25.7 พระสูตรหลักถัดไป คืออนุปทสูตร [พระสูตรที่ 11]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
25.6 พระสูตรหลักถัดไป คืออนุปทสูตร [พระสูตรที่ 11]

ความคิดเห็นที่ 3-73
GravityOfLove, 5 มกราคม เวลา 15:52 น.

             คำถามมหาจัตตารีสกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3724&Z=3923

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. [๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ
เป็นองค์มรรค อย่าง ๑
             ๒. มรรคมีองค์ ๘ มี ๒ ระดับคือ ที่เป็นโลกียะ และเป็นโลกุตตระ ใช่ไหมคะ
             ๓. ด้วยประการนี้แล จึงเป็นธรรมฝ่ายกุศล ๒๐ ฝ่ายอกุศล ๒๐
             นับอย่างไรคะ
             ๔. จึงเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิบุคคลโดยแท้ ถึงการห้ามทางไปสวรรค์และพระนิพพาน
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะไปสู่สวรรค์ในลำดับต่อจากชาตินั้น
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-74
ฐานาฐานะ, 6 มกราคม เวลา 17:52 น.

GravityOfLove, เมื่อวานนี้ เวลา 15:52 น.
              คำถามมหาจัตตารีสกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3724&Z=3923

              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๑. [๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ
เป็นองค์มรรค อย่าง ๑
อธิบายว่า สัมมาทิฐิมี 2 อย่าง คือ
              1. สัมมาทิฐิ ความเห็นถูกต้องโดยทั่วไป เช่น ทานมีผล ...
เป็นปัจจัยให้ได้วิบากอันเป็นสุข.
              2. สัมมาทิฏฐิที่เป็นองค์มรรค นัยว่า น่าจะเกิดขึ้นในขณะแห่งมรรค
กล่าวคือ ความเห็นหรือปัญญาในชัดเจนกระทั่งทำนิพพานให้แจ้งในอารมณ์ได้.

              ๒. มรรคมีองค์ ๘ มี ๒ ระดับคือ ที่เป็นโลกียะ และเป็นโลกุตตระ ใช่ไหมคะ
ตอบว่า ถูกต้องครับ.

              ๓. ด้วยประการนี้แล จึงเป็นธรรมฝ่ายกุศล ๒๐ ฝ่ายอกุศล ๒๐
              นับอย่างไรคะ
              ขอบพระคุณค่ะ
3:51 PM 1/5/2014

ตอบว่า สันนิษฐานว่า
              จากเนื้อความในพระไตรปิฎกว่า
<<<
              ผู้มีสัมมาทิฐิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาทิฐิได้ ทั้งอกุศลธรรมลามกเป็นอเนกบรรดามี
เพราะมิจฉาทิฐิเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาทิฐิสลัดได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนก
ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมาทิฐิเป็นปัจจัย ฯ
>>>
              และเนื้อความอรรถกถาว่า
<<<
              บทว่า วีสติ กุสลปกฺขา ความว่า เป็นธรรมฝ่ายกุศล ๒๐ ประการอย่างนี้
คือธรรม ๑๐ ประการมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น และธรรม ๑๐ ประการที่ตรัสไว้โดยนัย
เป็นต้นว่า กุศลธรรมเป็นอเนกประการที่มีสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย.
>>>
              หรือกล่าวนับง่ายๆ ว่า
              สัมมาทิฐิทำลายมิจฉาทิฏฐิทั้งอกุศลกรรมอันมีมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย นับ 1
              กุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมาทิฐิเป็นปัจจัย ฯ นับ 1
              หรือจับหลักได้ว่า
              ทำลายฝ่ายปฏิปักษ์และสิ่งที่ปฏิปักษ์เป็นปัจจัยลงได้ 1.
              ทำให้สิ่งที่อยู่ฝ่ายเดียวกันในเจริญขึ้นอีก 1.
              จึงเป็น 2.
              2 คูณกับ 10 อย่างคือ ตั้งแต่สัมมาทิฏฐิ ... สัมมาวิมุตติ เป็น 20
              2 คูณกับ 10 อย่างคือ ตั้งแต่มิจฉาทิฏฐิ ... มิจฉาวิมุตติ เป็น 20
              จึงเป็น 40.
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สัมมัตตะ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มิจฉัตตะ

              ๔. จึงเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิบุคคลโดยแท้ ถึงการห้ามทางไปสวรรค์และพระนิพพาน
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะไปสู่สวรรค์ในลำดับต่อจากชาตินั้น
4:06 PM 1/5/2014
อธิบายว่า บุคคลที่ดำดิ่งลงไปในมิจฉาทิฏฐิอย่างหนักแน่นแล้ว
เมื่อตายแล้ว ชาติถัดไปหรือ (ชาติลำดับต่อจากชาตินั้น) ไปสุคติโลกสวรรค์ไม่ได้เลย.
              สรุปว่า ชาติถัดไปอุบัติได้แต่ทุคติ.

ความคิดเห็นที่ 3-75
GravityOfLove, 6 มกราคม เวลา 18:54 น.

             ๑. ให้ผลแก่ขันธ์ คือ ให้ผลแก่ขันธ์ ๕ หรือคะ
             ๓. ผู้มีสัมมาทิฐิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาทิฐิได้ ทั้งอกุศลธรรมลามกเป็นอเนกบรรดามี
เพราะมิจฉาทิฐิเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาทิฐิสลัดได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนก
ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมาทิฐิเป็นปัจจัย ฯ
             ถ้ากล่าวในแง่มิจฉัตตะ กล่าวอย่างไรคะ
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-76
ฐานาฐานะ, 6 มกราคม เวลา 19:11 น.

              ๑. ให้ผลแก่ขันธ์ คือ ให้ผลแก่ขันธ์ ๕ หรือคะ
              ตอบว่า ถูกต้องครับ.
              ๓. ... ถ้ากล่าวในแง่มิจฉัตตะ กล่าวอย่างไรคะ
              ตอบว่า ไม่ค่อยเข้าใจคำถามนัก
              หากกล่าวในแง่มิจฉัตตะ อาจกล่าวได้ว่า
              สัมมัตตะย่อมทำลายมิจฉัตตะ และอกุศลธรรมที่มีมิจฉัตตะเป็นปัจจัย
ทั้งกุศลธรรมก็ย่อมเจริญขึ้น เพราะมีสัมมัตตะเป็นปัจจัย.

ความคิดเห็นที่ 3-77
GravityOfLove, 6 มกราคม เวลา 19:14 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-78
GravityOfLove, 6 มกราคม เวลา 19:35 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ อนุปทวรรค
             ๑๗. มหาจัตตารีสกสูตร ว่าด้วยธรรม ๔๐ หมวดใหญ่
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3724&Z=3923&bgc=whitesmoke&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
             เราจักแสดงสัมมาสมาธิของพระอริยะ (หมายถึงสัมมาสมาธิ (จิตตั้งมั่นชอบ)
ที่เป็นโลกุตตรธรรม) อันมีเหตุ (อุปนิสะ) มีองค์ประกอบ (ปริขาร) แก่เธอทั้งหลาย
             สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ คือ
             ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)
             ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
             ๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ)
             ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
             ๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)
             ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
             ๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)
             ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้ เรียกว่า
สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุบ้าง มีองค์ประกอบบ้าง

             ๑. สัมมาทิฐิ
             บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
             สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาทิฐิว่ามิจฉาทิฐิ
รู้จักสัมมาทิฐิว่าสัมมาทิฐิ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ
             - มิจฉาทิฐิ คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว
ไม่มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วไม่มี
โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี
สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้า
ให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี
             สัมมาทิฐิ มี ๒ อย่าง คือ สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ (สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ)
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ และสัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ
(สัมมาทิฏฐิที่ไม่มีอาสวะ) เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค
             - สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ คือ
ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ฯลฯ สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ
ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่
             - สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค คือ
             ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ความเห็นชอบ
องค์แห่งมรรคของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค
เจริญอริยมรรคอยู่
             ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาทิฐิ เพื่อบรรลุสัมมาทิฐิ ความพยายาม
ของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ
             ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาทิฐิได้ มีสติบรรลุสัมมาทิฐิอยู่ สติของเธอนั้น
เป็นสัมมาสติ
             ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาทิฐิของภิกษุนั้น
             ๒. สัมมาสังกัปปะ
             บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
             สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาสังกัปปะว่ามิจฉาสังกัปปะ
รู้จักสัมมาสังกัปปะว่าสัมมาสังกัปปะ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ
             - มิจฉาสังกัปปะ คือ ความดำริในกาม ดำริในพยาบาท ดำริในความเบียดเบียน
             สัมมาสังกัปปะ มี ๒ อย่าง คือ สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ และสัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค
             - สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ คือ
ความดำริในเนกขัมมะ ดำริในความไม่พยาบาท ดำริในความไม่เบียดเบียน
             - สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค คือ
ความตรึก ความวิตก ความดำริ ความแน่ว ความแน่ ความปักใจ วจีสังขารของภิกษุ
ผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่
             ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาสังกัปปะ เพื่อบรรลุสัมมาสังกัปปะ
ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ
             ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาสังกัปปะได้ มีสติบรรลุสัมมาสังกัปปะอยู่ สติของเธอนั้น
เป็นสัมมาสติ
             ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาสังกัปปะ ของภิกษุนั้น
             ๓. สัมมาวาจา
             บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
             สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาวาจาว่ามิจฉาวาจา
รู้จักสัมมาวาจาว่าสัมมาวาจา ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ
             - มิจฉาวาจา คือ พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ เจรจาเพ้อเจ้อ
             สัมมาวาจา มี ๒ อย่าง คือ สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ และสัมมาวาจาของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค
             - สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ คือ
เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ
งดเว้นจากการเจรจาเพ้อเจ้อ
             - สัมมาวาจาของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค คือ
ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนางดเว้น จากวจีทุจริตทั้ง ๔ ของภิกษุ
ผู้มีจิตไกลข้าศึกมีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่
             ภิกษุย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาวาจา เพื่อบรรลุสัมมาวาจาอยู่ ความพยายาม
ของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ
             ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาวาจาได้ มีสติบรรลุสัมมาวาจาอยู่ สติของเธอนั้น
เป็นสัมมาสติ
             ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาวาจาของภิกษุนั้น
             ๔. สัมมากัมมันตะ
             บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
             สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน คือ ภิกษุรู้จักมิจฉากัมมันตะว่ามิจฉากัมมันตะ
รู้จักสัมมากัมมันตะว่าสัมมากัมมันตะ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ
             - มิจฉากัมมันตะ คือ ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร
             สัมมากัมมันตะ มี ๒ อย่าง คือ สัมมากัมมันตะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ และสัมมากัมมันตะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค
             - สัมมากัมมันตะที่ยังเป็นสาสวะเป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ คือ
เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้นจากอทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร
             - สัมมากัมมันตะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค คือ
ความงด ความเว้น เจตนางดเว้น จากกายทุจริตทั้ง ๓ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิต
หาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่
             ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉากัมมันตะ เพื่อบรรลุสัมมากัมมันตะ
ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ
             ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉากัมมันตะได้ มีสติบรรลุสัมมากัมมันตะอยู่
สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ
             ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมากัมมันตะของภิกษุนั้น
             ๕. สัมมาอาชีวะ
             บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
             สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาอาชีวะว่ามิจฉาอาชีวะ
รู้จักสัมมาอาชีวะว่าสัมมาอาชีวะ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ
             - มิจฉาอาชีวะ คือ การโกง การล่อลวง การตลบตะแลง การยอมมอบตน
ในทางผิด การเอาลาภต่อลาภ
             สัมมาอาชีวะ มี ๒ อย่าง คือ สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ และสัมมาอาชีวะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค
             - สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ คือ
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมละมิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ
             - สัมมาอาชีวะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค คือ
ความงด ความเว้น เจตนางดเว้น จากมิจฉาอาชีวะของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก
มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่
             ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาอาชีวะ เพื่อบรรลุสัมมาอาชีวะ ความพยายาม
ของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ (๖)
             ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาอาชีวะได้ มีสติบรรลุสัมมาอาชีวะอยู่ สติของเธอนั้น
เป็นสัมมาสติ (๗)
             ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาอาชีวะของภิกษุนั้น
             บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน คือ
             เมื่อมีสัมมาทิฐิ (๑) สัมมาสังกัปปะ (๒) จึงพอเหมาะได้
             เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา (๓) จึงพอเหมาะได้
             เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ (๔) จึงพอเหมาะได้
             เมื่อมีสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ (๕) จึงพอเหมาะได้
             เมื่อมีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ (๖) จึงพอเหมาะได้
             เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติ (๗) จึงพอเหมาะได้
             เมื่อมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิ (๘) จึงพอเหมาะได้
             เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ (๙) จึงพอเหมาะได้
             เมื่อมีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ (๑๐) จึงพอเหมาะได้
             ด้วยประการนี้ พระเสขะผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มรรคมีองค์_8
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สัมมัตตะ_10

ธรรมฝ่ายกุศล ๒๐ ฝ่ายอกุศล ๒๐
             บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน คือ
             ผู้มีสัมมาทิฐิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาทิฐิได้ ทั้งอกุศลธรรมลามกทั้งหลาย
ที่มีมิจฉาทิฐิเป็นปัจจัย และกุศลธรรมทั้งหลายย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เพราะสัมมาทิฐิเป็นปัจจัย
             ...
             ผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวิมุตติได้ ทั้งอกุศลธรรมลามกทั้งหลาย
ที่มีมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย และกุศลธรรมทั้งหลายย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย
             ด้วยประการนี้ จึงเป็นธรรมฝ่ายกุศล ๒๐ ฝ่ายอกุศล ๒๐ ชื่อ
ธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ อันเราให้เป็นไปแล้ว
             สมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใครๆ ในโลก
จะให้เป็นไปไม่ได้
             สมณะหรือพราหมณ์ ผู้ใดผู้หนึ่งหากจะติเตียน คัดค้าน
ธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนี้ การกล่าวเช่นนั้นและการกล่าวตามกัน ๑๐ ประการนี้
ของสมณะหรือพราหมณ์ผู้นั้น ย่อมถึงฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว คือ
             ถ้าใครติเตียนสัมมาทิฐิ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีทิฐิผิด
             ...
             ถ้าใครติเตียนสัมมาวิมุตติ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีวิมุตติผิด
             แม้พวกอัสสะและพวกภัญญะ ชาวอุกกลชนบท ซึ่งเป็นอเหตุกวาทะ อกิริยวาทะ
นัตถิกวาทะ ก็ยังสำคัญที่จะไม่ติเตียน ไม่คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ เพราะ
กลัวถูกนินทา ถูกว่าร้าย และถูกก่อความ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ทิฏฐิ_3
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มิจฉัตตะ_10

             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

ความคิดเห็นที่ 3-79
ฐานาฐานะ, 6 มกราคม เวลา 19:52 น.

GravityOfLove, 2 นาทีที่แล้ว
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ อนุปทวรรค
              ๑๗. มหาจัตตารีสกสูตร ว่าด้วยธรรม ๔๐ หมวดใหญ่
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3724&Z=3923&bgc=whitesmoke&pagebreak=0
...
7:35 PM 1/6/2014

              ย่อความได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 3-80
ฐานาฐานะ, 6 มกราคม เวลา 20:00 น.

              คำถามในมหาจัตตารีสกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3724&Z=3923

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             2. เนื้อความว่า
<<<
             [๒๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ
             ผู้มีสัมมาทิฐิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาทิฐิได้ ทั้งอกุศลธรรมลามกเป็น
อเนกบรรดามี เพราะมิจฉาทิฐิเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาทิฐิสลัดได้แล้ว
และกุศลธรรมเป็นอเนก ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมาทิฐิเป็นปัจจัย ฯ
             ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสังกัปปะได้...
             ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวาจาได้...
             ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉากัมมันตะได้...
             ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาอาชีวะได้...
             ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวายามะได้...
             ผู้มีสัมมาสติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสติได้...
             ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสมาธิได้...
             ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาญาณะได้...
             ผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวิมุตติได้ ทั้งอกุศลธรรมลามกเป็น
อเนกบรรดามี เพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาวิมุตติสลัดได้แล้ว
และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย
>>>

             ขอให้คุณ GravityOfLove ยกตัวอย่างกรณีของอกุศลธรรมลามกเป็น
อเนกบรรดามี เพราะมิจฉาข้อใดข้อหนึ่งเป็นปัจจัย
สัก 1 กรณี พอให้เข้าใจได้.

ความคิดเห็นที่ 3-81
GravityOfLove, 6 มกราคม เวลา 20:24 น.

             ตอบคำถามในมหาจัตตารีสกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3724&Z=3923

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. สัมมาสมาธิที่เป็นอริยะ มีองค์ประกอบ ๗ ประการ คือ
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ
             บรรดาองค์ประกอบ ๗ นั้น สัมมาทิฐิเป็นประธาน
             ๒. สัมมาวายามะและสัมมาสติ เป็นสหชาต (เกิดร่วม) ห้อมล้อมโลกุตรสัมมาทิฏฐิ
ฯลฯ โลกุตรสัมมาอาชีวะ
             ๓. พระเสขะผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐
             ๔. ถ้าใครติเตียน สัมมาทิฐิ ฯลฯ  สัมมาวิมุตติ เขาต้องบูชาสรรเสริญสมณพราหมณ์
ผู้มีทิฐิผิด ฯลฯ ผู้มีวิมุตติผิด
             ๕. ชื่อว่า มหาจัตตารีสกะ (หมวด ๔๐ ใหญ่) เพราะประกาศธรรม ๔๐ ประการ
อันเป็นฝ่ายกุศล และเป็นฝ่ายอกุศลอันเป็นข้อใหญ่ ข้อใหญ่ เพราะการให้วิบากมาก
             ๖. นิยตมิจฉาทิฏฐิบุคคล ย่อมถูกห้ามทางสวรรค์และพระนิพพาน เป็นผู้ไม่ควร
เพื่อจะไปสู่สวรรค์ในลําดับต่อจากชาตินั้น
---------
             2. เนื้อความว่า ...
             ขอให้คุณ GravityOfLove ยกตัวอย่างกรณีของอกุศลธรรมลามกเป็น
อเนกบรรดามี เพราะมิจฉาข้อใดข้อหนึ่งเป็นปัจจัย
สัก 1 กรณี พอให้เข้าใจได้.
             ผู้ที่มีมิจฉาทิฐิ เช่น โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี
จะไม่เชื่อผลของกรรม จะมีแนวโน้มทำอกุศลกรรม แล้วพาลบิดเบือนคำสอนของ
พระผู้มีพระภาคทั้งหมดที่แสดงถึงโลกนี้โลกหน้าให้เข้ากับมิจฉาทิฐินี้ของตนเอง
โดยอ้างว่า เพื่อเน้นการกระทำชาตินี้ ไม่ต้องหวังผลชาติหน้า และอ้างว่า พิสูจน์ได้
ทางวิทยาศาสตร์ เข้ากับคนรุ่นใหม่ เพื่อให้การบิดเบือนของตนเองมีความชอบธรรม
             คำสอนเช่นนี้ เป็นการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนาอย่างมาก เพราะเป็นการ
บิดเบือนพระพุทธพจน์ บ่อนทำลายยิ่งกว่าการที่พระสงฆ์ทำผิดพระวินัยเสียอีก
เพราะพระสงฆ์ผิดพระวินัย ยังมีบทลงโทษ

ความคิดเห็นที่ 3-82
ฐานาฐานะ, 6 มกราคม เวลา 21:47 น.

GravityOfLove, 1 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามในมหาจัตตารีสกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3724&Z=3923
...
8:24 PM 1/6/2014

             ตอบคำถามได้ครับ
             ขอเสริมกรณีที่ยกมาในข้อ 2 ด้วยชาดกชื่อว่า มหานารทกัสสปชาดก
             ในมหานารทกัสสปชาดก ได้แสดงว่า พระราชาพระองค์หนึ่ง
ทรงเข้าไปหานักบวชผู้หนึ่งในจำพวกมิจฉาทิฏฐิ
             จากนั้น พระราชาทรงเชื่อและเลื่อมใสในมิจฉาทิฏฐินั้น ก็ทำการอัน
ถอยจากกุศลธรรมทั้งปวง เพราะเนื่องจากมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย.

             มหานารทกัสสปชาดก
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=28&A=5180&Z=5625

ความคิดเห็นที่ 3-83
ฐานาฐานะ, 7 มกราคม เวลา 00:45 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า มหาจัตตารีสกสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3724&Z=3923

              พระสูตรหลักถัดไป คืออานาปานสติสูตร [พระสูตรที่ 18].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
              อานาปานสติสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3924&Z=4181
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=282

              กายคตาสติสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4182&Z=4496
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=292

              สังขารูปปัตติสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4497&Z=4713
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=318

ความคิดเห็นที่ 3-84
GravityOfLove, 7 มกราคม เวลา 10:02 น.

ขอบพระคุณค่ะ ยังไม่ได้เริ่มอ่านมหานารทชาดกเลยค่ะ

ย้ายไปที
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 22 มกราคม 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 13:29:19 น.
Counter : 629 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มกราคม 2557

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog