ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
22 ธันวาคม 2551
 
All Blogs
 

ชูแผนวาระชาติยกคุณภาพ"วิทย์-คณิต"

รับ"ปรนัย"ที่วัดผลเที่ยงตรงออกยาก สพฐ.ปรับข้อสอบใหม่เน้นวิเคราะห์



ความ คืบหน้ากรณีสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เปิดเผยผลการวิจัยโครงการศึกษาแนวโน้มการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ร่วมกับนานาชาติ ปี 2550 หรือ TIMSS-2007 ซึ่งมี 59 ประเทศ และ 8 รัฐเข้าร่วม โดยพบว่าเด็กไทยอ่อนวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โดยผลคะแนนลดลงกว่าการ ประเมินในรอบที่ผ่านมานั้น

เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม นายปรีชาญ เดชศรี ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สสวท. เปิดเผยว่า กรณีที่หลายฝ่ายวิจารณ์ว่าการตั้งเป้าที่จะยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของเด็กไทยให้สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยนานาชาติในอีก 10 ปี เป็นไปได้ยากนั้น เป็นการตั้งเป้าเพื่อจะได้ไปถึงจุดหมาย ซึ่งเป็นความท้าทาย แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ลำพัง สสวท.ทำคงไม่สำเร็จ โดยจะต้องมีแผนวาระแห่งชาติที่จะยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนคณิต วิทย์ และเทคโนโลยี โดยบรรจุแนวทางการแก้ไขปัญหาทุกเรื่อง ทั้งครู ผู้บริหาร นักเรียน ศึกษานิเทศก์ แหล่งเรียนรู้ ฯลฯ ที่มองกันว่าการใช้ข้อสอบปรนัยวัดผลเด็ก ไม่ได้พัฒนาระบบคิด และทำลายเด็กนั้น ส่วนตัวมองว่าการวัดผลเป็นเพียงไม้บรรทัดที่ทำให้รู้ว่าอยู่ตรงจุดไหน แต่การจะทำให้เด็กดีขึ้น ต้องอาศัยกระบวนการอีกมาก ทั้งครู ผู้บริหาร ตัวนักเรียนเอง ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ข้อสอบประเภทที่เรียกว่าเลือกตอบ หรือปรนัยนั้น ถ้าออกอย่างถูกหลักก็วัดผลได้เที่ยงตรง แต่ยอมรับว่าออกได้ยาก และมีจุดอ่อนที่ครูเรียนเรื่องวัดผลมาน้อยมาก ทั้งนี้ ควรต้องใช้วิธีวัดผลที่หลากหลาย ทั้งประเภทเลือกตอบ เลือกเขียน วัดค่าปฏิบัติ และเชิงเจตนคติด้วย

"ที่มองว่าระบบการเรียนที่ไม่ ให้เด็กตกซ้ำชั้น ทำลายเด็กนั้น ไม่ขอฟันธงว่าเห็นด้วยหรือไม่ แต่มองว่าควรพิจารณาเป็นรายบุคคล ถ้าเด็กคนนั้นสอบตกทุกวิชา แล้วให้เลื่อนชั้นไปก่อน ค่อยซ่อมทีหลัง อย่างนี้ไม่เห็นด้วย เพราะไม่คุ้ม แต่ถ้าเด็กสอบตกแค่บางวิชา สามารถสอบแก้ตัวได้ภายในเวลาที่กำหนด กรณีอย่างนี้ควรให้เลื่อนชั้น ไม่เช่นนั้นเด็กจะเสียโอกาสทางการเรียน" นายปรีชาญกล่าว

นายปรีชาญกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ขอชี้แจงว่าที่ระบุจัดการเรียนการสอน 35 คาบต่อสัปดาห์นั้น เป็นการจัดการเรียนการสอนของทุกวิชารวมกันทั้งหมด ส่วนวิชาคณิตและวิทย์นั้น จัดสอนแค่ 8% ของเวลาเรียนดังกล่าว หรือแค่ 18-20 สัปดาห์ต่อภาคเรียน และเมื่อมาดูถึงการจัดการเรียนการสอนจริง ก็น้อยกว่านั้นมาก คือแค่ 12-13 สัปดาห์ต่อภาคเรียน เนื่องจากมีวันหยุดและปิดเทอมเยอะ ถ้าเพิ่มจำนวนการเรียนการสอน หรือสอนให้เต็มตามจำนวนแท้จริง โดยไม่ต้องเร่งรัดเนื้อหาเด็กให้อยู่ภายเวลาจำกัดดังกล่าว ก็อาจทำให้ผลการเรียนการสอนวิชาคณิตและวิทย์ดีขึ้น

นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า เรื่องวัดผล และการตกซ้ำชั้น ยอมรับว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อคุณภาพการเรียน แต่ปัจจัยสำคัญที่มีผลโดยตรงกว่าคือ พื้นฐานตัวผู้เรียนเอง และครู ซึ่งขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พยายามหาแนวทางแก้ไขอยู่ เช่น การออกข้อสอบวัดผลของ สพฐ.ปีนี้ ไม่ได้วัดจากสิ่งที่เด็กเรียนมาเพียงอย่างเดียว แต่ได้เพิ่มการวัดทักษะความคิด วิเคราะห์ การอ่าน การเขียนด้วย อย่างไรก็ตาม ที่บอกว่าโรงเรียนไม่ได้ให้ตกซ้ำชั้นนั้น ยืนยันว่าปัจจุบันมีโรงเรียนที่ให้เด็กตกซ้ำชั้น หากมีเกรดเฉลี่ยไม่ถึงตามที่กำหนด แต่ปัจจุบันมีข้อมูลว่ามีหลายโรงเรียนที่มีเด็กจบไม่พร้อมรุ่น ซึ่งถือได้ว่าตกซ้ำชั้น โดยบางแห่งมีมากถึง 50-60 คน



ที่มา - มติชนรายวัน หน้า 22 - วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11234




 

Create Date : 22 ธันวาคม 2551
0 comments
Last Update : 22 ธันวาคม 2551 11:26:49 น.
Counter : 944 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.