครั้ง โดยทุกครั้งฝ่ายเราได้รับแจ้งแต่ขึ้นบินสกัดกั้นไม่ทัน ๒๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๘๓ เครื่องบินปีกชั้นเดียวของฝรั่งเศสบินข้ามแม่น้ำโขง เข้ามาเหนือ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ในช่วงเช้า ครั้นช่วงบ่ายมีการส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดจำนวน ๔ เครื่องบินเข้ามาทาง บ้านห้วยทราย บ้านพร้าว และศรีเชียงใหม่และทั้งหมดบินกลับไปลงที่เวียงจันทร์ ๒๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๘๓ เครื่องบินทิ้งระเบิดของฝรั่งเศสบินเข้ามาเหนือ อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย เครื่องบินของไทยขึ้นสกัดกั้น ๓ เครื่อง แต่มาไม่ทันเครื่องบินฝรั่งเศสบินหนีไปลงเวียงจันทร์ก่อน ๒๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๘๓ เครื่องบินแบบ Potez 25 ๑ เครื่องของฝรั่งเศสบินเข้ามาถ่ายภาพที่นครพนม เครื่องบินขับไล่แบบฮอว์ค-๓ ของ พ.อ.อ.ทองใบ พันธ์สบาย ขึ้นสกัดกั้นและทำการยิงปืนกลอากาศไป ๒๓ นัด แต่เครื่องบินข้าศึกไม่ทำการต่อสู้ด้วยกลับบินหนีไปได้สำเร็จ

และแล้ว การรบทางอากาศ ที่ถือว่า เป็นการรบทางอากาศหรือการทำยุทธเวหา ครั้งแรกของประเทศไทย จึงอุบัติขึ้นเมื่อ ๒๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๘๓ เวลา ๐๘๐๐ เครื่องบินโปเตส๒๕ ของฝรั่งเศส บินมาด้วยความสูง ๖๐๐ เมตร ทางทิศใต้ของนครพนม ร.ต.ศานิต นวลมณี (ชาวจังหวัดอุดรธานี) ผู้บังคับหมวดบินที่ ๑ ฝูงบินตรวจการณ์ที่ ๔๒ ของกองบินน้อยผสมจังหวัดอุดร ประจำการอยู่ที่สนามบินอุดรธานี (สมัยนั้นเรียก สนามบินหนองขอนกว้าง) ซึ่งได้รับมอบหน้าที่ให้เป็นผู้บังคับหมู่ยามอากาศประจำจังหวัดนครพนม ได้นำเครื่องบินโจมตีแบบ คอร์แซร์ ขึ้นสกัดกั้น โดยมี จ.ท.ประยูร สุกุมลจันทร์ นักบินประจำหมวดบิน ๑ ฝูงบินตรวจการณ์ที่ ๔๒ ของกองบินน้อยผสมจังหวัดอุดร ทำหน้าที่พลปืนหลัง ขณะเดียวกันเครื่องบินขับไล่แบบ ฮอว์ค-๓ จำนวน ๒ เครื่อง โดยมี พ.อ.อ.ทองใบ พันธุ์สบาย นักบินประจำหมวดบิน ๒ ฝูงบินขับไล่ของกองบินน้อยผสมจังหวัดอุดร และ จ.อ.นาม พุ่มรุ่งเรือง นักบินประจำหมวดบิน ๑ ฝูงบินขับไล่ของกองบินน้อยผสมจังหวัดอุดร ทำการบินลาดตระเวณอยู่ไม่ไกลนักเข้าทำการช่วยเหลือ ในขณะที่เครื่องบินขับไล่แบบโมราณ ของฝรั่งเศส ๕ เครื่องเข้ายิงเครื่องบินคอร์แซร์ด้วยปืนกลอากาศโดยเกิดการต่อสู้ทางอากาศขึ้น เครื่องบินคอร์แซร์ใช้ปืนกลอากาศทั้งที่ปีกยิงไปด้านหน้าและปืนกลหลัง และสามารถยิงเครื่องบินขับไล่ข้าศึกได้ ๑ เครื่องร่อนลงได้รับความเสียหาย (ภายหลังมีข้อมูลยืนยันว่าเครื่องบินข้าศึกเครื่องดังกล่าวถูกยิงตก )ขณะเดียวกันเครื่องบินขับไล่ ฮอว์ค-๓ ทั้งสองเครื่องเข้าทำการต่อสู้ช่วยเหลือจนกระทั่งฝ่ายข้าศึกบินข้ามแม่น้ำโขงไปฝั่งตรงข้าม และทำการบินเหนือดินแดนข้าศึกเพื่อดูเชิงอีกราว ๒๐ นาที ก่อนบินกลับไปสนามบินของตน ผลการปฏิบัติ ในการยุทธเวหาครั้งแรก ที่นานกว่า ๒๐ นาที เหนือนครพนม ในวันนั้นเครื่องบินฝ่ายเราปลอดภัย ฝ่ายตรงข้างเสียเครื่องบิน ๑ เครื่อง "

สงครามครั้งแรกที่เข้าร่วม



การโจมตีทางอากาศของ ทอ.ไทย ที่เมืองศรีโสภณของน.ต.ศานิต นวลมณี


แม้ว่าหลักฐานอย่างเป็นทางการแล้ว กองการบินทหารบกสยามซึ่งต่อมากลายเป็นกองทัพอากาศไทยนั้นได้เคยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งมาแล้ว แต่กระนั้นก็ยังไม่ได้ออกปฏิบัติการจริงแต่อย่างใดครับ เพราะสงครามสงบเสียก่อนที่จะฝึกสำเร็จ

สงครามครั้งแรกจริง ๆ ที่กองทัพอากาศไทยได้แสดงศักยภาพเหนือขอบฟ้าก็คือกรณีพิพาษอินโดจีนระหว่างไทยและฝรั่งเศสครับ ในสงครามนี้มีนักบินไทยหลายท่านที่ "เก็บแต้ม" หรือสามารถยิงเครื่องบินของข้าศึกตกได้ นอกจากนั้นกองทัพอากาศยังทำการโจมตีเข้าไปในดินแดนยึดครองของฝรั่งเศสในกัมพูชาเพื่อสนับสนุนแผนการรุกของกองทัพไทย โดยมีวีรกรรมที่เด่น ๆ เช่น การโจมตีทางอากาศของ ทอ.ไทย ที่เมืองศรีโสภณของน.ต.ศานิต นวลมณีครับ

ในครั้งนี้กองทัพอากาศไทยสามารถครองอากาศได้ และปฏิบัติการเป็นประโยชน์ต่อกำลังพลฝ่ายเรามากมายมหาศาล จนฝรั่งเศสเพลี้ยงพล้ำ และมีการเจรจาหยุดยิงกับเราโดยมีญี่ปุ่นเป็นคนกลางในที่สุด

ยิง B-29 ตกเป็นคนแรกของโลก



ภาพจำลองการยิงเครื่องบิน B-29 ตกของเรืออากาศเอก เทอดศักดิ์ วรทรัพย์


B-29 คือป้อมบินยักษ์ที่ทุกคนรู้จักกันดี เพราะมันคือเครื่องบินที่นำระเบิดปรมานูไปโจมตีเมืองฮิโรชิมาและนางาซากิของญี่ปุ่น

แต่เกร็ดประวัติศาสตร์ที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยทราบก็คือ B-29 ออกปฏิบัติการครั้งแรกในการโจมตีเป้าหมายในประเทศไทย โดย B-29 จำนวน 77 ลำได้เข้าทำการทิ้งระเบิดโรงงานซ่อมรถไฟของญี่ปุ่นในกรุงเทพเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2487 และต่อมาก็ถูกรับน้องด้วยการถูกเสืออากาศไทย เรืออากาศเอก เทอดศักดิ์ วรทรัพย์ ยิงตกในวันที่ วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2487

แม้ว่า B-29 จะออกปฏิบัติการในเมืองไทยเป็นครั้งแรก แต่นับว่าเราโชคดีมาก ที่ไม่ถูกปรมานูเป็นเจ้าแรกของโลก!!!!


เครื่องบินที่เข้าประจำการจำนวนมากที่สุด



F8F Bearcat


คงหนีไม่พ้น F8F Bearcat ซึ่งไทยได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐมากว่า 200 ลำ ปัจจุบันเหลืออยู่ในไทยเพียง 3 ลำ และบินได้ 1 ลำโดยมูลนิธิอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทยปรับปรุงจนสามารถทำการบินได้

เครื่องบินไอพ่นเครื่องแรก



T-33


เครื่องบินไอพ่นเครื่องแรกของไทยคือ บ.ฝ.11 หรือ T-33 โดยประจำการในปี 2498 และหลังจากนั้นอีก 1 ปี ทอ.ไทยก็ได้รับมอบ F-84G Thunderjet เป็นเครื่องบินขับไล่ไอพ่นเครื่องแรก

เครื่องบินขับไล่ความเร็วเหนือเสียงแบบแรก



F-5A


จะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจาก F-5A ครับ ซึ่งเราได้รับมาในปี 2510

F-16 ไทย ไม่เคยตกเลยสักลำ!!!



F-16A


เรื่องนี้เรื่องจริงครับ กว่า 20 ปีของการปฏิบัติงานด้วย F-16 จำนวน 59 ลำนั้น F-16 ไทยไม่เคยมีประวัติตกเลยแม้แต่ลำเดียว จนฝรั่งงง (คนไทยก็งง) Lockheed Martin ยังต้องให้เกียรติบัตรด้านนิรภัยการบินเลยครับ

ชื่อของเครื่องบินและกองบิน



เหตุการณ์การบุกของญี่ปุ่นที่กองบินน้อยที่ 5


ชื่อของเครื่องบินตามการกำหนดของทอ.มีหลักเกณฑ์การกำหนดตามลำดับของการประจำการของเครื่องบินครับ ยกตัวอย่างเช่น บ.ข. 18 หรือเครื่องบินขับไล่แบบที่ 18 ซึ่งก็คือ F-5 หรือ บ.ฝ. 19 หรือเครื่องบินฝึกแบบที่ 19 ซึ่งก็คือ PC-9 นั้นเอง

ส่วนเลขของกองบิน จะบอกถึงขนาดของกองบิน โดยกองบินเลยตัวเดียว อย่างกองบิน 1, กองบิน 2,กองบิน 4, กองบิน 6, กองบิน 7 นั้นหมายความว่าสามารถรองรับฝูงบินได้ 3 ฝูงขึ้นไป ส่วนกองบินเลขสองตัวคือ กองบิน 21, กองบิน 23, กองบิน 41, กองบิน 46, กองบิน 56 มีความสามารถรอบรับฝูงบินได้ 1 ฝูงบิน ทั้งนี้ กฏข้อนี้ยกเว้นกับกองบิน 5 ซึ่งสามารถรองรับฝูงบินได้ 1 ฝุงเท่านั้น แต่ทอ.เลือกที่จะเปลี่ยนจากชื่อกองบิน 53 กลับไปใช้ชื่อกองบิน 5 ตามชื่อที่เคยใช้เมื่อตอนญี่ปุ่นปฏิบัติการยกพลขึ้นบกนั้นเอง


Create Date : 15 มิถุนายน 2550
Last Update : 26 มกราคม 2552 13:31:21 น. 7 comments
Counter : 7861 Pageviews.

 
F8F Bearcatประจำการทั้งหมด204ลำครับ
ผมอยากรู้ว่าจาก204ลำ ทำไมปัจจุบันเหลือแค่3ลำเองละครับ


โดย: Flying T. Tiger IP: 124.121.104.203 วันที่: 16 มิถุนายน 2550 เวลา:15:14:07 น.  

 
ผมก็สงสัยเหมือนกันครับ คาดว่าไอเดียในการอนุรักษ์เครื่องบินเกาในสมัยนั้นอาจจะยังไม่ได้ถูกนำมาใช้จริงครับ


โดย: Skyman (Analayo ) วันที่: 17 มิถุนายน 2550 เวลา:20:07:08 น.  

 
ว่าแต่เราใช้เครื่องอะไรยิง b-29 ตกครับ
ในภาพวาดออกมาคล้ายๆ ki-43 เลย ใช่รึเปล่านะครับ


โดย: Tasurahings IP: 222.123.232.206 วันที่: 17 มิถุนายน 2550 เวลา:22:38:35 น.  

 
แล้ว F-5 ร่วงกี่ลำแล้วครับ


โดย: พลเรือนรักกองทัพไทย IP: 58.9.54.241 วันที่: 23 พฤศจิกายน 2550 เวลา:18:11:42 น.  

 
เหอๆ นักบินไทยเก่งมั้ยล่ะ

ต่างประเทศ เค้าร่วงกัน

แต่ไทยกลับไม่เคยร่วง


ขนาดบริษัทผู้ผลิต ยังมอบเกียรติบัตรให้เลยนะเนี่ย

ต้องยกย่อง


โดย: kwang IP: 124.121.172.20 วันที่: 20 กรกฎาคม 2551 เวลา:11:09:44 น.  

 
คนไทยเก่งไม่แพ้ชาติไหนในโลกเลยนะเนี่ย

เรื่องหองลินหนูรู้จักแค่กองบินที่อ่าวมะนาว ประจวบ รู้สึกจะ53ใช่เปล่าแต่เปลี่ยนไปเป็น 5 แล้วเหรอหนูพึ่งรู้นะเนี่ย


โดย: น้องผิง วันที่: 26 มกราคม 2552 เวลา:14:37:28 น.  

 
เรื่องกองบินจ้า พิมพ์ผิดเละเลยเรา


โดย: น้องผิง วันที่: 26 มกราคม 2552 เวลา:14:40:13 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Analayo
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 56 คน [?]




หากโลกนี้มีความยุติธรรม เราคงไม่ต้องมีศาล ไม่ต้องมีทหาร ไม่ต้องมีตำรวจหรอก/Skyman
@ จ่อยน้องลิง @
@ จ่อยหัวหอม @
X
X



free counters


Friends' blogs
[Add Analayo's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.