ควรทำกุศลอะไร จึงได้ไปเกิดยุคพระศรีอริยเมตไตรย
ควรทำกุศลอะไร จึงได้ไปเกิดยุคพระศรีอริยเมตไตรย
 

 

1. เราควรงดเว้นปาณาติบาต

2. ควรงดเว้นจากลักขโมย
3. ควรงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร 
4. ควรงดเว้นการพูดเท็จ
5. ควรงดเว้นจากการพูดส่อเสียด นินทา
6. ควรงดเว้นจากการพูดคำหยาบ
7. ควรงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
8. ควรละความโลภ
9. ควรละพยาบาท
10. ควรละมิจฉาทิฐิ 
11. ควรละธรรม ๓ ประการ คืออธรรมราคะ วิสมโลภ มิจฉาธรรม
12. เราควรปฏิบัติชอบในมารดา 
13. ควรปฏิบัติชอบในบิดา 
14. ควรปฏิบัติชอบในสมณะ 
15. ควรปฏิบัติชอบในพราหมณ์ 
16. ควรประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล 
 

เมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี 
  1. เด็กหญิงมี อายุ ๕๐๐ ปี จึงสมควรมีสามีได้ 
  2. จักเกิดมีอาพาธ ๓ อย่าง คือ ความอยากกิน ๑ ความไม่อยากกิน ๑ ความแก่ ๑ 
  3. ชมพูทวีปนี้จัก มั่งคั่งและรุ่งเรือง มีบ้านนิคมและราชธานีพอชั่วไก่บินตก
  4. ชมพูทวีปนี้ประหนึ่งว่าอเวจีนรก จักยัดเยียดไปด้วยผู้คนทั้งหลาย เปรียบเหมือนป่าไม้อ้อ หรือป่าสาลพฤกษ์
  5. เมืองพาราณสีนี้ จัก เป็นราชธานีมีนามว่า เกตุมดี เป็นเมืองที่มั่งคั่งและรุ่งเรืองมีพลเมืองมาก มีผู้คนคับคั่ง และมีอาหารสมบูรณ์
  6. ในชมพูทวีปนี้จักมีเมือง ๘๔,๐๐๐ เมือง มีเกตุมดีราชธานีเป็นประมุข ฯ
  7. จักมีพระเจ้าจักรพรรดิ์ทรงพระนามว่า พระเจ้าสังขะ ทรงอุบัติขึ้น ณ เกตุมดีราชธานี เป็นผู้ทรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือจักรแก้ว ๑ ช้างแก้ว ๑ ม้าแก้ว ๑ แก้วมณี ๑ นางแก้ว ๑ คฤหบดีแก้ว ๑ ปริณายกแก้วเป็น ที่ ๗ พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์ทรงชำนะโดยธรรมมิต้องใช้อาชญา มิต้อง ใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็นขอบเขต ฯ
  8. พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่าเมตไตรย์ จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก 
 
ที่มา : พระไตรปิฎก พระสุตตันตปิฎก จักกวัตติสูตร (เมืองมาตุลา แคว้นมคธ)



Create Date : 16 มกราคม 2563
Last Update : 16 มกราคม 2563 9:09:04 น.
Counter : 1442 Pageviews.

0 comment
ลักษณะผู้ที่มีแต่ความเสื่อมอย่างเดียว ไม่มีความเจริญ




s


ผู้ใด ยังละเครื่องผูกพันใจ ๕ ประการไม่ได้ ยังตัดไม่ขาดแล้ว กลางคืนหรือกลางวันที่ผ่านมาถึง  - บุคคลนั้น พึงหวังความเสื่อมอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเจริญเลย 

1. ไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า-> จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อการกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร 

2. ไม่เลื่อมใสในพระธรรม->ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร 

3. ไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์-> ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร

4. ไม่เลื่อมใสในสิกขา->ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร 

5. มีความโกรธ ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะประทุษร้ายมีจิตกระด้าง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย -> จิตของผู้นั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร 
-----------------------------------------



ตาปูตรึงใจ ๕ ประการนี้ หากยังละไม่ได้แล้ว ฯ  ยังตัดไม่ขาดแล้ว กลางคืนหรือกลางวัน ที่ผ่านมาถึงบุคคลนั้น บุคคลนั้นพึงหวังความเสื่อมอย่างเดียว ไม่มีความเจริญเลย

1.มีความอยากในกามทั้งหลาย -> จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อ
 บำเพ็ญเพียร

2. มีความอยากในกาย - ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความความเพียร ติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร

3. มีความอยากในรูป ->ย่อมไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียรติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร 

4. กินอาหารเต็มท้องตามต้องการแล้ว -> ย่อมมีความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในการหลับอยู่ -> ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อเพื่อบำเพ็ญเพียร 

5. ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปรารถนาเป็นเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีลพรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ -> จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร


จาก พระสุตตันตปิฎก อัคุตตรนิกาย เล่ม  16 ขีลสูตร






Create Date : 10 สิงหาคม 2561
Last Update : 14 สิงหาคม 2561 11:01:41 น.
Counter : 1871 Pageviews.

0 comment
ลักษณะผู้จบพรหมจรรย์


ผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว คือผู้ประกอบด้วยคุณทั้งมวล ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นอุดมบุรุษ 

1. เป็นผู้ละกามฉันทะได้แล้ว
2. ละพยาบาทได้แล้ว 
3. ละถีนมิทธะได้แล้ว
4. ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว 
5. ละวิจิกิจฉาได้แล้ว 
-----------------------------------


ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ ผู้ประกอบด้วยคุณทั้งมวล ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นอุดมบุรุษ 

1. มีศีลขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล 
2. มีสมาธิขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล 
3. มีปัญญาขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล 
4. มีวิมุตติขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล 
5. มีวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล 


 จาก พระสุตตันตปิฎก อัคุตตรนิกาย เล่ม  16 อังคสูตร

-------------------------------------------------



Create Date : 10 สิงหาคม 2561
Last Update : 10 สิงหาคม 2561 13:16:18 น.
Counter : 2033 Pageviews.

0 comment
ผู้ติเตียนนินทาผู้อื่น ย่อมเป็นผู้ถูกติเตียน



s

สิ่งที่ควรกล่าว ไม่ควรกล่าว

1. สิ่งที่ได้เห็น อันใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น, กุศลธรรมเสื่อมไป = ไม่ควรกล่าว

2.  สิ่งที่ได้เห็น อันใด- ทำให้ อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้น
 = ควรกล่าว 

3. สิ่งที่ได้ฟังมา , สิ่งที่ได้ทราบ ,สิ่งที่รู้แจ้งมาอันใด -ทำให้อกุศลธรรมเจริญขึ้น, กุศลธรรมเสื่อมไป
 = ไม่ควรกล่าว 

4. สิ่งที่ได้ฟังมา, สิ่งที่ได้ทราบมา, สิ่งที่รู้แจ้งอันใด- ทำให้อกุศลธรรมเสื่อมไป, กุศลธรรมเจริญขึ้น  =ควรกล่าว

---------------------------

ถ้าบุคคล กล่าวติเตียนนินทาผู้อื่น 
- ย่อมไม่อาจให้กุศลกรรมเกิดขึ้นได้ 
- เมื่อไม่อาจให้กุศลกรรมเกิดขึ้นได้ ย่อมเป็นผู้ถูกครหาติเตียน
---------------------------------------------------------


การมีธรรม ๔ ประการอยู่ในตนนี้ ย่อมเสื่อมจากกุศลธรรม
1. ความเป็นผู้มีราคะ ไพบูลย์ 
2. ความเป็นผู้มีโทสะไพบูลย์ 
3. ความเป็นผู้มีโมหะไพบูลย์ 
4. ไม่มีปัญญาจักษุก้าวไปในฐานะ และอฐานะอันลึกซึ้ง
-------------------------------

การมีธรรม ๔ ประการอยู่ในตนนี้ คือ เราไม่เสื่อมจากกุศลธรรม
1. ความเป็นผู้มีราคะเบาบาง 
2. ความเป็นผู้มีโทสะเบาบาง  
3. ความเป็นผู้มีโมหะเบาบาง 
3. และมีปัญญาจักษุก้าวไปในฐานะ
 และอฐานะอันลึกซึ้ง 

(จตุตถปัณณาสก์  อินทรียวรรค)
---------------------------------------------------

ปฏิปทา ๔ ประการ

1. การปฏิบัติไม่อดทน = บุคคลบางคนในโลกนี้ 
- เขาด่า ย่อมด่าตอบ 
- เขาขึ้งโกรธ ย่อมขึ้งโกรธตอบ 
- เขาทุ่มเถียง ย่อมทุ่มเถียงตอบ 

2. การปฏิบัติอดทน =  บุคคลบางคนในโลกนี้
- เขาด่า ไม่ด่าตอบ
- เขาขึ้งโกรธ ไม่ขึ้งโกรธตอบ
- เขาทุ่มเถียง ไม่ทุ่มเถียงตอบ

3. การปฏิบัติข่มใจ =
- เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือ -> ..สำรวมจักขุนทรีย์ ,
 หากไม่สำรวมแล้ว เป็นเหตุให้ความโลภ(อภิชฌา) ความยินร้าย(โทมนัส) ครอบงำได้ , รักษาตา, สำรวมตา
- ฟังเสียงด้วยหู ... 
- ดมกลิ่นด้วยจมูก ... 
- ลิ้มรสด้วยลิ้น ...
- ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... 
- รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ถือ -> สำรวมมนินทรีย์, 
หากไม่สำรวมแล้ว  เป็นเหตุให้บาปอกุศลอภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ , รักษาใจ , สำรวมใจ

4. การปฏิบัติระงับ 
-ย่อมละ ความคิดถึงกาม
- ย่อมละ ความคิดพยาบาท
- ย่อมละ ความคิดเบียดเบียน
 ให้ระงับ ให้สิ้นสุด ให้ไม่มี




-----------------------------------

ที่มา - พระสุตตันตปิฎกเล่ม 13 อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต โยธาชีววรรคที่ 4






Create Date : 03 พฤษภาคม 2561
Last Update : 14 สิงหาคม 2561 11:06:34 น.
Counter : 1553 Pageviews.

0 comment
ผลของการเป็นผู้นำความสุขให้แก่ชนเป็นอันมาก






ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ภพก่อน กำเนิดก่อน

ได้เป็นผู้นำความสุขมาให้แก่ชนเป็นอันมาก
บรรเทาภัยคือความ หวาดกลัวและความหวาดเสียว จัดความรักษาปกครองป้องกันโดยธรรม และ บำเพ็ญทานพร้อมด้วยวัตถุอันเป็นบริวาร

เพราะกรรมนั้นอันตนทำสั่งสม พอกพูน ไพบูลย์ ฯ

ย่อมได้เฉพาะซึ่งมหาปุริสลักษณะนี้ คือ ในฝ่าพระบาททั้ง ๒ มีจักรเกิดเป็นอันมาก มีซี่กำพันหนึ่ง มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการ ทั้งปวง

เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้ผลข้อนี้ คือ มีบริวารมาก เป็นภิกษุ เป็นภิกษุณี เป็นอุบาสก เป็นอุบาสิกา เป็นเทวดา เป็นมนุษย์ เป็นอสูร เป็นนาค เป็นคนธรรพ์

Cr. พระไตรปิฎก เล่มที่ 11 ลักขณสูตร

-----------------------------------------

In whatever former life..., being born a human being
- lived for the happiness of the many, as a dispeller of fright and terror, provider of lawful protection and shelter, and supplying all necessities,

By performing that kamma...
He acquired this mark of a great man: on the soles of his feet are wheels of a thousand spokes, complete with felloe and hub.

He will become a fully enlightened Buddha. -
He has a large retinue: he is surrounded by monks, nuns, laymen and laywomen, devas and humans, asuras, nagas, and gandhabbas.



https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1535416869867912&set=a.484442344965375.1073741824.100001988428863&type=3&theater





Create Date : 26 ตุลาคม 2560
Last Update : 26 ตุลาคม 2560 20:19:46 น.
Counter : 1110 Pageviews.

0 comment
1  2  

Kat_kine
Location :
ปทุมธานี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 18 คน [?]