Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2550
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
20 ธันวาคม 2550
 
All Blogs
 
กลิ่นบำบัด......อโรมาเธอราพี

กลิ่นบำบัดอโรมาเธอราพี

กลิ่นเป็นอีกสิ่งหนึ่งของการรับรู้ทางสัมผัสที่สื่อถึงอารมณ์และความรู้สึกได้ดี และเป็นทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจและกำลังเป็นที่นิยมกัน ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับกลิ่นบำบัดให้มากขึ้นกันดีกว่า

กลิ่นบำบัด
อโรมาเธอราพี มาจากศัพท์กรีก
'อโรมา' ( Aroma ) หมายถึง ความหอม หรือ กลิ่น
ส่วนคำว่า 'เธอราพี' ( therapy ) หมายถึง การบำบัดรักษา
อโรมาเธอราพี จึงหมายถึง การบำบัดรักษาโรค ด้วยกลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติ โดยจะแบ่งการใช้อโรมาเธอราพีได้ดังนี้

๑. จิตบำบัด หรือ ไซโคอโรมาเธอราพี
เป็นการใช้น้ำมันหอมระเหยเพื่อความสมดุลของจิตใจ ทำให้รู้สึกสงบ ช่วยผ่อนคลาย หรือกระตุ้นการทำงานของสมอง ช่วยบรรเทาจิตใจที่ปั่นป่วนหงุดหงิด ผ่อนคลายความเครียด และความกังวล ให้พลัง รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า อบอุ่น มั่นคง แก้โรคซึมเศร้า และอาการป่วยทางจิตต่างๆ

๒. อโรมาเพื่อความสวยงาม
เป็นการนำน้ำมันหอมระเหย มาใช้กับร่างกายภายนอกเช่นผิวหนัง เส้นผม และเป็น
ส่วนผสมในเครื่องสำอาง เพื่อความสวยงาม บำรุงผิว ชะลอความเหี่ยวย่น ดูแลสุขภาพเส้นผม และขจัดรังแค

๓. บำบัดรักษาโรค หรือ เธอราพิวทิค
อโรมาเธอราพี ใช้ใน น้ำมันหอมระเหยหลายชนิด มีสารต้านเชื้อโรค แก้ปวด แก้อักเสบ กระตุ้นระบบการไหลเวียนของเลือด รักษาโรคระบบทางเดินหายใจ และทางเดินอาหาร

การบำบัดด้วยกลิ่นนั้น ที่มาแห่งความหอมมักจะ ได้แก่ น้ำมันหอมระเหย ซึ่งได้จากน้ำมันที่พืชผลิตขึ้นตาม ธรรมชาติแล้วเก็บตุนไว้ตามส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กลีบดอก ใบ ผิวของผล เกสร ราก หรือเปลือกของลำต้นแต่เน้นว่าต้องได้จากธรรมชาติเท่านั้น เพราะในน้ำมันหอมระเหย แต่ละชนิดมีองค์ประกอบทางเคมีของสารหลายชนิดรวมกันอยู่ในปริมาณต่างๆ กันไป และยังไม่มีสารสังเคราะห์ชนิดไหนที่สามารถผสมส่วนประกอบทางเคมีเลียนแบบธรรมชาติ เพื่อให้ได้สรรพคุณในการบำบัดอย่างแท้จริง และเมื่อเจ้าน้ำมันหอมระเหยเหล่านี้ได้รับความร้อนอันพอดี อนุภาคเล็กๆ ในน้ำมันหอมก็จะระเหยออกมาเป็นกลุ่มไอ จะโชยกรุ่นมาเข้าจมูกเราให้รู้สึกได้ถึงนานาสารพัดกลิ่นที่มีความแตกต่างกันออกไป

อโรม่าเทอร์ราพี มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร
นักวิทยาศาสตร์ พบว่ากลิ่นของน้ำมันหอมระเหย สามารถกระตุ้นพลังของการรับกลิ่นของร่างกายมนุษย์ได้อย่างดีเยี่ยมเพราะกลิ่นมีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์และสัตว์มาก ผู้ที่สูญเสียความสามารถในการรับกลิ่นไปหรือรับได้ลดน้อยลงแพทย์พบว่าบุคคลนั้นมักจะมีปัญหาด้านความกังวล ความเครียด หงุดหงิดง่าย โดยทั่วไปมนุษย์มีความสามารถในการแยกแยะกลิ่นได้มากกว่า ๑๐,๐๐๐ ชนิด นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ากลิ่นต่างๆ ผ่านเข้าสู่โพรงจมูกสู่สมองส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์ ความจำและการเรียนรู้ โดยผ่านปลายเส้นประสาทในการรับรู้กลิ่นจากการวิจัยทางการแพทย์พบว่า กลิ่นลาเวนเดอร์ ช่วยให้เกิดความผ่อนคลายทางอารมณ์ในขณะที่กลิ่นหอมของดอกมะลิกระตุ้นความรู้สึกตื่นตัวทางอารมณ์ องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยมีผลต่อทั้งจิตใจและร่างกายของมนุษย์ เช่น

๑. เคมีกลุ่มแอลกอฮอล์ เช่น กุหลาบ แก่นจันทร์ (แซนเดอร์วูด) ขิง เปปเปอร์มิ้นท์ ช่วยให้อารมณ์ผ่อนคลาย

๒. เคมีกลุ่มแอลดีไฮด์ เช่น เลม่อน (มะนาวฝรั่ง) ตะไคร้หอม ยูคาลิปตัส ช่วยกระตุ้นอารมณ์ให้สดชื่น

๓. เคมีกลุ่มเทอร์พีน เช่น ส้ม มะกรูด พริกไทยดำ กลิ่นสน กระตุ้นให้ร่างกายจิตใจตื่นตัวตลอดเวลา

๔. เคมีกลุ่มคีโทน เช่น การบูร โรสแมรี่ ยูคาลิปตัส มีผลช่วยสมานแผลบริเวณผิวหนังได้ดี ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย น้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติแต่ละชนิดมีองค์ประกอบทางเคมีมากกว่า ๑๐๐ ชนิดมารวมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับน้ำมันหอมแต่ละชนิดว่าจะมีเคมีกลุ่มใดเป็นองค์ประกอบมากที่สุด ก็จะให้กลิ่นที่โดดเด่นออกมา

บริษัทผลิตน้ำมันหอมที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่นได้ทำการวิจัยในอาสาสมัครที่ ทำงานในสถาบันเกี่ยวกับงานพิมพ์เอกสารและรับโทรศัพท์ พบว่ากลิ่นหอมของ
ดอกลาเวนเดอร์ มีผลทำให้ความผิดพลาดในการทำงานของพนักงานลดน้อยลงได้ถึง ๒๐%
กลิ่นจัสมิน หรือกลิ่นมะลิ ช่วยให้พนักงานตื่นตัวและมีผลทำให้ความผิดพลาดในการทำงานลดน้อยลงได้ถึง ๓๓% ในขณะที่
กลิ่นเลม่อน ช่วยให้ห้องทำงานสดชื่นมาก และทำให้ความผิดพลาดของงานลดลงได้ถึง ๕๔%
ส่วนผลการทดสอบทางการแพทย์ พบว่า ในสัตว์ทดลองเมื่อได้รับ
กลิ่นลาเวนเดอร์และ แซนเดอร์วูด สัตว์ทดลองจะสงบลงได้มากอย่างเห็นชัด

วารสารประเทศอังกฤษรายงานว่า คนไข้วัยชราที่มีปัญหาการนอนไม่หลับ สามารถหลับได้ดีขึ้นและพึ่งยานอนหลับน้อยลง เมื่อห้องนอนได้รับการสเปรย์ด้วยน้ำมันหอมระเหยกลิ่นลาเวนเดอร์
ส่วนคนไข้ที่มีปัญหาสภาพจิตใจตึงเครียด ก็สามารถผ่อนคลายลงได้ด้วยกลิ่นหอมของวานิลา อาการเต้นของหัวใจเป็นปกติมากขึ้น แสดงถึงความกังวลและความตึงเครียดทางจิตใจผ่อนคลายลง

การออกฤทธิ์ต่อระบบต่างๆและวิธีใช้น้ำมันหอมระเหย
๑. ทางผิวหนัง
-* ระงับเชื้อจากบาดแผล แมลงกัดต่อย ฯลฯ เช่น น้ำมันไทม์ น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันกานพลู น้ำมัน ลาเวนเดอร์ และน้ำมันมะนาว
-* แก้อาการอักเสบ สำหรับแผลพุพอง บาดแผลติดเชื้อ กระทบกระแทก ฟกช้ำ ฯลฯ เช่น น้ำมันแคโมมิลล์ และน้ำมันลาเวนเดอร์
-* ฆ่าเชื้อรา โรคน้ำกัดเท้า ขี้กลาก เช่น น้ำมันลาเวนเดอร์ และน้ำมันยางไม้หอม
-* ช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อสมานแผล เช่น น้ำมันลาเวนเดอร์ น้ำมันกุหลาบ และน้ำมันเจอเรเนียม
-* ระงับกลิ่น ผู้ที่มีเหงื่อออกมาก ทำความสะอาดบาดแผล เช่นน้ำมันลาเวนเดอร์ น้ำมันไทม์ และน้ำมัน ตะไคร้
-* ไล่แมลงและฆ่าปาราสิท พวก เหาหมัด เห็บ ยุง มด ฯลฯ เช่น น้ำมันกระเทียม น้ำมันตะไคร้หอม น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันกานพลู และน้ำมันไม้ซีดาร์

๒. ระบบการไหลเวียน กล้ามเนื้อ และข้อต่อ
น้ำมันหอมระเหยถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตได้ง่ายทางผิวหนังและเยื่อบุทำให้กระจายไปทั่วร่างกาย น้ำมันที่ทาแล้วร้อนไม่มีผลเพียงแต่การไหลเวียนของโลหิตเท่านั้นแต่มีผลต่ออวัยวะภายในด้วยความร้อน ทำให้เส้นโลหิตขยายจึงมีผลในการลดอาการบวมน้ำ
-* ลดความดันโลหิต ความเครียด ฯลฯ เช่น น้ำมันกระดังงา น้ำมันลาเวนเดอร์ และน้ำมันมะนาว
-* เพิ่มความดัน สำหรับคนที่มีโลหิตไหลเวียนไม่ดี โรคหิมะกัดเท้า เซื่องซึม ฯลฯ เช่น น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันสะระแหน่ และน้ำมันลาเวนเดอร์
-* ปรับการไหลเวียนของโลหิต สำหรับแก้บวม อักเสบ ฯลฯ เช่น น้ำมันมะนาว

๓. ระบบหายใจ
น้ำมันหอมระเหยเหมาะที่จะรักษา การติดเชื้อทางจมูก ลำคอ และปอดเพราะใช้สูดดมตัวยาก็จะผ่านไปถึงปอดซึ่งก็จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตได้เร็วกว่าการรับประทานยา
-* ขับเสมหะ สำหรับหวัด ไซนัส ไอ ฯลฯ เช่น น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันสน น้ำมันไม้จันทน์ และน้ำมันยี่หร่า
-* คลายกล้ามเนื้อกระตุกในโรคหืด ไอแห้ง ไอกรน ฯลฯ เช่น น้ำมันเขียว น้ำมันแคโมมิลล์ และน้ำมันมะกรูด
-* ฆ่าเชื้อสำหรับ ไข้หวัดใหญ่ เจ็บคอ ต่อมทอนซิลอักเสบ ฯลฯ เช่น น้ำมันสน น้ำมัน ยูคาลิปตัสและ น้ำมันพิมเสน
-* แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อเนื่องจากปวดท้อง อาหารไม่ย่อยฯลฯ เช่น น้ำมันยี่หร่า น้ำมันส้มน้ำมันขิง และน้ำมันกระเทียม
-* ขับลมและแก้ปวดท้องเนื่องจากมีกรดมาก คลื่นไส้ เช่น น้ำมันกะเพรา และน้ำมันสะระแหน่
-* ขับน้ำดีเพื่อเพิ่มน้ำดีและกระตุ้นการทำงานของถุงน้ำดี เช่น น้ำมันลาเวนเดอร์
-* ทำให้เจริญอาหารเช่น น้ำมันยี่หร่า น้ำมันส้ม น้ำมันขิง และ น้ำมันกระเทียม

๔. ระบบย่อยอาหาร
น้ำมันหอมระเหยที่ใช้สำหรับระบบนี้ค่อนข้างมีขอบเขตจำกัดเมื่อเทียบกับยาที่ใช้รับประทาน

-* แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อเนื่องจากปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ฯลฯ เช่น น้ำมันยี่หร่า น้ำมันส้มน้ำมันขิง และ น้ำมันกระเทียม
-* ขับลมและแก้ปวดท้องเนื่องจากมีกรดมาก คลื่นไส้ เช่น น้ำมันกะเพรา
-* ขับน้ำดี เพื่อเพิ่มน้ำดีและ กระตุ้นการทำงานของถุงน้ำดี เช่น น้ำมันลาเวนเดอร์
-* ทำให้เจริญอาหาร เช่น น้ำมันยี่หร่า น้ำมันส้ม น้ำมันขิง และ น้ำมันกระเทียม

๕. ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบต่อมไร้ท่อ
น้ำมันหอมระเหยมีผลต่อระบบนี้โดยการดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตหรืออาจจะไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน

-* แก้กล้ามเนื้อเกร็ง สำหรับปวดท้องประจำเดือน ตอนใกล้คลอด ฯลฯ เช่น น้ำมันแคโมมิลล์ น้ำมันมะลิ และ น้ำมันลาเวนเดอร์
-* ขับระดู สำหรับผู้ที่มีประจำเดือนน้อยหรือไม่มี เช่น น้ำมันแคโมมิลล์ และ น้ำมันสะระแหน่
-* ระงับเชื้อและฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เช่น น้ำมันแคโมมิลล์ น้ำมันกำยาน น้ำมันกุหลาบ
-* ขับน้ำนม เช่น น้ำมันยี่หร่า น้ำมันมะลิ และ น้ำมันตะไคร้
-* ปลุกกำหนัดสำหรับกามตายด้านหรือไม่ค่อยมีความรู้สึก เช่น น้ำมันพริกไทดำน้ำมันกระวาน น้ำมันมะลิ น้ำมันกุหลาบ น้ำมันกระดังงา และ น้ำมันไม้จันทน์
-* ลดความกำหนัด เช่น น้ำมันการบูร

๖. ระบบภูมิคุ้มกัน
ส่วนใหญ่น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเพิ่มการผลิตเม็ดเลือดขาว

-* ป้องกันเชื้อแบคทีเรียและไวรัส ทำให้ไม่เป็นหวัด เช่น น้ำมันเขียว น้ำมันกระเพรา น้ำมันลาเวนเดอร์ น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันการบูร และ น้ำมันกานพลู
-* ใช้ลดไข้ เช่น น้ำมันกระเพรา น้ำมันสะระแหน่ น้ำมันมะนาว และ น้ำมันยูคาลิปตัส

๗. ระบบประสาท
ได้มีการพิสูจน์แล้วว่าน้ำมันหลายชนิดมีผลต่อระบบประสาท เช่น น้ำมันไม้จันทน์ น้ำมันมะกรูด และ น้ำมันลาเวนเดอร์ มีผลในการสงบระงับประสาทส่วนกลาง น้ำมันมะลิ น้ำมันสะระแหน่ น้ำมันกระเพรา น้ำมันกานพลู และ น้ำมันกระดังงา มีฤทธิ์ในการกระตุ้นประสาท

๘. จิตใจ
น้ำมันหอมระเหยมีอิทธิพลทางด้านจิตใจมาช้านานแล้ว นับตั้งแต่การใช้ในศาสนพิธีและพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่ากลิ่นมีผลต่อสมองและอารมณ์ผลของกลิ่นมีต่อบุคคลขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการดังนี้

-* วิธีที่ใช้
-* ปริมาณที่ใช้
-* สภาวะที่กำลังใช้อยู่
-* สภาวะของบุคคลที่ใช้(อายุเพศบุคคลิก)
-* อารมณ์ในขณะที่จะใช้
-* ความรู้สึกในอดีตเกี่ยวกับกลิ่นที่จะใช้
-* ความไม่รับรู้ต่อกลิ่นบางอย่าง

ดังนั้นเราต้องจัดกลิ่นให้เหมาะกับผู้ใช้น้ำมันหอมระเหย สามารถแสดง ความ เชื่อมโยงระหว่างธรรมชาติกับ ความต้องการ ของบุคคล กุหลาบ เป็น ตัวอย่างที่ดี เพราะดอกกุหลาบเองก็หมายถึง ความงาม ความรักและ ทางด้านจิตใจ ที่เกี่ยวข้องกับนิยายและศาสนา แต่ในขณะเดียวกันก็ถูกนำไปใช้รักษาเกี่ยวกับผิวหนัง คุมประจำเดือน เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดบริสุทธิ์ และบำรุงหัวใจดังนั้นเมื่อเราได้กลิ่นกุหลาบก็จะเชื่อมโยงเราไปสู่ความสัมพันธ์เหล่านี้ซึ่งจะมีผลต่อจิตใจและตามมาด้วยผลต่อร่างกายซึ่งผลเหล่านี้ได้ถูกครอบคลุมอยู่ในจิตใจของเขาอยู่แล้ว

วิธีการใช้น้ำมันหอมระเหย
การใช้น้ำมันหอมระเหยต้องใช้ให้ถูกวิธีด้วย น้ำมันหอมระเหยเพื่อการบำบัด ห้ามใช้โดยตรง และต้องใช้ในระดับความเข้มข้นต่ำ ซึ่งการทำให้เจือจางทำได้หลายวิธีเช่น

๑. ใช้ผสมน้ำอาบ หรือใช้ตักอาบหรืออาบจากฝักบัวก็ย่อมได้ วิธีคือหยดน้ำมันหอมระเหยลงบนผ้า ฟองน้ำ หรือจะเป็นลูกบวบที่ใช้ถูตัวที่เปียกน้ำพอหมาดๆ แล้ว ถูตัว หลังจากอาบน้ำเสร็จแล้วโดยน้ำมันหอมระเหยที่ผสมกับน้ำมันตัวพา (carrier oil) เรียบร้อยแล้วมานวดบริเวณรอบลำคอ หัวไหล่ แขน หลังโดยใช้ฝ่ามือนวดหมุนตามเข็มนาฬิกา หรืออาจจะนวดจากต้นขาลงมาถึงเท้า แต่ควรหลีกเลี่ยงการนวดบนสันหลัง และที่สำคัญ การนวดเพื่อรักษาต้องกระทำโดยผู้ชำนาญการซึ่งมีความรู้ด้านการนวดเป็นอย่างดี "เท่านั้น"

๒. ผสมน้ำมันหอมระเหยลงในตัวพา ซึ่งอาจเป็นน้ำสะอาด น้ำดอกไม้แช่เย็นหรือน้ำชาสมุนไพรเอามากวนๆ จนเข้ากัน จากนั้นใช้ผ้าจุ่ม บิดหมาดๆ แล้วนำมาประคบตามจุดที่ต้องการ ถ้าใช้น้ำร้อนก็เรียกว่า ประคบร้อน

๓. นำน้ำมันหอมระเหยมาผสมให้เจือจาง เช่น หยดลงบนกระดาษทิชชู ผ้าเช็ดหน้าหรือสำลี แล้วจึงสูดกลิ่น หรือไม่อีกทีก็ผสมน้ำมันหอมระเหยลงในตัวพาก่อนแล้วจึงสูดดมโดยตรงหรือหยดลงบนผ้าอีกทีแล้วค่อยดมก็ได้

๔. นำน้ำมันหอมระเหยมาผสมกับน้ำอุ่นที่ไม่เกิน ๔๕ องศาเซลเซียส แล้วเขย่าๆ ให้เข้ากัน จากนั้นบรรจุลงในภาชนะที่มีหัวฉีดพ่นละออง แล้วถึงเอาไปพ่น ตามห้องที่สถานที่ตามต้องการ

๕. ผสมน้ำมันหอมระเหยลงในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางซึ่งไม่มีการแต่งกลิ่น ถ้าใช้กับใบหน้าไม่ควรใช้เกิน ๒% ถ้าใช้กับร่างกายเข้มข้นได้มากกว่าเล็กน้อย แต่ก็ไม่เกิน ๓%

๖. หยดน้ำมันหอมระเหยลงในน้ำและในตะเกียง ก่อนจะเผาที่อุณหภูมิไม่เกิน ๖๐ องศาเซลเซียส เท่านี้ก็จะได้ไอระเหยของน้ำมันหอมแล้วก็สูดเข้าไป

๗. การนั่งแช่ หรือเอามือหรือเท้าแช่เพื่อจุดประสงค์ในการรักษาเฉพาะที่ การแช่ควรแช่ในน้ำอุ่นและให้อุ่นตลอดเวลาการแช่ราวๆ ๑๐ นาที หยดน้ำมันหอมระเหยลงไปซัก ๓ -๔ หยด

๘. ผสมน้ำมันหอมระเหยลงในเทียน เวลาจุดเทียนก็จะได้กลิ่นหอมระเหยออกมา

ปรับสมดุลจิต ด้วยกลิ่น
การปรับสมดุลด้วยกลิ่นเข้ามามีผลต่อสภาวะทางจิตใจ เป็นอย่างมาก เนื่องด้วยปัจจุบันคนเรามีภาวะ ตึงเครียดเพิ่มขึ้นมาก วิธีการรักษา หรือผ่อนคลายความเครียดด้วยตัวเองก็มีหลายวิธี แต่วิธีง่ายๆ ก็นี้คือ การใช้นำมันหอมระเหย ขณะนี้ได้มีการกำหนดการใช้น้ำมันหอมระเหยโดยแยกเป็นกลุ่ม แบ่งไปตามอาการทางจิตประเภทต่างๆ โดยใช้ผสมในน้ำอาบ ฉีดพ่นในอากาศเพื่อสูดดม นวดเข้าทางผิวหนัง ให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายจากอาการต่างๆ เช่น

๑. โกรธ - ใช้น้ำมันกระดังงา น้ำมันคาโมมายล์
๒. กังวล - ใช้น้ำมันมะกรูด น้ำมันผิวมะนาว น้ำมันหอมจากต้นสน
๓. เก็บกด - ใช้น้ำมันลาเวนเดอร์ น้ำมันกุหลาบ น้ำมันโรสแมรี่
๔. ความจำเสื่อม - ใช้น้ำมันขิง น้ำมันเบซิล
๕. จิตอ่อนล้า - ใช้น้ำมันขิง น้ำมันสะระแหน่ น้ำมันโรสแมรี่รี่
๖. ประสาทตึงเครียด - ใช้น้ำมันลาเวนเดอร์ น้ำมันกระดังงา น้ำมันผิวส้ม
๗. หงุดหงิด - ใช้น้ำมันผิวส้ม น้ำมันผิวมะนาว
๘. เศร้าเสียใจ - ใช้น้ำมันดอกมะลิ น้ำมันกุหลาบ

ขณะนี้ในโรงพยาบาลหลายแห่งมีการนำการแพทย์แผนไทยเข้าไปให้บริการแก่ประชาชน เพื่อเป็นทางเลือกในการรักษาสุขภาพ และที่โรงพยาบาลจังหวัดสมุทรสาครเองก็เป็นอีก โรงพยาบาลหนึ่งที่มีการนำกลิ่นหอมของสมุนไพรไทยมาใช้ โดยใช้ผสมผสานไปกับการรักษาแบบแพทย์แผนไทยอื่นๆ เช่น การรักษาตามธาตุเจ้าเรือน การใช้ยาแผนไทย การนวด อบตัว การประคบร้อนส่วนใหญ่พบว่า ผู้ป่วยเหล่านี้มักมีอาการเครียดจากการพักรักษาตัวนานๆ ประกอบกับกล้ามเนื้ออ่อนแรง การนวดประคบตัวสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมจึงช่วยสร้างความผ่อนคลายให้ได้มาก ทำให้มีผลตอบสนองในการรักษาที่ดีขึ้น ในอนาคต ทางโรงพยาบาลยังมีแนวโน้มที่จะนำการใช้สมุนไพรที่มีกลิ่นหอมไปช่วยบำบัดอาการของผู้ป่วยจิตเวทที่มีอาการซึมเศร้า ให้เกิดความผ่อนคลายได้มากขึ้น

การนำสมุนไพรในครัวมาทำกลิ่นบำบัด
กลิ่นนอกจากจะช่วยให้สบายกายสบายใจแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ในเรื่องความสวยความงาม เช่นทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งขึ้น หรือทำให้ผมนุ่มสลวยได้ด้วย

๑. หอมสดชื่นที่เรือนผม
นำผลมะกรูดสดมาอังไฟในเตาถ่านหรือต้ม ให้นิ่ม คั้นเอาแต่น้ำ กรองเอากากออก นำมาสระผมได้ทุกวัน ช่วยให้ผมดำ ดำเงางาม ลดอาการคัน รังแค ผมร่วง ชันนะตุ

๒. หอมเย็นดื่มชื่นใจ
บำรุงหัวใจง่ายๆด้วยการนำดอกมะลิแห้งสัก ๕ ดอก (๑.๕ - ๓ กรัม) มาชงหรือต้มในน้ำหนึ่งแก้วดื่ม ขอแนะนำว่ามะลิที่จะนำมาชง ดื่มควรเป็นมะลิที่ปลูกเองในบ้าน โดยไม่ฉีดพ่นสารฆ่าแมลงเพื่อป้องกันสารพิษตกค้าง

๓. หอมโล่งจมูก
บรรเทาหวัดสำหรับเด็กเล็ก ให้นำหอมแดงมาทุบสัก ๔-๕ หัว ใส่ห่อผ้า นำไปวางไว้ที่หัวนอนขณะเด็กหลับ

๔. บรรเทาหวัดสำหรับเด็กโต
ใช้ตะไคร้ ๔-๕ ต้น มัดเป็นกำสั้นๆกับหอมแดง ๓-๔ หัว ทุบพอแหลก นำไปต้มในหม้อใหญ่ พอเดือดจึงยกลง แล้วใช้ผ้าห่มคลุมตัวเด็กไว้กับหม้อ ค่อยๆเปิดฝาหม้อ
ทีละน้อยให้ไอน้ำสมุนไพรในหม้อรมตัวเด็ก เมื่อรมเสร็จแล้วให้เอาศีรษะโผล่ออกมานอกผ้าห่ม รอจนตัวหายร้อนแล้วจึงยกผ้าห่มออกได้

๕. บรรเทาหวัดสำหรับผู้ใหญ่
ใช้สมุนไพร ๖ ชนิด มี ว่านน้ำ หอมแดง ตะไคร้ ใบมะขาม ส้มป่อย และผิวมะกรูด นำสมุนไพรมาตำ พอแตก เติมพิมเสนลงไปหนึ่งในสี่ของหม้อหุงข้าวไฟฟ้าที่เตรียมไว้ เติมน้ำราวสาม ในสี่ ปิดฝาเสียบปลั๊กต้มจนเดือด พอเดือดนำไปต้มต่อในกระโจมที่มีผู้ป่วยอยู่ อบไว้ราว ๑๕-๒๐ นาที ค่อยๆเปิดฝาหม้อให้ไอน้ำลอยออกมาช้าๆ กระโจมนี้สามารถดัดแปลงได้จากร่มและผ้าปูที่นอน โดยแขวนร่มไว้ให้สูงพอควร แล้วใช้ผ้าปูที่นอนคลุมให้รอบ เปิดเป็นช่องให้ระบายอากาศได้บ้างเล็กน้อย

๖. หอมไล่แมลงและสร้างกลิ่นสดชื่น
ใช้ตะไคร้หอมทุบสัก ๔-๕ ต้น มาวางในห้อง กลิ่นน้ำหอมระเหยจะไล่ยุงให้หนีหายไป นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ที่อยู่ในห้องหายใจได้โล่งจมูกขึ้นด้วย

๗. หอมไกลไล่กลิ่นอับ
ทำบุหงาไว้แขวนไล่กลิ่นอับ โดยเลือกกุหลาบ มะลิ พิกุล กระดังงา ใบเตย แกะกลีบหรือหั่นเป็นริ้วตากแห้งอย่างละ ๑ ถ้วย ผสมรวมกันในโถ ใส่พิมเสน ๑/๔ ช้อนชา ผสม รวมกันใส่น้ำปรุง ๒ ช้อนชา คลุกเบาๆพอเข้ากัน แล้วจุดเทียนอบไว้ประมาณ ๒๐ นาที จากนั้นนำบุหงาที่ได้บรรจุในถุงผ้าโปร่งนำไปแขวนไว้ในตู้เสื้อผ้า หรือจะแขวนไว้ ในรถยนต์ก็ได้

ข้อควรระวังในการใช้น้ำมันหอมระเหย

-* ก่อนใช้น้ำมันหอมระเหยควรทดสอบว่าแพ้น้ำมันหอมระเหยชนิดนั้นหรือไม่เพราะแต่ละบุคคลมีการตอบสนองต่อสารเคมีแตกต่างกัน
-* ต้องให้แน่ใจว่าน้ำมันหอมระเหยนั้นไม่มีพิษ ไม่ก่อให้เกิดการไวต่อแสงหรือระคายเคืองต่อผิวหนัง (น้ำมันโหระพา น้ำมันอบเชย น้ำมันกานพลู น้ำมันสะระแหน่) หรือทำให้เกิดการแพ้ง่าย (น้ำมัน ตะไคร้หอม น้ำมันกระเทียม น้ำมันขิง น้ำมันมะลิ น้ำมันมะนาว น้ำมันตะไคร้ น้ำมันขมิ้น)
-* ไม่ควรใช้น้ำมันหอมระเหยบางอย่าง เช่น hyssop, rosemary, sage และ thyme กับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
-* ผู้ป่วย Homeopathic ไม่ควรใช้ น้ำมันพริกไทดำ น้ำมันการบูร น้ำมันยูคาลิปตัส
-* ทารกและเด็กต้องใช้ด้วยความระมัดระวังตามขนาดที่ปรับเข้ากับอายุ
-* สตรีที่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ควร หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันหอมระเหยต่อไปนี้ คือ น้ำมันโหระพา น้ำมันกานพลู น้ำมันเปปเปอร์มินต์ น้ำมันกุหลาบ น้ำมันโรสแมรี่ น้ำมันแคลรี่เซจ (clary sage oil) น้ำมันไทม์ (thyme oil) น้ำมันวินเทอร์กรีน (wintergreen oil) น้ำมันมาร์โจแรม (marjoram oil) และเมอร์(myrrh)
-* ผู้ที่เป็นโรคลมชัก และผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ควรหลีกเลี่ยงน้ำมันโรสแมรี่ น้ำมันเซจ
-* ใช้น้ำมันหอมระเหยปริมาณเพียงครึ่งหนึ่งของที่ระบุไว้ และดูว่าน้ำมันหอมระเหยนั้นมีข้อควรระวังสำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์หรือไม่
-* น้ำมันหอมระเหยบางชนิดเหนี่ยวนำให้ ผิวหนังมีความไวต่อแสง (photosensitive) เช่น น้ำมัน มะกรูด น้ำมันมะนาว ฯลฯ ดังนั้นจึงควร หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดโดยตรงภายหลังจากการใช้น้ำมันหอมระเหยกลุ่มนี้เป็นเวลาอย่างน้อย ๔ ชั่วโมง
-* ควรเก็บน้ำมันหอมระเหยในขวดที่มีสี เข้ม ในที่ปลอดภัยห่างจากมือเด็กและเปลวไฟ

ความปลอดภัยในการใช้อโรม่าเทอร์ราพี
การใช้อโรม่าเทอร์ราพี ค่อนข้างปลอดภัย แต่ควรจะตระหนักว่าน้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติค่อนข้างเข้มข้น ดังนั้นจึงควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ต้องไม่มากเกินไปเมื่อต้องการให้บำบัดโดยการสูดดม หรือบำบัดโดยการทาถูและนวดตามร่างกาย เพราะน้ำมันหลาย ๆ ชนิดอาจจะมีผลระคายเคืองผิวหนังได้ และควรจะระวังในผู้หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่แพ้ง่ายเมื่อได้รับการสัมผัสทางผิวหนัง ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ในเด็กเล็ก และทารกซึ่งมีผิวบอบบาง เพราะน้ำมันหอมระเหยหลายชนิดมีกลิ่นฉุนแรงบางชนิดมีฤทธิ์เป็นกรด ทำให้ระคายผิวได้ง่ายนอกจากนี้การใช้น้ำมันหอมระเหยสำหรับบำบัดอาการต่าง ๆ จะปลอดภัยยิ่งขึ้นถ้าหลับตาก่อนที่จะสเปรย์น้ำมันหอมระเหยสู่บรรยากาศในห้อง เพื่อป้องกันไม่ให้ไอระเหยเข้าตาได้










Create Date : 20 ธันวาคม 2550
Last Update : 10 พฤษภาคม 2551 22:05:27 น. 20 comments
Counter : 8805 Pageviews.

 
ชอบกลิ่น ลาเวนเดอร์อะค่ะ ที่ห้องก็ใช่อยู่ มีเที่ยนหอมกลิ่นลาเวนเดอร์ กะน้ำมันหอมระเหย ชอบอยู่สองกลิ่น อีกกลิ่นก็กล้วยไม้อะค่ะ ชอบเหมือนกันหอมดี


โดย: ชบาแก้ว IP: 58.136.48.196 วันที่: 20 ธันวาคม 2550 เวลา:20:54:06 น.  

 
เริ่มหากลิ่นหอม ๆ มาวางในห้องเหมือนกัน

ดมแล้วสดชื่น สบายใจ


โดย: maxpal วันที่: 20 ธันวาคม 2550 เวลา:22:03:51 น.  

 
ขอเพิ่มเติมข้อมูลให้หลานกบครับ

ในปีค.ศ. 1998 V J Amitab Sing แห่งสถาบันเทคโนโลยีเดลฮี ได้ทำการวิจัยกายบริหารประกอบเพลงเพื่อบำบัดความเครียดขึ้นมาครับ เรียกว่า Yoga Der La Hoya หรือเรียกย่อๆ ว่า YDLH

หลักการคือการทำโยคะ สลับกับการเต้นฟุตเวิร์คประกอบเพลงครับ

Dr.Sing ได้ทำการวิจัยกับนักศึกษาทางด้าน IT ของอินเดียซึ่งมีความเครียดสูง เพราะแข่งขันกันมาก ให้ทำการบำบัดโดยใช้ YDLH นี้

ปรากฏว่า
38.95% มีอัตราการเต้นของหัวใจช้าลง
42.33% สมรรถภาพของร่างกายดีขึ้น
78.26% บอกว่ารู้สึกความเครียดลดลงอย่างเห็นได้ชัด

จัดเป็นทางเลือกใหม่ที่คู่กันมากับอโรมาเธอราพีเลยครับ แต่ที่ไม่โด่งดังนัก เพราะในเมืองไทยมักใช้กับค่ายมวยน่ะครับ ซึ่งสามารถเองที่พลิ้วได้ขนาดนี้ ว่ากันว่าเพราะได้ทำการบำบัดโดยใช้วิธีนี้มาก่อนครับ

ปกติเพลงประกอบจะใช้เพลง Sholey แต่เมื่อมาถึงเมืองไทย มีการปรับมาใช้เพลงไทยครับ







โดย: อุปนิกขิต วันที่: 21 ธันวาคม 2550 เวลา:1:57:58 น.  

 
ดีค่ะพี่กบ...เข้ามาที่ไรก็ได้ความรู้กลับไปทุกที...คิดถึงนะค่ะ..วันนี้แพร์กลับบ้านที่เชียงราย...แล้วจะเที่ยวเพื่อคนป่วยนะค่ะ...หายไวๆนะแล้วก็รักษาสุขภาพด้วยค่ะ...รักนะจุ๊บๆๆ


โดย: หมอแพร์ IP: 203.185.68.163 วันที่: 21 ธันวาคม 2550 เวลา:7:52:15 น.  

 
อ่านสาระน่ารู้เกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว..ชักอยากจะลองหามาบำบัดและบำรุงความงามบางแล้วละจ้ะ...ปกติเคยจุดแต่ธูปหอมใช้ทุกวันจนเคยชิน..ช่วยให้ผ่อนคลายได้นะ...ชอบคุณกบจ้ะที่หาเรืองราวที่เป็นประโยชน์ดีๆ อย่างนี้มาให้อ่าน...ขอบคุณปู่ที่แนะนำค่า..


โดย: ฝน วนันฯ (fon_wanan ) วันที่: 21 ธันวาคม 2550 เวลา:8:18:15 น.  

 
5555.....ปู่......ผู้น่าสงสาร(รึป่าวเนี่ย)


โดย: พี่ขวัญเอง IP: 61.19.24.122 วันที่: 21 ธันวาคม 2550 เวลา:8:51:40 น.  

 
สวัสดีจ้า ทุกคน ....
อิอิ สรรหาวิธีคลายเครียด วิธีต่างๆดูอะจ้า
เห็นว่า ก็น่าสนใจดี เลยนำมาแป๊ะไว้ฝากไว้ด้วยอะจ้า

--- ชบาแก้ว ---
ดีจ้า น้องปลา ...กลิ่นลาเวนเดอร์ พี่ก็ชอบเหมือนกันจ้า
หอมดีเน๊อะ แต่ส่วนใหญ่วิธีที่ใช้บ่อย..หยดน้ำมันหอมระเหยลงในน้ำ หรือในตะเกียง อะจ้า

--- maxpal ---
ดีจ้า เห็นด้วยจ้า กลิ่นหอมๆ กลิ่นธรรมชาติ
ปรับสูดดม ตามภาวะอารมณ์ ก็ดีไปอีกแบบเน๊อะค่ะ...

--- อุปนิกขิต ---
สวัสดีงามๆ หนึ่งครั้งจ้า ปู่ฯ ขา
วิธีที่ ปู่ฯ ช่วยเสริมให้ก็น่าสนใจน๊อ.....ขอบคุณมากค่ะ
วิธีที่ใช้กับนักมวย อิอิ
เหอะๆๆๆ เข้าใจหาเพลงประกอบนะจ๊ะ
ปู่ฯ อ่ะ แกล้งนู๋อีกแล้วนะ แหะๆๆ

--- หมอแพร์ ---
เดินทางปลอดภัยนะจ๊ะ น้องแพร์

--- ฝน วนันฯ (fon_wanan ) ---
ขอบคุณจ้า พี่ฝน ขา ผู้ใจดีแวะมาเยี่ยมให้น้องอบอุ่นในหัวใจ อิอิ

--- พี่ขวัญเอง ---
ดีจ้า พี่ขวัญ จ๋า ....ที่น่าสงสาร อ่ะไม่ใช่ ปู่ฯ จิค่ะ
นู๋น่าสงสารมากกว่า แงๆๆ ดูจิ ปู่ฯ หาเพลงประกอบ
มาประชดนู๋อ่ะ




โดย: naragorn วันที่: 21 ธันวาคม 2550 เวลา:10:34:20 น.  

 
55555.....ตามปู่ทันแล้วหนิ....

เก่งจัง.......


โดย: NuHring วันที่: 21 ธันวาคม 2550 เวลา:18:07:46 น.  

 



.....Merry Christmas ครับ.....


โดย: doctorbird วันที่: 21 ธันวาคม 2550 เวลา:21:02:21 น.  

 


สุขสันต์วันคริสมาสค่ะ มีความสุขนะคะ


โดย: เนระพูสี วันที่: 21 ธันวาคม 2550 เวลา:22:00:46 น.  

 
สวัสดีค่ะพี่สาวคนสวย รักษาสุขภาพด้วยค่ะ


โดย: คิม IP: 124.120.162.140 วันที่: 22 ธันวาคม 2550 เวลา:19:55:48 น.  

 
แวะมาทักทายคะ merry christmas....สุขภาพแข็งแรงนะคะ


โดย: lonely-away (ไส้ตะเกียง ) วันที่: 23 ธันวาคม 2550 เวลา:0:47:17 น.  

 
glitter graphics


โดย: Kaekoe วันที่: 25 ธันวาคม 2550 เวลา:22:27:25 น.  

 
Merry X' Mas ค่ะพี่กบ
....มีความสุขมากๆนะค่ะพี่ ถ้าไปเที่ยวก็เที่ยวให้สนุกนะค่ะ


โดย: ชบาแก้ว (peta.W ) วันที่: 25 ธันวาคม 2550 เวลา:22:43:28 น.  

 
Merry X’mas & Happy New Year 2008

มีลูกโป่งให้จิ้มนับถอยหลังเล่นๆ รอรอยยิ้มวันฉลองความสุข



โดย: =Lord Gary= วันที่: 26 ธันวาคม 2550 เวลา:22:49:13 น.  

 
มา Merry X'mas ย้อนหลัง แต่ก็ Happy New Year 2008 ล่วงหน้านะจ๊ะตะเอง

รักนะจุ๊บๆๆ


โดย: mauy_pp (punnapar ) วันที่: 27 ธันวาคม 2550 เวลา:11:12:50 น.  

 



.....สุขสันต์วันปีใหม่ครับ.....


โดย: doctorbird วันที่: 28 ธันวาคม 2550 เวลา:15:37:35 น.  

 

Photobucket


สวัสดีปีใหม่ 2551 ขอให้มีแต่ความสุขนะคะ




โดย: เนระพูสี วันที่: 29 ธันวาคม 2550 เวลา:7:49:53 น.  

 
ปีใหม่แล้ว ไปเที่ยวไหนเอ่ย??

พรุ่งนี้พี่จะไปนครฯด้วย

พี่ขอให้น้องมีความสุขมากๆนะคะ



ตลอดปี จง มี สุข ใจ

ตลอดไป นับ แต่ บัด นี้

ให้สิ้นทุกข์ สุขเกษม เปรม ปรีดิ์

สวัสดี วัน ปี ใหม่เทอญ



โดย: janeko วันที่: 29 ธันวาคม 2550 เวลา:14:14:00 น.  

 
ขอบคุณมากนะคะ สำหรับข้อมูลดีๆ


โดย: * IP: 125.24.141.119 วันที่: 17 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:5:34:45 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

naragorn
Location :
นครศรีธรรมราช Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ก็แค่คนธรรมดาๆ คนหนึ่ง

..เรียนหนังสือ ~*~..ทั้งทำงานที่รัก และ งานที่ต้องทำตามหน้าที่ แลกเงินเพื่อยังชีพ ..~*~..อยู่บ้านเลี้ยงน้องหมา..ลั่ลล้า







Friends' blogs
[Add naragorn's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.