Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
26272829 
 
25 กุมภาพันธ์ 2555
 
All Blogs
 
500 ปี ไทย-โปรตุเกส ปฏิบัติการสุดขอบฟ้า เพื่ออำนาจ เงินตรา หรือศรัทธาแห่งพระเจ้า?



วันนี้ย่ามีนิทรรศการ ที่น่าสนใจมานำเสนอ งานนี้จัดที่มิวเซียมสยาม “Olá Sião 500 ปี ไทย-โปรตุเกส”

ปฏิบัติการสุดขอบฟ้า เพื่ออำนาจ เงินตรา หรือศรัทธาแห่งพระเจ้า?

ครั้งแรกของวงการพิพิธภัณฑ์ไทยกับ “นิทรรศการมีชีวิต” ฟัง-คุย-ดม-ชม-ชิม หวังสร้างการเรียนรู้แนวใหม่

ด้วยภาพจำ เพื่อให้คนไทยเข้าใจรากเหง้าและภูมิหลังแห่งความสัมพันธ์ของชนชาติโปรตุเกสและสยามประเทศที่มีมา

ยาวนานถึง 500 ปี





ครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกของวงการพิพิธภัณฑ์ไทย ที่ได้มีการจัดนิทรรศการพิเศษที่ไม่อยู่ในกรอบเดิมๆ โดยผู้ชมจะได้

เรียนรู้เรื่องราวสำคัญต่างๆ ผ่านการเล่าเรื่องจากนักแสดงที่สวมบทบาทเป็นชาวโปรตุเกส ผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อสยาม

ในชุดแต่งกายสมจริง เพื่อให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกคล้อยตามไปกับบรรยากาศจำลอง ซึ่งภาพจำลองที่เกิดขึ้นจากการชม

นิทรรศการมีชีวิตครั้งนี้ เราคาดหวังว่าจะทำให้เกิดความเข้าใจ และจดจำได้มากกว่าการอ่านจากตำราเพียงอย่างเดียว


มีระยะเวลาในการชมแบบชิวๆ จนถึง ๒๙ เมษายน ๕๕ โดยจัดเป็นการแสดง วันละสามรอบ

ดูรายละเอียดได้จากลิงค์ด้านล่างค่ะ


//museumsiam.com/exhibition/temporary/ola-siao

ย่าไปก่อนเวลาของรอบบ่าย เล็กน้อย จึงเข้าไปชมสไลด์ ของปืนไรเฟิล และปืนใหญ่ วิวของโปรตุเกสสมัยก่อน ได้ความรู้ดีค่ะ


เมื่อได้เวลาการแสดงแล้ว ก็มายังจุดที่มีการแสดง คือด้านหน้าทางเดินเข้าโถงไปยังลานการแสดง อัลฟองซู ดือ อัลบูแกร์

มาเล่าถึงเมื่อครั้งโปรตุเกสตัดสินใจเดินทางมายังสยาม


อัลฟงซู ดือ อัลบูแกร์ อุปราชรัฐโปรตุเกสแห่งอินเดีย

ผู้พิชิตเมืองมะละกา และเป็นผู้ส่งทูตคนแรกเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา





ชมมัลติมีเดียการเดินเรือในสมัยนั้น





"พระราชสาส์นองค์นี้ได้เดินทางออกจากสยามพร้อมเครื่องราชบรรณาการ

และคณะทูตที่พระเจ้าทรงธรรมทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งขึ้นเพื่อไป

เจริญพระราชไมตรีกับพระเจ้าดง ฟิลลิป ที่ ๒ แห่งโปรตุเกส โดยผ่านให้ข้า

ผู้เป็นอุปราชรัฐโปรตุเกสแห่งอินเดียที่เมืองกัว เป็นผู้อำนวยความสะดวก

คณะทูตมีความหวังว่าอาจจะได้เดินทางไปทูลเกล้าถวายฯ

พระราชสาส์นด้วยตนเอง ณ กรุงลิสบอน แต่ในที่สุดพระราชสาส์น

กับเครื่องราชบรรณาการได้ถูกเชิญไปกับเรือโปรตุเกส โดยที่คณะทูตเดินทางกลับจากเมืองกัว


ใจความของพระราชสาส์นนั้น แสดงถึงพระราชไมตรีอันดีของพระเจ้าทรงธรรมที่มีต่อ

พระเจ้าดง ฟิลลิป ที่ ๒ และชาวโปรตุเกสในดินแดนสยาม พระราชทานสิทธิทางการค้า

และสิทธิแก่ลูกค้าชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวโปรุเกสที่เข้ามาค้าขายยังสยาม"


ดง เจโรนิโม ดือ อาเซเวโด อุปราชรัฐโปรตุเกสแห่งอินเดียที่เมืองกัว

อาณานิคมใหญ่สุดของโปรตุเกสในเอเซีย





ภาพบันทึกเรื่องราวการเดินทาง





"แผนที่ฉบับนี้ เป็น ๑ ใน๒๐ ชิ้นของ

แผนที่โลกทั้งหมด ที่ข้าได้วาดขึ้นบนแผ่นหนัง


ขณะพำนักอยู่ที่ประเทศอินเดีย

ช่วงพุทธศักราช ๒๑๑๘ ตรงกับรัชสมัย

สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช

แห่งกรุงศรีอยุธยา พวกเราชาวโปรตุเกส

รู้จักราชอาณาจักรอยุธยาในนามของ"สยาม"

และเรียกราชธานีกรุงศรีอยุธยาว่า"โอเดีย"


ข้าตั้งใจวาดแผนที่นี้ขึ้น

เพื่อเป็นงานศิลปะชิ้นเยี่ยมสำหรับ

ชนชั้นสูงหรือพ่อค้า มากกว่า

การเป็นแผนที่เดินทางสำหรับนักเดินเรือ

จึงได้ใส่รายละเอียดไปตามจินตนาการ

อันสวยงาม


ฟีร์นาว วาช ดูราโด

นักทำแผนที่ชาวโปรตุเกส

ซึ่งมีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่ง

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖





"เครื่องมือเดินเรือพวกนี้ คือ

ผลผลิตของยุคปรับปรุงวิทยาการ

การเดินเรือในยุโรปเมื่อประมาณ

กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕

พวกมันทำให้นักดาราศาสตร์และ

นักคณิตศาสตร์ผู้เก่งกาจได้รับการ

ชุบเลี้ยงอย่างดีอยู่ในราชสำนักโปรตุเกส

เพื่อคำนวณเส้นทางการเดินเรือ

ในยุคแห่งการเดินทางเพื่อสำรวจดินแดนใหม่


เครื่องวัดมุม และเข็มทิศ คือ

เครื่องนำทางสู่ความสำเร็จ ซึ่งต้องมีอยู่

ใรนเรือทุกลำที่มุ่งหน้าสู่ดินแดนโพ้นทะเล

เพื่อกำกับเส้นทางการเดินเรือ

ไปยังจุดหมายปลายทาง"





"ของนอก"เหล่านี้คือสินค้าในยุโรป

ที่ถูกส่งออกมาขายยังเอเซียในสมัยอยุธยา

และกลายมาเป็นเครื่องประดับตกแต่งในพระราชวัง

วัง บ้านเรือนของคหบดีและขุนนางผู้มีอันจะกิน

เช่นเดียวกับเครื่องเทศ

เครื่องปรุงในครัวบ้านๆของเอเชีย

ที่กลับกลายเป็นเครืองปรุงอาหาร

ซึ่งแสดงสถานะอันสูงศักดิ์ของเจ้าบ้าน

ในอีกซีกโลก





"กลิ่นดินปืนของโปรตุเกส

จะหอมหวนและเป็นที่ต้องการ

ของดินแดนตะวันออก

เช่นเดียวกับกลิ่นเครื่องเทศ

ที่ข้าถวิลหาหรือไม่?"





ขอเชิญติดตามข้าไปยังยุคสมัย อยุธยา


ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ อาจกล่าวได้ว่า ประเทศโปรตุเกส นับเป็นชาติตะวันตก

ชาติแรกที่เริ่มเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศไทย โดยเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยกรุง

ศรีอยุธยา หลังจากการยึดครองดินแดนมะละกาในปี พ.ศ. 2054 อะฟงซู ดือ

อัลบูแกร์ อุปราชโปรตุเกสประจำอินเดีย ได้ส่ง ดูอาร์ต ฟือร์นันดืซ มาเป็นทูต ซึ่งตรง

กับรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่า การเข้ามายังประเทศ

สยามมิได้มีเจตนาที่จะเป็นปฏิปักษ์ต่อกรุงศรีอยุธยา





นับจากวันนั้นเป็นต้นมา ประวัติ ศาสตร์แห่งไมตรีจิตระหว่างโปรตุเกสและประเทศไทย

จึงเริ่มต้นขึ้นด้วยการให้การรับรองชาวโปรตุเกสเป็นอย่างดีโดยพระมหากษัตริย์แห่งสยาม

ตลอดระยะเวลา 500 ปีที่ผ่านมา ชาวโปรตุเกสหลายคนเลือกที่จะมาตั้งถิ่นฐานในแผ่นดินสยาม





พวกเขาเริ่มตั้งรกรากที่กรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นราชธานีของอาณาจักรสยามในช่วงเวลานั้น บางคนก็เป็นพ่อค้า

บางคนก็มีทักษะในด้านการทหาร และบางคนก็ทำหน้าที่เผยแผ่ศาสนา เข้ามาช่วยเหลือชุมชนชาวคริสต์ต่าง ๆ

มีการให้ความรู้เรื่องของปืนไฟ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับพระมหากษัตริย์สยาม เพราะในขณะนั้นเป็นช่วงของ

การทำศึกสงครามกับอาณาจักรใกล้เคียง





ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มิชชันนารีโปรตุเกสได้สร้างโบสถ์ขึ้น 3 หลัง และที่หมู่บ้านโปรตุเกสมีผู้คนอยู่รวมกันถึง

2,000 คน ในวันนี้ซากโบราณสถานของโบสถ์เซนต์ดอมินิกและส่วนของสุสานยังคงตั้งอยู่ ณ บริเวณดังกล่าว

เพื่อให้ผู้คนเยี่ยมชม





อนึ่ง มีฟรันซิศ จิต,เปนพนักงานสำหรับชักเงา รูป ปราถนาจะให้คนในกรุง นอกกรุงเข้าใจว่า ตัวนั้นอยู่ที่แพ

น่าบ้านกะดีจีน ได้เปนพนักงานสำรับชักเงารูปต่างๆรูปที่ได้ชักไว้แล้วนั้น,ก็มีหลายอย่าง,คือรูปวัง,แลรูปวัด

รูปตึก,รูปเรือน,แล รูป งา ต้นไม้,แลรูปท่านผู้มีวาศนา ต่างๆ ในกรุงเทพ นี้.ถ้าท่านผู้ใดปราถนา,จะให้

ข้าพเจ้าไปชักเงารูปที่บ้าน ของท่าน,ข้าพเจ้าก็จะไปทำ,ราคาค่าจ้างนั้น จะเอาแต่อย่างกลางภอสมควร.


(คัดลอกจากป้ายคำบรรยายด้านหลัง ที่ติดประกอบไว้กับรูปถ่าย)





ผลงานของ Francis Chit photograher to His majesty the King of Siam Bangkok





"ขอให้วันนี้ ขายลิบขายลี ฮ้อ ฮ้อ

เดี๋ยวอั้วว่าจะหาบขึ้นไปขายทางตรอกโรงพิมพ์

ริมคลองบางหลวง แล้วค่อยลงใต้ไปทางห้างฝรั่ง

วันนี้ ออกแต่เช้า เลยแวะมา จุดธูปไหว้เจ้าขอให้ค้าขายดี
....เซ็งลี้ฮ้อ"


ชาวจีนจากชุมชนกะดีจีน ซึ่งตั้งรกรากมาก่อนชาวโปรตุเกส




ถัดมาเป็นบ้านเจ้าขุนมูลนายของไทย





แผนที่ประเทศโปรตุเกส





ฟรานซิส จิตร ช่างภาพเชื้อสายโปรตุเกสคนนี้ เป็นช่างภาพอาชีพและช่างภาพประจำราชสำนักสยามคนแรก

ซึ่งต่อมาได้เปิดร้านถ่ายรูปขึ้นเป็นแห่งแรกของกรุงสยามด้วย





"ท่าเรือวันนี้คึกคักจริง

ทั้งเรือสำเภาจีน สำภาญี่ปุ่น กำปั้นฝรั่ง มาเทียบท่าคอยกัน

แล้วเร่งมือกันหน่อย ลงไปตรวจดูสินค้าในเรือแล้ว

วัดความกว้างปากเรือ จะได้เก็บภาษีถูก..

ลำใหญ่นั่นน่ะ มาจากเมืองอะไรล่ะ ไม่คุ้นหน้าเลย

คิดจับกอบชักสินค้ามาร้อยละ ๕

ส่วนภาษีปากเรือคิดวาาละ ๔ ตำลึง...

โน่นมาแล้ว เรือกำปั่นจากโปรตุเกส

คนกันเอง ไปมาค้าขายกันอยู่เสมอ คิดราคาพิเศษ

เอาจังกอบร้อยละ ๓ ส่วนภาษีปากเรือ ลองวัดดู

ถ้ากว้างเกิน ๔ วาขึ้นไปเก็บวาละ ๑๒ ตำลึง

จัดการกันให้เรียบร้อยนะ ข้าจะลงไปตรวจดูสินค้าในเรือแต่ละลำหน่อย..

นี่ไง เครื่องลายครามจากจีน ผ้าเยียรบับจากอินเดีย

เครื่องแล้วจากตะวันตก พระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์

ให้จัดหาไว้ เรือพวกนี้ไม่ต้องเก็บจังกอบเขานะ

ข้าหยิบสินค้าจากเรือเขาขึ้นมาแล้ว คิดแต่ภาษีปากเรือ...

ส่วนพวกอาวุธปืน กระสุนปืนนี่สินค้าต้องห้าม

ทั้งหมดนี้ต้องขายให้แก่ราชสำนักของเราเท่านั้น"


จากบันทึกนี้ทำให้เราได้ทราบว่าในสมัยนั้นเขามีการเก็บภาษีกันเช่นไร





ปินตู ชาวโปรตุเกสที่ชอบบันทึกเหตุการณ์และเรื่องราว

และจากบันทึกของเขาทำให้ได้ทราบข้อมูลทางประวัติศาสตร์

ในสมัยนั้น





ปินตู ตัวละครออกมาเล่าเรื่องราว จากบันทึกของเขา





"งาช้างกิ่งงามๆนี่

ขนลงเรือกำปั่นฝรั่งใช่ไหมขอรับท่าน?

แล้วพวกของป่าอย่างหนังสัตว์

มันฝรั่งที่มาจากทางเหนือพวกนั้นด้วยหรือเปล่าขอรับ?

เห็นพวกพ่อค้าปะตุกันชอบกันนัก

เสร็จจากขนของพวกนี้แล้ว

พวกข้าจะได้ไปรับจ้างขนไหมจีน

และพวกเครื่องถ้วยที่มาจากเรือสำเภาจีน

มาลงเรือกำปั่นฝรั่งนี้เหมือนกัน"





เครื่องแกง,เครื่องเทศ ของมีค่าดุจทองคำในสมัยนั้น





หญิงสาวชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกส นำเสนอเนื้อตุ๋นแซนโม ซึ่งเป็นอาหารโบราณของโปรตุเกส

ซึ่งหาทานยากแล้วหล่ะค่ะ


ย่าทราบมาว่า วันเสาร์,อาทิตย์นี้จะมีเมนูนี้ให้ชิมด้วยค่ะ แต่ในสองวันนี้หากใครจะเดินทางไปชม

โปรดทราบว่าในสองวันนี้ที่จอดรถในมิวเซียมสยามห้ามจอดนะคะ เพราะเขาจะเตรียมพื้นที่ สำหรับจัดงานดนตรี





นอกจากนั้นยังมีขนมอีกอย่างหนึ่ง ย่าลืมชื่อไปแล้วค่ะ หาทานได้ยากอีกเหมือนกัน





ยังมีอีกไหนๆก็นำเสนอแล้ว เอาให้ครบแล้วกัน





ฝอยทอง





นอกจากนี้เธอยังมีเรื่อเล่าเกี่ยวกับเรื่องภาษา โปรตุเกสที่ไทยเรานำมาใช้ เช่น สบู่ ปิ่นโต เหรียญ กะละแม,

กระดาษ ฯลฯ แล้วก็มีการทายกันว่าคำว่ากระดาษ มาจากภาษาโปรตุเกสซึ่งอ่านออกเสียงอย่างไร

มีคนทายถูกด้วย เก่งจริงๆ ออกเสียงว่า กาด๊าด ค่ะผิดถูกอย่างไรขออภัยด้วย อิอิ





โดมิงกูซ ดือ ไซซ่าส์ทหารรับจ้าง ผู้เชี่ยวชาญเรื่องอาวุธสงคราม





อาวุธสงคราม: นวัตกรรมการรบของสยาม

"เสาหลักที่ตอกความมั่นคงและเสถียรภาพให้อยุธยาแข็งแรงในเวลานี้ คือ อาวุธสงคราม เทคโนโลยีการใช้ปืน

และปืนใหญ่ การสร้างประตู ป้อม หอรบ และกองทหารชำนาญการรบสมัยใหม่"





เขาอธิบายว่า อาวุธที่นำมาใช้ในเมืองไทยได้มีการปรับขนาดความยาวของอาวุธให้เหมาะกับสรีระของคนไทย





***





เครื่องแต่งกายนักรบ





๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๑๓๕ สมรภูมิหนองสาหร่ายกองทัพหงสาวดี


เป็นมัลติมีเดียทหารบอกเล่าเหตุการณ์ในครั้งนั้น





มีคำถามน่าคิดมากมาย


ถ้าอัลฟงซู อัลบูแกร์ก ไม่ส่งทูตเข้ามายังสยามเมื่อ ๕๐๐ ปีก่อน วันนี้อยุธยาจะมี"ป้อมเพชร" หรือไม่?


"โปรตุเกสมีขนาาดเล็กกว่า ไทย ๕ เท่า ทำไมจึงสามารถเป็นมหาอำนาจ ทางทะเลได้?"


"ถ้าโปรตุเกสใช้วิธี"บุกยึด"สยามเมื่อ พ.ศ. ๒๐๕๔ แบบเดียวกับที่ทำกับมะละกา อินโดนีเซีย และมาเก๊า

พ.ศ. ๒๕๕๔ ประเทศไทยจะยังคงจ้ดงานเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ ๕๐๐ ปี ไทย-โปรตุเกสหรือไม่"


"ฝอยทอง ลูกชุบ กุฎีจีน ร่องรอยโปรตุเกสในไทย แล้วอะไรคือความเป็นไทยในโปรตุเกส?"


"ทหารโปรตุเกส ในกองทัพสยามมาเจอกับทหารโปรตุเกส เขาจะทำอย่างไร?"


ถ้าสันตปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ ๖ กำหนดให้โปรตุเกสเดินทางไปทางตะวันตก และสเปนเดินทางมายังตะวันออก

แทน คนไทยวันนี้ อาจคุ้นเคยกับข้าวผัดสเปน และ ระบำฟลามิงโก้ มากกว่าฝอยทอง และระบำรองเง็ง?"





เป็นนิทรรศการที่น่าชมมาก หาเวลาไปชมให้ได้นะคะ


Olá Sião : แรงผลักดัน


อะไรเป็นแรงกระตุ้น ผลักดันให้โปรตุเกสมุ่งมั่นในการเดินทางครั้งนี้


"แรงผลักดันทางศาสนา" เกิดขึ้นจากความต้องการสืบค้นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ (Father John)

ที่เชื่อว่าพระราชาผู้นี้เป็นผู้นับถือคริสต์ศาสนาในภูมิภาคตะวันออก


"แรงกระตุ้นทางการค้า" เกิดจากราชสำนักโปรตุเกสคาดหวังว่าการค้าเครื่องเทศ ของป่า และของหายาก

จากตะวันออก เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความมั่งคั่งร่ำรวยมากกว่าการค้าอย่างอื่น เพราะตลาดในยุโรปมีความต้องการ

สินค้าสูงมาก แต่ต้องพึ่งพิงเฉพาะพ่อค้าอาหรับเปอร์เชียเท่านั้น





ห้านักแสดงคุณภาพจากสิบในวันนั้น ออดิชั่นมาจากหลายกลุ่มค่ะ หนึ่งในนั้นมีกลุ่มมะขาป้อมด้วย แสดงเก่งจริงๆค่ะ

รวมทั้งฉาก บท ทุกอย่างเยี่ยมหมดเลยค่ะขอชื่นชม


อ้ออีกอย่างหนึ่งค่ะ ช่วงนี้ด้านหน้ามิวเซียมสยามหากขับรถมาทางวัดพระแก้วห้ามตรงไปนะคะช่วงนี้มีกั้นทางเตรียม

สร้างทางรถไฟฟ้าใต้ดินอยู่ค่ะต้องอ้อมไปออกทางท่าเรือราชนาวีทางเข้าถึงก่อนค่ะต้องมองให้ดีๆ แต่ช่วงนี้(25,26)

ไม่มีที่จอดนะคะ ไปทางเรือได้จะสะดวกกว่า ขึ้นที่ท่าราชินีค่ะ







Create Date : 25 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 26 กุมภาพันธ์ 2555 3:16:49 น. 7 comments
Counter : 3923 Pageviews.

 
วันนี้ขอแทรกนิทรรศการที่น่าสนใจ บล๊อกหน้าค่อยกลับไปต่อวิวาห์ใต้สมุทรค่ะ รักนะจุ๊บๆ


โดย: ดา ดา วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:10:48:47 น.  

 
เจิมมม
ด้วยความดีใจ เห็นเพื่อนตัวเองในรูปนี้ด้วย หยิงสาวคนนี้ เพื่อนจุ๋ม เโลกมันกลมมากๆเลยนะย่า ดีใจๆๆ ขอบคุณย่าดานะคะ


โดย: โจนบ้ากับป้าแก่ๆ วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:11:23:06 น.  

 
คนหนายอ่ะ ยินดีด้วยจ้าที่พบเพื่อน บล๊อกก่อนก็มีคนมาเม้นท์ว่าเพิ่งรู้ว่าเพื่อนแต่งในงานวิวาห์ใต้สมุทรด้วย ดีใจๆที่บล๊อกย่าทำให้เพื่อนได้เห็นกันจ๊ะ


โดย: ดา ดา วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:11:57:58 น.  

 
น่าไปชมบ้างค่ะ ...


โดย: นัทธ์ วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:16:22:45 น.  

 

สวัสดีค่ะคุณย่าดา..

26 กพ.เป็นวันคล้ายวันเกิดคุณเริงฤดีนะ

ฝากอวยพรวันเกิดให้พี่อ้อด้วยนะค่ะ

จาก..สมาชิกชมรมเป่าเค็กวันเกิดค่ะ..ฮิๆ



โดย: คนผ่านทางมาเจอ วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:20:46:15 น.  

 
คุณได้ทำการแปะหัวใจ ให้กับคุณ ดา ดา เรียบร้อยแล้วนะคะ
คุณเหลือ อีก 1 ดวง สำหรับวันนี้ค่ะ
และหนูมาโหวต Photo blog ให้ย่าดาด้วยค่ะ


โดย: เจ้าการะเกด วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:11:15:58 น.  

 
ขอบคุณสำหรับทุกเม้นท์ ทุกโหวด และแปะหัวใจค่ะ
เดี๋ยวย่าอับบล๊อกหน้าใหม่แล้วค่ะ สักครู่


โดย: ดา ดา วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:14:41:48 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ดา ดา
Location :
1 Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]




Friends' blogs
[Add ดา ดา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.