สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ

กาหลง : มิใช่หลงเฉพาะเพียงกา

ต้นไม้พื้นบ้านของไทยบางชนิด เป็นที่รู้จักคุ้นเคยในหมู่คนไทยมายาวนานหลายร้อยปีแต่ปัจจุบันกลับรู้จักกันน้อยมากตรงข้ามกับต้นไม้บางชนิดที่มาจากต่างแดน เมื่อไม่นานมานี้เอง แต่กลับเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ต้นไม้บางชนิดพบขึ้นอยู่เองตามธรรมชาติเป็นบริเวณกว้างขวางหลายประเทศแต่บางชนิดก็เป็นเพียงต้นไม้เฉพาะถิ่นที่พบขึ้นอยู่ตามธรรมชาติเพียงบางพื้นที่เท่านั้น เรื่องราวเกี่ยวกับความ เป็นมาของต้นไม้แต่ละชนิดจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจและเกี่ยวโยงกับมิติด้านต่างๆ มากมาย นอกเหนือไปจากคุณสมบัติเฉพาะของต้นไม้ชนิดนั้นๆ ที่มีด้านต่างๆ ซึ่งน่าสนใจมากอีกเช่นกัน

ธรรมชาติใช้เวลาหลายล้านปีในการสรรค์สร้าง คัดเลือก สืบทอด สิ่งมีชีวิตต่างๆ บนโลกนี้กว่าจะตก ทอดมาถึงปัจจุบัน มนุษย์เพียงแต่ทำความเข้าใจและปฏิบัติตัวให้สอดคล้อง เหมาะสมกับของขวัญจากธรรมชาติดังกล่าวนี้ ก็จะมีความสุข อย่างยั่งยืนได้ไม่ยาก ดังภาษิตจีนที่ว่า "ถ้าอยากมีความสุขตลอดชีวิตให้ปลูกต้นไม้" แสดงว่าในวัฒนธรรมอันเก่าแก่ยาวนานของคนจีนนั้นได้ค้นพบสัจธรรมเกี่ยวกับความสุขของมนุษย์ว่าผูกพันกับต้นไม้อย่างแยกกันไม่ได้ในบรรดาต้นไม้ที่ชาวจีนนิยมนำมาปลูกในบริเวณบ้านโดยถือว่าทำให้เกิดสิ่งอันเป็นมงคลแก่ชีวิตมีต้นไม้ชนิดหนึ่งที่คนไทยรู้จักกันดีมาเนิ่นนาน และมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในป่าของเมืองไทยด้วยนั่นคือต้นไม้ ที่คนไทยภาคกลางเรียกว่า กาหลง





กาหลง : ต้นไม้แห่งภูมิภาคเอเชีย

กาหลงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bauhinia acuminata Linn.

อยู่ในวงศ์ Leguminosae (หรือบางแห่งว่า วงศ์ CaeSalpiniaceae)


ซึ่งเป็นจำพวกถั่ว เช่นเดียวกับคูน จามจุรี ทองกวาว เป็นต้น เป็นไม้พุ่มผลัดใบขนาดเล็ก สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม กิ่งแก่ค่อนข้างเกลี้ยง

ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปไข่เกือบกลม โคนใบรูปหัวใจ ปลายใบเว้าเข้าตามเส้นกลางใบลึกเกือบครึ่งแผ่นใบ ทำให้มองดูคล้ายเป็นใบแฝด ขอบใบเรียบ ท้องใบมีขนละเอียดปกคลุม ขนาดกว้าง 9-13 เซนติเมตร ยาว 10-14 เซนติเมตร

ดอก ออกเป็นช่อตามส่วนยอด ของลำต้นและกิ่ง หรือบริเวณโคนใบ ตามข้อต้น มีช่อละ 5-8 ดอก ทยอยกันบานครั้งละ 2-3 ดอก ดอกมีกลีบ สีขาว 5 กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อมกันเกสรตัวผู้มีสีขาว 5 อัน เกสรตัวเมียสีเขียวอ่อนอยู่กลางดอก ขนาดใหญ่และยาวกว่าเกสรตัวผู้ ขนาดดอกกว้างราว 5 เซนติเมตร กลิ่นหอมอ่อนๆ

ฝัก แบน 1.5-2 เซนติเมตรยาวราว 10 เซนติเมตร เมล็ดอยู่เรียงกันตามยาวเป็นช่องๆมีฝักละประมาณ10 เมล็ด

กาหลงเป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิด ในป่าเมืองร้อนของหลายประเทศตั้งแต่อินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น นับว่ามีถิ่นกำเนิดกว้างขวางกว่าต้นไม้ส่วนใหญ่ที่เคยนำเสนอมาแล้ว ในประเทศไทยพบขึ้นอยู่ตามธรรมชาติในป่าเบญจพรรณของทุกภาคของประเทศ

คนไทยรู้จักคุ้นเคยกับกาหลงมานานหลายร้อยปีแล้ว ดังปรากฏอยู่ในวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอ ซึ่งเชื่อว่าแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอน ต้นราว 600 ปีมาแล้ว นอกจากนั้นยังปรากฏชื่ออยู่ในวรรณคดีไทยเรื่อง ต่างๆ ต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น ในนิราศของสุนทรภู่ เป็นต้น แสดงว่าคนไทยรู้จักคุ้นเคยและนิยมชมชอบกาหลงมาโดยไม่ขาดตอนเป็นเวลาหลายร้อยปีแล้ว

ชื่อกาหลงที่คนไทยภาคกลางใช้เรียกต้นไม้ชนิดนี้ไม่ทราบว่ามีความเป็นมาอย่างไร ในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ พ.ศ.2416 ของหมอปรัดเล ให้คำอธิบายไว้ว่า "กาหลง ; ต้นไม้ไม่สู้โต ดอกขาวบานเป็นสี่กลีบ ไม่สู้หอม ใช้ทำยาบ้าง, กาซ่อนของไว้ลืมเสีย" ช่วงท้ายที่เขียนว่า "กาซ่อนของไว้ลืมเสีย" นั้น คงเป็นอีกความหมายหนึ่งของคำว่ากาหลง คงมิได้เป็นความหมายต่อเนื่องของต้นไม้ที่ชื่อกาหลง แต่ในคำอธิบายของหนังสืออักขราภิธานศรับท์ ก็ยังมีข้อผิดพลาด คือดอกกาหลงมีกลีบสีขาว 5 กลีบ มิใช่ 4 กลีบดังในคำอธิบาย นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของความ "หลง"ที่เกิดจากต้นไม้ชนิดนี้ นอกจากนั้นยังมีตำราในปัจจุบันบางเล่ม อธิบายว่า ดอกกาหลงมี 6 กลีบ นี่ก็หลงอีกเหมือนกัน

น่าแปลกที่กาหลงทำให้ตำราต่างๆ "หลง" อธิบายผิดๆ ได้หลายตำราซึ่งไม่เคยพบในพืชชนิดอื่นๆ จะคิดว่าเป็นเรื่องบังเอิญก็ไม่น่าเป็นไปได้ เพราะเกิดขึ้นกับผู้เขียนตำราหลายท่าน นอกจากหลงเรื่องจำนวน กลีบของดอกกาหลงแล้ว ตำราอีกอย่างน้อย 2 ฉบับที่ผู้เขียนพบก็ยังหลงในเรื่องใบของกาหลงด้วย คืออธิบายว่าใบกาหลงเป็นใบแฝด (2 ใบติดกัน) ทั้งที่ความจริงเป็นใบเดี่ยว ที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากใบไม้ส่วนใหญ่เท่านั้น

ปกติใบไม้ทั่วไปจะมีปลายใบแหลมตรงกลางที่เป็นเส้นกลางใบ เช่น ใบโพธิ์ ใบมะม่วง ใบพลู เป็นต้น แต่ใบกาหลงกลับตรงกันข้าม กล่าวคือส่วนปลายของเส้นกลางใบกลับเว้าเข้าหาโคนใบลึกลงเกือบถึงกลางใบ จึงมองดูคล้ายเป็น 2 ใบอยู่ติดกัน บนก้านเดียว ทำให้เกิดเข้าใจผิด หรือ "หลง" ได้อีกเรื่องหนึ่ง นอกเหนือไปจากจำนวนกลีบของดอกที่มี 5 กลีบ แต่มีผู้นับเป็น 4 และ 6 กลีบ

ผู้ที่ตั้งชื่อต้นไม้ชนิดนี้ว่า "กาหลง" คงจะพบปรากฏการณ์ดังกล่าว มานี้เช่นเดียวกัน จึงตั้งชื่อว่ากาหลง โดยเปรียบเทียบกับกา ซึ่งนับว่าเป็นสัตว์ฉลาดก็ยังหลงได้ ดังนั้น คนทั่วไปจึงอาจหลงไปด้วยเช่นกัน
ชื่อของกาหลงมีอีกหลายชื่อ เช่น ส้มเสี้ยว (ภาคกลาง) เสียวน้อย เสี้ยวดอกขาว (เชียงใหม่) ภาษาอังกฤษเรียกว่า Orchid treeพืชในสกุลเดียวกับกาหลง (Bauhinia sp.) ในเมืองไทยมีด้วยกันมากกว่า 30 ชนิด นับว่าเป็นพืชที่แพร่หลายที่สุดอย่างหนึ่ง


ประโยชน์ของกาหลง

ในด้านสมุนไพรรักษาโรค คนไทยใช้ส่วนต่างๆ ของกาหลงดังนี้
ใบ : รักษาแผลในจมูก
ต้น : แก้โรคสตรี แก้ลักปิดลักเปิด แก้เสมหะ
ราก : แก้ไอ แก้ปวดศีรษะ ขับเสมหะ แก้บิด
ดอก : แก้ปวดศีรษะ ลดความ ดันเลือด แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้เสมหะ แก้อาเจียนเป็นเลือด

ในด้านไม้ดอกไม้ประดับ กาหลงมีรูปร่างใบและทรงพุ่มงดงาม จัดแต่งทรงพุ่มได้ง่าย ออกดอกได้ยาวนาน และปลูกดูแลรักษาได้ง่าย จึงนิยมนำมาปลูกในบริเวณอาคารบ้านเรือน และที่สาธารณะปกติกาหลงผลัดใบในฤดูหนาว (พฤศจิกายน-ธันวาคม) เริ่มแตกใบอ่อนในฤดูร้อน (เมษายน-พฤษภาคม)

และเริ่มออกดอกช่วงฤดูฝนกาหลงปลูกง่าย ขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด ไม่ต้องการปุ๋ยมาก เพราะเป็นพืชตระกูลถั่ว สามารถจับปุ๋ยจากอากาศได้เอง ชอบแดดจัดและขยายพันธุ์ได้ง่าย ทั้งการตอนและเพาะเมล็ด หากปลูกจากเมล็ดใช้ เวลาราว 2-4 ปี ก็จะออกดอกติดฝักได้แล้ว

คนจีนในอดีตนิยมปลูกกาหลง ไว้ในบริเวณบ้านเชื่อว่าเป็นมงคลให้คุณแก่เจ้าของบ้านและผู้อยู่อาศัยท่านผู้อ่านที่มีบริเวณพอจะปลูกกาหลงได้ก็น่าจะหากาหลงมาปลูกเอาไว้บ้าง แม้ท่านจะไม่มีเชื้อสายคนจีน ก็คงได้รับสิ่งดีๆ จากกาหลงได้เช่นเดียวกัน




ขอบคุณข้อมูลจากคุณ เดชา ศิริภัทร
เว็ปไซด์หมอชาวบ้าน
ภาพจาก: //www.geocities.com/thaiflowers_2000/thai5_2.htm




 

Create Date : 04 กรกฎาคม 2552
0 comments
Last Update : 4 กรกฎาคม 2552 8:13:39 น.
Counter : 1393 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
4 กรกฏาคม 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.