Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2552
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
22 มิถุนายน 2552
 
All Blogs
 

MGT 2201 บทที่ 1 เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม

บทที่ 1
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการฝึกอบรม

Today Discussion
“ การฝึกอบรม”
มีส่วนสร้างเสริมศักยภาพของคนได้หรือไม่? อย่างไร?

ความหมายของการฝึกอบรม
1.การฝึกอบรม หมายถึง กระบวนการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบให้แก่บุคคลหรือกลุ่มคน โดยมุ่งที่จะก่อให้เกิดหรือพัฒนาความรู้ ทักษะ และปรับทัศนคติ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่องประกอบกัน ตามความจำเป็นที่สอดคล้องกับภาระหน้าที่ และความรับผิดชอบของ ผู้เข้าอบรม และจุดมุ่งหมายในการพัฒนาองค์การ ซึ่งรวมถึงการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การนั้น (วิบูลย์ บุญยธโรกุล, 2545, 1)

2.การฝึกอบรม หมายถึง กระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเฉพาะด้านของบุคคลโดยมุ่งเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และทัศนคติ อันจะนำไปสู่การยกมาตรฐานการทำงานให้สูงขึ้น ทำให้บุคคลมีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และองค์การบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ (สมคิด บางโม, 2545, 14)

การฝึกอบรมเป็นกระบวนการในการเรียน การสอน เพื่อ
 ให้เกิดการเรียนรู้
 เสริมสร้างทักษะ และ
 แลกเปลี่ยนทัศนคติ ตามความมุ่งหวังที่กำหนดไว้ อันนำไปสู่
 การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ซึ่งอาจจะเป็นการเรียนการสอนในห้องอบรมหรือ ณ สถานที่ปฏิบัติงานจริงก็ได้

วัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม 3 ประการ(KSA) ที่เป็นปัจจัยสำคัญแสดงถึงความได้เปรียบของแต่ละองค์กร
• บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ (Knowledge)
• บุคลากรที่มีทักษะและความชำนาญ (Skill)
• บุคลากรที่มีทัศนคติที่ดี (Attitude)



ความแตกต่างระหว่างการศึกษาและการฝึกอบรม

การศึกษาคือ กระบวนการพัฒนาศักยภาพของคนให้เป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ มีความเจริญทั้งด้านจริยธรรม คุณธรรม ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม เพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีขอบเขตมุ่งพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของคน ด้วยการให้ความรู้ ความเข้าใจในทฤษฎี โดยใช้ระยะเวลานานหลายปี

การฝึกอบรม มุ่งที่จะเตรียมคนเข้าทำงาน หรือฝึกอบรมคนที่ทำงานอยู่แล้วให้สามารถปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี ด้วยวิธีให้ความรู้ความเข้าใจที่เจาะจงเฉพาะเรื่องเท่านั้น โดยใช้ระยะเวลาสั้นๆเรียนแล้วนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที (to make people fit for the job)

วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม
• วัตถุประสงค์ด้านพุทธิพิสัย (head)
เน้นให้ผู้เข้าอบรมเกิดการเปลี่ยนแปลงความสามารถทางสติปัญญา (Intellectual) การเรียนรู้ (Learning) และ การแก้ปัญหา (Problem solving)
• วัตถุประสงค์ด้านจิตพิสัย (heart)
เน้นให้ผู้เข้าอบรมเกิดการเปลี่ยนแปลงความรู้สึกนึกคิดในจิตใจ
• วัตถุประสงค์ด้านทักษะพิสัย(hand)
เน้นให้ผู้เข้าอบรมมีความสามารถในการลงมือปฏิบัติ

วัตถุประสงค์ด้านพุทธิพิสัย : ความสามารถทางสติปัญญา (head) เน้นให้ผู้เข้าอบรมเกิดการเปลี่ยนแปลงความรู้ ความเข้าใจจากไม่รู้มาก่อน

1.ความรู้ ความจำ (Knowledge) สามารถในการจดจำความรู้ต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
2.ความเข้าใจ (Comprehension) เข้าใจถึงสิ่งที่ได้เรียนในสิ่งที่ได้เรียนรู้ สามารถอธิบาย บอกเล่า แปลความ ตีความขยายความ และสรุปความหมายได้
3.การนำไปใช้ (Application) สามารถในการใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา หรือ นำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
4.การวิเคราะห์ (Analysis) สามารถในการจำแนกแยกแยะสิ่งที่ได้เรียนรู้ออกเป็นส่วนๆจนเห็นลำดับความสัมพันธ์ในแต่ละส่วนได้
5.การสังเคราะห์ (Synthesis) สามารถรวบรวมความรู้ต่างๆที่เป็นองค์ประกอบย่อยๆให้เป็นสิ่งใหม่ พัฒนาคิดสร้างสรรค์โดยอาศัยความสามารถเฉพาะตัว
6.การประเมิน (Evaluation) สามารถในการตัดสินคุณค่าอย่างมีเหตุมีผล ว่าสิ่งใดดี สิ่งใดไม่ดี เหมาะสมหรือไม่ โดยใช้กฎระเบียบ ธรรมเนียมประเพณี หรือใช้บรรทัดฐานของตนเองได้อย่างมีเหตุผล

การเขียนวัตถุประสงค์ของพุทธิพิสัย
•ตัวอย่าง :
• เพื่อให้ผู้อบรมมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ......
• เพื่อให้ผู้อบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานด้าน....
• เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้..........

“สุดา”พนักงานใหม่ ไม่มีความรู้เกี่ยวกับสินค้าที่ขายเลย ควรต้องฝึกอบรมเรื่องสินค้าและบริการ ให้สามารถแนะนำสินค้าได้ถูกต้อง แต่หลังจากอบรมแล้ว “สุดา”สามารถขายสินค้าได้ ลูกค้ามีความพอใจ หัวหน้าชมเชย
แสดงว่าการฝึกอบรมช่วยให้ “สุดา”เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสติปัญญา มีความรู้ในสินค้ามากขึ้น

2.วัตถุประสงค์ด้านจิตพิสัย
 เน้นให้ผู้เข้าอบรมเกิดการเปลี่ยนแปลงความรู้สึกนึกคิดในจิตใจ (heart) มุ่งหมายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ความรู้สึก จิตสำนึก ค่านิยม และทัศนคติ เช่น การรับรู้ การรับทราบ การยอมรับ การตระหนัก
 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเช่น การอุทิศตนเพื่อส่วนรวม ความจงรักภักดี ความสามัคคี ความร่วมมือร่วมใจ ความเสียสละ ความรู้สึกที่ดี

ตัวอย่างการเขียนวัตถุประสงค์ทางด้านจิตพิสัย
• เพื่อให้ผู้เข้ารับอบรมตระหนักถึงความสำคัญของ.....
• เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดจิตสำนึกรับผิดชอบต่อ.....
• เพื่อปลูกฝังค่านิยมเกี่ยวกับ.....ให้แก่ผู้เข้าอบรม
• เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดความรู้สึกที่ดีต่อ......

วัตถุประสงค์ด้านทักษะพิสัย
• เป็นพฤติกรรมทางการด้านการเคลื่อนไหว (Movement) เน้นให้ผู้เข้าอบรมมีความสามารถในการลงมือปฏิบัติ (hand)
– เลียนแบบได้
– ปฏิบัติได้ด้วยตนเอง
– ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
– ปฏิบัติได้อย่างชำนาญ
– ปฏิบัติได้โดยอัตโนมัติ

ตัวอย่างการเขียนวัตถุประสงค์ด้านทักษะพิสัย
• เพื่อพัฒนาและปรับปรุงทักษะในด้าน....ให้แก่ผู้เข้าอบรม
• เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดความชำนาญ สามารถใช้....ได้อย่างถูกต้อง คล่องแคล่วและรวดเร็ว
• เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถใช้.....ได้อย่างปลอดภัย
• เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถปฏิบัติงานด้าน....ได้อย่างถูกต้อง

กิจกรรมที่ 2
จงวิเคราะห์ว่าเป็นวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมด้านใด
• เพื่อให้ผู้เข้าอบรมนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปใช้ในการออกแบบการวิจัย
• เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถผลิตสื่อการเรียนการสอนได้ด้วยตนเอง
• เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดการองค์ความรู้
• เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถเขียน Storyboard ได้
• เพื่อให้ผู้เข้าอบรมตระหนักถึงความสำคัญของการวิจัยและพัฒนา
• เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงประโยชน์ของโปรแกรมสำเร็จรูป
• เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถประยุกต์ใช้ Competency ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์
• เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง Key Performance Indicator (KPIs)กับ Competency
• เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ฝึกปฏิบัติการจัดทำแผนธุรกิจ
• เพื่อศึกษาโครงสร้างพื้นฐานและหลักการใช้งาน Photoshop

ประเภทของการฝึกอบรม
• 1.การฝึกอบรมก่อนเข้าทำงาน (pre - service training)หมายถึงการฝึกอบรมก่อนบรรจุแต่งตั้งให้ทำงาน ทั้งพนักงานใหม่ และพนักงานเก่าที่ถูกเลื่อนตำแหน่ง เปลี่ยนหน้าที่ โดยงานใหม่แตกต่างไปจากเดิม เพื่อเตรียมพร้อมก่อนเข้ารับตำแหน่ง
Ex: @ ฝึกอบรมหลักสูตรการเป็นผู้บริหารระดับต้น เพื่อเตรียมพร้อมก่อนสมัครงานในตำแหน่งหัวหน้า
@ สมัครเรียนคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ภาษาอังกฤษธุรกิจ เพื่อให้มีคุณสมบัติตามที่บริษัทต้องการ
@ เข้าอบรมหลักสูตรการสร้างบุคลิกภาพเพื่อเตรียมความพร้อมในการสมัครงาน และเสริมสร้างความมั่นใจ

2.การฝึกอบรมเมื่อเข้าทำงานแล้ว (in - service training)
Ex:
• การปฐมนิเทศ (orientation): แนะนำพนักงานใหม่
• การฝึกอบรมในขณะทำงาน (on the job training):ผู้บังคับบัญชา หัวหน้างาน หรือผู้ร่วมงานแนะนำ ชี้แนะ
• การฝึกอบรมนอกเวลาทำงาน (off the job training):
การสร้างแรงจูงใจ /การพัฒนาทีมงาน ฯลฯ
3.การฝึกอบรมเมื่อพ้นจากการทำงาน (retirement training) :
• การดูแลรักษาสุขภาพตนเอง
• การปรับตัวให้เข้ากับสถานภาพใหม่
• การสร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากร
• ความรู้เดิมของบุคลากรใหม่ ไม่สามารถนำมาใช้ในการปฏิบัติงานได้
• เพิ่มศักยภาพความรู้ ความสามารถให้แก่บุคลากร
• สร้างบุคลากรเพื่อรองรับงานในอนาคต ทดแทนกำลังคนที่สูญเสียไป ลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากร

สาเหตุที่องค์การต้องจัดฝึกอบรม
1. เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ ความสามารถสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน
2. สร้างขวัญและกำลังใจ กระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน
3. ตอบสนองความต้องการเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน

กระบวนการจัดฝึกอบรม
1. การหาความจำเป็นในการฝึกอบรม (training needs assessment)
2. การสร้างหลักสูตรฝึกอบรม (curriculum design)
3. การเตรียมการก่อนฝึกอบรม (training preparation)
4. การดำเนินการฝึกอบรม (training implementation)
5. การประเมินผลโครงการฝึกอบรม (training evaluation)

1.การหาความจำเป็นในการฝึกอบรม
• เก็บรวบรวม วิเคราะห์ปัญหาต่างๆ โดยวิธี
– สัมภาษณ์...สำรวจ...สังเกต...
– เรื่องที่ควรจะต้องอบรม
– เหตุผลและความจำเป็น
– เวลาที่เหมาะสม
– งบประมาณ
2.การสร้างหลักสูตรฝึกอบรม เช่น
• ทักษะการบริหารจัดการ (Management Skill)
• การแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ ( Problem Solving and Decision Making )
• การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management)
3.การเตรียมการก่อนฝึกอบรม
• วางแผนจัดทำโครงการ
• ขออนุมัติ
• จัดทำหลักสูตร สื่อการสอน เทคนิคการฝึกอบรม
• จัดทำกำหนดการ
• จัดทำหนังสือเชิญ จดหมาย
• สรรหา คัดเลือกวิทยากร
• คุณสมบัติผู้เข้าอบรม
• สถานที่
• ฯลฯ
4.การดำเนินการฝึกอบรม
• ลงทะเบียน
• พิธีเปิด
• อำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ
• พิธีปิด
5. การประเมินผลโครงการฝึกอบรม

หลักของการฝึกอบรม
• T : Think เปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการอบรมได้แสดงความคิดเห็น และมีส่วนร่วม
• R : Respect สร้างความน่าเชื่อถือ ให้ผู้อบรมเกิดความสนใจที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เห็นคุณค่าของการฝึกอบรม
• A : Alert สร้างความน่าสนใจในการอบรมดยใช้เทคนิคในการอบรม
• I : Image สร้างภาพพจน์ด้วยการเริ่มต้นที่ดี
• N : Need understanding สร้างความเข้าใจถึงเหตุผลและความจำเป็นในการฝึกอบรม

แนวทางการจัดฝึกอบรมให้ประสบความสำเร็จ
• การฝึกอบรมทุกครั้งจำเป็นต้องกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน
• การฝึกอบรมจะต้องเป็นกระบวนการที่มีเวลาเตรียมการ
• การฝึกอบรมจะต้องเกิดขึ้นบนพื้นฐานของเหตุและผล
• การฝึกอบรมจะต้องเลือกวิทยากรที่มีทั้งความรู้ ประสบการณ์ในการทำงาน และความสามารถในการถ่ายทอดความรู้
• การฝึกอบรมจะต้องมีการประเมินความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ของวิทยากร ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ของผู้เข้าอบรม และการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการฝึกอบรม
• การฝึกอบรมจะต้องมีการจัดเตรียมเอกสารและสื่อการเรียนการสอน
• การฝึกอบรมจะต้องเริ่มต้นจากการสร้างความรู้พื้นฐานก่อนเป็นอันดับแรก
• การฝึกอบรมจะต้องทำให้ผู้เข้าอบรมเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน สร้างบรรยากาศการเรียนรู้
• การฝึกอบรมจะต้องได้รับการยอมรับ สนับสนุน และช่วยเหลือจากผู้บริหาร
• ผู้บังคับบัญชาจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเข้ารับการฝึกอบรม และนำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์
• ช่วยลดระยะเวลาในการเรียนรู้งานให้สั้นลง
• เปิดโลกทัศน์ให้กับบุคลากร
• เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากรกับองค์การ
• เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่มบุคลากร
• ทำให้ผลผลิตในการทำงานสูงขึ้น
• ส่งผลให้บุคลากรมีขวัญกำลังใจดีขึ้น
• ช่วยลดอุบัติเหตุในการทำงานลง
• ทำให้เกิดประโยชน์แก่บุคลากรโดยตรง
• ช่วยลดภาระการควบคุมงานของหัวหน้างาน

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม
1.ผู้บริหาร
• ผู้บริหารระดับสูง เป็นผู้กำหนดนโยบาย
• ผู้บริหารระดับหัวหน้างาน เป็นผู้ตรวจสอบหาสาเหตุของปัญหา และความต้องการในหลักสูตรที่ต้องการ
• ผู้บริหารงานฝึกอบรม มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการฝึกอบรม ผลักดันให้มีการดำเนินโครงการฝึกอบรม ตั้งแต่ขออนุมัติโครงการจนกระทั่งเสร็จสิ้น

2.ผู้ประสานงาน เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม หรือผู้รับผิดชอบการฝึกอบรม
• นำนโยบาย มาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินโครงการฝึกอบรม
• หาความจำเป็นในการฝึกอบรม
• จัดหาทรัพยากรที่จำเป็น
• ประชาสัมพันธ์โครงการไปยังหน่วยงานต่างๆ
• ประสานงานกับฝ่ายต่างๆ
• ควบคุมดูแลทุกกิจกรรม
• ประเมินผลโครงการ

3.วิทยากรให้ข้อมูลทางวิชาการ มีทักษะ เทคนิคในการนำเสนอ สามารถถ่ายทอดเนื้อหาผนวกกับประสบการณ์ตรงได้อย่างน่าสนใจ
4.ผู้เข้าอบรม อาจมาจากหน่วยงานต่างๆในองค์การ (กรณีฝึกอบรมภายใน) หรืออาจมาจากหลายๆองค์การ (กรณีเข้ารับการอบรมร่วมกับบุคลากรขององการค์อื่น)

ปัญหาในการฝึกอบรม
• ปัญหาด้านผู้บริหาร ไม่เห็นความสำคัญ ไม่สนับสนุนงบประมาณ
• ปัญหาด้านผู้รับผิดชอบการฝึกอบรม ไม่เข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของตนเอง ไม่มีความรู้ในด้านการฝึกอบรม
• ปัญหาด้านวิทยากร ขาดแคลน ขาดทักษะในการถ่ายทอด
• ปัญหาด้านผู้เข้าอบรม ไม่เห็นประโยชน์ในการฝึกอบรม
• ปัญหาด้านงบประมาณมีไม่เพียงพอ จึงต้องประหยัด ไม่สามารถจ้างวิทยากรที่มีคุณภาพได้ ไม่สามารถเลือกสถานที่ที่เหมาะสมได้
• ปัญหาด้านสถานที่ ทำเล ที่พักไม่เหมาะสม เครื่องมือขาดแคลน

ระดมสมอง
(จากคำถามทบทวน ข้อ 13.)ให้นักศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลของบริษัทนิสสัน มอเตอร์ และเขียนอธิบายตามหัวข้อ ดังนี้ พร้อมส่งตัวแทนนำเสนอรายงานหน้าห้อง
• วัตถุประสงค์ของของการฝึกอบรม
• ประเภทของการฝึกอบรม
• แหล่งของการฝึกอบรม
• การสร้างหลักสูตรฝึกอบรม
• สิ่งที่บริษัทคาดหวัง (Output)ในการอบรมครั้งนี้




 

Create Date : 22 มิถุนายน 2552
1 comments
Last Update : 19 มิถุนายน 2553 15:05:23 น.
Counter : 7468 Pageviews.

 

การให้ความรู้เป็นสาธารณทาน เป็นทานที่ประเสริฐ

 

โดย: ชวพัฒน์ พรมขุนทด IP: 171.96.172.54 11 มิถุนายน 2558 13:15:47 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Benjawan_B
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 93 คน [?]




วิทยากร, ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRM & HRD), การบริหารความเสี่ยงองค์กร, การจัดการมาตรฐานแรงงาน, กฎหมายแรงงาน,เขียนหนังสือและบทความ
New Comments
Friends' blogs
[Add Benjawan_B's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.