28.7 พระสูตรหลักถัดไป คืออนาถปิณฑิโกวาทสูตร [พระสูตรที่ 43]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
28.6 พระสูตรหลักถัดไป คืออนาถปิณฑิโกวาทสูตร [พระสูตรที่ 43]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=05-05-2014&group=3&gblog=50
ความคิดเห็นที่ 70
GravityOfLove, 30 มีนาคม เวลา 09:35 น.

             ตอบคำถามในสฬายตนวิภังคสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=10555&Z=10674

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุ รูปเป็นต้น ตามความเป็นจริง ย่อมกำหนัดใน
ธรรมเหล่านี้ ย่อมเล็งเห็นคุณในธรรมในเหล่านี้ อุปาทานขันธ์ย่อมพอกพูนต่อไป
มีตัณหาอันนำไปสู่ภพใหม่
             บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นธรรมเหล่านี้ตามความเป็นจริง ย่อมไม่กำหนัด ฯลฯ
             ๒. บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นธรรมเหล่านี้ตามความเป็นจริง มรรคมีองค์ ๘
(ฏฐังคิกมรรค) ย่อมเจริญบริบูรณ์ ธรรมอื่นๆ ในโพธิปักขิยธรรม ๓๗
(สติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น) ย่อมเจริญบริบูรณ์เช่นกัน สมถะและวิปัสสนาย่อมคู่เคียงกันเป็นไป
             ๓. ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ธรรมที่ควรละ ธรรมที่ควรเจริญ ธรรมที่
ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง

ความคิดเห็นที่ 71
ฐานาฐานะ, 30 มีนาคม เวลา 09:54 น.

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             ขอติงการสะกดเป็นต้นดังนี้ :-
ธรรมเหล่านี้ ย่อมเล็งเห็นคุณในธรรมในเหล่านี้ อุปาทานขันธ์ย่อมพอกพูนต่อไป
             แก้ไขเป็น
ธรรมเหล่านี้ ย่อมเล็งเห็นคุณในธรรมเหล่านี้ อุปาทานขันธ์ย่อมพอกพูนต่อไป

(ฏฐังคิกมรรค) ย่อมเจริญบริบูรณ์ ธรรมอื่นๆ ในโพธิปักขิยธรรม ๓๗
             แก้ไขเป็น
(อัฏฐังคิกมรรค) ย่อมเจริญบริบูรณ์ ธรรมอื่นๆ ในโพธิปักขิยธรรม ๓๗

ความคิดเห็นที่ 72
GravityOfLove, 30 มีนาคม เวลา 10:11 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 73
ฐานาฐานะ, 29 เมษายน เวลา 15:12 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า สฬายตนวิภังคสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=10555&Z=10674

              พระสูตรหลักถัดไป คือ นครวินเทยยสูตร [พระสูตรที่ 50].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              นครวินเทยยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=10675&Z=10782
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=832

ความคิดเห็นที่ 74
GravityOfLove, 29 เมษายน เวลา 20:41 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สฬายตนวรรค
             ๘. นครวินเทยยสูตร ว่าด้วยชาวนครวินทะ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=10675&Z=10782&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ทรงแวะยังบ้านพราหมณ์แห่งโกศลชนบทชื่อว่านครวินทะ
             พวกพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านนครวินทะได้ทราบข่าวนี้ และได้ยิน
กิตติศัพท์อันงามฟุ้งไปอย่างนี้ว่า ... (พระพุทธคุณ ๙)  จึงพากันเข้าไปเฝ้า
             บางพวกถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค บางพวกมีอาการเฉยๆ เป็นต้น
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=พุทธคุณ_9

             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านนครวินทะว่า
             ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าปริพาชกเจ้าลัทธิอื่นถามว่า สมณพราหมณ์เช่นไร
ไม่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ท่านทั้งหลายพึงตอบว่า
             สมณพราหมณ์เหล่าใด ยังมีความกำหนัด (ราคะ) ความขัดเคือง (โทสะ)
ความลุ่มหลง (โมหะ) ในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ ไม่ไปปราศแล้ว ยังมีจิตไม่สงบภายใน
ยังประพฤติลุ่มๆ ดอนๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่
             สมณพราหมณ์เช่นนี้ ไม่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา เพราะว่า
ก็ไม่ต่างกับพวกเรา
             ก็เมื่อเราทั้งหลายไม่เห็นแม้ความประพฤติสงบของสมณพราหมณ์พวกนั้น
ที่ยิ่งขึ้นไป ฉะนั้นท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น จึงไม่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา
             เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ตรัสทำนองเดียวกัน
             ถ้าถูกถามว่า สมณพราหมณ์เช่นไร ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา
ก็ตอบนัยตรงกันข้าม
              ถ้าถูกถามว่า ก็อาการและความเป็นไปของผู้ปราศจากราคะแล้ว
หรือปฏิบัติเพื่อนำปราศราคะ เป็นผู้ปราศจากโทสะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อนำปราศโทสะ
เป็นผู้ปราศจากโมหะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อนำปราศโมหะ เป็นอย่างไร
             ท่านทั้งหลายพึงตอบว่า
             ความจริง ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น ย่อมเสพเฉพาะเสนาสนะอันสงัด คือป่าดง
เป็นที่ไม่มีรูปอันรู้ได้ด้วยจักษุ ซึ่งคนทั้งหลายเห็นแล้วๆ จะพึงยินดีเช่นนั้นเลย
             เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ตรัสทำนองเดียวกัน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อายตนะ_12

             เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านนครวินทะ
ได้กราบทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา แล้วขอถึงไตรสรณะตลอดชีวิต

ความคิดเห็นที่ 75
ฐานาฐานะ, 30 เมษายน เวลา 01:53 น.

GravityOfLove, 1 ชั่วโมงที่แล้ว
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สฬายตนวรรค
              ๘. นครวินเทยยสูตร ว่าด้วยชาวนครวินทะ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=10675&Z=10782&pagebreak=0
...
8:41 PM 4/29/2014

              ย่อความได้ดีครับ.
              เพิ่งสังเกตเห็นลิงค์ว่า ไม่มีตัวแปรสีพื้น lavender แล้ว
เพราะอะไรหนอ จึงไม่มีสีพื้น.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=10675&Z=10782&bgc=honeydew

ความคิดเห็นที่ 76
ฐานาฐานะ, 30 เมษายน เวลา 01:54 น.

             คำถามในนครวินเทยยสูตร ว่าด้วยชาวนครวินทะ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=10675&Z=10782

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 77
GravityOfLove, 30 เมษายน เวลา 07:54 น.

             เนื่องจากทำย่อความไว้ก่อนพักยาว จึงลืมแล้วค่ะว่าทำไมไม่มีสีพื้น
เมื่อไปดูย่อความพระสูตรหลักถัดไป ก็ไม่มีสีพื้นเหมือนกัน สันนิษฐานว่า
             พระสูตรหลักก่อนหน้านี้ คงคลิกปิดไปแล้ว (เช่น เพื่อรีสตาร์ทเครื่อง)
เมื่อมาคลิกเปิดใหม่ อาจจะโดยคลิกจากลิงค์ของคุณฐานาฐานะ (ซึ่งไม่มีสีพื้น)
ทำให้ไม่มีสีพื้น
             และคงเห็นว่าเนื้อความพระไตรปิฎกไม่ยาว คงใช้เวลาอ่านไม่มากนัก
จึงไม่ได้ทำสีพื้น
             เมื่ออ่านพระสูตรนี้จบ แล้วคลิกลูกศรพระสูตรหลักถัดไป ก็พลอยไม่มีสีพื้นด้วย
เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ
             ถ้าพระสูตรหลักเดิมมีสีพื้นแล้ว พระสูตรหลักถัดไปที่คลิกไปด้วยลูกศร
ก็จะคงสีพื้นไว้อย่างนั้นค่ะ

             ตอบคำถามในนครวินเทยยสูตร ว่าด้วยชาวนครวินทะ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=10675&Z=10782

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. สมณพราหมณ์เช่นไรไม่ควรสักการะ และควรสักการะ
             ๒. อาการและความเป็นไป ของท่านผู้ปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะ หรือ
ผู้ปฏิบัติเพื่อความปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะ
             ๓. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราเองยังไม่มองเห็นรูปอย่างอื่น
แม้สักรูปเดียวที่ยึดจิตชายตั้งอยู่อย่างนี้ เหมือนรูปหญิงนี้เลย
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=20&item=2#2

ความคิดเห็นที่ 78
ฐานาฐานะ, 30 เมษายน เวลา 18:17 น.

GravityOfLove, 10 ชั่วโมงที่แล้ว
...
7:54 AM 4/30/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ.
             พระสูตรนี้ เป็นพระสูตรในมัชฌิมนิกาย
             มัชฌิมนิกาย นิกายที่ ๒ แห่งพระสุตตันตปิฎก มีพระสูตรยาวปานกลาง ๑๕๒ สูตร
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=มัชฌิมนิกาย

             แต่มีเนื้อความภาษาไทยสั้น เพราะการย่อ กล่าวคือ
             อายตนะ 6 นั้นโดยแสดงอายตนะแรกเท่านั้น จากนั้น
จึงแสดงอายตนะที่เหลือด้วยการย่อ จึงมีเนื้อความสั้น.

ความคิดเห็นที่ 79
ฐานาฐานะ, 30 เมษายน เวลา 18:19 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า นครวินเทยยสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=10675&Z=10782

              พระสูตรหลักถัดไป คือ ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร [พระสูตรที่ 51].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=10783&Z=10911
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=837

ความคิดเห็นที่ 80
GravityOfLove, 30 เมษายน เวลา 22:14 น.

             ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=837&bgc=honeydew
             กรุณาอธิบายค่ะ
             การพิจารณาต่างๆ ของภิกษุต่างรูปกัน ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 81
ฐานาฐานะ, 1 พฤษภาคม เวลา 01:50 น.

GravityOfLove, 41 นาทีที่แล้ว
...
10:14 PM 4/30/2014

              อรรถกถาปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=837

              อธิบายว่า
              ไม่ค่อยเข้าใจนัก เพราะเนื้อความสั้น
              สันนิษฐานว่า ภิกษุแต่ละรูป อาจจะพิจารณากิเลสหมวดต่างกัน
เช่น กามคุณ 5 และนิวรณ์ 5 เป็นต้น
              หรือแม้ในหมวดเดียวกัน ก็อาจพิจารณาในข้อต่างกัน เช่น
              บางรูปพิจารณาเห็นกามคุณในรูปารมณ์กำเริบ บางรูปพิจารณา
สัททารมณ์กำเริบเป็นต้น
              บางรูปพิจารณานิวรณ์ในข้อกามฉันทะครอบงำ บางรูปพิจารณา
เห็นพยาบาทครอบงำอยู่เป็นต้น.
              บางรูปพิจารณากิเลสในกามคุณกำเริบ เจริญอนาคามิมรรคให้เกิดขึ้น
แล้วพิจารณาอนาคามิผล จากนั้นการพิจารณาเพื่อเจริญอรหัตมรรคต่อไป.
              บางรูปพิจารณาตัดกิเลสทั้งหลายจบสิ้นด้วยอรหัตตมรรคแล้ว
จึงพิจารณากิเลสทั้งหลายว่า เราไม่มีกิเลสแล้ว.
              เป็นการสันนิษฐานเท่านั้น.

ย้ายไปที่
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 05 พฤษภาคม 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 19:54:40 น.
Counter : 368 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



พฤษภาคม 2557

 
 
 
 
1
2
3
4
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
All Blog