All Blog
การปฏิบัติตน ของคุณแม่หลังคลอด

ข้อมูลจาก โรงพยาบาล ไทยนครินทร์
การพักผ่อน
คุณควรทำใจให้สบาย นอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่อย่างน้อย8ชั่วโมง พยาบาลห้องเด็กจะช่วยดูแลบุตรของคุณอย่างดี ในการลุกครั้งแรกๆ อาจมีอาการเวียนศีรษะหน้ามืดเป็นลมได้ คุณควรเปลี่ยนอริยาบทช้าๆโดยลุกนั่งถ้าไม่เวียนศีรษะจึงลุกยืน ต่อมาจึงค่อยๆเดินและควรมีผู้คอยช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด

คุณไม่ควรนอนนานเกิน 24 ชั่วโมง การเดินช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตป้องกันเส้นเลือดดำอุดตันอีกทั้งกระตุ้นให้ลำไส้ทำงานได้ดี ช่วยให้ท้องไม่อืด และอวัยวะภายในต่างๆ ทำงานเป็นปกติดีขึ้น เมื่อ ่คุณพร้อมสามารถเดินไปให้นมบุตรที่ห้องเด็กอ่อนในช่วงเวลาที่ห้องเด็กนัดหมาย พยาบาลห้องเด็กจะมีการแนะนำวิธีเลี้ยงดูบุตรให้แก่คุณ

การออกกายบริหาร
สามารถปฏิบัติได้ 2 สัปดาห์ไปแล้ว คุณสามารถทำงานบ้านเบาๆได้ และไม่ควรขึ้นลงบันไดบ่อยๆตลอด 6 สัปดาห์หลังคลอดคุณไม่ควรออกแรงยกของหนัก หรือเบ่งแรงๆเพราะอาจจะทำให้มดลูกเคลื่อนต่ำเกิดภาวะกระบังลมหย่อนได้
เคล็ดในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา
1. ป้องกันเต้านมคล้อยคุณควรสวมเสื้อในตลอดเพื่อพยุงเต้านม ซึ่งจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากในระยะให้นมเสื้อในควรมีขนาดเหมาะสมกับเต้านม ไม่ควรสวมเสื้อในที่ไม่พอดี
2. การป้องกันหัวนมแตกและเต้านมอักเสบการทำสะอาดเต้านมและหัวนม ควรทำขณะอาบน้ำเช้าเย็นก็เพียงพอการเช็ดหัวนมบ่อยๆ ทำให้หัวนมแห้งแตกเป็นแผลได้ไม่ควรแกะ สะเก็ดน้ำนมที่แห้งติดหัวนม แต่ควรเช็ดทำความสะอาดด้วยน้ำอุ่น การให้บุตรดูดนมควรค่อยๆเพิ่มเวลาในการดูดนมมารดาวันแรกไม่ควรดูดนานเกิน 2 นาที / ครั้ง และ 3 - 5 นาที / ครั้งในวันต่อมาเพราะน้ำนมยังไม่มา บุตรดูดแรงหัวนมจะแตกเป็นแผลง่าย ต่อมาเมื่อมีน้ำนมปกติให้ดูดข้างละไม่เกิน 15 นาทีควรให้ดูดนมสลับกันทั้งสองข้างเพื่อป้องกันขนาดเต้านมโตไม่เท่ากัน เมื่อเต้านมคัดวันแรกไม่ควรปั๊ม เพราะการคัดตึงเต้านมในระยะแรก เกิดเนื่องจากเลือดมาคั่งเลี้ยงบริเวณต่อมน้ำนมการปั๊มจะทำให้เต้านมช้ำเกิดการอักเสบได้
3. วิธีให้นมอย่างสุขสบายควรนั่งในตำแหน่งที่มีพนักพิงหลังเพื่อลดปัญหาปวดหลัง


ควรหาเบาะหรือหมอนหนุนรองตัวบุตรให้อยู่ในระดับเดียวกับเต้านมเพื่อช่วยรับน้ำหนักทารกส่วนหนึ่ง คุณจะรู้สึกเมื่อยแขนและข้อมือลดลงขณะให้นมมารดาไม่ควรมองหรือจับตาดูบุตรตลอดเวลา เพราะอาจเกิดอาการปวดศีรษะจากการเพ่งมาก
4. วิธีอุ้มให้นมแบบต่างๆ

แบบที่ 1
หมาะสำหรับทารกแรกคลอดใหม่เพราะทารกจะสำลักนมง่าย ควรอุ้มในอ้อมกอดศีรษะสูง


แบบที่ 2
ใช้สำหรับคุณแม่ที่มีแผลผ่าตัดที่หน้าท้อง เท้าและส่วนลำตัว ทารกจะไม่กระทบกับแผล
แบบที่ 3
เหมาะสำหรับทารกที่อายุมากขึ้นดุดนมเก่งไม่สำลักง่าย หรือในกรณีคุณแม่อ่อนเพลีย ระวังนอนหลับทับบุตร





แบบที่ 4
ท่าอุ้มบุตรเรอ หลังให้นม
อาหาร
คุณควรได้รับอาหารครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ เหมือนตอนตั้งครรภ์รวมทั้งยาบำรุง ยังจำเป็นเพราะเป็นระยะให้นมบุตร และร่างกายต้องการเสริมสุขภาพให้กลับคืนสู่สภาพเดิมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาจะช่วยให้คุณแม่ไม่อ้วน ควรงดอาหารประเภทหมักดองและของมึนเมาเพราะแอลกอฮอล์สามารถผ่านน้ำนมสู่ทารกได้ ส่วนยาอื่นๆถ้าจำเป็นต้องใช้ควรปรึกษาแพทย์ เพราะอาจผ่านทางน้ำนมได้
การขับถ่าย
กระเพาะปัสสาวะและ / หรือลำไส้เต็ม มีผลทำให้มดลูกหดรัดตัวและลดระดับเข้าอู่ได้ไม่ดีอาจทำให้เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดได้ คุณไม่ควรกลั้นปัสสาวะนาน หากมีปัญหาปัสสาวะไม่ออก หรือปัสสาวะแสบขัดควรปรึกษาแพทย์และพยาบาล

หากคุณมีปัญหาท้องผูก ควรเดินออกกำลังกาย รับประทานผักผลไม้ และดื่มน้ำอย่างเพียงพอหากไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์ หรือพยาบาล
แผลบริเวณฝีเย็บ
บาดแผลที่เกิดจากการคลอด อาการเจ็บจะดีขึ้นภายใน 2 - 3 วันและแผลจะหายสนิทภายใน 5 วันการอบแผลด้วยไฟอินฟราเรดจะช่วยบรรเทาอาการปวดบวมได้ หรือถ้าปวดมาก ควรรับประทานยาแก้ปวด

การป้องกันการติดเชื้อบริเวณแผลและภายในโพรงมดลูก
1. คุณควรล้างทำความสะอาดทุกครั้งภายหลังการขับถ่าย ควรระวังไม่ล้างย้อนจากก้นมาทางด้านหน้าเพราะเชื้อโรคจากบริเวณก้น อาจเข้าสู่แผลและช่องคลอดได้ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยอย่างน้อยทุก 3 - 4 ชั่วโมงเพื่อป้องกันการหมักหมมของเชื้อแบคทีเรีย ไม่ควรสอดนิ้วเข้าภายในช่องคลอดเพราะจะนำเชื้อโรคจากภายนอกเข้าสู่ภายในโพรงมดลูกได้
2. คุณสามารถอาบน้ำได้ตามปกติโดยตักอาบไม่ควรแช่ตัวลงในอ่างน้ำ ในช่วง 6 สัปดาห์ หลังคลอดเพราะเชื้อโรคอาจเข้าในช่องคลอด ทำให้เกิดการติดเชื้อภายในโพรงมดลูกได้
3. การมีเพศสัมพันธ์ควรเริ่มภายหลังการตรวจหลังคลอด 4 สัปดาห์เพื่อขอคำแนะนำการวางแผนครอบครัวจากแพทย์ เพราะการมีบุตรถี่มีผลต่อสุขภาพของมารดาและทารกทำให้มารดาร่างกายอ่อนแอ ทารกมีน้ำหนักตัวน้อยได้การวางแผนครอบครัว ถ้ามารดายังไม่เริ่มคุมกำเนิด ควรให้มีการร่วมเพศหลังฉีดยาหรือกินยาคุมไปแล้ว 2 สัปดาห์ แต่ถ้าหากต้องการมีเพศสัมพันธ์ก่อนหน้านั้น ให้ฝ่ายชายใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วย

น้ำคาวปลา
น้ำคาวปลา คือเลือดที่ออกจากแผลภายในโพรงมดลูก บริเวณตำแหน่งที่รกและเยื่อหุ้มเด็กเกาะ ลักษณะเปลี่ยนแปลงตามสภาพการหายของแผลโดย 2 - 3 แรกแผลยังใหม่จะออกเป็นสีแดงสด ต่อมาจะเริ่มจางหรือคล้ำลง และมีมูกปนยิ่งนานสียิ่งจาง ตามลำดับจนเป็นมูกสีเหลืองจำนวนไม่มาก ระยะเวลาของแต่ละคน ไม่แน่นอนตั้งแต่ 3 - 6 สัปดาห์
ภาวะผิดปกติ
1. หลังคลอ ดใหม่ถ้ามีเลือดออกมาชุ่มผ้าอนามัย 1 ผืนต่อ 1 ชั่วโมงควรแจ้งพยาบาล
2. น้ำคาวปลาสีแดงไม่จางลงหรือเคยจาง แล้วกลับมีเลือดแดงสดอีก
3. น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็นหรือน้ำคาวปลาไม่ออกร่วมกับมารดามีไข้สูง แสดงว่ามีการติดเชื้อภายในโพรงมดลูก

อาการปวดมดลูก

มดลูกหลังคลอดมีการบีบรัดตัวเพื่อลดขนาดเข้าสู่สภาพเดิมอาจทำให้รู้สึกปวดมดลูก ได้ซึ่งเป็นภาวะปกติ อาการปวดจะหายไปภายใน 2 - 3 วัน คุณอาจรับประทานยาแก้ปวดและคลึงมดลูกแล้วนอนคว่ำเอาหมอนหนุนใต้ท้อง จะช่วยให้มดลูกหดรัดตัวกลับสู่สภาวะเดิมได้ดีขึ้น


ควรกลับมาพบแพทย์เมื่อ
1. มีน้ำคาวปลาผิดปกติมีกลิ่นเหม็น ร่วมกับมีไข้
2. แผลฝีเย็บอักเสบหรือมีอาการปวดที่แผลมากผิดปกติ
3. มีไข้สูงไม่ทราบสาเหตุ
4. ควรมาตรวจหลังคลอด 1 เดือน เพื่อประเมินสภาพกลับคืนสู่สภาวะ



Create Date : 27 มิถุนายน 2554
Last Update : 27 มิถุนายน 2554 21:53:13 น.
Counter : 2048 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

มนแพรวา
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]