ให้ปากกามันพาไป ให้หัวใจมันขีดเขียน
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
24 พฤศจิกายน 2553
 
All Blogs
 

Onsite Cytology

วันนี้ Resident ไอติมได้มีโอกาสติดตามอาจารย์ไปทำ Onsite Cytology หรือการไปประเมินผลการตรวจทางเซลล์วิทยาข้างเตียงผู้ป่วย หนึ่งในกิจกรรมไม่กี่อย่างที่พยาธิแพทย์จะได้ออกไปใกล้ชิดกับผู้ป่วยตัวเป็นๆ

การตรวจทางเซลล์วิทยา หรือ Cytology นั้น เป็นการตรวจคัดกรองหรือตรวจวินิจฉัยโรคที่สะดวกและรวดเร็ววิธีหนึ่ง หลักการง่ายๆก็คือเอาเข็มฉีดยาจิ้มเข้าไปตรงรอยโรค ดูดๆเซลล์แถวนั้นออกมาป้ายๆบนสไลด์ แล้วก็เอามาส่องดู ซึ่งทางการแพทย์เราเรียกหัตถการแบบนี้ว่า Fine Needle Aspiration (FNA) ฟังดูก็ง่ายดี สะดวก ไม่เจ็บตัว แล้วทำไมต้องให้พยาธิแพทย์ออกมาจากซอกหลืบแสนสงบของตัวเองมาเผชิญกับโลกภายนอกที่แสนจะวุ่นวายเพื่อควบคุมการผลิตสไลด์แค่สองสามแผ่นนี้ด้วย

นั่นเป็นเพราะว่า แม้จะดูเหมือนง่าย แต่มีรายละเอียดปลีกย่อยเยอะ ส่วนมากมักจะเป็นเรื่องที่จิ้มไม่โดนจุด ดูดได้แต่เลือด ในเมื่อก้อนต่างๆมันอยู่ในร่างกาย คุณหมอคนเจาะต้องเอามือคลำๆ กะตำแหน่งแล้วก็เจาะ บางทีก็ยากกว่านั้น ต้องเอากล้องส่องเข้าไปในท้องบ้าง ในหลอดลมบ้าง แล้วก็จิ้มๆดูดๆออกมา ซึ่งบางทีก็จิ้มผิดจิ้มถูก โดนบ้างไม่โดนบ้าง หากจิ้มไม่โดนได้แต่เลือดมาแล้ว ต่อให้เป็นพยาธิแพทย์เทวดามาจากไหนก็ไม่สามารถบอกได้หรอกว่าไอ้รอยโรคนี้มันเป็นอะไร เราเรียกการเจาะที่ไม่สามารถให้คำวินิจฉัยนี้ว่าเป็นตัวอย่างที่ "ไม่พอเพียง" (Inadequate specimen) ซึ่งก็ต้องนัดคนไข้มาเจาะใหม่ เจ็บตัวซ้ำ เสียเวลาทั้งหมอคนเจาะ คนไข้ และพยาธิแพทย์ที่ต้องอ่านสไลด์จากผู้ป่วยคนเดิมซ้ำๆซากๆ อาจจะเสียความรู้สึกทั้งคนไข้ทีเจ็บตัวบ่อยๆ แต่ไม่รู้สักทีว่าเป็นอะไร หมอคนเจาะที่เจาะเท่าไหร่ก็ไม่ได้คำตอบ และพยาธิแพทย์ที่ได้สไลด์กี่แผ่นๆก็มีแต่เลือด อ่านไม่ออก บอกไม่ได้

การออกไป Onsite นั้น โดยมากจะใช้นักเซลล์วิทยาออกไปกับเราด้วย โดยนักเซลล์วิทยาจะทำสไลด์ทันที และให้พยาธิแพทย์ส่องดูเดี๋ยวนั้นเพื่อประเมินว่าได้เซลล์มากพอในการวินิจฉัยหรือยัง บางครั้งเราอาจจะให้คำวินิจฉัยได้เลยถ้าหากมันชัดเจนจริงๆ ถ้าหากว่าได้แต่เลือด หรือมีเซลล์ไม่เพียงพอ หมอคนเจาะก็จะได้พิจารณาเจาะซ้ำให้อีกโดยพลัน ทำให้คนไข้ไม่ต้องเจ็บตัวโดนส่องกล้องบ่อยๆ หรือเสียเวลานัดมาเจาะตรวจบ่อยๆ ก็เจาะซ้ำๆไปเรื่อยๆจนกว่าจะเป็นที่พอใจแล้วก็ปล่อยคนไข้กลับบ้านได้และนอนใจได้ว่าผลการเจาะตรวจจะไม่ออกมาเป็น "ไม่พอเพียง" (Inadequate) แน่ๆ

นอกจากนั้น การออกไปควบคุมการผลิตสไลด์ทำให้ได้สไลด์ที่มีคุณภาพดี ไม่แห้งกรังจนเซลล์แตกระเบิดดูอะไรไม่ได้ หรือหนาเตอะจนมองอะไรไม่ออก การที่เราออกไปแล้วก็ทำให้เขาดูว่าสไลด์ที่ดีต้องผ่านกระบวนการผลิตที่เอาใจใส่ ไม่ใช่สักแต่ป้ายๆลงบนสไลด์แล้วโยนลงกระปุกส่งตรวจนั้น ทำให้เขาตระหนักถึงความสำคัญ และได้เรียนรู้วิธีการที่ถูกต้องในการผลิตสไลด์ และในภายหลัง แม้เราจะไม่ได้ไปควบคุมการผลิตก็จะทำให้ผู้เก็บสิ่งส่งตรวจผลิตสไลด์ที่มีคุณภาพดีให้เราได้

ดังนั้น การทำงานของพยาธิแพทย์ในปัจจุบันนั้นไม่ใช่แค่นั่งอยู่แต่ในห้องแล้วรอรับมือกับสิ่งส่งตรวจเพียงอย่างเดียว ถึงเวลาแล้วที่เราต้องออกไปเผชิญโลกภายนอก บอกให้เขารู้ว่าเราต้องการอะไร เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น และเป็นที่พอใจด้วยกันทุกๆฝ่าย และผลดีก็ตกอยู่กับทุกๆคนรวมถึงตัวคนไข้ด้วย

พยาธิแพทย์จงเจริญ




 

Create Date : 24 พฤศจิกายน 2553
1 comments
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2553 19:36:53 น.
Counter : 875 Pageviews.

 

กระจ่างมากขึ้นว่าหมอพาโธทำอะไรบ้าง :)

นึกถึงที่วอร์ดว่าทำ cytology อะไรบ้าง ก็นึกออกแค่ว่าเรามีแต่เจาะ Cerebrospinal fluid ซึ่งหมอที่วอร์ดจะเจาะกันเอง ก็เลยไม่เคยเห็นพาโธแวะมาเยี่ยมเยือนเลยค่ะ

 

โดย: Smilla 26 พฤศจิกายน 2553 16:16:56 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


คนคนนี้ มีความเหงาเป็นเพื่อน
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




ดูเผินเผินเหมือนบ้าปัญญาอ่อน
ดูนานนานแล้วหลอนคล้ายคล้ายผี
ดูดูไปเหมือนว่าไม่มีดี
ดูอีกทีดู"................"

เติมเองตามใจชอบเลยครับ
Friends' blogs
[Add คนคนนี้ มีความเหงาเป็นเพื่อน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.