Group Blog
 
 
ธันวาคม 2558
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
4 ธันวาคม 2558
 
All Blogs
 

4 สำหรับการที่จะเข้าพระนิพพานนั้น..

 

 สำหรับการที่จะเข้าพระนิพพานนั้น..
วิธีที่ง่ายที่สุด ลัดตัดตรงที่สุด คือ.
1.ไม่สงสัย เชื่อมั่นและเคารพพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งสูงสุด(สุดจิตสุดใจ) ตลอดชีวิต...ซึ่งความเชื่อนี้ รวมไปถึงพระธรรมคำสอนในข้อที่ว่า...
นิพพานัง ปรมัง สุขัง... พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
นิพพานัง ปรมัง สูญญัง... พระนิพพานเป็นที่ที่สูญจากกิเลส จากอวิชชาทั้งมวล
จากพระธรรมทั้ง ๒ ประโยคนี้... ทำให้เราเชื่อมั่นได้ว่า
พระนิพพานเป็นสถานที่ที่มีอยู่จริง ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านประทับอยู่จริง...
เมื่อเราเชื่อมั่นอย่างสุดจิตสุดใจว่า พระนิพพานมีจริง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระองค์อยู่จริง...
การที่เราจะได้มโนมยิทธิหรือไม่นั้น...ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุด.
สิ่งที่สำคัญที่สุด นั่นคือ ความเชื่อมั่น...
เชื่อมั่นว่าพระนิพพานมีอยู่จริง...
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านมีอยู่จริง...
พระองค์ทรงเป็นผู้ที่ประทับอยู่บนพระนิพพานจริง...
เมื่อเชื่อมั่นในสิ่งเหล่านี้แล้ว...
ให้ลงมือปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนที่พระองค์ท่านทรงชี้แนะเอาไว้...
สิ่งนั้นคือขั้นตอนต่างๆ ที่ลัดที่สุด เร็วที่สุด ตัดตรงที่สุด ซึ่งมีดังนี้...
2. มีศีล 5 (เป็นอย่างน้อย)
3. ทุกครั้งที่ทำความดี (ไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงใด หรือยิ่งใหญ่เพียงไหนก็ตาม) ให้อธิษฐานว่า...
ด้วยกุศลผลบุญนี้ ขอจงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าเข้าสู่พระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ด้วยเถิด.. ภพภูมิอื่นใด ไม่ว่าจะเป็นอบายภูมิโลกมนุษย์สวรรค์ พรหมหรืออรูปพรหมก็ตามข้าพเจ้าไม่ปรารถนา.. ข้าพเจ้าปรารถนาเพียงพระนิพพานเป็นที่สุด..ตายเมื่อไหร่ขอไปพระนิพพานเมื่อนั้น..
4. พิจารณานึกถึงความตายอยู่เสมอ พร้อมกับพิจารณาให้เห็นว่าสังขารร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของๆ เรา เราไม่มีในสังขารร่างกายนี้ สังขารร่างกายนี้ไม่มีในเรา...
นึกน้อมพิจารณาจนจิตยอมรับสภาพตามความเป็นจริง... และมีการปล่อยวางในสังขารร่างกายนี้
5. พิจารณาตัดขันธ์ 5 และพิจารณาถึงความทุกข์ ความไม่เที่ยงของสรรพสิ่งต่างๆ อยู่เสมอ... เมื่อทุกข์ขนาดนี้แล้ว มีแต่โรคภัยไข้เจ็บแบบนี้ ต้องกระทบกระทั่งกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ ไม่พอใจทั้งหลาย ต้องพลัดพรากจากคนที่เรารักและคนที่รักเรา... สิ่งเหล่านี้มันทุกข์ใช่ไหม...
เมื่อทุกข์ขนาดนี้แล้วเรายังอยากที่จะเวียนว่ายตายเกิดอีกหรือไม่
6.เมื่อพบความจริงของชีวิตแล้ว..ต่อมาให้จิตเชื่อมั่น และ จับที่พระนิพพานซึ่งเป็นที่ประทับแห่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่สุด..(ไม่ว่าเราจะได้มโนมยิทธิหรือไม่ก็ตาม)..หมั่นทำความดี ละเว้นความชั่ว และอธิษฐานให้บ่อยๆ ทำจนจิตชิน จนเขาภาวนาของเขาเองได้ยิ่งดี ว่า..
--สังขารร่างกายนี้เป็นทุกข์ เป็นรังของโรค มีแต่ความสกปรกโสโครก น่าเบื่อหน่าย...
ถ้าข้าพเจ้าตายลงเมื่อไหร่ ขอให้ดวงจิตของข้าพเจ้าพุ่งตรงสู่พระนิพพานเป็นที่สุดด้วยเถิด และขอให้ข้าพเจ้าได้พบองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าบนพระนิพพานนั้นโดยทันทีด้วยเถิด
ข้อสำคัญของการเข้าพระนิพพาน คือ จิตจะต้องเกิดอาการเบื่อหน่ายในขันธ์ 5 อย่างจริงๆ จัง...
ดังนั้น ต้องมีการพิจารณาตัดขันธ์ 5 พิจารณาถึงความตาย ความทุกข์ทั้งหลาย อยู่เสมอๆ ... พิจารณาบ่อยๆ วันละหลายๆ ครั้งได้ก็จะดีมาก...แต่เมื่อพิจารณามากเข้าๆ จิตอาจจะเบื่อจนนึกอยากจะฆ่าตัวตาย
ดังนั้นเราจึงต้องพิจารณาสมทบเข้าไปว่า...
ถึงสังขารร่างกายนี้เป็นทุกข์ น่าเบื่อหน่าย... แต่ข้าพเจ้าจะยังคงรักษาธาตุขันธ์นี้ต่อไป เพื่อยังประโยชน์ต่อสรรพชีวิตอื่น และธำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา ตราบจนกว่าจะถึงอายุขัยของข้าพเจ้าเอง
เสร็จแล้วพยายามพิจารณาทุกสิ่งให้เป็น "ธรรมดา" ยอมรับสภาพของชีวิตตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น...
เมื่อใกล้ตายจิตจะมารวมตัวกันเองโดยไม่ต้องบังคับ...
เพราะจิตมีความชินกับการที่จิตเราจับอยู่ที่พระพุทธองค์ และพระนิพพานเสมอ...
ให้เชื่อมั่นว่า... ตายเมื่อไหร่เราขึ้นพระนิพพานแน่นอน...
-- การถวายสังฆทานแบบกำลังใจสูงสุด
วิธีการที่ผมทำอยู่ก็คือ
"ในขณะที่กายเนื้อถวายสังฆทานนั้น เราก็เพ่งที่สังฆทานให้เป็นเป็นสังฆทานแก้วประกายพรึกด้วยอำนาจของฌานสี่ในกสิณแสงสว่าง จากนั้นก็ตัดกิเลส แยกอาทิสมานกาย ขึ้นไปบนพระนิพพาน
อธิฐาน ขอน้อมถวาย มหาสังฆทาน อันทรงมีพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ บนพระนิพพาน มีสมเด็จองค์ปฐมบรมศาสดาสัมมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นประธาน รายรอบด้วยพระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระอริยะเจ้าทุกๆพระองค์ และมีเหล่าเทพพรหมเทวาทั้งหลายร่วมถวายมหาสังฆทานด้วย
ใช้ความเป็นทิพย์ ดึงอาทิสมานกายของผู้คนที่ร่วมถวายสังฆทานกับเราขึ้นไปบนพระนิพพานด้วย
เขาจะรู้ไม่รู้ไม่สำคัญ แต่อาทิสมานกายของเขาทราบแน่นอน
จากนั้นในขณะที่กายเนื้อ ถวาย กายทิพย์ก็น้อมถวายพระพุทธเจ้าไปพร้อมๆกัน จะถวายสมเด็จองค์ปฐมท่านเป็นประธานองค์เดียว
หรือจะ แยกอาทิสมานกายนับประมาณมิได้น้อมถวายทุกๆพระองค์ก็ได้เช่นกัน  -แบบนี้จึงนับเป็นกำลังใจสูงสุดในการถวาย มหาสังฆทานทิพย์ อันเป็นมหาทานอันสมบูรณ์ด้วย
ให้เราตั้ง "กำลังใจ" เอาไว้ว่าเราถวายพระพุทธเจ้าบนพระนิพพานนั้น ตัวกำลังใจที่เราคิด แรงอธิฐานอานิสงค์สูง พุทธานุสติ จาคานุสติ และอุปมานุสติ(นิพพาน)ไปพร้อมๆกัน
เพียงเราซื้อของ ควักเงินออกจากกระเป๋า
แล้วเราตั้ง"กำลังใจ" แผ่เมตตาให้ เราปรารถนา
ให้เขามีความสุขความเจริญ ปัจจัยที่เราจ่ายได้กระจายไปถึง
ตั้งแต่ ให้ทุกๆคนที่เกี่ยวข้องในสิ่งของที่เราซื้อ ก็เป็นกุศลแล้ว อย่างการทำทานเพียงให้ขอทาน เพียง 1 บาท
เราวาง"กำลังใจ"ปรารถนาให้เขา คลายจากความทุกข์ลงไปได้บ้าง แม้เล็กน้อยก็ตาม พิจารณาต่อไปว่า ลูกเขาเมียเขาก็ให้คลายจากทุกข์ลงไป
จากนั้นตั้งจิตต่อไปว่า ก็ขอให้ เจ้ากรรมนายเวร ของเขาและครอบครัว (ของผู้ที่เราให้ทาน) จงโมทนาและ อโหสิกรรมให้เขา ให้เป็นอโหสิกรรมเป็นโมฆะกรรม ให้ทุกข์ของเขาคลายตัวลงไป ไม่มากก็น้อย โดยไม่เกินกฏของกรรม
- การวางอารมณ์ใจในการปฏิบัติธรรมของเราในแต่ละวัน ครับ ปฏิบัติแบบไม่ต้องยึดรูปแบบ ปฏิบัติแบบอยู่บ้าน อยู่ที่โรงเรียน ที่ทำงาน โดยไม่ให้มีใครรู้ว่าเราปฏิบัติธรรม
-เริ่มต้นตั้งแต่ที่เราตื่น (จิตตื่นขึ้นจากการนอนหลับ) บางท่านจะมีอาการที่จิตถอนลอยขึ้นช้าๆ หูเริ่มค่อยๆได้ยินเสียงรอบตัวค่อยๆดังขึ้น แบบนี้ เป็นอาการที่หลับอยู่ในฌานอย่างสมบูรณ์ครับ -ส่วนโดยทั่วไปก็จะค่อยๆตื่นขึ้น ค่อยๆรู้สึกตัว
เมื่อรู้สึกตัวแล้ว ก็ให้เราตั้งสติก่อน(หากไม่ตั้งสติ จิตมันก็จะเลยไปเลย) จากนั้น ผู้ที่ได้มโนมยิทธิแล้ว ก็
ยกอาทิสมานกายขึ้นไปกราบพระพุทธเจ้าบนพระนิพพาน เป็นการระลึกนึกถึงพุทธานุสติและอารมณ์พระนิพพาน  จากนั้นก็พิจารณาธรรม ในหัวข้อที่เราเอง รู้สึกสบาย ไม่หนักเกินไปตามภูมิธรรม ไล่เรียงลำดับให้ไปจนถึงละเอียด
-ตั้งใจว่าเรานี้ วันนี้เราจะสร้างความดี และรักษาใจเราให้มีแต่ความคิดที่ดีให้ได้ตลอดทั้งวัน (พื้นฐานที่สุด)
-พิจารณาในส่วนของศีลห้าว่าเราจะรักษาเอาไว้ให้ได้ตลอดวัน รักษากรรมบทสิบให้ได้ รักษาอารมณ์ใจในเมตตาพรหมวิหารสี่เอาไว้ให้จิตเราเย็นอยู่ตลอดเวลา
-พิจารณาว่า เราอาจ"ตาย"เมื่อไรก็ได้ เราจะไม่ประมาทในชีวิต ไม่ประมาทในความดี ไม่ประมาทในการปฏิบัติธรรม(เริ่มเป็นวิปัสนาญาณ)
-พิจารณาธรรมเพื่อละในสังโยชน์ทั้งสิบประการ 
-พิจารณาในบารมีทั้งสามสิบทัศน์ ตั้งใจในกำลังใจที่จะทรงบารมีได้อย่างเต็มอัตรา  -เมื่อพิจารณาในฌานแล้ว สำหรับท่านที่ได้มโนมยิทธิ ส่วนใหญ่พระท่านก็จะเมตตาบอกสอนเวลานี้ สำหรับผมเองพระท่านชอบมาบอกงานในช่วงเวลาตื่นแบบนี้เนื่องจากเราได้พักผ่อนเต็มที่แล้ว มีความสดชื่น ทรงลมหายใจสบายเป็นสมาธิได้ง่าย
ครั้นเมื่อตื่นนอนแล้ว
สำหรับการอาบน้ำแปรงฟันล้างหน้า ถ่ายหนักถ่ายเบา เราก็พิจารณาธรรมไปด้วย ในข้อกายคตาในส่วนของ ความสกปรก ไม่สะอาด ความเสื่อมในร่างกายของเรา ด้วยจิตที่เบาๆสบายๆให้จิตคลายจากความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายลง
พอทานอาหาร  ก่อนทานข้าวทุกมื้อ เราก็นำอาหารไปถวายพระด้วยความเป็นทิพย์เสียก่อน จากนั้นก็มาพิจารณาอาหาเรปฏิกูลสัญญา และความเป็นธาตุสี่
อธิฐานให้อาหารที่ทานเป็นอาหารทิพย์หล่อเลี้ยงธาตุขันธ์เพื่อการบำเพ็ญธรรม ทำความดี
พอออกเดินทางไปธุระ ระหว่างเดินทาง เราก็จับลมหายใจสบายทรงสมาธิจิตไป ตอนขับรถเราก็ทำได้ ทรงลมหายใจที่หายไปจนเป็นฌานสี่ใช้งาน จิตยิ่งตั้งมั่นมีสมาธิเต็มอัตรา หรือเรานั่งรถ
ก็พิจารณาไปในคนสัตว์ ว่าทุกข์อย่างไร เขาเห็นทุกข์ไหม เราเห็นเราก็หาทางออกจากทุกข์ ด้วยธรรม
ตลอดจนแผ่เมตตาไปในทิศทั้งปวง ไปไหนมาไหน เจอผู้ใดก็ให้จิตเขาเย็นตามจิตเรา ไปไหนก็ปรารถนาให้ที่นั้นมีความเจริญ รุ่งเรืองมีศานติสุข สงบร่มเย็น มีแต่รอยยิ้มและมิตรไมตรีต่อกัน
ผ่านมาถึงการใช้เวลาก่อนเข้านอน
-จับลมสบายก่อน –แผ่เมตตา –ทรงภาพพระ  -ตั้งกำลังใจในมรณานุสติว่า หากเราตายไปในคืนนี้เราจะไปไหน
-ใช้มโนมยิทธิขึ้นไปบนพระนิพพาน กราบพระท่าน
-สำหรับท่านที่กำลังใจเป็นสาวกภูมิ ก็ขอให้ตั้งใจว่า
เราขออยู่บนพระนิพพานนี้ หากแม้เราตายไปในคืนนี้ก็ดี หรือตายวันใดก็ดี เราขออยู่บนพระนิพพานนี้กับพระพุทธเจ้าท่าน
จากนั้นก็แยกอาทิสมานกายออกไป โดยมีร่างหนึ่งทรงตัวไว้กับพระพุทธองค์บนพระนิพพาน

จากนั้นก็ปล่อยกายเนื้อพักผ่อนไปตามประสามันไป กายจริงเราออกไปสร้างความดี อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยหยุดพัก ทำมันทั้งทางโลก ทางธรรม อะไรขึ้นชื่อความความสุข ความดี เราทำให้เพื่อส่วนรวมเอาไว้เสมอ
คืนนี้ และคืนต่อๆไปพบกันข้างบนครับ
- เราจะ ทำสมาธินอน ได้อย่างไร
ก่อนอื่นก็ต้องล้มตัวลงนอนก่อน  หากถามว่า ต้องนอนท่าไหน ก็ต้องตอบว่านอนท่าที่สบาย ไม่กดทับ หายใจสะดวกเข้าไว้  นอนได้แล้ว เราก็เริ่มจับลมหายใจสบาย ให้ได้ก่อน จนจิตสงบ 
-กำหนดจิตว่า เราจะรักษาศีลห้าให้บริสุทธิ์ กรรมบทสิบสะอาดหมดจด พรหมวิหารสี่ครบถ้วน ทรงสมาธิมั่นคงหลับในสมาธิตั้งแต่หลับจนกระทั่งตื่น  ดังนั้นเมื่อเราไม่ หายใจทิ้ง ก็จงอย่า หลับทิ้งเปล่าๆปลี้ๆ ไปเสีย 
จงหลับด้วยกำลังใจที่เป็นกรรมฐาน เมื่อเข้าใจ และตั้งกำลังใจได้แล้ว
คราวนี้เราก็จับภาพพระพุทธเจ้าท่านจากนั้น
ขอให้ท่านถ่ายทอดธรรมมะสู่ดวงจิตของเรา ให้ซึมลงไปในกระแสจิตดวงใจของเรา  เริ่มด้วยการพิจารณา ความตาย พิจารณา ร่างกาย ในความเป็นอสุภะ ในความเป็นรังของโรค ในเหตุแห่งความทุกข์ จากนั้นใช้ปัญญาปล่อยวางคลายความยึดมั่นถือมั่นเกาะเกี่ยวในร่างกาย จนจิตเบาขึ้นสบายขึ้น แผ่เมตตาอีกครั้งให้จิตยิ่งเย็น
จากนั้น ขอบารมีพระท่าน ยกอาทิสมานกายขึ้นไปบนพระนิพพาน
ขึ้นบนพระนิพพานได้แล้ว ก็ เริ่ม พิจารณาใน บารมีทั้ง สิบทัศน์ ให้ละเอียด แล้วจึง พิจารณา ตัดสังโยชน์สิบอีกครั้งหนึ่ง จนจิตยิ่งสะอาด ขึ้นละเอียดขึ้น  ดูจิตตัวเองให้ใสสะอาด บริสุทธิ์
บางท่านจากนั้นก็ ขอบารมีพระท่านสอนธรรมมะเป็นพิเศษ
ซึ่งจะเห็นได้ว่า ท่านเหล่านี้จะก้าวหน้าในธรรมอย่างรวดเร็ว ชนิดที่ตนเองก็ตกใจ เนื่องจากธรรมมะที่พระท่านสอนข้างบนละเอียดลึกซึ้งตรงวาระจิตเราอย่างยิ่งเป็นธรรมเฉพาะตนแก้ไขจุดบกพร่องของเราจนจิตคลายตัวได้
วิปัสนาญาณ คือการพิจารณา
เห็นความสวยงามในสิ่งของ ไม่สะอาด  และพิจารณาเห็น ความไม่สะอาด ในของที่สวยงาม -พิจารณาไป เห็นทุกคน เป็นโครงกระดูกไปหมด สวย หล่อแค่ไหนก็ตาม –พิจารณาไป เห็นใครๆ เป็นถุงใส่อุจจาระ ปัสสาวะ ด้วยกันเหมือนกันหมด รวมทั้งตัวเราเองด้วย  จนจิตเราปล่อยวางจากร่างกายของเราเอง ร่างกายคนอื่น สุดท้ายเป็นอสุภะไปหมด  จนเบื่อการเกิด เบื่อการมามีร่างกายแบบนี้อีก  ทรงกำลังใจว่า การเกิดมามีร่างกายเลวๆแบบนี้จะเป็นชาติสุดท้ายสำหรับเรา (ไปนิพพานชาตินี้)
คาถาเงินล้าน อยู่หน้าที่ สุดท้ายค่ะ  20-05-2009,NCK2046
--สมเด็จฯองค์ปฐม ทรงสอนสวดคาถาเงินล้าน
สวดมนต์ไหว้พระทุกเช้าจะนำเงินที่จะทำบุญมาสวดคาถาเงินล้าน  การอาราธนาบารมีหลวงปู่ดู่ใน การครอบวิมานแก้วให้คนอื่น ให้ซ้อนภาพหลวงปู่ดู่ เข้ากับคนนั้นๆ
อาราธนาพระพุทธเจ้าองค์ปฐมมาซ้อนไว้ที่ตัว อาราธนาพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันมาซ้อนโดยย่อเป็นองค์เล็กลงมา อาราธนาหลวงพ่อปาน หลวงพ่อฤาษีมาซ้อนลงมา ตาม ลำดับ และเริ่มสวดคาถา ปรากฏว่า สมเด็จฯองค์ปฐมทรงท่องคาถาด้วย ท่านท่องนำเราไปเรื่อยๆ แล้วสักพักหนึ่งก็มีเสียงท่านแทรกเข้ามาในจิตข้าพเจ้าขณะกำลังสวดอยู่นั่นเอง ท่านตรัสว่า  ถ้าสวดโดยที่ใจยังมีความโลภอยู่ อยากได้เงินเยอะๆ อย่างนี้จิตยังเป็นอกุศล ยังใช้ไม่ได้ ให้ปรับความคิดเสียใหม่ ว่าเงินทองที่เราได้มานี้เราจะนำไปเลี้ยงดูครอบครัว นำไปทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ไปสงเคราะห์โลก อย่างนี้จิตจะเป็นกุศล ให้คิดอย่างนี้ 
-หลวงพี่เล็ก พระคาถาเงินล้าน ขอให้ทุกคนภาวนาขยันท่องบ่นเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา อย่างสม่ำเสมอจริงจังทุกวัน เราตั้งใจทำถวายบูชาต่อท่าน จะสร้างความคล่องตัวให้แก่เราอย่างคิดไม่ถึง แต่ถ้าเราทำเพื่อจะหวังผลพิเศษนั้น ตัวอยากที่บังหน้ามันจะตัดไปเกือบหมด
-การสวดคาถาเงินล้าน chdhorn
ในขณะที่กำลังสวดอยู่นั้น.ให้นึกถึงพระ ตลอดเวลา
อย่านึกถึงว่าเราจะได้อะไร ให้นึกถึงภาพพระอย่างเดียว
ถ้าจะให้ได้ผล ควรสวดครั้งละ๗จบ๙จบหรือมากกว่านั้น และต้องสวดอย่างสม่ำเสมอทั้งเช้าเย็น..
ทุกครั้งที่มีรายรับเกิดขึ้น..ได้รับเงิน ไม่ว่าจะมาก หรือน้อยก็ตาม..นำเงินทั้งหมดนั้น นึกน้อม ถวายพระพุทธเจ้าท่านบนพระนิพพาน ขอให้คิด นึกว่าตัวเองกำลังถวายเงินนั้นต่อหน้าพระท่าน
-ก่อนที่จะสวดคาถานึกถึงพระรัตนตรัยก่อน ตามด้วยการแผ่เมตตาอัปมาณฌาน แล้วจึงสวดคาถาเงินล้าน๙จบ
-ตอนเช้า ก่อนที่จะหยิบกระเป๋าสตางค์พกที่กางเกง จะนำขึ้นมาจบ นึกถึงพระท่าน ว่าคาถาเงินล้านอีก๑จบ
-ตอนเย็น ก่อนที่จะวางกระเป๋ากลับลงที่จะนำขึ้นมาจบ นึกถึงพระ และสวดพระคาถาเงินล้านอีก๑จบ
"ทุกครั้งที่ใช้จ่ายเงิน ให้นึกแผ่เมตตา และนึกว่า
ขอให้เงินนี้จงใช้เพื่อการยังประโยชน์
เพื่อสงเคราะห์ ช่วยเหลือ นำมาซึ่งความสุขกาย สุขใจ...
ของทุกๆชีวิตที่เกี่ยวเนื่องกับ สิ่งของ สินค้าที่เรากำลังจ่ายเงินซื้ออยู่นั้น...ด้วยเถิด..." 
เช่น ซื้อ กล้วยแขก 20บาท เรากำหนด"กำลังใจ"ว่า เขาทำให้เราได้กินกล้วยแขก เราปรารถนาให้เขามีความสุขความเจริญ ปัจจัยที่เราจ่ายได้กระจายไปถึงตั้งแต่
(ผู้ที่ให้เงินเรามาซื้ออาหารนั้น)–แม่ค้าขายกล้วยแขก –ชาวสวนปลูกกล้วย –คนปลูกปาร์มน้ำมัน –คนพับถุงกล้วยแขก ไล่ไปเรื่อยๆ ตามปัญญาของเราจะน้อมไปถึง ข้อนี้จะทำให้เราได้เห็นถึงความดีของผู้อื่นและ จิตเราเปี่ยมไปด้วยพรหมวิหารสี่เต็มอัตราและพิจารณาให้ เห็นทุกข์ ในอริยสัจจ์ -แม่ค้าขายกล้วยแขกต้องตรากตรำขายหน้าเตาร้อนๆทุกวันนี่ ทุกข์ไหม? –ชาวสวนตรากตรำปลูกกล้วยได้บ้างไม่ได้บ้าง นี่ทุกข์ไหม –คนพับถุงกล้วยแขก พับถูง ร้อยใบได้แค่สิบบาท นี่ลำบากไหม ทุกข์ไหม ก็จะเกิดปัญญาในวิปัสนาญาณได้อีกชั้นหนึ่งครับ
-ขอความเจริญด้วย"ปัญญาในธรรม"จงบังเกิดขึ้นในทุกๆดวงจิตผู้ปรารถนาในความดีทุกๆดวงด้วยเทอญ
--มีเมตตาแล้วจิตของเรามองเห็นความเป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตาย ไม่ต่างกันในสังสารวัฏฏ์นี้
- การเจริญกสิณ หรือ การที่เราจับภาพพระ นี่ล่ะ ก็คือ  การเจริญกสิณในอาโลกกสิณควบพุทธานุสติกรรมฐาน หากเราทรงมโนมยิทธิ จับภาพพระพุทธเจ้าบนพระนิพพาน ก็ควบอารมณ์พระนิพพานไปด้วย
-คราวนี้เรามาดู อารมณ์ในการทรงฌานในการทำ กสิณจับภาพพระ เมื่อเราทรงภาพพระพุทธเจ้าได้เป็นนิมิตรตั้งมั่นได้ จิตเราก็เริ่มเป็นฌานครั้นเราทรงภาพพระเริ่มใสเริ่มสว่างขึ้นใจสบายขึ้น จัดเป็นอุคคหนิมิต
-ครั้นเราทรงภาพพระใสเป็นแก้วประกายพรึกเปร่งฉัพพรร ณรังสี จิตเราก็จะเข้าถึงฌานสี่ ซึ่งสามารถทดสอบได้โดยในขณะที่ทรงภาพแล้วย้อนไปดูลมหายใจว่าลมดับไหม
-ดังนั้นสมถะไม่ว่า จะด้วยอาณาปานสติก็ดี หรือพุทธานุสติกสิณก็ดี ลมหายใจดับเช่นกัน ไม่ต้องนับถึงคำภาวนาหายไป  -ตัวสมถะนี้เราทำต่อไปได้จนถึงสมาบัติแปดหรืออรูปสมาบัติ 
-จุดที่เราต้องการในการทำสมถะก็คือ อารมณ์จิตที่นิ่งเป็นเอกกัตคตารมณ์ สงบ สงัดจากกิเลสและนิวรณ์ห้า เพื่อนำกำลังสมาธิมาใช้เจริญปัญญา ในวิปัสนาญาณต่อไป
--"วิปัสนาญาณ"คือการเจริญปัญญา ตามอนิจจะลักษณะ กฏไตรลักษณ์ ในฌาน เพื่อให้เกิดอารมณ์จิตที่ถ่ายถอนจากกิเลส ตัณหา อุปทาน ความยึดมั่น ว่า การเกิด การแก่ การเจ็บ ความตาย การพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งหลาย ย่อมเกิดแก่ทุกๆคน ตราบที่ยังมีการเกิดก็ย่อมมีความทุกข์เป็นธรรมดา
--การเจริญวิปัสนาหากใช้กำลังจากอาณาปานสติ  แนวการเจริญวิปัสนาญาณจะออกไปในแบบสุขวิปัสโก คือพิจารณาด้วยเหตุผลการเห็นจริงในธรรม ในความไม่เที่ยง ในทุกข์เป็นสำคัญเพื่อให้จิตปล่อยวางไปทีละน้อยจนไม่ปรารถนาการเกิดอีก ซึ่งอาจไม่รู้เห็น ในญาณความเป็นทิพย์ของจิต 
--ส่วนการเจริญวิปัสนาญาณในแบบของการเจริญกสิณ นั้น ข้อดี เราสามารถใช้ความเป็นทิพย์ของจิตไปดูไปศึกษาภพภูมิต่างๆ ให้ปรากฏชัดแก่ ใจ ได้    หากเราได้มโนมยิทธิ
เราขอบารมีพระพุทธเจ้าท่าน ขึ้นไปบนพระนิพพาน ฟังเทศน์จากพระพุทธองค์และพระอรหันต์ท่านอื่นๆได้โดยตรง 
ซึ่งธรรมมะที่ได้ละเอียดลึกซึ้งกว่าที่เราพิจารณาเอง มากๆๆ
อย่างยิ่ง หรือ หากเราอธิฐานจิตทรงไว้บนพระนิพพานเป็นปกติ การถึงซึ่งพระนิพพานก็ไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป ดังนั้น 
1.ควรทรงภาพพระให้ใสเป็นเพชรระกายพรึกในอกให้ได้ตลอดเวลา
2.สามารถยกอาทิสมานกายขึ้นไปกราบพระพุทธเจ้าบนพระนิพพานให้บ่อยที่สุดเท่าที่กำลังเราทำได้-และขอรับฟังธรรมจากท่าน อธิฐานขอให้ท่านเมตตามาสอน เราในจิตครับ  -สำหรับพุทโธเราภาวนาเมื่อจิตเราสบายอยากภาวนา 
หากจิตทิ้งคำภาวนาจิตก็ทรงอารมณ์พระนิพพานครับ
เวลาเราอยู่กับภาระกิจการงานใดๆ เราก็พยายาม
ทรงภาพพระในอก ตลอดเวลา ทั้งหลับตาลืมตา 
ตั้งกำลังใจด้วยว่า หากเรา เห็นพระพุทธเจ้าเราในจิตนั้นเรากำลังเฝ้าพระพุทธเจ้าบนพระนิพพานครับ
เป็นการควบอารมณ์พุทธานุสติและอุปมานุสติกรรมฐาน(อารมณ์พระนิพพาน)พร้อมกันครับ  จะเกิดประโยชน์และผลในการปฏิบัติได้สูงและเร็วกว่าปกติครับ
-ทำจนทรงภาพพระให้เป็นปกติครับ  รู้สึกได้ทั้งลืมตาหลับตา  วางอารมณ์ใจให้เบาๆ สงบ เย็นเอาไว้
จิตชุ่มชื่นมีความสุข  แล้วค่อยๆมาพิจารณาตัดกิเลส ตัดสังโยชน์สิบอย่างละเอียดไปทีละข้อครับ
จากนั้นพิจารณา จิตของเรา ดูด้วย "จิตตานุปสนาสติปัฐฐาน ว่า จิตของเราเบาบางจากกิเลสลงไปหรือไม่
ตัวโลภ ตัวทะยานอยากจนเกินพอเพียง ลดลงไหม
ตัวโกรธ ตัวอาฆาต พยาบาทเบาบางลงไหม จับอารมณ์จิตเราก่อนปรุงแต่งต่อไปจนเกิดโทสะลดลงไหม  ตัวโมหะ ตัวหลง เมามัวในชีวิต เมาในกาย เมาในทรัพย์ลดลงไหม  หากจิตเราเย็นด้วยเมตตา ทรงภาพพระพุทธเจ้าและอารมณ์พระนิพพานเอาไว้ จิตจะเริ่มสะอาดจากกิเลสไปทีละน้อยครับ
พระคาถาบูชาสมเด็จองค์ปฐมบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
  คาถาแผ่เมตตาขอบารมีสมเด็จองค์ปฐม
นะโมกาเยนะวาจายะเจตะสาวา วะชิรังนามะปะฏิมัง อิทธิธรรมะปาฏิหาริยะกะรัง  สมเด็จพ่อองค์ปฐมต้น พุทธะรูปัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา  อะหังวันทามิสัพพะโส สะทาโสตถี ภะวันตุเม (สวดอย่างน้อย 9จบ ตลอดเวลา)
คาถาแผ่เมตตาขอบารมีสมเด็จองค์ปฐม(แปล)
นะโมพระพุทธสิกขีพระพุทธเจ้า ขอได้โปรดดลบันตาลให้สรรพสัตว์ทั้งสามโลก ได้หลุดพ้นจากภัยพิบัติวัฏฏสงสารโดยสิ้นเชิง ด้วยพระบารมีมิอาจประมาณ ลูกขอนอบน้อมนมัสการด้วยจิตใจ ขอให้ลูกมีจิตสะอาดสว่างใส หลุดพ้นไซร้สู่บ้านนิพพานเทอญ สัมปะจิตฉามิ(ท่อง9จบ)
คาถาคำอวยพรของ สมเด็จองค์ปฐม สุดยอดที่สุดแล้ว

พระทรงตรัสว่า "ให้ตั้งนะโมฯ 3จบ แล้วกล่าวคำว่า
“พุทธโธ” 9ครั้ง  และจึงอธิษฐานตามใจปราถนา จะสัมฤทธิ์ผลทุกประการ เว้นแต่ว่ามีวิบากกรรมที่รุนแรง"
คำสอนสมเด็จองค์ปฐมฯ

"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องลงอบายภูมิมีนรกเป็นต้น เป็นของไม่ยาก" 1.ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตายอาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ 2.เคารพพระ พุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยความศรัทธาแท้ ด้วยความจริงใจ 3.มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ 4.เป็นกรณีพิเศษปฎิเสธ การเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหมในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นพระนิพพานแล้ว ตั้งใจไปพระนิพพานโดยเฉพาะเท่านี้ ทุกท่านจะหนีอบายภูมิพ้นและไปนิพพานได้ในที่สุด
คาถาบูชาพระ(มหาจักรพรรดิ์)
*สวดตามกำลังวัน เช่น สวดในวันอาทิตย์ให้สวด ๖จบ,

จันทร์๑๕,อังคาร๘,พุธ๑๗,พฤหัส๑๙,ศุกร์๒๑,เสาร์๑๐จบ
นะโมตัสสะภะคะวะโตอะระหะโตสัมมาสัมพุทธัสสะ(๓จบ)
นะโมพุทธายะ พระพุทธะไตรรัตนญาณ มณีนพรัตน์ สีสะหัสสะ สุธรรมา พุทโธ ธัมโม สังโฆ ยะธาพุทโมนะ
พุทธะบูชาธัมมะบูชา สังฆะบูชา อัคคีธานัง วะรังคันธัง
สีวะลี จะมหาเถรัง อะหังวันทามิ ทูระโต อะหังวันทามิ ธาตุโย อะหังวันทามิ สัพพะโส  พุทธะ ธัมมะ สังฆะ ปูเชมิ
บทอาราธนาพระเข้าตัว(แผ่เมตตา)(บทสัพเพ) สัพเพพุทธา สัพเพธัมมา สัพเพสังฆา พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญ จะยังพะลัง อะระหันตานัญจะ เตเชนะรักขัง พันธามิ สัพพะโส (๕จบ)
พุทธังอธิษฐามิ ธัมมังอธิษฐามิ สังฆังอธิษฐามิ(ให้อธิษฐานเอา)  1.นึกถึงพระ/ลป.ทวดดู่ 2.ภาวนาบทจักรพรรดิ์ 3.ตั้งจิตถึงหลวงปู่ แล้วนึกว่า จะอฐิษฐานให้ใคร 4.ภาวนาบทสัพเพ 5.ส่งจิต(บุญ)ให้เขาผู้นั้น 6.น้อมจิต(บุญ)เข้ามาหาตนเอง
คำปฏิญาณตนก่อนทำสมาธิ(ลป.ดู่ วัดสะแก) ข้าพเจ้าขอปฏิญาณตนช่วยเหลือกิจการที่จะพึงเกิดในหมู่คณะทุกกรณี และขอมอบตัวเป็นลูก หลวงพ่อปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด ขอให้หลวงพ่อปู่ทวดเป็นผู้นำเป็นผู้อุปการะในการปฏิบัติธรรมทั้งปวงนับแต่บัดนี้เป้นต้นไป  นิพพานะ ปัจจะโยโหตุ
คำภาวนา หลักในการนั่งสมาธิเท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวากำพระไว้วาง มือขวาไว้บนมือซ้ายกำหนดจิตไว้ที่หน้าผากแล้ว  ภาวนาไตรสรณคม ดังนี้ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ  ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ  สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ภาวนาเรื่อยไปจนกว่าจะเลิก  ก่อนทำควรอธิษฐานให้หลวงปู่ทวดคุ้มครองตัวเราเสมอ  เมื่อเลิกภาวนาแล้ว ตรวจน้ำแผ่ส่วนกุศลให้ ครูอาจารย์ บิดามารดา และสรรพสัตว์ทั้งหลาย
บทแผ่เมตตาอุทิศสวนกุศล (ลป.ดู่ วัดสะแก)
พุทธังอะนันตัง ธัมมังจักวาฬัง สังฆังนิพพานะ ปัจจะโยโหตุ (ผลบุญของข้าพเจ้าที่ได้ทำมาแล้วในอดีตปัจจุบันและอนาคต
  ขอปวงสรรพสัตว์ทั้งหลายที่เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฎ จงมีส่วนได้รับแห่งบุญของข้าพเจ้าทั้งสิ้นนี้เทอญ)
บทพิเศษ บทบวงสรวงและชุมนุมเทวดา(วัดท่าซุง อุทัยฯ)
ปุริมัญจะ ทิสัง ราชา ธะตะรัฏโฐ ปะสาสะติ
คันธัพพานังอาธิปะติ มะหาราชายะสัสสิโส ปุตตาปิ ตัสสะ
พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อัฏฐังสุ ฯ  
ทักขิณัญจะ ทิสัง ราชา วิรุฬโห ตัปปะสาสะติ
กุมภัณฑานังอาธิปะติ มะหาราชายะสัสสิโส ปุตตาปิตัสสะ
พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อัฏฐังสุ ฯ
ปัจฉิมัญจะ ทิสัง ราชา วิรูปักโข ปะสาสะติ
นาคานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ
พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อัฏฐังสุ ฯ  
อุตตะรัญจะ ทิสัง ราชา กุเวโร ตัปปะสาสะติ
ยักขานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ
พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อัฏฐังสุ ฯ  
ปุริมะทิสัง ธะตะรัฏโฐ ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก
ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง
จัตตาโร เต มะหาราชา สะมันตา จะตุโรทิสา
ทัททัลละมานา อัฏฐังสุ ฯ
สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน
ทีเปรัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต
ภุมมาจายันตุเทวา ชะละถะละวิสะเมยักขะคันธัพพะนาคา
ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา  ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา  ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
คำอาราธนาศีล๕ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ  ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ  ทุติยัมปิ  มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ  ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ (ถ้าศีล๘ ให้เปลี่ยน ปัญจะ เป็น อัฏฐะ และตัดคำว่า วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ)
สมาทานศีล๘ นะโมฯ(๓จบ)
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ  สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ  ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ  ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ  ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ  ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ  ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ  ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ  ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ  อทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ  อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ  มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ  สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมา ทิยามิ  วิกาละโภชนาเวระมะณีสิกขาปะทังสะมาทิยามิ  นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะ มัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ  อุจจาสะยะนะ มะหาสะยะนาเวระมะณีสิกขาปะทังสะมา ทิยามิ  อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ  สีเลนะสุคะติงยันติ สีเลนะโภคะสัมปะทา สีเลนะนิพพุติงยันติ ตัสมาสีลังวิโสธะเยฯ
คำขอขมาพระรัตนตรัย นะโมฯ (๓จบ)
สัพพังอะปะราธังขะมะถะเมภันเตอุกาสะทวารัตตะเยนะกะตัง  สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต ฯ
หากข้าพระพุทธเจ้า ได้เคยประมาทพลาดพลั้งล่วงเกินต่อพระรัตนตรัย อันมีพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ในชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ด้วยทางกายหรือวาจาก็ดี และด้วยเจตนาหรือไม่มีเจตนาก็ดี รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี  ขอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย และผู้มีพระคุณทุกท่าน ได้โปรดอดโทษให้แก่ข้าพระพุทธเจ้าตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญฯ
คำสมาทานพระกรรมฐาน (ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ศิษย์หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา)
(นำ) หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เสฯ  (รับ) นะโมฯ ๓จบ
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปริจัจชามิ
ข้าแต่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอมอบกายถวายชีวิตแด่ องค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขออาราธนาบารมีพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ทั้งหลายสืบๆ กันมา มีหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค และหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุงเป็นที่สุด ขอได้โปรดยกจิตของข้าพเจ้า ขึ้นสู่ภาวะพระกรรมฐานทั้ง๔๐ทัศพระปีติทั้ง๕และวิปัสสนาญาณทั้ง๙  ขอพระกรรมฐานทั้ง๔๐ทัศพระปีติทั้ง๕และวิปัสสนาญาณทั้ง๙ จงมาบังเกิดปรากฏในกายทวารในวจีทวารในมโนทวารของข้าพระพุทธเจ้า ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด  ขอได้โปรดยกจิตของข้าพเจ้าขึ้นสู่ภาวะแห่งเมฆจิต สามารถกำหนดจิต รู้ภาวการณ์ต่างๆ ทั้งเหตุผลอดีตอนาคตและปัจจุบัน ได้ทุกขณะจิตที่ปรารถนาจะรู้ เมื่อรู้แล้วขอให้เห็นภาพนั้นได้ชัดเจน แจ่มใสและพยากรณ์ได้ ตามความเป็นจริงทุกประการ  เหตุใดที่จะพึงบังเกิดแก่ข้าพเจ้า  ขอให้ข้าพเจ้าได้รู้เหตุนั้น ได้โดยมิต้องกำหนดจิตแม้แต่ประการใด ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด
คำอุทิศส่วนกุศล 
อิทัง ปุญญะผะลัง ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญแล้ว ณ โอกาสนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลายขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่เคยล่วง เกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดีชาตินี้ก็ดี ขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายจงโมทนาส่วนกุศลนี้  ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่วันนี้ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลายที่ปกปักรักษาข้าพเจ้าและเทพเจ้าทั้งหลายทั่วสากลพิภพ และพระยายมราช  ขอเทพเจ้าทั้งหลาย และพระยายมราช จงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงเป็นสักขีพยาน ในการบำเพ็ญกุศลของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่ท่านทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความ สุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดีมิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงโมทนาส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ความ สุข เช่นเดียวกับข้าพเจ้าจะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด
ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญมาแล้ว ณ โอกาสนี้ ขอผลบุญนี้ จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้เถิด
(และหากข้าพเจ้าทั้งหลาย ยังไม่ได้เข้าถึงพระนิพพานตราบใด ขอคำว่า ไม่มี และ ไม่สำเร็จ จงอย่าได้เกิดแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายทุกภพทุกชาติตลอดไปเถิด)
คำถวายสังฆทาน นะโมฯ ๓จบ
ข้าแต่พระสงฆ์ทั้งหลายผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย(พระพุทธปฏิมากร ผ้าไตรจีวร)พร้อมด้วยของที่เป็นบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระสงฆ์  ขอพระสงฆ์ทั้งหลายโปรดรับ(พระพุทธปฏิมากร ผ้าไตรจีวร)พร้อมด้วยของที่เป็นบริวารทั้งหลายเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ(สิ่งของที่จะถวายมีสิ่งใดก็ให้กล่าวเฉพาะสิ่งนั้น)
คาถาเงินล้าน ตั้ง นะโมฯ ๓จบ
สัมปะจิตฉามิ(คาถาสนองกลับ,อภิญญา) นาสังสิโม พรหมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะรายันติ(คาถาปัดอุปสรรค) พรหมา จะ มหาเทวา อภิลาภา ภะวันตุ เม(คาถาเงินแสน) มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันตุ เม(คาถาลาภไม่ขาดสาย)
มิเตพาหุหะติ(คาถาเงินล้าน) พุทธะมะอะอุ นะโมพุทธายะ วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม(คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า) สัมปะติจฉามิ(คาถาเร่งลาภให้ได้เร็วขึ้น)เพ็งเพ็ง พาพา หาหา ฤาฤา
(บูชา๙จบ ตัวคาถาต้องว่าทั้งหมด)
หลวงพ่อฤๅษีให้๑ชั่วโมงภาวนา คาถาอภิญญา ทุกวัน ดังนี้
๑.นะโมฯ๓จบ ๒.พุทธังสรณังคัจฉามิ.ทุติยัมปิฯ.ตติยัมปิฯ ๓.อิติปิโสฯ สวากขาโตฯ สุปฏิปันโนฯ
๔.แล้วทำใจสบายๆ ภาวนาว่า“สัมปจิตฉามิ”อ่านว่า สำปะจิตฉามิ ไปเรื่อยๆ

 

 

“เหรียญทำน้ำมนต์แก้กฎของกรรม ลุงพุฒิท่านบอกว่าให้ทุกคุนทำตามนี้ ว่าถึงเวลาที่จะนอนถ้ามีกำลังใจสูงนะกำลังเข้มข้น ก็ไม่ต้องใช้น้ำมนต์ นึกถึงภาพเหรียญ หรือภาพยันต์นั้นอยู่ตรงกระหม่อม แล้วว่า อิติปิโส7จบ แล้วก็นะมะพะธะ15จบ ว่าอย่างอื่นเสียก่อนนะ บูชาพระเสียก่อนนะ แล้วก็สวดอิติปิโส7จบ นึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระอริยสงฆ์ แล้วก็ว่า นะมะพะธะ15จบ อย่างนี้ท่านบอกว่าจะคลายกฎของกรรมไปมาก ค่อยๆคลายกฎของกรรมนะ กฎของกรรมนี้ความจริงทำลายไม่ได้ แต่อำนาจกฎของกรรมจะค่อยๆคลายตัว ถ้าทำทุกวันต่อไปจะเหลือนิดเดียว อย่างโทษปาณาติบาตต้องป่วยไข้ไม่สบาย หรือทุพพลภาพทางกายจะคลายตัวเหลือเล็กน้อย ถ้าบุคคลใดกำลังใจไม่เข้มแข็ง ก็ให้นึกถึงน้ำมนต์แล้วว่า อิติปิโส7จบ แล้วก็สวด นะมะพะธะ15จบ เอาน้ำมนต์มาพรมที่ศีรษะเล็กน้อยอย่างนี้ทุกวัน ทำทุกวันกฎของกรรมจะคลายตัว อันนี้ดีมาก กฎของกรรมเราหาทางแก้ไม่ได้อยู่แล้วนะ ท่านบอกจะคลายเรื่อยๆไป จนกระทั่งสิ้นกำลัง แต่ไม่สิ้นเลยเหลือนิดหน่อย ดีมาก อย่างคนถูกหวยยากนี่จะถูกหวยง่าย”(สรุป ตั้งนะโมฯ3จบ สวดบทพุทธคุณธรรมคุณสังฆคุณ7จบ ตามด้วยสวด นะมะพะธะ15จบ นะมะพะธะคำแปลว่านมัสการพระพุทธเจ้า)

 

 

 




 

Create Date : 04 ธันวาคม 2558
0 comments
Last Update : 4 ธันวาคม 2558 13:53:44 น.
Counter : 3911 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


doraeme
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add doraeme's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.