Group Blog
 
 
มิถุนายน 2553
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
29 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 
เตือน.! กินปลาดิบ มี พยาธิตัวใหม่ อันตรายถึงตาย








พบมากในภาคอีสานที่บริโภคปลาน้ำจืด ปรุงสุกๆ ดิบๆ


รศ.พญ.ผิวพรรณ มาลีวงษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) เปิดเผยว่า ขณะนี้พบผู้ป่วยด้วยโรคพยาธิแคปิลลาเรีย ซึ่งเป็นพยาธิตัวกลมขนาดเล็ก อาศัยอยู่ในลำไส้เล็ก หากวินิจฉัยไม่ทันอาจมีอันตรายถึงตายได้



ซึ่งจากรายงานการพบผู้ป่วยดังกล่าว จึงเป็นแรงจูงใจในการวิจัยพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยโรคดังกล่าวขึ้น โดยร่วมกับคณะวิจัย ประกอบด้วย



ศ.ดร.วันชัย มาลีวงษ์ ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มข.

รศ.พญ.วัฒนา สุขีไพศาลเจริญ อายุรแพทย์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มข. และ

รศ.ดร.นิมิต มรกต ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่









รศ.พญ.ผิวพรรณ กล่าวว่า


การเกิดโรคดังกล่าวนี้พบมากในประเทศฟิลิปปินส์ และในประเทศไทยมีการพบครั้งแรกเมื่อปี 2516 ที่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ และในปี 2524 มีรายงานการระบาดที่ อ.บึงไพร จ.ศรีสะเกษ พบผู้ป่วยนับ 100 ราย และมีผู้เสียชีวิต 9 ราย



จากนั้นก็ยังมีรายงานการพบผู้ป่วยโรคพยาธิแคปิลลาเรีย เป็นระยะในทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคอีสาน เพราะนิยมบริโภคอาหารดิบ ๆ ที่ปรุงจากปลาเกล็ดน้ำจืด เช่น ปลาขาวนา ปลาสร้อย ปลาซิว



โดยในปลาเกล็ดน้ำจืดดังกล่าวจะมีตัวอ่อนระยะติดต่อในลำไส้ เมื่อกินแบบดิบ ๆ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ ตามแบบชาวพื้นเมืองอีสาน พยาธิจะฟักตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย โดยพยาธิตัวเมียที่อยู่ในลำไส้คนจะออกลูกได้ทั้งเป็นไข่และเป็นตัว ส่งผลต่อลำไส้เล็กของคนอย่างรุนแรง



ซึ่งจะทำให้เซลล์บุผนังลำไส้เล็กสูญเสียหน้าที่ในการดูดซึมอาหาร โดยเฉพาะโปรตีนและเกลือแร่ ทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ









"อาการของผู้ที่เป็นโรคนี้


จะมีลักษณะการถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำ เรื้อรังนานนับเดือน บางครั้งถ่ายอุจจาระวันละ 10-15 ครั้ง อุจจาระมีกากอาหารที่ไม่ย่อย มีไขมันลอย ท้องร้องโครกคราก โดยเฉพาะตอนกลางคืน ผู้ป่วยมักไม่มีไข้ ช่วงแรกรับประทานอาหารได้ดี แต่น้ำหนักตัวลดลงอาจถึง 10 กก. ในเวลาไม่กี่เดือน



ถ้ามีอาการรุนแรงจะพบภาวะซีด เบื่ออาหาร ร่างกายซูบผอม กล้ามเนื้อลีบ อ่อนเพลีย ใบหน้าบวม ท้องโต มานน้ำ ขา-เท้าบวมกดบุ๋ม บางรายความดันโลหิตต่ำ เกิดภาวะช็อก หากตรวจไม่พบพยาธิในอุจจาระ อาจถูกสงสัยว่าเป็นโรคไต ตับ หัวใจ เอดส์ หรือมะเร็งลำไส้ เนื่องจากมีอาการคล้ายกัน การวินิจฉัยโรคที่ล่าช้า ทำให้รักษาไม่ถูกต้อง ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้" รศ.พญ.ผิวพรรณ กล่าว



รศ.พญ.ผิวพรรณ เปิดเผยต่อไปว่า ในการวินิจฉัยโรคทำได้อย่างยากลำบาก เพราะต้องตรวจอุจจาระซ้ำหลายครั้ง จากการค้นคว้าวิจัยอย่างต่อเนื่อง จึงได้ค้นพบวิธีการตรวจวินิจฉัย และพัฒนาวิธีอิมมิวโนบลอทติ้ง เพื่อตรวจหาแอนติบอดี้ ที่พยาธิแคปิลลาเรียสร้างขึ้นในซีรั่มผู้ป่วย แทนการตรวจหาปรสิตจากอุจจาระ



และวิธีการใหม่นี้สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำถึง 100% ทำให้รักษาหายขาดได้ ด้วยการกินยาฆ่าพยาธิ ติดต่อกันนาน 10 วัน เป็นอย่างน้อย และให้โปรตีนเสริมเป็นไข่ขาวต้มสุก ดื่มน้ำเกลือแร่ทดแทน อาการถ่ายเหลวจะดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์








ขอขอบคุณ : ข้อมูลที่เป็นประโยชน์



จาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ





สนับสนุนข้อคิดนานาสาระโดย:


 

From: //variety.teenee.com/foodforbrain/2212.html


Create Date : 29 มิถุนายน 2553
Last Update : 29 มิถุนายน 2553 10:21:42 น. 0 comments
Counter : 248 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

lifewater
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add lifewater's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.