Group Blog
 
 
มิถุนายน 2553
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
29 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 
รู้มั้ย ปะการัง อยู่ในสภาวะน้ำกรดได้











ปะการังที่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้ถูกทำลายหลุดออก แต่ไม่ตาย


เนื่องจากสภาวะของอากาศที่เปลี่ยนแปลง ปะการังที่สร้างขึ้นมาจนเป็นเหมือนโขดหินอาจฟื้นคืนกลับมาสู่สภาพเดิมดีกว่าที่คิดได้เมื่อสภาวะอากาศทีเปลี่ยนแปลงได้ทำลายมัน


นักวิจัยได้ค้นพบว่า


ปะการังบางสายพันธุ์สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้แม้ในสภาวะที่น้ำทะเลเป็นกรด ถึงแม้ว่าตัวของพวกมันจะหลุดลอกเป็นอันๆ เพราะสูญเสียโครงสร้างแข็ง แคลเซียมคาร์บอเนตที่ช่วยปกป้องตัวเอง นี่อาจเป็นข่าวดีสำหรับปะการังแต่ละตัว แต่มันไม่ทำให้ทัศนียภาพของระบบนิเวศน์ของปะการังสวยงามขึ้น


จากการที่ระดับคาร์บอนไออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง


ดังนั้นระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ที่ละลายในน้ำทะเลจึงเพิ่มสูงขึ้นด้วย ทำให้ระดับของกรดคาร์บอนิคในน้ำเพิ่มขึ้นด้วย Maoz Fine นักสัตววิทยาทางทะเลจาก Bar-Ilan University ในอิสราเอล กล่าวว่า นี่จะเป็นปัญหาหลักของปะการัง ความเป็นกรดของน้ำเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปะการังเป็นปะการังเปลือย





นักวิจัยคาดการณ์ว่า


ระดับ pH ของพื้นผิวมหาสมุทรจะลดลงจาก 8.2 ไปเป็น 7.8 ภายในสิ้นศตวรรษนี้ ซึ่งเป็นกรดมากที่สุดเท่าทีเคยเป็นมาในช่วง 20 ล้านปีที่ผ่านมาก (ref.1)


Fine ได้ศึกษาถึง


ผลของความเป็นกรดของมหาสมุทรต่อปะการังเมดิเตอร์เรเนียน 2 ชนิด ได้แก่ ปะการังสปรีชีร์ Oculina patagonica และ Madracis pharencis เขาได้ทำการใส่ตัวอย่างในห้องทดลองในสภาวะที่เป็นกรดเพิ่มขึ้น ภายใน 2-3 สัปดาห์โครงสร้างแคลเซียมคาร์บอเนตของมันเริ่มถูกทำลาย และตัวก็จะเหลือแต่ตัวของมัน เขารายงานไว้ในวารสาร Science (ref.2)


เป็นที่น่าแปลกใจว่า


ตัวของมันจะเจริญเติบโตได้ดีภายใต้สภาวะเช่นนี้ มันโตขึ้นถึง 3 เท่าของขนาดเดิม ไม่มีใครคาดคิดว่าปะการังจะสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในสภาวะที่ pH ต่ำเช่นนี้ Fine กล่าว


มันเหมือนกับว่าโคโลนีของปะการังพวกนี้ได้เปลี่ยนแปลงไป


จากการที่เป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่แบบพึ่งพาอาศัยกัน กลายเป็นแบบที่มีชีวิตอยู่ได้ด้วยตัวเองอย่างสมบูรณ์ ภายใต้สภาวะปกติตัวของปะการังจะเชื่อมต่อกันด้วยเนื้อเยื่อที่เรียกว่า coenosarcs ซึ่งสามารถทำให้พวกมันแบ่งปันสารอาหารกันได้และแพร่กระจายพลังงานที่ต้องการไปทั่วทั้งโคโลนี Fine อธิบายว่าสมาชิกทุกตัวจะมีความเท่าเทียมกันและแบ่งปันทุกสิ่งทุกอย่างร่วมกัน ถ้าตัวหนึ่งได้แพลงตอนค์ มันจะมีการแบ่งกันไปทั่วทั้งโคโลนี แต่ในสภาวะที่เป็นกรดมากๆ ตัวปะการังแต่ละตัวจะดึงเอาส่วนของ coenosarc ออก และดำเนินการปกป้องตัวของมันเอง





ในครั้งแรกของการวิจัย


นักวิจัยได้เห็นการตอบสนองชนิดนี้ Fine กล่าวว่า กรดเหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอนุมูลอิสระ ซึ่งนักวิจัยไม่สามารถที่จะชี้เฉพาะลงไปได้ เมื่อระดับ pH กลับไปเป็นปกติ ตัวปะการังจะรีบกลับไปหาโคโลนีและกลับสู่สภาพเดิม สร้างโครงสร้างขึ้นมาใหม่อีกครั้ง และหดกลับสู่ขนาดเดิม กลายเป็นโคโลนีอีกครั้ง


การสำรวจของ Fine ยังคลอบคลุมไปถึงร่องรอยฟอสซิลของปะการัง


การสร้างโครงสร้างแข็งของปะการังดูเหมือนว่าปรากฏเห็นอย่างทันทีเป็นจำนวนมากระหว่างยุค Triassic (เมื่อประมาณ 237 ล้านปีมาแล้ว เป็นยุคที่มีภูเขาไฟระเบิดมาก) ซึ่งในยุคก่อนหน้านี้ไม่เคยปรากฏซากฟอสซิลมาก่อนเลยในช่วงระหว่างที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศสูง (ref.3) Daphne Fautin นักสัตววิทยาทางทะเลจาก University of Kansas กล่าวว่า โครงสร้างแคลเซียมคาร์บอเนตของปะการังที่เป็นตัวบ่งบอกถึงลักษณะของปะการังหินจริงๆ แล้วอาจเป็นลักษณะเพียงชั่วคราวที่เคลือบเอาไว้และจะค่อยๆ หายไปตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป





Fautin เตือนว่า


การเปลี่ยนแปลงที่เกิดควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะเป็นอัตราซึ่งสะสมระดับของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ อาจไม่สามารถจะทนเก็บมันไว้ การทำงานนี้ยังคงมีความหวัง Allen Collins นักสัตววิทยาของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จาก US National Oceanic & Atmospheric Administration ในกรุงวอชิงตันดีซี กล่าวว่า มันง่ายที่จะคิดว่าปะการังจะไม่ตายทันทีทันใดแม้ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของน้ำทะเล แต่ยังมีปะการังชนิดอื่นอีกเป็นร้อยๆ สปีชีร์ และก็ยังไม่มีใครรู้ว่าความเป็นกรดของน้ำทะเลจะมีผลอย่างไรกับมัน




Fine ชี้ว่า


การค้นพบของเขาไม่เป็นผลดีต่อแนวปะการังในอนาคต รวมทั้งปลาที่อาศัยพวกมันในการหาอาหารและปกป้องตัวเอง เราต้องจำไว้ว่าแม้ว่าตัวปะการังจะยังมีชีวิตอยู่ได้ แต่แนวปะการังอยู่ไม่ได้






ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มีประโยชน์จาก เว็บไซต์ วิชาการ ดอทคอม

เพื่อร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้บนโลกอินเตอร์เน็ต

ผู้มีบทความทางด้านวิทยาศาสตร์น่ารู้

สามารถส่งผลงานของท่านมาได้ที่ arunee@teeneemedia.com



 

From: //variety.teenee.com/science/2407.html


Create Date : 29 มิถุนายน 2553
Last Update : 29 มิถุนายน 2553 22:34:14 น. 0 comments
Counter : 307 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

lifewater
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add lifewater's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.