ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
12 ธันวาคม 2551
 
All Blogs
 
เห็นมา 400 ปี นึกว่าดาวดวงใหม่ที่แท้คือ "ซูเปอร์โนวา"

มากกว่า 400 ปี ที่นักดาราศาสตร์ชาวเดนมาร์กได้พบ "ดาวดวงใหม่" ที่สุกสว่างแม้ในยามกลางวัน ซึ่งสร้างความฉงนให้กับนักดาราศาสตร์ในยุคนั้นเป็นอย่างยิ่ง แต่ที่สุดผู้เชี่ยวชาญในยุคปัจจุบันทราบแล้วว่า แสงสว่างจากท้องฟ้าครั้งนั้นคือ "ซูเปอร์โนวา"

ไทโค บราห์ (Tycho Brahe) นักดาราศาสตร์ชาวเดนมาร์กได้ค้นพบ "ดาวดวงใหม่" ซึ่งมองเห็นได้ในกลุ่มดาวค้างคาว ตั้งแต่ 11 พ.ย. 2115 และมองเห็นได้แม้ในช่วงกลางวัน ซึ่งบีบีซีนิวส์ระบุว่า เขาได้เขียนถึงสิ่งที่พบในครั้งนั้นด้วยตำแหน่งที่ถูกต้องแม่นยำลงในหนังสือของเขาที่ชื่อ "ดาวที่สุกสว่างในชั่วขณะ" (Stella Nova) โดยความสว่างในครั้งนั้นสเปซดอทคอมบรรยายว่า เป็นความสว่างที่บดบังแม้กระทั่งดาวศุกร์ และได้เลือนหายไปในเดือน มี.ค. 2117

ทั้งนี้ทีมนักวิทยาศาสตร์จากเยอรมนี ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ซึ่งตั้งอยู่ในหอดูดาวที่ฮาวายและสเปน เพื่อจับภาพ "แสงสะท้อน" (light echoes) ที่เลือนลางจากการระเบิดเริ่มต้น ซึ่งสะท้อนจากฝุ่นระหว่างดวงดาว โดยสเปซด็อทคอมอธิบายว่าแสดงเหล่านั้นใช้เวลาหลายปีกว่าจะเดินทางมาถึงโลก หลังจากที่แสงซึ่งเดินทางตรงมายังโลกเมื่อ 436 ปีก่อนได้ผ่านไปแล้ว

ผลจากการศึกษาซึ่งตีพิมพ์ลงวารสารเนเจอร์ (Nature) แสดงให้เห็นชัดถึงการดูดซับซิลิกอนที่แตกตัวและไม่มีการปลดปล่อยไฮโดนเจน เอช-อัลฟา (hydrogen H-alpha) ในแสงสะท้อนที่ตรวจวัด ระบุว่าซูเปอร์โนวาดังกล่าวเป็นซูเปอร์โนวาชนิด ไอเอ (Ia supernova) ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากดาวแคระขาวที่อยู่ในระบบดาวคู่แบบปิด

"การระบุว่าเป็นซูเปอร์โนวาชนิดใดเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ หากขาดข้อมูลสเปกตรัม" บีบีซีนิวส์ระบุคำพูดของ โอลิเวอร์ เคราส์ (Oliver Krause) จากสถาบันดาราศาสตร์มักซ์พลังก์ (Max Planck Institute for Astronomy) ในเยอรมนี ซึ่งร่วมในการศึกษาครั้งนี้ และระบุด้วยว่าจะใช้แสงสะท้อนเพื่อสร้างภาพ 3 มิติของการระเบิดซูเปอร์โนวาได้

ย้อนกลับไปเมื่อครั้งยังไม่มีการประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ บราห์ได้บันทึกข้อมูลที่มีความแม่นยำว่า ตำแหน่งของแสงที่ส่องสว่างนั้นไม่ได้เคลื่อนสัมพัทธ์กับดวงดาว ซึ่งแสดงว่าแสงดังกล่าวอยู่ไกลกว่าดวงจันทร์ ข้อมูลดังกล่าวสร้างความตื่นตะลึงให้คนในยุคนั้น ซึ่งเชื่อว่าระยะทางของสวรรค์สมบูรณ์และไม่มีวันเปลี่ยนแปลง

จาก //www.manager.co.th/


Create Date : 12 ธันวาคม 2551
Last Update : 12 ธันวาคม 2551 12:58:08 น. 0 comments
Counter : 843 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.