สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
โยทะกา : น้องเล็กของสามใบเถา สกุลใบแฝด




โยทะกา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bauhinia monandra kurz

อยู่ในวงศ์ (AESALPINIACEAE และอยู่ในสกุล BAUHINIA เช่นเดียวกับกาหลงและชงโค)

จึงมีลักษณะหลายอย่างคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะลักษณะใบ ซึ่งมีรูปร่างคล้ายรอยเท้าโคหรือใบแฝด ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของต้นไม้สกุลนี้

โยทะกาเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบรูปไข่ค่อนข้างกลม ปลายและโคนใบเว้าลึก มองเหมือนใบแฝดติดกัน เช่นเดียวกับใบกาหลงและใบชงโค

ดอกใหญ่ออกเป็นช่อ มีกลีบสีเหลือง เมื่อบานได้ ๒ วัน สีกลีบจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูเข้ม ทรงดอกเป็น ๕ กลีบ คล้ายดอกกล้วยไม้ เมื่อดอกร่วงหล่นจะติดฝักรูปร่างแบน ยาว ราว ๙-๑๕ เซนติเมตร เมื่อฝักแก่จัดจะแตกออกจากกัน

เปลือกของโยทะกาเป็นเส้นใย ใช้ทำเชือกปอได้

มีโยทะกาอีกชนิดหนึ่ง ชื่อ Bauhinia flanifera ride อยู่ในสกุลเดียวกัน เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ซึ่งมีลักษณะอื่นๆ คล้ายคลึงกับโยทะกาชนิดแรก สันนิษฐานว่าคนไทยเรียกชื้อโยทะกาทั้ง ๒ ชนิดนี้รวมๆ กันมาตั้งแต่เดิม เพราะชื่อที่ใช้เรียกตามท้องถิ่นต่างๆ บ้างก็บ่งบอกว่าเป็นไม้เถา เช่น ชงโคย่าน (ตรัง) เถาไฟ (กรุงเทพฯ) เป็นต้น

โยทะกาเป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในประเทศไทย เช่นเดียวกับกาหลงและชงโค พบได้ในป่าธรรมชาติของทุกภาค จึงปรากฏชื่ออยู่ในวรรณคดีไทย ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ดังเช่นในสักกบรรพคำฉันท์ ซึ่งแต่งในสมัยอยุธยา ตอนหนึ่งบรรยายถึง” ปรูประประยงค์ ชงโคตะโกโยธกา”

คำว่า โยทะกา ในอดีตนิยมใช้เขียนว่า “โยธกา” มาจนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์แล้วจึงเปลี่ยนเป็น “โยทะกา”

ในหนังสือ อักขราภิธานศรับ ของหมอบรัดเล พ.ศ. ๒๔๑๖ มีบรรยายว่า “โยทะกา เปนคำเรียกของสำหรับทอดสมอให้เรืออยู่ แต่มันมีสันถานเหมือนหนามต้นโยทะกา”

น่าสังเกตว่าโยทะกาใช้เรียกเครื่องมือที่ใช้ทอดสมอ รูปร่างคล้ายหนามต้นโยทะกา แสดงว่าต้นโยทะกาเป็นที่มาของชื่อนี้ แต่ต้นโยทะกาที่เรารู้จักในปัจจุบัน เป็นพืชไม่มีหนาม ซึ่งอาจจะเป็นคนละต้นกับโยทะกาของอักขราภิธานศรับหรือต้นโยทะกา อาจมีมากกว่า ๒ ต้นก็ได้ (ในสมัยนั้น)

ปัจจุบันยังมีโยทะกาสมัยใหม่อีกชนิดหนึ่ง เป็นต้นไม้ขนาดเล็ก สูง
๒-๕ เมตร ดอกสีเหลืองล้วนตั้งแต่เริ่มบานจนร่วงโรย ลักษณะดอกห่อไม่บานเต็มที่ ดอกออกจากยอดตลอดปี นิยมปลูกในสวนเป็นไม้ประดับ





มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Bauhinisa tomentora Linn

ชื่อที่เรียกในเมืองไทยคือ โยทะกา (ภาคกลาง) เถาไฟ (กรุงเทพฯ) ย่ายชิวโค (ตาก) ปอลิง (สุราษฎร์ธานี) ปอโคย่าน (ตรัง) เล็บควายใหญ่ (ยะลา-ปัตตานี) ภาษาอังกฤษเรียก Pink orchid Tree, One – Stemened Bauhinia, Jerusalim Date, Butterfly Flower

ประโยชน์ของโยทะกา

ไม่พบประโยชน์ด้านอื่นๆ ของโยทะกา นอกจากการใช้เป็นไม้ประดับ ซึ่งหากคนไทยรู้จักกาหลงและชงโคแล้วก็ควรจะนำมาปลูกร่วมกันให้ครบทั้ง “สามใบเถา” เพื่อให้พี่น้องได้อยู่ร่วมกัน ดังที่เคยเป็นมาในอดีต
อันยาวนาน




ขอบคุณข้อมูลจากคุณเดชา ศิริภัทร
เว็ปไซด์หมอชาวบ้าน
ภาพจากwww.panmai.com/TopTen/top09/top_nine.shtml
//www.ku.ac.th/AgrInfo/th_flower/bauhinia.htm



Create Date : 04 สิงหาคม 2552
Last Update : 4 สิงหาคม 2552 10:43:04 น. 2 comments
Counter : 2653 Pageviews.

 
ที่บ้านมีทั้งกาหลงและชงโค
แต่ไม่มีโยทะกาค่ะ


โดย: บ้านน้อยริมสวน วันที่: 4 สิงหาคม 2552 เวลา:17:21:55 น.  

 
สวยจังค่ะ


โดย: joy@putchanok วันที่: 4 สิงหาคม 2552 เวลา:17:32:58 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2552
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
4 สิงหาคม 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.