Group Blog
ตุลาคม 2558

 
 
 
 
1
2
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
All Blog
ฮือฮา! พบ “ตั๊กแตนแม่โจ้แพร่” สกุลใหม่ของโลก สายพันธุ์พิทักษ์สิ่งแวดล้อม
 
แพร่ - นักวิจัยค้นพบตั๊กแกนพันธุ์ใหม่ของโลก กลางป่า “มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ” ผู้เชี่ยวชาญด้านตั๊กแตนโลก การันตีแล้ว พร้อมตั้งชื่อ “ตั๊กแตนแม่โจ้แพร่- Anasedulio majophrae” ชี้เป็นบทพิสูจน์การหยุดเผาป่ามานาน 20 ปี จนเกิดความหลากหลายทางชีวภาพขึ้นได้ชัดเจน
       
       วันนี้(3 ต.ค.)ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ได้มีการค้นพบแมลงชนิดใหม่ เป็นแมลงเฉพาะถิ่นที่ยังไม่เคยพบมาก่อนในส่วนใดของโลก และเป็นตัวช่วยย่อยสลายเศษพืชในป่า ทำให้สิ่งแวดล้อมในป่าเต็งรังดีขึ้น ล่าสุดคณะกรรมการสถาบันลูกโลกสีเขียว นำโดยนายอนันต์ ดวงแก้วเรือน ประธานคณะกรรมการภาคเหนือ ได้เข้าเยี่ยมชมผลงานการค้นพบแมลง สกุลใหม่ของโลก ซึ่งเกิดจากผลของการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าหยุดการเผาป่านานถึง 20 ปี
       
       ดร.แหลมไทย อาษานอก อาจารย์ประจำสาขาวิชาเกษตรป่าไม้ เปิดเผยว่า การค้นพบตั๊กแตนชนิดใหม่ของโลกนี้ เนื่องทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ได้ร่วมมือกับองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ( อพวช.) ดำเนินโครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าธรรมชาติของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ โดยมี ดร.วียะวัฒน์ ใจตรง และนายภัทรวิชญ์ ดาวเรือง เข้าร่วมทำการสำรวจ ในพื้นที่วิจัยเป็นป่าเต็งรังในเนื้อที่ 800 ไร่ ใน ต.แม่ทราย อ.ร้องกวาง จ.แพร่
       
       หลังจากค้นพบตั๊กแตนดังกล่าวซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างจากตั๊กแตนทั่วไป คือ เป็นตั๊กแตนหนวดสั้น เผ่า Gereniini ลักษณะเฉพาะตัวอีกคือ มีปิกเป็นรูปทรงคล้ายเกล็ดปลา คือ เล็กสั้นปลายแหลม หรือมน ขอบของปีกแต่ละข้างไม่สัมผัสกัน เป็นตั๊กแตนขนาดกลาง สีพื้นฐานเป็นสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาล มีแถบสีขาวพาดจากหลังตาถึงข้างอกอย่างชัดเจน มีจุดสีดำมันวาว 1-2 จุดบนปีกใกล้ฐานปีกคู่บน ขาคู่ หลังมีลายสีดำพาดสามแถบ ในตัวผู้แผ่น sub genital ยาวและแยกออกเป็น 2 อันชัดเจน ในตัวเมียมีอวัยวะวางไข่ที่สั้น
       
       จากนั้นได้นำมาตรวจสอบโดยละเอียด โดยมี Prof.S.Yu.Storozhenko แห่ง Institute of Biology and Soil Science,Russia สถาบันผู้เชี่ยวชาญด้านตั๊กแตนของโลก ซึ่งได้ทำการพิสูจน์ชนิดเรียบร้อยแล้ว จึงพบว่า ตั๊กแตนชนิดนี้เป็นแมลงชนิดใหม่ของโลก (New genus ) ซึ่งเป็นโอกาสยากมากที่จะค้นพบสิ่งมีชีวิตสกุลใหม่ของโลกในปัจจุบัน
       
       จึงมีการตั้งชื่อให้ ตั๊กแตนชนิดนี้ว่า “Anasedulia” เนื่องจากแผ่น sub genital ที่ปลายท้องของตัวผู้ยื่นยาว และแยกเป็น 2 อัน และให้คำระบุชนิดเป็น maejophrae เพื่อเป็นเกียรติแก่สถานที่ที่ค้นพบ รวมเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anasedulio majophrae หรือ “ตั๊กแตนแม่โจ้แพร่”
       
       ดร.แหลมไทย กล่าวด้วยว่า การค้นพบครั้งนี้นับเป็นความสำคัญต่อการศึกษา และชื่อเสียงต่อประเทศไทยอย่างมาก และได้มีการเขียนบทความทางวิชาการตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ชื่อ “Far Eastern Entomologist” ฉบับเดือนกันยายน 2015 ที่ผ่านมา เพื่อเป็นการยืนยันการค้นพบตั๊กแตนสกุลใหม่ของโลก ทั้งยังถือเป็นก้าวแรกของการศึกษาทางอนุกรมวิธานของตั๊กแตนในประเทศไทยอย่างจริงจังด้วย
       
       ดร.แหลมไทย ย้ำว่า ตั๊กแตนสกุลใหม่ของโลกนี้ ยังพบอยู่เพียงในป่าเต็งรังภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติเท่านั้น และยังพบว่า เป็นสกุลเฉพาะถิ่นของประเทศไทยอีกด้วย
       
       การค้นพบครั้งนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่า พื้นที่ป่ารอบๆ แม่โจ้-แพร่เฉลิมพระเกียรติ เป็นป่ารอบๆ มหาวิทยาลัยที่หยุดการเผาป่ามาราว 20 ปี ตามอายุมหาวิทยาลัย การอนุรักษ์ป่าให้คงอยู่ย่อมสามารถอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพไว้ได้ แม้ในมหาวิทยาลัยฯ มีผืนป่าเพียงเล็กน้อย ยังมีการพัฒนาสายพันธุ์แมลงตามธรรมชาติจนเกิดสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมา ดังนั้นถ้าช่วยกันรักษาผืนป่าขนาดใหญ่ให้มากที่สุด ย่อมจะมีการพัฒนาความหลากหลายของสรรพชีวิตได้อย่างมากมาย
       
       “แต่ข้อควรระวังสำหรับตั๊กแตนชนิดนี้อาจต้องสูญพันธุ์ถ้ามีการเผาป่า เนื่องจากตั๊กแตนชนิดใหม่นี้ไม่สามารถบินได้ อาจหนีไฟไม่ได้ถ้ามีการลุกไหม้ที่รุนแรง” ดร.แหลมไทยกล่าว
       
       นายสุมัย หมายมั่น อดีตผู้อำนวยการป่าชุมชน กรมป่าไม้ เปิดเผยว่า แมลงชนิดดังกล่าวเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่วิวัฒนาการขึ้นจากการปรับตัวของป่า ในบริเวณป่า ต.แม่ทราย อ.ร้องกวาง จ.แพร่ เป็นป่าเต็งรัง แต่ถูกแผ้วถางนำไม้ไปใช้ หรือใช้ทรัพยากรอย่างไม่ระมัดระวัง จนสภาพป่าเสื่อมโทรม เหลือเพียงต้นตองตึงขนาดเล็ก แต่เมื่อแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ เข้ามาตั้งที่บริเวณดังกล่าวได้มีการอนุรักษ์ป่าฟื้นฟูขึ้นเป็นลำดับ จนสภาพป่ากลายเป็นที่ศึกษาของนักศึกษาวิชาเกษตรป่าไม้ ได้เป็นอย่างดี ทำให้ป่าบริเวณนี้กว่า800 ไร่ไม่มีผู้บุกรุก มีการฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องจนมีต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นอยู่โดยทั่วไป เป็นป่าที่สำคัญทางการศึกษามาก
       
       จากการศึกษาของคณะวิจัย ฯ ได้พบแมลงดังกล่าวก็น่าสนใจมาก ซึ่งพบว่า “ตั๊กแตนแม่โจ้แพร่” เป็นตั๊กแตนขนาดกลาง หากินเศษวัสดุย่อยสลายจากพืชในป่าไม่กินใบไม้สด ก็นับว่า เป็นตั๊กแตนที่น่าจะมีประโยชน์ต่อการพัฒนาเกษตรในระบบนิเวศน์ได้ในอนาคต
       
       นายคณิต มนูธรรมเจริญ คณะกรรมการสถาบันลูกโลกสีเขียว กล่าวว่า สภาพของป่าเต็งรังที่สมบูรณ์ ไม่ถูกไฟไหม้เลย เศษวัสดุในป่าจะถูกย่อยจนอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่เป็นเชื้อไฟมหาศาลอย่างที่เชื่อกัน ตั๊กแตนแม่โจ้แพร่ น่าจะเป็นตัวชี้วัดหนึ่งที่เกิดขึ้นในป่าเต็งรัง สัตว์เดิมที่เห็นก็คือ ปลวก แมลงชนิดอื่นๆ ที่ย่อยเศษพืชแห้งได้อย่างรวดเร็วทำให้ป่ามีความสมดุล
       
       ทั้งนี้ป่าเต็งรังยังมีอีกหลายเรื่องที่ต้องศึกษาเพราะหลายอย่างเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตมากโดยเฉพาะมนุษย์เรา ดังนั้น “ตั๊กแตนแม่โจ้แพร่” จึงน่าสนใจในแง่ของการเกิดวิวัฒนาการใหม่ในป่าที่ดูแลดี ไฟไม่เข้า เรื่องนี้ควรต้องขยายผลให้มากจะเป็นประโยชน์ต่องานด้านวิชาการในการฟื้นฟูป่าเต็งรังของภาคเหนือ
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากค้นพบแมลงชนิดดังกล่าวแล้ว ทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ได้รายงานให้ อธิการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ทราบ โดยจะมีการแถลงข่าวการพบตั๊กแตนพันธุ์ใหม่ของโลก อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 9 ตุลาคมนี้

ฮือฮา! พบ “ตั๊กแตนแม่โจ้แพร่” สกุลใหม่ของโลก สายพันธุ์พิทักษ์สิ่งแวดล้อม
       

ฮือฮา! พบ “ตั๊กแตนแม่โจ้แพร่” สกุลใหม่ของโลก สายพันธุ์พิทักษ์สิ่งแวดล้อม
ที่มา ASTV ผู้จัดการ



Create Date : 03 ตุลาคม 2558
Last Update : 3 ตุลาคม 2558 11:45:54 น.
Counter : 1322 Pageviews.

0 comments

Mimi-jaiko
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 28 คน [?]