kruaun
Location :
สุรินทร์ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




“อาจารย์ของพระอรหันต์ ยังไม่จำเป็นต้องเป็นพระอรหันต์เลย ดังนั้น อย่ากังวลเลย หากเราคิดว่าเราเก่งไม่พอที่สร้างลูกศิษย์เก่งๆ ขอเพียงแต่เรามีกระบวนการพัฒนา ส่งเสริม และให้โอกาสเขาอย่างเหมาะสม และถูกวิธี ให้เขาเติบโตเต็มศักยภาพที่ดี”---รศ. ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จากหนังสือแด่เมล็ดพันธุ์แห่งอนาคต

****************************

No one can make you feel inferior without your consent. by Eleanor Roosevelt.

ไม่มีใครสามารถทำให้คุณรู้สึกต้อยต่ำได้...
ถ้าคุณไม่ยินยอม (เอลานอร์ รูสเวลต์)

**************************

ครูอั๋น สอนคณิตศาสตร์ จังหวัดสุรินทร์
--------------------------------

"ชีวิตนี้ลูกยกให้พวกเขา...แต่ชีวิตหน้าทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาและพวกมันทำไว้กับลูก ลูกขอเอาคืน!"
---วรดา/ด้วยแรงอธิษฐาน/กิ่งฉัตร

รู้นะว่าถ้าเอาความแค้นนำทางมันไม่ดี...
แต่บางทีถ้าตั้งใจว่าจะต้องดีกว่า ดีกว่า...
มันก็เหมือนเป็นแรงขับให้เราก้าวหน้าได้เช่นกัน

แค่ตั้งใจทำดีก็แล้วกัน

+++++++++++++++++++++++++++++

มีคนเคยถามว่า "ทำไมมาเป็นครู"
คำตอบที่ผมภูมิใจและตอบได้อย่างเต็มปากที่สุด คือ
"ผมอยากเป็นครู เลยเลือกมาเป็นครู"


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

"เจ้าเป็นคนพูดเองนะว่า อำนาจมันมาแล้วมันก็ไป แล้วเจ้ายังจะแสวงหามันทำไมเล่า"
---เศกขรเทวี เพลิงพระนาง

๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗

สัจธรรมง่ายๆ ที่ใครๆ ก็พากันทำไม่ได้

ถ้าอยากมีชีวิตที่เลวลงอย่างคิดไม่ถึง
คุณแค่หมั่นทำเลวที่ไม่เคยแม้จะอยู่ใรความคิด

หากปรารถนาชีวิตที่ดีขึ้นอย่างคิดไม่ถึง
คุณต้องทำดีมากกว่าที่คิดว่าตัวเองจะทำได้

มีชีวิตที่คิดไม่ถึง/ดังตฤณ
----------------เริ่มนับ 30 เม.ย.53----------------- free counters ===== Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Thailand License.
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kruaun's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 

ไวรัสตับอักเสบ ตอนที่ ๘: โรคตับอักเสบเรื้อรังรักษาได้หรือไม่

เนื้อหาส่วนใหญ่นำมาจากหนังสือเรื่องการดูแลรักษาและป้องกันการติดต่อโรคไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี เขียนโดย ศาสตราจารย์แพทย์หญิงชุติมา ประมูลสินทรัพย์ หน่วยโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งข้าพเจ้าได้รับจาก นพ.เผด็จ หนูพันธ์ โรงพยาบาลสุรินทร์

%%%%%%%%%%%%%%%%%

โรคตับอักเสบเรื้อรังรักษาได้หรือไม่

คนที่เป็นไวรัสตับอักเสบบีและซีเรื้อรังบางคนอาจจะหายเองได้ บางคนที่ไม่หายและมีภาวะตับอักเสบควรพิจารณาให้ยาต้านไวรัส ถ้าไม่มีข้อห้ามในการรักษา หรือไม่มีประวัติแพ้ยาที่เคยใช้รักษามาก่อน เนื่องจากผู้ป่วยเหล่านี้มีโอกาสกลายเป็นตับแข็ง และมะเร็งตับได้สูงกว่าคนทั่วไป โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับสูง คือ ผู้ป่วยชายที่มีอายุมากกว่า ๔๐ ปี มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งตับ และตับแข็ง การรักษาโรคตับอักเสบเรื้อรังชนิดบีและซีมีรายละเอียดและข้อควรระวังมาก จึงควรรักษาโดยแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะโรค

ก่อนการรักษาแพทย์จะทำการตรวจประเมินสภาพการทำงานของตับโดยละเอียด และทำการวินิจฉัยให้แน่ใจว่าอาการตับอักเสบที่เกิดขึ้นเป็นผลจากการติดเชื้อไวรัสจริง ตรวจหาปริมาณไวรัสในเลือด และควรได้รับการการตรวจพยาธิสภาพของเซลล์ตับโดยละเอียด โดยใช้เข็มเจาะเข้าไปในเนื้อตับเพื่อเอาชิ้นเนื้อตับมาตรวจประเมินความรุนแรงของโรคตับอักเสบ ซึ่งการตรวจตับแบบนี้เป็นเรื่องจำเป็น เพราะต้องทราบพยาธิสภาพการอักเสบของตับโดยละเอียดก่อนรักษา (ทำไมผมถึงไม่ได้ทำอย่างนั้น-นฤพนธ์) ซึ่งการตรวจมีความปลอดภัยสูงในมือแพทย์ที่มีความชำนาญ และในไวรัสตับอักเสบซีจะตรวจสายพันธุ์ของไวรัสเพื่อใช้ในการตัดสินใจในการให้การรักษา



สารบัญ


  • ตอนที่ ๑ เชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี ติดต่อได้อย่างไร

  • ตอนที่ ๒ ถ้าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซีแล้วจะมีอาการอย่างไร จะหายขาดหรือไม่ และถ้าไม่หายจะเป็นอย่างไรต่อไป

  • ตอนที่ ๓ จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นตับแข็ง

  • ตอนที่ ๔ ทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีและซี

  • ตอนที่ ๕ เมื่อเป็นไวรัสตับอักเสบบีและซีชนิดเฉียบพลันจะรักษาตัวอย่างไร และควรปฏิบัติตัวอย่างไร

  • ตอนที่ ๖ ผู้ที่ตรวจพบว่าตนเองติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือซี ควรปฏิบัติตัวอย่างไร

  • ตอนที่ ๗ ผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรังและพาหะของไวรัสตับอักเสบบี หรือซี จะปฏบัติตัวอย่างไร

  • ตอนที่ ๘ โรคตับอักเสบเรื้อรังรักษาได้หรือไม่

  • ตอนที่ ๙ ยารักษาโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสบี

  • ตอนที่ ๑๐ ยารักษาโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสซี

  • ตอนที่ ๑๑ จะป้องกันการติดต่อไวรัสตับอักเสบบี และซีได้อย่างไร

  • ตอนที่ ๑๒ จะป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้อย่างไร








 

Create Date : 08 กรกฎาคม 2554    
Last Update : 8 กรกฎาคม 2554 22:57:13 น.
Counter : 4633 Pageviews.  

ไวรัสตับอักเสบ ตอนที่ ๗ ผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรังและพาหะของไวรัสตับอักเสบจะปฏบัติตัวอย่างไร


ผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรังและพาหะของไวรัสตับอักเสบบี หรือซี จะปฏบัติตัวอย่างไร

ผู้ป่วยโรคตับอักเสบบีชนิดเรื้อรังและพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบ สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ แต่ควรปฏิบัติตัวเพิ่มเติม ดังนี้
๑. หมั่นรักษาสุขภาพอนามัยให้แข็งแรง พักผ่อนตามสมควร ไม่ทำงานหักโหม ไม่นอนดึก และไม่อดนอน

๒. ห้ามดื่มสุราและแอลกอฮอล์ รวมทั้งสารที่อาจจะเป็นอันตรายต่อตับโดยเด็ดขาด

๓. ออกกำลังกายเป็นประจำ และบริหารร่างกายโดยไม่หักโหม และควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่ต้องออกแรงมาก ต้องแข่งขัน หรือต้องเหนื่อยมาก เมื่อรู้สึกเพลียต้องหยุดพัก

๔. รับประทานอาหารได้ตามปกติ โดยควรรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบทุกหมู่ ทั้งปริมาณ และคุณภาพ และควรรับประทานอาหารให้เป็นเวลา

๕. งดสูบบุหรี่

๖. ไม่ซื้อยากินเอง เพราะยาหลายชนิดเป็นพิษต่อตับ และยาหลายชนิดจะออกฤทธิ์มากเกินไปหรือน้อยเกินไปถ้าเป็นโรคตับ ก่อนซื้อยาทุกครั้งต้องแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบว่าตนเองเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง หรือตับแข็ง

๗. เมื่อมีอาการผิดปกติควรไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเป็นระยะ ผู้เป็นพาหะหรือผู้ป่วยที่อายุเกิน ๔๐ ปี หรือประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งตับ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเป็นระยะๆ อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง หรือตามที่แพทย์นัด

๘. ผู้ที่เป็นพาหะและกำลังเป็นตับอักเสบเรื้อรังสามารถที่จะตั้งครรภ์ และมีบุตรได้ตามปกติ แต่ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบตอนฝากครรภ์เพื่อดูแลอย่างใกล้ชิดขึ้น และสามารถป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อไปยังบุตร โดยใช้วัคซีนและอิมมูโนโกลบุลิน (Immunoglobulin) แก่บุตร

๙. ผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรังในบางครั้งอาจจะมีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง เนื่องจากมีการอักเสบของตับแบบเฉียบพลันขึ้นได้ อีกเป็นพักๆ ซึ่งมักเกิดจากการดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เครียด นอนพักผ่อนไม่พอ นอนดึก หรือกินยาบางชนิด การรักษาในระยะนี้เหมือนกับในผู้ป่วยตับอักเสบเฉียบพลัน เมื่อหายแล้วต้องระมัดระวังไม่ให้มีการอักเสบใหม่แบบนี้เกิดขึ้นอีก



สารบัญ

  • ตอนที่ ๑ เชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี ติดต่อได้อย่างไร

  • ตอนที่ ๒ ถ้าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซีแล้วจะมีอาการอย่างไร จะหายขาดหรือไม่ และถ้าไม่หายจะเป็นอย่างไรต่อไป

  • ตอนที่ ๓ จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นตับแข็ง

  • ตอนที่ ๔ ทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีและซี

  • ตอนที่ ๕ เมื่อเป็นไวรัสตับอักเสบบีและซีชนิดเฉียบพลันจะรักษาตัวอย่างไร และควรปฏิบัติตัวอย่างไร

  • ตอนที่ ๖ ผู้ที่ตรวจพบว่าตนเองติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือซี ควรปฏิบัติตัวอย่างไร

  • ตอนที่ ๗ ผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรังและพาหะของไวรัสตับอักเสบบี หรือซี จะปฏบัติตัวอย่างไร

  • ตอนที่ ๘ โรคตับอักเสบเรื้อรังรักษาได้หรือไม่

  • ตอนที่ ๙ ยารักษาโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสบี

  • ตอนที่ ๑๐ ยารักษาโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสซี

  • ตอนที่ ๑๑ จะป้องกันการติดต่อไวรัสตับอักเสบบี และซีได้อย่างไร

  • ตอนที่ ๑๒ จะป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้อย่างไร









 

Create Date : 08 กรกฎาคม 2554    
Last Update : 8 กรกฎาคม 2554 22:58:25 น.
Counter : 999 Pageviews.  

ไวรัสตับอักเสบ ตอนที่ ๖ ผู้ที่ตรวจพบว่าตนเองติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือซี ควรปฏิบัติตัวอย่างไร

เนื้อหาส่วนใหญ่นำมาจากหนังสือเรื่องการดูแลรักษาและป้องกันการติดต่อโรคไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี เขียนโดย ศาสตราจารย์แพทย์หญิงชุติมา ประมูลสินทรัพย์ หน่วยโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งข้าพเจ้าได้รับจาก นพ.เผด็จ หนูพันธ์ โรงพยาบาลสุรินทร์

%%%%%%%%%%%%%%%%%

ผู้ที่ตรวจพบว่าตนเองติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือซี ควรปฏิบัติตัวอย่างไร

ผู้ที่ทราบว่าตนเองติดเชื้อไวรัสตับอักเสบขณะไปตรวจเลือดประจำปี หรือตรวจพบเวลาไปบริจาคเลือด ไม่ควรตกใจหรือวิตกกังวลมาก เพราะคนที่เป็นแบบนี้มีจำนวนไม่น้อย และพบได้บ่อย คนไทยประมาณร้อยละ ๕ – ๑๐ หรือเท่ากับประมาณ ๓ – ๖ ล้านประชากรไทยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และในกรณีของตับอักเสบซี มีประชากรไทยประมาณร้อยละ ๑ – ๕ หรือเท่ากับประมาณ ๖ แสน ถึง ๓ ล้านคน ที่ติดเชื่อไวรัสตับอักเสบซี
ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือซี เรื้อรังส่วนใหญ่จะไม่มีอาการเลย แยกไม่ได้จากคนปกติ หรือมีเพียงอาการอ่อนเพลียเป็นบางครั้ง คลื่นไส้ หรือเจ็บบริเวณตับเพียงเล็กน้อย ผู้ติดเชื้อบางคนมารู้ว่าตนเองเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง หรือพาหะ ก็ต่อเมื่อไปตรวจร่างกายประจำปี หรือเมื่อไปบริจาคโลหิต ซึ่งธนาคารเลือด หรือศูนย์บริการโลหิต ถ้าตรวจเลือดพบ HBsAg บวก บ่งบอกว่าเป็นไวรัสตับอักเสบบี หรือพบแอนติบอดีต่อไวรัสตับอักเสบซี (anti-HCV) บ่งบอกว่าเป็นไวรัสตับอักเสบซี ก็จะแจ้งให้ผู้บริจาคโลหิตทราบ เพื่อให้ไปตรวจเลือดซ้ำ

ผู้ที่ตรวจพบว่าตนเองติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือซี ในครั้งแรกจะต้องไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ตรวจเลือด ดูการทำงานของตับว่ามีการอักเสบของตับแบบเรื้อรังหรือไม่ ถ้าระดับเอนไซม์เอแอลที (ALT) ในเลือดสูงนานเกินกว่า ๖ เดือน ถือว่าเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง แพทย์อาจพิจารณาให้ยาต้านไวรัส ควรไปพบแพทย์เป็นระยะๆ เพื่อติดตามเฝ้าระวังโรคแทรกซ้อน เนื่องจากตับอาจถูกทำลายมากขึ้นจนเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับได้ แพทย์มักจะตรวจร่างกาย และตรวจเลือดหาระดับเอนไซม์ทุก ๖ เดือน หรือ ๑ ปี เมื่ออายุมากขึ้นก็จะตรวจบ่อยขึ้น เพื่อเฝ้าระวังโรคมะเร็งตับ โดยการตรวจเลือดวัดระดับสารบ่งบอกมะเร็งตับ อัลฟาปีโตโปรตีน (Alpha fetoprotein หรือ AFP) และตรวจหาก้อนในตับโดยใช้เครื่องอัลตราซาวด์ การไปพบแพทย์เป็นระยะๆ ทุก ๖ เดือนหรือทุกปีนี้มีความสำคัญมาก เพราะถ้าเกิดโรคแทรกซ้อนแล้วจะได้รักษาทัน โรคตับแข็งในระยะแรกสามารถป้องกันและชะลอไม่ให้เป็นมากขึ้นได้ และถ้าตรวจพบมะเร็งตับระยะเริ่มแรกก็จะสามารถให้การรักษาได้อย่างทันท่วงที

แต่ถ้าตรวจพบว่าระดับเอนไซม์เอแอลที (ALT) ปกติ ถือว่าเป็นพาหะของโรค ก็ไม่ควรวิตกกังวลมากนัก เพราะโอกาสที่จะเกิดโรคตับแข็ง หรือโรคมะเร็งตับน้อยกว่าคนที่เป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง อย่างไรก็ตาม ควรตรวจวัดระดับเอนไซม์ของตับทุก ๖ เดือน และเมื่ออายุเกิน ๔๐ ปี ควรจะเริ่มตรวจเฝ้าระวังมะเร็งตับ โดยการตรวจเลือดวัดระดับอัลฟาฟีโตโปรตีนด้วย



สารบัญ


  • ตอนที่ ๑ เชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี ติดต่อได้อย่างไร

  • ตอนที่ ๒ ถ้าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซีแล้วจะมีอาการอย่างไร จะหายขาดหรือไม่ และถ้าไม่หายจะเป็นอย่างไรต่อไป

  • ตอนที่ ๓ จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นตับแข็ง

  • ตอนที่ ๔ ทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีและซี

  • ตอนที่ ๕ เมื่อเป็นไวรัสตับอักเสบบีและซีชนิดเฉียบพลันจะรักษาตัวอย่างไร และควรปฏิบัติตัวอย่างไร

  • ตอนที่ ๖ ผู้ที่ตรวจพบว่าตนเองติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือซี ควรปฏิบัติตัวอย่างไร

  • ตอนที่ ๗ ผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรังและพาหะของไวรัสตับอักเสบบี หรือซี จะปฏบัติตัวอย่างไร

  • ตอนที่ ๘ โรคตับอักเสบเรื้อรังรักษาได้หรือไม่

  • ตอนที่ ๙ ยารักษาโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสบี

  • ตอนที่ ๑๐ ยารักษาโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสซี

  • ตอนที่ ๑๑ จะป้องกันการติดต่อไวรัสตับอักเสบบี และซีได้อย่างไร

  • ตอนที่ ๑๒ จะป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้อย่างไร









 

Create Date : 08 กรกฎาคม 2554    
Last Update : 8 กรกฎาคม 2554 23:00:12 น.
Counter : 1024 Pageviews.  

ไวรัสตับอักเสบ ตอนที่ ๕ เมื่อเป็นไวรัสตับอักเสบบีและซีชนิดเฉียบพลันจะรักษาและปฏิบัติตัวอย่างไร

เนื้อหาส่วนใหญ่นำมาจากหนังสือเรื่องการดูแลรักษาและป้องกันการติดต่อโรคไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี เขียนโดย ศาสตราจารย์แพทย์หญิงชุติมา ประมูลสินทรัพย์ หน่วยโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งข้าพเจ้าได้รับจาก นพ.เผด็จ หนูพันธ์ โรงพยาบาลสุรินทร์

%%%%%%%%%%%%%%%%%


เมื่อเป็นไวรัสตับอักเสบบีและซีชนิดเฉียบพลันจะรักษาตัวอย่างไร และควรปฏิบัติตัวอย่างไร

ผู้ป่วยโรคตับอักเสบในระยะเฉียบพลันไม่ว่าจะเกิดจากไวรัสชนิดใดก็ตามเกือบทั้งหมดจะมีอาการทุเลาขึ้นเองภายในระยะเวลาประมาณ ๒ – ๓ สัปดาห์หลังเริ่มมีอาการ และมักจะหายเป็นปกติในเวลาประมาณ ๑ – ๓ เดือน ส่วนใหญ่ยังไม่มีไม่มียารักษาเฉพาะ ยกเว้นในโรคตับอักเสบในระยะเฉียบพลันจากไวรัสตับอักเสบซี มีรายงานการใช้ยาฉีดอินเตอร์ฟีรอนอาจจะทำให้ลดอุบัติการณ์ของการเป็นพาหะหรือตับอักเสบเรื้อรัง อย่างไรก็ตาม การรักษาหลักยังเป็นการรักษาทั่วไป และรักษาตามอาการ โดยส่วนใหญ่ถ้าผู้ป่วยมีอาการแข็งแรงดี รับประทานอาหารได้ สามารถพักดูแลตนเองที่บ้านได้ และไม่ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่ควรพบแพทย์เพื่อติดตามอาการเป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอ เพราะอาจเกิดตับอักเสบเรื้อรังได้ในภายหน้าได้ เฉพาะผู้ป่วยบางคนเท่านั้นที่มีอาการุนแรงมาก แพทย์จะรับไว้รักษาในโรงพยาบาล การรักษานี้มีเป้าหมายเพื่อลดความรุนแรงของโรคไม่ให้ตับถูกทำลายมากขึ้น เฝ้าระวังและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย ลดอัตราการเสียชีวิต รวมทั้งป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อสู่คนใกล้ชิด และชุมชน หลักการที่สำคัญได้แก่

๑. หมั่นรักษาสุขภาพ พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อลดการใช้พลังงานของร่างกายซึ่งเป็นการลดการทำงานของตับ โดยทั่วไปควรพักผ่อนในบ้านอย่างเต็มที่ทั้งร่างกายและจิตใจ ประมาณ ๒ สัปดาห์นับจากการเริ่มมีอาการตาเหลืองตัวเหลือง การพักผ่อนนี้ไม่จำเป็นต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ถ้าไม่เหนื่อย โดยเดินไปเดินมา แต่ไม่ควรขึ้นลงบันไดบ่อยๆ หรือทำกิจกรรมที่ใช้พลังงานมาก สามารถนั่งอ่านหนังสือ หรือทำงานบนโต๊ะที่บ้านได้ แต่ถ้ารู้สึกเหนื่อยแล้วต้องพักผ่อนทันที ไม่ควรอดนอน และควรงดการออกกำลังกายหักโหมประมาณ ๒ เดือน หลังจากนั้นจึงค่อยเริ่มออกกำลังกาย โดยเริ่มจากกิจกรรมเบาๆ ก่อน เช่น เดินช้าแล้วเพิ่มเป็นเดินเร็ว เล่นกีฬาเบาๆ เล่นดนตรี และต้องพักทันทีเมือเริ่มเหนื่อยแล้วจึงค่อยเพิ่มกิจกรรมให้มากขึ้น ผู้ป่วยสูงอายุ เด็กเล็กหรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอื่นควรพักผ่อนนานขึ้น อาจจะนานถึง ๔ สัปดาห์

๒. รับประทานอาหารที่ให้พลังงานเพียงพอ แต่ควรเป็นอาหารอ่อน และมีไขมันต่ำเพื่อให้ย่อยง่าย และป้องกันท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง และอาเจียน โดยทั่วไปนิยมให้รับประทานอาหารประเภทแป้งที่ย่อยง่าย และให้พลังงานมาก และที่สำคัญควรรับประทานอาหารประเภทโปรตีนให้เพียงพอ เช่น เนื้อปลา เนื้อสัตว์อื่นๆ ไข่ เต้าหู้ และอื่นๆ แต่ไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำหวานหรือน้ำตาลมากๆ หรือดื่มซุปไก่ ตามความเชื่อเดิม นอกจากนี้ควรรับประทานอาหารให้ครบทุกมื้อโดยเฉพาะมื้อเช้า เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่จะรู้สึกท้องอืดตอนเย็นจึงรับประทานอาหารมื้อเย็นได้ไม่มาก ตัวอย่างอาหารที่รับประทานได้ เช่น เข้าต้มกับอาหารย่างหรือนึ่งพวกปลา หมู หรือกุ้ง แกงจืด ต้มยำ โดยเลือกใช้เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน น้ำหวานชนิดต่างๆ และไอศกรีมชนิดที่มีไขมันต่ำ และควรงดอาหารที่มีไข้มันสูง เช่น แกงที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ เช่น แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน เป็นต้น ขนมที่ใส่กะทิ เช่น วุ้นกะทิ ขนมหวานใส่กะทิ ข้าวเหนียวมะม่วง ทุเรียน ครีม เนย และอาหารทอด เป็นต้น

๓. งดดื่มสุรา และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด ควรงดตลอด หรืออย่างน้อยเป็นเวลา ๑ ปี หลังเป็นโรคตับอักเสบ เพราะแอลกอฮอล์เป็นพิษต่อตับทำให้ตับอักเสบมากขึ้น

๔. หลีกเลี่ยงยาหรือสารที่เป็นอันตรายต่อตับ ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง ควรปรึกษาแทย์ว่ายาที่ได้รับอยู่นั้นมียาใดที่อาจเป็นอันตรายต่อตับได้ เช่น ยารักษาวัณโรค ยาลดความดันโลหิตบางชนิด และยารักษาโรคผิวหนังบางชนิด เป็นต้น และควรหลีกเลี่ยงยาสมุนไพร ยาชุด หรือยาลูกกลอน เพราะอาจจะมีผลต่อตับได้

๕. การรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาแก้อาเจียน ยาแก้คัน เป็นต้น

๖. สังเกตว่าตนเองมีอาการรุนแรงขึ้น หรือมีอาการผิดปกติเพิ่มขึ้นหรือไม่ ถ้ามีความผิดปกติ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียนมากจนรับประทานอาหารไม่ได้ ตาเหลือง ตัวเหลืองมากขึ้น มีเลือดออกง่าย มีจ้ำเลือดตามตัว หรือท้องบวมมากขึ้น สติสัมปชัญญะเปลี่ยนแปลงไป พูดจาเลอะเลือน สับสน ซึมลง หรือเริ่มมีภาวะตับวาย เป็นต้น ควรปรึกษาแพทย์ โดยปกติแล้วแพทย์จะรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากเข้าไว้ในโรงพยาบาล

๗. ป้องกันการแพร่เชื้อสู่คนใกล้ชิดและชุมชน ผู้ป่วยโรคตับอักเสบ คนใกล้ชิด และญาติ ควรมีความเข้าใจที่ถูกต้องถึงการติดต่อและการแพร่เชื้อไวรัสตับอักเสบว่าติดต่อกันได้อย่างไร และจะป้องกันอย่างไร เมื่อมีความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว จะปฏิบัติตัวได้ถูก และไม่วิตกกังวลมากเกินไปว่าจะติดโรค เนื่องจากโรคตับอักเสบบีและซีติดต่อโดยทางเลือด และเชื้อไวรัสกลุ่มนี้ไม่ออกมาทางอุจจาระ จึงไม่ติดเชื้อทางการรับประทานอาหาร ต่างกับการติดต่อเชื้อไวรัสเอ และ อี ซึ่งติดต่อได้โดยการรับทานอาหารทางปาก แต่เชื้อไวรัสบีและซีหลั่งออกมาในสารคัดหลั่งอื่นๆ ได้ จึงต่องระมัดระวังเรื่องบาดแผล การใช้ของมีคม หรือของที่สัมผัสกับเลือกผู้ป่วย เช่น มีดโกนหนวด กรรไกรตัดเล็บ แปรงสีฟัน เป็นต้น และควรงดการร่วมเพศในระยะที่มีอาการตับอักเสบอยู่ หรือใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งที่สัมผัสกับสิ่งที่อาจจะมีเชื้อไวรัสปนเปื้อนอยู่



สารบัญ


  • ตอนที่ ๑ เชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี ติดต่อได้อย่างไร

  • ตอนที่ ๒ ถ้าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซีแล้วจะมีอาการอย่างไร จะหายขาดหรือไม่ และถ้าไม่หายจะเป็นอย่างไรต่อไป

  • ตอนที่ ๓ จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นตับแข็ง

  • ตอนที่ ๔ ทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีและซี

  • ตอนที่ ๕ เมื่อเป็นไวรัสตับอักเสบบีและซีชนิดเฉียบพลันจะรักษาตัวอย่างไร และควรปฏิบัติตัวอย่างไร

  • ตอนที่ ๖ ผู้ที่ตรวจพบว่าตนเองติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือซี ควรปฏิบัติตัวอย่างไร

  • ตอนที่ ๗ ผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรังและพาหะของไวรัสตับอักเสบบี หรือซี จะปฏบัติตัวอย่างไร

  • ตอนที่ ๘ โรคตับอักเสบเรื้อรังรักษาได้หรือไม่

  • ตอนที่ ๙ ยารักษาโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสบี

  • ตอนที่ ๑๐ ยารักษาโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสซี

  • ตอนที่ ๑๑ จะป้องกันการติดต่อไวรัสตับอักเสบบี และซีได้อย่างไร

  • ตอนที่ ๑๒ จะป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้อย่างไร









 

Create Date : 08 กรกฎาคม 2554    
Last Update : 8 กรกฎาคม 2554 22:59:46 น.
Counter : 959 Pageviews.  

ไวรัสตับอักเสบ ตอนที่ ๔ ทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีและซี

เนื้อหาส่วนใหญ่นำมาจากหนังสือเรื่องการดูแลรักษาและป้องกันการติดต่อโรคไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี เขียนโดย ศาสตราจารย์แพทย์หญิงชุติมา ประมูลสินทรัพย์ หน่วยโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งข้าพเจ้าได้รับจาก นพ.เผด็จ หนูพันธ์ โรงพยาบาลสุรินทร์

%%%%%%%%%%%%%%%%%


ทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีและซี

การวินิจฉัยโรคในผู้ป่วยที่สงสัยว่าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือสงสัยว่าเป็นพาหะของโรค ทำได้โดยการตรวจเลือดหาแอนติเจนของเชื้อที่เรียกว่า เอชบีเอสแอนติเจน (HBsAg: hepatitis B surface antigen) นอกจากนี้แล้วยังสามารถตรวจ อี แอนติเจน (HBeAg) แสดงว่าเชื้อไวรัสบีกำลังแบ่งตัว ซึ่งในภาวะนี้ถือว่าเป็นช่วงที่ผู้ป่วยจะแพร่เชื้อไวรัสบีติดต่อกับผู้อื่นได้ หรือตรวจหาปริมาณไวรัสตับ (HBV-DNA) จากเลือดโดยตรง นอกจากนี้ผู้ใดเคยติดเชื้อมาในอดีตและมีภูมิคุ้มกันต่อโรค จะทราบได้โดยการตรวจแอนติบอดีต่อเชื้อ เช่น anti-HBs

ส่วนการวินิจฉัยโรคในผู้ป่วยที่สงสัยว่าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี หรือสงสัยว่าเป็นพาหะทำได้โดยการตรวจเลือดหาแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสซี (anti-HCV) หรือตรวจหาปริมาณของเชื้อไวรัสซี (HCV-RNA) โดยวิธี PCR



สารบัญ


  • ตอนที่ ๑ เชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี ติดต่อได้อย่างไร

  • ตอนที่ ๒ ถ้าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซีแล้วจะมีอาการอย่างไร จะหายขาดหรือไม่ และถ้าไม่หายจะเป็นอย่างไรต่อไป

  • ตอนที่ ๓ จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นตับแข็ง

  • ตอนที่ ๔ ทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีและซี

  • ตอนที่ ๕ เมื่อเป็นไวรัสตับอักเสบบีและซีชนิดเฉียบพลันจะรักษาตัวอย่างไร และควรปฏิบัติตัวอย่างไร

  • ตอนที่ ๖ ผู้ที่ตรวจพบว่าตนเองติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือซี ควรปฏิบัติตัวอย่างไร

  • ตอนที่ ๗ ผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรังและพาหะของไวรัสตับอักเสบบี หรือซี จะปฏบัติตัวอย่างไร

  • ตอนที่ ๘ โรคตับอักเสบเรื้อรังรักษาได้หรือไม่

  • ตอนที่ ๙ ยารักษาโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสบี

  • ตอนที่ ๑๐ ยารักษาโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสซี

  • ตอนที่ ๑๑ จะป้องกันการติดต่อไวรัสตับอักเสบบี และซีได้อย่างไร

  • ตอนที่ ๑๒ จะป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้อย่างไร










 

Create Date : 08 กรกฎาคม 2554    
Last Update : 8 กรกฎาคม 2554 23:01:30 น.
Counter : 940 Pageviews.  

1  2  3  
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.