ทำไมเราควรให้อภัยผู้กระทำผิด - ท่านโกเอ็นก้า











































ทำไมเราควรให้อภัยผู้ทำผิด

ท่านควรยกโทษให้ผู้ทำผิด ก็เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง ถ้ามีใครมาทำบางสิ่งที่ทำร้ายหรือเบียดเบียนท่าน
และท่านรู้สึกอาฆาตแค้นคนๆ นั้น ก็เท่ากับท่านกำลังเริ่มทำอันตรายกับตัวเอง

ฉะนั้น เพื่อปกป้องท่านจากอันตรายนี้ ท่านควรให้อภัยและลืมมันไปเสีย นี่เป็นประโยชน์ของตัวท่านเอง

ท่านให้อภัยคนๆนี้ ก็เพื่อประโยชน์ของท่านเอง เพราะมันจะช่วยให้ท่านหลุดพ้นจากความรู้สึกอาฆาตแค้น

ท่านโกเอ็นก้า


Why is it said in Dhamma that those who make mistakes should be pardoned?

They should be pardoned because it is in your own interest. If somebody has done something which has hurt or harmed you, and you have animosity towards this person, you have started harming yourself. So to save yourself from that harm, it is better to forgive and forget. This is in your own interest.

You are giving this person a pardon for your own benefit, because this helps you to come out of your feelings of revenge.

Cr. For the Benefit of Many -




Create Date : 18 ตุลาคม 2560
Last Update : 18 ตุลาคม 2560 8:26:42 น.
Counter : 1226 Pageviews.

0 comment
จิตคิด จิตเกิด - หลวงปู่ดูลย์
























































จิตคิด จิตเกิด

จิตไม่คิด จิตไม่เกิด
จิตคิด จิตถูกทำลาย
จิตไม่คิด จิตไม่ถูกทำลาย
จิตปรุงแต่ง จิตถูกทำลาย
จิตไม่ปรุงแต่ง จิตไม่ถูกทำลาย
จิตแสวงหา จิตถูกทำลาย
จิตไม่แสวงหา จิตไม่ถูกทำลาย

ทิ้งหมด รู้หมด
ทิ้งหมด ได้หมด
ไม่ทิ้งเลย ไม่รู้เลย
ไม่ทิ้งเลย ไม่ได้เลย

ทรงจิต เข้ามรรคจิต
แล้วจิตพิจารณาจิต
รู้ธรรมในจิต แล้วถนอมมรรคจิต
จงทำให้ชำนิชำนาญ

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
Cr. หลวงปู่ฝากไว้


The mind thinks; the mind arises.
The mind does not think; the mind does not arise.
The mind thinks; the mind is destroyed.
The mind fabricates; the mind is destroyed.
The mind does not fabricates; the mind is not destroyed.
The mind seeks; the mind is destroyed.

The mind does not seeks; the mind is not destroyed.
The mind desires; the mind is destroyed.
The mind does not desires; the mind is not destroyed.

Abandoning all, one knows all.
Abandoning all, one gets all.
Abandoning nothing, one knows nothing.
Abandoning nothing, one gets nothing.

Keep the mind on its track,
and let the mind contemplate the mind itself.
Know the dharma in the mind
and maintain its track.
Keep doing this until you are good at it.

Luang Pu Doon Atulo


From : https://m.facebook.com/photo.php?fbid=1505080982901501&id=100001988428863&set=a.484442344965375.1073741824.100001988428863&source=48





Create Date : 18 ตุลาคม 2560
Last Update : 18 ตุลาคม 2560 8:28:51 น.
Counter : 1101 Pageviews.

0 comment
คำสอนจากหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร- ธรรมะรุ่งอรุณ
สวัสดีค่ะ

เมื่อวันที่ 7-11 มกรา 2553 และวันที่15-17 มค.2553 เราได้ไปร่วมบวชชีพราหมณ์สวดลักขีและฉลองโบสถ์ปิดทองลูกนิมิตที่วัดธรรมมงคล และได้รับหนังสือธรรมะรุ่งอรุณของหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร ซึ่งหนา 200กว่าหน้า รู้สึกว่าเนื้อหาที่ท่านสอนดีมากๆเลย เป็นการรวบรวมคำสอนที่หลวงพ่อวิริยังค์สอนตอนเช้าโปรดญาติโยมหลังรับบาตร ขออนุโมทนากับผู้จัดทำมากๆที่ให้ธรรมทานอันมีค่านี้แก่ผู้มาร่วมงาน

ไปร่วมงานมาแล้วรู้สึกรักหลวงพ่อวิริยังค์มากกว่าเดิม ทำให้เรามีแรงบันดาลใจที่จะทำอะไรหลายๆอย่าง
ได้เข้าใจสภาวะหลายๆอย่าง -ได้รับพลังมากมายขณะสวดจากพระเถระที่มาร่วมงาน
ยิ่งสวดยิ่งมีพลัง, ยิ่งปฏิบัติยิ่งได้พลัง -ที่นี่ทำให้เราเนสัชชิกได้โดยไม่รู้สึกเหนื่อยเลย
นับได้ว่าที่วัดธรรมมงคลนี้ เป็นวัดที่มีบุญคุณกับเราอย่างยิ่ง
อยากจะขอสรุปคำสอนส่วนหนึ่งของหลวงพ่อวิริยังค์จากหนังสือธรรมะรุ่งอรุณค่ะ




- ใครจะไปทิ้งพลังจิตไม่ได้ พลังจิตจะต้องติดตามไปตั้งแต่ต้นจนกระทั่งถึงนิพพาน
ถ้าหากว่าใครทอดทิ้งพลังจิตเมื่อไร เมื่อนั้นก็ต้องล้าหลังไปก่อน
_________________________________________________________________________

- ที่พระสารีบุตรได้สำเร็จนั้นน่ะ พระพุทธเจ้าแสดงว่า
คนเราทั้งหมดนี่ เรียกว่าพอเกิดมาเป็นมนุษย์นี่ไม่มีอะไร มีเวทนาอยู่ 3 เวทนาเท่านั้น คือ สุข ทุกข์ และอุเบกขา - ไม่มีใครจะวิเศษวิโสสักเท่าไร ใครจะมียศถาบรรดาศักดิ์สักเท่าไร ใครจะยากจน ยาจก วนิพกสักเท่าไร เวทนา3 ทั้งนั้น ไปที่ไหนก็จะต้องเอาเวทนา3 นี้ไปด้วย

- อย่างดูเวทนา3 นี่นึกว่าเป็นธรรมตื้นๆ ที่จริงแล้วเป็นธรรมะของท่านพระอรหันต์ พระสารีบุตรนั่งฟังข้างหลังได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์

- เราได้เงินมาร้อยล้านพันล้านหมื่นล้านแสนล้าน -รู้เวทนา
เรายากจนข้นแค้นหาอะไรกินแทบไม่ได้-ก็เวทนาอีก
มีค่าเท่ากัน พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนั้น มีค่าเท่ากัน
มันไม่ใช่ธรรมะตื้น เป็นธรรมะที่ลึก เป็นอุบายวิธีของพระอรหันต์

- ทีนี้เมื่อเวทนาติดตามเราไปแล้วนี่ เราจะทำยังไงกับเวทนา ท่านก็ให้รู้เท่านั้น
อย่าไปหลงกับเวทนา สุขก็ให้รู้เท่า ทุกข์ก็ให้รู้เท่า อุเบกขาก็ให้รู้เท่า คือเราแก้ไขไม่ได้
แต่ว่าให้รู้เท่าว่า อย่าหลงระเริงมากเกินไป อย่าทุกข์เดือดร้อนมากเกินไป
ยากจนข้นแค้นก็ทุกข์กัน ร่ำรวยเศรษฐีก็เป็นสุขกัน อย่างนี้ แล้วก็มีค่าเท่ากันด้วยคือเวทนา
ถ้าหากว่ารู้เท่าว่าพวกนี้คือเวทนา พวกคุณก็สบาย
เมื่อเป็นเช่นนั้น อุปาทานที่พระสารีบุตรมีอยู่ก็ถูกละทิ้งออกไปกลายเป็นพระอรหันต์ สวัสดี
________________________________________________________________________

- ไอ้ยืมเงินคนน่ะอย่านะ ทำไมล่ะ
ผม(หนาน)มาเกิดเป็นควายเขาใช้งานอยู่ชาติหนึ่งยังไม่คุ้มเลย อย่าไปเป็นหนี้เขาเป็นอันขาดเชียว มันเป็นหนี้ 2 สตางค์อ่ะ เขายืมซื้อ20 บาทยังไม่ขายเลย ยังต้องเอาเงินคืนต้องใช้เขาตลอดชาติ ไถนาลากเกวียนก็สุดแล้วแต่เขาจะใช้
ยาคูไท จะบอกให้นะบอกว่าอย่าไปยืมเงินใครนะ ยืมเงินเขาแล้วก็ให้รีบคืนเร็วๆ แล้วพอเวลาเราตายไปแล้วไม่ทันได้ใช้ ทีนี้ไปใช้หนี้กันนับชาติไม่ถ้วน

- ฉะนั้น เพื่อให้การที่เราเกิดแก่เจ็บตายนี่ไปสู่ที่สุข เราก็ทำความดีซะ
อธิษฐานว่าขอให้ข้าพเจ้าได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติเถิดพระเจ้าข้า
เวลาที่ทำการกุศลใด ๆ ก็อธิษฐานขอให้ได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ

- ปัญญานิ ปะระโลกัสมิง ปะติฏฐา โหนติ ปาณินัง
บุญเท่านั้นที่เป็นที่พึ่งของเราทั้งชาตินี้และชาติหน้า

การที่เราจะพึ่งใครซักคนหนึ่งนี่ มันก็พึ่งได้ไม่เท่าไหร่หรอก หรือจะไปพึ่งคนโน้นพึ่งคนนี้
เขาก็ไม่ให้พึ่งเท่าไหร่ แล้วไปอยู่กับเขาไม่กี่วัน เขาก็อยากไล่หนีแล้ว
เพราะฉะนั้น
บุญเท่านี้ที่จะเป็นที่พึ่ง เราจะไปเกิดในชาติใดภพใดบุญก็ตามช่วยเรา เหมือนกันกับเงาตามตัวฉั้นนั้น สวัสดี
________________________________________________________________

- เราได้ความดีมาแล้ว เราก็ไม่เก็บความดีเอาไว้แต่เฉพาะเรา เราก็จำแนกแจกจ่ายไปยังผู้อื่น
จะแจกจ่ายไปได้แค่ไหนก็สุดแล้วแต่ ก็ได้ทำหน้าที่เต็มที่แล้ว
การที่ใครจะรับเอาได้นั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ถ้าหากว่ารับได้เยอะก็ดี ถ้ารับไม่ได้เลยก็แย่

- ผู้ที่ทำสมาธินี่ การเพิ่มพลังจิต เมื่อพลังจิตได้ที่แล้ว มันก็จะมีเหตุอยู่ 2 ประการที่คนที่มีพลังจิต เหตุ2 ประการนั้นคือ 1. การรับผิดชอบสูง 2. มีเหตุผล

- ในพระพุทธศาสนานี้มีพระอรหันต์ คือผู้ที่หมดกิเลส ศาสนาอื่นไม่มี มีแต่ศาสนาพุทธที่เคยสำเร็จเป็นพระอรหันต์ พระอรหันต์จะเป็นปูชนียบุคคลที่น่าเคารพกราบไหว้บูชา เราบูชาคุณพระพุทธเจ้า เราบูชาพระธรรม เราบูชาพระสงฆ์
________________________________________________________________

- หลวงพ่อตั้งสถาบันพลังจิตตานุภาพอันนี้เป็นหนทางลัด หมายความว่าเดินไปทางสมาธิโดยเฉพาะ เพราะว่าสมาธินี้จะเป็นพื้นฐานของธรรมะทั้งปวง ถ้าหากว่าขาดสมาธิไปแล้วนี่ ธรรมะก็เหลว

- เราทำสมาธิ มันก็มีการให้อภัย มีการที่ไม่ต้องผูกพยาบาทอาฆาต จองเวร
ในการผูกพยาบาทอาฆาต จองเวรนี้ไม่ดีเลย ชาตินี้เราชนะเขา ชาติหน้าเขาก็ชนะเรา,
ชาติหน้าเราชนะเขา ชาติต่อไปเขาก็ชนะเรา มันผลัดกัน
เพราะว่ากรรมเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า เป็นตัวแปรที่มีความสำคัญมาก

- นะหิ เวเรนะ เวรานิ สัมมันตีธะ กุทาจะนัง อะเวเรนะ จะ สัมมันติ เอสะ ธัมโม สะนันตะโน
เวรมันระงับด้วยเวรไม่ได้หรอก แต่ระงับด้วยเพราะความไม่มีเวร

- เมื่อทำสมาธิแล้ว ก็จะเกิดพลังจิต ,
เมื่อเกิดพลังจิตแล้ว พลังจิตก็จะไปเป็นกระแสจิต,
เมื่อไปเป็นกระแสจิตแล้ว กระแสจิตก็จะต้องไปช่วยเราด้วยประการต่างๆ
แล้วก็จะเป็นเครื่องเตือน
สมาธินั้น เมื่อมีสติ มีพลังจิตแล้ว มันก็เป็นเครื่องเตือนว่าอย่างนี้มันไม่ดีนะ อย่าทำเลย
ถ้าหากว่าถูก มันไม่เตือนหรอก ถ้าทำถูก, ถ้าทำผิดมันจะเตือน

- บางคนอาจจะไม่ค่อยทำสมาธิ แล้วก็ปล่อยปละละเลยแล้วจิตใจมันก็ต่ำลงๆ ในที่สุด พลังจิตที่หามาได้แต่ก่อนก็จะหมดไปสิ้นไป แล้วก็เหลือเป็นธรรมดา แล้วก็มีแต่สิ่งที่ทำให้เราเกิดโทษขึ้นมาในตัวของเรา

- ฉะนั้นหลวงพ่อตั้งสถาบันพลังจิตตานุภาพขึ้นมานี้ เพื่อต้องการที่จะให้คนทั้งหลายเนี่ยพากันสร้างพลังจิตขึ้น เพราะฉะนั้นหลวงพ่อจึงผลิตครูขึ้นมาเยอะ แต่ก่อนนั้น ใครจะเป็นครูต้องรอสัก 10 ปี 20 ปีกว่าจะเป็นครูได้ นี่หลวงพ่อสอนแค่ 6 เดือนก็เป็นครูได้แล้ว เรียกว่าย่นย่อมากที่สุดแล้ว

- เมื่อสมาธิกว้างขวางแล้ว คนก็เป็นจำนวนมากก็สามารถได้พลังจิต ความสงบสุขก็เกิดขึ้นกับครอบครัว ความสงบสุขก็เกิดขึ้นกับสังคม ความสงบสุขก็เกิดขึ้นกับโลก สวัสดี
________________________________________________________________

- ร่างกายนี้มันเป็นแต่เพียงรับประทานอาหารแล้วก็ถ่ายไป เก็บของอะไรไว้ไม่ได้มาก
ไม่เหมือนใจ ในบ้านของเรานี้ไม่ได้เก็บนิดเดียว ใจผู้อื่นก็เก็บไว้ นี่เก็บไว้ทุกสิ่งทุกอย่าง
- ใจเป็นคนเก็บไม่ใช่กาย เพราะฉะนั้นบาปบุญคุณโทษอะไรต่างๆ นั้น ใจเป็นผู้เก็บไว้ ใจเท่านั้นที่จะทำให้เกิดต่อไปอีก ร่างกายก็เป็นเพียงส่วนประกอบ เพราะฉะนั้นเราต้องทรมานร่างกายเพื่อให้ใจเป็นสุข

- เราทรมานร่างกายก็คือ ทำสมาธิภาวนา หรือทำทาน รักษาศีล ภาวนา
เพราะว่าการให้ทานก็ดี รักษาศีลก็ดี ภาวนาก็ดี โดยมากคนไม่อยากจะทำกัน สิ่งเหล่านี้กลับกลายเป็นคุณประโยชน์อันมหาศาลต่อพวกเราในอนาคต
________________________________________________________________

- อภิธรรมนั้นน่ะ นึกว่าสูงแค่ไหน แท้ที่จริงก็อยู่ในตัวเรานั่นเอง
ในคำที่ว่าอภิธรรมนั้น เขาต้องตั้งขึ้นด้วย จิตตัง เจตะสิกัง รูปัง นิพพานังมิติ สัพพะทา
หมายถึงว่า จิตตัง เจตะสิกัง นี้ก็อาทิสมานกายนั้นแหละ

- วิปัสสนาเกิดขึ้นเมื่อไหร่
เกิดขึ้นเมื่อที่พระพุทธเจ้าตรัสให้ปัญหาปัญจวัคคีย์ถึงอนัตตลักขณสูตรนี่ ถือว่าเป็นอภิธรรม
พระอภิธรรมก็ชี้ลงมาในตัวเรานี่ ตัวเรานี่ก็รูป รูปก็คือตัวเรา
รูปัง ภิกขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่ตน

- การที่เราจะเรียนพระอภิธรรม ไม่ต้องไปเรียนที่อื่น เรียนที่ตัวของเรานี่ ตัวของเราที่จะพูดไปอีกกี่ดวงจิต เท่านั้นดวงจิต เท่านี้ดวง อย่างที่ท่านแสดงว่า
อัฏฐะธา โลภะมูลานิ -ความโลภมีแปดดวงอย่างนี้
โทสะมูลานิ จะทะเวติ ทะวาทะสากุสะลา สียุง - มี 12 ดวง
โมหะมูลมี 12ดวง โทสะมูลมี 12 ดวง โลภะมูลมี 8 ดวง
ความจริงนี้ก็พูดเป็นดวงเป็นดวงไป แต่ว่าก็จิตดวงเดียวนั่นเองที่คิดนึกไป

- ในเวลาที่คิดนึกไปก็นึกว่า โอ้ เราได้เรียนอภิธรรมแล้ว เรานี่เป็นผู้ยอดแล้ว เรียกว่ายอดมนุษย์ ยอดการเรียนทั้งปวงแล้วว่างั้น แต่แท้ที่จริงนั้นนะกิเลสยังมีอยู่
- ถึงแม้ว่าจะพูดอภิธรรมไปเพียงเท่าไร ก็ไม่เกิด ไม่เกิดความจริงขึ้นมาได้ เพราะทำไมถึงไม่เกิดความจริง เพราะว่าไปรู้แต่เงินในกระเป๋าคนอื่น นาย ก มีเงินพันล้าน นาง ข มีเงินหมื่นล้าน แต่ว่าเงินทั้งหลายเหล่านั้นเป็นของเขา ไม่ใช่ของเรา แล้วเรามีสิทธิ์มั้ยซักสตางค์แดงเดียว นี่ก็ไม่มีสิทธิ์ ไปขอเขาก็ไม่ให้

- การที่เราจะไปคิดว่าอันนี้เป็นวิปัสสนา อันนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน คิดแล้วมันจะเป็นวิปัสสนา ไม่เป็น
- จำเป็นต้องสร้างพลังจิตให้เพียงพอ ถ้าหากว่าสร้างพลังจิตไม่เพียงพอแล้ว ทำยังไง ยังไงก็ไม่สำเร็จ

เพราะว่า พลังจิตนี้เราเปรียบเหมือนกันกับเงิน เรามีเงินเยอะซะอย่างนะ แล้วเราก็สามารถซื้อได้ทั้งรถ ซื้อได้ทั้งบ้าน เพราะอะไร เพราะว่าเรามีเงินอยู่ในธนาคารแล้ว - ทีนี้ถ้าเราไม่มีเงินก็เปรียบเหมือนกับคนไม่มีพลังจิต ถึงจะคิดวิปัสสนาไปเท่าไรก็ไม่สำเร็จเป็นวิปัสสนา ดีไม่ดีกลายเป็นวิปัสสนูปกิเลสไป

- อย่างทำสมาธินี่ ทำเพื่ออะไร - เพื่อจะให้เกิดพลังจิต -
พลังจิตมีไว้ทำไม มีไว้ควบคุมจิต
ควบคุมจิตทำไม ก็เพื่อที่จะทำให้เป็นคุณธรรมให้เกิดขึ้น
คุณธรรมนั้นคืออะไร ก็คือหนทางแห่งพระอริยะเจ้า อย่างนั้น สวัสดี


ที่มา - หนังสือธรรมะรุ่งอรุณ หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร




Create Date : 31 มกราคม 2553
Last Update : 15 สิงหาคม 2554 20:17:40 น.
Counter : 9513 Pageviews.

1 comment
คำสอนท่านพ่อลี วัดอโศการาม -1
- ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณ เหล่านี้ เราต้องหมั่นทำจิตใจให้คุ้นเคยกับมันไว้ จนเป็นมิตรกับมันได้แล้ว มันก็จะบอกความลับแก่เราทั้งหมด และไม่จับเราไปจองจำโซ่ตรวนติดคุกติดตะราง



- คนที่ใจไม่อยู่กับตัว เที่ยวแส่ส่ายออกไปรับสัญญาอารมณ์ภายนอกทั้งดี ทั้งชั่ว ทั้งอดีต อนาคต ผู้นั้นก็จะต้องพบกับความร้อนใจด้วยประการต่างๆ
เปรียบเหมือนผู้ที่ไม่อยู่ในบ้านในเรือนของตัว วิ่งออกไปเที่ยวนอกบ้าน มันก็จะต้องโดนแดดบ้าง ฝนบ้าง ถูกรถชนบ้าง ถูกสุนัขบ้ากัดบ้าง
ถ้าหากเราอยู่แต่ภายในบ้านของเราแล้ว แม้จะมีภัยอันตรายบ้างก็ไม่สู้มากนัก และก็จะไม่ต้องประสบกับความร้อนใจด้วย

- ถ้าเรามีหลักของใจ ทำใจให้สูงขึ้นแล้ว กิเลสต่างๆ ก็ไม่สามารถเล็ดลอดเข้ามาทำจิตใจของเราให้เศ้าหมองเปรื้อนเปรอะได้

- หน้าที่ของเราที่จะต้องตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณพระพุทธเจ้าก็คือ ตั้งอกตั้งใจปฏิบัติกาย วาจาใจ ของเราให้ถึงพร้อมซึ่งความบริสุทธิ์ มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น

- ขณะที่เรามานั่งเจริญภาวนาพุทโธๆ อยู่นี้ ก็เท่ากับว่าตัวเรากำลังพายเรือจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า หรือนำเสด็จพระพุทธเจ้าประทับไปในหัวเรือ

- เราจะไปกับพระพุทธเจ้าหรือจะไปกับพญามาร? คิดดูให้ดี
ถ้าเราจะไปกับพระก็ต้องมีสติอยู่กับลมหายใจเข้าออก ด้วยคำภาวนาว่า "พุทโธๆ" ให้เสมอๆ
ตัวมารมันจะมาเรียกร้องอย่างไรก็อย่าไปกับมัน
___________________________________________________________________________________

- ตา ไปรับรูปที่ไม่ดีเข้ามา ส่งให้วิญญาณ -วิญญาณรับรู้แล้วก็ส่งไปยังหทัยวัตถุ- ทำให้โลหิตในหัวใจเป็นพิษ
หู ไปรับเสียงที่ไม่ดี มาส่งให้วิญญาณ
จมูก ลิ้นกายใจ ก็ไปรับกลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ไม่ดี มาให้วิญญาณ - วิญญาณ รับรู้แล้วก็ส่งไปยังหทัยวัตถุ - ทำให้โลหิตในหัวใจเป็นพิษ
โลหิตนี้ก็แล่นไปสู่ธาตุ ดินน้ำไฟลมในร่างกาย ทำให้ร่างกายเกิดเป็นพิษขึ้นอย่างนี้- บุคคลผู้นั้นจะมีความสุขมาแต่ไหน? ใจก็เป็นพิษ กายก็เป็นโทษ หาความสงบเย็นมิได้

- ถ้าเรารักษาจิตของเราให้ดีเสียอย่างเดียวเท่านั้น - ถึงตาจะเห็นรูปที่ดี มันก็ดี - เห็นรูปที่ไม่ดี มันก็ดี - จมูก ลิ้น กายใจ ก็เช่นเดียวกัน - เมื่อวิญญาณรับรู้แต่สิ่งที่ดี แล้วส่งไปยังหทัยวัตถุ - โลหิตในหัวใจก็ไม่เสีย ไม่เป็นพิษ
เมื่อหัวใจสูบฉีดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย กายนั้นก็จะมีแต่ความสมบูรณ์ เกิดความสงบเย็นทั้งกายใจนี่แหละที่เรียกว่าเป็นตัวบุญ

_____________________________________________________________________________

การทำสมาธิต้องประกอบด้วยอิทธิบาท4
1. ฉันทะ - พอใจรักใคร่ในลมหายใจของเรา ตามดูว่าเวลาที่เราหายใจเรา เราหายใจเอาอะไรเข้าไปบ้าง - ถ้าหายใจเข้าไปไม่ออกก็ต้องตาย หายใจออกไม่กลับเข้าก็ตาม - มองดูอยู่อย่างนี้ ไม่เอาใจไปดูอย่างอื่น

2. วิริยะ - เป็นผู้ขยันหมั่นเพียรในกิจการหายใจของเรา - ต้องทำความตั้งใจว่า เราจะเป็นผู้หายใจเข้า เราจะเป็นผู้หายใจออก,เราจะให้มันหายใจยาว, เราจะให้มันสั้น, เราจะให้หนัก เราจะให้เบา เราจะให้เย็น เราจะให้ร้อน เราจะต้องเป็นเจ้าของลมหายใจ

3. จิตตะ - เอาจิตเพ่งจดจ่ออยู่กับลมหายใจ - ดูลมภายนอกที่มันเข้าไปเชื่อมต่อประสานกับลมภายใน ลมเบื้องสูง ท่ามกลาง เบื้องต่ำ ลมในทรวงอก - มีปอด หัวใจ ซี่โครง กระดูกสันหลัง - ลมในช่องท้อง มีกระเพาะอาหาร ตับไตไส้พุง - ลมที่ออกมาตามปลายมือปลายเท้าตลอดจนทั่วทุกขุมขน

4. วิมังสา - ใคร่ครวญ สำรวจ ตรวจดูว่า ลมที่เข้าไปเลี้ยงร่างกายเรานั่น เต็มหรือพร่อง สะดวกหรือไม่สะดวก มีส่วนขัดข้องที่ควรจะปรับปรุงแก้ไขอะไรบ้าง - ดูลักษณะ อาการ ความหวั่นไหวของลมภายนอกที่เข้าไปกระทบกับลมภายในว่ามันกระเทือนทั่วถึงกันหรือไม่- ลมที่เข้าไปเลี้ยงธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟนั้น มีลักษณะเกิดขึ้น ทรงอยู่ และเสื่อมสลายไปอย่างไร

ทั้งหมดนี้ จัดเข้าในรูปกัมมัฏฐาน และเป็นตัวมหาสติปัฏฐานด้วย - จิตที่ประกอบด้วยอิทธิบาท4 พร้อมบริบูรณ์ด้วยสติสัมปชัญญะ ก็จะเกิดความสำเร็จรูปในทางจิตให้ผลถึงโลกุตตระ เป็นโสดา สกิทาคา อนาคา และอรหันต์ สำเร็จทางกายให้ผลในการระงับเวทนา
___________________________________________________________________

- สติเป็นชีวิตของใจ
ลมเป็นชีวิตของกาย


- ถ้าลมหายใจของเรานี้อ่อนลง - สติก็จะอ่อนตามด้วย - นี่เท่ากับเรากำลังเจ็บป่วยอยู่แล้ว
ถ้าเราเผลอทั้งสติด้วยเมื่อไร ก็เท่ากับสลบหรือตายทีเดียว
คนที่สลบไปครั้งหนึ่ง ประสาทก็ย่อมเสียไปครั้งหนึ่ง สลบหลายครั้งก็ยิ่งเสียมากเข้า
ฉะนั้นเราต้องคอยตั้งสติรักษาลมไว้ให้ อย่าปล่อยให้มันเจ็บป่วยหรือสลบไปบ่อยๆ
พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า คนไม่มีสติก็คือคนที่ตายแล้ว

- รู้กายในกาย นี้เป็นกายคตาสติ คือรู้ลมในร่างกายของเรา ตั้งแต่เบื้องสูงจดเบื้องต่ำ -เบื้องต่ำขึ้นไปหาเบื้องสูง - กระจายลมให้เต็มทั่วร่างกาย เหมือนกับน้ำที่เต็มอ่าง ก็จะได้รับความเย็นตลอดทั่วร่างกาย

- การเชื่อม ประสานลม ขยายลมไปตามธาตุต่างๆ ตลอดทั้งอวัยวะเส้นเอ็นทุกส่วนในร่างกาย - ก็เหมือนกับเราทำการตัดถนนสายต่างๆ ให้ติดต่อถึงกัน - ประเทศใดเมืองใดที่มีถนนหนทางมาก ก็ย่อมมีตึกร้านบ้านเรือนแน่นหนาขึ้น เพราะมีการคมนาคมสะดวก บ้านนั้นเมืองนั้นย่อมจะมีความเจริญมากขึ้น ฉันใด - ร่างกายของเรา ถ้าเรามีการปรับปรุงแก้ไขมลมในส่วนต่างๆของร่างกายให้ดีอยู่เสมอแล้ว ก็เปรียบเหมือนกับเราตัดตอนต้นไม้ส่วนที่เสีย ให้กลับงอกงามเจริญขึ้น ฉันนั้น

- ขณะที่เรานั่งสมาธิ ถ้าจิตของเราไม่อยู่กับตัว ก็เท่ากับเราเสียรายได้ของเราไป
- รายได้ของเราคืออะไร รายได้ของเรานี้ก็เปรียบด้วยอาหาร อาหารของเราจะต้องถูกสัตว์ต่างๆ มีแมวหมาแย่งไปกิน - แมวหมานี้เปรียบด้วยอารมณ์ภายนอกต่างๆ ได้แก่ตัวนิวรณ์ทั้ง 5 ที่เราเอามันมาเลี้ยงไว้ในบ้าน พอเราเผลอมันก็จะเข้ามาแย่งอาหารในชามของเรา - อาหารนี้ได้แก่ บุญกุศลคุณความดีที่เราควรจะได้รับ
___________________________________________________________


-ใจ เปรียบเหมือนเด็ก
สติเปรียบเหมือนผู้ใหญ่
ผู้ใหญ่นั้น มีหน้าที่ที่จะต้องดูแลควบคุมเด็กให้ดี เด็กจึงจะได้กินอิ่มนอนหลับ แล้วก็จะไม่ร้องไม่อ้อน - ต้องให้เด็กมีอาหารดีๆ คือ พุทธะ ธัมมะ สังฆะ เป็นอารมณ์-
มีตุ๊กตาตัวโตๆให้เล่น
ตุ๊กตามีอยู่ 4 ตัว คือ ธาตุดิน ก็เป็นตุ๊กตาตัวหนึ่ง, ธาตุน้ำ ก็เป็นตุ๊กตาตัวหนึ่ง, ธาตุไฟ ก็เป็นตุ๊กตาตัวหนึ่ง, ธาตุลม ก็เป็นตุ๊กตาตัวหนึ่ง
- เมื่อเด็กมีอาหารดี มีตุ๊กตาเล่น - เด็กก็จะไม่ซน ไม่วิ่งออกไปเล่นนอกบ้าน - การออกไปเล่นนอกบ้านนั้นมีอันตรายหลายอย่าง แต่ถ้าอยู่ภายในบ้านของเราแล้ว ถึงจะมีอันตรายเกิดขึ้นบ้างก็ไม่มากนัก



- ใจเรานี้จะต้องให้มันเล่นวนเวียนอยู่กับธาตุทั้ง 4 คือกาย ที่กว้างศอก ยาววา หนาคืบ นี่แหละ จึงจะไม่เกิดทุกข์เกิดโทษ
- เมื่อเด็กเล่นเหนื่อยแล้ว ก็จะนอนพักในเปลหรือที่นอน - ที่พักนี้คือ จิตที่เข้าไปสงบนิ่งอยู่ในองค์ฌาน มีปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จนถึงจตุตถฌานเป็นต้น - ต่อจากนี้ก็จะเข้าถึงความเป็นหนึ่งคือ เอกัคคตารมณ์
__________________________________________________________________

- ลมหายใจตัวเรานี้ มิใช่มีแต่เฉพาะที่พุ่งเข้าพุ่งออกจากทางจมูกอย่างเดียว
- ลมในร่างกายนี้ ระบายออกได้ทั่วทุกขุมขน เหมือนกับไอน้ำที่ระเหยออกจากก้อนน้ำแข็ง และมีลักษณะละเอียดมากกว่าลมภายนอก -เมื่อมันกระจายออกมากระทบกันเข้า จะเกิดเป็นผลสะท้อนกลับเข้าสู่ร่างกายอีก เรียกว่า "ลมอุ้มชู" - เป็นลมที่ช่วยให้จิตใจและร่างกายสงบเยือกเย็น
- ฉะนั้นเวลาหายใจเข้าไป จึงควรทำลมให้เต็มกว้างภายใน และเวลาหายใจออกก็ให้มันเต็มกว้างทั่วบริเวณตัวเอง

- บุญกุศลที่เกิดขึ้นในจิตใจของเรานี้ เหมือนกับหน่อเพชรหรือหน่อทองที่ผุดขึ้นในบ้านเรือนของเรา - ใครจะมาขุดมาแย่งชิงเอาของเราไปไม่ได้ กฎหมายก็บังคับอะไรเราไม่ได้ เพราะมันเกิดขึ้นในส่วนที่นาของเราเอง บุญชนิดนี้จัดว่าเป็นบุญที่เลิศกว่าบุญทั้งหมาย

- อาหารมี 2 อย่างคือ อาหารคำๆที่เรากลืนกินเข้าไปนี้อย่างหนึ่ง, และลมหายใจเข้าไปอย่างหนึ่ง
- อาหารจิตมีอยู่ 3 อย่าง คือ 1.ผัสสาหาร 2.มโนสัญเจตนาหาร 3.วิญญาณหาร
___________________________________________________________

- พุทธะ ธรรมะ สังฆะ 3 รัตนะนี้ เมื่อรวมลงในพุทโธ ก็เท่ากับเราเอาสบู่ 3 ก้อนมารวมเป็นก้อนเดียวกันแล้วใช้สบู่ฟอกผ้า คือดวงจิตของเรา กายของเราให้ขาวสะอาด
- ธาตุทั้ง 6 เปรียบเหมือนกับผ้า - พวกธาตุดินมีกระดูกต่างๆ - ธาตุน้ำมีโลหิตและน้ำดี ฯลฯ - ธาตุไฟที่ทำความอบอุ่นในกระเพาะอาหารและลำไส้ - อากาศในช่องตา ช่องหู ช่องจมูก - วิญญาณความรู้สึกลมหายใจเปรียบเหมือนชามอ่างซักผ้า - พุทโธ เป็นสบู่ - สติเป็นมือที่ไปจับก้อนสบู่
- การซักเราจะต้องวางผ้าลงให้ตรงในชามอ่าง มือก็จับให้ถูกก้อนสบู่ และถูให้ถูกตรงที่เปื้อน - ทำเช่นนี้จึงจะได้ผลคือผ้าของเราก็ขาวสะอาด
- ผ้าที่มิได้ซักฟอก ย่อมจะมีน้ำหนักมาก เพราะมันอมอยู่ซึ่งเหงื่อไคล - เมื่อเราซักฟอกแล้ว มันจะมีน้ำหนักเบาลงกว่าเดิม เหมือนจิตของบุคคลที่ฝึกหัดขัดเกลาแล้ว ย่อมเบาจากความยึดถือ จิตก็จะสูงขึ้นกว่าเก่า
___________________________________________________________

- ทาน สละโลภะ, ศีล สละโทสะ, ภาวนา สละโมหะ

- จงคิดดูให้ดีว่า โลกนี้ไม่ใช่ของเรา แล้วเราจะมานั่งเฝ้าโลกกันอยู่อย่างนี้ล่ะหรือ ไม่ช้าเราก็จะต้องจากมันไปอย่างแน่ๆ - ดังนั้นเราจึงไม่น่าหลงติดอะไรอยู่

- ความสุขที่แท้จริงนั้น ย่อมเกิดจากบุญกุศล คือความสงบที่เกิดขึ้นในจิตใจ ใจที่พ้นจากทุกข์โทษความดิ้นรน ไม่มีกระสับกระส่ายเดือดร้อนกระวนกระวาย
- ถ้าใครมานั่งหลงโลกติดโลก ว่ามันเป็นของดีวิเศษวิโสอยู่ นั่นมิใช่นิสัยของบัณฑิต ผู้ใฝ่ใจธรรมของพระพุทธเจ้า - เพราะฉะนั้น เราจงพากันตั้งอกตั้งใจประกอบบุญกุศล เพื่อจะให้เป็นทางที่พ้นไปจากโลกนี้ นั่นแหละจะเป็นหนทางที่ถูกต้อง

___________________________________________________________________

- ลมที่เราหายใจเข้าไปในร่างกายนี้ เราจะต้องขยับขยายส่งไปเชื่อมต่อกับธาตุต่างๆ ทุกส่วนในร่างกายให้ทั่ว - ธาตุลมก็ให้มันไปเชื่อมกับธาตุไฟ -ธาตุไฟเชื่อมกับธาตุน้ำ - ธาตุน้ำเชื่อมกับธาตุดิน - ธาตุดินเชื่อมกับธาตุอากาศ- อากาศเชื่อมกับวิญญาณ ทำธาตุทั้ง 6 ให้เป็นสามัคคีกลมเกลียวกัน ร่างกายของเราก็จะได้รับความสุขสมบูรณ์
- เหมือนกับเราบัดกรีขัน(ขันธ์)ของเราไม่ให้แตกร้าว ขันนันก็จะบรรจุน้ำได้เต็มทั้งใสและเย็นด้วยความเต็มนี้ได้แก่ บุญกุศล - ความใสเกิดจากจิตที่เที่ยง ไม่เอนเอียง - ความเย็นได้ เพราะขันน้ำนั้นตั้งอยู่ภายใต้ต้นไม้ที่มีร่มเงา คือพระพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ

- เวลาหายใจเข้า ลมภายในจะต้องสะเทือนให้ทั่วถึงกันทั้ง 3 ส่วน มี ปอด หัวใจ ตับ กระเพาะอาหาร ลำไส้ ซี่โครง กระดูกสันหลัง เป็นต้น - ถ้าไม่สะเทือนทั่ว นั่นไม่ใช่ผลของสมาธิ

- การปิดประตูหน้าต่าง หรืออุดช่องโหว่ ก็คือการสำรวมระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจของเรามิให้แส่ส่ายออกไปรับสัญญาอารมณ์ภายนอกต่างๆ เรียกว่า "สติสังวร" - สติของเราก็จะรวมกันเป็นก้อนเดียว สติเกิดกำลัง ผลก็ย่อมจะเกิดทันที คือความสบายใจ
- เมื่อสติของเราหนาแน่นไม่ย่อหย่อน - สมาธิของเราก็แข็งขึ้น ใจก็เที่ยง - ไฟคือแสงสว่างก็จะเกิดขึ้นได้เป็น 2 ประการ คือ เกิดจากตัวของเราเองอย่างหนึ่ง เกิดจากแสงสะท้อนของฝาผนังอย่างหนึ่ง
- สติจึงเป็นตัวเหตุ เป็นตัวอุปการี ที่อนุเคราะห์ส่งเสริมให้สมาธิของเราเจริญขึ้น
- สติจึงเปรียบเหมือนกับพ่อแม่ของเรา เราจะต้องเลี้ยงดูมันไว้เสมอ - สตินั้นท่านเรียกว่า มาติกากุสลา แปลว่า แม่ของกุศล

- ไฟมีอยู่ 2 ประเภท - ไฟร้อนประเภทหนึ่ง คือ กิเลสราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา
ไฟเย็นประเภทหนึ่ง ได้แก่ ฌานัคคิ เกิดขึ้นจากความสะสมไว้ซึ่งสมาธิจิต
- ไฟเย็นเปรียบเหมือนถ่ายไฟฉาย - ไฟร้อนเหมือนกับหัวเทียน

- กายทำสมาธิ คือ ต้องการไฟเย็น เหมือนถ่านไฟฉายย่อมเป็นของเย็น
- ถ้าคนโง่ก็เห็นว่าไม่มีไฟ เช่น คนบางคนเข้าใจว่า นั่งหลับตาสงบจิต มันจะโง่ไม่มีปัญญา นั่นเป็นความโง่ของคนที่ว่า - ถ้าคนฉลาดเขาเปิดได้ไฟเย็นใช้

- ใจสงบนิ่ง ย่อมเกิดแสงสว่างขาว รัศมีที่เรียกว่า ปภสฺสรํ จิตฺตํ - ไฟเย็นย่อมเกิดแสงขาว แสงที่ขาวนี้ย่อมไม่ให้โทษแก่หลอดไฟ เช่น ตาหู จมูก ลิ้น กาย - สายลวดคือเส้นประสาทที่เรียกว่า จักขุประสาท เป็นต้น - ไฟก็เย็น แสงก็เย็น ย่อมใช้ได้ทั้งใกล้และไกล - อานิสงส์ที่จะเกิดขึ้นก็คือ ความฉลาด ได้แก่ แสงที่เย็นฉายออก เช่น รอบรู้ในทางตา ดูรูปอะไรรู้เรื่อง เรียกว่า ทิพพจักขุ - ใช้ในทางหู ฟังอะไรรู้เรื่องเข้าใจ เรียกว่า ทิพพโสต - จมูกถูกกลิ่นอะไรก็รู้เรื่อง เข้าใจ ลิ้น กาย จิต ย่อมรู้รอบคอบสว่างไสว เยือกเย็นเป็นสุข ที่ท่านเรียกว่า ปญฺญาปโชโต แสงสว่างคือปัญญา - เมื่อใครทำได้เช่นนี้ จัดเป็นวิชชาวิปัสสนา คือแสงสว่างเกิดขึ้นแล้วจากความสงบ

- ตาไม่ติดรูป รูปไม่ติดตา - หูไม่ติดเสียง เสียงไม่ติดหู - จมูกไม่ติดกลิ่น กลิ่นไม่ติดจมูก - ลิ้นไม่ติดรส รสไม่ติดลิ้น - กายไม่ติดสัมผัส สัมผัสไม่ติดกาย -ใจไม่ติดอารมณ์ อารมณ์ไม่ติดใจ - แยกออกเป็นส่วนๆ เรียกว่า ภควา เป็นตัววิปัสสนาญาณ เป็นฉฬงฺคุเปกฺขา- ปล่อยได้ทั้งอายตนะภายใน อายตนะภายนอก

- ใจที่แท้ย่อมอยู่กับความเย็น และความสงบสุข เปรียบเหมือนไฟเย็น ย่อมถาวรไม่ให้โทษแก่คนทั้งหลาย
- หินแข็ง ยิ่งเย็น -ความเย็นนั่นแหละย่อมเก็บไฟได้อย่างดี มีแสงอยู่ในตัว โดยไม่ต้องใช้เชื้ออย่างหยาบๆ ก็สว่างได้
- ดวงใจที่ฝึกหัดแล้ว สงบอยู่ในตัว ย่อมเย็น มีแสงอันลึก มีความฉลาดอันแหลม ผิดจากไฟแดงหรือไฟร้อน เกิดขึ้นจากเครื่องกระทบและเสียดสี
เช่นถ่านไฟฉายเป็นต้น ย่อมไม่มีโทษ

- บุคคลทั้งหลายผู้ไม่ฝึกหัดจิตใจให้สงบ ย่อมอยู่กับไฟร้อน- อันจะต้องทำส่วนต่างๆ ของจิตให้เสียไป เช่น ประสาทตา ประสาทหู ประสาทจมูก ประสาทลิ้น ประสาทกาย - เมื่อประสาทเหล่านี้เสียไป ย่อมโง่ - ตาก็มืด เห็นรูปไม่รู้ความจริง เรียกว่าอวิชชา - หูก็ตึง ฟังเสียงอะไรไม่รู้เรื่องความจริง เรียกว่าอวิชชา ย่อมเกิดตัณหา ย่อมเกิดกิเลส ก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นในตัว นั่นแหละคือความโง่เขลา


___________________________________________________________

- เมตตาตัว คือหมั่นประกอบบุญกุศลและคุณความดีให้มีขึ้นในตน
- ขณะใดที่จะเกิดประโยชน์จากตา หูจมูก ปากมือ เท้าของตนเองแล้ว ก็ไม่ยอมปล่อยโอกาสให้เสียไป - มือของเราที่จะให้ทาน ก็ไม่ถูกตัด, เท้าของเราที่จะก้าวเดินไม่วัด ก็ไม่ถูกตัด, หูของเราที่จะได้ฟังเทศน์ก็ไม่ถูกตัด, ตาที่จะได้พบเห็นของดีๆ ก็ไม่ถูกปิดปืด - เราก็จะได้รับผลรายได้อันดีจากตัวของเราอย่างเต็มที่ ผู้นั้นจะมีแต่ความสุข

- คนใดที่ขาดเมตตาตัวเอง ก็เท่ากับฆ่าตัวเอง เรียกว่าเป็นคนใจร้าย
เมื่อฆ่าตัวเองได้ ก็ย่อมฆ่าคนอื่นได้ด้วย - เช่น เขาจะไป ห้ามไม่ให้เขาไป , เขาจะดู ห้ามไม่ให้เขาดู, เขาจะฟัง ห้ามไม่ให้เขาฟัง ทำให้ผลประโยชน์ของคนอื่นที่ควรจะได้ พลอยเสียไปด้วย - นี่แหละ เป็นการฆ่าตัวเองและฆ่าคนอื่นให้ตายไปจากคุณความดี
___________________________________________________________

- ถ้าเราปรารถนาจะได้รับความสุขอันเป็นยอดของมหาสมบัติทั้งปวง - ก็ต้องกระทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในบุญกุศล คือ ทาน ศีล ภาวนาให้พร้อมบริบูรณ์ - เราจะต้องเสียสละทุกสิ่งทุกอย่างอันเป็นวัตถุภายในและภายนอกที่เป็นของๆเรา ออกถวายบูชาพระพุทธเจ้าให้หมดสิ้น แม้แต่ชีวิตร่างกายของตัวเอง เราไม่เอาอะไรเหลือกับติดไปเลยแม้เท่าปลายนิ้วมือ - นั่นแหละ เราจะได้รับมหากุศลสมตามความปรารถนา





ที่มา -1. หนังสือแนวทางปฏิบัติ-วิปัสสนากัมมัฏฐาน เรียบเรียงจาก โอวาท 4 พรรษาของพระสุทธิธรรมรังสี คัมภีรเมธาจารย์ (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร) วัดอโศการาม
2. รูปจาก วัดป่าภูผาสูง






Create Date : 29 มกราคม 2553
Last Update : 15 สิงหาคม 2554 20:22:21 น.
Counter : 11903 Pageviews.

1 comment
คำสอนที่น่าสนใจ จากสุภาษิตไบเบิ้ล
สวัสดีค่ะ

ได้หยิบพระคัมภีร์มาอ่าน เป็นไบเบิ้ลของคริสเตียน- ก็รู้สึกว่าคำสอนมีอะไรหลายๆอย่างที่ดี น่าสนใจ - มีคำสอนหลายอย่างที่สอดคล้องกับพุทธ และสามารถนำมาใช้เตือนสติสอนใจเราในชีวิตประจำวันได้- จากเล่มสุภาษิต ของพระคัมภีร์ค่ะ


- คนเป็นอันมาก เอาอกเอาใจคนใจกว้าง
และทุกคนก็เป็นมิตรกับคนที่ให้ของกำนัล
- บุคคลที่รักใจบริสุทธิ์ และวาจาของเขามีกรุณาคุณ - จะได้พระราชาเป็นมิตร

- จงให้บิดาของเจ้ายินดี - จงให้ผู้ที่คลอดเจ้าเปรมปรีด์
- สตรีงามสง่าย่อมได้รับเกียรติ

- บุคคลใดที่ใจกว้างขวางย่อมได้รับความมั่งคั่ง
บุคคลที่รดน้ำ เขาเองจะได้รับการรดน้ำ
____________________________________________________

- มนุษย์ผู้ประสบปัญญา และผู้ได้ความเข้าใจ เป็นสุขจริงหนอ
- จงรักษาใจของเจ้าด้วยความระวังระไวรอบด้าน - เพราะชีวิตเริ่มต้นออกมาจากใจ
- ผู้ใดที่ดำเนินในความสัตย์ซื่อ ก็ดำเนินอย่างมั่นคงดี
แต่ผู้ที่ทำทางของตนให้ชั่ว ก็จะปรากฎแจ้งแก่คนอื่น
- ผู้ใดที่รักวินัยก็รักความรู้ - แต่บุคคลที่เกลียดการตักเตือนก็เป็นคนโฉด

- ความถ่อมใจ เดินอยู่ข้างหน้าเกียรติ
- สิ่งที่น่าปรารถนาในตัวมนุษย์คือ ความจงรักภักดี
และคนยากจนยังดีกว่าคนมุสา
- บุคคลที่รักษาปากและลิ้นของตน - ก็รักษาตัวของเขาเองให้พ้นความลำบาก
____________________________________________________

- อย่าเป็นพวกที่ตกปากลงคำ
อย่าเป็นพวกผู้เป็นประกันหนี้สิน
- อย่าทำงานเพื่อเห็นแก่ทรัพย์ศฤงคาร - จงฉลาดพอที่จะยับยั้งไว้
- อย่ากินอาหารของคนที่ตระหนี่ - อย่าปรารถนาของโอชะของเขา

- อย่าพูดให้คนโง่ได้ยิน - เพราะเขาจะดูหมิ่นปัญญาแห่งถ้อยคำของเจ้า
- คนขี้เมาและคนตะกละจะมาถึงความยากจน
ความง่วงเหงาจะเอาผ้าขี้ริ้วห่มคนนั้น
- อย่าคิดริษยาคนชั่ว หรือปรารถนาอยู่ร่วมกับเขา
เพราะว่าใจของเขาคิดประกอบการทารุณ - และริมฝีปากของเขาพูดการประทุษร้าย
- คนโมโหร้ายประพฤติโง่เขลา - แต่คนเฉลียวฉลาดนั้นอดทน

- อย่าพูดกับเพื่อนของเจ้าว่า "ไปเถอะ แล้วกลับมาอีก พรุ่งนี้ฉันจะให้" - ในเมื่อเจ้ามีให้อยู่แล้ว
- อย่ากะแผนงานชั่วร้ายต่อเพื่อนบ้านของเจ้า ผู้อาศัยอย่างไว้วางใจอยู่ข้างๆเจ้า
- อย่าโต้แย้งกับผู้ใดอย่างไร้เหตุผล -ในเมื่อเขามิได้ทำอันตรายอย่างใดแก่เจ้าเลย
_______________________________________________________________________

- คำตอบอ่อนหวาน ช่วยละลายความโกรธเกรี้ยวให้หายไป
แต่คำกักขฬะเร้าโทสะ
- ลิ้นของปราชญ์แจกจ่ายความรู้
แต่ปากของคนโง่ เทความโง่ออกมา
- จงทิ้งวาจาคดๆ เสีย -และให้คำพูดลดเลี้ยวห่างจากเจ้า
- คนเกียจคร้านเอ๋ย ไปหามดไป๊ - พิเคราะห์ทางของมัน และจงฉลาด

- ผู้ที่ว่ากล่าวคนมักเยาะเย้ย จะได้รับการดูหมิ่น
และผู้ที่ตักเตือนคนชั่วร้ายจถูกกล่าวหยาบช้า
- อย่าตักเตือนคนมักเยาะเย้ย - เพราะเขาจะเกลียดเจ้า
จงตักเตือนปราชญ์ และเขาจะรักเจ้า
- ถ้าเจ้าฉลาด - เจ้าก็ฉลาดเพื่อตนเอง
ถ้าเจ้าเยาะเย้ย เจ้าจะทนแต่ลำพัง
_______________________________________________________

- การพูดมากก็จะสะสมการทรยศ
แต่เขาผู้ยับยั้งริมฝีปากของตนเป็นผู้หยั่งรู้
- คนโง่กระทำความผิดเหมือนการเล่นสนุก
แต่ความประพฤติอันกอปรด้วยปัญญา เป็นความเพลิดเพลินแก่คนที่มีความเข้าใจ

- เมื่อความเย่อหยิ่งมาถึง- ความหยามน้ำหน้าก็มาด้วย
แต่ปัญญาอยู่กับคนใจถ่อม
- ความสัตย์ซื่อของคนที่เที่ยงธรรม ย่อมนำเขา
แต่ความคดโกงของคนทรยศย่อมทำลายเขา

- ทางของคนโง่นั้น ถูกต้องในสายตาของเขาเอง
แต่ปราชญ์ย่อมฟังคำแนะนำ
- คนโง่ทำความโง่ซ้ำแล้วซ้ำอีก - ก็เหมือนสุนัขที่กลับไปหาสิ่งที่มันสำรอกออกมา
- บุคคลที่เข้ายุ่งในการทะเลาะวิวาท ซึ่งไม่ใช่เรื่องของเขาเอง - ก็เหมือนคนจับหูสุนัขตัวที่กำลังผ่านไป
____________________________________________________________________

- บุคคลผู้รักการทรยศ ก็รักการวิวาท
- ผู้หนึ่งผู้ใดมีใจคด ก็ไม่เจริญรุ่งเรือง
ผู้ที่ลิ้นตะลบตะแลง ก็ตกอยู่ในความยากลำบาก

- บุคคลผู้โกรธช้า ก็ดีกว่าคนมีกำลังมาก
บุคคลผู้ปกครองจิตใจของตนเอง ก็ดีกว่าผู้ที่ตีเมืองได้

- ริมฝีปากของคนโง่นำการวิวาทมา - และปากของเขาก็เชิ้อเชิญการโบย
- ปากของคนโง่เป็นสิ่งทำลายตัวเขาเอง - และริมฝีปากของเขาก็เป็นบ่วงดักตนเอง
-ที่จะรักษาตนให้พ้นการวิวาทก็เป็นเกียรติ-
แต่คนโง่ทุกคนจะทะเลาะวิวาทกัน

- บุคคลที่รักษาปากและลิ้นของตน- ก็รักษาตัวเขาเองให้พ้นความลำบาก
- จงขับคนมักเยาะเย้ยออกไปเสีย - แล้วการวิวาทจะหมดไป
การวิวาทและการดูแคลนจะหยุดลง

____________________________________________________

- ถ้าคนหนึ่งคนใดทำชั่วตอบแทนความดี - ความชั่วจะไม่พรากจากเรือนของคนนั้น
- อย่าปล้นคนยากจน เพราะเขาเป็นคนยากไร้ - หรือบีบคั้นคนทุกข์ใจที่ประตูเมือง

- อย่าเป็นมิตรกับคนที่มักโกรธ หรือไปกับคนขี้โมโห
- บุคคลผู้รับประกันคนอื่น จะต้องทนทุกข์
แต่คนที่เกลียดการรับประกันย่อมปลอดภัย
- คนที่โมโหฉุนเฉียวจะต้องได้รับโทษ -เพราะถ้าเจ้าช่วยกู้เขาแล้ว ก็ต้องช่วยกู้เขาอีก

- บุคคลที่โกรธช้า ก็มีความเข้าใจมาก - แต่บุคคลที่โมโหเร็วก็ยกย่องความโง่
- ความกระวนกระวายของคนถ่วงเขาลง-แต่ถ้อยคำที่ดีกระทำให้เขาชื่นชม
- คนโมโหร้ายประพฤติโง่เขลา -แต่คนเฉลียวฉลาดนั้นอดทน

- คนโง่ย่อมให้ความโกรธของเขาพลุ่งออกมาเต็มที่
แต่ปราชญ์ย่อมยั้งโทสะไว้เงียบๆ
- คนเย่อหยิ่งของคนนำเขาให้ต่ำลง - แต่คนที่มีใจถ่อมจะได้รับเกียรติ
--------------------------------------------------------------------

- ใจที่สงบให้ชีวิตแก่เนื้อหนัง - แต่กิเลสกระทำให้กระดูกผุ
- ใจที่ยินดีกระทำให้ใบหน้าร่าเริง - แต่โดยความเสียใจ ดวงจิตก็สลายลง
- ใจร่าเริงเป็นยาอย่างดี - แต่จิตใจที่หมดมานะ ทำให้กระดูกแห้ง
- ถ้าเจ้าท้อใจในวันเคราะห์ร้าย - กำลังของเจ้าก็น้อย

- ความเย่อหยิ่งเดินหน้าการถูกทำลาย - และจิตใจที่ยโสนำหน้าการล้ม
- ใจของคนก็จองหองก่อนถึงการถูกทำลาย - แต่ความถ่อมใจเดินอยู่หน้าเกียรติ
- บุคคลที่เทียวซุบซิบไป ก็เผยความลับให้กระจาย - ฉะนั้น อย่าเข้าสังคมกับคนปากบอน

__________________________________________________

- ถ้าคนหนึ่งคนใดแช่งบิดาหรือมารดาของตน - ประทีบของเขาจะดับมืดมิด
- บุคคลที่ขโมยของของบิดาหรือมาดาของตน - และกล่าวว่า
"อย่างนี้ไม่ทรยศ" - เขาก็เป็นเพื่อนของคนทำลาย

- บุคคลผู้อุดหูไม่ฟังเสียงร้องของคนยากจน - ตัวเขาเองจะร้องและไม่มีใครได้ยิน
- บุคคลที่ให้แก่คนยากจน จะไม่รู้จักการขัดสน -
แต่บุคคลที่ปิดตาของเขาเสียจากการนี้ จะได้รับการแช่งสาปมาก

- คนมักเยาะเย้ย เป็นชื่อของคนเย่อหยิ่งและคนจองหอง
- บุคคลผู้หว่านอยุติธรรม - จะเกี่ยวความหายนะ
และไม้ถือแห่งความดุเดือดของเขาจะล้มเหลว

____________________________________________________

- อย่าเปรมปรีด์ เมื่อศัตรูของเจ้าล้ม - และอย่าให้ใจของเจ้ายินดี เมื่อเขาสะดุด
- เจ้าอย่ากระวนกระวาย เพราะคนทำบาป - และอย่ามีใจริษยาคนชั่วร้าย
เพราะคนชั่วไม่มีอนาคต - ประทีบของคนชั่วร้ายจะถูกดับเสีย

- บุคคลที่ซ่อนการละเมิดของตน- จะไม่จำเริญ
แต่บุคคลที่สารภาพ และทิ้งความชั่วเสีย -จะได้รับความกรุณา
- บุคคลที่ดำเนินในความสัตย์ซื่อ -จะได้รับการช่วยกู้
แต่คนที่มีเล่ห์กระเท่ห์ในทางของเขาเอง -จะตกในหลุม
______________________________________________________

- ถ้าศัตรูของเจ้าหิว - จงให้อาหารเขารับประทาน
และถ้าเขากระหาย - จงให้น้ำเขาดื่ม
- จงให้คนอื่นสรรเสริญเจ้า และไม่ใช่ปากของเจ้าเอง -
ให้คนต่างถิ่นสรรเสริญ ไม่ใช่ริมฝีปากของเจ้าเอง

- อย่าทอดทิ้งมิตรของเจ้า และมิตรของบิดาเจ้า - และอย่าไปที่เรือนพี่น้องของเจ้าในวันที่ลำบากยากเย็นของเจ้า
- ในน้ำ คนเห็นหน้าคนฉันใด - ความคิดของคนก็ส่อคนฉันนั้น

ที่มา - พระคัมภีร์ไบเบิ้ล





Create Date : 26 สิงหาคม 2552
Last Update : 15 สิงหาคม 2554 20:24:29 น.
Counter : 8031 Pageviews.

1 comment
1  2  

Kat_kine
Location :
ปทุมธานี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 18 คน [?]