กรกฏาคม 2553

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
10
11
13
14
15
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
31
 
สรุป : การปฏิบัติธรรม




.งามในเบื้องต้น. .งามในท่ามกลาง. .งามในบั้นปลาย


การปฏิบัติธรรมมีความเป็นเบื้องต้น  ท่ามกลาง  และบั้นปลายเนื่องจากความเป็น “ตัวเรา”  มีความเป็นธรรมชาติ  การปฏิบัติธรรมคือการแก้ไขความเป็นธรรมชาติของตัวเอง


ดังนั้นการปฏิบัติธรรมก็คือการฝืนความเป็นธรรมชาติของตัวเรานั่นเอง การปฏิบัติในเบื้องต้น   จึงจะเป็นการปฏิบัติที่ไม่ฝืนความเป็นธรรมชาติมากนักเช่น การทำบุญ  ให้ทาน   ผู้ให้ก็ย่อมเป็นสุข  การทำบุญ ให้ทานจึงอย่าไปหวังผลตอบแทน  เพราะมันจะกลายเป็นความทุกข์  แต่จงมีความสุขจากการให้  โดยหวังผลจากจิตตัวเอง


ในท่ามกลาง  ก็คือการรักษาศีล  คือการมีธรรมะประจำใจอยู่เสมอผู้ที่เห็นธรรม   ก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความรู้สึกได้เห็นความเป็นสาระเกิดขึ้น  การสำรวมระวังทำให้เราพ้นไปจากความเศร้าหมอง  คือมีจิตที่ละเอียดขึ้น ความละเอียดอ่อนทางจิตนั่นเองคือผลที่เกิดทางความรู้สึก ความเป็นกุศลจึงนำความสุขมาให้จึงเป็นรูปแบบของชีวิตที่ควรจะเป็นไม่ปล่อยตัวเองตามยถากรรม  เพราะการมีความรู้สึกที่ละเอียดอ่อนนั่นเองทำให้เรามีความรู้สึกที่เป็นสุข   การเห็นความเป็นเหตุผลนี้ทำให้เราก้าวขึ้นไปสู่ระดับสูงได้


ในบั้นปลาย  เราจะเกิดความเห็นว่ากิเลสนั้นแท้จริงคือการผูกมัด  เป็นสิ่งร้อยรัด จึงเห็นว่าควรจะละวาง   แต่การละวาง  ก็เป็นสิ่งที่เราต้องค้นหาว่าจะทำอย่างไรจึงจะละวางความเป็นธรรมชาติของตัวเองได้ จึงมีวิธีการที่หลากหลาย  แต่ใน  “อภิธรรม” อธิบายความเป็นธรรมชาติของตัวเราไว้อย่างชัดเจนแล้ว  จึงต้องปฏิบัติในแนวทางที่สอดคล้องกับความเป็นธรรมชาติของตัวเรานั่นเองเราจึงจะแก้ไขความเป็นธรรมชาติของตัวเราได้...
คือความเป็นตัวเราเกิดจากการปรุงแต่งของความเป็นธรรมชาติมันมีรูปแบบการทำงานของมัน   เราจึงแก้ไขที่ความไม่ปรุงแต่งนั่นเอง  คือแก้ไขที่ความรู้สึกของเราเพราะความรู้สึกของเราคือการปรุงแต่งสิ่งต่างๆให้เกิดขึ้น,พิจารณาความรู้สึกของตนที่เกิดอยู่ในแต่ละขณะเพราะมันแสดงเป็นตัวเราอยู่และเป็นเหตุในการปรุงแต่ง  ความรู้สึกของเรานั่นเองสร้างภาพต่างๆอยู่(การยึดมั่น)มันเป็นการทำงานของความเป็นธรรมชาติของร่างกายโดยสรุปคือ.
..
SmileySmileySmiley..หยุดความรู้สึกของตัวเอง


แต่ต้องมีวิธีการที่แยบคาย   ทีจะให้การหยุดความรู้สึกนั้นเป็นความชอบธรรมคือมีความเป็นเหตุผลเกิดขึ้น   แต่การหักด้ามพร้าด้วยหัวเข่า  ก็พบว่าเป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้ความเป็นเหตุผลเกิดขึ้นได้   คือการทำความรู้สึกให้หายไปให้มีแต่กายทำงานอยู่เท่านั้นฝึกอยู่เสมอจนมีความเป็นธรรมชาติหรือมองความรู้สึกหรือจิตในความเป็น"อนัตตา"ไม่มีอยู่จริงมันเป็นเพียงพลังงานของกายเท่านั้นที่เราคิดว่ามันมีอยู่เพราะเกิดจากการปรุงแต่งของกายจึงเกิดความรู้สึกว่าเป็นตัวเรา เพราะความเป็นตัวเรามันทำงานตามสัญชาตญาณทางธรรมชาตินั่นเองจึงต้องหยุดที่ความเป็นสัญชาตญาณของความเป็นธรรมชาติ
........ดังนั้นจึงเกิดมุมมองที่แตกต่างในการปฏิบัติ   แต่ถ้าเรามองเห็นว่าเป็นการแก้ไขตัวเองจากความเป็นสัญชาตญาณทางธรรมชาติ       มันจะทำให้เราเข้าใจตัวเราเองได้มากขึ้น   ว่าเราควรจะปฏิบัติอย่างไรจึงจะมีความเหมาะสม  



 


........แต่ในบล็อกนี้  เสนอแนวทางตามที่พระพุทธเจ้าแนะนำพุทธสาวก   ซึ่งจะเห็นว่ามันมีความสอดคล้องกับความเป็นธรรมชาติของตัวเรานั่นเองซึ่งเห็นว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้วจึงอธิบายตามแนวทางของพระพุทธเจ้า
   เพียงแต่ว่าผู้ปฏิบัติต้องคำนึงถึงความเป็น.....




Smiley..เบื้องต้น..Smiley.ท่ามกลาง...Smiley และบั้นปลาย...





(งามในเบื้องต้น   งามในท่ามกลาง  งามในบั้นปลาย)คือความเหมาะสมในแต่ละระดับ
  คือปฏิบัติจากง่ายไปหายาก(ตามที่ความรู้สึกของเรารับได้)  .........คือจากหยาบไปหาละเอียดเพราะความรู้สึกหยาบจะทำให้เราไม่เข้าใจระดับที่ละเอียดได้  และผู้ที่ปฏิบัติในบั้นปลาย  จึงจะเห็นว่าควรจะละวางความรู้สึกที่เป็น  “อัตตา”นั่นเองซึ่งในศาสนาพุทธอธิบายความรู้สึกนี้ว่า  “ความเป็นตัวเรา”  “ของเรา”  “ตัวกู-ของกู” นั่นเอง    ซึ่งเราอาจจะขยายออกไปเป็น....ความรัก  ความเมตตา  ความกรุณา  ต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์โลกเพราะความรู้สึกที่หยาบทำให้เกิดทุกข์........การละวางความรู้สึกนี้ได้จึงพ้นไปจากความเศร้าหมอง   และความรู้สึกทื่ละเอียดทำให้เกิดสุข    ดังนั้นเราจึงต้องอยู่ในความรู้สึกที่ละเอียดนั่นเองคือจุดหมายในการปฏิบัติความรู้สึกที่ละเอียดจึงจะพ้นไปจากการเวียนว่ายทางความรู้สึก 


Smiley...... และเราจะพบความสุขจากการละวางความเป็น “อัตตา”นี้



Smiley...........จึงเป็นสิ่งที่มนุษย์จะต้องทำความเข้าใจตัวเอง  คือจิตกับกายสร้างความรู้สึกให้เกิดขึ้นและการที่จิตกับกายหยุดการปรุงแต่งจึงทำให้ความเห็นของเราเปลี่ยนไป  คือเห็นแสงสว่างเกิดขึ้นและพ้นไปจากความมืด(เพราะมันหยุดสร้างความรู้สึกนั่นเอง)คือความหลงผิด  ไปสู่ความเข้าใจที่เป็นเหตุผลจึงอาจจะสรุปอีกทีว่า………..
Smiley.............แท้จริงเราไม่มีความเป็นเหตุผลอยู่นั่นเอง  จึงหลงอยู่ในความเป็นธรรมชาติของ  ความ เป็น“ตัวเรา”  ซึ่งเกิดจากการปรุงแต่งของธรรมชาติเท่านั้นแต่เราหลงว่ามันคือ  “ตัวเรา” เราจึงหลงอยู่ในความเป็นธรรมชาติเท่านั้น...  คือ Smiley


“ความจริง!”SmileySmileySmiley



ทางวิเวก :Smiley ทางหลุดพ้นจากวังวนของความทุกข์ทั้งมวล
Smiley//www.amarasin.bloggang.com



Free TextEditor





Create Date : 30 กรกฎาคม 2553
Last Update : 21 เมษายน 2554 6:49:52 น.
Counter : 2496 Pageviews.

4 comments
  
..แวะมาทักทายจ๊ะ..
ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ไพเราะที่สุด...งดงามที่สุด....ดีที่สุด...
โชคดีที่เราได้มาพบพระพุทธศาสนา...ได้เกิดบนแผ่นดินไทย...
..HappY BrightDaY To You..
โดย: *~ต้นกล้า...ของหัวใจ~* วันที่: 30 กรกฎาคม 2553 เวลา:16:46:24 น.
  
เข้าบ้านนี้แล้วร่มเย็นในจิตใจมากค่ะ
โดย: Ably วันที่: 31 กรกฎาคม 2553 เวลา:10:07:18 น.
  




***การหยุดปรุงแต่ง คือการที่ จิต กับ กาย ไม่ทำงานร่วมกัน...


พิจารณาแยก จิต จาก กาย โดย พิจารณาว่าเราอาศัยอยู่ในกาย กายไม่ใช่ของเราแต่เป็นเรือนร่างที่เราอาศัยอยู่เท่านั้น ความรู้สึกหรือจิตจะแยกออกไปจากกาย ให้พิจารณาความรู้สึกที่เกิดขึ้น เพื่อให้จำได้ว่าเมื่อจิตแยกจากกายมีอาการเป็นอย่างใดมีความรู้สึกอย่างใดเกิดขึ้น เพื่อเราจะเข้าใจได้เมื่อมันทำงานร่วมกันอยู่...คือมันไม่มีสติรู้อาการนี้นั่นเอง

ความรู้สึกว่าเป็น จิต ที่เราคิดว่ามันคือ"ตัวเรา"นั้นแท้จริงมันปรุงแต่ง ให้เป็นตัวเราอยู่ ความจริงมันเป็นพลังงานคือเป็นธาตุรู้ ซึ่งสิ่งที่มีชีวิตมีพลังงานควบคุมร่างกายที่เราเรียกว่า "จิต"

เราจึงต้องพิจารณาจิตในความเป็น"ธาตุรู้ " หรือเป็น"พลังงาน"ไม่ใช่ความเป็น "ตัวเรา" เมื่อมันไม่ปรุงแต่งมันจึงเป็นพลังงานหรือเป็นธาตุรู้เท่านั้นไม่มีความเป็นตัวเรา พิจารณาให้เห็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นซึ่งจะเห็นว่ามันมีความว่างเกิดขึ้น...มีสติรู้ในอาการของมันได้ว่าอาการที่มันว่างเป็นอย่างใดเพื่อเราจะรู้ตัวเองได้ว่าขณะนั้นจิตกำลังปรุงแต่งอยู่หรือไม่(อาการของจิต)




..........ซึ่งเป็นการพิจารณาให้เห็นการทำงานของจิตกับกายในความเป็นธาตุธรรมชาติที่ปรุงแต่งให้เกิดความรู้สึกที่เป็น "ตัวเรา" เป็นการแยกแยะการทำงานของ "จิต"กับ"กาย" ให้เห็นความเป็นองค์ประกอบทางธรรมชาติของมัน ซึ่งเป็นการรู้มันตามจริงไม่ใช่การสมมุติ.

การปฏิบัติอย่างนี้จึงเป็นการแยกแยะสิ่งที่ปรุงแต่งให้เกิดเป็นตัวเราว่ามันมีการทำงานอยู่อย่างใด ซึ่งเป็นการเรียนรู้ความเป็นตัวเองนั่นเอง จึงจะเห็นได้ว่าที่สุดแล้วมันไม่มีความเป็นตัวเราแต่เป็นการทำงานของธาตุธรรมชาติเท่านั้น คือความเป็นธาตุตามธรรมชาติปรุงแต่งให้เกิดเป็นตัวเรา และความเป็นตัวเรานั้นปรุงแต่งให้เกิดเป็นอารมณ์เป็นความรู้สึกต่างๆ(เจตสิก)เกิดอยู่ โดยมีความจำ(สัญญา)เป็นตัวให้ข้อมูล

ซึ่งเป็นการเรียนรู้ความเป็น "ตัวเรา"ตามที่มันเป็นจริงทางธรรมชาติ เราจึงจะเห็นสิ่งที่มันเป็นสมมุติทางความรู้สึกของเราได้....


.......ท่านจึงสรุปว่ามันเป็นการทำงานของ"ธาตุธรรมชาติ"อยู่เท่านั้นคือความจริงของมัน การเข้าใจความรู้สึกนี้ได้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน แต่ก็มีความเป็นเหตุผลในทางธรรมชาติ ที่เราจะเข้าใจแบบสรุปได้ว่าความจริงมันเป็นอย่างนั้นจริง แต่ความรู้สึกของเราอาจจะขัดแย้ง มันจึงเป็นสิ่งที่เราจะต้องทำความเข้าใจตัวเอง.




โดย: ไพรสณฑ์ (ไพรสณฑ์ ) วันที่: 2 สิงหาคม 2553 เวลา:6:46:26 น.
  
ขออนุโมทนาสาธุครับ ขออนุญาติเป็นกัลยาณมิตรนะครับ เพราะการได้กัลยาณมิตรเช่นท่าน เป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์ จริงๆ
โดย: shadee829 วันที่: 1 มิถุนายน 2554 เวลา:19:28:40 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ไพรสณฑ์
Location :
อำนาจเจริญ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



การปฏิบัติธรรม...
คือการมีสติรู้ความจริงของชีวิต

ชีวิตคือความเป็นธรรมชาตินั่นเอง
การมองชีวิตในมุมกลับจึงเห็นความจริงว่ามันคือการเกิด-ดับของความเป็นธรรมชาตินั่นเองที่เป็นอยู่คือการยึดมั่น...

...การเห็นความจริงนี้จึงเป็นการเห็น"สัจจะธรรม"จึงพบคำตอบเกิดขึ้นว่าพวกเรามาทำธุระอะไรกันอยู่บนโลกใบนี้. แท้จริงมันคือการเกิด-ดับของความเป็นธรรมชาติเท่านั้น...คือความจริงที่จะต้องทำความเข้าใจ เพราะการเข้าใจว่าเป็น "ตัวเรา"มันเป็นการหลงอยู่ในการปรุงแต่งของความเป็นธรรมชาติเท่านั้น.


...การเข้าใจมันตามจริง.... จึงเห็นความเป็นเหตุผลเกิดขึ้น..."ตัวเรา"เป็นเพียงการสมมุติของธรรมชาติเท่านั้น จึง เกิดความวิเวก วังเวง เพราะมันเป็นความจริงนั่นเอง
New Comments