Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2554
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
7 มิถุนายน 2554
 
All Blogs
 
ละครเวทีร่วมสมัย “วันทอง-The Return of Wanthong”


เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมา ย่าได้รับการชักชวนจากน้องชาย ให้ไปชมละครเรื่องนี้

ซึ่งจัดแสดงที่ หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน ในช่วงที่มีกิจกรรมพิเศษ: นิทรรศการ Re-Reading Khun

Chang Khun Phaen สนใจรายละเอียดของกิจกรรมต่างๆ ดูได้ที่ลิงค์ด้านล่างค่ะ

//www.jimthompsonhouse.com/thai/events/Khun-Chang-Khun-Phaen02.asp





ละครเรื่องนี้หมดไปแล้วค่ะเพราะจะมีแค่สองวันเท่านั้น คือ วันที่ 28และ 29 ที่ผ่านมา

จึงขอนำภาพจากละครครั้งนี้นำมาให้ชม ได้ข่าวว่า จะมี full version ตามมาในเร็วๆนี้

หากสนใจคอยติดตามข่าวนะคะ


ดูเหมือนจะเป็นที่บ้านจิมทอมป์สันในระหว่างเทศกาลละครกรุงเทพฯ ในเดือนพฤศจิกายน





กำกับการแสดง/แสดงนำ: ประดิษฐ ประสาททอง

วันที่: 28-29 พฤษภาคม 2554

เวลา: 14.00 น. / 19.30 น. (สองรอบ)

สถานที่: ห้องนิทรรศการ

ค่ากิจกรรม: 350 บาท


“วันทอง-The Return of Wanthong” เป็นละครเวทีแนวผสมผสานข้ามขนบ จากวรรณกรรม

คลาสสิกที่สะท้อนชีวิตไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยาในสมัยอยุธยา ที่สรรค์สร้างโดยประชาชน ศิลปิน

และราชสำนัก สืบเนื่องยาวนานหลายร้อยปีสู่ละครเวทีร่วมสมัย ผสมผสานกลอนเสภาหลาก

สำนวน บทเพลงและดนตรีโบราณที่เรียบเรียงใหม่ข้ามขนบ กำกับการแสดงโดยประดิษฐ

ประสาททอง นำเสนอโดยหอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน





ประดิษฐ ประสาททอง เป็นเจ้าของรางวัลศิลปินศิลปาธรปี2547 ของสำนักศิลปวัฒนธรรม

ร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ผู้เขียนบท ผู้กำกับ และนักแสดงละครเวที ที่มีผลงานสร้างสรรค์

มาอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศและนานาชาติ โดยเฉพาะละครแนวผสมผสานเรื่องราวโบราณกับ

เนื้อหาร่วมสมัย และการผสมผสานรูปแบบการแสดงโบราณกับเทคนิคละครสมัยใหม่ ประดิษฐ

เคยเป็นสมาชิกกลุ่มละครมะขามป้อมมาร่วม30ปี เป็นหนึ่งในผู้ขับเคลื่อนเครือข่ายละครกรุงเทพ

ร่วมจัดเทศกาลละครกรุงเทพที่บางลำพูและพื้นที่ต่างๆทั่วกรุงเทพฯ ในเดือนพฤศจิกายน

ของทุกปีตั้งแต่พ.ศ.2545





ละครจะเสนอเรื่องราวความทรงจำของหมื่นไวยวรนาถผู้เผชิญหน้าปีศาจนางวันทอง มารดา

ผู้ล่วงลับในระหว่างยกทัพไปปราบหัวเมืองเหนือ...สิ่งที่ไม่ลบเลือนไปจากจิตใจเขาคือการตาย

ของมารดาที่เขาไม่สามารถยื่นมือเข้าไปช่วยได้ เป็นเหตุให้หมื่นไวยฯ ต้องกลับมาพบกับวิญญาณ

ของมารดาอีกครั้งเพื่อขอขมาและทำความเข้าใจในสิ่งที่ทั้งสองยังคงค้างคาใจกันอยู่





เวลาหนึ่งชั่วโมง และมีเพียงสามผู้แสดง สองนักดนตรี คำบรรยายภาษาอังกฤษขึ้นมาบนหน้าจอ

ก็สามารถนำพาท่านผู้ชมไปสู่ห้วงกาลสมัยได้อย่างมีเวทย์มนต์





Sukumphan Thitithanaphan แสดงเป็นหมื่นไวยวรนาถ ช่วงต้น





ได้พบปีศาจนางวันทองปลอมตัวเป็นสาวสวย





พระไวจึงเข้าเกี้ยวพาราสี





โดยไม่ทราบว่าปีศาจนางวันทองปลอมตัวมา





++





+++





ปีศาจนางวันทองหลบเลี่ยง





และแจ้งกับบุตรนางว่านางคือคือมารดาของพระไว





พระไวเริ่มสับสนและไม่เชื่อว่าเป็นความจริง





จึงโกรธเกรี้ยว และสอบถามว่าเจ้าเป็นใคร ใยจึงมาแอบอ้างว่าเป็นมารดาเรา





English subtitles were provided on screens.





ปีศาจนางวันทองเล่าเรื่องแต่หนหลัง และจากไปโดยหายวับไปกับตา





ช่วงนี้จะมีการบรรเลงและขับเสภา อันไพเราะเพราะพริ้ง

ต้องไปชมค่ะ เพราะลำพังภาพของย่าไม่สามารถจะเข้าถึงสุนทรียรส ได้ครบถ้วน





แล้วพระไว(ช่วงนี้นำแสดงโดย ตั้ว ประดิษฐ์ ประสาททอง ศิลปินศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดง )


สิ่งที่ไม่ลบเลือนไปจากจิตใจเขาคือการตายของมารดาที่เขาไม่สามารถยื่นมือเข้าไปช่วยได้





เป็นเหตุให้หมื่นไวยฯ ต้องกลับมาพบกับวิญญาณของมารดาอีกครั้งเพื่อขอขมา





และทำความเข้าใจในสิ่งที่ทั้งสองยังคงค้างคาใจกันอยู่





**





การปรากฎกายครั้งนี้ของนางวันทองมาในรูปลักษณ์สวยงาม ซึ่งต่างกับ

ช่วงแรกที่แต่งชุดขาว เครื่องประดับเป็นสายสิญจน์ และทัดดอกไม้จันทน์

อันเป็นสัญญลักษณ์ของความตาย





ยินดีปรีดา





@->-





นางวันทองตั้งปุจฉากับบุตรของตน





ขอบคุณน้องชายที่เลือกที่นั่งให้


ย่าได้ที่นั่งที่เหมาะ จึงเก็บภาพ close up งามๆได้หลายภาพ นำมาให้ชมกันค่ะ





เธอแสดงเก่งมากค่ะ สามารถสะกดท่านผู้ชมให้เพลิดเพลินกับการแสดงและบทกลอนดำเนินเรื่อง





เวทีสมัยใหม่ไร้ฉาก แต่กลับยิ่งเพิ่มสมาธิในการชมและซึมซับอรรถรสของบทกลอนใน

การโต้ตอบของตัวละคร





**





****





*****





******





มอบดอกบัว ขอขมา





ข้าฯทำผิดต่อมารดา





นางวันทอง รับคำขอขมา และสั่งสอนบุตร





ปฎิบัติในสิ่งที่ดีงาม





ตัวแม่นี้ต้องลาไปก่อนแล้ว





ขอให้ลูกโชคดี และเป็นคนดี





ปฎิบัติหน้าที่โดยเที่ยงธรรม และมีศิลธรรม





ออกแนวใส่บทบรรยายเอง เพราะจำเนื้อหาไม่ได้ 555





ชอบท่วงท่าของตัวละคร สวยงามมากค่ะ





จบลงด้วยความประทับใจ


กิจกรรมที่ยังติดตามชมได้ ย่าขอยกรายละเอียดมาไว้ที่นี้เผื่อท่านใดสนใจจะไปชมและฟัง


การแสดงการขับเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนออกตัว ตอนขุนแผนพานางวันทองหนี

ผู้นำกิจกรรม: อาจารย์นพคุณ สุดประเสริฐ (อาจารย์คีตศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฎศิลป์)

อาจารย์วาทิตต์ ดุริยอังกูร (หัวหน้างานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม สถาบันวิจัยภาษา

และวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล)

วันที่: 11 มิถุนายน 2554

เวลา: 14.00-15.30 น.

สถานที่: ห้องนิทรรศการ

ค่ากิจกรรม: ไม่เสียค่าใช้จ่าย

การแสดงชุดขุนแผนพานางวันทองหนี เป็นการแสดงที่ตัดตอนมาจากการแสดงละครเสภา

เรื่องขุนช้างขุนแผน กระบวนท่ารำที่สำคัญที่สุดในการแสดงชุด ขุนแผนพานางวันทองหนี

คือกระบวนการท่ารำเพลงเชิดจีน ประกอบด้วยทำนองเพลงมีความไพเราะและท่ารำในแบบ

ฉบับของขุนแผนพานางวันทองหนี ซึ่งเป็นท่ารำที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ โดยมีม้าสีหมอกเป็นพาหนะ

ความสวยงามของการแสดงอยู่ที่ลีลาท่ารำของผู้แสดงทั้งสามที่จะต้องมีความสัมพันธ์ในท่าขึ้นม้า

ท่าเกี้ยวพาราสี และท่าโคมสามใบ ซึ่งต้องได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีและมีระดับฝีมือที่ใกล้เคียงกัน

จึงจะสอดคล้องกับบทบาทการพาหนีของตัวละคร


ศิลปินเสวนา: การตีความขุนช้างขุนแผน (ใหม่) ในมุมมองฝรั่ง


ศิลปิน: บรูซ แกนเดอร์สัน

วันที่: 25 มิถุนายน 2554

เวลา: 14.00-15.30 น.

สถานที่: ห้องนิทรรศการ

ค่ากิจกรรม: ไม่เสียค่าใช้จ่าย

บรูซ แกนเดอร์สัน ศิลปินภาพถ่ายซึ่งมีผลงานร่วมแสดงอยู่ในนิทรรศการ Re-Reading ขุนช้างขุนแผน


การบรรยาย: ขุนช้างขุนแผนในสื่อสมัยใหม่: การผลิตซ้ำและการตีความใหม่

ผู้บรรยาย: อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ สอนใจ

วันที่: 30 กรกฎาคม 2554

เวลา: 14.00-15.30 น.

สถานที่: ห้องนิทรรศการ

ค่ากิจกรรม: ไม่เสียค่าใช้จ่าย

บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณคดีไทยเรื่องสำคัญที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แม้ในยุค

ปัจจุบันเนื้อเรื่องขุนช้างขุนแผนก็ยังเป็นที่นิยม และนำมาผลิตซ้ำในรูปแบบต่างๆ มากมาย ทั้งที่เป็น

นวนิยาย ละคร ภาพยนตร์ และการ์ตูนสำหรับเด็ก ซึ่งหากศึกษาเรื่องขุนช้างขุนแผน ที่ผลิตซ้ำในสื่อต่างๆ นี้

นอกจากเราจะเห็นความนิยมของเรื่องขุนช้างขุนแผนในยุคปัจจุบันแล้ว

ยังทำให้เห็นถึงมุมมองและการตีความใหม่ของคนร่วมสมัย ที่มีต่อวรรณคดีไทยเรื่องสำคัญนี้อีกด้วย


บรรยาย: คำ ผกา อ่านขุนช้าง ขุนแผน

ผู้บรรยาย: คำ ผกา

วันที่: 24 กันยายน 2554

เวลา: 14.00-15.30 น.

สถานที่: ห้องนิทรรศการ

ค่ากิจกรรม: ไม่เสียค่าใช้จ่าย

ในการบรรยายครั้งนี้ คำ ผกา จะหยิบยกเรื่องราวบางตอนในขุนช้างขุนแผนมาขยายความ เปรียบเทียบ

ให้เห็นภาพคู่ขนานกับวิถีชีวิตและบทบาทในสังคมไทย


รายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน

โทร: 02 9612 6741

แฟกซ์: 02 219 2911

อีเมล์ artcenetr@jimthompsonhouse.com

//www.jimthompsonhouse.com/thai/events/Khun-Chang-Khun-Phaen02.asp





+++++++++++++

แนะนำทีมงาน





พระไว ตอนรุ่นหนุ่ม





นางเอก ของเรื่อง สวยและยิ้มหวาน





ลากันด้วยภาพนี้ค่ะ ขอบคุณ คุณ ตั้ว ประดิษฐ ประสาททอง ที่สร้างสรรค์ผลงานอันลึกซึ้ง

งดงามมาให้พวกเราได้ชมกัน


หลับฝันดี ราตรีสวัสดิ์ค่ะ





ขออภัยหากต้องโหลดนาน


Create Date : 07 มิถุนายน 2554
Last Update : 7 มิถุนายน 2554 19:45:28 น. 3 comments
Counter : 3798 Pageviews.

 
อรุณสวัสดิ์ครับย่าดา

พลังอยู่ที่การแสดงของนักแสดงเลยจริงๆนะครับ








โดย: กะว่าก๋า วันที่: 8 มิถุนายน 2554 เวลา:6:08:50 น.  

 


สวัสดีค่ะคุณดา ช่วงนี้ครูเกศแว๊ปไปแว๊ปมาอยู่เรื่อยๆเนื่องมาจากงานค่ะ ต้องซ้อมการแสดงเด็กค่ะ
วันที่๑๓ ที่โรงเรียนมีประเมินภายนอก จัดการแสดงเชิงประจักษ์ ๒ชุด
วันที่๑๔ นำเด็กไปแสดงแถลงข่าวที่ อ.แกลง จ.ระยอง
วันที่๒๔-๒๕-๒๖ แสดงแสง สี เสียง ที่อนุสาวรีย์สุนทรภู่ จ.ระยอง
ลืมไปวันที่๑๐-๑๑อาจจะต้องขึ้นเชียงใหม่ เพื่อซื้อผ้าถุงฟ้อนพื้นเมือง
เลยอยากจะบอกเพื่อนๆว่าช่วงนี้แว็ปไปมาหรือเยี่ยมเยียนเพื่อนๆไม่ทั่วถึงอย่าว่ากันนะคะ ขอให้คุณดา มีความสุขมากๆค่ะ


โดย: เกศสุริยง วันที่: 8 มิถุนายน 2554 เวลา:12:21:29 น.  

 
สวัสดีค่ะย่าดา..

การแสดงน่าสนใจมากๆนะค่ะ

ถ้าเป็นสมับก่อน จะจูงคุณแม่ไปชมติดจอเลย

แต่ตอนนี้ คุณแม่ไปไหนไม่ค่อยได้แล้วค่ะนอกจากรพ.

สบายดีนะค่ะย่าดา..



โดย: คนผ่านทางมาเจอ วันที่: 9 มิถุนายน 2554 เวลา:17:21:03 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ดา ดา
Location :
1 Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]




Friends' blogs
[Add ดา ดา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.