28.4 พระสูตรหลักถัดไป คืออนาถปิณฑิโกวาทสูตร [พระสูตรที่ 43]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
28.3 พระสูตรหลักถัดไป คืออนาถปิณฑิโกวาทสูตร [พระสูตรที่ 43]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=05-05-2014&group=3&gblog=47

ความคิดเห็นที่ 42
ฐานาฐานะ, 25 มีนาคม เวลา 23:20 น.

GravityOfLove, 9 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สฬายตนวรรค
             ๔. นันทโกวาทสูตร ว่าด้วยการให้โอวาทของท่านพระนันทกะ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=9746&Z=10190&bgc=lavender&pagebreak=0
...
12:56 PM 3/25/2014

             ย่อความได้ดีครับ มีข้อติงเล็กน้อยดังนี้ :-
             (ท่านพระนันทกะมีพเพนิวาสญาณ ทราบว่าพวกภิกษุณีเหล่านี้
ในอดีตชาติเคยเป็นนางสนมของท่าน ภิกษุอื่นที่ได้บุพเพนิวาสญาณ
ถ้าเห็นท่านนั่งกลางภิกษุณีเหล่านี้ อาจตำหนิได้)
             แก้ไขเป็น
             (ท่านพระนันทกะมีบุพเพนิวาสญาณ ทราบว่าพวกภิกษุณีเหล่านี้
ในอดีตชาติเคยเป็นนางสนมของท่าน ท่านดำริว่า ภิกษุอื่นที่ได้บุพเพนิวาสญาณ
ถ้าเห็นท่านนั่งกลางภิกษุณีเหล่านี้ อาจตำหนิได้)

             (จักษุ เป็นต้น), (รูป เป็นต้น), (จักษุวิญญาณ เป็นต้น)
แก้ไขเป็น
             (จักษุเป็นต้น), (รูปเป็นต้น), (จักษุวิญญาณเป็นต้น)

             (ธรรมเทศนาของท่านพระนันทกะเป็นเสมือนพระจันทร์ ๑๔ ค่ำคือ ความดำริ
ของภิกษุณียังไม่บริบูรณ์ ยังไม่บรรลุมรรคผลตามที่ตนต้องการ)
             (ธรรมเทศนาของท่านพระนันทกะเป็นเสมือนพระจันทร์ ๑๕ ค่ำคือ ความดำริ
ของภิกษุณีบริบูรณ์แล้ว บรรลุมรรคผลดังที่ตนต้องการแล้ว)
             น่าจะเป็นว่า
             (ความชื่นชมของภิกษุณีเหล่านั้น ต่อธรรมเทศนาของท่านพระนันทกะ เป็นเสมือน
พระจันทร์ ๑๔ ค่ำคือ ความดำริของภิกษุณียังไม่บริบูรณ์ ยังไม่บรรลุมรรคผลตามที่ตนต้องการ)
             (ความชื่นชมของภิกษุณีเหล่านั้น ต่อธรรมเทศนาของท่านพระนันทกะ เป็นเสมือน
พระจันทร์ ๑๕ ค่ำคือ ความดำริของภิกษุณีบริบูรณ์แล้ว บรรลุมรรคผลดังที่ตนต้องการแล้ว)

ความคิดเห็นที่ 43
ฐานาฐานะ, 25 มีนาคม เวลา 23:23 น.

             คำถามในนันทโกวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=9746&Z=10190

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             2. นึกอย่างไรต่อเศรษฐีที่บอกบัดการขอหัตถกรรมเพื่อประโยชน์
แก่กุฏิอยู่จำพรรษาของพระปัจเจกพุทธเจ้า.

ความคิดเห็นที่ 44
GravityOfLove, 26 มีนาคม เวลา 00:02 น.

             ย่อความได้ดีครับ มีข้อติงเล็กน้อยดังนี้ ...
             ขอบพระคุณค่ะ
-----------------
             ตอบคำถามในนันทโกวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=9746&Z=10190

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ วิญญาณ ๖ ไม่เที่ยง
             สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
             สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ไม่ควรที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
             ๒. อุปมาเวทนาอาศัยอายตนะเกิด อุปมาปัญญาในการตัดกิเลส
             ๓. โพชฌงค์ที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นเหตุ ย่อมเข้าถึง
เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน
             ๔. บรรดาภิกษุณีทั้งหมดประมาณ ๕๐๐ รูป ที่ท่านพระนันทกะโอวาทนั้น
อย่างน้อยได้บรรลุพระโสดาบัน
             ๕. เรื่องในอดีตชาติของท่านพระนันทกะ ท่านพระมหาปชาบดีโคตมี
และภิกษุณี ๕๐๐ รูป
             ๖. ราชการาม หมายถึงวัดที่พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสร้างไว้ในสถานที่คล้ายถูปาราม
ที่ส่วนทิศใต้ของพระนคร
-----------------
             2. นึกอย่างไรต่อเศรษฐีที่บอกบัดการขอหัตถกรรมเพื่อประโยชน์
แก่กุฏิอยู่จำพรรษาของพระปัจเจกพุทธเจ้า.
             ไม่นึกอะไรค่ะ ธรรมดาก็เป็นคนแบบว่า ถ้าขอร้องอะไรใคร
ถ้าเขาไม่ให้ ก็เฉยๆ จะบอกตนเองมากกว่าว่า ไม่ให้ก็ไม่เอา
             สำหรับเศรษฐีที่บอกปฏิเสธ ก็เสียดายโอกาสที่เขาจะได้ทำกุศลกรรม
ในครั้งนี้

ความคิดเห็นที่ 45
ฐานาฐานะ, 26 มีนาคม เวลา 00:35 น.

GravityOfLove, 23 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในนันทโกวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=9746&Z=10190
...
12:01 AM 3/26/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             ข้อ 2 นั้น ผมนึกเสียดายแทนเขา
             เพราะหากเขาไม่ปฏิเสธ ยินดีต่อการให้หัตถกรรมนั้น
แม้ปรารถนาการสิ้นอาสวะ ก็อาจสำเร็จสมประสงค์ได้ แม้ไม่สำเร็จ
ก็เป็นปัจจัยให้เอื้อต่อการสำเร็จได้ เช่น ได้พบพระพุทธศาสนา.
             เมื่อนึกเสียดายแทนแล้ว ทำอย่างไรจึงเหมาะสม
             ปัจจุบันนี้ พระพุทธศาสนาก็ยังดำรงอยู่ พระภิกษุสงฆ์
ก็ยังดำรงอยู่ การถวายทาน เช่น การใส่บาตร การถวายสังฆทานเป็นต้น
ก็มีคติของบุญ เช่นเดียวกันหรือคล้ายกับการให้หัตถกรรมนั้น.

ความคิดเห็นที่ 46
ฐานาฐานะ, 26 มีนาคม เวลา 02:07 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า นันทโกวาทสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=9746&Z=10190

              พระสูตรหลักถัดไป คือ จูฬราหุโลวาทสูตร [พระสูตรที่ 47].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              จูฬราหุโลวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=10191&Z=10323
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=795

ความคิดเห็นที่ 47
GravityOfLove, 26 มีนาคม เวลา 13:09 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สฬายตนวรรค
             ๕. จูฬราหุโลวาทสูตร ว่าด้วยการประทานโอวาทแก่พระราหุล สูตรเล็ก
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=10191&Z=10323&bgc=lavender&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้เกิดพระปริวิตก (คำนึง) ทางพระหฤทัยว่า
             ราหุลมีธรรมที่บ่มวิมุตติแก่กล้าแล้ว ถ้ากระไร เราพึงแนะนำราหุล
ในธรรมที่สิ้นอาสวะยิ่งขึ้นเถิด
             [อรรถกถา] ธรรมที่บ่มวิมุตติ หมายถึงธรรม ๑๕ ประการ คือ
             - เว้นบุคคล ๕ จำพวก ได้แก่ ผู้ไม่มีศรัทธา ผู้เกียจคร้าน ผู้หลงลืมสติ
ผู้มีจิตไม่มั่นคง และผู้มีปัญญาทราม
             - คบบุคคล ๕ จำพวก ได้แก่ ผู้มีศรัทธา ผู้ขยัน ผู้มีสติมั่นคง
ผู้มีจิตตั้งมั่น และผู้มีปัญญา
             - พิจารณาธรรม ๕ ประการ คือ พระสูตรที่เป็นเหตุให้เกิดความเลื่อมใส
สัมมัปปธานสูตร (เพียรชอบ) สติปัฏฐานสูตร ฌานและวิโมกข์ และญาณจริยา
             อีกนัยหนึ่ง หมายถึงธรรม ๑๕ ประการ คือ
             - อินทรีย์ ๕ ประการ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
             - สัญญาอันเป็นส่วนแห่งธรรมเครื่องตรัสรู้ (นิพเพธภาคิยสัญญา) ๕ ประการ คือ
ความสำคัญว่าไม่เที่ยง ความสำคัญว่า เป็นทุกข์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง
ความสำคัญว่าไม่ใช่ตัวตนในสิ่งที่เป็นทุกข์ ความสำคัญในการละ ความสำคัญในวิราคะ
             - ธรรม ๕ ประการ คือ กัลยาณมิตตตา ศีล กถาวัตถุ ๑๐ ความเพียร
ปัญญา (อ้างอิงเมฆิยสูตร)
             คำว่า อินทรีย์ ๕
//84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=228
             คำว่า กถาวัตถุ ๑๐
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กถาวัตถุ_10
             เมฆิยสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=2469&Z=2563#88

             ต่อนั้น ได้ตรัสชวนท่านพระราหุลไปยังป่าอันธวัน เพื่อพักผ่อนกลางวัน
             เทวดาหลายพันตนได้ติดตามพระผู้มีพระภาคไปเพราะทราบว่า
วันนี้ พระผู้มีพระภาคจะทรงแนะนำท่านพระราหุลในธรรมที่สิ้นอาสวะยิ่งขึ้น
             ณ ป่าอันธวัน พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระราหุล
ท่านพระราหุลได้ทูลตอบ มีใจความดังนี้
             ๑. อายตนะภายใน ๖ (จักษุเป็นต้น) ไม่เที่ยง
             สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
             สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ไม่ควรที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อายตนะภายใน_6
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปปัญจธรรม_3

             ๒. อายตนะภายนอก ๖ (รูปเป็นต้น) ไม่เที่ยง
             สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
             สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ไม่ควรที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อายตนะภายนอก_6

             ๓. วิญญาณ ๖ (จักษุวิญญาณเป็นต้น) ไม่เที่ยง
             สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
             สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ไม่ควรที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิญญาณ_6

             ๔. ผัสสะ ๖ (จักษุสัมผัสเป็นต้น) ไม่เที่ยง
             สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
             สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ไม่ควรที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ผัสสะ_6

             ๕. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดเพราะผัสสะ ๖ เป็นปัจจัย ไม่เที่ยง
             สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
             สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ไม่ควรที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา

             อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในอายตนะภายใน ๖
แม้ในอายตนะภายนอก ๖ แม้ในวิญญาณ ๖ แม้ในผัสสะ ๖ แม้ในเวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะผัสสะนั้นๆ เป็นปัจจัย
             เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้น
แล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว และทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระราหุลจึงชื่นชม
ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
             เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสคำเป็นไวยากรณ์นี้อยู่ จิตของท่านพระราหุล
หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น (บรรลุพระอรหันต์)
             และเทวดาหลายพันตนนั้น ได้เกิดดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลี
หมดมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไป
เป็นธรรมดา (บ้างก็บรรลุพระโสดาบัน ... บ้างก็บรรลุพระอรหันต์)
             (ดวงตาเห็นธรรม ธรรมจักษุ ในที่นี้หมายถึงมรรค ๔ และผล ๔)

ความคิดเห็นที่ 48
ฐานาฐานะ, 27 มีนาคม เวลา 00:08 น.

GravityOfLove, 9 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สฬายตนวรรค
             ๕. จูฬราหุโลวาทสูตร ว่าด้วยการประทานโอวาทแก่พระราหุล สูตรเล็ก
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=10191&Z=10323&bgc=lavender&pagebreak=0
...
1:09 PM 3/26/2014

             ย่อความได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 49
ฐานาฐานะ, 27 มีนาคม เวลา 00:10 น.

             คำถามในจูฬราหุโลวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=10191&Z=10323

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             2. พอรู้มาก่อนหรือไม่ว่า พระสูตรนี้เกิดขึ้นเมื่อใด?

ความคิดเห็นที่ 50
GravityOfLove, 27 มีนาคม เวลา 10:43 น.

             ตอบคำถามในจูฬราหุโลวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=10191&Z=10323

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. พระผู้มีพระภาคทรงแนะนําท่านพระราหุล และมีเทวดาหลายพันองค์แวดล้อม
ในป่าอันธวัน ทรงแสดงให้เห็นความไม่เที่ยงของอายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖
วิญญาณ ๖ ผัสสะ ๖ และเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดเพราะผัสสะ ๖ เป็นปัจจัย
             จบพระธรรมเทศนา ท่านพระราหุลบรรลุอรหันต์
             เทวดาหลายพันองค์นั้น ได้ดวงตาเห็นธรรม (มรรค ๔ ผล ๔)
             ๒. ธรรมที่บ่มวิมุตติ หมายถึงธรรม ๑๕ ประการ
             ๓. ความปรารถนาของพญานาคปาลิต (อดีตชาติของท่านพระราหุล) กับเทวดา
---------------------
             2. พอรู้มาก่อนหรือไม่ว่า พระสูตรนี้เกิดขึ้นเมื่อใด?
             เมื่อท่านพระราหุลบรรพชาได้ครึ่งพรรษาค่ะ
             ท่านตรัสจุลลราหุโลวาทสูตรในเมื่อพระราหุลเป็นภิกษุได้ครึ่งพรรษา
             อรรถกถาจูฬราหุโลวาทสูตร ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=125

ย้ายไปที่
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 05 พฤษภาคม 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 19:51:57 น.
Counter : 453 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



พฤษภาคม 2557

 
 
 
 
1
2
3
4
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
All Blog