ความวิปโยคสุดพรรณนาและความยิ่งใหญ่คือชาตากรรมแห่งความรักของฉันที่มีต่อเธอ Unsagbares Leid und Größe ist das Schicksal meiner Liebe für dich. Untoldly sorrowful and great is the destiny of my love for you.
Group Blog
 
 
ตุลาคม 2548
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
22 ตุลาคม 2548
 
All Blogs
 
จุลอภิธานศัพท์ดนตรี

cantata (อิ.) ภาษาเยอรมันใช้ว่า Kantate (คานทาเทอะ) “คันทาทา” เป็นงานประพันธ์ดนตรีสำหรับการขับร้อง หรืองานขับร้องประสานเสียงที่นำมาขยายออก โดยมีเสียงขับร้องเดี่ยว(solo)หรือไม่มีก็ได้ โดยปกติใช้วงดุริยางค์บรรเลงประกอบ แต่ความหมายดังกล่าวนี้เป็นความหมายที่ใช้กันใหม่ล่าสุด ในสมัยบาโรคของอิตาลี (เช่น อเลซซานโดร สการ์ลาททิ Alessandro Scarlatti) ใช้เสียงขับร้องเดี่ยวแนวเดียวหรือหลายแนวและคอนทินูโอ (continuo) ส่วนคันทาทาของบาคนั้น มีการใช้เสียงขับร้องเดี่ยวแนวเดียวหรือหลายแนว พร้อมด้วยดนตรีบรรเลงประกอบ มีหรือไม่มีเสียงขับร้องประสานก็ได้ ในความหมายนี้ใช้กันน้อยมากแทบจะไม่ปรากฏตามชื่อที่แท้จริง นิยมใช้เคาน์เทอร์พาร์ท (counterpart) หรือโซนาตามากกว่า –แต่สตราฟินสกี (Stravinsky) ประพันธ์คันทาทาบทหนึ่ง(สำหรับนักร้องเดี่ยวสองคน เสียงประสานหญิง และเครื่องดนตรีห้าชิ้น) โดยใส่ดนตรีเข้ากับเนื้อร้องภาษาอังกฤษโบราณในปี ๑๙๕๒ และบาร์ทอค (Bella Bartók) ก็ประพันธ์ Cantata Profana (ชื่อย่อยว่า “The Enhanced Stags” ตามตำนานการสร้างคำวิงวอนสำหรับเสรีภาพทางการเมืองให้เป็นสัญญลักษณ์ขึ้นมา) สำหรับการขับร้องเดี่ยวสองแนว เสียงประสาน และวงดุริยางค์ ในปี ๑๙๓๐ สำหรับ Cantata Academica ของบริทเทน(Britten) นั้น ประพันธ์ขึ้นสำหรับโอกาสครบรอบ ๕๐๐ ปีของมหาวิทยาลัยบาเซล (เมืองหนึ่งในสวิตเซอร์แลนด์ติดพรมแดนเยอรมนี) เป็นภาษาละติน

coda (อิ. แปลว่า หาง) ในการวิเคราะห์ทางดนตรี หมายถึงดนตรีส่วนหนึ่งของท่อนที่เห็นได้ว่าเพิ่มเติมเข้ามาเสริมในตอนท้าย แทนที่จักเป็นความจำเป็นตามโครงสร้างของดนตรีท่อนนั้น ดังนั้นใน โครงสร้างโซนาตา (sonata-form) โคดา(ถ้ามี)จักปรากฏภายหลังการย้ำสรุป (recapitula-tion) สาระสำคัญที่หลักทั้งคู่ในคีย์ที่เป็นโทนิคเท่านั้น (เช่นเดียวกันกับการใช้คำศัพท์ต่างๆในการวิเคราะห์ ความหมายศัพท์ที่ให้ไว้ในที่นี้เป็นเพียงโดยประมาณเคร่าๆเท่านั้น: โคดาของเบโธเฟน เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่า มีความสำคัญอย่างมากในการออกแบบดนตรีของเขา และไม่ใช่เพียงแต่สะดุดหูผู้ฟังผ่านไปในตอนจบเท่านั้น) ดูประกอบคำว่า codetta (diminutive forms)

concord คอร์ดที่ฟังเสมือนหนึ่งมีเสียงประสานที่ตำแหน่งตัวหยุด คำตรงกันข้ามคือ discord ซึ่งมีเสียงเสมือนหนึ่งว่ากัดกัน ดังนั้นจึงต้องการวิธีคลี่คลายไปยังคอร์ดอื่น เสียงที่ประกอบเป็น concord ไม่มีกฎเกณฑ์อะไรตายตัว ตลอดมาในประวัติศาสตร์ คีตกวีต่างก็มีแนวโน้มว่ายินยอมให้ใช้ดอร์คอื่นหรือดอร์ดที่แตกต่างออกไปแทน concord และ ตัวอย่างเช่นที่ปรากฏอยู่ในดนตรีระบบสิบสองเสียงจำนวนมาก แนวความคิดการใช้ concord และ discord สำหรับคีตกวีแล้ว ไม่จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์ทางโครงสร้างใดๆของดนตรี

discord ดูคำว่า concord ซึ่งเป็นคำตรงกันข้าม

dissonance (น.) discord (ดูคำว่า concord);

Dissonance Quartet เป็นชื่อเล่นของควาร์เท็ตเครื่องสาย ซี-เมเจอร์ K.465 ของโมสาร์ท (1785) เปิดวงด้วยทางบรรเลงที่มีการใช้ dissonance

dominant “โดมินันท์” โน้ตตัวที่ห้าของบันไดเสียง ในความสัมพันธ์กับโน้ตบันไดเสียง เพราะฉะนั้น ถ้าเป็น บันไดเสียง “โด” (เมเจอร์ หรือ ไมเนอร์ ก็ตาม) แล้ว โดมิแนนท์ของมันก็คือเสียง “โซล์” นั่นเอง โดมิแนนท์ที่เจ็ด (dominant seventh) คอร์ดของโน้ตที่เจ็ด(ไมเนอร์)บนโดมิแนนท์ (ในกรณีนี้คือ โซล์ ที เร ฟา) ตามปกติแตกเสียงอยู่ในคอร์ดโทนิค (ในกรณีนี้ โด เมเจอร์ หรือ ไมเนอร์ ก็ได้). โดมินันท์ที่สอง คำนี้บางครั้งเป็นคำแปลมาจากภาษาเยอรมันคำว่า “Wechseldominante” (เวคเซลโดมินานเทอะ) อันพอแปลอย่างเคร่าๆได้ว่า “โดมินันท์แลกเปลี่ยน” หรือภาษาอังกฤษว่า “exchange dominant” ใช้ในความหมายว่า “โดมินันท์ของโดมินันท์” ตัวอย่างเช่น โน้ตตัว เร ในบันไดเสียง โด (เมเจอร์ หรือ ไมเนอร์ ก็ได้)

encore (ฝ.) มีความหมายว่า อีกครั้ง แต่ใช้ทั่วไปในภาษาอังกฤษในความหมายว่า “บรรเลงอีกครั้งหนึ่ง” หรือ “บรรเลงต่อไปอีกบ้างสักหน่อย” ดังนั้นจึงมีการบรรเลงงานพิเศษเพิ่มเติมเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของผู้ฟัง

triad (อ. ไทร-แอด) เยอรมันว่า ดรายคลาง (Dreiklang) คอร์ดที่ประกอบด้วยโน้ตจำเพาะสามเสียง รวมกับเสียงสูงขึ้นไปขั้นคู่ที่สามและที่ห้า เช่น โด-มี-โซล์ ซึ่งเรียกว่า “คอร์ดธรรมดา” ของ ซี-เมเจอร์ ไม่ว่าเสียงโน้ตตัวโดจักอยู่เป็นฐานของเบสส์ หรือแทนที่ด้วยเสียงโน้ตอื่นใดหรือไม่ก็ตาม ที่คล้ายกันเช่น โด-มีแฟล็ต-โซล์ เป็น “คอร์ดธรรมดา” ของ ซี-ไมเนอร์

finale (อิ. ฟินาเล) ท้าย แต่ใช้ในความหมายดังนี้ (๑) ดนตรีท่อนสุดท้ายของงานที่มีหลายท่อน (๒) ตอนจบทั้งหมดองค์หนึ่งของอุปรากร ดังนั้นจึงมี ฟินาเลอะที่หนึ่ง ฟินาเลอะที่สอง อย่างนี้ไปเรื่อยๆ อ้างอิงตามอุปรากรองค์ที่หนึ่งที่สองหรือลำดับต่อไปเรื่อยๆ

mediant (อ. เม-ดิ-อันท์) ภาษาเยอรมันว่า Terzton (แทรทส์-โทน) ชื่อของเสียงขั้นคู่ที่สามบนบันไดเสียง เช่น มี ในบันไดเสียง ซี-เมเจอร์ ที่มีชื่อเช่นนั้นก็เพราะ มันอยู่กลางทางระหว่างโทนิค (คีย์โน้ต) และโดมินันท์ (dominant) เช่นระหว่างเสียงขั้นคู่ที่หนึ่งและขั้นคู่ที่ห้า ดูคำว่า subdominant ประกอบ

motive (อ.) ภาษาเยอรมันว่า Motif/โมทีฝ หมายถึงดนตรีที่มีจังหวะหรือทำนองสั้น จำได้ง่าย – โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใช้ในความหมายเพื่อแสดงให้เห็นถึง การแบ่งย่อยที่เล็กที่สุดที่เป็นไปได้ในการวิเคราะห์ทางดนตรี “ทำนองหลัก” (theme) เพียงทำนองเดียวนั้น สามารถแตกออกได้เป็นหลายโมทีฟ แต่คำว่า leading-motive นั้น หมายถึงหน่วย(unit)ที่ใหญ่กว่าแบบหนึ่ง และมีความหมายต่างออกไป

Ode (ย. โอเดอะ) (๑) ดนตรีที่ใส่เข้ากับเนื้อของกลอนเปล่า การใส่ดนตรีแบบนี้จักมีธรรมชาติเกี่ยวกับพิธีการ (๒) ความหมายที่ใช้โดยยกเว้นในดนตรีที่มีนัยสำคัญชัดเจนกว่าบางชิ้น เช่น งานของสตราฟินสกีเพื่อระลึกถึงถรรยาของเคาซ์เซฟิทสกี 1943 (Koussevitsky) มีชื่อเรียกว่า “Ode: Elegiacal Chant”

recapitulation “การย้ำสรุป” ส่วนหนึ่ง(part)ของการประพันธ์ดนตรี ซึ่งมีการซ้ำทำนองหลัก(ดั้งเดิมในรูปแบบต่างๆกัน) และทำนองหลักแต่เดิมนำเสนอมาแล้วในส่วน (part) ก่อนหน้านั้น แต่เปลี่ยนไปแทรกอยู่ในรูปแบบต่างๆกันในระหว่าง “การพัฒนา” (development) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำนี้ใช้ในแบบแผนของการประพันธ์ดนตรี (scheme of construction) ที่เรียกว่าโครงสร้างโซนาตา (sonata-form) และการแปรรูปของมันไปในแนวต่างๆกัน

scherzo (อิตาเลียน แปลว่า “ตลก”) อ่านออกเสียงว่า “แชร์ทโส” เป็นดนตรีท่อน(movement)ที่มีชีวิตชีวา ซึ่งมีประวัติผ่านมาทางไฮย์ดึนเป็นส่วนใหญ่ และ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เบโธเฟน พัฒนาต่อมาจากมินูเอทดังที่ใช้ในซิมโฟนี ควาร์เทตเครื่องสาย ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงมักมีลักษณะของโครงสร้างมินูเอท คือ AABA; และส่วน B (section) เรียกว่า ทริโอ (เหมือนในมินูเอท) และปกติก็บรรเลงในจังหวะ ¾ เช่นเดียวกัน นัยดังเดิมของอารมณ์ขันมักจะไม่ปรากฏอยู่แต่ประการใดทั้งสิ้น แต่มีกฎเกณฑ์ว่าให้ใช้ลีลาการบรรเลง(เทมโพ)ดนตรีที่รวดเร็ว และหลีกเลี่ยกความรู้สึกเศร้าสร้อยโหยหวน ตัวอย่างของแชร์ทโสที่มีอีกนั้น ไม่ใช่ดนตรีท่อนหนึ่ง(movement)ของงานขนาดใหญ่ แต่เป็นงานเฉพาะตัวเองต่างหากก็มี –ให้สังเกตงานแชร์ทโสสี่บทของโชแปง (Chopin)

subdominant (อ.) ชื่อของเสียงลำดับที่สี่ของบันไดเสียง เช่น ฟา ในคีย์ ซี(เมเจอร์ หรือไมเนอร์ ก็ได้) เรียกเช่นนั้นเพราะเป็นเสียงที่เด่นบนบันไดเสียงรองจากโดมินันท์หรือเสียงขั้นคู่ที่ห้า

theme (อ.) ภาษาเยอรมันว่า Hauptthema (เฮาพ์ท์-เธมา) หมายถึงกลุ่มของโน้ตที่ประกอบกันขึ้น (โดยการซ้ำ การย้อน การพัฒนา ฯลฯ) เป็นมูลรากที่สำคัญในการสร้างงานดนตรี ภาษาไทยใช้คำว่า “ทำนองหลัก” แต่ก็ยังไม่ตรงตัวนัก เพราะธีมไม่ได้หมายถึงเฉพาะทำนองดนตรีซึ่งภาษาต่างประเทศเรียกว่าเมโลดีเท่านั้น หากแต่ยังหมายถึงดนตรีส่วนที่เป็นใจความหลักทั้งหมดตรงนั้นด้วย ในบางลักษณะของการวิเคราะห์ดนตรี ธีมมีความหมายอย่างกว้างๆเท่ากับ“สาระ”ของดนตรี (subject) แต่มักจะประยุกต์ใช้เช่นเดียวกันกับมูลรากที่จำได้ที่แยกออกมา ภายใน “ใจความ” สำคัญของดนตรี ในวลีที่ว่า “ทำนองหลักและการแปรทำนอง” (theme and variations) นั้น หมายถึงประโยคดนตรีทั้งหมดที่การแปรทำนองอิงอยู่ (เช่น ดนตรีอะไรสักอย่างที่ยาวมากกว่าทำนองหลัก ในความหายอื่นๆ) “การเปลี่ยนรูปของทำนองหลัก” (metomorphosis of theme) คือกระบวนการซึ่งทำนองหลักสามารถเปลี่ยนแปลงลักษณะได้ (เช่น โดยการเปลี่ยนจังหวะ –rhythm- กล่าวได้ว่าเพื่อให้เหมาะสมกับการดำเนินไปอย่างกระทันหัน -drama progress- ของความงดงามทางซิมโฟนี –symphonic poem-) ในขณะที่ยังคงรักษาความสำคัญของมันเองไว้อยู่ – เช่น ในความงดงามทางซิมโฟนีของลิซท์ส์นั้น ทำนองหลักที่เป็นตัวแทน (representative theme) ก็คือทำนองหลักที่มีการแสดงให้เห้นถึงความพิเศษทางดนตรีบางอย่าง (เช่น บุคคล หรือวัตถุ หรือ อารมณ์) เพื่อจุดประสงค์ทางในการใช้ดนตรีบรรยายหรือเพื่อความงดงามของดนตรี – เช่น ลีดดิง โมทีฟ แบบวากนาร์ (Wagnerian leading motive) ในความหมาย “เพลงทำนองหลัก” (ปรากฏย้อนในละครดนตรี ฯลฯ ในทำนองเดียวกันกับลักษณะเฉพาะตัว) ความว่า “ทำนองหลัก” เป็นคำที่ใช้ในความหมายทั่วไป และไม่ใช้ศัพท์เฉพาะทางดนตรี

trio (ทริโอ) “สาม” หมายถึง (๑) การผสมผสานนักบรรเลงดนตรีสามคน ทริโอเครื่องสายประกอบด้วย ซอไวโอลิน ๑ คัน ซอวิโอลา ๑ คัน ซอเชลโล ๑ คัน; เปียโนทริโอ ประกอบด้วย เปียโน ๑ หลัง ซอไวโอลิน ๑ คัน ซอเชลโล ๑ คัน; (๒) งานสำหรับนักบรรเลงดนตรีสามคน –กรณีเป็นดนตรีบรรเลง และเรียกว่า “ทริโอ” ที่แท้จริงแล้ว เป็นไปได้ว่า คือลักษณะของโซนาตาสำหรับนักบรรเลงสามคน เป็นดนตรีหลายท่อน(movements); (๓) ส่วน(part)กลางนั้นใช้มินูเอท(minuet) ที่เรียกกันอย่างนั้น ก็เพราะว่าเมื่อก่อนนั้นเป็นธรรมเนียมว่า ดนตรีชนิดนี้ต้องประพันธ์เสียงประสาน(harmony)สามแนวเท่านั้น นี่เป็น“ทริโอ”ในความหมายธรรมดาทั่วไป; ดังนั้น เมื่อมีการใช้แชร์ทโส(scherzo)หรือมาร์ช(march)ในโครงสร้างมินูเอท (AABA) แล้ว ส่วน (section) ‘B’ อาจจะเรียกว่าทริโอ; (๔) ยังเป็นชื่อเรียกงานเฉพาะชิ้นของบาค เป็นงานดนตรีสำหรับออร์แกน(หรือสำหรับฮาร์พซิคอร์ดที่มีกระดานลิ่มนิ้วสองชุดและกระเดื่องเท้า) มีทำนอง (melody) สามแนว แต่บรรเลงโดยนักดนตรีดนเดียว; งานเหล่านี้เรียกว่า ทริโอโซนาตา หรือ โซนาตา จะฟังดูมีเหตุผลมากกว่า triadic material (Dreiklangsgestik)

unison (อ.) เยอรมันว่า Unisono เสียงโน้ตตัวเดียวกันที่บรรเลงพร้อมกัน: ดังนั้นเพลงยูนิซัน จึงหมายถึงเพลงที่ขับร้องหลายคน แต่ทุกคนร้องโน้ตเสียงเดียวกัน (ไม่มีเสียงประสานอื่น –harmonizing) คำกล่าวที่ว่า “การขับร้องเป็นยูนิซัน” โดยทั่วไป (แต่ไม่ใช่คำกล่าวกว้างๆ) จึงประยุกต์ใช้สำหรับการขับร้องโน้ตเสียงเดียวกันแต่แยกคนละขั้นคู่แปด โดยผู้ชายและผู้หญิง สำหรับกรณีนี้ ควรใช้คำว่า “การขับร้องในขั้นคู่แปด” จะถูกต้องชัดเจนกว่า


Create Date : 22 ตุลาคม 2548
Last Update : 23 ตุลาคม 2548 10:11:04 น. 0 comments
Counter : 7054 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ลุดวิก
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Ich bin nur ein Mensch! Alles Leben ist leiden. Alles ist nichtig!
ตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล

Bangkok

Friends' blogs
[Add ลุดวิก's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.