สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
ไม้สกุลเฟินข้าหลวง

วงศ์ ASPLENIACEAE


เรา มักพบเฟินในวงศ์ข้าหลวงในบริเวณป่าที่ชุ่มชื้น โดยอาจพบทั้งที่เป็นพืชบนดิน พืชอิงอาศัยหรือพืชเกาะตามผาหิน มีลำต้นที่เรียกว่าเหง้า สั้นหรือยาวตั้งตรงหรือทอดนอน และมักถูกปกคลุมด้วยเกล็ดหรือเซลล์หนาสีดำ เรียกว่าClathrate scales ใบอาจเป็นใบเดี่ยวหรือใบประกอบแบบขนนก เส้นใบแตกแบบอิสระ สปอร์เป็นแบบสองซีกเหมือนกันและมีเยื่อหุ้มสปอร์ด้วย


เฟินในสกุลนี้ประกอบด้วยสมาชิกประมาณ120ชนิด ราว38ชนิดพบในประเทศไทยแต่คาดว่ายังมีอีกมากมายที่ตกสำรวจ เฟินข้าหลวงเป็นเฟินอิงอาศัยที่มีผู้รู้จักและปลูกเลี้ยงมากที่สุดในประเทศไทย




เฟินข้าหลวง ( Bird's Nest Fern ): Asplenium nidus



เฟินชนิดนี้มีลำต้นสั้น ตั้งตรงหรือเอนเอียง ใบเกิดเวียนรอบลำต้นโดยมีกลุ่มรากคล้ายฟองน้ำอยู่บริเวณโคน ก้านใบสีน้ำตาลอ่อนถึงสีดำยาว2-5ซม.โคนก้านมีเกล็ดสีน้ำตาลเข้ม ใบเป็นแบบใบเดียว ความยาวแตกต่างกันไปจนถึง1เมตรหรือมากกว่า กว้าง12-30ซม. โคนและปลายใบจะเรียวสอบเข้า แผ่นใบเหนียวหนาเป็นมัน เส้นกลางใบสีดำนูนแข็งทางด้านบน ซอไรเกิดเป็นแถวยาวตามเส้นใบ  ในประเทศไทยมี2พันธุ์ได้แก่พันธุ์ nidus ใบกว้างประมาณ20ซม.ปลายใบค่อยเรียวสอบเข้า และพันธุ์ musiforum มีใบกว้างกว่าประมาณ35ซม.ปลายใบมนโค้งไม่เรียวแหลม พบทางภาคใต้ขึ้นมาจนถึงประจวบคีรีขันธ์


เฟินข้าหลวงมีการกระจายพันธุ์จากแอฟริกาไปถึงโปลินีเซีย ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย


ข้าหลวงแคระฮาวาย


Asplenium antiguum


ใบเดี่ยว พุ่มใบแน่นกระชับ ปลายใบปกติยาวแหลมแต่มักเกิดรอยเว้าที่ปลายใบ เฟินข้าหลวงต้นนี้มีถิ่นกำเนิดจากญี่ปุ่น จึงทนต่อสภาพอากาศหนาวเย็นได้ดี ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะสปอร์ซึ่งทำให้เกิดการกลายพันธุ์ได้เสมอ เฟินชนิดนี้สามารถผสมข้ามกับเฟินจีบได้ลูกผสมซึ่งน่าสนใจมาก


 ข้าหลวงโอซากา


Asplenium antiguum cv. Osaka


เป็นเฟินข้าหลวงซึ่งกลายพันธุ์ในญี่ปุ่น มีขนาดย่อมกว่าเฟินข้าหลวงปลายใบเรียวแหลม ขอบใบหยักเป็นลอน ใบสีเขียวอ่อน


ข้าหลวงอ่างขาง


Asplenium antrophyoides


มีเหง้าสั้น ขนสีน้ำตาล ผนังเซลล์หนา มีใบน้อยกว่าเฟินข้าหลวง(A.nidus) และมีขนาดเล็กกว่า โดยมากใบยาว30-40ซม. ก้านใบสีเขียว ใบเดี่ยวรูปใบพาย แผ่นใบคอดแคบเป็นครีบใกล้โคนก้านใบ ส่วยปลายผายกว้าง6-8ซม.ปลายสุดสอบเข้าเรียวแหลม ขอบใบเรียบหรือหยักเป็นคลื่น เนื้อใบหนาเหนียวกว่าเฟินข้าหลวงมาก ผิวใบเป็นมันเงาคล้ายพลาสติกสีเขียวเข้ม บางครั้งเหลือบน้ำเงินหากพบที่ร่มมากๆ


พบตามผาหินปูนบนดอยอ่างขางและมีรายงานว่าพบที่ผาหินปูนที่ระดับ1,700-1,900เมตร บนดอยเชียงดาว ตามรายงานกล่าวว่ามีขนาดใบยาวได้ถึง60ซม.แต่กว้างเพียง6ซม.เท่านั้น


เฟินชนิดนี้ปลูกได้ดีเฉพาะเขตหนาว มักปรับตัวได้ไม่ดีนักเมื่อนำมาปลูกในกรุงเทพฯส่วนใหญ่จะตายเมื่อเข้าฤดูร้อน


ข้าหลวงอ่างขางใบริ้ว


 

Asplenium antrophyoides cv. Marginatum
เป็นพันธุ์ที่ไดจากการกลายพันธุ์โดยพบในสภาพธรรมชาติ ขอบใบหยักเป็นพูลึกทั่วต้น ทำให้สวยงามต่างจากพันธุ์เดิม พบบนดอยอ่างขางในสวนบอนไซ มักขึ้นเองตามหน้าผาหินปูนที่ระดับความสูง1,400เมตร ชอบอากาศหนาว ความชุ่มชื้นสูง ในสภาพปกติ จะพักตัวหยุดการเจริญเติบโตในช่วงฤดูหนาวถึงฤดูร้อน เฟินพันธุ์นี้ปรับตัวได้ดีในกรุงเทพฯ


ข้าหลวงออสเตรเลีย




Asplenium australasicum


เฟินขนาดใหญ่ ต้น ใบ อวบ เหง้าไม่แตกกิ่งหรือสร้างกอ ใบเดี่ยวห่อตัวเข้าเป็นแอ่ง มีถิ่นกำเนิดอยู่ในออสเตรเลีย ได้รับความนิยมในไต้หวัน โดยมีผู้ค้นพบว่า ใบอ่อนที่ยังไม่คลี่ของเฟินชนิดนี้เมื่อนำไปผัดไฟแดงใส่น้ำมันหอยแล้วจะอร่อยมาก ดังนั้นจึงได้รับความนิยมและมีราคาสูง ปลูกกันเป็นฟาร์มเพื่อตัดใบอ่อนกินเป็นอาหารขึ้นเหลา ค่อนข้างทนหนาว ใบอ่อนอวบจึงตกเป็นอาหารของทากและหนอนคืบได้ง่ายด้วย


ข้าหลวงเลื้อยบาตู


 

Asplenium batuense


ข้าหลวงใบเดี่ยวที่มีลักษณะพิเศษคือ มีเหง้าทอดเลื้อยยาว มักขึ้นจากพื้นดินแล้วเลื้อยเวียนขึ้นตามลำต้นของต้นไม้เล็กๆ ใบเป็นรูปหอกแคบยาวได้ถึง45ซม.แต่กว้างเพียง7ซม. หลังใบสีเขียวเข้ม เห็นเส้นใบนูนเด่นชัด ซอไรปกคลุมใต้ใบเกือบทั่ว อินดูเซียสีน้ำตาล
พบขึ้นบนหินหรือลาดไหล่เขาใกล้ห้วยที่มีซากใบไม้ผุสะสมอยู่มาก เช่น บริเวณเขาหลวง จ.นครศรีธรรมราช หรือในป่า ฮาลาบาลา จ.นราธิวาส


เป็นเฟินที่เลี้ยงไม่ยาก แต่ต้องอยู่ในที่ที่มีความชื้นในอากาศสูง ไม่งั้นขอบใบจะแห้งได้ง่ายและใบอ่อนอาจไม่คลี่เต็มที่ การปลูกอยู่กลางโรงเรือนให้แวดล้อมด้วยไม้อื่นๆจะทำให้มีการเจริญเติบโตดีแม้จะปลูกในกรุงเทพฯ
เฟินข้าหลวงนิวซีแลนด์ใบหลิว



Asplenium flaccidum


เฟินข้าหลวงชนิดนี้พบในนิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย มีผู้นำเข้ามาปลูกในกรุงเทพฯกันบ้างแต่ส่วนใหญ่เลี้ยงได้ไม่งดงามนักเพราะชอบอากาศหนาวเย็น


ข้าหลวงใบพาย

Asplenium gervillei


เฟินขนาดเล็กความกว้างทรงพุ่ม38ซม. ใบเดี่ยวหนาสีเขียวเข้ม ใบรูปใบพายยาว30ใบ โดยแผ่นใบช่วงล่างคอดแคบเป็นครีบอยู่2ข้างของเส้นกลางใบ กว้าง1.5-2ซม. เหนือขึ้นไป2ใน3ส่วนจะแผ่ออกแบบใบพายกว้าง5.5ซม. เส้นกลางใบด้านล่างเป็นสันรูปสามเหลี่ยมเด่นชัด ซอไรเกิดทั่วแผ่นใบในบริเวณที่แผ่กว้าง สปอร์สีน้ำตาล


พบในป่าดิบชื้นระดับต่ำถึงระดับกลางที่ อ. แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี และ อ.เบตง จ.ยะลา มีการกระจายพันธุ์เกือบทุกภาคแต่หายาก

ข้าหลวงใบแฉกโบกอร์
 




Asplenium nidus cv. Bogor


ขอบใบแตกเป็นแฉกเป็นพูขนาดเล็กใหญ่ต่างกัน ไม่มีความแน่นอนในใบต่างๆที่เป็นเช่นนี้เพราะมีไวรัสเข้าสะสมในตัวใบจนมีรูปร่างแปลกพิสดารออกไป คล้ายอาการเกิดพุ่มแจ้ (อาการยอดเป็นกระจุก ยอดเป็นแฉกคล้ายหางไก่ เนื่องจากการแบ่งเซลล์ที่รวดเร็วผิดปกติจนไม่สามารถควบคุมได้)


 อย่างไรก็ตามอาการใบแฉกหรือใบแตกเป็นริ้วๆต่างๆนี้กลายเป็นของที่ดูแปลกตาและสวยงามมีคุณค่าในทางไม้ประดับดังนั้นข้าหลวงโบกอร์จึงเป็นพัยธุ์พืชสวนที่มีมูลค่าสูงแม้ในปัจจุบัน


เฟินจีบ


 

Asplenium nidus cv. Crispafolium


ต้นขนาดใหญ่ ทรงพุ่มสูงกว่า 1 เมตรใบหนาหยักเป็นลอนดูย่นไปทั้งใบ สร้างซอไรใต้ใบ


เพาะสปอร์ขยายเป็นการค้าได้มีเปอร์เซนต์งอกสูง สามารถผสมข้ามกับเฟินข้าหลวงต่างๆได้ โดยให้ลูกผสมที่มีลักษณะครึ่งทางระหว่างพ่อ-แม่ จึงมีคุณค่ามากในแง่การปรับปรุงพันธุ์ ปลูกประดับในสวนหรือไม้กระถางแขวน หรือโต๊ะทำงานก็ได้เมื่อมีขนาดเล็ก


ข้าหลวงหางปลา


 

Asplenium nidus cv. Fishtail


เฟินข้าหลวงที่กลายพันธุ์ไปจากพันธุ์เดิม มีการแตกกอแน่น ใบเล็กแคบ ปลายใบแตกเป็นพูแฉกขนาดใหญ่ดูคล้ายหางปลาที่โบกขึ้นเหนือน้ำ ขอบใบเป็นคลื่นไม่เรียบเหมือนพันธุ์ปกติ เส้นกลางใบสีน้ำตาลอ่อนอมเขียว จำนวนใบต่อกอมากกว่าชนิดปกติ ปลายใบอาจแตกเป็นพูเล็กๆได้อีก

ข้าหลวงราชินี




Asplenium nidus cv. Beauty Queen


ทรงพุ่มเป็นทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางราว 40ซม.ใบเป็นแฉก3ชั้น ปลายใบเป็นแฉกเว้าพอควรแผ่นใบแคบ เติบโตช้า


ข้าหลวงอินโดกลาย NO.1




Asplenium nidus cv. Cresteatum


ข้าหลวงพันธุ์นี้มีใบแคบ ใบกางชูสูงคล้ายดาบ ขอบใบแตกเป็นริ้วเล็กๆปลายแหลม หรือปลายแตกเป็นพูหลายชั้น การเรียงตัวของใบบนลำต้นและริ้วสาขาบนพูไม่เป็นระเบียบ


ข้าหลวงอินโดนีเซีย




Asplenium nidus cv. Indonesia Mutant # 2


ความสวยงามของข้าหลวงพันธุ์นี้อยู่ที่ขอบใบหนาเป็นสัน และหยักคลื่นเป็นระเบียบ ใบค่อนข้างบางแต่เหนียวแน่นแข็งแรง ผิวใบบนเป็นมันเงา เป็นพันธุ์หนึ่งหรือฟอร์มหนึ่งของเฟินข้าหลวงที่กลายพันธุ์ในอินโดนีเซีย

ข้าหลวงมะนิลาบิวตี้



Asplenium  nidus cv. Manila Beauty


ความเด่นอยู่ที่ลักษณะใบที่มีรอยย่นตามขวางของแผ่นใบ รอยย่นนี้เป็นรอยตื้นไม่ลึกเหมือนเฟินจีบ เส้นกลางใบส่วนโคนมีสีน้ำตาลเข้ม นับเป็นเฟินข้าหลวงที่มีมูลค่าสูงต้นหนึ่ง


ข้าหลวงจักรพรรดิ์ 




Asplenium nidus cv. Monstrifera


เฟินข้าหลวงจักรพรรดิ์เป็นพันธุ์ทางพืชสวนซึ่งนักปลูกเลี้ยงเฟินในกรุงเทพฯ ใช้เรียกกลุ่มของเฟินข้าหลวงกลาย ซึ่งเกิดจากการที่ ดร.ปิยเกตร สุขสถานและ ดร.สุรินทร์ นิลสำราญจิต ทำการเพาะสปอร์ข้ามชนิดและข้ามวงศ์กับเฟินเขากวาง(Polypodium polycarpon cv. Grandiceps) ซึ่งอยู่ในวงศ์ Polypodiaceae และได้พบลักษณะความแตกต่างที่เด่นชัดจำนวน5พันธุ์ย่อย


ข้าหลวงอิเรียน


 

Asplenium nidus cv. Irian


ความเด่นของเฟินข้าหลวงพันธุ์นี้อยู่ที่ความย่นเป็นระเบียบบนผิวใบซึ่งดูคล้ายระลอกคลื่น พบที่อิเรียนจายา อินโดนีเซีย

ข้าหลวงปาปัวนิวกินี


 

Asplenium nidus cv. Papua


เป็นข้าหลวงที่มีขนาดใหญ่ ใบชูตั้งชัน ใบยาวเฉลี่ย 90 ซม.กว้าง19 ซม.จำนวนใบต่อกอไม่มากนัก (เฉลี่ย12ใบต่อกอ) ปลายใบมน มีรอยหยักย่นตามแนวขวางของใบ ทำให้ดูเด่นผิดกับชนิดอื่น ใช้เป็นพ่อ-แม่ พันธุ์ ในการผสมข้ามกับเฟินในสกุลข้าหลวงพันธุ์อื่นๆได้ดี ซอไรเล็กละเอียดพาดจากกลางใบจนเกือบชิดปลายใบ



ข้าหลวงฟิลิปปินส์


 

Asplenium nidus sp. cv. Phillippines


ลำต้นสั้นปกคลุมด้วยขนหรือเกล็ดยาวสีดำหรือน้ำตาลเข้ม จำนวนใบประมาณ10ใบต่อกอ ใบค่อนข้างด้านสีเขียวเทา แคบในส่วนโคนต่อจากต้นและบายขยายบริเวณกลางใบ ใบกว้าง 20ซม.จากนั้นจะลดความกว้างลงเรื่อยๆจนถึงปลายมน ปลายสุดเป็นติ่งแหลมยื่นออกไปตั้งแต่1-3ซม. ซอไรเกิดชิดกับเส้นกลางใบ ถิ่นกำเนิดอยู่เกาะซามาร์(Samar)ซึ่งเป็นเกาะใหญ่ในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ มีผู้นำมาปลูกเลี้ยงในกรุงเทพฯตั้งแต่ประมาณปีพ.ศ.2530-2535

ข้าหลวงสโนไวท์บิวตี้


 

Asplenium nidus cv. Snowwhite Beauty


ความผิดเพี้ยนทางพันธุกรรมของเฟินข้าหลวงพันธุ์นี้อยู่ที่ขอบใบหยักเป็นพูเล็กอย่างสม่ำเสมอตลอดความยาวสองข้างใบ เส้นกลางใบสีน้ำตาลปนดำ นับว่าเป็นเฟินข้าหลวงกลายที่งดงามมากพันธุ์หนึ่งของฟิลิปปินส์


ข้าหลวงวิคตอรี่เกซอน




Asplenium nidus cv. Victory Quezon


ข้าหลวงกลายพันธุ์ต้นนี้พบในธรรมชาติที่ป่าบาเลอร์(Baler)ซึ่งอยู่ในเทือกเขา เซียราเมเดร (Sierra Madre)ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของเฟินหลายร้อยชนิด การกลายพันธุ์ของเฟินข้าหลวงชนิดดูเด่นที่ปลายใบแตกเป็นกิ่งคู่และแตกซ้ำที่ส่วนปลายใบอีก2หรือ3ครั้ง ทำให้ดูงดงามเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างยิ่ง

ข้าหลวงใบยาว

Asplenium longissmum


ข้าหลวงใบยาวมีใบแคบยาว ตัวใบกว้าง20ซม.และอาจยาวได้ถึง1เมตร ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว มีใบย่อยถึง50คู่ มีปลายใบยาวยืดลงมาและสร้างตาขึ้นที่ปลาย จากนั้นจะพัฒนาขึ้นเป็นต้นอ่อนโดยกางทำมุมฉากกับแกนก้านเดิม ใบย่อยหลักเป็นพูตื้นและมีโคนใบแผ่กว้าง ขอบมน ซอไรรูปขอบขนานและมีเยื่ออินดูเซียหุ้ม
มักพบเฟินข้าหลวงใบยาวตามคาคบต้นปาล์มน้ำมันในมาเลเซียและภาคใต้ของไทย ปลูกเลี้ยงเป็นไม้กระถางแขวนได้ดี แต่ต้องได้รับความชื้นสูงสม่ำเสมอจึงจะยาวมากและไม่ทิ้งใบ


เฟินข้าหลวงAsplenium scortechinii



Asplenium scortechinii
               เฟิน ข้าหลวงชนิดนี้มีลักษณะเด่นมากคือมีใบเดี่ยวแคบมากแผ่นใบสีเขียวอมเทาเป็นมัน ขอบใบหยักพลิ้วเป็นคลื่น สปอร์แก่มีสีส้ม พบในสภาพไม้อิงอาศัย และเกาะติดผาหิน ยังไม่แพร่หลายในเชิงการค้า







ขอบคุณข้อมูลจาก
//suan-theva.igetweb.com/index.php?mo=3&art=616911




Create Date : 27 พฤษภาคม 2554
Last Update : 27 พฤษภาคม 2554 10:08:03 น. 0 comments
Counter : 21838 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2554
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
27 พฤษภาคม 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.