25.8 พระสูตรหลักถัดไป คืออนุปทสูตร [พระสูตรที่ 11]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
25.7 พระสูตรหลักถัดไป คืออนุปทสูตร [พระสูตรที่ 11]

ความคิดเห็นที่ 3-85
GravityOfLove, 9 มกราคม เวลา 14:39 น.

             คำถามอานาปานสติสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=282

             ในอรรถกถา กรุณาอธิบายเรื่องที่พระองค์ทรงปวารณาค่ะ
ตั้งแต่ "จึงทรงพระดำริว่า เมื่อเราไม่ปวารณาในวันนี้ ภิกษุทั้งหลายออกพรรษาแล้ว
จักเที่ยวไปในกรุงสาวัตถีนี้ (ต่างรูปต่างไป) ..."
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-86
ฐานาฐานะ, 9 มกราคม เวลา 15:53 น.

              สันนิษฐานว่า
              นัยว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
              เราจักรออยู่ในเมืองสาวัตถีนี้แล จนถึงวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน
เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท ๑-
@๑. คือวันเพ็ญเดือนสิบสอง.

              กล่าวคือ เมื่อไม่ทรงตรัสว่า เราจักรออยู่ในเมืองสาวัตถีนี้จนถึงคือวันเพ็ญเดือนสิบสอง.
พระภิกษุในอาวาสอื่นๆ ในเมืองสาวัตถีหรือในเมืองใกล้เคียง ก็จะปวารณาแล้วต่างรูปต่างไป
ดังนั้น เมื่อทรงตรัสอย่างนี้ พระภิกษุที่ร่ำเรียนอยู่ หรือกระทำความเพียรอยู่ ก็ไม่ต้องจาริกไปในที่ใดๆ
ทั้งไม่ลำบากด้วยอาวาสเป็นต้น ทำให้การเล่าเรียน การบำเพ็ญสมณธรรมก็ต่อเนื่องออกไป.
              คำว่า เมื่อเราไม่ปวารณาในวันนี้ น่าจะหมายถึงว่า
              เมื่อเราไม่บอกกล่าวว่า เราจะอยู่ในเมืองสาวัตถี ไม่จาริกไปไหน
              การปวารณาในประโยค น่าจะหมายถึง ตรัสบอกให้รู้ว่า จะทรงอยู่ที่นี้
ไม่ทรงจาริกไปไหน พระภิกษุทั้งหลายสามารถเข้าเฝ้าได้ตลอดกาลที่ทรงกำหนดไว้.

ความคิดเห็นที่ 3-87
GravityOfLove, 9 มกราคม เวลา 18:45 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-88
GravityOfLove, 9 มกราคม เวลา 18:52 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ อนุปทวรรค
             ๑๘. อานาปานสติสูตร ว่าด้วยวิธีเจริญอานาปานสติ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3924&Z=4181&bgc=whitesmoke&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขามิคารมารดา
ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี พร้อมด้วยพระสาวกผู้เถระมีชื่อเสียงหลายรูป เช่น
             ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสป ท่านพระมหากัจจายนะ
ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ท่านพระมหากปิณะ ท่านพระมหาจุนทะ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์
และพระสาวกผู้เถระมีชื่อเสียงอื่นๆ
             สมัยนั้น พระเถระทั้งหลายพากันโอวาทพร่ำสอนพวกภิกษุอยู่ ฝ่ายภิกษุนวกะเหล่านั้น
อันภิกษุผู้เถระโอวาทพร่ำสอนอยู่ ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อน
             พระผู้มีพระภาคซึ่งมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมในราตรีมีจันทร์เพ็ญ เป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ
และเป็นวันปวารณา ขณะนั้น ทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่ แล้วตรัสว่า
             เราปรารภในปฏิปทานี้ เรามีจิตยินดีในปฏิปทานี้ เพราะฉะนั้น พวกเธอจงปรารภ
ความเพียร เพื่อถึงคุณที่ตนยังไม่ถึง เพื่อบรรลุคุณที่ตนยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งคุณที่ตน
ยังไม่ทำให้แจ้ง โดยยิ่งกว่าประมาณเถิด (ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล) เราจักรออยู่ในเมือง
สาวัตถีนี้ จนถึงวันเพ็ญเดือน ๑๒
             พวกภิกษุชาวชนบททราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคจะรออยู่ในเมืองสาวัตถีจนถึง
วันเพ็ญเดือน ๑๒ จึงพากันหลั่งไหลมาเฝ้าพระผู้มีพระภาค
             ฝ่ายภิกษุผู้เถระเหล่านั้นก็พากันโอวาทพร่ำสอนภิกษุนวกะเพิ่มประมาณขึ้น
และภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระโอวาทพร่ำสอนอยู่ ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่าง
กว้างขวางยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อน
             สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคซึ่งมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมในวันเพ็ญเดือน ๑๒ และเป็น
วันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่ แล้วตรัสว่า
             บริษัทนี้ไม่คุยกัน บริษัทนี้เงียบเสียงคุย ดำรงอยู่ในสารธรรมอันบริสุทธิ์
ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่ควรแก่การคำนับ ควรแก่การต้อนรับ
ควรแก่ทักษิณาทาน ควรแก่การกระทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลกอย่างหาที่อื่น
ยิ่งกว่ามิได้
             ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่เขาถวายของน้อย มีผลมาก
และถวายของมาก มีผลมากยิ่งขึ้น
             ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัท อันชาวโลกยากที่จะได้พบเห็น
             ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทอันสมควรที่แม้คนผู้เอาเสบียง
คล้องบ่า เดินทางไปชมนับเป็นโยชน์ๆ
             ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ ... เป็นพระอนาคามี
... เป็นพระสกทาคามี ... เป็นพระโสดาบัน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยบุคคล_4

             ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญสติปัฏฐาน ๔ อยู่
             ... ในอันเจริญสัมมัปปธาน ๔ อยู่
             ... ในอันเจริญอิทธิบาท ๔ อยู่
             ... ในอันเจริญอินทรีย์ ๕ อยู่
             ... ในอันเจริญพละ ๕ อยู่
             ... ในอันเจริญโพชฌงค์ ๗ อยู่
             ... ในอันเจริญมรรคมีองค์ ๘ อยู่
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โพธิปักขิยธรรม_37

             ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญเมตตาอยู่
... ในอันเจริญกรุณาอยู่ ... ในอันเจริญมุทิตาอยู่ ... ในอันเจริญอุเบกขาอยู่
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=พรหมวิหาร_4

             ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญ
อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย) อยู่
             ... ในอันเจริญอนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร) อยู่
             ... ในอันเจริญอานาปานสติ (สติกำหนดลมหายใจเข้าออก) อยู่
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สัญญา_10

             อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
             ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔
ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗
ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและ
วิมุตติให้บริบูรณ์ได้

อานาปานสติ
             อานาปานสติที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
             คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า มีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
             ๑. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
             ๒. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น
             ๓. สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า
             ๔. สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก
ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
             ๕. สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า
             ๖. สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า
             ๗. สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า
             ๘. สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก
ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า
             ๙. สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า
             ๑๐. สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก
ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า
             ๑๑. สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก
ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
             ๑๒. สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก
ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า
             ๑๓. สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า
             ๑๔. สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด
หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า
             ๑๕. สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า
             ๑๖. สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส
หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อานาปานสติ

อานาปานสติและสติปัฏฐาน ๔
             ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญ
สติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้
             คือ
             ๑. เมื่อภิกษุหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้า
ยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว (๑)
             เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น
ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น (๒)
             สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า (๓)
             สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร
หายใจเข้า (๔)
             ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
             เรากล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่งในพวกกาย
เพราะฉะนั้น ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย ฯลฯ
             ๒. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า (๕)
             สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนด
รู้สุข หายใจเข้า (๖)
             สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้
กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า (๗)
             สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร
หายใจเข้า (๘)
             ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
             เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจออก ลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้
ว่าเป็นเวทนาชนิดหนึ่งในพวกเวทนา เพราะฉะนั้น ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ฯลฯ
             ๓. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า (๙)
             สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง
หายใจเข้า (๑๐)
             สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า (๑๑)
             สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า (๑๒)
             ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
             เราไม่กล่าวอานาปานสติแก่ภิกษุผู้เผลอสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่ เพราะฉะนั้น
ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
            ๔. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง
หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า (๑๓)
             สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า (๑๔)
             สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า (๑๕)
             สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า (๑๖)
             ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
             เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉยได้ดี
เพราะฉะนั้น ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ฯลฯ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สติปัฏฐาน_4

[มีต่อ]

ความคิดเห็นที่ 3-89
[ต่อ]
สติปัฏฐาน ๔ และโพชฌงค์ ๗
             ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร
จึงบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗  ให้บริบูรณ์ได้
             คือ
             ๑. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไป
ตั้งไว้แล้ว ไม่เผลอเรอ
             ๑.๑ สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ ในสมัยนั้น
สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
             สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ
เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้น
ได้ด้วยปัญญา
             ๑.๒ สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความ
พิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุ
ปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
             สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์
แก่ภิกษุ เธอเมื่อค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมด้วยปัญญาอยู่
ย่อมเป็นอันปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน
             ๑.๓ สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุ
ปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
             สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์
แก่ภิกษุ ปีติปราศจากอามิสย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว
             ๑.๔ สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว
ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่า
ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์
             สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ
ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้
             ๑.๕ สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้
ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
             สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์
แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิตตั้งมั่น
             ๑.๖ สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น
ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
             สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์
แก่ภิกษุ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้เป็นอย่างดี
             ๑.๗ สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้เป็นอย่างดี
ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่า
ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
             สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์
แก่ภิกษุ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โพชฌงค์_7

             ๒. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น
สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่เผลอเรอ...
             ๓. ๓. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น
สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่เผลอเรอ...
             ๔. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น
สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่เผลอเรอ
             ๔.๑ สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่เผลอเรอ
ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
             สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ
เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้น
ด้วยปัญญา
             ...
             ๔.๗ สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้เป็นอย่างดี
ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
             สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ

โพชฌงค์ ๗ และวิชชาและวิมุตติ
             ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญ
วิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ คือ
             ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก (ความสงัด)
อาศัยวิราคะ (ความคลายกำหนัด) อาศัยนิโรธ (ความดับ) อันน้อมไปเพื่อ
ความปลดปล่อย
             ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ...
ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญ
สมาธิสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ
อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิชชา_3
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิมุตติ_2

             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

[แก้ไขตาม #3-90]

ความคิดเห็นที่ 3-90
ฐานาฐานะ, 10 มกราคม เวลา 20:57 น.

GravityOfLove, 35 นาทีที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ อนุปทวรรค
             ๑๘. อานาปานสติสูตร ว่าด้วยวิธีเจริญอานาปานสติ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3924&Z=4181&bgc=whitesmoke&pagebreak=0
...
6:51 PM 1/9/2014

             ย่อความได้ดีครับ.
             ๓. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียรรู้สึกตัว มีสติ
             แก้ไขเป็น
             ๓. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ

ความคิดเห็นที่ 3-91
ฐานาฐานะ, 10 มกราคม เวลา 21:01 น.

              คำถามในอานาปานสติสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3924&Z=4181

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             2. เนื้อความในอรรถกถาว่า
<<<<
             ก็ธัมมานุปัสสนามี ๖ อย่าง ด้วยอำนาจนิวรณบรรพ (คือการแบ่งเป็นข้อมีข้อที่ว่าด้วยนิวรณ์) เป็นต้น
นิวรณบรรพเป็นข้อต้นของธัมมานุปัสสนานั้น นิวรณ์ ๒ อย่างนี้ (คืออภิชฌาและโทมนัส) เป็นข้อต้นของ
ธัมมานุปัสสนานั้น ดังนั้น เพื่อจะแสดงข้อต้นของธัมมานุปัสสนา จึงตรัสว่า อภิชฺฌาโทมนสฺสานํ ดังนี้.
>>>>
             คำถามว่า
             2.1 ธัมมานุปัสสนามี ๖ อย่าง ได้แก่อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 3-92
GravityOfLove, 10 มกราคม เวลา 22:37 น.

ขอบพระคุณค่ะ
             ตอบคำถามในอานาปานสติสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3924&Z=4181

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔
ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗
ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและ
วิมุตติให้บริบูรณ์ได้
             ๒. ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า เป็นกายชนิดหนึ่งในพวกกาย
(อานาปานสติข้อ ๑ - ๔ เป็นกายในสติปัฏฐาน ๔)
             การใส่ใจลมหายใจออก ลมหายใจเข้าเป็นอย่างดี เป็นเวทนาชนิดหนึ่ง
ในพวกเวทนา (อานาปานสติข้อ ๕ - ๘ เป็นเวทนาในสติปัฏฐาน ๔)
             ไม่ตรัสอานาปานสติแก่ภิกษุผู้เผลอสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่
(อานาปานสติข้อ ๙ - ๑๒ เป็นจิตในสติปัฏฐาน ๔)
             อานาปานสติข้อ ๑๓ - ๑๖ เป็นจิตในสติปัฏฐาน ๔
             ๓. โพธิปักขิยธรรม ๓๗ เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตระ
             ภิกษุเหล่าใดยังมรรคให้เกิดในขณะนั้น โพธิปักขิยธรรมเหล่านั้นย่อมเป็นโลกุตระ
สำหรับภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น
             เป็นโลกิยะสำหรับภิกษุทั้งหลายผู้เจริญวิปัสสนา
             ๔. สติกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นโลกิยะ
             อานาปานสติอันเป็นโลกิยะ ย่อมทำสติปัฏฐานอันเป็นโลกิยะให้บริบูรณ์
             โลกิยสติปัฏฐานทำโลกุตรโพชฌงค์ให้บริบูรณ์
             โลกุตรโพชฌงค์ทำวิชชา วิมุตติ ผลและนิพพานให้บริบูรณ์
             ๕. โลกิยสติปัฏฐานทำโลกิยโพชฌงค์ให้บริบูรณ์
             โลกิยโพชฌงค์ทำวิชชา วิมุตติ ผล และนิพพานอันเป็นโลกุตระให้บริบูรณ์
----------------------
             2.1 ธัมมานุปัสสนามี ๖ อย่าง ได้แก่อะไรบ้าง?
             ๑. นิวรณ์ ๕
             ๒. อุปาทานขันธ์ ๕
             ๓. อายตนะภายใน ๖
             ๔. อายตนะภายนอก ๖
             ๕. โพชฌงค์ ๗
             ๖. อริยสัจ ๔
             มหาสติปัฏฐานสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=10&A=6257&Z=6764

ความคิดเห็นที่ 3-93
ฐานาฐานะ, 10 มกราคม เวลา 22:50 น.

GravityOfLove, 4 นาทีที่แล้ว
ขอบพระคุณค่ะ
             ตอบคำถามในอานาปานสติสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3924&Z=4181
...
10:36 PM 1/10/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             มีข้อติงดังนี้ :-
             อานาปานสติข้อ ๑๓ - ๑๖ เป็นจิตในสติปัฏฐาน ๔
น่าจะเป็น ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ความคิดเห็นที่ 3-94
GravityOfLove, 10 มกราคม เวลา 22:53 น.

ขอบพระคุณค่ะ ก๊อปเพลิน ลืมแก้ไขค่ะั

ความคิดเห็นที่ 3-95
ฐานาฐานะ, 10 มกราคม เวลา 23:00 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า อานาปานสติสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3924&Z=4181

              พระสูตรหลักถัดไป คือกายคตาสติสูตร [พระสูตรที่ 19].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
              กายคตาสติสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4182&Z=4496
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=292

              สังขารูปปัตติสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4497&Z=4713
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=318

ย้ายไปที
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 22 มกราคม 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 13:30:36 น.
Counter : 449 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มกราคม 2557

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog