สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
พันธุ์ไม้ประจำจังหวัดในภาคใต้ (ตอนที่ 5)




พันธุ์ไม้ประจำจังหวัดกระบี่ ชื่อพันธุ์ไม้ ทุ้งฟ้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Alstonia macrophylla Wall.

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้น สูง 15-25 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีขาวอมเทา มีน้ำยางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงรอบข้อ ข้อละ 3-4 ใบ แผ่นใบรูปหอกกลับ กว้าง 3-8 ซม. ยาว 10-30 ซม. ปลายเป็นติ่งแหลม ท้องใบมีคราบสีขาว หลังใบสีขาว ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งจำนวนมาก กลีบดอกสีขาวหรือขาวอมเหลืองเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ออกดอกระหว่าง เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม เป็นไม้ที่ต้องการความชื้นมาก เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ระบายน้ำได้ดี



พันธุ์ไม้ประจำจังหวัดชุมพร ชื่อพันธุ์ไม้ พุทธรักษา
ชื่อสามัญ Butsarana
ชื่อวิทยาศาสตร์ Canna indica Linn.
วงศ์ CANNACEAE

ลักษณะทั่วไป พุทธรักษาเป็นพรรณไม้ล้มลุก เนื้ออ่อนอวบน้ำ ลำต้นสูงประมาณ 1-2 เมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า เหง้า เจริญเติบโตโดยแตกหน่อเป็นกอคล้ายกล้วย ใบมีขนาดใหญ่สีเขียวโคนใบและปลายใบรีแหลม ขอบใบเรียบ กลางใบเป็นเส้นนูนเห็นชัด ใบมีก้านใบยาวเป็นกาบใบหุ้มลำต้นซ้อนสลับกัน ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้น ช่อดอกยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร ประกอบด้วยดอก 8-10 ดอก และมีกลีบดอกบางนิ่ม ขนาดของดอกและสีสรรแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์
การขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด, แยกหน่อ
สภาพที่เหมาะสม ดินร่วนซุย แสงแดดจัดกลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิด ประเทศอินเดีย



พันธุ์ไม้ประจำจังหวัดตรัง ชื่อพันธุ์ไม้ ศรีตรัง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Jacaranda filicifolia D. Don.
วงศ์ BIGNONIACEAE
ชื่ออื่น แคฝอย (กรุงเทพฯ), ศรีตรัง (ตรัง)

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 5-10 เมตร เรือนยอดโปร่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงกันข้าม ใบย่อยเล็ก ออกดอกเป็นช่อใหญ่ตามกิ่ง ดอกสีม่วง กลีบดอก 5 กลีบเชื่อมกันเป็นหลอด เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซ.ม.ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ผลเป็นฝักแบน เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดมีปีก
ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิด เป็นไม้ท้องถิ่นของอเมริกาใต้



พันธุ์ไม้ประจำจังนครศรีธรรมราช ชื่อพันธุ์ไม้ ราชพฤกษ์
ดอกไม้ประจำจังหวัด ขอนแก่น, นครศรีธรรมราช
ชื่อสามัญ Golden Shower Tree, Purging Cassia
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassis fistula Linn.
วงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น คูน(อีสาน), ลมแล้ง(ภาคเหนือ), ลักเกลือ ลักเคย(ปัตตานี), อ้อดิบ(ภาคใต้), กุเพยะ(กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ชัยพฤกษ์ ราชพฤกษ์(ภาคกลาง)

ลักษณะทั่วไป ราชพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 12 - 15 เมตร ลำต้นสีขาวปนเทา ผิวเรียบมีรอยเส้นรอบต้น และรอยปมอยู่บริเวณที่เกิดกิ่ง ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อยเป็นคู่ออกจากก้านใบ ใบย่อยมีประมาณ 4 - 8 คู่ ใบรี รูปไข่ โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบสีเขียว ออกดอกสีเหลือง เป็นช่อห้อยระย้าตามก้านใบ เวลาออกดอกใบจะร่วง
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม ดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว ต้องการน้ำน้อยทนแล้ง แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตอนกลาง ทางใต้ของอเมริกา และออสเตรเลียตอนเหนือ



พันธุ์ไม้ประจำจังหวัดนราธิวาส ชื่อพันธุ์ไม้ บานบุรี
ชื่อสามัญ Golden trumpet, Allamanda
ชื่อวิทยาศาสตร์ Allamanda cathartica Linn.
วงศ์ APOCYNACEAE
ชื่ออื่น บานบุรีหอม, บานบุรีแสด

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้เถาเล็ก ใบยาวกว้างปลายแหลม ดอกคล้ายดอกผักบุ้ง สีม่วง สีเหลือง หรือสีแสดตามพันธุ์ กลิ่นหอมอ่อน ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์ โดยการตอนกิ่ง หรือปักชำ
สภาพที่เหมาะสม ดินร่วยซุย แสงแดดปานกลาง
ถิ่นกำเนิด บราซิล และอเมริกาเขตร้อน



พันธุ์ไม้ประจำจังหวัดปัตตานี ชื่อพันธุ์ไม้ ชบา
ชื่อสามัญ Shoe flower
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus spp.
วงศ์ MALVACEAE

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้พุ่มเตี้ย ดอกมีทั้งซ้อน และไม่ซ้อน มีสีต่างๆ กัน เช่น สีแดง สีเหลือง สีขาว สีชมพู สีงาช้าง มีทั้งดอกโตและ ดอกเล็ก ใบเป็นใบเดี่ยว รูปมน ขอบใบเป็นรอยหยัก ปลายใบแหลม ชบาเป็นไม้เนื้ออ่อนมีเปลือกไม้ค่อนข้างเหนียว
การขยายพันธุ์ โดยการตอนกิ่ง หรือปักชำ
สภาพที่เหมาะสม ดินร่วยซุย แสงแดดปานกลาง
ถิ่นกำเนิด เขตร้อน จีน, อินเดีย และฮาวาย



พันธุ์ไม้ประจำจังหวัดพังงา ชื่อพันธุ์ไม้ เทพทาโร
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum porrectum Kosterm.
วงศ์ LAURACEAE
ชื่ออื่น จะไคหอม จะไคต้น (ภาคเหนือ), จวงหอม จวง (ภาคใต้), พลูต้นขาว (เชียงใหม่), เทพทาโร (ภาคกลาง, จันทบุรี, สุราษฎร์ธานี), มือแดกะมางิง (มลายู-ปัตตานี)

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นสูง 10 - 30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ก้านใบเรียวเล็ก ดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อเป็นกระจุกตามปลายกิ่ง ผลทรงกลม มีขนาดเล็ก
ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิด ป่าดงดิบบนเขาทั่วไป



พันธุ์ไม้ประจำจังหวัดพัทลุง ชื่อพันธุ์ไม้ พะยอม
ดอกไม้ประจำจังหวัด กาฬสินธุ์, พัทลุง
ชื่อสามัญ Shorea white Meranti
ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea talura Roxb.
วงศ์ DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่น กะยอม (เชียงใหม่), ขะยอม (ลาว), ขะยอมดง พะยอมดง (ภาคเหนือ), แคน (ลาว), เชียง เซี่ยว (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), พะยอม (ภาคกลาง), พะยอมทอง (สุราษฎร์ธานี, ปราจีนบุรี), ยางหยวก (น่าน)

ลักษณะทั่วไป พะยอมเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15 - 20 เมตร ทรงพุ่มกลม ผิวเปลือกสีน้ำหรือเทา เนื้อไม้มีสีเหลืองแข็ง ลำต้นแตกเป็นร่องตามยาวมีสะเก็ดหนา ใบเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลม โคนใบสอบมน ขอบใบเรียบ ด้านหลังใบมีเส้นใบชัด ดอกออกเป็นช่อใหญ่ส่วนยอดของต้น ดอกมีกลีบ 3 กลีบ โคนกลีบดอกติดกับก้านดอกมีลักษณะกลม กลีบดอกเรียบโค้งเล็กน้อย มีสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม
การขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง สามารถปรับเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีมาก
ถิ่นกำเนิด พบตามป่าผลัดใบ และป่าดิบ เป็นไม้พื้นเมืองของเอเชีย ไทย, พม่า, มาเลเซีย



พันธุ์ไม้ประจำจังหวัดภูเก็ต ชื่อพันธุ์ไม้ เฟื่องฟ้า
ชื่อสามัญ Bougainvillea, Peper Flower, Kertas
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bougainvillea spp.
วงศ์ NYCTAGINACEAE
ชื่ออื่น ตรุษจีน

ลักษณะทั่วไป เฟื่องฟ้าเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางประเภทเถาเลื้อย ลำต้นมีความยาวประมาณ 1-10 เมตร มีลำเถาแข็งแรงเลื้อยไปได้ไกล ลำต้นมีหนามติดอยู่เป็นระยะๆ ลักษณะทรงพุ่มตัดแต่งได้ บังคับทิศทางการเจริญเติบโตได้ ใบเป็นใบเดี่ยวแตกตามเถา รูปไข่ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ พื้นใบเรียบสีเขียว ออกดอกเป็นช่อตามส่วนยอด มีกลีบดอกหรือใบประดับ 3 กลีบ ส่วนดอกจะมีดอกเล็กสีขาว กลีบดอกจะมีขนาดและสีสรรแตกต่างกันตามชนิดพันธุ์ ออกดอกตลอดปี โดยเฉพาะในฤดูแล้งจะให้ดอกดกมาก
การขยายพันธุ์ การตอน, การปักชำ, การเสียบยอด
สภาพที่เหมาะสม ดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย แสงแดดจัด ทนแล้งได้ดี



ต้นไม้ประจำจังหวัดยะลา ชื่อพันธุ์ไม้ โสกเหลือง (ศรียะลา)
ชื่อสามัญ Yellow Saraca
ชื่อวิทยาศาสตร์ Saraca thaipingensis Cantley ex King
วงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น โสกเหลือง (กรุงเทพฯ), อโศกเหลือง อโศกใหญ่ (ภาคใต้)

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นสูง 5 - 15 เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก แผ่นใบรูปไข่ หรือรูปหอกแกมขอบขนาน ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบสอบ ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่งและลำต้น สีเหลือง กลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ผล เป็นฝักแบน
ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินร่วน ชอบน้ำและความชื้นสูง
ถิ่นกำเนิด ริมลำธารในป่าดิบเชิงเขา



ต้นไม้ประจำจังหวัดระนอง ชื่อพันธุ์ไม้ อบเชย
ชื่อสามัญ Cinnamom
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum bdjolghota Sweet
วงศ์ LAURACEAE
ชื่ออื่น ขนุนมะแวง เชียกใหญ่ (ตรัง), จวงดง บริแวง (ระนอง), ฝนแสนห่า (นครศรีธรรมราช), สมุลแว้ง พะแว โมง หอม ระแวง (ชลบุรี), มหาปราบ (ตราด) มหาปราบตัวผู้ (จันทบุรี), แลงแวง (ปัตตานี), อบเชย (กรุงเทพฯ, อุตรดิตถ์)

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นสูง 15 - 20 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมรูปเจดีย์ต่ำ ทึบ เปลือกเรียบสีเทาแก่หรือเทาปนน้ำตาล ใบเป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนาน เนื้อใบหนา แข็งและกรอบ มีเส้นแขนงจากโคนใบ 3 เส้น ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อนหรือเขียวอ่อน ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม ผลขนาดเล็ก รูปไข่กลับ ผลมีเมล็ดเดียว
ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินทุกชนิด ชอบดินร่วน กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิด ป่าดิบทั่วไป



พันธุ์ไม้ประจำจังหวัดสตูล ชื่อพันธุ์ไม้ กาหลง
ชื่อสามัญ Galaong, Snowy Orchid Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia acuminata Linn.
วงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น เสี้ยวดอกขาว, ส้มเสี้ยว, เสี้ยวน้อย

ลักษณะทั่วไป กาหลงเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบเป็นใบไม้แฝดออกสลับกันไปตามต้น ดอกขาวใหญ่ ดอกเป็นช่อมีกลิ่นหอมเล็กน้อย ดอกมี 6 กลีบ ซ้อนเหลื่อมกัน ช่อหนึ่งออกดอกประมาณ 5-8 ดอก ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม ดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย
ถิ่นกำเนิด ประเทศอินเดีย, เอเซียตะวันออกเฉียงใต้



พันธุ์ไม้ประจำจังหวัดสงขลา ชื่อพันธุ์ไม้ สะเดา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Azadirachta excelsa (Jack) Jacobs
วงศ์ MELIACEAE
ชื่ออื่น ต้นเทียม ไม้เทียม สะเดาช้าง สะเดาเทียม สะเดาใบใหญ่ (ภาคใต้)

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นสูงตรงไม่มีกิ่งขนาดใหญ่ เมื่ออายุน้อยเปลือกต้นเรียบ เมื่ออายุมากเปลือกจะแตกเป็นแผ่นล่อนสีเทาปนดำ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ ใบเป็นใบประกอบ ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ใบเบี้ยวไม่ได้สัดส่วน ปลายใบแหลมเป็นติ่ง ฐานใบเบี้ยวไม่เท่ากัน เนื้อใบหนา เกลี้ยง สีเขียวเป็นมัน ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบหรือปลายกิ่ง ดอกบานสีขาว ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม ผลทรงกลมรี ผลแก่สีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง
ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ดในถุงเพาะกล้าจนงอก และแข็งแรงก่อนจึงย้ายไปปลูกลงดิน
สภาพที่เหมาะสม ดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำและอากาศได้ดี
ถิ่นกำเนิด ตามเรือกสวนไร่นา แถบภาคใต้ของประเทศไทย



พันธุ์ไม้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ชื่อพันธุ์ไม้ ดอกบัวผุด
ชื่อสามัญ Sapria Himalayana

ลักษณะทั่วไป เป็นพืชกาฝากที่อาศัยน้ำเลี้ยงจากรากของเถาวัลย์น้ำอย่าง "ส้มกุ้ง" หรือ "เครือเขาน้ำ" ไม่มีใบ ไม่มีลำต้น มีเพียงดอกสีแดงประแต้มเหลืองใหญ่ราว 10 ซม. โผล่ขึ้นมาจากดินเท่านั้น




Create Date : 22 สิงหาคม 2551
Last Update : 22 สิงหาคม 2551 16:04:32 น. 1 comments
Counter : 8597 Pageviews.

 


โดย: izephyr888 วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:10:17:04 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
 
สิงหาคม 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
22 สิงหาคม 2551
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.