ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
 
22 กุมภาพันธ์ 2552
 
All Blogs
 
23-24 ก.พ.อาจได้เห็น "ลู่หลิน" ดาวหางสีเขียวโคจรสวนทางโลก


ภาพของดาวหางลู่หลินเมื่อวันที่ 31 ธ.ค.51 ที่ผ่านมา โดยไมเคิล แจเกอร์ (Michael Jaeger) ซึ่งวันที่ 23 ก.พ.นี้ ดาวหางจะเข้าใกล้โลกมากที่สุด (ภาพจาก areavoices.com)

เตรียมกล้องสองตา-ตั้งกล้องโทรทรรศน์ให้พร้อม แฟนดาวหางไม่ควรพลาดสำหรับ "ลู่หลิน" ดาวหางสีเขียว ที่ไม่เคยเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ และยังโคจรรอบดวงอาทิตย์ต่างไปจากดาวเคราะห์ในระบบสุริยะดวงอื่นๆ คือ หมุนตามเข็มนาฬิกา ขณะที่ดาวอื่นๆ โคจรรอบดวงอาทิตย์ทวนเข็มนาฬิกา

ดาวหางแปลกประหลาดสีออกเขียว กำลังเข้าใกล้โลกในเดือน ก.พ.52 นี้ และเป็นการเดินทางจากขอบสุริยะอันไกลโพ้น เพื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ โดยสำนักข่าวเอพีระบุว่าดาวหางดังกล่าวชื่อว่า "ลู่หลิน" (Lulin) เป็นดาวหางที่ค้นพบโดยนักศึกษาชาวจีนเมื่อ 2 ปีที่แล้ว และมีโอกาสที่เราจะได้เห็นดาวหางดวงนี้ ด้วยตาเปล่า ในพื้นที่ห่างไกลแสงไฟจากเมืองรบกวน

หากแต่นักดาราศาสตร์แนะนำว่า เราควรจะเตรียมกล้องโทรทรรศน์ หรืออย่างน้อยควรมีกล้องสองตาไว้สองดู

ตามที่ โดนัลด์ ยีโอแมนส์ (Donald Yeomans) ผู้จัดการโครงการวัตถุใกล้โลก (Near Earth Object program) ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐอเมริกา (นาซา) ระบุ ช่วงเวลาดีที่สุด สำหรับดูดาวหางดวงนี้คือก่อนรุ่งสาง ซึ่งดาวหางจะอยู่ใกล้ดาวเสาร์ และดาวที่สุกสว่างอีก 2 ดวงคือ ดาวรวงข้าว (Spica) และดาวเรกูลา (Regula) โดยดาวหางลู่หลินจะเข้าใกล้โลกมากที่สุดในวันจันทร์ที่ 23 ก.พ.นี้ เป็นระยะทาง 61 ล้านกิโลเมตร

เรื่องราวของลู่หลิน เป็นที่น่าสนใจมากกว่าภาพปรากฏบนฟากฟ้า ซึ่งสีเขียวจางๆ ของดาวหางอาจยากที่มองเห็นได้ โดยสีดังกล่าว เป็นสีที่แสดงถึงก๊าซคาร์บอน และก๊าซไซยานอเจน (cyanogen) ซึ่งเป็นก๊าซพิษ โดยยีโอแมนส์เผยว่า ดาวหางดวงนี้ ยังคงเต็มไปด้วยก๊าซดั้งเดิมของตัวเองอยู่ ซึ่งปกติก๊าซของดาวหางจะระเหยออกไปเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ และต่างไปจากดาวหางที่เคยพบเห็น ดาวหางดวงนี้ไม่เคยเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มาก่อน

ขณะที่ดาวเคราะห์อื่นๆ และวัตถุอื่นๆ ส่วนมากในระบบสุริยะ โคจรรอบดวงอาทิตย์แบบทวนเข็มนาฬิกา แต่ดาวหางลู่หลิน โคจรรอบดวงอาทิตย์แบบตามเข็มนาฬิกา

สตีเฟน เอ็ดเบิร์ก (Stephen Edberg) นักดาราศาสตร์ของนาซา บอกว่าดาวหางดวงนี้ กำลังเคลื่อนที่สวนทางกับระบบสุริยะ โดยเคลื่อนที่มาจากขายขอบระบบสุริยะด้วยระยะทางไกลกว่า 28 ล้านล้านกิโลเมตร และเมื่อลู่หลินโคจรรอบดวงอาทิตย์แล้วก็จะมีความเร็วเพียงพอที่จะหนีไปจากระบบสุริยะ

"ถ้าคุณสนใจในดาวหาง คุณต้องไม่พลาด แต่ดาวหางดวงนี้จะไม่ดังเป็นพลุแตกสำหรับสาธารณชนทั่วไป" เอ็ดเบิร์กกล่าว

ทั้งนี้ ข้อมูลจากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระบุว่า จะสามารถสังเกตดาวหางลู่หลินได้ชัดเจนที่สุดในวันที่ 23-24 ก.พ.นี้ ด้วยกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ โดยประเทศไทยสามารถสังเกตดาวหางลู่หลินได้ ตั้งแต่กลุ่มดาวหญิงสาวหรือกลุ่มดาวคันชั่งโผล่พ้นขอบฟ้า หรือตั้งแต่เวลา 22.30 น. จนถึงเวลาก่อนฟ้าสาง โดยมองไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ที่กลุ่มดาวใน 12 ราศีกำลังเคลื่อนที่ขึ้นจากขอบฟ้า

อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากเว็บไซต์ของสมาคมดาราศาสตร์แห่งประเทศไทย ระบุถึงตำแหน่งของดาวหางลู่หลินว่า ในวันที่ 24 ก.พ.52 ดาวหางลู่หลิน เข้าใกล้โลกมากที่สุด โดยในช่วงเช้ามืดดาวหางอยู่ห่างไปทางทิศใต้ของดาวเสาร์ประมาณ 2 องศา

จากนั้น วันที่ 26 ก.พ. ดาวหางจะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ อาจสว่างขึ้นได้เล็กน้อยจากระดับปกติ เนื่องจากวันนั้นดาวหางอยู่ใกล้ระนาบสุริยวิถี หลังจากนั้นจึงจะจางลง

คืนวันที่ 27 ถึงเช้ามืดวันที่ 28 ก.พ. ดาวหางผ่านใกล้ดาวหัวใจสิงห์ ในกลุ่มดาวสิงโตที่ระยะไม่ถึง 1 องศาเข้าสู่กลุ่มดาวปูในช่วงต้นเดือนมีนาคม ผ่านใกล้กระจุกดาวรังผึ้งในคืนวันที่ 5 ถึงเช้ามืดวันที่ 6 มี.ค. จากนั้นปลายเดือน มี.ค.คาดว่าดาวหางจะจางลง.

ที่มา //www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000019409


Create Date : 22 กุมภาพันธ์ 2552
Last Update : 22 กุมภาพันธ์ 2552 10:04:57 น. 0 comments
Counter : 1030 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.