28.5 พระสูตรหลักถัดไป คืออนาถปิณฑิโกวาทสูตร [พระสูตรที่ 43]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
28.4 พระสูตรหลักถัดไป คืออนาถปิณฑิโกวาทสูตร [พระสูตรที่ 43]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=05-05-2014&group=3&gblog=48
ความคิดเห็นที่ 51
ฐานาฐานะ, 27 มีนาคม เวลา 22:40 น.

GravityOfLove, 11 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามในจูฬราหุโลวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=10191&Z=10323
...
10:42 AM 3/27/2014

             ในข้อ 1.
             คำว่า ทรงแสดงให้เห็นความไม่เที่ยงของอายตนะภายใน ๖
             ควรกล่าวให้ครบ คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ควรเห็นว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ

             ข้อ 2 ตอบได้เลย (จำได้) หรือว่า ค้นก่อนมาตอบ?

ความคิดเห็นที่ 52
GravityOfLove, 27 มีนาคม เวลา 22:50 น.

ข้อ ๒ พอจะจำได้ค่ะ

ความคิดเห็นที่ 53
ฐานาฐานะ, 27 มีนาคม เวลา 22:57 น.

             รับทราบครับ.

ความคิดเห็นที่ 54
ฐานาฐานะ, 27 มีนาคม เวลา 22:59 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า จูฬราหุโลวาทสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=10191&Z=10323

              พระสูตรหลักถัดไป คือ ฉฉักกสูตร [พระสูตรที่ 48].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              ฉฉักกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=10324&Z=10554
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=810

ความคิดเห็นที่ 55
GravityOfLove, 27 มีนาคม เวลา 23:03 น.

             คำถามฉฉักกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=10324&Z=10554

             กรุณาอธิบายค่ะ
             พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชมเชยอริยวงศสูตรด้วย ๙ บท มหาสติปัฏฐานสูตรด้วย ๗ บท
มหาอัสสปุรสูตรด้วย ๗ บทเหมือนกันด้วยประการฉะนี้. สำหรับพระสูตรนี้ ทรงชมเชยด้วย ๙ บท.
             ในคำว่า ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป นี้นั้นไม่น่าอัศจรรย์เลยที่เมื่อพระตถาคตเจ้าทรงแสดงเอง
แท้ๆ ภิกษุ ๖๐ รูปได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 56
ฐานาฐานะ, 27 มีนาคม เวลา 23:47 น.

GravityOfLove, 20 นาทีที่แล้ว
              คำถามฉฉักกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=10324&Z=10554
              กรุณาอธิบายค่ะ
              พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชมเชยอริยวงศสูตรด้วย ๙ บท มหาสติปัฏฐานสูตรด้วย ๗ บท
มหาอัสสปุรสูตรด้วย ๗ บทเหมือนกันด้วยประการฉะนี้. สำหรับพระสูตรนี้ ทรงชมเชยด้วย ๙ บท.
              อธิบายว่า
              คำว่า ๙ บท น่าจะหมายถึง
                  1. อาทิกลฺยาณํ ไพเราะในเบื้องต้น
                  2. มชฺเฌกลฺยาณํ ไพเราะในท่ามกลาง
                  3. ปริโยสานกลฺยาณํ ไพเราะในที่สุด
                  4. สาตฺถํ พร้อมทั้งอรรถ
                  5. สพฺยญฺชนํ พร้อมทั้งพยัญชนะ
                  6 - 7. เกวลปริปุณฺณํ บริบูรณ์สิ้นเชิง
                  8. ปริสุทฺธํ อันบริสุทธิ์
                  9. พฺรหฺมจริยํ พรหมจรรย์

              [๘๑๐]   เอวมฺเม   สุตํ   เอกํ  สมยํ  ภควา  สาวตฺถิยํ  วิหรติ
เชตวเน   อนาถปิณฺฑิกสฺส   อาราเม   ฯ   ตตฺร   โข   ภควา  ภิกฺขู
อามนฺเตสิ   ภิกฺขโวติ  ฯ  ภทนฺเตติ  เต  ภิกฺขู  ภควโต  ปจฺจสฺโสสุ ํ   ฯ
ภควา    เอตทโวจ   ธมฺมํ   โว   ภิกฺขเว   เทสิสฺสามิ   อาทิกลฺยาณํ
มชฺเฌกลฺยาณํ    ปริโยสานกลฺยาณํ    สาตฺถํ    สพฺยญฺชนํ   เกวลปริปุณฺณํ
ปริสุทฺธํ   พฺรหฺมจริยํ   ปกาสิสฺสามิ   ยทิทํ   ฉ   ฉกฺกานิ   ตํ   สุณาถ
สาธุกํ   มนสิกโรถ   ภาสิสฺสามีติ   ฯ   เอวมฺภนฺเตติ   โข  เต  ภิกฺขู
ภควโต ปจฺจสฺโสสุ ํ ฯ
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=14&item=810&Roman=0
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

              ในคำว่า ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป นี้นั้นไม่น่าอัศจรรย์เลยที่เมื่อพระตถาคตเจ้า
ทรงแสดงเองแท้ๆ ภิกษุ ๖๐ รูปได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
              อธิบายว่า สันนิษฐานว่า
              อาจมีบุคคลบางคนกล่าวว่า มีการบรรลุอรหันต์จากการทรงแสดงธรรม
ถึง 60 รูปเชียวหรือ
              ดังนั้น อรรถกถาจึงอธิบายโดยนัยว่า
              การบรรลุอรหันต์ 60 รูปไม่ใช่จำนวนมากอะไรเลย เพราะพระตถาคต
แสดงธรรมโดยพระองค์เอง จำนวนนี้ไม่มากเลย
              นัยว่า เพราะพระตถาคตมีพระคุณข้อสำคัญ คือ
              อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ
              เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งไปกว่า
              คือ ทรงเป็นผู้ฝึกคนได้ดีเยี่ยม ไม่มีผู้ใดเทียมเท่า

              คำว่า พุทธคุณ, ทศพลญาณ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=พุทธคุณ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ทศพลญาณ

ความคิดเห็นที่ 57
GravityOfLove, 28 มีนาคม เวลา 06:59 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 58
GravityOfLove, 28 มีนาคม เวลา 09:02 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สฬายตนวรรค
             ๖. ฉฉักกสูตร ว่าด้วยธรรม ๖ ประการ ๖ หมวด
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=10324&Z=10554&bgc=lavender&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
             เราจักแสดงธรรมแก่เธอทั้งหลาย อันไพเราะในเบื้องต้น ในท่ามกลาง
ในที่สุด พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
คือธรรมหมวดหก ๖ หมวด
             ๑. อายตนะภายใน ๖ คือ
             จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อายตนะภายใน_6

             ๒. อายตนะภายนอก ๖ คือ
             รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อายตนะภายนอก_6

             ๓. วิญญาณ ๖ คือ
             บุคคลอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักษุวิญญาณ
             อาศัยโสตะและเสียง จึงเกิดโสตวิญญาณ
             อาศัยฆานะและกลิ่น จึงเกิดฆานวิญญาณ
             อาศัยชิวหาและรส จึงเกิดชิวหาวิญญาณ
             อาศัยกายและโผฏฐัพพะ จึงเกิดกายวิญญาณ
             อาศัยมโนและธรรมารมณ์ จึงเกิดมโนวิญญาณ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิญญาณ_6

             ๔. ผัสสะ ๖ คือ
             บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
             อาศัยโสตะและเสียงเกิดโสตวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
             อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
             อาศัยชิวหาและรสเกิดชิวหาวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
             อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
             อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ผัสสะ_6

             ๕. เวทนา ๖  คือ
             บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของ
ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
             อาศัยโสตะและเสียงเกิดโสตวิญญาณ ...
             อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ ...
             อาศัยชิวหาและรสเกิดชิวหาวิญญาณ ...
             อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ ...
             อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ ความประจวบของ
ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=เวทนา_6

             ๖. ตัณหา ๖ คือ
             บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของ
ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
จึงมีตัณหา
             อาศัยโสตะและเสียงเกิดโสตวิญญาณ ...
             อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ ...
             อาศัยชิวหาและรสเกิดชิวหาวิญญาณ ...
             อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ ...
             อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ ความประจวบของ
ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
จึงมีตัณหา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ตัณหา_6

             ผู้ใดกล่าวว่า ธรรมเหล่านี้ (ข้อ ๑ ถึง ๖) เป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร
             ธรรมเหล่านี้ ย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม
             ก็สิ่งใด ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า
อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป
             เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอัตตานั้นจึงไม่ควร
             ด้วยประการฉะนี้ ธรรมเหล่านี้จึงเป็นอนัตตา
             ปฏิปทาอันให้ถึงความตั้งขึ้นแห่งสักกายะ คือบุคคลเล็งเห็นธรรมเหล่านี้ว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
             ปฏิปทาอันให้ถึงความดับสักกายะ คือบุคคลเล็งเห็นธรรมเหล่านี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
             บุคคลอาศัยอายตนะภายในและอายตนะภายนอกเกิดวิญญาณเนื่องด้วย
อายตนะนั้นๆ
             ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
             เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง
มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง
             - เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ
จึงมีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ (กิเลสอันนอนเนื่องอยู่ในสันดานคือความกำหนัด คือราคะ)
             - เขาอันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไห้ คร่ำครวญ
ทุ่มอก ถึงความหลงพร้อม จึงมีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ (กิเลสนอนเนื่องอยู่ในสันดาน
คือความขัดเคือง คือโทสะ)
             - เขาอันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป
คุณ โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงมีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่
(กิเลสนอนเนื่องอยู่ในสันดานคือความไม่รู้จริง คือโมหะ)
             หากบุคคลนั้นยังไม่ละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา ยังไม่บรรเทาปฏิฆานุสัย
เพราะทุกขเวทนา ยังไม่ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ยังไม่ทำวิชชาให้เกิด
เพราะไม่ละอวิชชาเสีย ก็จะไม่สามารถกระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้
             อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมเหล่านี้
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว
ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว และทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปปัญจธรรม_3
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อนัตตลักษณะ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=เวทนา_3

             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
             และเมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ ภิกษุประมาณ
๖๐ รูป ได้บรรลุพระอรหันต์

[แก้ไขตาม #59]

ความคิดเห็นที่ 59
ฐานาฐานะ, 28 มีนาคม เวลา 22:52 น.

GravityOfLove, 1 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สฬายตนวรรค
             ๖. ฉฉักกสูตร ว่าด้วยธรรม ๖ ประการ ๖ หมวด
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=10324&Z=10554&bgc=lavender&pagebreak=0
...
9:01 AM 3/28/2014

             ย่อความได้ดีครับ.
             ในข้อที่ 4 ตัดบรรทัดให้เหลือบรรทัดเดียวต่อ 1 ผัสสะ ก็ควรครับ.
             ๔. ผัสสะ ๖ คือ
             บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
             อาศัยโสตะและเสียงเกิดโสตวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
             อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
             อาศัยชิวหาและรสเกิดชิวหาวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
             อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
             อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ผัสสะ_6

ความคิดเห็นที่ 60
ฐานาฐานะ, 28 มีนาคม เวลา 22:54 น.

             คำถามในฉฉักกสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=10324&Z=10554

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             2. คำในอรรถกถาว่า
             ครั้นทรงแสดงวิวัฏฏะอย่างนี้แล้ว คราวนี้เพื่อจะทรงแสดงวัฏฏะด้วยอำนาจอนุสัยทั้งสามอย่างอีก
จึงตรัสคำเป็นต้นว่า จกฺขุญฺจ ภิกฺขเว.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=810

             เป็นการอธิบายเนื้อความในพระไตรปิฎกข้อใด?

ย้ายไปที่
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 05 พฤษภาคม 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 19:53:09 น.
Counter : 491 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



พฤษภาคม 2557

 
 
 
 
1
2
3
4
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
All Blog