Group Blog
 
<<
มกราคม 2561
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
22 มกราคม 2561
 
All Blogs
 
วิธีง่ายที่สุด ลัดตัดตรงที่สุด ในการเข้าพระนิพพาน หลวงพ่อพระราชพรหมยาน หลวงพ่อฤษีวัดท่าซุง




วิธีง่ายที่สุด ลัดตัดตรงที่สุด ในการเข้าพระนิพพาน หลวงพ่อพระราชพรหมยาน หลวงพ่อฤษีวัดท่าซุง

สำหรับการที่จะเข้าพระนิพพานนั้น จิตจะต้องถูกฝึกมาแล้วเป็นอย่างดี ซึ่งก็แยกย่อยออกไปได้หลายวิธี แต่วิธีที่ง่ายที่สุด ลัดตัดตรงที่สุด คือ

1. ไม่สงสัย เชื่อมั่น และเคารพพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งสูงสุด (สุดจิตสุดใจ) ตลอดชีวิต ซึ่งความเชื่อนี้ รวมไปถึงพระธรรมคำสอนในข้อที่ว่า…
นิพพานัง ปรมัง สุขัง *พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง*
นิพพานัง ปรมัง สูญญัง *พระนิพพานเป็นที่ที่สูญจากกิเลส จากอวิชชาทั้งมวล*
จากพระธรรมทั้ง ๒ ประโยคนี้ ทำให้เราเชื่อมั่นได้ว่า พระนิพพานเป็นสถานที่ที่มีอยู่จริง ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านประทับอยู่จริง เมื่อเราเชื่อมั่นอย่างสุดจิตสุดใจ ว่า พระนิพพานมีจริง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระองค์อยู่จริง การที่เราจะได้มโนมยิทธิหรือไม่ นั้นไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุด สิ่งที่สำคัญที่สุด นั่นคือ ความเชื่อมั่น เชื่อมั่นว่าพระนิพพานมีอยู่จริง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านมีอยู่ จริง พระองค์ทรงเป็นผู้ที่ประทับอยู่บนพระนิพพานจริง เมื่อเชื่อมั่นในสิ่งเหล่านี้แล้ว ให้ลงมือปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอน ที่พระองค์ท่านทรงชี้แนะเอาไว้ สิ่งนั้นคือ ขั้นตอนต่างๆ ที่ลัดที่สุด เร็วที่สุด ตัดตรงที่สุด ซึ่งมีดังนี้

2. มีศีล 5 (เป็นอย่างน้อย)

3. ทุกครั้งที่ทำความดี (ไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงใด หรือยิ่งใหญ่เพียงไหนก็ตาม)
ให้อธิษฐานขอไปพระนิพพาน ว่า...ด้วยกุศลผลบุญนี้ ขอจงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าเข้าสู่พระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ด้วยเถิด ภพภูมิอื่นใด ไม่ว่าจะเป็น อบายภูมิ โลกมนุษย์ สวรรค์ พรหม หรืออรูปพรหมก็ตาม ข้าพเจ้าไม่ปรารถนา…ข้าพเจ้าปรารถนาเพียงพระนิพพานเป็นที่สุด..ตายเมื่อ ไหร่ขอไปพระนิพพานเมื่อนั้น..

4. พิจารณานึกถึงความตายอยู่เสมอ
พร้อมกับพิจารณาให้เห็นว่าสังขารร่างกายนี้ไม่ใช่ เรา ไม่ใช่ของๆ เรา เราไม่มีในสังขาร ร่างกายนี้ สังขารร่างกายนี้ไม่มีในเรา นึกน้อมพิจารณาจนจิตยอมรับสภาพตามความเป็นจริง และมีการปล่อยวางในสังขารร่างกายนี้

5. พิจารณาตัดขันธ์ 5 และพิจารณาถึงความทุกข์ ความไม่เที่ยงของสรรพสิ่งต่างๆ อยู่เสมอ
เมื่อทุกข์ขนาดนี้แล้ว มีแต่โรคภัยไข้เจ็บแบบนี้ ต้องกระทบกระทั่งกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ ไม่พอใจทั้งหลาย ต้องพลัดพรากจากคนที่ เรารักและคนที่รักเรา สิ่งเหล่านี้มันทุกข์ใช่ไหม เมื่อทุกข์ขนาดนี้แล้วเรายังอยากที่จะเวียนว่ายตายเกิดอีกหรือไม่

6. เมื่อพบความจริงของชีวิตแล้ว… ต่อมาให้จิตเชื่อมั่น และจับภาพพระพุทธเจ้า หรือ ภาพพระพุทธรูปที่เรารักชอบ
ที่พระนิพพานซึ่งเป็นที่ประทับแห่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระ ภาคเจ้าเป็นที่สุด (ไม่ว่าเราจะได้ มโนมยิทธิหรือไม่ก็ตาม) หมั่นทำความดี ละเว้นความชั่ว และอธิษฐานให้บ่อยๆ ทำจนจิตชิน จนเขาภาวนาของเขาเองได้ยิ่งดี ว่า… 

สังขารร่างกายนี้เป็นทุกข์ เป็นรังของโรค มีแต่ความสกปรกโสโครก น่าเบื่อหน่าย ถ้าข้าพเจ้าตายลงเมื่อไหร่ ขอให้ดวงจิต ของข้าพเจ้าพุ่งตรงสู่พระนิพพานเป็นที่สุดด้วยเถิด และขอให้ข้าพเจ้าได้พบองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าบนพระนิพพานนั้นโดยทันทีด้วยเถิด

ข้อสำคัญของการเข้าพระนิพพาน คือ จิตจะต้องเกิดอาการเบื่อหน่ายในร่างกาย (ขันธ์5) อย่าง จริงๆ จัง…

ดังนั้นต้องมีการพิจารณาตัดขันธ์ 5 พิจารณาถึงความตาย ความทุกข์ทั้งหลาย อยู่เสมอๆ พิจารณาบ่อยๆ วันละหลายๆ ครั้งได้ก็จะดีมาก แต่เมื่อพิจารณามากเข้าๆ จิตอาจจะเบื่อจนนึกอยากจะฆ่าตัวตาย

ดังนั้นเราจึงต้องพิจารณาสมทบเข้าไปว่า…

ถึงสังขารร่างกายนี้เป็นทุกข์ น่าเบื่อหน่าย แต่ข้าพเจ้าจะยังคงรักษาธาตุขันธ์นี้ต่อไป เพื่อยังประโยชน์ต่อสรรพชีวิตอื่น และธำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา ตราบจนกว่าจะถึงอายุขัยของข้าพเจ้าเอง 

เสร็จแล้ว พยายามพิจารณาทุกสิ่งให้เป็น “ธรรมดา” ยอมรับสภาพของชีวิตตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เมื่อใกล้ตายจิตจะมารวมตัวกันเองโดยไม่ต้องบังคับ เพราะจิตมีความชินกับการที่ จิตเราจับอยู่ที่พระพุทธองค์ และพระนิพพานเสมอ
ให้เชื่อมั่นว่า…ตายเมื่อไหร่เราขึ้นพระนิพพานแน่นอน…
...
สาธุๆๆ ขอบพระคุณที่มาจาก ศูนย์พุทธศรัทธา 22มค2561
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1663932030332559&id=157319130993864
...

...



Create Date : 22 มกราคม 2561
Last Update : 22 มกราคม 2561 18:51:12 น. 0 comments
Counter : 736 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

doraeme
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add doraeme's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.