สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
การเวกมงคลนามแห่งความหอม และ ความไพเราะ

>




การะเวกเหมือนเอกองค์ พระผู้ทรงสุขสำราญ
เป็นเอกวิเวกหวาน โปรดประทานพระสัจธรรม
กาพย์เห่เรือ : นายฉันท์ ขำวิไล

ในวรรณคดีไทยโบราณ คำว่าการเวก หมายถึง นกในป่าหิมพานต์ซึ่งบินได้สูงและมีเสียงไพเราะยิ่งนัก ถึงขนาดไม่ว่าใคร (สัตว์ทั้งหลายรวม ทั้งมนุษย์) ได้ฟังเสียงร้องของนกการเวกแล้วจะต้องหยุดกิจกรรมทุกอย่าง เพื่อฟังเสียงนกการเวกอย่างเดียว พูดภาษาปัจจุบันก็คือ ได้ฟังเสียงนกการเวกแล้วเกิดอาการ “ลืมโลก” ไปเลยนั่นเอง คนไทยในอดีตจึงนำชื่อการเวกไปตั้งเป็นชื่อเพลง ให้ความหมายว่าเพลงนั้นเพราะดุจเสียง นกการเวก นั่นคือเพลงไทยเดิมชื่อการเวก แยกเป็นเพลงการเวกตัวผู้ เพลงการเวกตัวเมีย และการเวกใหญ่

สำหรับชื่อการเวกที่นำมาใช้เรียกไม้เถาดอกหอมนั้น ผู้ตั้งชื่อ คงต้องการหมายถึงกลิ่นหอมที่ทำ ให้ลืมกิจกรรมอื่นๆ เช่นเดียวกับเสียงนกการเวกนั่นเอง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artabotrys siamensis Miq.

ชื่อวงศ์ : Annonaceae

ชื่อสามัญ : Gara-Wek

ชื่อพื้นเมือง : กระดังงาป่า,กระดังงาเถา, กระดังงัว, หนามควายนอน

ถิ่นกำเนิด : ประเทศอินเดียตอนใต้ ศรีลังกา จีน

ประโยชน์ : ใบใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ดอกปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียน ใช้ทำ บุหงาอบร่ำและน้ำหอม

ลักษณะทรงพุ่ม : จะมีพุ่มใบหนาแน่นมาก

ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง

ฤดูการออกดอก : ออกดอกตลอดปี โดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม

เวลาที่ดอกหอม : มีกลิ่นหอมตั้งแต่ช่วงพลบค่ำจนถึงเช้า และหยุดหอมในช่วงกลางวัน

การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง เนื่องจากออกรากง่าย มีรากจำนวนมากและแข็งแรง เมื่อตัดนำไปปลูกชำแล้วไม่ค่อยเหี่ยวเฉาเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและให้ร่มเงาได้ดี

ข้อมูลอื่น ๆ : ต้น การเวกเป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งที่มีขนาดใหญ่จะมีมือเกาะรูปตะขอยื่นออกมาจากเถาเถาบริเวณยอดอ่อนจะเป็นสีเขียว เมื่อเถาแก่ก็จะเป็นสีน้ำตาล ใบ การเวกจะมีพุ่มใบที่หนาแน่นมากเป็นไม้ใบเดี่ยวออกใบสลับกันตามข้อต้นใบเป็นรูปขอบขนานหรือมนรี ทั้งโคนใบและปลายใบจะแหลมมีก้านใบสัน พื้นใบสีเขียวเข้ม เป็นคลื่นเล็กน้อย ขอบใบเรียบไม่มีจัก ดอก ดอกการเวกจะออกตรงโคนต้นใบ ลักษณะดอกจะเป็นดอกเดี่ยวตรงโคนก้านดอกจะมีมือเกาะ ดอกเมื่อแรกออกจะเป็นสีเขียว แล้วจะค่อย ๆ เปลี่ยนไปเป็นสีเหลือง ในหนึ่งดอกจะมี กลีบ ซึ่งแบ่งเป็นชันชันละ 3 กลีบ และมีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ ดอกมีขนาดเล็ก หนาและแข็ง กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปรี มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ภายในดอกเป็นจำนวนมาก ดอกจะมีกลิ่นหอมจัดในเวลาเย็นถึงค่ำ

ประโยชน์ของการเวก

เนื่องจากการเวกเป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งที่ทนทานมีอายุยืนนาน ออกดอกตลอดปี ไม่มีโรคแมลงรบกวนขึ้นได้ทั่วไป ชอบกลางแจ้งแดดจัด และเลื้อยคลุมซุ้มหลังคาต่าง ๆ ได้ดี จึงนิยมปลูกให้เลื้อยขึ้นคลุมเป็นซุ้มประตู ซุ้มระเบียง ซุ้มเก้าอี้สนามหรือซุ้มทางเท้า (เช่น ตามถนนบางสายในกรุงเทพฯ ยุคผู้ว่าฯ จำลอง ศรีเมือง) การเวกนับเป็นพืชที่ปลูกง่ายมากที่สุดอย่างหนึ่ง เข้าอยู่ในจำพวก "ขึ้นง่ายตายยาก" นิยมปลูกจากกิ่งตอน เพราะโตเร็วและไม่กลายพันธุ์ หากใช้เมล็ดปลูกจะโตช้ากว่า และอาจกลายพันธุ์ไปบ้าง แต่การปลูกด้วยเมล็ดจะได้ปริมาณมากกว่า แข็งแรงทนทานกว่า และอาจได้พันธุ์การเวกใหม่ ๆ ที่แปลกไปกว่าเดิมก็ได้ มีเคล็ดลับสำหรับการดมกลิ่นหอมจากดอกการเวกให้ได้ความหอมมากที่สุด ซึ่งเด็ก ๆ เมื่อ 40 กว่าปีก่อนโน้นรู้จักกันดี คือเก็บดอกการเวกที่บานเต็มที่ แต่ยังไม่เป็นสีเหลือง เก็บในตอนเย็นแล้วห่อด้วยใบการเวกที่บานเต็มที่ แต่ยังไม่เป็นสีเหลือง เก็บในตอนเย็นแล้วห่อด้วยใบการเวก ทำเป็นรูปกรวยก้นปิด เปิดเป็นรูเล็ก ๆ เฉพาะตรงปลายแหลมของกรวย เอานิ้วอุดตรงรูไว้นาน ๆ แล้วเอาไปใกล้ ๆ จมูก เปิดนิ้วที่อุดรูไว้ รีบจ่อปลายกรวยเข้าในรูจมูกแล้วสูดแรง ๆ แล้วก็จะรู้ว่าความหอมชนิด "ลืมโลก" นั้นมีจริง



ขอบคุณข้อมูลจาก//www.thaigoodview.com
//www.ku.ac.th
ภาพจากอินเตอร์เน็ต
//www.doctor.or.th


Create Date : 16 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 16 พฤศจิกายน 2552 8:33:40 น. 0 comments
Counter : 3412 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
16 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.