27.6 พระสูตรหลักถัดไป คือภัทเทกรัตตสูตร [พระสูตรที่ 31]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
27.5 พระสูตรหลักถัดไป คือภัทเทกรัตตสูตร [พระสูตรที่ 31]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=26-03-2014&group=3&gblog=36

ความคิดเห็นที่ 6-62
ฐานาฐานะ, 27 กุมภาพันธ์ เวลา 23:07 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า มหากัมมวิภังคสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7799&Z=8027

              พระสูตรหลักถัดไป คือ สฬายตนวิภังคสูตร [พระสูตรที่ 37].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              สฬายตนวิภังคสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=8028&Z=8266
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=617

              อุทเทสวิภังคสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=8267&Z=8510
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=638

              อรณวิภังคสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=8511&Z=8747
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=653

              ธาตุวิภังคสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=8748&Z=9019
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=673

              สัจจวิภังคสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=9020&Z=9160
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=698

              ทักขิณาวิภังคสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=9161&Z=9310
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=706

ความคิดเห็นที่ 6-63
GravityOfLove, 27 กุมภาพันธ์ เวลา 23:15 น.

             คำถามสฬายตนวิภังคสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=8028&Z=8266

             ๑. โสมนัสอาศัยเรือน ๖ คือ
บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ
เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตนได้เฉพาะ หรือ
หวนระลึกถึงรูปที่เคยได้เฉพาะในก่อน อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไป
แล้ว ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเรือน
             โทมนัสอาศัยเรือน ๖ คือ
บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่
น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตนไม่ได้
เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงรูปที่ไม่เคยได้เฉพาะในก่อน อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว
แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโทมนัส โทมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเรือน
             อุเบกขาอาศัยเรือน ๖ คือ
เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้นแก่ปุถุชนคนโง่เขลา ยังไม่ชนะกิเลส ยังไม่
ชนะวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ เป็นคนหนาแน่น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่
ล่วงเลยรูปไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเรือน
             พูดง่ายๆ ว่าอย่างไรคะ
             ๒. - เหล่าสาวกย่อมไม่ฟังด้วยดี และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา
             ในข้อนั้น ตถาคตไม่เป็นผู้ชื่นชม ไม่เสวยความชื่นชม และไม่ระคายเคือง
             -  เหล่าสาวกบางพวกย่อมไม่ฟังด้วยดี และประพฤติหลีกเลี่ยง
คำสอนของศาสดา บางพวกย่อมฟังด้วยดี ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา
             ในข้อนั้น ตถาคตไม่เป็นผู้ชื่นชม ไม่เสวยความชื่นชม ทั้งไม่เป็นผู้ไม่ชื่นชม
ไม่เสวยความไม่ชื่นชม เป็นผู้วางเฉย ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่
             - เหล่าสาวกย่อมฟังด้วยดี ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา
             ในข้อนั้น ตถาคตเป็นผู้ชื่นชม เสวยความชื่นชม และไม่ระคายเคือง
ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่
             พูดง่ายๆ ว่าอย่างไรคะ
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-64
ฐานาฐานะ, 28 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 23:58 น.

GravityOfLove, 1 นาทีที่แล้ว
              คำถามสฬายตนวิภังคสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=8028&Z=8266

              ๑. โสมนัสอาศัยเรือน ๖ คือ ...
              โทมนัสอาศัยเรือน ๖ คือ ...
              อุเบกขาอาศัยเรือน ๖ คือ ...

              ตอบว่า พูดง่ายๆ ว่า
              โสมนัสอาศัยเรือน ๖ อาจใช้คำว่า
              ความสุขใจ เพราะได้กามคุณที่อยากได้ ที่น่าปรารถนา
              ความสุขใจแบบผู้บริโภคกาม คำนี้ก็น่าจะใช้ได้
              ความสุขใจแบบบ้านๆ.

              โทมนัสอาศัยเรือน ๖ อาจใช้คำว่า
              ความเสียใจเศร้าโศก เพราะอยากได้กามคุณ แต่ไม่ได้ตามที่หวัง.

              อุเบกขาอาศัยเรือน ๖ อาจใช้คำว่า
              ความเฉยแบบไม่รู้เรื่องอะไร ไม่รู้เท่าทันเหตุการณ์ ไม่รู้ทันในอารมณ์
              อุปมาเหมือนคนที่จะเป็นกรรมการตัดสินความให้ยุติธรรมได้
ต้องเป็นกลาง คือไม่ลำเอียงไปในทางชอบหรือไม่ชอบ
              แต่ว่า เพียงแค่ไม่ลำเอียงตามที่กล่าวเท่านั้น ยังไม่พอ
              เพราะว่า คนโง่เขลาที่ไม่รู้อะไรๆ เลย เช่นกล่าวชมก็ไม่เข้าใจ
กล่าวด่าก็ไม่เข้าใจ กล่าวจริงกล่าวเท็จก็ไม่รู้ทัน แม้ไม่ลำเอียงในทางชอบไม่ชอบ
ก็ไม่ควรตัดสินความ เพราะไม่อาจให้คดียุติโดยธรรมได้.
------------------------------------------------------------------------------------------

              ๒. - เหล่าสาวกย่อมไม่ฟังด้วยดี และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา
              ในข้อนั้น ตถาคตไม่เป็นผู้ชื่นชม ไม่เสวยความชื่นชม และไม่ระคายเคือง
              -  เหล่าสาวกบางพวกย่อมไม่ฟังด้วยดี และประพฤติหลีกเลี่ยง
คำสอนของศาสดา บางพวกย่อมฟังด้วยดี ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา
              ในข้อนั้น ตถาคตไม่เป็นผู้ชื่นชม ไม่เสวยความชื่นชม ทั้งไม่เป็นผู้ไม่ชื่นชม
ไม่เสวยความไม่ชื่นชม เป็นผู้วางเฉย ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่
              - เหล่าสาวกย่อมฟังด้วยดี ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา
              ในข้อนั้น ตถาคตเป็นผู้ชื่นชม เสวยความชื่นชม และไม่ระคายเคือง
ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่
              พูดง่ายๆ ว่าอย่างไรคะ
              สันนิษฐานว่า
              ถ้าสาวกไม่ใส่ใจก็ฟัง :-
              ก็ไม่ดีใจว่า สาวกไม่ฟังเราก็เป็นการดี (จะได้ไม่ต้องสอนให้ฟังอีก ภาระของเราก็น้อยลง)
              และไม่เสียใจอะไรๆ ว่า คำสอนของเราดีแท้ๆ พวกนี้กลับไม่ฟัง เห็นเราเป็นอะไรกัน?
              ถ้าสาวกบางพวกฟัง บางพวกไม่ฟัง :-
              น่าจะคล้ายๆ ข้อแรก คือ ไม่ดีใจอะไรๆ วางเฉยอยู่.
              ถ้าสาวกตั้งใจฟังดี ฯลฯ :-
              ก็ชื่นชมว่า เมื่อฟังด้วยดี สาวกเหล่านั้นจะได้ประโยชน์ตามที่ปฏิบัติ
ไม่ได้ชื่นชม หรือหลงใหลไปว่า สาวกนั้นจะทำการสักการะสรรเสริญต่อเรา ฯ
เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่.

              โดยนัยหลักๆ ก็น่าจะเป็นข้อแรกและข้อสุดท้าย คือ
              ไม่ฟังก็ไม่ได้ดีใจเสียใจอะไรๆ เลย วางเฉยอยู่ว่า สิ่งที่ศาสดาพึงทำ เราทำแล้ว
              ถ้าฟังด้วยดีเป็นต้น ก็ชื่นชมว่า เขาจะได้รับของการปฏิบัตินั้นเอง.

ความคิดเห็นที่ 6-65
GravityOfLove, 1 มีนาคม เวลา 20:24 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-66
GravityOfLove, 1 มีนาคม เวลา 21:31 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ วิภังควรรค
             ๓๗. สฬายตนวิภังคสูตร ว่าด้วยการจำแนกอายตนะ ๖ ประการ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=8028&Z=8266&bgc=whitesmoke&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสแสดง
สฬายตนวิภังค์ ดังนี้
             อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ หมวดวิญญาณ ๖ หมวดผัสสะ ๖
ความนึกหน่วงของใจ (มโนปวิจาร ความท่องเที่ยวไปแห่งใจ หมายถึง
วิตกและวิจาร) ๑๘ ทางดำเนินของสัตว์ (สัตตบท) ๓๖
             ใน ๓๖ นั้น พวกเธอจงอาศัยทางดำเนินของสัตว์นี้ (เนกขัมมะหรือวิปัสสนา/
วิวัฏฏบท ๑๘) ละทางดำเนินของสัตว์นี้ (อาศัยเรือนหรือกามคุณ/วัฏฏบท ๑๘)
             และพึงทราบการตั้งสติ ๓ ประการ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า
เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ อันเราเรียกว่าสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ยอดเยี่ยมกว่า
อาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย
             นี้เป็นอุเทศแห่งสฬายตนวิภังค์
             (อุทเทส ในที่นี้หมายถึงบทมาติกาหรือหัวข้อธรรม
             วิภังค์ ในที่นี้หมายถึงการจำแนกเนื้อความให้พิสดาร)

             ๑. อายตนะภายใน ๖ คือ
             จักษุ โสต ฆานะ ชิวหา กาย มโน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อายตนะภายใน_6

             ๒. อายตนะภายนอก ๖ คือ
             รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อายตนะภายนอก_6

             ๓. วิญญาณ ๖ คือ
             จักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
มโนวิญญาณ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิญญาณ_6

             ๔. ผัสสะ ๖ คือ
             จักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ผัสสะ_6

             ๕. ความนึกหน่วงของใจ ๑๘ คือ
             เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ใจย่อมนึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้งแห่ง
(๑) โสมนัส (๒) โทมนัส (๓) อุเบกขา
             เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ตรัสทำนองเดียวกัน
             เป็นความนึกหน่วงฝ่ายโสมนัส ๖ ฝ่ายโทมนัส ๖ ฝ่ายอุเบกขา ๖
             (อายตนะ 6 x เวทนา 3 = 18)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=เวทนา_3

             ๖. ทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ คือ
             โสมนัสอาศัยเรือน ๖ โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖
             โทมนัสอาศัยเรือน ๖ โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖
             อุเบกขาอาศัยเรือน ๖ อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖
             (อายตนะ 6 x เวทนา 3 x อาศัยเรือนหรือเนกขัมมะ 2 = 36)
             ๖.๑ โสมนัสอาศัยเรือน ๖ คือ
             บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา
ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตนได้เฉพาะ
             หรือหวนระลึกถึงรูปที่เคยได้เฉพาะในก่อน อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว
แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น
             เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ตรัสทำนองเดียวกัน
             ๖.๒ โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ คือ
             บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
และความดับของรูป แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริง
(ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาปัญญา) ว่า รูปในก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น
             เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ตรัสทำนองเดียวกัน
             ๖.๓ โทมนัสอาศัยเรือน ๖ คือ
             บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ
อันน่าปรารถนา ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตนไม่ได้เฉพาะ
             หรือหวนระลึกถึงรูปที่ไม่เคยได้เฉพาะในก่อน อันล่วงไปแล้ว
ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโทมนัส
             เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ตรัสทำนองเดียวกัน
             ๖.๔ โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ คือ
             บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
และความดับของรูป แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นว่า รูปในก่อน
และในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาแล้ว
ย่อมเข้าไปตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ (ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล)
             เมื่อเข้าไปตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ดังนี้ว่า เมื่อไร
ตัวเราจึงจักบรรลุอายตนะที่พระอริยะทั้งหลายได้บรรลุอยู่ในบัดนี้เล่า
             ย่อมเกิดโทมนัสเพราะความปรารถนาเป็นปัจจัยขึ้น
             (อายตนะ ในที่นี้หมายถึงเหตุ คือ อรหัตตผล การเห็นแจ้งอรหัตตผล
จตุตถฌาน หรืออุปจารแห่งจตุตถฌาน)
             เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ตรัสทำนองเดียวกัน
             ๖.๕ อุเบกขาอาศัยเรือน (อุเบกขาในอัญญาณ (ความไม่รู้)) ๖ คือ
             เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้นแก่ปุถุชนคนโง่เขลา
ยังไม่ชนะกิเลส ยังไม่ ชนะวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ เป็นคนหนาแน่น
(กิเลสหนา) อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยรูปไปได้
             เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ตรัสทำนองเดียวกัน
             ๖.๖ อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ (อุเบกขาประกอบด้วยวิปัสสนาญาณ) ๖ คือ
             บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
และความดับของรูป แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงว่า
รูปในก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยรูปไปได้
             เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ตรัสทำนองเดียวกัน

             ในทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั้น พวกเธอจงอาศัยทางดำเนินของสัตว์นี้
ละทางดำเนินของสัตว์นี้ (คือ)
             พวกเธอจงอาศัย คืออิงโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ
แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโสมนัสอาศัยเรือน ๖ นั้นๆ
             พวกเธอจงอาศัย คืออิงโทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ
แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโทมนัสอาศัยเรือน ๖ นั้นๆ
             พวกเธอจงอาศัย คืออิงอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ
แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาอาศัยเรือน ๖ นั้นๆ

             พวกเธอจงอาศัย คืออิงโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ
แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ
             พวกเธอจงอาศัย คืออิงอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ
แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ

             อุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ ก็มี
อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งก็มี
             ๑. อุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ คือ
อุเบกขาที่มีในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ
             ๒. อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ
อุเบกขาที่อาศัยอากาสานัญจายตนะ อาศัยวิญญาณัญจายตนะ
อาศัยอากิญจัญญายตนะ อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะ
             ในอุเบกขา ๒ อย่าง พวกเธอจงอาศัย คืออิงอุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง
อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งนั้น
             แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ
             พวกเธอจงอาศัย คืออิงความเป็นผู้ไม่มีตัณหา (อตัมมยตา)
แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งนั้น
             (อตัมมยตา แปลว่า ความไม่มีตัณหา ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนา
ที่เป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากความยึดมั่นคือตัณหานั้น)

             การตั้งสติ (สติปัฏฐาน) ๓ ประการ
             การตั้งสติ ๓ ประการที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า
เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่
             ๑. ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์ แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย
             เหล่าสาวกย่อมไม่ฟังด้วยดี และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา
             ตถาคตไม่เป็นผู้ชื่นชม ไม่เสวยความชื่นชม และไม่ระคายเคือง
(ไม่เกิดโทสะ) ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่
             ๒. ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์ แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย
             เหล่าสาวกบางพวกย่อมไม่ฟังด้วยดี และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอน
ของศาสดา บางพวกย่อมฟังด้วยดี ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา
             ตถาคตไม่เป็นผู้ชื่นชม ไม่เสวยความชื่นชม ทั้งไม่เป็นผู้ไม่ชื่นชม
ไม่เสวยความไม่ชื่นชม เป็นผู้วางเฉย ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่
             ๓. ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์ แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย
             เหล่าสาวกย่อมฟังด้วยดี ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา
             ตถาคตเป็นผู้ชื่นชม เสวยความชื่นชม และไม่ระคายเคือง
(ไม่เกิดราคะ) ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่

             ศาสดาที่เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย
             ช้าง ม้า โคที่ควรฝึก อันอาจารย์ฝึกให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเท่านั้น
             แต่บุรุษที่ควรฝึก อันตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธสอนให้วิ่ง
ย่อมวิ่งไปได้ทั่วทั้ง ๘ ทิศ คือ
             ๑. ผู้ที่มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลายได้
             ๒. ผู้ที่มีสัญญาในอรูปภายใน ย่อมเห็นรูปทั้งหลายภายนอกได้
             ๓. ย่อมเป็นผู้น้อมใจว่างามทั้งนั้น
             ๔. ย่อมเข้าอากาสานัญจายตนะอยู่ด้วยใส่ใจว่า อากาศหาที่สุดมิได้
เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่ใส่ใจนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
             ๕. ย่อมเข้าวิญญาณัญจายตนะอยู่ด้วยใส่ใจว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง
             ๖. ย่อมเข้าอากิญจัญญายตนะอยู่ด้วยใส่ใจว่า ไม่มีสักน้อยหนึ่ง
เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง
             ๗. ย่อมเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะ
โดยประการทั้งปวง
             ๘. ย่อมเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ
โดยประการทั้งปวง
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิโมกข์_8

             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

[แก้ไขตาม #6-67]

ความคิดเห็นที่ 6-67
ฐานาฐานะ, 2 มีนาคม เวลา 01:36 น.

GravityOfLove, 1 นาทีที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ วิภังควรรค
             ๓๗. สฬายตนวิภังคสูตร ว่าด้วยการจำแนกอายตนะ ๖ ประการ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=8028&Z=8266&bgc=whitesmoke&pagebreak=0
...
9:29 PM 3/1/2014

             ย่อความได้ดีครับ มีข้อติงเล็กน้อย.
(๑) โสมนัส (๓) โทมนัส (๓) อุเบกขา
             แก้ไขเป็น
(๑) โสมนัส (๒) โทมนัส (๓) อุเบกขา

             อุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆก็มี
แก้ไขเป็น
             อุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ ก็มี

ความคิดเห็นที่ 6-68
ฐานาฐานะ, 2 มีนาคม เวลา 01:46 น.

             คำถามในสฬายตนวิภังคสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=8028&Z=8266

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             2. ในส่วนของนัยในข้อ 633 ถึง 636
             คุณ GravityOfLove พอจะจำได้หรือไม่ว่า นัยนี้ได้ปรากฏมาแล้ว
ในอรรถกถาพระสูตรหลักใดที่ได้ศึกษามาแล้ว?

ความคิดเห็นที่ 6-69
GravityOfLove, 2 มีนาคม เวลา 09:33 น.

             ตอบคำถามในสฬายตนวิภังคสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=8028&Z=8266

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสแสดงสฬายตนวิภังค์ ได้แก่ความนึกหน่วงของใจ ๑๘
ทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ เป็นต้น
             ๒. ให้อิงโสมนัส โทมนัส อุเบกขาที่อาศัยเนกขัมมะ
แล้วละโสมนัส โทมนัส อุเบกขาที่อาศัยเรือน
             ๓. ให้อิงโสมนัสที่อาศัยเนกขัมมะ แล้วละโทมนัสที่อาศัยเนกขัมมะ
             ให้อิงอุเบกขาที่อาศัยเนกขัมมะ แล้วละโสมนัสที่อาศัยเนกขัมมะ
             ๔. อุเบกขามี ๒ คืออุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ
(คืออุเบกขาที่มีในอายตนะ ๕)
             และอุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง (คืออรูป ๔)
             ให้อิงอุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง
แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ
             ให้อิงความเป็นผู้ไม่มีตัณหา
แล้วละอุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง
             (อุเบกขาอาศัยเรือน อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ - ไม่ล่วงรูป,
             อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง - ล่วงรูป)
             ๕. การตั้งสติ ๓ ประการ
             ๖. ศาสดาที่เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย
----------------------
             2. ในส่วนของนัยในข้อ 633 ถึง 636
             คุณ GravityOfLove พอจะจำได้หรือไม่ว่า นัยนี้ได้ปรากฏมาแล้ว
ในอรรถกถาพระสูตรหลักใดที่ได้ศึกษามาแล้ว?
             อรรถกถาโลหิจจสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=351#ตโยโจทนารหวณฺณนา

ความคิดเห็นที่ 6-70
ฐานาฐานะ, 2 มีนาคม เวลา 16:39 น.

GravityOfLove, 6 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามในสฬายตนวิภังคสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=8028&Z=8266
...
9:33 AM 3/2/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             แต่ว่า คำตอบข้อ 2 เกือบถูกเท่านั้น
             เฉลยว่า อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร และอรรถกถาสติปัฏฐานสูตร
             อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร [บางส่วน]
             คำว่า สติปัฏฐานทั้งหลาย ได้แก่ สติปัฏฐาน ๓ คืออารมณ์แห่งสติก็มี
ความที่พระบรมศาสดาทรงล่วงเลยความยินร้ายและยินดีในพระสาวกทั้งหลาย
ผู้ปฏิบัติ ๓ อย่างก็มี ตัวสติก็มี.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273&p=1

             อรรถกถาสติปัฏฐานสูตร [บางส่วน]
             บทว่า สติปัฏฐาน ได้แก่ สติปัฏฐาน ๓ อย่าง คือ อารมณ์แห่งสติ ๑
การที่พระศาสดาไม่ทรงดีพระทัย และเสียพระทัย ในเมื่อสาวกทั้งหลายปฏิบัติ
ในสติปัฏฐาน ๓ อย่าง ๑ สติ ๑.
...
             สติปัฏฐาน ๓ อย่าง คือการที่พระศาสดาไม่ทรงดีพระทัยและเสียพระทัย
ในเพราะสาวกทั้งหลายผู้ปฏิบัติในสติปัฏฐาน ๓ อย่าง ท่านเรียกว่า สติปัฏฐาน (เช่น)
ในพระพุทธพจน์แม้นี้ว่า พระศาสดาผู้ทรงเป็นพระอริยเจ้า เมื่อทรงซ่องเสพ
สิ่งที่พระอริยเจ้าซ่องเสพกัน ควรตามสอนหมู่คณะ ดังนี้.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=131&p=1#แก้สติปัฏฐาน

             อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร [บางส่วน]
             ความที่พระบรมศาสดาทรงล่วงเลยความยินร้าย และความยินดี
ในพระสาวกทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติ ๓ อย่าง เรียกว่า สติปัฏฐาน ได้ในบาลี
(สฬายตนวิภังสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์) นี้ว่า
             สติปัฏฐาน ๓ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นพระอริยะ ทรงเสพสติปัฏฐาน
ไรเล่า เมื่อทรงเสพสติปัฏฐาน ไรเล่า จึงเป็นพระศาสดา สมควรสอนพระสาวก ดังนี้.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273&p=1

             ข้อ 3 ที่ว่า
             ๓. ให้อิงโสมนัสที่อาศัยเนกขัมมะ แล้วละโทมนัสที่อาศัยเนกขัมมะ
             ขอให้อธิบายตามความเข้าใจให้เข้าใจด้วยภาษาง่ายๆ ว่า เป็นอย่างไร?

ความคิดเห็นที่ 6-71
GravityOfLove, 2 มีนาคม เวลา 17:33 น.

ขอบพระคุณค่ะ
---------------
             โทมนัสที่อาศัยเนกขัมมะ คือเกิดโทมนัสว่า ทำไมเราไม่บรรลุมรรคผล
ก็เกิดความเพียรที่จะบรรลุมรรคผล
             คือแรงบันดาลใจให้เกิดความเพียร มาจากความโทมนัส ไม่ได้มาจากโสมนัส
             ความเพียรที่มาจากโสมนัส ควรทำให้บังเกิดมากกว่า

ย้ายไปที่
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 26 มีนาคม 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 18:41:00 น.
Counter : 633 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มีนาคม 2557

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
27
28
29
30
31
 
 
26 มีนาคม 2557
All Blog