Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2553
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
2 ธันวาคม 2553
 
All Blogs
 

http://www.watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=2173&page=6

ถาม : เวลาที่เรานั่งสมาธิได้ดี ๆ มีโอกาสไหมครับที่เจ้ากรรมนายเวรจะไม่มาริดรอนเรา ?
ตอบ : มีเหมือนกัน หมายความว่า ช่วงนั้นกุศลที่เราเคยสร้างมาต้องต่อเนื่องไม่ขาดสาย ถ้ากุศลขาดช่วงเมื่อไร ดีแค่ไหนเขาก็แทรกเข้ามาได้ อย่างพวกเราก็ไม่ค่อยจะต่อเนื่องหรอก ส่วนใหญ่ขาด ๆ เกิน ๆ

อาตมาจึงได้บ่นกับพระที่วัดว่า เกิดใหม่ผมจะเลิกทำบุญเลย ถามว่าทำไม ? โยมเขาให้อะไรมาเยอะจนน่ารำคาญ บางวันเจ้าภาพเลี้ยงอาหาร ๗-๘ ราย ไม่รู้จะฉันลงไปอย่างไร

ที่แสบที่สุดก็คือ เวลาให้เงินแล้วเณรวิ่งไปซื้อขนมกิน ทั้ง ๆ ที่ขนมมีจนท่วมวัด แต่กลับไปซื้อขนมในตลาด ขนมที่เขาถวายเต็มไปหมดเณรไม่กินหรอก เพราะไม่ตรงกับกิเลสของเขา

ที่อาตมาบอกว่าเกิดใหม่จะเลิกทำบุญ ก็คงเป็นแค่คำพูดเท่านั้นแหละ ถึงเวลาจริง ๆ คงทำไม่ได้หรอก เพราะทำจนเป็นสันดานไปแล้ว เป็นความเคยชินที่สืบเนื่องมานับชาติไม่ถ้วน ถึงเวลาก็ยังคงเป็นไปตามสภาพนั้น
__________________
พระอาจารย์เล่าให้ฟังว่า "ตอนช่วงนั้นอาตมาธุดงค์อยู่ในป่า ที่เกาะพระฤๅษีมีเณรไปอบรม ๘๗ รูป เขาไม่รู้จะติดต่อกับอาตมาอย่างไร เพราะตอนนั้นอาตมาอยู่ในห้วยขาแข้ง เขาเลยใช้วิธีจุดธูปเรียก..!

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา อาตมาประกาศเลยว่า "ใครจุดธูปเรียกกู มันจะต้องเป็นคนไปหาเอง..!" ลองดูได้ อยู่สุดเหนือสุดใต้ยิ่งดี แน่จริงจุดเลย จุดเมื่อไร มึงต้องเดินมาหาตูในป่าเอง..!"

ถาม : เขาจุดธูป แล้วท่านได้ยินได้อย่างไร ?
ตอบ : ไม่ได้ยิน น่าจะได้กลิ่นมากกว่า (หัวเราะ) คนที่จุดธูปเรียก ชื่ออาจารย์เบ็ญจา มีลูกสาวชื่อเบญจพร ที่ใคร ๆ เขาเรียกว่า ป้าเม้าท์
__________________
เวลาอาตมาธุดงค์อยู่ในป่าจะมีความสุขมาก จึงสงสัยว่าเกิดจากอะไร ? ประการแรก เป็นเพราะความรู้สึกที่เป็นอิสระหลุดพ้นจากภาระ แค่ภาระทางโลกบางส่วนที่เรารับผิดชอบอยู่ พอเราปล่อยวางลงแค่ชั่วคราว เรายังมีความสุขขนาดนั้น แล้วภาระใหญ่คือร่างกาย ถ้าเราวางลงได้จะมีความสุขขนาดไหน ?

ประการที่สอง บรรดาสัตว์ที่อยู่ในป่า เขาคิดอย่างไรเขาก็ทำเช่นนั้น ไม่หน้าไหว้หลังหลอกเหมือนกับคน

เวลาพระท่านเลี้ยงหมา เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ ที่เกาะพระฤๅษี อาตมาถามท่านว่า "คุณเคยสังเกตบ้างไหมว่า เวลาคุณให้การสงเคราะห์สัตว์ด้วยเมตตา ทำไมจิตใจจึงสบายว่าการที่คุณสงเคราะห์คน ?"

ได้บอกกับพระท่านไปว่า "การสงเคราะห์สัตว์ คุณรู้อยู่ว่าเขาตอบแทนอะไรคุณไม่ได้ คุณก็เลยให้การสงเคราะห์โดยไม่มุ่งหวังการตอบแทนใด ๆ แต่การสงเคราะห์คน อย่างน้อย ๆ ความรู้สึกที่ว่าคนรู้ภาษา ต่อให้เขาไม่ตอบแทนอะไร อย่างน้อย ๆ ก็ให้เขาชมเราว่าดีสักนิดก็ยังดี เลยเป็นการสงเคราะห์ที่คับแคบกว่า ไม่เป็นอัปปมัญญา เพราะว่ายังหวังผลตอบแทนอยู่โดยไม่รู้ตัว"

ดังนั้น..จึงเป็นคำตอบที่ว่า ทำไมการสงเคราะห์สัตว์จึงสบายใจกว่าการสงเคราะห์คน

ตอนอยู่ในป่ากับพวกสัตว์ก็เช่นกัน พวกเขาตรงไปตรงมา คิดจะไล่ฟัดเราก็ไล่เลย ไม่มีประเภทแอบแทงข้างหลัง สบายใจกว่ากันเยอะ
__________________
ในบรรดาสัตว์ต่าง ๆ จะบอกว่าปัญญาเขาน้อยก็ใช่ แต่ความกังวลของเขาก็น้อยกว่าเราไปด้วย เขาไม่ห่วงว่ามื้อต่อไปจะมีกินหรือไม่ คิดแค่ปัจจุบันตอนนั้นจริง ๆ มีก็คือกิน ไม่มีก็หาต่อไป หมดวันหาไม่ได้ก็อดเอา พรุ่งนี้ค่อยหาใหม่ แต่คนเราจะต้องห่วง ต้องสะสม ต้องเตรียมการ ความทุกข์ของเราจึงมีมากกว่าสัตว์เยอะเลย
__________________
ในเรื่องการเดินธุดงค์ หลวงพ่อวัดท่าซุงบอกไว้ว่า การธุดงค์นั้นมี ๒ แบบด้วยกัน แบบที่ ๑ คือ เดินไปหาที่สงบซึ่งเหมาะแก่ใจตนเอง แล้วก็ปฏิบัติภาวนาอยู่ที่นั่น แบบที่ ๒ คือ เดินไปแล้วกำหนดภาวนาไปด้วย

แต่อาตมาถนัดแบบที่ ๒ เพราะฉะนั้น..วันหนึ่งก็เลยเดินประมาณ ๔๐ - ๕๐ กิโลเมตรเป็นอย่างน้อย ระยะหลังจึงไม่ค่อยมีคนอยากไปด้วย เพราะท่านเหนื่อย เราเดินไปภาวนาไปก็สบาย ส่วนคนที่เดินแล้วกำหนดภาวนาไม่ได้ก็เหนื่อยลิ้นห้อยไปสิ..!
__________________
สรุปว่า ตั้งแต่เราเริ่มคุยมาจนป่านนี้ ส่วนใหญ่แล้วกำลังใจของเราเกาะความดีเอาไว้ได้ แต่เรามักจะไม่รู้ตัวกัน มีน้อยคนที่ตั้งใจใช้การภาวนาไปเลย

ถ้าเรายังต้องอาศัยเวลาที่กำหนดไว้ แล้วค่อยมาปฏิบัติ จะไม่มีวันพอรับประทาน เพราะการปฏิบัติ เราต้องทำได้ทุกอิริยาบถ ทุกเวลา เพราะกิเลสไม่ได้เล่นงานเราเป็นเวลา แต่กิเลสเล่นงานเราตลอดเวลา ถ้าอยู่ในอิริยาบถอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การนั่งภาวนา แล้วเราไม่สามารถจะระงับกิเลสได้ แปลว่าเรายังห่างไกลความดีอยู่มาก

พวกเราตอนนี้ อาจจะสงสัยว่าทำไมนิวรณ์ ๕ หรือว่ารัก โลภ โกรธ หลง ทำไมกินใจเราไม่ได้ ? ทั้ง ๆ ที่นั่งฟังมาตั้งนาน เราต้องมานั่งวิจัยอารมณ์จิตตัวเองว่าเป็นเพราะอะไร ?

เพราะเราได้ยินได้ฟังแต่สิ่งที่ดี ไม่ก่อให้เกิดรัก โลภ โกรธ หลง หรือเปล่า ? เพราะกำลังใจของเราคิดตามไปในสิ่งที่ดีทั้งหลายเหล่านั้น ไม่ไปข้องแวะในรัก โลภ โกรธ หลง หรือเปล่า ?

ถ้าสามารถที่จะแยกแยะได้ว่าเป็นอย่างไร ต่อไปเราก็ทำเองแบบนั้น ในเมื่อเราทำเองได้แบบนั้น ต่อไปผลดีก็จะเกิดแบบนั้น
__________________
เรื่องพวกนี้ พวกเราอ่อนมาก ขาดการวิเคราะห์วิจัยและแยกแยะสภาพจิตของตน ว่าสภาพจิตเราดีเพราะอะไร ? แล้วสภาพจิตไม่ดีเพราะอะไร ? ถ้าเราสามารถวิเคราะห์ได้ แยกแยะออก เราก็เว้นในสิ่งที่ไม่ดี แล้วก็เลือกทำแต่สิ่งที่ดี สภาพจิตก็จะเคยชินกับด้านดี

ดีกับชั่วก็เหมือนกับคนแย่งกันนั่งเก้าอี้ เก้าอี้มีอยู่ตัวเดียว ถ้าดีนั่งได้ ชั่วก็นั่งไม่ได้ เมื่อสภาพจิตรับความดีเข้ามา ความชั่วก็เข้าไม่ได้

ในส่วนนี้ ถ้าจัดอยู่ในโพชฌงค์ ๗ เขาเรียกว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คือ องค์คุณเป็นเครื่องตรัสรู้โดยการแยกแยะในธรรม

ถ้าจัดอยู่ในมหาสติปัฏฐานสูตรก็เป็นส่วนของ เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม
__________________
ในเมื่อรู้ว่าเราบกพร่องตรงจุดไหน ? อ่อนตรงจุดไหน ? เราก็แก้ไขตรงจุดนั้น ถ้าเราเคยเล่นกีฬา เราจะรู้ว่าเรามีข้อบกพร่องตรงไหน

สมัยก่อนอาตมาเล่นกีฬาแทบทุกชนิด มีกีฬาบางชนิด เช่น ปิงปองหรือแบดมินตัน อาตมาไปเจอคู่ต่อสู้เก่ง ๆ ชนิดที่ถูกเขาโยกจนหัวทิ่มหัวตำ อาตมาก็ต้องหาทางแก้ไขจุดอ่อนของตัวเอง และท้ายสุดก็ฝึกการใช้สองมือ สามารถใช้มือซ้ายได้เกือบเท่ามือขวา

พอคู่ต่อสู้ตีลูกโยกมา คราวนี้ก็ไม่ต้องวิ่งมากแล้ว แค่ก้าวยาว ๆ ก้าวเดียวก็เปลี่ยนมือรับได้เลย เพราะฉะนั้น..ต้องรู้จักแก้ไขจุดบกพร่องตัวเอง ถ้าไม่รู้จักแก้ไข กี่ที ๆ มาท่านั้นก็ร่วงทุกที ถ้าอย่างนี้ ชาตินี้ปฏิบัติไปก็ไม่รู้จะเอาดีได้เมื่อไร

ลีลาของกิเลสจะมาแค่ รัก โลภ โกรธ หลง ๔ อย่าง แต่แตกแขนงแยกย่อยออกไปเป็นหัวข้อนับไม่ถ้วน ถึงแม้ว่าเป็นวิชารัก ก็แยกออกไปไม่รู้ว่ากี่แขนง วิชาโลภ วิชาโกรธ วิชาหลง ก็นัยเดียวกัน เมื่อเป็นดังนั้น เราก็จำเป็นที่จะต้องแก้ไขจุดบกพร่องของตัวเองให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะไม่มีวันเอาชนะเขาได้เลย..!
__________________




 

Create Date : 02 ธันวาคม 2553
0 comments
Last Update : 9 พฤศจิกายน 2557 15:53:13 น.
Counter : 1865 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


doraeme
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add doraeme's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.