Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
7 พฤศจิกายน 2556
 
All Blogs
 
ทริปตรัง ถือศีลกินผัก ปี 2556 ตอนที่6 พิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์ทุ่งหว้า,GeoPark

หลังจากไปชมถ้ำเล สเตโกดอน พร้อมได้เห็นภาพแบบอันซีนไปแล้วจากบล๊อกที่แล้ว

พวกเราก็ตรงไปยังพิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์ ทุ่งหว้า คุณ ณรงค์ฤทธิ์ ทุ่งปรือ นายก

องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหวัา รอให้ความรู้เราเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์อยู่ด้านหน้าแล้วค่ะ





หินสาหร่าย ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ มีความสำคัญอย่างไร เดี๋ยวเราจะได้ไปชมถัดจากนี้ไปค่ะ





เข้าไปชมด้านในกันเลยค่ะ มีภาพนิทรรศกาลเฉลิมพระเกียรติ





มีรายละเอียดเกี่ยวกับบทบาทช้างในวิถีชีวิตคนไทย





ช้างเผือกคู่พระบารมี ร.๙





ภาพอดีต การทำยุทธหัตถี





รายละเอียดและความสำคัญเกี่ยวกับช้างคู่บารมี ในอดีตและปัจจุบัน





ความสำคัญของช้างในวัฒนธรรมไทย





จัดไว้อย่างสวยงาม น่าไปชมหากมีเวลาศึกษาข้อมูลความรู้โดยละเอียดจะดีมากๆค่ะ





นอกจากนี้ยังได้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม ของที่แห่งนี้ด้วยค่ะ

ขอยกรายละเอียดมาไว้เป็นข้อมูลในกระทู้นะคะ

----


งานประเพณีไหว้ผีโบ๋

สถานที่ อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล

ประเพณีการไหว้ผีโบ๋ (ผีหมู่ หรือพวกผีทั้งหมด) เป็นประเพณีที่มีมายาวนานของชาวอำเภอทุ่งหว้า

ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ คือการไหว้ผีไม่มีญาติตามถนนหนทาง ผีพวกนี้โบราณเรียกว่า"ลี่"

ถือเป็นผีชั่วร้าย อิทธิพลพุทธศาสนาทำให้ทัศนะของผีพวกนี้เปลี่ยนไป เป็นผีที่น่าสงสารจนปัจจุบัน

เรียกผีพวกนี้ว่า"ฮอเฮียตี๋" แปลว่า"พี่น้องที่ดี" การไหว้ผีพวกนี้ไม่ไหว้ในบ้าน นิยมไหว้ริมถนนหนทาง

ชายน้ำ ประเพณีการไหว้ผีโบ๋ เป็นการทำบุญครั้งใหญ่จะมีการนำหัวหมู ข้าวสาร ผลไม้ อาหาร

คาวหวาน มาทำพิธีให้กับผีโบ๋ และญาติที่ล่วงลับไปแล้ว เมื่อทำพิธีเสร็จก็ปล่อยให้ชาวบ้านที่ยากจน

เข้ามาเอาอาหารและข้าวสารนำกลับไปบ้านพร้อมมีการปักธงสีและเขียนลวดลายจีน


โดยให้ชาวบ้านเข้ามาแย่งชิงกัน ซึ่งใครได้ธงสีไปนำไปติดที่บ้านได้ เป็นสิริมงคลในชีวิตครอบครัว

และถือว่าเป็นกิจกรรมที่ดีเป็นการเสริมสร้างให้ชาวอำเภอทุ่งหว้าได้มีส่วนร่วมในการสมานฉันท์

เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยมีการร่วมแรงร่วมใจกับชาวบ้านในพื้นที่มาตลอด


----


วัฒนธรรมด้านอาหารการกิน

แกงคอแมะห์: จังหวัดสตูล

แกงคอแมะห์ อาหารพื้นเมืองของสตูลเป็นเสมือนอาหารหลักประจำบ้าน นิยมรับประทานใจ

ครอบครัวของชาวไทยมุสลิม แต่ชาวจีนในจังหวัดสตูลนิยมรับประทานเช่นกัน เพราะมีกลิ่น

เครื่องเทศและสมุนไพร ทำให้แกงมีความหอมกรุ่น และหากได้ปรุงกับปลาอิงคุดด้วยและจะ

มีรสชาดที่อร่อยขึ้น การปรุงแกงคอแมะห์ มีเครื่องปรุง ได้แก่ ปลาสด น้ำกระทิสด เกลือ

มะขามเปียก ขมิ้น พริกแห้งเมล็ดใหญ่ กระเทียม หัวหอมแดง เมล็ดบาลาบา เมล็ดซาหวี

เมล็ดผักชี เมล็ดข้าวเล็ก เมล็ดข้าวใหญ่ และใบกาลาปอแหล(ใบสมุยเทศ) การปรุงเครื่องแกง

แบบสมัยดั้งเดิมจะต้องบดและโขลกเครื่องให้ละเอียด ซึ่งจะได้รสชาติต้นตำรับที่อร่อย

แต่ปัจจุบันมีเครื่องแกงสำเร็จรูปจำหน่ายทำให้การปรุงง่ายยิ่งขึ้น ถ้าต้องการให้มีรสชาด

เข้มข้นอาจจะบดพริกแห้งปรุงเพิ่ม หรือถ้าต้องการรสเผ็ดก็จะเพิ่มพริกสด ที่สำคัญต้อง

ตั้งไฟให้เครื่องแกงสุกดีจึงจะเติมกระทิ มิฉะนั้นอาจจะไม่ได้แกงคอแแมะห์ที่มีรสชาด

หอมกรุ่นชวนทาน แกงคอแมะห์นิยมรับประทานกับข้าวมัน(ข้าวที่หุงกับกะทิ) ทานร่วม

กับอาจาดแตงกวา แต่ก็มารถรับประทานกับข้าวหุงธรรมดาได้ ทานได้ทั้งเป็นอาหาร

เช้า อาหารเที่ยง และอาหารเย็น และมักนำมาทานร่วมกับโรตี หรือ ปาท่องโก๋ได้ ขนม

๒ อย่างนี้ นำมาจิ้มกับแตงคอแมะห์และจะอร่อยยิ่งขึ้น


-----


วัฒนธรรมการนิกะ(การสมรส)

จังหวัดสตูล

การนิกะ หมายถึง การสมรส (พิธีนิกะฮ หรือพิธีกินเหนียว) ตามบัญญัติศาสนาอิสลาม

การนิกะฮ หมายถึงการผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างชายหญิง เพื่อเป็นสามี ภรรยากัน ศาสนา

อิสลามไม่ใช้การสมรสต่างศาสนากับคนต่างศาสนา หากจะสมรสต้องให้ผู้นั้นมาเป็น

มุสสลิมด้วยความศรัทธาเสียก่อน คือการปฎิบัติตามแนวทางของระบบอิสลาม เช่น

การละหมด ถือศิลอด บริจากซะกาด ฯลฯ มิใช่เป็นมุสลิมเพียงกล่าวคำปฎิญาณตน

และเข้าสุนัขตามที่บางคนเข้าใจเท่านั้น ในพิธีจะต้องมีพยาน ๒ คน และมะฮัรอยู่ตรง

หน้าของผู้ทำพิธีและเจ้าบ่าว ซึ่งทุกคนอยู่ในท่านั่ง ผู้ทำพิธีจะจับมือเจ้าบ่าว กล่าวกับ

เจ้าบ่าวว่า"ฉันขอนิกะฮ ท่านกับนางสาว....บุตรของ...ด้วยมะฮัรจำนวน....เจ้าบ่าวจะ

ตอบกลับว่า"ฉันขอรับ" นิกะฮกับนางสาว...ด้วยมะฮัรดังกล่าว" คำตอบรับนิกะฮ จะต้อง

ให้ผู้นิกะฮและพยานอีก ๒ คน ได้ยินชัดเจนทุกถ้อยคำหากยังได้ยินไม่ชัดเจนเป็นเอกฉันท์

------


บุหงาปูดะ

"บุหงาปูดะ" หรือ ขนมดอกลำเจียก เป็นขนมพื้นเมืองของจังหวัดสตูล มีการทำกันมา

ตั้งแต่สมัยพระยาสมันตรัฐ โดยคนในสายสกุลกรมเมือง ที่เข้าไปรับใช้อยู่ในวังเก่าเจ้าเมืองสะโดย

หรือจังหวัดสตูลปัจจุบัน ขนมบุหงาปูดะ มีลักษณะสี่เหลี่ยมคล้ายหมอนทำด้วยมะพร้าวทึนทึก

และแป้งข้าวเหนียว ผสมด้วยน้ำตาลเกลือน้ำ และกะทิ เป็นขนมพื้นบ้านของชาวมุสลิมที่นิยม

ทำเป็นขนมใช้ในการเทศกาลงานพิธีที่คำคัญๆทางศาสนาอิสลาม อาทิ งานเทศกาลฮารีลายอ

ตรุษของอิสลาม เทศกาลถือศีลอด งานแต่งงาน และเทศกาลอื่นๆ อีกมากมาย และนอกจากนี้

ยังใช้เป็นขนมต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง ที่มาเยือนอดีต


ขนมบุหงาปูดะ จะทำกันเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญ ไม่มีขายตามท้องตลาด จะต้องรอจนถึง

ช่วงเทศกาลถึงจะได้รับประทาน แต่ปัจจุบันขนมบุหงาาปูดะได้มีการทำออกจำหน่ายเป็นของ

ฝากติดไม้ติดมือนักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจตลอดทั้งปี โดยมีกลุ่มเยาวชนและกลุ่มแม่บ้านที่

ได้สืบทอดภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพบุรุษรวมกลุ่มทำขนมพื้นบ้านชนิดนี้จนกลายเป็นสินค้า

โอท๊อปที่สร้างชื่อเสียงให้กับจ.สตูล





ประวัติอำเภอทุ่งหว้า:สุไหงอุเป ในอดีต History of ThungWa District

ผศ.ดร. ประเทือง จินตสกุล ผู้เรียบเรียง


ทุ่งหว้า เดิมชื่อ"สุไหงอุเป" เป็น 1 ใน 2 อำเภอแรกของจังหวัดสตูลที่จัดตั้งขึ้นในชื่ออำเภอทุ่งหว้า

เมื่อ พ.ศ. 2451 หรือในปลายสมัยรัชกาลที่ 5 (อีก 1 อำเภอ คือ มำบังนังคะรา หรือ เมืองสตูล

ในปัจจุบัน) มีนายอำเภอคนแรก คือ ขุนนิกรกาญจน์ประกิต (หวันหมาด สุหลง) ซึ่งปกครองกิ่งอำเภอ

ละงูที่ขึ้นอยู่กับอำเภอทุ่งหว้าด้วย ในพ.ศ. 2473 ทางราชการ ได้ประกาศลดฐานะอำเภอทุ่งหว้า

เป็นกิ่งอำเภอและได้ประการยกฐานะเป็นอำเภอทุ่งหว้าอีกครั้งจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นทุ่งหว้าจึงเป็น

อำเภอ กิ่งอำเภอ และอำเภอ ต่อเนื่องกันมานานกว่า 100 ปีเศษ

ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของ อำเภอทุ่งหว้า

1.ยุคก่อนประวัติศาสตร์


ดินแดนบริเวณชายฝั่งทะเลของช่อแคบมะละกาแถบจังหวัดสตูลและไทรบุรี เคยเป็นถิ่นที่อยู่ของ

มนุษย์อย่างน้อยตั้งแต่สมัยหินใหม่(Neolithic Age) ในยุคก่อนประวัติศาสตร์หรือเมื่อประมาณ

5,000 ปีมาแล้ว เพราะพบหลักฐานเครื่องมือจำนวนมากในถ้ำเขาโต๊ะนางดำ เขาขุมทรัพย์และ

เขาอื่นๆ ในเขตอำเภอทุ่งหว้า เช่น ขวานหินขัด หินลับ ค้อนหิน เครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น อย่างไร

ก็ตาม ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่ามนุษย์ถ้ำดังกล่าวเป็นชนเผ่าใด


++++(ภาพเล็กข้างใน)


ภาพชนเผ่าเงาะซาไกในเขตหมู่บ้านราวปลา ตำบลทุ่งหว้านักโบราณคดีจัดให้อยู่ในกลุ่มเชื่อชาติใหญ่

ที่เรียกว่านิกรอยด์ หรือเนกริโต ในตระกูลออสโตร เอเชียติก จัดเป็นมนุษย์โบราณที่อาจจะมีที่มาตั้ง

แต่สมัยยุคหินหรือประมาณ 5,000-10,000 ปีมาแล้ว


(บุญเสริม ฤทธาภิรมย์ 2548)





ยุคแคมเบรียน


มีช่วงเวลายาวประมาณ ๕๔ ล้านปี (จาก ๕๔๒ ถึง ๔๘๘.๓ ล้านปี) ช่วงที่เก่าแก่ที่สุดของมหายุคพาลีโอโซอิก

มีน้ำทะเลแผ่กระจายอย่างกว้างขวางและมีพื้นแผ่นดินขนาดใหญ่จำนวนหนึ่งกระจัดกระจายอยู่ ทวีปใหญ่ที่สุด

คือ กอนต์วานา สภาพภูมิอากาศโดยเฉลี่ยอาจอบอุ่นมากกว่าในปัจจุบัน และมีความผันแปรในแต่ละภูมิภาพ

น้อยมาก ยังไม่มีพืชบกหรือสัตว์บก แต่มีสิ่งมีชีวิตในทะเล ทั้งสัตว์ที่มีเปลือก หรือมีโครงกระดูก เนื่องจากมี

สัตว์ที่เด่นสำคัญคือ โทรดลไมค์ ดังนั้นในบางครั้ง ยุคแคมเบรียนจึงเรียกว่า"ยุคแห่งไทรโลไมต์"

------


ยุคออร์โดวิเซียน ORDOVICIAN PERIOD

มีช่วงเวลาประมาณ ๔๔ ล้านปี (จาก ๔๘๘ ถึง ๔๔๔ ล้านปี) ในช่วงยุคนี้ผืนแผ่นดินใหญ่จำนวนมาก

วางตัวอยู่ในเขตร้อน สิ่งมีชีวิตที่โดดเด่นมากเป็นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง แต่พืชบนผืนแผ่นดิน

บางรูปแบบอาจปรากฎขึ้นในช่วงกลางยุคนี้ สปอร์ซึ่งบ่งชี้ถึงสภาพแวดล้อมของผืนแผ่นดินเขตร้อน

ได้ถูกค้นพบในหินช่วงยุคออร์โดวิเชียนนี้ ในช่วงตอนปลายเป็นช่วงยุคน้ำแข็งประกอบกับระดับน้ำ

ทะเลสูงขึ้นจึงทำให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ขึ้น


---

ยุคไซลูเรียน SILURIAN PERIOD

มีช่วงเวลายาวประมาณ ๒๘ ล้านปี(จาก ๔๔๔ ถึง ๔๑๖ ล้านปี) เป็นยุคที่มีพืชบกและปลาที่มีขา

กรรไกรปรากฎขึ้นเป็นครั้งแรก ผืนทวีปต่างๆ ถูกกระจายเป็นดังนี้ ทวีปอาร์กติก แคนาดา สแกนดิ

เนเวีย และออสเตรเลีย อาจตั้งอยู่ในเขาโซร้อน ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์อาจอยูในเส้นอาค์กติกเซอเคิล

ทวีปอเมริกาใต้และแอฟริกาจะอยู่ใกล้ขั้นโลกเช่นกัน พื้นผิวแผ่นดินถูกปกคลุมด้วยพืชน้ำแข็ง

ซึ่งอาจมีความเล็กเท่าๆกับพืชน้ำแข็งที่ปกคลุมทวีปแอนตาร์กติกาปัจจุบันนี้


-------

ยุคคาร์บอนิเฟอรัส CARBONIFEROUS PERIOD

มีช่วงเวลายาวประมาณ ๖๐ ล้านปี (จาก ๓๕๙ ถึง ๒๙๙ ล้านปี) กำหนดจากการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

ทางภูมิศาสตร์ของโลก เมื่อแผ่นดินทั้งหมดเคลื่อนที่เข้าใกล้กัน อันเป็นผลจากการแปรสัณฐานของ

แผ่นดินเปลือกโลก ผืนทวีปขนาดใหญ่มหาศาลที่เรียกว่ากอนด์วานาครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของซีก

โลกใต้ในระหว่างยุคนี้มีป่าบึงแพร่กระจายอยู่ทั่วไป และก่อกำเนิดแหล่งถ่านหินจำนวนมหาศาล พืช

มีพัฒนาการอย่างากมายในเขาป่าไม้ที่ซับซ้อน สสัตว์มีกระดูสันหลังกำลังอยู่ในขั้นตอนวิวัฒนาการ

อย่างกว้างขวาง สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกได้แพร่กระจายอยู่ทั่วไปและมีความหลากหลาย สัตว์เลื้อย

คลานปรากฎขึ้นเป็นครั้งแรกและมีการปรับตัวเข้ากับถิ่นที่อยู่อาศัยต่างๆ อย่างรวดเร็ว


----




ยุคเพอร์เมียน PERMIAN PERIOD


มีช่วงระยะเวลายาวประมาณ ๔๗ ล้านปี (จาก ๒๙๙ ถึง ๒๕๑ล้านปี) ทวีปต่างๆ เชื่อมต่อกันเป็น

มหาทวีปผืนเดียวกันเรียกว่า"แพนเจีย" ซึ่งสภาพร้อนและแห้งแล้งอย่างรุนแรงเกิดขึ้นเกือบทุกหน

ทุกแห่ง มีทะเลทรายกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป สิ่งมีชีวิตมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง สัตว์ทะเลไม่มี

กระดูกสันหลังวิวัฒนาการออกเป็นสิ่งมีชีวิตหลาากหลายสายพันธุ์ ปลาทะเล ปลาน้ำจืด และสัตว์

สะเทินน้ำ สะเทินบกเจริญขึ้น สัตว์เลื้อยคลานวิวัฒนาการออกเป็นสามกลุ่มที่แตกต่างกันอย่าง

ชัดเจน คือ คอตีโลโซร์รัส แอนดินโลซอร์ พืชบนบกวิวัฒนาการจากเฟิร์น และเฟิร์นที่มีเมล็ด

เป็นพืชพวกสน และปรับตัวให้เข้ากับสภาพพื้นดินระบายน้ำได้ดี เมื่อใกล้สิ้นสุดยุคเพอร์เมียน

สิ่งมีชีวิตหลายๆ ชนิด ได้สูญพันธุ์ไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งยังไม่มีผู้ใดทราบสาเหตุ


(จากการสำรวจในอำเภอทุ่งหว้าได้ค้นพบฟอสซิลช้างโบราณ 2 สกุล คือ สเตโกดอนและเอลลิฟาส และยังพบฟอสซิลแรดโบราณอีก 2 สกุล คือ เกนดาธิเรียมและคิโลธิเรียม”)


ยุคเพอร์เมียน PERMIAN PERIOD





สายวิวัฒนาการของสัตว์งวง

มหายุค (Era) ชีโนโซอิก(Cenozoic) แบ่งออกเป็นสมัย(Epoch)

โอโลชีน/ปัจจุบัน (Holocene) 0.01ล้านปี

ไพลสโตซีน (Pleistocene) 1.8 ล้านปี

ไพลโอซีน (Pliocene) 5.3 ล้านปี

ไมโอซีน(Miocene) 23. ล้านปี

โอลิโกซีน(Oligocene) 33.9 ล้านปี

อีโอซีน(Eocene) 55.8 ล้านปี

พาลีโอจีน(Paleocene) 65 ล้านปี

ซึ่งเป็นยุคก่อนไดโนเสาร์ (Jurassic)





ซากกระดูขากรรไกรพร้อมฟันกรามซี่ที่ 2 และ 3 ด้านล่างวงขวาของช้างดึกดำบรรพ์สกุล สเตโดดอน


ประวัติการค้นพบ

เมื่อประมาณเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ นายยุทธนันท์ แก้วพิทักษ์ ชาวบ้านหมู่ 6 ตำบลลิพัง

อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรังพร้อมด้วยคณะจำนวน 4 คนได้เดินทางเข้าไปยังถ้ำวังกล้วย วิ่งอยู่

ในเขตบ้านคีรีวง หมู่ที่ 7 ตำบลทุ่งหว้า อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล เพื่อหากุ้งก้ามกราม ในขณะที่ดำน้ำ

หากุ้ง ได้พบซากดึกดำบรรพ์มีลักษณะเป็นสินสีน้ำตาลไหม้ น้ำหนักประมาณ 5.3 กิโลกรัม

ยาวประมาณ 44 เซนติเมตร สูงประมาณ 16 ซม. ห่างจากปากทางเข้าถ้ำทางด้านหมู่บ้าน

คีรีวง ประมาณ 1600 เมตร นายยุทธนันท์ ได้นำซากที่พบ ออกมาจากถ้ำ และมอบให้กับ

ทางอำเภอ ทุ่งหว้า โดยมี นายประเสริฐ สองเมือง ปลัดอำเภอประจำตำบลทุ่งหว้า พ.ต.อ.

ถวัลย์นคราวงค์ ผู้กำกับการสถานีภูธรทุ่งหว้า นายพิศาล แซ่เอี้ยว ประธานสภาองค์การบริการ

ส่วนตำบลทุ่งหว้า นางสาวรุ่งทิพย์ ฟองโหย นักพัฒนาชุมชน นายจารึก วิลรัตน์ เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์

และนายอรรณพล จุลฉีดผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 เป็นตัวแทนรับมอบ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม

2551 จากนั้นได้นำซากดึกดำบรรพ์ชิ้นดังกล่าวไปฝากเก็บไว้ที่สถานีตำรวจภูธรทุ่งหว้า แต่ยัง

ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นชิ้นส่วนของสัตว์ชนิดใด ขณะนั้น นักธรณีวิทยาจากกรมทรัพยากรธรณี

ซึ่งมาสำรวจพิศูจน์เบื้องต้น และสันนิฐานว่าอาจเป็นซากของจระเข้ แต่ต้องรอการพิสูจน์จาก

ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านอีกครั้ง และได้เสนอข่าวในหนังสือพิมพ์หลายฉบับ


ต่อมา พศ.ดร.ประเทือง จินตสกุล ผู้อำนวยการสถาบันการวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณี

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเฉลิมพระเกียรติมหาวิทยาลัยราชฏัชนครราชสีมา ซึ่งเป็นคนทุ่งหว้า

โดยกำเหนิด และได้ศึกษาวิจัยอนุรักษ์ซากดึกดำบรรพ์ทั้งพืชและสัสตว์ที่พบใน จ.นครราชสีมา

ในรูปแบบอาคารพิพิธภัณฑ์ คือพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินพิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์โคราช

และไดโนเสาร์โคราช หลังจากทราบข่าวจากหนังสือพิมพ์จึงได้ติดต่อกับ นายณรงค์ฤทธิ์ ทุ่งปรือ

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหวัา เพื่อขอเข้าศึกษาในรายละเอียด และได้ส่งสักวิชาการ คือ

นายจรูญ ดวงกระยอม อาจารย์ประจำ และ นางสาวสุภัทรา บุญลำพู นักวิชาการศึกษามาทำ

การศึกษา และทำแบบหล่อรูปหล่อจากการศึกษาทำให้ทราบว่าเป็นซากกระดูขากรรไกรพร้อม

ฟันกรามซี่ที่ 2 และ 3 ด้านล่างวงขวาของช้างดึกดำบรรพ์สกุล สเตโดดอน อายุอยู่ในสมัยไพลสโตซีน

หรือประมาณ 1.8-0.001 ล้านปีก่อนหลังจากนั้น วันที่ 27 พฤษภาคม 2551 ทีมสำรวจชุดแรก

ที่ประกอบด้วย นายวิฑูร ทองเมฑ , นายรัฐพงศ์ วรวรรณสงคราม, เจ้าหน้าที่องค์การบริการส่วน

ตำบลทุ่งหว้า นายอรรถพล จุลฉีด ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านคีรีวง นายธรรมรัตน์ มุขแสง ชาวบ้านคีรีวง,

และนายจรูญ ด้วงกระยอม,ได้เข้าภายในถ้ำเพื่อสำรวจและศึกษาแหล่งที่พบซากดังกล่าว แต่ไม่

ประสบผลสำเร็จ โดยเข้าได้แค่ครึ่งทางเท่านั้น เนื่องจากเส้นทางยากลำบากและขาดการ

เตรียมตัวที่ดี ทีมงานจึงได้ประชมและกลับมาเตรียมตัวให้พร้อมก่อนจะเข้าถ้ำอีกครั้งในวันถัดไป

ซึ่งมีสมาชิกทีมสำรวจเพิ่มขึ้นเป็น 11 คน และสามารถเข้าไปใกล้จุดที่พบมากที่สุดแต่ไม่สามารถ

ระบุจุดที่พบได้เนื่องจากไม่มีผู้รู้จุดชัดเจนเข้าไปด้วย





แหล่งช้างดึกดำบรรพ์ในประเทศไทย





ลักษณะช้างดึกดำบรรพ์ในยุคต่างๆ





โบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ในจังหวัดสตูล

Prehistoric Archaeology in satun province


ข้อมูลทางโบราณคดีในปัจจุบัน พบหลักฐานว่าดินแดนในจังหวัดสตูล เคยเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มา

ตั้งแต่ ๕,๐๐๐ ปีมาแล้วเป็นอย่างน้อย ปรากฎหลักฐานรูปแบบการตั้งถิ่นฐาน การดำรงชีพ ความเชื่อ

และพิธีกรรมของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์กระจายอยู่ในพื้นที่หลายแห่งของจังหวัด สันนิษฐานว่ามนุษย์

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ดังกล่าวใช้พื้นที่ถ้ำและเพิงผาของภูเขาหินปูนเป็นที่พักอาศัยที่สำคัญ หรือ อาศัย

อยู่ในเพิงชั่วคราว มีการดำรงชีวิตหลักด้วยการหาของป่าล่าสัตว์ และมีประเพณีที่เป็นแบบแผน เช่น

ประเพณีเกี่ยวกับความตาย





แผนที่ของแหล่งอนุรักษ์ธรณีวิทยา มีอยู่มากมายหลายจุดทีเดียว





เข้ามาดูใกล้ๆ





หินที่มีซากฟอสซิลปรากฎอยู่อย่างชัดเจน





เก็บภาพหมู่หน้าพิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์ ก่อนลุยทุ่งหินสาหร่าย High light แห่งใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น





แหล่งธรณีวิทยา>สตูล>หินสาหร่าย


ที่ตั้ง :: บ้านป่าแก่ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

การเดินทาง :: ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 200x100 เมตร แยกจากถนนสายละงู – ทุ่งหว้า ที่กม.10+700

เข้าไปประมาณ 2 กม.

ลักษณะเด่น :: หินปูนสีแดง เรียงตัวเป็นชั้นๆสวยงาม แปลกตามาก บางแห่งคล้ายปราสาทขอมโบราณ เกิดจาก

การก่อตัวของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน มีอายุมากกว่า 440 ล้านปี

ลักษณะธรณีวิทยา :: ลำดับชั้นหินแบบฉบับของหมวดหินป่าแก่ ซึ่งเป็นหมวดหินที่อยู่บนสุดของกลุ่มหินทุ่งสง

ประกอบไปด้วยหินปูนสีแดงชั้นบางแทรกสลับด้วยหินโคลนชั้นบางมาก เกิดจากการก่อตัวของสาหร่ายสีเขียว

แกมน้ำเงินหรือที่รู้จักกันในชื่อ cyanobacteria เรียกลักษณะนี้ว่า stromatolite




หินที่กระจายตัวอยู่บริเวณนี้เป็นหินสาหร่ายทั้งนั้น ท่านนายกโอเล่ชี้ให้เราดูชั้นของสาหร่ายที่เกาะตัวเป็นชั้นๆกลายเป็นหิน

สาหร่ายคือสิ่งที่มีชีวิตที่เกิดก่อนสิ่งที่มีชีวิตทุกสิ่งในโลก ลองจิตนาการดูนะคะว่าเก่าแก่ขนาดไหน


----

สาหร่ายนี้เป็นสาหร่ายที่เกาะกันเป็นพืดปกคลุมอยู่บนหินในยุคแคมเบรียนและในยุคก่อนหน้านั้น ปัจจุบันนี้

เหลืออยู่เพียงที่เดียวในโลกที่ยังมีชีวิตอยู่ คือ ที่อ่าวชาร์ก ทางภาคตะวันตกของออสเตรเลีย ซึ่งในอดีตแพร่

กระจายอยู่ทั่วโลก โดยแนวก้อนหินใหญ่น้อยหิน ที่มีสาหร่ายสโตรมาโตไลท์ปกคลุมนั้น จะมีผิวด้านบนเป็น

จุลินทรีย์ที่เจริญเติบโตซ้อนกันเป็นชั้นบางๆ โดยชั้นบนสุดคือ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน(Blue-green algae)

หรือที่เรียกว่า ไซยาโนแบคทีเรีย(Cyanobacteria) ที่สังเคราะห์แสงและผลิตก๊าซออกซิเจน ส่วนชั้นกลาง

เป็นแบคทีเรียที่ทนออกซิเจนและแสงแดดได้บ้าง และชั้นล่างสุด เป็นแบคทีเรียที่มีสิ่งมีชีวิตอยู่ได้ในสภาวะ

ไร้ออกซิเจนและแสงแดดเท่านั้น ดำรงชีวิตแบบพึ่งพากัน(Mutualism)





เศษตะกอนที่มาติดตามพืดหิน จะถูกจุลินทรีย์เหล่านี้เชื่อมติดกันและพอกหนาขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นหินแข็งๆ

สิ่งมีชีวิตเหล่านี้จึงต้องเจริญเติบโตแทรกผ่านชั้นตะกอนขึ้นมาเพื่อให้ได้รับแสงแดด ทำให้เห็นเป็นชั้นๆแทรกในหิน


สโตรมาโตไลท์มีความสำคัญต่อการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตคือ เป็นตัวจัดหาออกซิเจนให้แก่สิ่งมีชีวิตแรกเริ่มในยุค

พรีแคมเบรียน ทั้งนี้ในยุคก่อนหน้าี้ไม่มีออกซิเจนอิสระอยู่เลย แต่จะอยู่ในรูปของสารประกอบที่ปะปนอยู่สสารต่างๆ

รวมทั้งน้ำทะเล (เหมือนกับเกลือละลายในน้ำทะเล) ออกซิเจนทีสาหร่ายสโตรมาโตไลต์สร้างขึ้นจากการสังเคราะห์

ด้วยแสง เป็นส่วนหนึ่งที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ แบบหายใจโดยไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic

bacteria) ทำให้เกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่มีโครงสร้างซับซ้อน ที่จำเป็นต้องใช้ออกซิเจนซึ่งให้พลังงาน

Adenosine triphosphate (ATP) สูงกว่า จนเกิดวิวัฒนาการจนถึงปัจจุบัน


Oscillatoria


Oscillatoria เป็นตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตในกลุ่ม Cyanobacteria ที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน

เมื่อสาหร่ายสโตรมาโตไลท์ผลิตก๊าซออกซิเจนออกมา จะทำปฏิกิริยากับธาตุเหล็กในน้ำทะเล เกิดเป็นสนิม

(Fe2O3) จมลงสู่ก้นทะเล ก่อเกิดลวดลายต่างๆ สะสมเป็นหินตะกอน ส่งผลให้หินในสภาพแวดล้อมนี้มีสีแดง


นอกจากนี้ ชั้นเมือกเหนียวๆ ของสาหร่ายสโตรมาโตไลท์ที่ยังมีชีวิตอยู่ จะคอยดักเศษตะกอนและเศษซากหรือ

เปลือกของสิ่งมีชีวิตให้ติดอยู่กับสาหร่ายสโตรมาโตไลต์ ในสภาพที่เอื้อต่อการเป็นซากดึกดำบรรพ์ (fossilization)

เราจึงพบซากดึกดำบรรพ์จำนวนมากแทรกอยู่ในชั้นของของซากดึกดำบรรพ์สโตรมาโตไลท์ เป็นแหล่งสังเกต

สำคัญให้กับนักเรียนที่ไปร่วมกิจกรรมศึกษาสำรวจฯ


นอกจากสาหร่ายสโตรมาโตไลท์จะผลิตก๊าซออกซิเจน เอื้อต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหลายแล้ว ยังเป็นแหล่งผลิตอาหารให้

กับระบบนิเวศ จึงพบซากดึกดำบรรพ์สิ่งมีชีวิตหลายชนิดปะปนอยู่ภายในซากดึกดำบรรพ์ชนิดนี้ ได้แก่ รูหนอน

ชอนไช, พลับพลึงทะเล (Crinoidea)


แทบจะกล่าวได้ว่า ซากดึกดำบรรพ์ของสโตรมาโตไลท์เป็นซากดึกดำบรรพที่คุ้นหูคุ้นตาคนละงู จังหวัดสตูลมาก

ที่สุด บางแห่งเป็นความเชื่อในแง่เป็นที่สิงสถิตย์ของผู้ปกปักรักษา แต่ส่วนที่กระจายอยู่ตามห้วย คลองและใน

ป่ายาง ตลอดจนหินกลิ้งที่ตกมาจากเขา ปัจจุบันมีบริษัทเอกชนได้มาตัดหินที่มีซากสโตรมาโตไลต์เป็นแผ่น

เพื่อนำมาใช้ประโยชน์เป็นหินแผ่นประดับ จัดสวนตามบ้านเรือน


…น่าห่วงจริงๆ ทั้งที่อุตส่าห์ผ่านกาลเวลามาตั้ง 500 ล้านปี ควรจะมีโครงการอนุรักษ์เพื่อให้เป็นแหล่งศึกษา

เรียนรู้คู่กับชุมชน


สำหรับท่านที่สนใจเริ่มศึกษาสำรวจซากดึกดำบรรพ์ ควรเลือกศึกษาจากซากดึกดำบรรพ์ของสาหร่าย

สโตรมาโตไลต์ก่อน..นะครับ

แหล่งศึกษาสโตรมาโตไลต์ที่น่าสนใจ ถูกค้นพบโดย นายอาบีดิน งะสมัน นักเรียนชั้น ม.5/1 ปีการศึกษา 2548

ณ บ้านท่าแร่ ทำให้เกิดการศึกษาเปรียบเทียบเชื่อมโยงชั้นหินจากบ้านตะโล๊ะใส ไปจนถึงบ้านเขาน้อย

และได้ซากดึกดำบรรพ์ชนิดอื่นๆ ที่น่าสนใจเพิ่ม


โปรดคลิ๊กชมภาพการศึกษาสำรวจของนักเรียนและครู

//splashurl.com/mhuvyt2





โขดหินสาหร่ายที่ ชาวบ้านสร้างเพิงล้อมไว้เพื่ออนุรักษ์





Geo Park หรือฟอสซิลแลนด์ ที่กำลังจะเกิดขึ้นที่ จ.สตูล ในไม่ช้านี้

และจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์





จากนี้เราจะไปยังพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา โรงเรียนกำแพงวิทยา จังหวัดสตูล โปรดติดตามชมค่ะ


Create Date : 07 พฤศจิกายน 2556
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2556 21:10:19 น. 8 comments
Counter : 4673 Pageviews.

 

Like ให้เป็นคนที่ 2
ย่าดานำอุ้มไปเลยนะคะเนี่ย
อุ้มยังอยู่แค่ตอนที่ 8 ศาลเจ้าหมื่นรามอยู่เลยค่ะ
คิดว่าตรัง-สตูลงวดนี้คงประมาณ 15 ตอน
ไปสามวันได้ 15 ตอน อิอิอิ



โดย: อุ้มสี วันที่: 8 พฤศจิกายน 2556 เวลา:14:30:11 น.  

 
นานๆจะนำอุ้มไปซะที


โดย: ดา ดา วันที่: 9 พฤศจิกายน 2556 เวลา:13:02:57 น.  

 
สวัสดีค่ะย่าดา..

แวะมาเที่ยวตามย่าดานะค่ะ

น่าสนใจค่ะ..

มีความสุขมากๆนะค่ะ



โดย: คนผ่านทางมาเจอ วันที่: 9 พฤศจิกายน 2556 เวลา:21:09:51 น.  

 
A lot of BAD THINGS AND KILLING might take place, but obammi will never survive it !
cartier gold love bracelet replica //www.personality-bracelets.com/tag/cartier-love-bangle-screwdriver


โดย: cartier gold love bracelet replica IP: 192.99.14.36 วันที่: 20 กรกฎาคม 2558 เวลา:0:39:11 น.  

 
I see a trend here. I could not imagine buying a toy for thousands of dollars!
love bracelet replica replica //www.lovejewellerywomen.com/cartier-arrived-up-using-the-renowned-cartier-love-bracelet.html


โดย: love bracelet replica replica IP: 192.99.14.36 วันที่: 31 กรกฎาคม 2558 เวลา:21:22:46 น.  

 
Hi chris, i have pcod, so is it ok to take high dose of vitamin C ? can i take as a form of tablets? i buy today and there is a information
vente sac chanel //www.replicasbag.net/fr/imitation-chanel-large-classic-flap-bag-a58601-black-grained-calfskin-ruthenium-metal-p308/


โดย: vente sac chanel IP: 192.99.14.36 วันที่: 4 สิงหาคม 2558 เวลา:2:04:25 น.  

 
Interesting articles on information like this is a great find. It’s like finding a treasure. I appreciate how you express your many points and share in your views. Thank you.
love bangle diamond knockoff //www.womenslovejewelry.com/cartier-love-bangles-replica-transfer-eternal-like.html


โดย: love bangle diamond knockoff IP: 192.99.14.36 วันที่: 24 สิงหาคม 2558 เวลา:22:28:12 น.  

 
Well, NO Libertarian has EVER used ANY of THOSE things.
love bangle diamond fake //www.luxcartierroadster.com/this-kind-of-cartier-love-bracelet-will-make-anyone-a-lot-more-stunning.html


โดย: love bangle diamond fake IP: 192.99.14.36 วันที่: 27 สิงหาคม 2558 เวลา:15:01:40 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ดา ดา
Location :
1 Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]




Friends' blogs
[Add ดา ดา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.