สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
กล้วยไม้ป่าตระกูลสิงโต (ตอนที่ 2)

 

                                            สิงโตช่อม่วง




 Bullbophyllum salaccense Rchb.f. 


ลำลูกกล้วยลดรูปจนมีขนาดเล็กมาก ยาวเพียง0.8ซม.มีกาบหุ้ม แต่ละลำอยู่ห่างกันบนเหง้าที่ย้อยห้อยลง ใบรูปไข่ขขนาดกว้าง4ซม.ยาว8ซม. ช่อดอกออกเป็นกระจุกที่โคนลำ ก้านช่อยาว3-5ซม. ดอกเล็กขนาด0.2ซม.สีม่วง ก้านดอกสั้น กลีบเลี้ยงรูปไข่ปลายมน กลีบดอกรูปไข่เล็กและสั้นกว่ากลีบเลี้ยง กลีบปากอยู่ด้านบน สีขาวค่อนข้างกลม เส้าเกสรสั้น


ทยอยออกดอกทั้งปี


  


พบ ในป่าดิบชื้นบนเรือนยอดของไม้พุ่มเตี้ยที่มีแสงรำไรที่ความสูงเหนือระดับน้ำ ทะเล1,200-1,400เมตร พบครั้งแรกที่รัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย


เขตกระจายพันธุ์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ประเทศไทยเพิ่งสำรวจพบ ยังไม่มีรายงานเป็นทางการ


ประเทศไทยพบที่จังหวัดนครศรีธรรมราช


ไม่พบปลูกเลี้ยงตามบ้านและสวนพฤกษศาสตร์ พบได้ยากในธรรมชาติและมีประชากรน้อยมาก


สิงโตมูเซอ 


    


  Bullbophyllum  tripaleum Seidenf.


                   กล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วย รูปไข่เรียงตัวชิดกันเป็นกลุ่มบนเหง้า ผิวมันเล็กน้อย และเป็นตุ่มคล้ายผิวคางคก มักมีลายเป็นแถบสีเทาบนพื้นสีเขียวอมม่วง มีใบ2ใบรูปแถบปลายใบเว้าบุ๋ม แผ่นใบบางอ่อน


ช่อดอกมีทั้งสั้นจนถึงยาว มีหลายดอกเรียงเป็นกระจุกแน่น ขนาด0.4ซม. สีม่วงแดง กลีบเลี้ยงมีขนปกคลุมที่ด้านนอกของกลีบ ปลายกลีบมีพู่สีแดงยื่นยาว กลีบดอกรูปแถบและสังเกตเห็นได้ยาก กลีบปากมีขนาดเล็กมากสีม่วงเข้ม ดอกเกิดจากปลายช่อเป็นกระจุกแน่น กลีบเลี้ยงมีรยางค์


ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม ช่วงออกดอกจะทิ้งใบ


      


พบครั้งแรกในประเทศไทยที่บ้านมูเซอ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก


                พบในป่าดิบเขาตามที่ร่มแสงแดดรำไร ที่ความสูง1,000เมตรเหนือระดับน้ำทะเล บางครั้งพบเจริญบนหิน


เขตกระจายพันธุ์ พม่า ไทย


ประเทศไทยพบที่ เชียงใหม่ ตาก กาญจนบุรี


ไม่ พบปลูกเลี้ยงตามบ้านเรือนและสวนพฤกษศาสตร์ แต่ปลูกเลี้ยงบ้างในกลุ่มผู้นิยมกล้วยไม้พันธุ์แท้ในธรรมชาติมีประชากรน้อยและมีเฉพาะถิ่นที่อยู่ จึงพบเห็นได้ยากมาก


สิงโตใบพาย 


  


ชื่อวิทยาศาสตร์ :ฺี Bullbophyllum wallichii Rchb.f.


ลำลูกกล้วยรูปขอบขนานแกมรูปไข่ สีเขียวอมส้ม แต่ละลำขึ้นชิดกันเป็นกอบนเหง้าที่ทอดเลื้อยสั้นๆ ใบรูปแถบมี2ใบ ขนาดของใบกว้าง2.5ซม.ยาว10ซม.เรียงตรงข้ามปลายใบแหลม แผ่นใบบาง มีอายุฤดูเดียว ทิ้งใบก่อนออกดอก


ช่อดอกเกิดจากโคนหัว เป็นช่อกระจะ มี1-2ช่อก้านช่อตรง แกนช่อโค้งงอลง  ก้านช่อยาวกว่าแกนช่อ ดอกมักยาวกว่า3ซม. กลีบเลี้ยงคู่ข้างคล้ายใบพาย ขอบกลีบด้านล่างบิดตัวจรดกันตลอดแนว สีส้มจนถึงสีแสด กลีบปากรูปขอบขนานมีขนาดเลล็กมาก สีส้มแดง โคนกลีบเชื่อมกับฐานเส้าเกสร เส้าเกสรมีขนาดเล็กและสั้นมาก


ออกดอกเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม ช่วงออกดอกจะทิ้งใบ ในฤดูร้อนสามารถทนต่อความร้อนและความแห้งแล้งได้ดี


 
 


กล้วยไม้เจริญบนหินที่พบในป่าดิบเขา บริเวณที่โล่งแจ้งแสงแดดจัด ที่ความสูง 1,200-1,400เมตรจากระดับน้ำทะเล


เขตการกระจายพันธุ์ เนปาล สิกขิม ภูฎาน พม่า ไทย


ประเทศไทยพบที่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก เลย


ไม่ พบปลูกเลี้ยงตามบ้านเรือน แต่ปลูกเลี้ยงบ้างในกลุ่มผู้นิยมกล้วยไม้พันธุ์แท้และสวนพฤกษศาสตร์ในธรรมชาติมีประชากรน้อย พบเฉพาะถิ่นที่อยู่ จึงพบเห็นได้ยาก และมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง


                                                          สิงโตรวงข้าวนก 





ชื่อวิทยาศาสตร์ :ฺ Bullbophyllum intricatum Seidenf.


กล้วย ไม้อิงอาศัย ขนาดค่อนข้างเล็ก ลำลูกกล้วยรูปไข่ ขนาดกว้าง1.5-2ซม.ยาว2.5-4ซม.ใบรูปรีมี1ใบขนาดของใบกว้าง2.5-3ซม.ยาว12-15ซม. แผ่นใบแข็งหนาและเหนียว ช่อดอกยาว15-20ซม. โค้งงอเล็กน้อยดอกในช่อค่อนข้างแน่น เกิดจากกลางช่อขึ้นไป ขนาดดอกประมาณ0.5-1ซม.ออกดอกเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน
พบเฉพาะในประเทศไทย ตามป่าดิบในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


สิงโตรวงข้าวฟ่าง 


    


 Bullbophyllum crassipes Hook.f.


ลำลูกกล้วยรูปขอบขนานแกกกมรูปไข่ ใบรูปแถบมี 2 ใบ ขนาดของใบกว้าง 2 ซม.ยาว 10 ซม.หนาและแข็งปลายใบมน ช่อดอกเป็นช่อกระจะ ช่อดอกยาว10 เซนติเมตร ก้านดอกสั้น ดอกในช่อแน่นเรียงตัวรอบแกนช่อ ดอกขนาด0.5ซม. กลีบเลี้ยงบนรูปรีกว้าง ปลายเรียวแหลม กลีบเลี้ยงคู่ข้างเชื่อมกันจนเป็นถุงลึก กลีบดอกรูปสามเหลี่ยม ปลายเรียวแหลม ทั้งห้ากลีบสีม่วงแดง แผ่นกลีบด้านนอกไม่เรียบ กลีบปากสีส้มแดง โคนกลีบมีหูปากเป็นติ่งขนาดเล็ก ฝาครอบกลุ่มเรณูสีเหลือง


ออกดอกเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม ช่วงออกดอกไม่ทิ้งใบ มีกลิ่นอ่อนๆ


เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย พบในป่าดิบเขา


เขตกระจายพันธุ์ สิกขิม อินเดีย พม่า ไทย มาเลเซีย


ประเทศไทยพบที่ พิษณุโลก และทางภาคใต้ของประเทศ


ไม่ พบปลูกเลี้ยงตามบ้านเรือน และสวนพฤกษศาสตร์ แต่ปลูกเลี้ยงบ้างในกลุ่มผู้นิยมกล้วยไม้พันธุ์แท้ ในธรรมชาติมีประชากรน้อย พบเฉพาะถิ่นที่อยู่ จึงพบเห็นได้ยาก และมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง



สิงโตโคมไฟเล็ก 


   


ชื่อวิทยาศาสตร์ ; Bullbophyllum congestum Rolfe


กล้วย ไม้ขนาดเล็ก ลำลูกกล้วยรูปทรงกระบอก ขนาด กว้าง0.6ซม.ยาว2-2.5ซม.เรียงตัวเป็นเหง้า เป็นระยะห่างกัน 2-3 ซม. มีใบ1ใบค่อนข้างหนาและเหนียวขนาดของใบกว้าง 1.5ซม.ยาว5--6ซม. ปลายใบตัดหยักเว้าตื้น ช่อดอกสั้นกว่าใบเล็กน้อย ปลายช่อมีดอกแน่นเป็นกระจุกกลมเป็นกล้วยไม้ที่พบเห็นได้ยาก


ออกดอกเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม ช่วงออกดอกไม่ทิ้งใบ


เขตการกระจายพันธุ์ อินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ไทย


ประเทศไทยพบในป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


สิงโตตุ้งติ้ง


 


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bullbophyllum lemniscatum C.S.P.Parish ex Hook.f. 


 ลำลูกกล้วยรูปทรงกลมมีผิวขรุขระขึ้นชิดกัน  ใบรูปขอบขนานมี2ใบขนาดของใบกว้าง2ซม.ยาว10ซม.มีอายุฤดูเดียวใบแก่หลุดร่วงที่ข้อต่อ ช่อดอกเป็นช่อกระจะออกจากโคนลำ ยาว10-15 ซม.ปลายช่อโป่งพองและโค้งงอลง มีดอกเล็กๆจำนวนมาก มีขนาดเพียง0.2ซม.สีม่วง กลีบเลี้ยงมีขนกำมะหยี่ปกคลุม ปลายกลีบมีพู่สีม่วงยาว1-1.5ซม. ภาพตัดขวางของพู่เป็น6แฉก กลีบดอกขนาดเล็กรูปแถบ กลีบปากรูปไข่มีขนาดเล็กมาก สีม่วงดำ เส้าเกสรเล็กและสั้น ปลายมีรยางค์เขี้ยวยื่นยาว


ออกดอกเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ช่วงออกดอกทิ้งใบ




 พบในป่าดิบเขาที่โล่งค่อนข้างมืดครึ้มและบนหิน ที่ความสูง400-1,000เมตรจากระดับน้ำทะเล
พบ ครั้งแรกในพม่าเขตกระจายพันธุ์ ไทย พม่า


ประเทศไทยพบที่จังหวัดจันทบุรี


ไม่พบปลูกเลี้ยงตามบ้านและสวนพฤกษศาสตร์ พบเห็นได้ยากในธรรมชาติและมีประชากรน้อย


สิงโตนางรำ


         


Bulbophyllum monanthum (Kuntze) J.J.Sm.


กล้วยไม้อิงอาศัย ขนาดกลางหรือค่อนข้างเล็ก ลำลูกกล้วยรูปทรงกระบอกและผอม ขึ้นห่างกันบนเหง้า ใบรูปแถบขนาดกว้าง2.5ซม.ยาว12ซม.ปลายใบเว้าแผ่นใบหนาและเหนียว ดอกเป็นดอกเดี่ยวเกิดตามข้อที่เหง้าหรือโคนหัว ขนาด1ซม. กลีบเลี้ยงบนรูปรีกว้างจนเกือบกลมและมีขนาดใหญ่มาก กลีบเลี้ยงคู่ข้างรูปสามเหลี่ยม ทั้งสามกลีบสีเหลืองและมีจุดสีเข้มทั่วกลีบ กลีบดอกรูปแถบสีน้ำตาลปลายกลีบมน กลีบปากเป็นแง่งคล้ายฉมวกสีน้ำตาลแดง เส้าเกสรอ้วนและสั้นมาก 


ออกดอกเดือนธันวาคม-มกราคมช่วงออกดอกไม่ทิ้งใบ


   


พบที่ความสูง1,100เมตรจากระดับน้ำทะเล


เขตกระจายพันธุ์ ภูฎาน อินเดีย จีน ไทย เวียตนาม


ประเทศไทยพบที่ ตาก ภูกระดึง


ไม่ พบปลูกเลี้ยงตามบ้านเรือน และสวนพฤกษศาสตร์ แต่ปลูกเลี้ยงบ้างในกลุ่มผู้นิยมกล้วยไม้พันธุ์แท้ ในธรรมชาติมีประชากรน้อย พบเฉพาะถิ่นที่อยู่ จึงพบเห็นได้ยาก และมีจำนวนลดลง


สิงโตเครายาว


      


Bulbophyllum longissimum (Ridl.) Ridl.


กล้วย ไม้อิงอาศัยขนาดกลาง เจริญทางด้านข้าง ลำลูกกล้วยรูปไข่ ใบรูปขอบขนานแผ่นใบหนาและเหนียว ปลายใบแหลมขอบใบเรียบขนาดใบกว้าง2-3ซม.ยาว10-15ซม. ดอกออกเป็นช่อแบบซี่ร่ม เกิดจากโคนลำลูกกล้วยมี3-5ดอก  กลีบเลี้ยงบนรูปไข่สีเหลือง มีเส้นสีแดงพาดตามยาว มีขนที่ขอบกลีบกลีบเลี้ยงคู่ข้างจะเป็นเส้นยาวมากถึง25ซม.  กลีบปากรูปสามเหลี่ยมสีเหลืองเข้ม


ออกดอกเดือนกันยายน-เดือนพฤศจิกายน


สิงโตเครายาวเป็นกล้วยไม้ที่หายากและเป็นกล้วยไม้ถิ่นเดียวที่พบเฉพาะในประเทศไทยและมีรายงานว่า พบเฉพาะที่จังหวัดพังงาเท่านั้น ปัจจุบันมีการนำมาเพาะเลี้ยงและปลูกเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในกลุ่มผู้นิยมกล้วยไม้พันธุ์แท้


สิงโตระย้าดอกม่วง


 


Bulbophyllum tortuosum (Blume) Lindl


ชื่ออื่น : สิงโตม่วง


สิงโตระย้าดอกม่วงเป็นกล้วยไม้ที่ไม่ผลัดใบ ลำต้นห้อยย้อยลง ดอกเดี่ยวมีขนาดเล็กดอกออกที่โคนลำลูกกล้วยและมีกาบของลำลูกกล้วยบังส่วนที่เป็นก้านดอกไว้ กล้วยไม้ชนิดนี้กระจายพันธุ์อยู่ในภูฎาน ลาว เวียตนาม คาบสมุทรมาลายู จนถึงเกาะสุมาตรา และเกาะชวาในอินโดนีเซีย เป็นพืชหายากของไทยที่ถูกคุกคามและลดจำนวนลง ปัจจุบันสำรวจพบเฉพาะที่จังหวัดระนอง ชุมพรและนครศรีธรรมราช


สิงโตครุย


  


Bulbophyllum abbrevilabium Carr


กล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วยเล็กขนาด 0.5x1 ซม. มีกาบหุ้ม ใบรูปรีแกมรูปใบหอก ขนาดของใบกว้าง1.5ซม.ยาว4ซม.ปลายแหลม มีเพียงใบเดียว ออกดอกเดี่ยวจากโคนลำ ดอกขนาด0.8ซม. กลีบเลี้ยงรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายกลีบแหลมสีน้ำตาลแดง กลีบดอกพู่สีม่วงเข้ม มี5-7เส้น แต่ละเส้นยาว0.4-0.5ซม. กลีบปากสั้นสีม่วงเข้ม ปลายกลีบแหลมและงุ้ม กลีบปากมีตุ่มหูดรูปทรงกลมจำนวนมาก เส้าเกสรสั้น


ออกดอกเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม ช่วงออกดอกไม่ทิ้งใบ




พบตามป่าดิบเขา เจริญบนคาคบไม้ตามริมลำธาร ที่ความสูง 600-800 เมตรจากระดับน้ำทะเล


เขตกระจายพันธุ์ ไทย เวียตนาม มาเลเวีย


ประเทศไทยพบที่ นครราชสีมา


ไม่พบปลูกเลี้ยงตามบ้านเรือนและสวนพฤกษศาสตร์ ในธรรมชาติมีจำนวนน้อยมากและพบเฉพาะถิ่นที่อยู่เท่านั้น


สิงโตรวงทอง



Bulbophyllum orientale Seidenf.


ลำลูกกล้วยรูปไข่ สีม่วงคล้ำ อยู่ห่างกันบนเหง้าขนาดใหญ่ ใบรูปขอบขนาน1ใบ ขนาดกว้าง3ซม.ยาว10ซม.ปลายใบแหลมจนถึงมน สีม่วงคล้ำ มีอายุหลายฤดูก่อนหลุดร่วงที่ข้อต่อ ช่อดอกเป็นช่อกระจะมักห้อยลง ดอกขนาด0.4ซม.เรียงแน่น กลีบเลี้ยงบนรูปรีกว้าง กลีบเลี้ยงคู่ข้างเชื่อมกันที่ขอบด้านล่างจนดูคล้ายกลีบเดียวกัน แต่บางครั้งแยกเป็นอิสระ กลีบดอกมีขนาดเล็กรูปสามเหลี่ยม เบี้ยว ปลายกลีบเรียวแหลม ทั้งห้ากลีบสีส้มและมีจุดสีส้มแดงจำนวนมาก กลีบปากมีสีส้มรูปขอบขนานอวบหนา โคนกลีบมีรยางค์เขี้ยว ปลายกลีบมน ด้านบนของกลีบขรุขระ เส้าเกสรสั้น และที่ปลายมีรยางค์คล้ายเขี้ยวตั้งขึ้น


ออกดอกเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ช่วงออกดอกไม่ทิ้งใบ ดอกมีกลิ่นเหม็นคล้ายซากสัตว์เน่าเปื่อย เพื่อล่อให้แมลงช่วยผสมเกสร


 


พบครั้งแรกที่อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จังหวัดพิษณุโลก


เขตการกระจายพันธุ์  เดิมเป็นกล้วยไม้ถิ่นเดียวที่พบเฉพาะในประเทศไทย ปัจจุบันสำรวจพบในลาว


สิงโตรวงทองเป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่พบในป่าดิบเขา มักพบเจริญบนหิน ทั้งในที่โล่งแจ้งแสงแดดจัดและที่ร่มแสงแดดรำไร ที่ความสูง 800-1,200เมตรจากระดับน้ำทะเล


ไม่พบปลูกเลี้ยงตามบ้านและสวนพฤกษศาสตร์ แต่พบในกลุ่มผู้นิยมกล้วยไม้พันธุ์แท้ ในธรรมชาติมีประชากรค่อนข้างมาก พบเห็นได้บ่อยในบางพื้นที่ แต่มีจำนวนลดลง


สิงโตอาจารย์เต็ม




Bulbophyllum smitinandii Seidenf. & Thorut


        สิงโตอาจารย์เต็ม มาจากชื่อของ ศาสตราจารย์ ดร.เต็ม สมิตินันทน์


นักพฤกษศาสตร์คนสำคัญของไทย


พบครั้งแรกที่เขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช


กล้วยไม้อิงอาศัยขนาดค่อนข้างใหญ่ ลำลูกกล้วยรูปไข่ ใบรูปขอบขนานแกมรูปแถบ ขนาดของใบกว้าง4ซม.ยาว15ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่โคนลำหรือที่เหง้า ดอกขนาด4ซม. กลีบเลี้ยงบนรูปไข่ กลีบเลี้ยงคู่ข้างรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ขอบกลีบงุ้มเข้า กลีบดอกรูปแถบแกมรูปไข่ ทั้งห้ากลีบสีเหลือง มีลายสีน้ำตาลแดงจำนวนมาก ปลายกลีบแหลม กลีบปากสีม่วงแดง แผ่นกลีบมีขนสีขาวปกคลุม กลีบเชื่อมกับคางเส้าเกสรที่ยื่นยาวมาก ใต้แอ่งเกสรเพศเมียมีรยางค์รูปลิ้น


ออกดอกเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนพฤษภาคม ช่วงออกดอกไม่ทิ้งใบ



พบตามป่าดิบชื้น แสงแดดรำไร ที่ความสูง700-900เมตรจากระดับน้ำทะเล


กล้วยไม้ชนิดนี้เป็นพืชเฉพาะถิ่นที่พบทางภาคใต้ของไทย และมีการสำรวจพบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในหลายพื้นที่ และคาดว่าอาจพบในมาเลเซียด้วย ปัจจุบันในธรรมชาติมีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็ว เพราะนิยมเก็บจากป่ามาปลูกเลี้ยงกันเป็นจำนวนมาก แต่บางพื้นที่กลับพบค่อนข้างง่าย บางครั้งพบอาศัยอยู่ในสวนผลไม้





ขอบคุณข้อมูลจาก
//suan-theva.igetweb.com/index.php?mo=3&art=612396







Create Date : 20 พฤษภาคม 2554
Last Update : 20 พฤษภาคม 2554 12:08:08 น. 0 comments
Counter : 10601 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2554
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
20 พฤษภาคม 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.