กรกฏาคม 2553

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
10
11
13
14
15
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
31
 
ว่างจากการสัมผัส(3)จบ





Smileyการสัมผัสทางใจ
(วางความรู้สึกที่เป็น"อัตตา")



Smileyเพื่อให้ง่ายในการปฏิบัติ เราจะถือว่า ใจ,จิต หรือความรู้สึก เป็นสิ่งเดียวกัน ดังนั้นการว่างจากการสัมผัสทางใจคือการว่างจากความรู้สึก(ที่เป็นอัตตา)ของเรานั่นเอง คือการไม่มีความรู้สึกอยู่ ให้จินตนาการถึงความรู้สึกขณะที่เราออกจากการนั่งสมาธิ เราจะมีความรู้สึกที่ว่างอยู่ หรือถ้าเราสังเกตอาการที่เรารับประทานอาหารเสร็จการที่เราว่างจากการสัมผัสกับรสอาหาร เราว่างจากความรู้สึกที่เป็นตัวเรา(อัตตา)ถ้าเราไม่รักษาไว้มันก็จะเลือนหายไป ดังนั้นเราจึงต้องมาขยายความรู้สึกนี้ให้มันชัดเจนขึ้น เพราะการว่างจากความรู้สึกนั้นเหมือนกับความรู้สึกที่เป็นตัวเรา(อัตตา)หายไปนั่นเอง อาจจะสรุปว่าการว่างจากการสัมผัสทางใจนั้นก็คือการทำให้ความรู้สึกที่เป็นอัตตา(ตัวเรา)ไม่เกิดขึ้นนั่นเอง(หรืออาจจะใช้อุบายว่า "ความรู้สึกไม่ใช่ตัวเรา"เพื่อให้เกิดอาอารแยกออกจากการยึดมั่น) Smiley









SmileySmileyการว่างจากความรู้สึกนี้ปกติเราจะทำไม่ได้นาน เพราะจิตมันจะมีอาการดิ้นรนอยู่เสมอ ดังนั้นเราต้องรั้งมันไว้ รักษามันไว้ให้นานๆ(จ้องดูการเคลื่อนไหวของมัน)ให้ถือว่าเป็นการฝึกตนเอง คือฝึกให้ความรู้สึกหายไปนั่นเองปฏิบัติอย่างนั้นพยายามให้จิตที่ดิ้นรนอยู่หยุดลง เพราะจิตที่แสดงว่าเป็นตัวเราอยู่นั้นมันจะมีอาการดิ้นรนอยู่ไม่ยอมหยุดนิ่ง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เราต้องวนเวียนอยู่ในความรู้สึกของตนเองไม่อาจจะจบลงได้......




SmileySmileyฝึกการหยุดความรู้สึกให้เกิดเป็นความเคยชิน  เมื่อจิตที่ดิ้นรนอยู่หยุดลงจึงเกิดเป็นความว่าง (อนัตตา) Smileyรักษาอาการนั้นไว้...........เมื่อมันสงบลง เป็นนิ่งสงบ จนเกิดเสียงแห่งความเงียบแว่วอยู่ในโสตประสาท  ฝึกหยุดความรู้สึกมันจะหยุดแปรปรวน  Smiley





Smiley............อาจจะต้องใช้ความรู้สึกช่วยเพื่อการรองรับการปฏิบัติ คือการมี  "ศรัทธา" Smiley มีจิตที่เกิดเป็น “บุญ” อยู่ในความสงบเย็นคือการละวางอาการดิ้นรนของความรู้สึกนั่นเองSmiley เหมือนการอยู่ในโลกของพระเจ้า อยู่ในแดนนิพพาน มีความรู้สึกที่พ้นไปจากความเศร้าหมอง หยุดการวนเวียนทางความรู้สึกที่หยาบลง มีความรู้สึกที่ละเอียด เราจึงจะเข้าใจการไม่เสพรสของโลก,ไม่ยึดถือกายหยาบ แต่ต้องการที่จะอยู่ในกายละเอียด,มีความรู้สึกอิ่มอยู่เสมอคือการอยู่ในโลกของพระเจ้า





SmileySmileySmiley การวางความรู้สึกที่เป็น"อัตตา"ลงได้ต้องฝึกหยุดอาการของความรู้สึก ให้ความรู้สึกหยุดนิ่งจึงจะทำให้เราจบการดิ้นรน(นิ่ง-สงบเย็น) มีความรู้สึกพ้นไปจากความวนเวียนในโลกิยะ...อยู่ในความสงบเย็น.




Smiley Smiley






ไพรสณฑ์

ทางวิเวก : ทางหลุดพ้นจากวังวนความทุกข์ทั้งมวล
//www.amarasin.bloggang.com

//www.amarasin.bloggang.com


Free TextEditor



Create Date : 16 กรกฎาคม 2553
Last Update : 9 สิงหาคม 2556 7:11:53 น.
Counter : 880 Pageviews.

9 comments
  
สวัสดีตอนเที่ยงๆครับ

พักนี้ไปวัดบ่อยครับ...อยากทำจิต ไม่อยากทำใจครับ
โดย: panwat วันที่: 16 กรกฎาคม 2553 เวลา:12:48:16 น.
  





จักขุแลว่างเปล่าจากตนหรือจากของของตน รูปว่างเปล่าจากตนหรือจากของของตน จักขุวิญญาณว่างเปล่าจากตนหรือจากของของตน จักขุสัมผัสว่างเปล่าจากตนหรือจากของของตน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็วางเปล่าจากตนหรือจากของของตน ฯลฯ

...........ใจว่างเปล่าจากตนหรือจากของของตน
.............ธัมมารมณ์ว่างเปล่าจากตนหรือจากของของตน มโนวิญญาณว่างเปล่าจากตนหรือจากของของตน
.......มโนสัมผัสว่างเปล่าจากตนหรือจากของของตน สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ว่างเปล่าจากตนหรือจากของของตน


……..ฉะนั้น จึงเรียกว่าโลกว่างเปล่า……...

โดย: ไพรสณฑ์ (ไพรสณฑ์ ) วันที่: 16 กรกฎาคม 2553 เวลา:14:27:09 น.
  





ในกาลนั้น เมื่อพาหิยะได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระพุทธองค์จึงขอประทานโอวาทและพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า....



***... ........ดูก่อนพาหิยะ....เพราะเหตุนั้นแลพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเห็นเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งเป็นสักว่ารู้แจ้ง….ดูก่อนพาหิยะ ท่านพึงศึกษาอย่างนั้นแล ...........
***ดูก่อนพาหิยะ..ในกาลใดแล เมื่อท่านเห็นสักแต่ว่าเห็น เมื่อท่านฟังสักแต่ว่าฟัง เมื่อทราบเป็นสักแต่ว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักแต่ว่ารู้แจ้ง


***ในกาลนั้นแลท่านจักไม่มีในกาลใด ท่านไม่มีในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า ย่อมไม่มีระหว่างโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์...

.....................ลำดับนั้นแลจิตของพาหิยะทาจีริยกุลบุตรหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ

โดย: ไพรสณฑ์ (ไพรสณฑ์ ) วันที่: 16 กรกฎาคม 2553 เวลา:14:28:27 น.
  





พิจารณาจากการที่พระพุทธองค์แนะนำพาหิยะฯ ซึ่งเป็นการแนะนำอย่างสั้นๆ นั่นหมายถึงว่าพระพุทธองค์กล่าวถึงแต่เนื้อหาเท่านั้น จะเห็นว่าการไม่มีตัวเราอยู่ในโลกนี้ ในโลกหน้า หรือในระหว่างโลกทั้งสอง นั้นความหมายคือไม่ทำให้มีความรู้สึกที่เป็นตัวเราเกิดขึ้น หรือการมีความรู้สึกว่างอยู่นั่นเอง........ไม่ปรุงแต่งอยู่ หรือทำความรู้สึกไม่มีอยู่(แต่มันก็ยังมีความรู้สึกที่เป็นธาตุรู้เกิดอยู่ แต่ความรู้สึกที่ปรุงแต่งไม่มีอยู่)

ซึ่งเมื่อพิจารณาจากอภิธรรม ความเป็นตัวเราคือการปรุงแต่งของจิตกับรูป เกิดเป็นเจตสิก การไม่ปรุงแต่งคือหยุดความรู้สึกที่วนเวียนอยู่นั่นเอง คือหยุดความรู้สึกของตนเอง คำแนะนำของพระพุทธเจ้าเป็น อุบาย ให้ปฏิบัติเพื่อให้เกิด...การหยุดการปรุงแต่งทางความรู้สึก

........ดังนั้น อภิธรรม จึงเป็นการเรียนรู้เพื่อให้เข้าใจได้ว่าการปฏิบัตินั้นจะไปส่งผลต่อการทำงานทางความรู้สึกอย่างไร จึงจะเป็นการแก้ไขความเป็นธรรมชาติของมันได้ ซึ่งเราจะต้องใช้ความเป็นเหตุผลนั้น(ตามการอธิบายในอภิธรรม)เป็นแนวทางในการปฏิบัติ



โดย: ไพรสณฑ์ (ไพรสณฑ์ ) วันที่: 17 กรกฎาคม 2553 เวลา:8:40:52 น.
  
การปฏิบัติให้เกิดความว่างจากความรู้สึกนี้
ผลที่เกิดขึ้นคือเราจะเห็นได้ว่า การยึดมั่นคือการสร้างความรู้สึกอยู่เท่านั้น การสร้างความรู้สึกจึงเหมือนการแสดงอยู่นั่นเอง ควรจะเป็นผู้ดูจะดีกว่า


.........คือการตื่นไม่หลับไหลอยู่ในความเป็นธรรมชาติของตนเอง รับรู้ความจริงว่ามันเป็นการทำงานอยู่ของความเป็นธรรมชาตินั่นเอง ที่ทำให้เกิดเป็นตัวเรา จึงเป็นการไม่ยึดมั่น

(การฝึกตัวเองอยู่เสมอ เราจึงจะมีความชำนาญมากขึ้น เห็นผลจากการปฏิบัติ เมื่อจิตแยกจากกายความเป็นตัวเราจึงไม่เกิดขึ้น จึงมีความรู้สึกที่ตื่นอยู่...การตื่นอยู่เสมอจึงเห็นความจริงของตนเอง)


โดย: ไพรสณฑ์ (ไพรสณฑ์ ) วันที่: 21 กรกฎาคม 2553 เวลา:4:29:20 น.
  
"การวางความรู้สึกที่เป็น"อัตตา"ลงได้จึงจะทำให้เราจบการดิ้นรน มีความรู้สึกพ้นไปจากความวนเวียนในโลกิยะ"


เป็นความจริงที่สุดเลยค่ะ เข้าบ้านนี้แล้วใจสงบมากๆ
โดย: Ably วันที่: 24 กรกฎาคม 2553 เวลา:18:09:07 น.
  



การเกิด"อัตตา"เป็นวิถีจิต คือการเกิดและดับ สลับกันไปมา ในขณะที่เกิดเป็นความรู้สึก,เกิดเป็นอารมณ์ มันแสดงเป็นความรู้สึกของเราในแต่ละขณะมีความจำให้ข้อมูล.....ซึ่งเป็นการทำงานทางธรรมชาติของตัวเรา

ดังการอธิบายใน "อภิธรรม"........

................................................................

วิถีจิต๑๗ขณะ ขณะที่จิตเกิดเป็นอารมณ์ จะมีการรับอารมณ์ที่มากระทบ วิเคราะห์อารมณ์ เสวยอารมณ์เมื่อเสวยอารมณ์เต็มที่แล้วก็ดับไป ซึ่งเป็นลักษณะจิต๑๗ขณะ

๑. อตีตภวังค์จิต คือจิตที่ดำรงอยู่ตามปกติขณะที่ยังไม่มีอารมณ์ใดมากระทบ

๒. ภวังค์คจลนะ จิตเริ่มเคลื่อนไหวเมื่อมีสิ่งมากระทบ(ทางทวารใดทวารหนึ่ง...ตา,หูจมูก,ลิ้น,กาย)

๓. ภวังค์คุปัจเฉทะ เมื่อมีสิ่งมากระทบจิตเริ่มวางอารมณ์เก่า(อตีตภวังคจิต)

๔. ปัญจทวาราวัชชนะ จิตเริ่มรับอารมณ์ใหม่จากทวาร

๕. ปัญจวิญญาณ ทวาร๕เริ่มรับอารมณ์

๖. สัมปฏิจฉันนะ จิตรับอารมณ์จากทวาร(ที่ถูกกระทบ)

๗. สันตีรณะ จิตวิเคราะห์อารมณ์ว่าเป็นแบบใด

๘. โวฐัพนจิต จิตตัดสินอารมณ์(มีข้อมูลจากความจำช่วย)

๙. ชวนะจิต (๑) จิตเสวยอารมณ์(ก่อตัว)

๑๐. ชวนะจิต (๒) จิตเสวยอารมณ์(เติบโต)

๑๑. ชวนะจิต(๓) จิตเสวยอารมณ์(เติบโตเต็มที่)

๑๒. ชวนะจิต (๔) จิตเสวยอารมณ์(ทรงอยู่)

๑๓. ชวนะจิต (๕) จิตเสวยอารมณ์(เริ่มคลายตัว)

๑๔. ชวนะจิต(๖) จิตเสวยอารมณ์(คลายตัว)

๑๕. ชวนะจิต(๗) จิตเสวยอารมณ์(อ่อนตัวลง)

๑๖. ตทาลัมพนะจิต(๑) จิตหน่วงตัวลงสู่ภวังคจลนะจิต

๑๗.ตทาลัมพนะจิต(๒) จิตหน่วงตัวลงสู่อตีตภวังค์จิต


การมีความเป็นอยู่ตามปกติ จิตจะไม่เคลื่อนไหวเข้าสู่วิถีจิต (ไม่เสพอารมณฺ)ดังนั้นจึงต้องรักษาจิตขณะปัจจุบันให้คงไว้อยู่เสมอไม่ให้จิตเคลื่อนไหวขึ้นสู่วิถีจิตที่จะทำให้ก่อเป็นอารมณ์เป็นการตัดวงจรการเกิดเป็นอารมณ์อยู่เสมอ


***การเข้าใจการทำงานของจิต คือการยึดแล้วปล่อย จึงทำให้เรารู้ว่าเราควรจะปฏิบัติต่อความรู้สึกของเราอย่างใด จึงจะมีความเป็นเหตุผลตามธรรมชาติของมัน คือการแก้ไขตนเองโดยใช้เหตุผลทางธรรมชาติ คือการปล่อยวางความรู้สึกและอารมณ์ของตนเอง การเห็นการเกิดและดับของมันจึงเห็นว่าควรปล่อยวาง ไม่เข้าไปยึดมั่น***







โดย: ไพรสณธ์ IP: 125.27.55.66 วันที่: 28 กรกฎาคม 2553 เวลา:9:56:22 น.
  
การว่างจากการสัมผัส เป็นการแยกการปรุงแต่งกันของจิตกับกาย ปฏิบัติให้เกิดความรู้สึกว่างจากการสัมผัสอยู่เสมอ จะเห็นว่าอารมณ์,ความรู้สึกของเราที่เกิดขึ้นเกิดจากการปรุงแต่งกันของจิตกับกายนั่นเอง

........ฟังดูอาจจะเกิดความรู้สึกแปลกๆนะครับ แต่ถ้าเราสามารถระงับอารมณ์ความรู้สึกของเราได้จากการปฏิบัตินี้ จึงจะเห็นว่ามันเป็นความจริงว่าธรรมชาติของกายเราทำงานอยู่อย่างนี้ คือจิตหรือความรู้สึกของเรามีปฏิกิริยาต่อสิ่งแวดล้อมที่มากระทบทางอายตนะทั้งหก(หู,ตา,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ)แล้วนำมาปรุงแต่งโดยมีความจำ(สัญญา)ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลอยู่

แท้จริงความรู้สึกที่เป็นตัวเราก็คือการทำงานของจิตกับกายนั่นเอง การพบความจริงนี้จึงเป็นความรู้ของมนุษย์ที่จะรู้จักตัวเองอย่างแท้จริงว่ามันเป็นการทำงานตามสัญชาตญาณทางธรรมชาติของกายอยู่นั่นเอง...




...........แต่การที่มันจะหยุดการปรุงแต่งลงได้จะเป็นอาการทางความรู้สึก ที่สงบอยู่ คือนิ่ง-สงบ มันจึงหยุดดิ้นรน หยุดการปรุงแต่ง ต้องวางการพิจารณาทั้งหมดลง
..........เพราะการพิจารณาอยู่มันคือจิตทำงานปรุงแต่งอยู่นั่นเอง การหยุดจึงจะเป็นอาการที่นิ่ง-สงบอยู่เท่านั้น ทุกอย่างจึงจบลงได้........(การทบทวนพิจารณาต่างๆต้องหยุดลง)
โดย: ไพรสณฑ์ (ไพรสณฑ์ ) วันที่: 9 กันยายน 2553 เวลา:15:02:23 น.
  


.........หยุดความรู้สึกคือจบ ความรู้สึกหยุด นิวรณ์ก็หยุดลง........
โดย: ไพรสณฑ์ (ไพรสณฑ์ ) วันที่: 15 สิงหาคม 2556 เวลา:20:38:28 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ไพรสณฑ์
Location :
อำนาจเจริญ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



การปฏิบัติธรรม...
คือการมีสติรู้ความจริงของชีวิต

ชีวิตคือความเป็นธรรมชาตินั่นเอง
การมองชีวิตในมุมกลับจึงเห็นความจริงว่ามันคือการเกิด-ดับของความเป็นธรรมชาตินั่นเองที่เป็นอยู่คือการยึดมั่น...

...การเห็นความจริงนี้จึงเป็นการเห็น"สัจจะธรรม"จึงพบคำตอบเกิดขึ้นว่าพวกเรามาทำธุระอะไรกันอยู่บนโลกใบนี้. แท้จริงมันคือการเกิด-ดับของความเป็นธรรมชาติเท่านั้น...คือความจริงที่จะต้องทำความเข้าใจ เพราะการเข้าใจว่าเป็น "ตัวเรา"มันเป็นการหลงอยู่ในการปรุงแต่งของความเป็นธรรมชาติเท่านั้น.


...การเข้าใจมันตามจริง.... จึงเห็นความเป็นเหตุผลเกิดขึ้น..."ตัวเรา"เป็นเพียงการสมมุติของธรรมชาติเท่านั้น จึง เกิดความวิเวก วังเวง เพราะมันเป็นความจริงนั่นเอง
New Comments