25.5 พระสูตรหลักถัดไป คืออนุปทสูตร [พระสูตรที่ 11]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
25.4 พระสูตรหลักถัดไป คืออนุปทสูตร [พระสูตรที่ 11]

ความคิดเห็นที่ 3-49
ฐานาฐานะ, 26 ธันวาคม 2556 เวลา 00:38 น.

GravityOfLove, 19 นาทีที่แล้ว
             คำถามพหุธาตุกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3432&Z=3646
             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. เปรียบเหมือนไฟลุกลามแล้วแต่เรือน ไม้อ้อ หรือเรือนหญ้า
ย่อมไหม้ได้กระทั่งเรือนยอดที่โบกปูน มีบานประตูสนิทปิดหน้าต่างไว้
             ไม่เข้าใจอุปมาค่ะ และเว้นวรรคถูกต้องหรือไม่คะ
อธิบายว่า น่าจะเป็นเรือนไม้อ้อ
             กล่าวคือ สันนิษฐานว่า เรือนที่อยู่ใกล้กัน เช่นว่า
             บ้านคนอื่นอยู่ใกล้ๆ แม้เป็นบ้านไม้ เมื่อไฟลุกลามแล้ว
ก็อาจติดมาถึงบ้านของเราที่เป็นบ้านปูนได้.

             ๒. ภัย อุปัทวะ อุปสรรค ย่อมเกิดจากคนพาล ไม่ใช่เกิดจากบัณฑิต ใช่ไหมคะ
             คนพาลมีภัยเฉพาะหน้า มีอุปัทวะ มีอุปสรรค บัณฑิตไม่มีภัยเฉพาะหน้า
ไม่มีอุปัทวะ ไม่มีอุปสรรค
             หมายความว่า คนพาลนอกจากจะเป็นคนก่อ ๓ อย่างนี้แล้ว
ก็มีแต่คนพาลอีกนั่นแหละ ที่มีหรือได้รับ ๓ อย่างนี้หรือคะ
อธิบายว่า
             ทดลองใช้คำว่า ชักชวนไปในทางผิด เป็นภัย อุปัทวะ อุปสรรคแทน
             คนพาลชักชวนไปในทางผิด คนพาลไปทางผิด ก็รับผลของทางผิด
             ดังนั้น คนพาลเป็นภัยต่อบุคคลอื่น และเขาจะได้รับผลของเขา.

             ๓. ในบรรดาธาตุ ๑๘ อย่าง การกำหนดธาตุ ๑๐ อย่างครึ่ง ชื่อว่ารูปปริคคหะ
(คือการกำหนดรูป) การกำหนดธาตุ ๗ อย่างครึ่ง เป็นอรูปปริคคหะ (คือการกำหนดอรูป)
ฉะนั้นจึงเป็นอันตรัสการกำหนดทั้งรูปและอรูปทีเดียว.
อธิบายว่า สันนิษฐานว่า ธาตุ 18 อย่างนี้
             ข้อ 3, 6, 9, 12, 15, 18 รวมเป็น 6 อย่างเป็นอรูป
             ข้อ 16 เป็นอรูป รวมเป็น 7 อย่าง
             ข้อ 17 อาจจะเป็นรูปก็ได้ อรูปก็ได้ แล้วแต่จะมีอะไรเป็นอารมณ์

             คำว่า ธาตุ 18
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ธาตุ_18

             ๔. ก็ถ้าใครๆ จะพึงกล่าวกะพระอริยสาวกผู้อยู่ในระหว่างภพ (ผู้ยังเวียนว่ายตายเกิด)
ทั้งที่ไม่รู้ว่าตนเป็นพระอริยสาวก แม้อย่างนี้ว่า ก็ท่านจงปลงชีวิตมดดำมดแดงนี้แล้ว
ครอบครองความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในห้องจักรวาลทั้งหมดดังนี้ ท่านจะไม่ปลงชีวิต
มดดำมดแดงนั้นเลย. แม้ถ้าจะกล่าวกะท่านอย่างนี้ว่า ถ้าท่านจักไม่ฆ่าสัตว์นี้ ฉันจักตัดศีรษะท่าน.
แต่ท่านจะไม่ฆ่าสัตว์นั้น. คำนี้ท่านพูดเพื่อแสดงว่า ภาวะของปุถุชนมีโทษมากและเพื่อ
แสดงกำลังของพระอริยสาวก.
อธิบายว่า เมื่อพระอริยบุคคลอุบัติเป็นมนุษย์อีกครั้ง
             แม้เมื่ออุบัติแล้ว อาจจะระลึกชาติไม่ได้ แต่ว่า กิเลสอันรุนแรงถึงขั้นทำปาณาติบาต
เป็นอันละได้ขาดไปแล้ว กิเลสเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นอีก จะไม่ปลงชีวิตสัตว์.

             ๕. สงฆ์ย่อมแตกกันโดยอาการ ๕ คือ โดยกรรม ๑ โดยอุทเทส ๑ โดยโวหาร ๑
โดยการสวดประกาศ ๑ โดยการให้จับสลาก ๑.
อธิบายว่า ในข้อนี้ ขอให้ศึกษาคำอธิบายในอรรถกถาอุปาลิปัญจกวัณณนา
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1161&p=1#ว่าด้วยสังฆเภท

             ๖. มนุษย์ฆ่ามารดาบิดาที่เป็นมนุษย์ซึ่งอยู่ในที่ที่แพะอยู่ แม้ด้วยความมุ่งหมายว่า
เราจะฆ่าแพะ ย่อมต้องอนันตริยกรรม. แต่ฆ่าแพะด้วยความมุ่งหมายว่าเป็นแพะ
หรือด้วยความมุ่งหมายว่าเป็นมารดาบิดา ย่อมไม่ต้องอนันตริยกรรม.
ฆ่ามารดาบิดาด้วยความมุ่งหมายว่าเป็นมารดาบิดา ย่อมต้องอนันตริยกรรมแน่.
อธิบายว่า ข้อนี้ ผมเองยังไม่แน่ใจวรรคแรกสักเท่าไรนัก เพราะเหตุว่า
ผมถือเจตนาพร้อมทั้งวัตถุเป็นใหญ่
             วรรคแรก เจตนาไม่ถึงเลย เพราะเจตนาว่า เราจะฆ่าแพะ.

             ๗. วินิจฉัยอนันตริยกรรม ๕ โดยกรรม โดยทวาร โดยการตั้งอยู่ชั่วกัป โดยวิบาก
และโดยสาธารณะ
อธิบายว่า
             ด้วยกรรม เช่นว่า เป็นกายกรรม เช่นฆ่า, เป็นวจีกรรม เช่นสังฆเภท (น่าจะพูดส่อเสียด)
             ด้วยทวาร เช่น สั่งคนให้ฆ่า น่าจะเป็นวจีทวาร แต่เป็นกายกรรมเป็นต้น
             โดยการตั้งอยู่ชั่วกัป เช่น สังฆเภทตั้งอยู่ในอบายชั่วกัป อย่างอื่นอาจไม่ถึงกัป
             โดยวิบาก น่าจะเรียงลำดับว่า เมื่อทำอนันตริยกรรม ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง
กรรมอื่นหมดโอกาสในผลในการปฏิสนธิในชาติถัดไป.
             ถ้าทำอนันตริยกรรมหลายอย่างเป็นต้น อะไรชิงให้ผล อะไรหมดโอกาสให้ผล
ในการปฏิสนธิในชาติถัดไป.
             โดยสาธารณะ เช่นว่า คนทั่วไปทำอนันตริยกรรมได้ เรียกว่า สาธารณะ
             แต่สังฆเภทนั้น เฉพาะพระภิกษุเท่านั้นที่ทำได้ ที่ไม่ใช่พระภิกษุทำได้
แค่สงฆราชี (ความร้าวรานแห่งสงฆ์).

             ๘. เว้นพระอนาคามีและพระขีณาสพ พวกที่เหลือไม่อาจดำรงอยู่ตามสภาวะของตนได้
             ขอบพระคุณค่ะ
11:20 PM 12/25/2013

อธิบายว่า สันนิษฐานว่า พวกที่เหลือก็ร้องไห้ คร่ำครวญ.
             อ. ข้าแต่องค์ผู้เจริญ ก็พวกเทวดาเป็นอย่างไร กระทำไว้ในใจ เป็นไฉน ฯ
             มีอยู่ อานนท์ เทวดาบางพวกสำคัญอากาศว่าเป็นแผ่นดิน สยายผม
ประคองแขนทั้งสองคร่ำครวญอยู่ ล้มลงกลิ้งเกลือกไปมา ดุจมีเท้าอันขาดแล้ว
รำพันว่า พระผู้มีพระภาคจะเสด็จปรินิพพานเสียเร็วนัก พระองค์ผู้มีพระจักษุใน
โลก จักอันตรธานเสียเร็วนัก ดังนี้ เทวดาบางพวกสำคัญแผ่นดินว่าเป็นแผ่นดิน
สยายผมประคองแขนทั้งสองคร่ำครวญอยู่ ล้มลงกลิ้งเกลือกไปมา ดุจมีเท้าอันขาด
แล้ว รำพันว่า พระผู้มีพระภาคจักเสด็จปรินิพพานเสียเร็วนัก พระสุคตจักเสด็จ
ปรินิพพานเสียเร็วนัก พระองค์ผู้มีพระจักษุในโลก จักอันตรธานเสียเร็วนัก ดังนี้
ส่วนเทวดาพวกที่ปราศจากราคะแล้ว มีสติสัมปชัญญะ อดกลั้น โดยธรรมสังเวชว่า
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เพราะฉะนั้น เหล่าสัตว์จะพึงได้ในสังขารนี้แต่ที่ไหน ฯ
//84000.org/tipitaka/read/?10/130
//84000.org/tipitaka/read/?10/151

ความคิดเห็นที่ 3-50
GravityOfLove, 26 ธันวาคม 2556 เวลา 12:51 น.

พอจะเข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-51
GravityOfLove, 26 ธันวาคม 2556 เวลา 13:05 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ อนุปทวรรค
             ๑๕. พหุธาตุกสูตร ว่าด้วยธาตุมากอย่าง
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3432&Z=3646&bgc=whitesmoke&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
             ภัย อุปัทวะ อุปสรรค ไม่ว่าชนิดใดๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล
ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่บัณฑิต
             เปรียบเหมือนไฟลุกลามแล้วแต่เรือนไม้อ้อ หรือเรือนหญ้า
ย่อมไหม้ได้กระทั่งเรือนยอดที่โบกปูน มีบานประตูสนิทปิดหน้าต่างไว้
             คนพาลจึงมีภัยเฉพาะหน้า มีอุปัทวะ มีอุปสรรค
             บัณฑิตไม่มีภัยเฉพาะหน้า ไม่มีอุปัทวะ ไม่มีอุปสรรค             
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น พวกเธอพึงศึกษาไว้อย่างนี้เถิดว่า จักเป็นบัณฑิต
             [อรรถกถา]
             ภัย ในที่นี้หมายถึงความกลัว ความสะดุ้ง ความสะดุ้งแห่งจิต เช่น
การได้ทราบข่าวว่าโจรจะปล้นแล้วเกิดความสะดุ้งกลัว
             อุปัทวะ ในที่นี้หมายถึงอาการที่จิตไม่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง เช่น
เมื่อรู้ว่าโจรจะปล้นก็ระส่ำระสายพยายามจะหนี
             อุปสรรค ในที่นี้หมายถึงอาการขัดข้อง เช่น ความลำบากหลังจากถูกโจรปล้น

             ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามว่า
             จะควรเรียกว่าภิกษุเป็นบัณฑิต มีปัญญาพิจารณา ด้วยเหตุเท่าไร
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             เพราะภิกษุเป็นผู้ฉลาดในธาตุ ฉลาดในอายตนะ ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท
และฉลาดในฐานะและอฐานะ
             ท่านพระอานนท์ทูลถาม พระผู้มีพระภาคตรัสตอบ มีใจความดังนี้

๑. ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ คือภิกษุที่รู้อยู่ เห็นอยู่ ในธาตุซึ่งมีปริยายต่างๆ ดังนี้
             ๑.๑ ธาตุ ๑๘ ได้แก่
             จักษุ รูป จักษุวิญญาณ
             โสต เสียง โสตวิญญาณ
             ฆานะ กลิ่น ฆานวิญญาณ
             ชิวหา รส ชิวหาวิญญาณ
             กาย โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ
             มโน ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ธาตุ_18

             ๑.๒ ธาตุ ๖ ได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ วิญญาณ
             ๑.๓ ธาตุ ๖ ได้แก่ สุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัส อุเบกขา อวิชชา
             ๑.๔ ธาตุ ๖ ได้แก่ กาม เนกขัมมะ พยาบาท ความไม่พยาบาท
ความเบียดเบียน ความไม่เบียดเบียน
             ๑.๕ ธาตุ ๓ ได้แก่ กาม รูป อรูป
             ๑.๖ ธาตุ ๒ ได้แก่ สังขตธาตุ (สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง)
อสังขตธาตุ (ธรรมที่ปัจจัยมิได้ปรุงแต่ง คือพระนิพพาน)

๒. ภิกษุผู้ฉลาดในอายตนะ คือภิกษุที่รู้อยู่ เห็นอยู่ ในอายตนะทั้งภายใน
และภายนอก ซึ่งมีอย่างละ ๖ คือ
             จักษุและรูป โสตและเสียง ฆานะและกลิ่น ชิวหาและรส กายและโผฏฐัพพะ
มโนและธรรมารมณ์
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อายตนะ_12

๓. ภิกษุผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า
             เมื่อเหตุนี้มี ผลนี้จึงมี เพราะเหตุนี้เกิดขึ้น ผลนี้จึงเกิดขึ้น
             เมื่อเหตุนี้ไม่มี ผลนี้จึงไม่มี เพราะเหตุนี้ดับ ผลนี้จึงดับ คือ
             - เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร
             - เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ
             - เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป
             - เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
             - เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ
             - เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา
             - เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา
             - เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน
             - เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ
             - เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ
             - เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
             อย่างนี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
             แต่เพราะอวิชชานั่นแลดับด้วยวิราคะไม่มีส่วนเหลือจึงดับสังขารได้
             เพราะสังขารดับจึงดับวิญญาณได้
             เพราะวิญญาณดับจึงดับนามรูปได้
             เพราะนามรูปดับจึงดับสฬายตนะได้
             เพราะสฬายตนะดับจึงดับผัสสะได้
             เพราะผัสสะดับจึงดับเวทนาได้
             เพราะเวทนาดับจึงดับตัณหาได้
             เพราะตัณหาดับจึงดับอุปาทานได้
             เพราะอุปาทานดับจึงดับภพได้
             เพราะภพดับจึงดับชาติได้
             เพราะชาติดับจึงดับชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสได้
             อย่างนี้เป็นความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปฏิจจสมุปบาท

๔. ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะ คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดว่า
             (๑) เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ (หมายถึงพระโสดาบันขึ้นไป)
พึงเข้าใจสังขารไรๆ โดยความเป็นของเที่ยง แต่เป็นไปได้ที่ปุถุชนพึงเข้าใจสังขารไรๆ
โดยความเป็นของเที่ยง
             (๒) เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ พึงเข้าใจสังขารไรๆ โดยความเป็นสุข
แต่เป็นไปได้ที่ปุถุชนพึงเข้าใจสังขารไรๆ โดยความเป็นสุข
             (๓) เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ พึงเข้าใจธรรมไรๆ โดยความเป็นอัตตา
แต่เป็นไปได้ที่ปุถุชนพึงเข้าใจธรรมใดๆ โดยความเป็นอัตตา
             (๔) เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิพึงปลงชีวิตมารดา
แต่เป็นไปได้ที่ปุถุชนพึงปลงชีวิตมารดาได้
             (๕) เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ พึงปลงชีวิตบิดา
แต่เป็นไปได้ที่ปุถุชนพึงปลงชีวิตบิดาได้
             (๖) เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ พึงปลงชีวิตพระอรหันต์
แต่เป็นไปได้ที่ปุถุชนพึงปลงชีวิตพระอรหันต์ได้
             (๗) เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ มีจิตคิดประทุษร้าย
พึงทำโลหิตแห่งตถาคตให้ห้อขึ้นได้ แต่เป็นไปได้ที่ปุถุชนมีจิตคิดประทุษร้าย
พึงทำโลหิตแห่งตถาคตให้ห้อขึ้นได้
             (๘) เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ พึงทำลายสงฆ์
แต่เป็นไปได้ที่ปุถุชนพึงทำลายสงฆ์ได้
             (๙) เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ จะพึงมุ่งหมาย (นับถือ) ศาสดาอื่น
แต่เป็นไปได้ที่ปุถุชนจะพึงมุ่งหมายศาสดาอื่นได้
             (๑๐) เป็นไปไม่ได้ที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ๒ พระองค์ พึงเสด็จอุบัติในโลกธาตุ
(จักรวาล) เดียวกัน ไม่ก่อนไม่หลังกัน แต่เป็นไปได้ที่ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธพระองค์เดียว
พึงเสด็จอุบัติในโลกธาตุเดียว
             (๑๑) เป็นไปไม่ได้ที่พระเจ้าจักรพรรดิ ๒ องค์ พึงเสด็จอุบัติในโลกธาตุเดียวกัน
ไม่ก่อนไม่หลังกัน แต่เป็นไปได้ที่พระเจ้าจักรพรรดิพระองค์เดียว พึงเสด็จอุบัติในโลกธาตุเดียว
             (๑๒) เป็นไปไม่ได้ที่สตรีพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ
แต่เป็นไปได้ที่บุรุษพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ
             (๑๓) เป็นไปไม่ได้ที่สตรีพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
แต่เป็นไปได้ที่บุรุษพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
             (๑๔) เป็นไปไม่ได้ที่สตรีพึงสำเร็จเป็นท้าวสักกะ (ครองความเป็นท้าวสักกะ)
แต่เป็นไปได้ที่บุรุษพึงสำเร็จเป็นท้าวสักกะ
             (๑๕) เป็นไปไม่ได้ที่สตรีพึงสำเร็จเป็นมาร แต่เป็นไปได้ที่บุรุษพึงสำเร็จเป็นมาร
             (๑๖) เป็นไปไม่ได้ที่สตรีพึงสำเร็จเป็นพรหม แต่เป็นไปได้ที่บุรุษพึงสำเร็จเป็นพรหม
             (๑๗) เป็นไปไม่ได้ที่วิบากแห่งกายทุจริต พึงเกิดเป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ แต่เป็นไปได้ที่วิบากแห่งกายทุจริต พึงเกิดเป็นที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่
ไม่น่าพอใจ
             (๑๘) เป็นไปไม่ได้ที่วิบากแห่งวจีทุจริต พึงเกิดเป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ แต่เป็นไปได้ที่วิบากแห่งวจีทุจริต พึงเกิดเป็นที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่
ไม่น่าพอใจ
             (๑๙) เป็นไปไม่ได้ที่วิบากแห่งมโนทุจริตพึงเกิดเป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ แต่เป็นไปได้ที่วิบากแห่งมโนทุจริต พึงเกิดเป็นที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่
ไม่น่าพอใจ
             (๒๐) เป็นไปไม่ได้ที่วิบากแห่งกายสุจริต พึงเกิดเป็นที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่
ไม่น่าพอใจ แต่เป็นไปได้ที่วิบากแห่งกายสุจริต พึงเกิดเป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
             (๒๑) เป็นไปไม่ได้ที่วิบากแห่งวจีสุจริต พึงเกิดเป็นที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่
ไม่น่าพอใจ แต่เป็นไปได้ที่วิบากแห่งวจีสุจริต พึงเกิดเป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
             (๒๒) เป็นไปไม่ได้ที่วิบากแห่งมโนสุจริต พึงเกิดเป็นที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่
ไม่น่าพอใจ แต่เป็นไปได้ที่วิบากแห่งมโนสุจริต พึงเกิดเป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
             (๒๓) เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้พรั่งพร้อม (สมังคี) ด้วยกายทุจริต
เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกายทุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย แต่เป็นไปได้ที่
บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกายทุจริตเมื่อตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก เพราะกายทุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย
             (๒๔) เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวจีทุจริต เมื่อตายไป
พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะวจีทุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย แต่เป็นไปได้ที่
บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวจีทุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก เพราะวจีทุจริตนั้นเป็นปัจจัย
             (๒๕) เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนทุจริต เมื่อตายไป
พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะมโนทุจริตนั้นเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แต่เป็นไปได้ที่
บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนทุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก เพราะมโนทุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย
             (๒๖) เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกายสุจริต เมื่อตายไป
พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกายสุจริตนั้นเป็นเหตุ เป็นปัจจัย
แต่เป็นไปได้ที่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกายสุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติ
โลกสวรรค์ เพราะกายสุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย
             (๒๗) เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวจีสุจริต เมื่อตายไป
พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะวจีสุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย
แต่เป็นไปได้ที่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวจีสุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะวจีสุจริตนั้นเป็นเหตุ เป็นปัจจัย
             (๒๘) เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนสุจริต เมื่อตายไป
พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะมโนสุจริตนั้นเป็นเหตุ เป็นปัจจัย
แต่เป็นไปได้ที่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนสุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติ
โลกสวรรค์ เพราะมโนสุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย
             [อรรถกถา]
พรั่งพร้อมหรือเพียบพร้อมหรือพร้อมเพรียง ในที่นี้หมายถึง
ความเพียบพร้อม ๕ ประการ คือ
             (๑) ความพร้อมเพรียงแห่งการประมวลมา (การสั่งสม) เพราะสั่งสมกุศลกรรม
และอกุศลกรรม
             (๒) ความพร้อมเพรียงแห่งเจตนา เพราะจงใจในการก่อกุศลกรรมและอกุศลกรรม
             (๓) ความพร้อมเพรียงแห่งกรรม เพราะกรรมที่สัตว์สั่งสมไว้ตราบเท่าที่ยังไม่ได้
บรรลุอรหัตตผล
             (๔) ความพร้อมเพรียงแห่งวิบาก เพราะเสวยผลของกรรมที่สั่งสมไว้
             (๕)  ความพร้อมเพรียงแห่งการปรากฏขึ้น เพราะเกิดในนรก ครรภ์มารดา
หรือเทวโลก ตราบเท่าที่ยังไม่บรรลุอรหัตตผล

[มีต่อ]

ความคิดเห็นที่ 3-52
[ต่อ]
             เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ ได้ทูลว่า
             น่าอัศจรรย์จริง ไม่น่าเป็นไปได้เลย ธรรมบรรยายนี้ชื่อไร พระพุทธเจ้าข้า
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             เพราะเหตุนั้นแล เธอจงจำธรรมบรรยายนี้ไว้ว่า ชื่อ
             พหุธาตุก (ชุมนุมธาตุมากอย่าง) บ้าง
             จตุปริวัฏฏ (แสดงอาการเวียน ๔ รอบ) บ้าง
             ธรรมาทาส (แว่นส่องธรรม) บ้าง
             อมตทุนทุภี (กลองบันลืออมฤต) บ้าง
             อนุตตรสังคามวิชัย (ความชนะสงครามอย่างไม่มีความชนะอื่นยิ่งกว่า) บ้าง
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

ความคิดเห็นที่ 3-53
ฐานาฐานะ, 27 ธันวาคม 2556 เวลา 08:19 น.

GravityOfLove, 15 นาทีที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ อนุปทวรรค
             ๑๕. พหุธาตุกสูตร ว่าด้วยธาตุมากอย่าง
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3432&Z=3646&bgc=whitesmoke&pagebreak=0
...
1:05 PM 12/26/2013

             ย่อความได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 3-54
ฐานาฐานะ, 27 ธันวาคม 2556 เวลา 08:23 น.

              คำถามในพหุธาตุกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3432&Z=3646

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             2. นัยว่า
<<<<
             (๑๐) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธ
๒ พระองค์ พึงเสด็จอุบัติในโลกธาตุเดียวกัน ไม่ก่อนไม่หลังกัน นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้
และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธพระองค์เดียว
พึงเสด็จอุบัติในโลกธาตุเดียว นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ
>>>>
             นัยนี้ เคยได้ยินมาก่อนหรือไม่? และจากพระสูตรใด?

ความคิดเห็นที่ 3-55
GravityOfLove, 27 ธันวาคม 2556 เวลา 22:42 น.

             ตอบคำถามในพหุธาตุกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3432&Z=3646

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. คนพาลจึงมีภัยเฉพาะหน้า มีอุปัทวะ มีอุปสรรค
             บัณฑิตไม่มีภัยเฉพาะหน้า ไม่มีอุปัทวะ ไม่มีอุปสรรค
             ความหมายของคำว่า ภัย อุปัทวะ อุปสรรค
             ๒. ภิกษุเป็นบัณฑิต มีปัญญาพิจารณาเป็นอย่างไร
             ๓. ธาตุปริยายต่างๆ
             ๔. ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะเป็นอย่างไร
             ๕. พระอริยสาวกผู้ยังเวียนว่ายตายเกิด อาจไม่รู้ว่าตนเป็นพระอริยสาวกในชาติต่อไป
             ๖. การฆ่ามารดาบิดานั้น หมายเอาชาติที่เป็นมนุษย์ของมารดาบิดาและบุตรเท่านั้น
จึงจะเป็นอนันตริยกรรม
             ๗. ผู้ฆ่าพระอรหันต์ที่เป็นมนุษย์เท่านั้น จึงเป็นอนันตริยกรรม
ถ้าฆ่าพระอรหันต์ที่เป็นอมนุษย์ เช่น ยักษ์ เทวดา ไม่เป็นอนันตริยกรรม แต่เป็นกรรมหนัก
             ๘. เขตมี ๓ คือ หมื่นโลกธาตุ ชื่อว่าชาติเขต แสนโกฏิจักรวาล ชื่อว่าอาณาเขต
ส่วน วิสัยเขตไม่มีประมาณ เพราะว่าพระญาณมีเท่าใด สิ่งที่ควรรู้มีเท่านั้น
             ๙. อันตรธานมี ๓ อย่าง คือ ปริยัติอันตรธาน ปฏิเวธอันตรธาน ปฏิบัติอันตรธาน
ปฏิเวธและปฏิบัติมีบ้าง ไม่มีบ้าง แต่ว่าปริยัติ (ถือว่า) เป็นสำคัญของการดำรงอยู่แห่งพระศาสนา
             ๑๐. ปรินิพพานมี ๓ คือ กิเลสปรินิพพาน ขันธปรินิพพาน ธาตุปรินิพพาน
             ในปรินิพพาน ๓ อย่างนั้น กิเลสปรินิพพานได้มีแล้ว ณ โพธิบัลลังก์
             ขันธปรินิพพานได้มีแล้ว ณ เมืองกุสินารา
             ธาตุปรินิพพานจักมีในอนาคต
----------------------
             ๒. ... นัยนี้ เคยได้ยินมาก่อนหรือไม่? และจากพระสูตรใด?
             เคยได้ยินจาก ๒ พระสูตรดังนี้
             - มหาโควินทสูตร
             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเทวดาทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ ท้าวสักกะจอมเทพ
ได้ตรัสกะเทวดาชั้นดาวดึงส์ว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ข้อที่พระอรหันตสัมมา-
*สัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ พึงอุบัติในโลกธาตุเดียวกัน ไม่ก่อนไม่หลังนี้ ไม่ใช่
ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้

//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=4871&Z=5539

             - สัมปสาทนียสูตร
             ข้อนี้ข้าพเจ้าได้สดับมา เฉพาะพระพักตร์ ได้รับเรียนมาเฉพาะพระพักตร์
พระผู้มีพระภาคว่า ข้อที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ จะเกิดพร้อมกัน
ในโลกธาตุเดียวกันนั้น ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส นั่นเป็นฐานะที่จะมีไม่ได้

//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=2130&Z=2536

             อัฏฐานบาลี (ไม่เคยเรียน แต่เพื่อความรอบด้าน)
             [๑๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าสอง
พระองค์ จะพึงเสด็จอุบัติขึ้นพร้อมกันในโลกธาตุเดียวกันนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่
โอกาสที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์
เดียว จะพึงเสด็จอุบัติขึ้นในโลกธาตุอันหนึ่งนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้

//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=753&Z=789

ความคิดเห็นที่ 3-56
ฐานาฐานะ, 28 ธันวาคม 2556 เวลา 02:07 น.

GravityOfLove, 3 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามในพหุธาตุกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3432&Z=3646
...
10:41 PM 12/27/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 3-57
ฐานาฐานะ, 28 ธันวาคม 2556 เวลา 02:08 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า พหุธาตุกสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3432&Z=3646

              พระสูตรหลักถัดไป คืออิสิคิลิสูตร [พระสูตรที่ 16].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
              อิสิคิลิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3647&Z=3723
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=247

              มหาจัตตารีสกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3724&Z=3923
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=252

              อานาปานสติสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3924&Z=4181
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=282

              กายคตาสติสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4182&Z=4496
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=292

              สังขารูปปัตติสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4497&Z=4713
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=318

ความคิดเห็นที่ 3-58
GravityOfLove, 2 มกราคม เวลา 15:36 น.

             คำถามอิสิคิลิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3647&Z=3723

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. มีชื่อเป็นอย่างหนึ่ง มีบัญญัติเป็นอีกอย่างหนึ่ง
             ๒. พระผู้มีพระภาคตรัสบอกพระนามพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้ง ๕๐๐ พระองค์
ใช่ไหมคะ แต่พระนามเหมือนกัน จึงตรัสรวมกัน
             ๓. มหาปทุมกุมารอยู่ในพระครรภ์พระมารดา ส่วนกุมารนอกนั้น
อาศัยครรภ์มลทินอุบัติขึ้น
             ขอบพระคุณค่ะ

ย้ายไปที



Create Date : 22 มกราคม 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 13:25:40 น.
Counter : 564 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มกราคม 2557

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog