DARK OUT OF BLUE: ชีวิต...ร้ายสาระ ...KAAZANOVA ===>>> Dark Out Of Blue…
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2549
 
1 กุมภาพันธ์ 2549
 
All Blogs
 

ร้ายสาระ...1 กุมภาพันธ์

ค.ศ. 1928 พัฒนาการทางด้านโภชนาศาสตร์ได้ก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง เมื่อ ดร.อีแวน (Herbest Evans) แห่งสหรัฐอเมริกา ได้ค้นพบวิตามินชนิดใหม่อีกชนิดหนึ่ง วงการโภชนาการได้ให้ชื่อของวิตามินตัวนี้ว่า วิตามินเอฟ (F)




 

Create Date : 01 กุมภาพันธ์ 2549
11 comments
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2549 10:02:20 น.
Counter : 363 Pageviews.

 

สวัสดีตอนสายครับ
วิตามินเอฟ ไว้ทำอะไรหว่า...เดี๋ยวไปหาข้อมูลก่อน ชะแว้บบบ ;)

 

โดย: BAYROCKU 1 กุมภาพันธ์ 2549 10:29:45 น.  

 

+++เนื้อหาโดยย่อ+++
วิตามินเอฟ หรือที่รู้จักกันในชื่อ กรดไลโนเลอิค จัดเป็นวิตามินประเภทที่ละลายในไขมัน มีประโยชน์ช่วยให้ร่างกายเผาพลาญไขมันอิ่มตัวได้ดีเมื่อเกินร่างกายมีปริมาณไขมันชนิดนั้นจำนวนมาก ช่วยให้เซลล์ได้รับสารอาหารโดยเป็นตัวป้อนสารอาหารให้เซลล์ รักษาสมดุลของระบบการแข็งตัวของเลือด เป็นต้น วิตามินเอฟร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้ต้องได้จากสารอาหารเท่านั้น แหล่งที่พบวิตามินเอฟ ได้แก่ น้ำมันพืช น้ำมันข้าวโพด น้ำมันเมล็ดทานตะวัน เป็นต้น โดยเฉพาะน้ำมันตับปลาคอดจะมีปริมาณวิตามินเอฟมากที่สุด

+++เนื้อหา+++
ข้อมูลทั่วไป
กรดไลโนเลอิคนี้บางทีเรียกว่า Unsaturated Fatty Acid (UFA) ประกอบขึ้นด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัว จัดอยู่ในพวกวิตามินประเภทที่ละลายในไขมัน แบบวิตามิน เอ ดี อี และ เค วิตามินชนิดนี้ร่างกายจะผลิตขึ้นเองไม่ได้ ร่างกายจะได้จากอาหารเท่านั้น แล้วจะถูกดูดซึมผ่านผนังของลำไส้ การดูดซึมนี้จะมีมากขึ้นถ้ามีการเคลื่อนไหวของกระเพาะลำไส้มากขึ้นและเมื่อขาดน้ำดีที่จะมาย่อยไขมัน
วิตามินชนิดนี้จะถูกทำลายโดยไขมันอิ่มตัว (Satirated Fattu Acids) ในปริมาณสูง และจะถูกทำลายได้ง่ายมาก เมื่อถูกลม หรือตากลม และอาจจะเสียไปเลย

ประโยชน์ต่อร่างกาย
เป็นตัวช่วยในการดูแลป้อนอาหารให้กับเซลล์ต่าง ๆ ให้เพียงพอโดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์ของผิวหนังเนื้อเยื่อ และเซลล์ของระบบประสาท
ช่วยเผาไขมันอิ่มตัวเมื่อรับประทานมาก ( คือ ไขมันอิ่มตัว 2 ส่วนต่อไขมันอิ่มตัว 1ส่วน)
สังเคราะห์กรดไขมันอีก 2 ชนิด คือ
1. กรดไลโนเลนิค (Linolenic Acid)
2. กรดอะราชิโดนิค (Arachidonic Acid)

ป้องกันผลร้ายจากแสงเอ็กซเรย์ (X-Ray)
ช่วยในการลดน้ำหนักโดยการเผาไขมันอิ่มตัว
ทำหน้าที่เป็นตัวช่วยอวัยวะเกี่ยวกับการหายใจและให้ความสะดวกในการนำออกซิเจนเข้ากระแสโลหิตไปที่เซลล์ต่าง ๆ ให้ทั่วถึงอย่างเต็มที่
รักษาความสมดุลของระดับการแข็งตัวของเลือดและเป็นตัวประสานกับ Vital function การทำงานของอวัยวะยังชีพในการละลายคอเลสเตอรอลไม่ให้เกาะผนังหลอดเลือด ซึ่งยังผลในการต่อต้านโรคหัวใจด้วย
ส่งเสริมในการทำหน้าที่ของต่อมอะดรีนัล (Adrenal Glands) และต่อมไธรอยด์ (Thyroid Gland)
เป็นตัวประสานกับวิตามิน ดี ในการนำแคลเซียมไปสู่เซลล์ทุกเซลล์ทั่วร่างกาย
เป็นตัวช่วยในการรวบรวมฟอสฟอรัส และกระตุ้นการเปลี่ยนแคโรทีน (Carotene) เป็นวิตามินเอ
ช่วยให้ระบบสืบพันธุ์ทำหน้าที่เป็นปกติ

แหล่งที่พบ
อาหารที่อุดมด้วยกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว หรือวิตามินเอฟ (F) ได้แก่น้ำมันพืช น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันฝ้าย น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย ขนมงาอัด มันฮ่อ จมูกข้าวสาลี ถั่ววอลนัท ถั่วอัลมอนด์ ผลอะโวคาโด และน้ำมันตับ ปลาคอด ซึ่งจะมีเลซิตินมากและเป็นอาหารที่มีวิตามินเอฟมากที่สุด

ปริมาณที่แนะนำ
กาวิจัยแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา แนะนำว่าอย่างน้อยร่างกายควรจะได้รับ 1 เปอร์เซ็นต์ ของแคลอรี่ทั้งหมดในหนึ่งวัน

ผลของการขาด
ผมแห้ง แตกปลาย เล็บเปราะ
ปัญหารเกี่ยวกับหนังศีรษะขึ้รังแค และอาการของภูมิแพ้ ผิวหนังเป็นผื่นแดง แห้ง คัน มักจะเป็นกลายชนิดหนึ่งเรียกว่า Eczema
ท้องเดิน เล้นเลือดคั่ง ผอม
ผอม และเกิดเป็นนิ่วในถุงน้ำดี เนื่องจากขาดวิตามิน เอฟ

ข้อมูลอื่นๆ
สารหรืออาหารเสริมฤทธิ์
วิตามิน ดี ประสานกับวิตามิน เอฟ ทำให้มีแคลเซียมอยู่ในเนื้อหนังอย่างเพียงพอและอื่น ๆ ดังกล่าวแล้วข้างต้น
วิตามิน อี ช่วยในการดูดซึมวิตามิน เอฟ (Unsaturated Fatty Acid) ให้มีประสิทธิภาพ ถ้าจะให้วิตามิน เอฟ ทำหน้าที่อย่างเต็มหน่วย ควรรับประทานวิตามิน เอฟ ขณะรับประทานอาหารทุกมื้ออาหารจำพวกน้ำมัน และไขมัน ถ้ารับปริมาณมากหมายถึงวิตามิน อี ก็มากไปด้วยและได้วิตามิน เอฟ แต่ถ้ารับประทานพวกไขมันอิ่มตัว (Saturated Fatty Acid) มากจะทำให้ร่างกายมีวิตามิน เอฟ (Unsaturated Fatty Acid) น้อย ถึงแม้ว่าจะรับประทานที่มีวิตามิน เอฟ รวมอยู่ด้วยในจำนวนที่สูงก็ตาม วิตามิน เอฟ รวมอยู่ด้วยในจำนวนที่สูงก็ตาม วิตามิน เอฟ ก็จะถูกทำลายโดยไขมันอิ่มตัวในปริมาณมากเช่นเดียวกัน
อาหารพวกที่มีไขมันอิ่มตัว ถ้ารับประทานมาก ๆ จะทำให้วิตามิน เอฟ ต่ำ เช่นอาหารพวกแป้ง หรือคาร์โบไฮเดรต เนย ครีม และอาหารอี่น ๆ ที่มีไขมันอิ่มตัว
วิตามิน เอ ซี อี สังกะสี และซีลีเนียม วิตามินและเกลือแร่พวกนี้ป้องกันพิษที่อาจจะเกิดจากออกซิเจนรวมตัวกับวิตามิน เอฟ หรือ Unsaturated Fatty Acid ในร่างกาย
สารหรืออาหารต้านฤทธิ์
สารอาหารชนิดไขมันอิ่มตัว ถ้ามีมากทำให้การเผาผลาญถูกกระทบกระเทือนและน้ำหนักขึ้นอย่างผิดปกติ คือจะต้านฤทธิ์หรือทำลายวิตามิน เอฟ ได้
ผู้ป่วยที่ถูกทำการรักษาโดยฉายรังสีหรือใช้การ X - Ray เพื่อการวิฉัยโรคและอื่น ๆ วิตามิน เอฟหรือกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวจะถูกทำลายไปด้วย

---------------------ขอขอบคุณ------------------------
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
---------------------------------------------------------

 

โดย: kaazanova 1 กุมภาพันธ์ 2549 11:45:38 น.  

 

เนื้อหาละเอียดยิ้บเชียว ...

 

โดย: SEELE 1 กุมภาพันธ์ 2549 22:52:20 น.  

 

ไม่เคยได้ยิน วิตามิน ชนิดนี้มาก่อนเลยครับ ขอบคุณครับ

 

โดย: ตงเหลงฉ่า 1 กุมภาพันธ์ 2549 23:02:32 น.  

 

แล้วเกรด F ล่ะครับ

 

โดย: noom_no1 IP: 61.91.179.78 2 กุมภาพันธ์ 2549 1:20:36 น.  

 

โอ...สาระเพียบครับ

 

โดย: นายเบียร์ 2 กุมภาพันธ์ 2549 2:05:39 น.  

 

โห ขอบคุณมากๆ ครับ ;)

 

โดย: BAYROCKU 2 กุมภาพันธ์ 2549 12:44:24 น.  

 

สาระมากๆ
เพิ่งจะรู้ว่ามีวิตามินนี้ด้วย

 

โดย: zmen 2 กุมภาพันธ์ 2549 13:03:01 น.  

 

โห เนื้อหาแน่นปึ้ก ว่าแต่ชื่อน่ากลัวจังครับ Fเนี่ย

ท่าทางนักเรียนนักศึกษาจะไม่อยากได้วิตามินนี้เท่าไหร่

 

โดย: Carlziess Lens 2 กุมภาพันธ์ 2549 15:32:04 น.  

 

^
^
^
ขอบคุณคร้าบ

 

โดย: kaazanova 3 กุมภาพันธ์ 2549 11:48:43 น.  

 

 

โดย: ฟ.ฟัน IP: 61.90.196.146 28 กรกฎาคม 2549 7:06:38 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


kaazanova
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




-บางครั้ง ความร้ายสาระ ก็ไม่ได้เลวร้ายไปเสียทีเดียว ยังมีอะไรดีๆ อีกมากมาย ในความร้ายสาระนั้น ขึ้นอยู่กับว่า คุณได้มองมันด้วยใจที่เปิดกว้างแล้ว...หรือยัง?-
KAAZANOVA: บล๊อกของคนร้ายสาระ ===> DARK OUT OF BLUE: ชีวิต...ร้ายสาระ
Friends' blogs
[Add kaazanova's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.