สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ

กระดังงา : กลิ่นที่ล้ำค่าเมื่อนำมาลนไฟ

กระดังงาเป็นชื่อรวมของไม้เถาหรือไม้ยืนต้นหลายชนิดในวงศ์ Annonaceae หรือวงศ์น้อยหน่า ที่มีน้อยโหน่ง น้อยหน่า และสายหยุด เป็นต้น ที่รู้จักกันดีในเมือง ไทยก็คือ กระดังงาไทย กระดังงาจีน กระดังงาป่า (การเวก) รวมถึงกระดังงาสงขลา เป็นต้น





กระดังงาไทย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cananga odorata (Lamk.) Hook. f. & thomson เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ ๑๕-๒๐ เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เรือนยอดทรงพุ่มแน่น ใบดกหนาทึบ เปลือกต้นสีเทาไม่เรียบ มีรอยแผลเป็นจากใบที่ร่วงไปแล้วอยู่ตลอดต้น ใบเดี่ยวสีเขียว เข้มกว้าง ๔-๗ เซนติเมตร ยาว ๑๐-๑๕ เซนติเมตร โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่น ผิวใบเรียบบางนิ่ม ใบอ่อนมีขนทั้ง ๒ ด้าน ใบแก่มีขนตามเส้นแขนงใบ ก้านใบยาว ๑-๑.๕ เซนติเมตร ดอกมักออกเป็นช่อตามกิ่งเหนือรอยแผลใบหรือตามง่ามใบ ช่อหนึ่งๆ มีดอก ๓-๖ ดอก ก้านช่อดอกยาว ๐.๕-๑ เซนติเมตร แต่ละดอกมีกลีบ ๖ กลีบ แบ่งเป็น ๒ ชั้น ชั้นนอก ๓ กลีบ ชั้น ใน ๓ กลีบ กลีบชั้นในจะเล็กและสั้นกว่าชั้นนอก กลีบเรียวยาว ประมาณ ๕-๙ เซนติเมตร ขอบกลีบหยักเป็นคลื่น ลักษณะกลีบบิดม้วน มีเกสรตัวผู้จำนวนมากเบียดกันเป็นตุ้มแป้นทรงกลมตรง กลางดอก แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยง ๓ กลีบ ก้านดอกมีขนยาว ๒-๕ เซนติเมตร ผลอยู่เป็นกลุ่ม ๕-๑๕ ผล ภายในมีเมล็ดรูปไข่สีน้ำตาล


แหล่งกำเนิดดั้งเดิมของกระดังงาไทยอยู่ในป่าดิบชื้นบริเวณภาค ใต้ของไทย และยังพบในมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดียตอนใต้ เป็นต้น ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระดังงาประกอบด้วยชื่อสกุล Cananga (คะนังงา) คงเป็น ชื่อพื้นบ้านของกระดังงาในแถบมาเลเซีย อินโดนีเซีย แสดงว่าชื่อ กระดังงาในภาษาไทยมาจากชื่อใน ประเทศมาเลเซีย-อินโดนีเซีย (เช่น เดียวกับชื่อชมพู่ จำปาดะ ตะลิงปลิง เป็นต้น) ชื่อชนิด (species) odorata หมายถึงมีกลิ่นหอม ชื่อ ภาษาอังกฤษของกระดังงาไทยคือ Kenanga, Ylang ylang ส่วน ชื่อในภาษาไทยคือกระดังงาใบใหญ่ กระดังงาใหญ่ (ไทยภาคกลาง) สะบันงาต้น สะบันงา (ไทยภาคเหนือ) กระดังงา กระดังงอ (ไทย ภาคใต้)


คนไทยคงรู้จักคุ้นเคยกับกระดังงาไทยมานานแล้ว ดังเช่นหนังสืออักขราภิธานศรับท์ของหมอ ปรัดเล อธิบายว่า "กระดังงา : ชื่อต้นไม้อย่างหนึ่ง โตประมาณ ห้ากำหกกำ ดอกสีเหลืองเป็นกลีบ ยาวๆ กลิ่นหอม" แสดงว่า คนไทย เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๖ หรือ ๑๔๐ ปีก่อนโน้นรู้จักกระดังงากันดีแล้ว





* กระดังงาจีน มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Artabotrys hexape-talus (L.f.) Bhan. อยู่ในวงศ์ Annonaceae เช่นเดียวกัน เป็น ไม้เถาขนาดใหญ่ มีถิ่นกำเนิดในพม่าและอินเดีย ลักษณะใบและดอกคล้ายกระดังงาไทย ภาคเหนือเรียกสะบันงาเครือ





* กระดังงาสงขลา มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Cananga odorata (Lamk.) Hook. f. & Thomson var. fruticosa (Craib) J. Sincl. เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสูง ๑-๔ เมตร ทรงพุ่มโปร่ง ลักษณะ ลำต้น ใบ ดอก คล้ายกระดังงาไทยมาก แต่มีขนาดเล็กกว่า และหอมน้อยกว่ากระดังงาไทย


กระดังงาสงขลาเกิดที่บ้าน จะโหนง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ได้จากการเพาะเมล็ดกระดังงาไทย จึงถือว่ากลายพันธุ์มาจากกระดังงาไทย ชื่อพฤกษศาสตร์ทั้งสกุลและชนิดจึงเป็นชื่อเดียวกัน เพียงแต่แยกย่อยออกไป เป็นสายพันธุ์ย่อย (variety) เพิ่ม ขึ้น เนื่องจากเกิดที่จังหวัดสงขลาจึงเรียกกันทั่วไปว่ากระดังงาสงขลา ในภาคใต้เองเรียกว่ากระดังงาเบา


ประโยชน์ของกระดังงา
ในด้านสมุนไพร ส่วนใหญ่ใช้กระดังงาไทย เพราะรู้จักคุ้นเคยกับคนไทยมานานกว่า ทั้งนี้อาจใช้ กระดังงาสงขลาแทนก็ได้ เพราะมีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน

* ดอก : รสหอมสุขุม บำรุงเลือด บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียน ชูกำลัง

* เนื้อไม้ : รสขมเฝื่อน ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ

* เปลือก : รสฝาดเฝื่อน ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้ท้องเสีย

* ใบ : รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน แก้คัน ขับปัสสาวะ

* เกสร : แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ปถวีธาตุ แก้โรคตา ช่วยเจริญอาหาร

* ราก : คุมกำเนิด

ในดอกกระดังงามีน้ำมันหอมระเหยเรียกว่า" Ylang Ylang oil " มีฤทธิ์ลดความดันเลือดสูง ต้านเชื้อรา ต้านเชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ ไล่แมลง ฆ่าเซลล์มะเร็งได้ นอกจากนั้นยังนำไปใช้ในการรักษาแบบ aromatherapy แก้อาการหัวใจเต้นเร็ว หายใจหอบ ความดันเลือดสูง ปัญหาระบบทางเดินอาหารและ ปัญหาจิตใจเกี่ยวกับทางเพศ เป็นต้น

น้ำมันหอมระเหยจากกระดังงายังใช้ทำน้ำหอม แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง ใช้แต่งกลิ่นขนมหรือ อาหารให้มีกลิ่นหอมน่ากินอีกด้วย

ในอดีตการนำดอกกระดังงา มาอบกลิ่นหอมให้แก่ขนมไทย ใช้วิธีนำดอกกระดังงาแก่จัดสดๆ มาลนเปลวไฟจากเทียนเพื่อให้ต่อมน้ำหอมในกลีบดอกแตก และส่งกลิ่นหอมออกมามากกว่าปกติ แล้วนำไปเสียบไม้ลอยน้ำในภาชนะปิดสนิท ๑ คืน นำน้ำนั้นไปคั้นกะทิ หรือ ทำน้ำเชื่อมปรุงขนมหวานต่อไป เทคนิควิธีการนำดอกกระดังงามาลนไฟเพื่อเพิ่มความหอมดังกล่าวมา นี้เองคงเป็นต้นตอของสำนวนไทย "กระดังงาลนไฟ" ที่กล่าวมาข้างต้น

คนไทยในอดีตยังนำดอกกระดังงาไปทอดในน้ำมันมะพร้าว เพื่อนำน้ำมันไปใส่ผมอีกด้วย ซึ่งคงมีผล ทำให้ลดกลิ่นน้ำมันมะพร้าวและเพิ่ม กลิ่นหอมของกระดังงาเข้าไปแทน

กระดังงาไทยเป็นต้นไม้ขนาด ใหญ่ที่มีทรงพุ่มแน่นใบดกตลอดปี จึงเหมาะสำหรับปลูกเป็นร่มเงาในบริเวณบ้าน ทั้งยังมีดอกตลอดปี อีกด้วย จึงน่าจะหามาปลูกเอาไว้บ้าง ส่วนท่านผู้อ่านที่มีพื้นที่น้อยก็อาจปลูกกระดังงาสงขลาที่เป็น ต้นไม้พุ่มเล็ก แต่ให้ดอกตลอดปีเช่นเดียวกัน ปัจจุบันอาจจะหา กระดังงาไทยได้ค่อนข้างยาก แต่สำหรับกระดังสงขลาแล้วหาได้ง่าย และราคาต้นพันธุ์ก็ไม่แพงเลย




ขอบคุณข้อมูลจากคุณเดชา ศิริภัทร
เว็ปไซด์หมอชาวบ้าน
ภาพจากwww.healthcorners.com/.../allNearDrug.php
//www.wattano.ac.th/.../My%20Hip/003.html
//www.sns.ac.th/www512/402/40.html




 

Create Date : 28 กรกฎาคม 2552
1 comments
Last Update : 28 กรกฎาคม 2552 7:07:35 น.
Counter : 4218 Pageviews.

 

กระดังงาไทยต้นเขาใหญ่มากเลยครับ เห็นแล้วก็หวั่นๆ

 

โดย: endless man 29 กรกฎาคม 2552 15:22:39 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
28 กรกฏาคม 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.