พฤษภาคม 2556

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
"ว่างตามที่มันเป้นจริง"


.....ว่างตามที่มันเป็นจริง   คือการหยุดความรู้สึกไม่ให้ไหลไป  คือ เกิดการปรุงแต่ง    เพราะธรรมชาติของความรู้สึกมันปรุงแต่งอยู่นั่นเอง.....ดังพระพุทธวัจนที่ตรัสกับพระอานนท์.

............................................................................................

จูฬสุญญตสูตร 

ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา
มิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระ-
อานนท์ออกจากสถานที่หลีกเร้นอยู่ในเวลาเย็น แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่สักยนิคมชื่อนครกะ ในสักกชนบท ณ ที่นั้น ข้าพระองค์ได้สดับ ได้รับพระดำรัสนี้เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ดูกรอานนท์ บัดนี้เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ข้าพระองค์ได้สดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้วหรือ ฯ

พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า...
 ดูกรอานนท์ แน่นอน นั่นเธอสดับดี
แล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว ดูกรอานนท์ ทั้งเมื่อก่อนและ
บัดนี้ เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม เปรียบเหมือนปราสาทของมิคารมารดา
หลังนี้ ว่างเปล่าจากช้าง โค ม้า และลา ว่างเปล่าจากทองและเงิน ว่างจากการ
ชุมนุมของสตรีและบุรุษ มีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะภิกษุสงฆ์เท่านั้น ฉันใด

ดูกรอานนท์ ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่ใส่ใจสัญญาว่าบ้าน ไม่ใส่ใจสัญญา
ว่ามนุษย์ ใส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะสัญญาว่าป่า จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส
ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในสัญญาว่าป่า เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในสัญญาว่าป่านี้
ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยสัญญาว่าบ้าน และชนิดที่อาศัยสัญญาว่ามนุษย์เลย มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวายคือภาวะเดียวเฉพาะสัญญาว่าป่าเท่านั้น
เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าบ้าน สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่ามนุษย์ และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่าป่าเท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ว่ามี ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่างตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ

ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจสัญญาว่ามนุษย์ไม่ใส่ใจสัญญาว่าป่า ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่าแผ่นดิน จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในสัญญาว่าแผ่นดิน เปรียบเหมือนหนังโคที่เขาขึงดีแล้วด้วยหลักตั้งร้อย เป็นของปราศจากรอยย่น ฉันใด

ดูกร-อานนท์ ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่ใส่ใจแผ่นดินนี้ ซึ่งจะมีชั้นเชิง มีแม่น้ำลำธาร มีที่เต็มด้วยตอหนาม มีภูเขาและพื้นที่ไม่สม่ำเสมอ ทั้งหมด ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่า แผ่นดิน จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในสัญญาว่าแผ่นดิน เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในสัญญาว่าแผ่นดินนี้ ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยสัญญาว่ามนุษย์ และชนิดที่อาศัยสัญญาว่าป่า มีอยู่
ก็แต่เพียงความกระวนกระวาย คือภาวะเดียวเฉพาะสัญญาว่าแผ่นดินเท่านั้น เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่ามนุษย์ สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าป่า และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่าแผ่นดินเท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละเธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ว่ามี ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่างตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ

ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจสัญญาว่าป่าไม่ใส่ใจสัญญาว่าแผ่นดิน ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะอากาสานัญจายตนสัญญาจิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในอากาสานัญจายตน-สัญญา เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในอากาสานัญจายตนสัญญานี้ ไม่มีความกระวน-กระวาย ชนิดที่อาศัยสัญญาว่าป่าและชนิดที่อาศัยสัญญาว่าแผ่นดิน มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวาย คือภาวะเดียวเฉพาะอากาสานัญจายตนสัญญาเท่านั้นเธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าป่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าแผ่นดิน และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะอากาสานัญจายตนสัญญาเท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย และรู้
ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ว่ามี ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการ
ก้าวลงสู่ความว่าง ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ

ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจสัญญาว่าแผ่นดิน
ไม่ใส่ใจอากาสานัญจายตนสัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะวิญญาณัญจายตนสัญญา
จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในวิญญาณัญจายตน-
สัญญา เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในวิญญาณัญจายตนสัญญานี้ไม่มีความกระวน-
กระวายชนิดที่อาศัยสัญญาว่าแผ่นดิน และชนิดที่อาศัยอากาสานัญจายตนสัญญา
มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวาย คือภาวะเดียวเฉพาะวิญญาณัญจายตนสัญญา
เท่านั้น เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าแผ่นดิน สัญญานี้ว่างจากอากาสานัญ
จายตนสัญญาและรู้ชัดว่า มีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะวิญญาณัญจายตนสัญญา
เท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ใน
สัญญานั้นเลยและรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ ว่ามี ดูกรอานนท์
แม้อย่างนี้ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์
ของภิกษุนั้น ฯ

ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจอากาสานัญ
จายตนสัญญา ไม่ใส่ใจวิญญาณัญจายตนสัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะอากิญจัญญายตนสัญญา จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในอากิญ-จัญญายตนสัญญา เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในอากิญจัญญายตนสัญญานี้ไม่มีความ
กระวนกระวายชนิดที่อาศัยอากาสานัญจายตนสัญญาและชนิดที่อาศัยวิญญาณัญ-
จายตนสัญญา มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวายคือภาวะเดียวเฉพาะอากิญจัญญาย-ตนสัญญาเท่านั้น เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากอากาสานัญจายตนสัญญา สัญญานี้ว่างจากวิญญาณัญจายตนสัญญา และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะอากิญ-จัญญายตนสัญญาเท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละเธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลยและรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ว่ามี

ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาดบริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ

ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจวิญญาณัญจายตน-
สัญญา ไม่ใส่ใจอากิญจัญญายตนสัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะเนวสัญญานา-
สัญญายตนสัญญา จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในเนว
สัญญานาสัญญายตนสัญญา เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญานี้ ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยวิญญาณัญจายตนสัญญาและชนิดที่อาศัยอากิญจัญญายตนสัญญา มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวายคือภาวะเดียวเฉพาะเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาเท่านั้น เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากวิญญาณัญจายตนสัญญา สัญญานี้ว่างจากอากิญจัญญายตนสัญญา และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาเท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ ว่ามี ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่างตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ

ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจอากิญจัญญา-ยตนสัญญา ไม่ใส่ใจเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในเจโตสมาธินี้ ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยอากิญจัญญายตนสัญญาและชนิดที่อาศัยเนวสัญญานา-สัญญายตนสัญญา มีอยู่แต่เพียงความกระวนกระวายคือความเกิดแห่งอายตนะ ๖อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากอากิญจัญญายตน-สัญญา สัญญานี้ว่างจากเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาและรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือความเกิดแห่งอายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในเจโตสมาธินั้นเลย
............................................................................................................................
และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในเจโตสมาธินั้นอันยังมีอยู่ ว่ามี ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็
เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของ
ภิกษุนั้น ฯ

.........................
...................................................................................................
ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจอากิญจัญญาตน-
สัญญา ไม่ใส่ใจเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะเจโตสมาธิ
อันไม่มีนิมิต จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ใน
เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิตนี้แล ยังมี
ปัจจัยปรุงแต่ง จูงใจได้ ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง จูงใจได้นั้น ไม่เที่ยง
มีความดับไปเป็นธรรมดา เมื่อเธอรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จาก
กามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า
หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จ
แล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่าในญาณนี้ไม่มีความ
กระวนกระวายชนิดที่อาศัยกามาสวะ ชนิดที่อาศัยภวาสวะและชนิดที่อาศัยอวิชชา-
สวะ มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวาย คือ ความเกิดแห่งอายตนะ ๖ อาศัย
กายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากกามาสวะ สัญญานี้
ว่างจากภวาสวะ สัญญานี้ว่างจากอวิชชาสวะ และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือความเกิด
แห่งอายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึง
พิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในเจโตสมาธินั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลือ
อยู่ในเจโตสมาธินั้นอันยังมีอยู่ ว่ามี ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ เป็นการก้าวลงสู่
ความว่าง ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ
ดูกรอานนท์ สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลไม่ว่าพวกใดๆ ที่
บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น ก็ได้บรรลุสุญญตสมา-
บัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลไม่ว่าพวก
ใดๆ ที่จะบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น ก็จัก
บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ สมณะหรือพราหมณ์ในบัดนี้
ไม่ว่าพวกใดๆ ที่บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น
ย่อมบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ ดูกรอานนท์ เพราะ
ฉะนั้นแล พวกเธอพึงศึกษาไว้อย่างนี้เถิดว่า เราจักบรรลุสุญญตสมาบัติอัน
บริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

จบ จูฬสุญญตสูตร ที่ ๑
...........................................................................................................................
***พระสูตรนี้ให้พิจารณาสิ่งที่เหลืออยู่ เพื่อให้ถึงความว่างคือความจริงแท้ที่ไม่ใช่การปรุงแต่ง เพราะสิ่งปรุงแต่งเกิดแล้วดับไป.... ตามปกติเวลาเรานั่งสมาธิจิตของเราจะเกิดความละเอียดอ่อน เราจึงละวางสิ่งที่หยาบ และไปยึดสิ่งที่ละเอียด จนจิตละเอียดมากขึ้น จึงละวางที่เพ่งอยู่นั้นได้ต่อไปเป็นลำดับ...
*** แต่พอออกจากสมาธิเราไม่ได้พิจารณาต่อว่าอะไรคือสิ่งที่เหลืออยู่ คือผัสสะที่เกิดจากอายตนะ๖นั่นเองคือสิ่งที่เหลืออยู่เราจึงเพ่งสิ่งที่เหลืออยู่ ให้เกิดการละวางจนเกิดเป็นความว่าง การไม่มีอยู่ของสิ่งใดคือไม่มีสิ่งที่เหลืออยู่ คือปล่อยวางสัมผัสที่เกิดจากอายตนะนั่นเอง จนถึงที่สุดคือไม่มีอะไรเหลืออยู่ ถ้าเราจินตนาการไปตามลำดับที่สุดคือ “ความว่าง”คือสิ่งที่เหลืออยู่ ว่างตามทีมันเป็นจริงเราจึงยึดความว่างคือสิ่งที่เหลืออยู่ปล่อยวางสิ่งปรุงแต่ง ปล่อยวางอาการสัมผัสทางอายตนะ๖ที่เกิดอยู่โดยให้ว่างตามที่มันเป็นจริงไม่มีสิ่งใดเหลืออยู่.........

***ความว่างตามที่มันเป็นจริง เราจึงจะเข้าใจสิ่งต่างๆตามที่มันเป็นจริงคือการไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่น เพราะการเข้าไปยึดมั่นถือมั่นมันจะไม่ว่างนั่นเอง การยึดมั่นถือมั่นจะทำให้เกิดการสำคัญตนเกิดขึ้น จึงมีสิ่งที่เกิดขึ้นมาแทนความว่าง***


(ขอบคุณท่านสมาชิก F=9b ที่แนะนำให้รู้จักพระสูตรนี้...ที่ตรัสแก่สาวกที่นั่งแวดล้อมอยู่.......สมมุติว่าหนึ่งในนั้นคือตัวเรา)







Create Date : 18 พฤษภาคม 2556
Last Update : 20 ตุลาคม 2559 7:47:38 น.
Counter : 1261 Pageviews.

7 comments
  



..........ว่างตามที่เป็นจริงคือไม่มีสิ่งใดอยู่ในความรู้สึก ให้วางความจำอื่นๆ ให้มีแต่ความว่าง(สัญญาว่างอยู่).........การว่างอยู่คือหยุดปรุงแต่งอาการทางความรู้สึกจึงหยุดลง มีผลเกิดขึ้นต่อเนื่อง จึงว่างเป็นปกติ.
โดย: ไพรสณฑ์ (ไพรสณฑ์ ) วันที่: 20 พฤษภาคม 2556 เวลา:8:39:16 น.
  


การทำงานทางความรู้สึก ถ้ามันว่างอยู่ จะไม่มีอาการอื่นเกิดขึ้นนอกจากความว่าง(สัญญาว่างเกิดอยู่).............ถ้าไม่ว่างมันจะเกิดเป็นอาการทางความรู้สึกคือมีสิ่งอื่นเกิดอยู่ อาจจะเป็นภาพ(อรูป) หรือเกิดอาการ(รูป) ดังนั้นการไม่เกิดเป็นอาการจึงควรจะว่างอยู่นั่นเอง และว่างตามที่มันเป็นจริงคือให้มีแต่ความว่างเกิดอยู่เท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นหรือนิวรณ์เกิดอยู่.

การเกิดเป็นวิถีจิตหรือชวนะจิต คือจิตเกิดเป็นอาการ(เจตสิก) อาการที่เกิดขึ้นจะเกิดทีละอย่างเท่านั้น ดังนั้นการให้ความว่างครองอยู่ สิ่งอื่นจึงเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าความว่างครองอยู่เป็นปกติ อาการที่เป็นตัวเราก็ไม่เกิดขึ้น ความรู้สึกของเราจึงสงบลง เมื่อไม่มีสิ่งใดเกิดอยู่สิ่งที่แสดงอาการอยู่คือว่าง...........มันเป็นการทำงานของความรู้สึกนั่นเองมีความเป็นธรรมชาติของมันอย่างนี้

........การดิ้นรนแสวงหาจึงเป็นการใช้งานมันอยู่นั่นเอง ที่สุดคือหยุดคือว่างอยู่ไม่แสดงอาการเป็รรูปหรืออรูป.............


โดย: ไพรสณฑ์ (ไพรสณฑ์ ) วันที่: 21 พฤษภาคม 2556 เวลา:7:48:20 น.
  




..................ถ้าความว่างเกิดขึ้น อาการที่เกิดเป็น "ตัวเรา"ก็ทำให้มันไม่ว่างเหมือนกัน เราจึงเห็นได้ว่าความรู้สึกที่เป็น "ตัวเรา" ความรู้สึกของเราปรุงแต่งขี้นมา ถ้าไม่ปรุงแต่ง เราจึงรู้แต่อาการที่เป็นธรรมชาติของกาย และอาการรู้เกิดอยู่.........
โดย: ไพรสณฑ์ (ไพรสณฑ์ ) วันที่: 26 พฤษภาคม 2556 เวลา:8:14:49 น.
  

ชุ่มฉ่ำด้วยสายฝน หลับฝันดีกันนะคะ เกศสุริยง
------------------------------
ไม่ได้มาทักทายคุณไพรสณฑ์เสียนาน blogนี้สงบมากจึงไม่อยากมาทำความวุ่นวาย แต่วันนี้เหงาใจมากและคิดถึงblogนี้อย่างไรก็ไม่รู้ คุณไพรสณฑ์สบายดีนะคะ
โดย: เกศสุริยง วันที่: 21 มิถุนายน 2556 เวลา:23:21:43 น.
  


ครับสบายดี ทำใจสงบวันละห้านาที ชีวิตจะเปลี่ยนแปลงได้ ใจสงบทำให้เกิดการพักผ่อนนั่นเอง
โดย: ไพรสณฑ์ (ไพรสณฑ์ ) วันที่: 26 มิถุนายน 2556 เวลา:7:52:14 น.
  

..........อ่านพระสูตรนี้ ให้ความรู้สึกสัมผัสอาการที่ว่าง คือไม่มีสิ่งใดเหลืออยู่เพื่อเข้าไปอยู่ใน "สุญญตวิหารธรรม" .................

ความว่างที่แท้จริงคืออาการที่ตื่นอยู่ อาการที่ความรู้สึกไม่เคลิ้มอยู่ มันจึงว่างคือตื่น ต้องฝึกให้เกิดเป็นความเคยชิน จึงจะสัมผัสได้ว่าปกติความรู้สึกของเรามันแปรปรวน คือการเคลิ้มปรุงแต่งอยู่จึงหยุด จึงว่างและตื่น.
โดย: ไพรสณฑ์ (ไพรสณฑ์ ) วันที่: 2 เมษายน 2557 เวลา:6:17:17 น.
  
ความว่างคือหยุดความรู้สึกไม่ให้ไป ถ้าความรู้สึกไหลไปมันจะเกิดการปรุงแต่ง เราจึงต้องทำให้ว่าหรือหยุดความรู้สึกเป็นระยะๆ เพราะธรรมชาติของความรู้สึกมันจะแปรปรวนตามสิ่งแวดล้อมอยู่นั่นเอง เราจึงต้องมีการจัดการความรู้สึกของเราไม่ให้ก่อตัวเป็นทุกข์
โดย: ไพรสณฑ์ (ไพรสณฑ์ ) วันที่: 20 ตุลาคม 2559 เวลา:7:43:07 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ไพรสณฑ์
Location :
อำนาจเจริญ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



การปฏิบัติธรรม...
คือการมีสติรู้ความจริงของชีวิต

ชีวิตคือความเป็นธรรมชาตินั่นเอง
การมองชีวิตในมุมกลับจึงเห็นความจริงว่ามันคือการเกิด-ดับของความเป็นธรรมชาตินั่นเองที่เป็นอยู่คือการยึดมั่น...

...การเห็นความจริงนี้จึงเป็นการเห็น"สัจจะธรรม"จึงพบคำตอบเกิดขึ้นว่าพวกเรามาทำธุระอะไรกันอยู่บนโลกใบนี้. แท้จริงมันคือการเกิด-ดับของความเป็นธรรมชาติเท่านั้น...คือความจริงที่จะต้องทำความเข้าใจ เพราะการเข้าใจว่าเป็น "ตัวเรา"มันเป็นการหลงอยู่ในการปรุงแต่งของความเป็นธรรมชาติเท่านั้น.


...การเข้าใจมันตามจริง.... จึงเห็นความเป็นเหตุผลเกิดขึ้น..."ตัวเรา"เป็นเพียงการสมมุติของธรรมชาติเท่านั้น จึง เกิดความวิเวก วังเวง เพราะมันเป็นความจริงนั่นเอง
New Comments