kruaun
Location :
สุรินทร์ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




“อาจารย์ของพระอรหันต์ ยังไม่จำเป็นต้องเป็นพระอรหันต์เลย ดังนั้น อย่ากังวลเลย หากเราคิดว่าเราเก่งไม่พอที่สร้างลูกศิษย์เก่งๆ ขอเพียงแต่เรามีกระบวนการพัฒนา ส่งเสริม และให้โอกาสเขาอย่างเหมาะสม และถูกวิธี ให้เขาเติบโตเต็มศักยภาพที่ดี”---รศ. ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จากหนังสือแด่เมล็ดพันธุ์แห่งอนาคต

****************************

No one can make you feel inferior without your consent. by Eleanor Roosevelt.

ไม่มีใครสามารถทำให้คุณรู้สึกต้อยต่ำได้...
ถ้าคุณไม่ยินยอม (เอลานอร์ รูสเวลต์)

**************************

ครูอั๋น สอนคณิตศาสตร์ จังหวัดสุรินทร์
--------------------------------

"ชีวิตนี้ลูกยกให้พวกเขา...แต่ชีวิตหน้าทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาและพวกมันทำไว้กับลูก ลูกขอเอาคืน!"
---วรดา/ด้วยแรงอธิษฐาน/กิ่งฉัตร

รู้นะว่าถ้าเอาความแค้นนำทางมันไม่ดี...
แต่บางทีถ้าตั้งใจว่าจะต้องดีกว่า ดีกว่า...
มันก็เหมือนเป็นแรงขับให้เราก้าวหน้าได้เช่นกัน

แค่ตั้งใจทำดีก็แล้วกัน

+++++++++++++++++++++++++++++

มีคนเคยถามว่า "ทำไมมาเป็นครู"
คำตอบที่ผมภูมิใจและตอบได้อย่างเต็มปากที่สุด คือ
"ผมอยากเป็นครู เลยเลือกมาเป็นครู"


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

"เจ้าเป็นคนพูดเองนะว่า อำนาจมันมาแล้วมันก็ไป แล้วเจ้ายังจะแสวงหามันทำไมเล่า"
---เศกขรเทวี เพลิงพระนาง

๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗

สัจธรรมง่ายๆ ที่ใครๆ ก็พากันทำไม่ได้

ถ้าอยากมีชีวิตที่เลวลงอย่างคิดไม่ถึง
คุณแค่หมั่นทำเลวที่ไม่เคยแม้จะอยู่ใรความคิด

หากปรารถนาชีวิตที่ดีขึ้นอย่างคิดไม่ถึง
คุณต้องทำดีมากกว่าที่คิดว่าตัวเองจะทำได้

มีชีวิตที่คิดไม่ถึง/ดังตฤณ
----------------เริ่มนับ 30 เม.ย.53----------------- free counters ===== Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Thailand License.
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kruaun's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 
ไวรัสตับอักเสบ ตอนที่ ๖ ผู้ที่ตรวจพบว่าตนเองติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือซี ควรปฏิบัติตัวอย่างไร

เนื้อหาส่วนใหญ่นำมาจากหนังสือเรื่องการดูแลรักษาและป้องกันการติดต่อโรคไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี เขียนโดย ศาสตราจารย์แพทย์หญิงชุติมา ประมูลสินทรัพย์ หน่วยโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งข้าพเจ้าได้รับจาก นพ.เผด็จ หนูพันธ์ โรงพยาบาลสุรินทร์

%%%%%%%%%%%%%%%%%

ผู้ที่ตรวจพบว่าตนเองติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือซี ควรปฏิบัติตัวอย่างไร

ผู้ที่ทราบว่าตนเองติดเชื้อไวรัสตับอักเสบขณะไปตรวจเลือดประจำปี หรือตรวจพบเวลาไปบริจาคเลือด ไม่ควรตกใจหรือวิตกกังวลมาก เพราะคนที่เป็นแบบนี้มีจำนวนไม่น้อย และพบได้บ่อย คนไทยประมาณร้อยละ ๕ – ๑๐ หรือเท่ากับประมาณ ๓ – ๖ ล้านประชากรไทยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และในกรณีของตับอักเสบซี มีประชากรไทยประมาณร้อยละ ๑ – ๕ หรือเท่ากับประมาณ ๖ แสน ถึง ๓ ล้านคน ที่ติดเชื่อไวรัสตับอักเสบซี
ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือซี เรื้อรังส่วนใหญ่จะไม่มีอาการเลย แยกไม่ได้จากคนปกติ หรือมีเพียงอาการอ่อนเพลียเป็นบางครั้ง คลื่นไส้ หรือเจ็บบริเวณตับเพียงเล็กน้อย ผู้ติดเชื้อบางคนมารู้ว่าตนเองเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง หรือพาหะ ก็ต่อเมื่อไปตรวจร่างกายประจำปี หรือเมื่อไปบริจาคโลหิต ซึ่งธนาคารเลือด หรือศูนย์บริการโลหิต ถ้าตรวจเลือดพบ HBsAg บวก บ่งบอกว่าเป็นไวรัสตับอักเสบบี หรือพบแอนติบอดีต่อไวรัสตับอักเสบซี (anti-HCV) บ่งบอกว่าเป็นไวรัสตับอักเสบซี ก็จะแจ้งให้ผู้บริจาคโลหิตทราบ เพื่อให้ไปตรวจเลือดซ้ำ

ผู้ที่ตรวจพบว่าตนเองติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือซี ในครั้งแรกจะต้องไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ตรวจเลือด ดูการทำงานของตับว่ามีการอักเสบของตับแบบเรื้อรังหรือไม่ ถ้าระดับเอนไซม์เอแอลที (ALT) ในเลือดสูงนานเกินกว่า ๖ เดือน ถือว่าเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง แพทย์อาจพิจารณาให้ยาต้านไวรัส ควรไปพบแพทย์เป็นระยะๆ เพื่อติดตามเฝ้าระวังโรคแทรกซ้อน เนื่องจากตับอาจถูกทำลายมากขึ้นจนเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับได้ แพทย์มักจะตรวจร่างกาย และตรวจเลือดหาระดับเอนไซม์ทุก ๖ เดือน หรือ ๑ ปี เมื่ออายุมากขึ้นก็จะตรวจบ่อยขึ้น เพื่อเฝ้าระวังโรคมะเร็งตับ โดยการตรวจเลือดวัดระดับสารบ่งบอกมะเร็งตับ อัลฟาปีโตโปรตีน (Alpha fetoprotein หรือ AFP) และตรวจหาก้อนในตับโดยใช้เครื่องอัลตราซาวด์ การไปพบแพทย์เป็นระยะๆ ทุก ๖ เดือนหรือทุกปีนี้มีความสำคัญมาก เพราะถ้าเกิดโรคแทรกซ้อนแล้วจะได้รักษาทัน โรคตับแข็งในระยะแรกสามารถป้องกันและชะลอไม่ให้เป็นมากขึ้นได้ และถ้าตรวจพบมะเร็งตับระยะเริ่มแรกก็จะสามารถให้การรักษาได้อย่างทันท่วงที

แต่ถ้าตรวจพบว่าระดับเอนไซม์เอแอลที (ALT) ปกติ ถือว่าเป็นพาหะของโรค ก็ไม่ควรวิตกกังวลมากนัก เพราะโอกาสที่จะเกิดโรคตับแข็ง หรือโรคมะเร็งตับน้อยกว่าคนที่เป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง อย่างไรก็ตาม ควรตรวจวัดระดับเอนไซม์ของตับทุก ๖ เดือน และเมื่ออายุเกิน ๔๐ ปี ควรจะเริ่มตรวจเฝ้าระวังมะเร็งตับ โดยการตรวจเลือดวัดระดับอัลฟาฟีโตโปรตีนด้วย



สารบัญ


  • ตอนที่ ๑ เชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี ติดต่อได้อย่างไร

  • ตอนที่ ๒ ถ้าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซีแล้วจะมีอาการอย่างไร จะหายขาดหรือไม่ และถ้าไม่หายจะเป็นอย่างไรต่อไป

  • ตอนที่ ๓ จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นตับแข็ง

  • ตอนที่ ๔ ทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีและซี

  • ตอนที่ ๕ เมื่อเป็นไวรัสตับอักเสบบีและซีชนิดเฉียบพลันจะรักษาตัวอย่างไร และควรปฏิบัติตัวอย่างไร

  • ตอนที่ ๖ ผู้ที่ตรวจพบว่าตนเองติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือซี ควรปฏิบัติตัวอย่างไร

  • ตอนที่ ๗ ผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรังและพาหะของไวรัสตับอักเสบบี หรือซี จะปฏบัติตัวอย่างไร

  • ตอนที่ ๘ โรคตับอักเสบเรื้อรังรักษาได้หรือไม่

  • ตอนที่ ๙ ยารักษาโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสบี

  • ตอนที่ ๑๐ ยารักษาโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสซี

  • ตอนที่ ๑๑ จะป้องกันการติดต่อไวรัสตับอักเสบบี และซีได้อย่างไร

  • ตอนที่ ๑๒ จะป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้อย่างไร









Create Date : 08 กรกฎาคม 2554
Last Update : 8 กรกฎาคม 2554 23:00:12 น. 0 comments
Counter : 1025 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.