25.9 พระสูตรหลักถัดไป คืออนุปทสูตร [พระสูตรที่ 11]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
25.8 พระสูตรหลักถัดไป คืออนุปทสูตร [พระสูตรที่ 11]

ความคิดเห็นที่ 3-96
GravityOfLove, 11 มกราคม เวลา 19:19 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ อนุปทวรรค
             ๑๙. กายคตาสติสูตร ว่าด้วยวิธีเจริญกายคตาสติ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4182&Z=4496&bgc=whitesmoke&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกันกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้ว
นั่งประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา เกิดข้อสนทนากันขึ้นในระหว่างดังนี้ว่า
             น่าอัศจรรย์จริง ไม่น่าเป็นไปได้เลย พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสกายคตาสติที่ภิกษุเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว ว่ามีผลมาก มีอานิสงส์มาก
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=กายคตาสติ

วิธีเจริญกายคตาสติ
             ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากสถานที่ทรงหลีกเร้นอยู่ ในเวลาเย็น
เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลานั้น ครั้นแล้วจึงประทับนั่ง แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า
สนทนาเรื่องอะไรค้างอยู่ในระหว่าง
             เมื่อภิกษุเหล่านั้นทูลเล่าให้ฟัง พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             กายคตาสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก คือ
             ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า
             ๑. ย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
             เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจ
เข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
             เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า
หายใจเข้าสั้น
             สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า
             สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกาย
สังขาร หายใจเข้า
             เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้
ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือน (ความดำริอันแล่นไปอาศัยกามคุณ ๕) เสียได้
             เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่
แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กามคุณ_5

             ๒. ภิกษุเดินอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังเดิน หรือยืนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังยืน หรือนั่งอยู่
ก็รู้ชัดว่ากำลังนั่ง หรือนอนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนอน หรือเธอทรงกายโดยอาการใดๆ อยู่
ก็รู้ชัดว่า กำลังทรงกายโดยอาการนั้นๆ
             เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท ... เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
             ๓. ภิกษุย่อมเป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไปและถอยกลับ
ในเวลาแลดู และเหลียวดู ในเวลางอแขน และเหยียดแขน ในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิ
บาตร และจีวร ในเวลา ฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม ในเวลาถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ
ในเวลา เดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่ง
             เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท ... เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
             ๔. ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้ เต็มด้วยของไม่สะอาด มีอยู่ในกายนี้
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต
ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ
มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
             เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท ... เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ทวัตติงสาการ

             ๕. ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้ ประกอบด้วยธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ
ธาตุลม
             เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท ... เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
             ๖. ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้าในสภาพต่างๆ  จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบ
กายนี้ว่า แม้กายนี้ ก็เหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้
             เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท ... เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อสุภะ_10

             ๗. ภิกษุสงัดจากกาม สงัด จากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน
             เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท ... เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
             ๘. ภิกษุเข้าทุติยฌาน
             เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท ... เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
             ๙. ภิกษุเข้าตติยฌาน
             เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท ... เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
             ๑๐. ภิกษุเข้าจตุตถฌาน
             เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท ... เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฌาน_4

อานิสงส์การเจริญกายคตาสติ
             ภิกษุที่เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ชื่อว่าเจริญและทำให้มาก
ซึ่งกุศลธรรมส่วนวิชชา (ในที่นี้หมายถึงธรรมที่สัมปยุตด้วยวิชชา ๘) อย่างใดอย่างหนึ่ง
อันรวมอยู่ในภายในด้วย (หยั่งลงในจิต)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิชชา_8

             ภิกษุที่ไม่เจริญ ไม่ทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง
ย่อมได้อารมณ์ (ในที่นี้หมายถึงปัจจัยที่ให้เกิดกิเลส)
             ภิกษุที่เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์  
             ภิกษุที่เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว เธอย่อมถึงความเป็นผู้สามารถ
ในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง (ทำให้แจ้งด้วยอภิญญา) อันเป็นแดนที่ตน
น้อมจิตไป โดยการทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งนั้นๆ ได้ ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ
             กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมาก เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว ให้ดำรงอยู่เนืองๆ แล้ว อบรมแล้ว
ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการนี้ คือ
             (๑) อดกลั้นต่อความไม่ยินดีและความยินดีได้ ไม่ถูกความไม่ยินดี
ครอบงำ ย่อมครอบงำความไม่ยินดีที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย
             (๒) อดกลั้นต่อภัยและความหวาดกลัวได้ ไม่ถูกภัยและความหวาดกลัว
ครอบงำ ย่อมครอบงำภัยและความหวาดกลัว ที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย
             (๓) อดทน คือเป็นผู้มีปรกติอดกลั้นต่อความหนาว ความร้อน ความหิว
ความกระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และ สัตว์เสือnคลาน ต่อ
ทำนองคำพูดที่กล่าวร้าย ใส่ร้าย ต่อเวทนาประจำสรีระที่เกิดขึ้นแล้ว อันเป็น
ทุกข์กล้า เจ็บแสบ ไม่ใช่ความสำราญ ไม่เป็นที่ชอบใจ พอจะสังหารชีวิตได้
             (๔) เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเกิดมีในมหัคคตจิต เครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ไม่ยาก ไม่ลำบาก
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=มหัคคต&detail=on

             (๕) ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอเนกประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้
หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ
             (๖) ย่อมฟังเสียงทั้งสอง คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่ไกลและ
ที่ใกล้ได้ด้วยทิพยโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์
             (๗) ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น และบุคคลอื่นได้ ด้วยใจ คือ จิต
มีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ ฯลฯ จิตยังไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้น
             (๘) ย่อมระลึกถึงขันธ์ ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ คือ
ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง ฯลฯ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ
             (๙) ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ ฯลฯ ย่อมทราบชัด
หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม
             (๑๐) ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ
อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันอยู่
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อภิญญา_6

             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

ความคิดเห็นที่ 3-97
ฐานาฐานะ, 13 มกราคม เวลา 19:41 น.

GravityOfLove, 24 นาทีที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ อนุปทวรรค
             ๑๙. กายคตาสติสูตร ว่าด้วยวิธีเจริญกายคตาสติ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4182&Z=4496&bgc=whitesmoke&pagebreak=0
...
7:19 PM 1/11/2014

             ย่อความได้ดีครับ.
             คำว่า สัตว์เสือnคลาน ถ้าไม่ผ่านระบบกรองคำ
ให้ใช้คำว่า สัตว์เลื้อยคลาน แทนได้.

ความคิดเห็นที่ 3-98
ฐานาฐานะ, 13 มกราคม เวลา 19:53 น.

             คำถามในกายคตาสติสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4182&Z=4496

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             2. การเจริญกายคตาสติในพระสูตรนี้ มีทั้งหมดกี่หมด?
             3. อานิสงส์ 3 ข้อแรก คือ
             (๑) อดกลั้นต่อความไม่ยินดีและความยินดีได้ ไม่ถูกความไม่ยินดี
ครอบงำ ย่อมครอบงำความไม่ยินดีที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย ฯ
             (๒) อดกลั้นต่อภัยและความหวาดกลัวได้ ไม่ถูกภัยและความหวาดกลัว
ครอบงำ ย่อมครอบงำภัยและความหวาดกลัว ที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย ฯ
             (๓) อดทน คือเป็นผู้มีปรกติอดกลั้นต่อความหนาว ความร้อน ความหิว
ความกระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และ สัตว์เสือnคลาน ต่อ
ทำนองคำพูดที่กล่าวร้าย ใส่ร้าย ต่อเวทนาประจำสรีระที่เกิดขึ้นแล้ว อันเป็น
ทุกข์กล้า เจ็บแสบ ไม่ใช่ความสำราญ ไม่เป็นที่ชอบใจ พอจะสังหารชีวิตได้ ฯ
<<<
             คุณ GravityOfLove เลื่อมใสข้อใดมากที่สุด (แสดง 2 ข้อ)
และเพราะเหตุใด?

ความคิดเห็นที่ 3-99
GravityOfLove, 13 มกราคม เวลา 20:32 น.

             ตอบคำถามในกายคตาสติสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4182&Z=4496

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. วิธีเจริญกายคตาสติที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก
             ๒. อานิสงส์การเจริญกายคตาสติ
             ๓. ภิกษุที่ไม่เจริญ ไม่ทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง
ย่อมได้อารมณ์
             ภิกษุที่เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์   
---------
             2. การเจริญกายคตาสติในพระสูตรนี้ มีทั้งหมดกี่หมด?
             มีทั้งหมด ๖ หมวด คือ
             ๑.  อานาปานสติ
             ๒. กำหนดรู้ทันอิริยาบถ
             ๓. สัมปชัญญะ
             ๔. ปฏิกูลมนสิการ
             ๕. ธาตุมนสิการ
             ๖. นวสีวถิกา
---------
             3. อานิสงส์ 3 ข้อแรก คือ ...
             คุณ GravityOfLove เลื่อมใสข้อใดมากที่สุด (แสดง 2 ข้อ)
และเพราะเหตุใด?
             เลื่อมใสข้อที่ ๑ และ ๒ มากที่สุด เพราะเป็นเรื่องทางจิตใจ
เป็นการต่อสู้กับจิตใจตนเอง ซึ่งขจัดได้ยากกว่าข้อ ๓ ซึ่งเป็นเรื่องทางร่างกาย
หรือเป็นเรื่องที่เกิดจากคนอื่น

ความคิดเห็นที่ 3-100
ฐานาฐานะ, 13 มกราคม เวลา 21:15 น.

GravityOfLove, 25 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในกายคตาสติสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4182&Z=4496
...
8:31 PM 1/13/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             2. การเจริญกายคตาสติในพระสูตรนี้ มีทั้งหมดกี่หมด?
แก้ไขเป็น
             2. การเจริญกายคตาสติในพระสูตรนี้ มีทั้งหมดกี่หมวด?
             มีทั้งหมด ๖ หมวด คือ
             ควรเป็น 7 หมวดครับ หมวดที่ 7 คือ หมวดฌาน 4.
             โดยในข้อ 303-306 นั้นมีพระพุทธดำรัสว่า
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
//84000.org/tipitaka/read/?14/303-306

             3. อานิสงส์ 3 ข้อแรก คือ ...
             คุณ GravityOfLove เลื่อมใสข้อใดมากที่สุด (แสดง 2 ข้อ)
และเพราะเหตุใด?
             เลื่อมใสข้อที่ ๑ และ ๒ มากที่สุด เพราะเป็นเรื่องทางจิตใจ
เป็นการต่อสู้กับจิตใจตนเอง ซึ่งขจัดได้ยากกว่าข้อ ๓ ซึ่งเป็นเรื่องทางร่างกาย
หรือเป็นเรื่องที่เกิดจากคนอื่น
<<<
             สำหรับคำถามข้อ 3 นั้น ผมก็เลื่อมใสข้อ 1 และ 2 เหมือนกัน
แต่เป็นเพราะข้อ 1 นั้นเป็นการป้องกันตนเองจากความยินดีและไม่ยินดี
             กล่าวคือ เมื่อถูกความยินดีครอบงำ ก็ย่อมลักทรัพย์ ประพฤติมิจฉาจาร
และถึงฉันทาคติได้ และเมื่อถูกความไม่ยินดีครอบงำ ก็ย่อมทำปาณาติบาต
กล่าวคำหยาบคาย พยาบาท และถึงโทสาคติได้.
             อันเป็นเหตุให้ทุศีลได้ หรือหมกหมุ่นในอกุศลธรรมต่างๆ ได้.
             ข้อ 2 เป็นการป้องกันภยาคติได้ และเมื่อไม่ถูกความกลัวครอบงำง่ายๆ
ก็แสวงหาความสงบใจต่อไปได้.
             สำหรับข้อ 3 นั้น บางส่วน คือการอดกลั้นต่อทำนองคำพูดที่กล่าวร้าย
ใส่ร้าย น่าจะเป็นเรื่องทางจิตใจ มากกว่าทางกาย.
             ข้อ 3 น่าจะเป็นการฝึกฝนยิ่งๆ ขึ้นไป เช่น เมื่อกระทำความเพียร
ในสมณธรรม แต่ว่าไม่สามารถอดกลั้นต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ฯลฯ
ก็ไม่สามารถฝึกฝนให้ยิ่งๆ ขึ้นไปได้.
             ดังนั้น จึงควรมีอานิสงส์ 2 ข้อเบื้องต้น เป็นพื้นฐานก่อน.

ความคิดเห็นที่ 3-101
GravityOfLove, 13 มกราคม เวลา 21:20 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-102
ฐานาฐานะ, 13 มกราคม เวลา 21:28 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า กายคตาสติสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4182&Z=4496

              พระสูตรหลักถัดไป คือสังขารูปปัตติสูตร [พระสูตรที่ 20].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
              สังขารูปปัตติสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4497&Z=4713
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=318

              จูฬสุญญตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4714&Z=4845
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=333

ความคิดเห็นที่ 3-103
GravityOfLove, 14 มกราคม เวลา 18:22 น.

              คำถามสังขารูปปัตติสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4497&Z=4713
             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. ความว่า ความเกิดขึ้นแห่งสังขารทั้งหลายเท่านั้น ชื่อว่า สงฺขารูปปตฺติ ไม่ใช่การอุปบัติของสัตว์ ของบุคคล. อีกอย่างหนึ่ง อุปปัตติภพ คือความอุบัติแห่งขันธ์ทั้งหลายด้วยปุญญาภิสังขาร ชื่อว่า สงฺขารูปปตฺติ.
             ๒. บุคคลใดมีธรรม ๕ ประการ แต่ไม่มีความปรารถนา คติของบุคคลนั้นไม่ต่อเนื่องกัน. บุคคลใดมีความปรารถนา แต่ไม่มีธรรม ๕ ประการ คติแม้ของบุคคลนั้นก็ไม่ต่อเนื่องกัน. บุคคลเหล่าใดมีธรรม ๕ ประการและความปรารถนาทั้งสองอย่าง คติของบุคคลเหล่านั้นต่อเนื่องกัน. อุปมาเหมือนบุคคลยิงลูกศรไปในห้วงอากาศ กำหนดไม่ได้ว่าจะเอาปลาย หรือตรงกลาง หรือเอาโคนลงฉันใด การถือปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นก็ฉันนั้น เอาแน่นอนไม่ได้ เพราะฉะนั้น กระทำกุศลกรรมแล้วทำความปรารถนาในที่แห่งหนึ่งย่อมควร.
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-104
ฐานาฐานะ, 15 มกราคม เวลา 00:10 น.

GravityOfLove, 1 ชั่วโมงที่แล้ว
              คำถามสังขารูปปัตติสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4497&Z=4713
              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๑. ความว่า ความเกิดขึ้นแห่งสังขารทั้งหลายเท่านั้น ชื่อว่า สงฺขารูปปตฺติ
ไม่ใช่การอุปบัติของสัตว์ ของบุคคล. อีกอย่างหนึ่ง อุปปัตติภพ คือความอุบัติแห่งขันธ์
ทั้งหลายด้วยปุญญาภิสังขาร ชื่อว่า สงฺขารูปปตฺติ.
              อธิบายว่า
              พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงเหตุสำเร็จ
ความปรารถนา ๑- แก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังเหตุสำเร็จความปรารถนานั้น
จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว
พระพุทธเจ้าข้า ฯ
_________________________________________
@๑. จากศัพท์ว่า สงฺขารูปปตฺติ คำว่าสังขารในที่นี้หมายถึงความปรารถนา.
<<<<
              [๓๑๘] เอวมฺเม สุตํ เอกํ สมยํ ภควา สาวตฺถิยํ  วิหรติ
เชตวเน   อนาถปิณฺฑิกสฺส   อาราเม   ฯ   ตตฺร   โข   ภควา  ภิกฺขู
อามนฺเตสิ   ภิกฺขโวติ  ฯ  ภทนฺเตติ  เต  ภิกฺขู  ภควโต  ปจฺจสฺโสสุ ํ ฯ
ภควา  เอตทโวจ  สงฺขารูปปตฺตึ  โว  ภิกฺขเว  เทสิสฺสามิ  ๑- ตํ สุณาถ
สาธุกํ   มนสิกโรถ   ภาสิสฺสามีติ   ฯ   เอวํ  ภนฺเตติ  โข  เต  ภิกฺขู
ภควโต ปจฺจสฺโสสุ ํ  ฯ
_________________________________________
เชิงอรรถ: ๑ โป. ม. เทเสสฺสามิ ฯ
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=14&item=318&Roman=0
<<<<
              สันนิษฐานว่า
              นัยที่ 1 คือ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารทั้งหลายเท่านั้น ชื่อว่า สงฺขารูปปตฺติ
ไม่ใช่การอุปบัติของสัตว์ ของบุคคล.
              เป็นการกล่าวโดยปรมัตตล้วนๆ คือ สังขารทั้งหลาย ไม่กล่าวโดยความ
เป็นสัตว์บุคคล เช่นความเกิดของเทวดากามาวจรเป็นต้น.
              คำว่า สังขาร
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สังขาร#find12

              นัยที่ 2 คือ อีกอย่างหนึ่ง อุปปัตติภพ คือความอุบัติแห่งขันธ์ทั้งหลาย
ด้วยปุญญาภิสังขาร ชื่อว่า สงฺขารูปปตฺติ.
              เป็นการกล่าวระบุไปที่อภิสังขารในข้อปุญญาภิสังขาร หรือความจงใจ
ความจงใจที่ประกอบด้วยความปรารถนา เป็นเหตุในขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น
ในพระสูตรนี้ตรัสเฉพาะสุคติ.
              คำว่า อภิสังขาร
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อภิสังขาร

              ๒. บุคคลใดมีธรรม ๕ ประการ แต่ไม่มีความปรารถนา คติของบุคคลนั้น
ไม่ต่อเนื่องกัน. บุคคลใดมีความปรารถนา แต่ไม่มีธรรม ๕ ประการ คติแม้ของบุคคลนั้น
ก็ไม่ต่อเนื่องกัน. บุคคลเหล่าใดมีธรรม ๕ ประการและความปรารถนาทั้งสองอย่าง
คติของบุคคลเหล่านั้นต่อเนื่องกัน. อุปมาเหมือนบุคคลยิงลูกศรไปในห้วงอากาศ
กำหนดไม่ได้ว่าจะเอาปลาย หรือตรงกลาง หรือเอาโคนลงฉันใด การถือปฏิสนธิของ
สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นก็ฉันนั้น เอาแน่นอนไม่ได้ เพราะฉะนั้น กระทำกุศลกรรม
แล้วทำความปรารถนาในที่แห่งหนึ่งย่อมควร.
              ขอบพระคุณค่ะ
6:22 PM 1/14/2014

              อธิบายว่า สันนิษฐานว่า
              ถึงแม้จะประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ แต่ว่าไม่มีความปรารถนา
หรือความปรารถนาไม่ชัดเจน ไม่แรงกล้าหรือความปรารถนาในภพนั้นไม่แรงกล้า
              บุคคลนั้นอาจจะอุบัติในที่อื่นๆ หรือตามความปรารถนาอื่น
ซึ่งภพอาจจะสูงหรือต่ำกว่าภพที่หมายถึงก็ได้.
              เช่น บางคนได้ยินได้ฟังมาว่า พระโพธิสัตว์มักจะอุบัติในชั้นดุสิต
แต่ก็ตั้งความปรารถนาเพียงเล็กน้อย หรือไม่ตั้งไว้เลย ดังนี้แล้ว
ก็อาจจะอุบัติในภพอื่นที่สูงกว่าหรือต่ำกว่าได้.
              คำว่า ต่อเนื่องกัน อาจหมายถึง อุบัติซ้ำๆ ในภพนั้นก็ได้
หรืออุบัติในภพถัดไปต่อจากภพที่กล่าวถึงก็ได้.
              ส่วนบุคคลที่ไม่ประกอบด้วยธรรม 5 ประการอันเป็นเหตุ
กล่าวคือ พวกที่ทำอกุศลธรรม เช่น ทุศีล ตระหนี่ ฯ แม้จะปรารถนา
ก็ไม่อาจสำเร็จได้เลย.
              คำว่า เพราะฉะนั้น กระทำกุศลกรรมแล้วทำความปรารถนา
ในที่แห่งหนึ่งย่อมควร. คำนี้เป็นเหมือนเมื่อทำเหตุคือธรรม ๕ ประการแล้ว
ควรตั้งความปรารถนาไว้ด้วย เหมือนเครื่องนำทาง เครื่องเตือนใจ
เพราะทำให้มั่นคง จะเตือนใจได้.
              เรื่องการทำความปรารถนานี้ จำได้ว่า
              พระยายมตั้งความปรารถนาไว้ชัดเจนว่า
              [๕๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พระยายมได้มีความดำริอย่างนี้ว่า
              พ่อเจ้าประคุณเอ๋ย เป็นอันว่า เหล่าสัตว์ที่ทำกรรมลามกไว้ในโลก ย่อมถูก
นายนิรยบาลลงกรรมกรณ์ ต่างชนิดเห็นปานนี้
              โอหนอ ขอเราพึงได้ความเป็นมนุษย์
              ขอพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธพึงเสด็จอุบัติในโลก
              ขอเราพึงได้นั่งใกล้พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
              ขอพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นพึงทรงแสดงธรรมแก่เรา
              และขอเราพึงรู้ทั่วถึงธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเถิด ฯ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=6750&Z=7030

              เวลาทำบุญแล้วตั้งความปรารถนาอย่างนี้ไว้บ้าง ก็เป็นการดี
              เช่น ด้วยบุญนี้ เราจงได้เป็นมนุษย์
              ขอพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธพึงเสด็จอุบัติในโลก
              ขอเราพึงได้นั่งใกล้พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
              ขอพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นพึงทรงแสดงธรรมแก่เรา
              และขอเราพึงรู้ทั่วถึงธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเถิด
              ข้อสุดท้าย เป็นความปรารถนาถึงความสัมฤทธิ์ผลเลยทีเดียว.

ความคิดเห็นที่ 3-105
GravityOfLove, 15 มกราคม เวลา 19:57 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ย้ายไปที
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 22 มกราคม 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 13:31:29 น.
Counter : 473 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มกราคม 2557

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog