อานิสงส์การบูชาพระบรมสารีริกธาตุ,การสร้างเจดีย์
สวัสดีค่ะ
จากประสบการณ์ตัวเองที่ได้รับพระบรมสารีริกธาตุมาบูชา และท่านได้เสด็จมาเพิ่มเรื่อยๆ จึงทำให้เกิดความอยากทราบอานิสงส์ และวิธีการบูชาพระบรมธาตุที่ถูกต้อง

โชคดีที่มีโอกาสไปปฏิบัติธรรมที่วัดสังฆทานซึ่งที่นั่นได้แจกพระบรมสารีริกธาตุด้วย และได้เจอหนังสือเล่มนี้ที่ห้องสมุด จึงขอยืมมา หนังสือพระธาตุเจดีย์และรอยพระพุทธบาทอันศักดิ์สิทธิ์ในประเทศไทย มีเรื่องน่าสนใจเยอะเลยค่ะ ขอสรุปให้ฟังนะคะ



หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน พระบรมธาตุได้แพร่กระจายไปยังแคว้นต่างๆ ในชมพูทวีป
- ต่อมาพระมหากัสสปะได้อธิษฐานรวบรวมพระบรมธาตุกว่า 80% อัญเชิญไปยังประดิษฐานทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงราชคฤห์ ในสมัยพระเจ้าอชาตศัตรู ทรงสร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้

- พระมหากัสสปะ นำพระบรมธาตุอุรังคธาตุ มาที่ภูกำพร้า (พระธาตุพนม)



________________________________________________________

- สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พ.ศ.270-312 ทรงสร้างเจดีย์พระบรมธาตุ 84,000 แห่งทั่วชมพูทวีปรวมทั้งในพม่าและไทยด้วย สำหรับประเทศไทยได้แก่ พระธาตุลำปางหลวง, พระธาตุพระฝาง, พระธาตุวัดธรรมศาลา, วัดพระงาม, พระธาตุเนินยายหอม และพระปฐมเจดีย์





- โดยใช้พระราชทรัพย์ 96 โกฏิ และได้นำมาสักการะบูชา 7 ปี 7 เดือน 7 วัน ด้วยความราบรื่น แม้จะมีพญามารพยายามทำลายพิธีดังกล่าว แต่ไม่สำเร็จ เพราะพระกีสนามคอุปคุต หรือ พระอุปคุตเถระ คอยดูแลป้องปรามพญามารไม่ให้มาทำลายพิธีนี้


- สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระบรมธาตุได้แพร่กระจายไปทั่วชมพูทวีป พระอรหันต์ที่มีบทบาทสำคัญหลายรูปอาทิ
0 พระกุมารกัสสปะ, พระเมฆิยะ -- >ไปทางล้านนา
0 พระโสณะเถระ, พระอุตตรเถระฌานียะ ภูริยเถระ มูนียเถระ --> ไปทางสุวรรณภูมิ

- พระอรหันต์ทั้ง8 ได้แก่ พระมหารัตนเถระ พระจุลรัตนเถระ,พระมหาสุวรรณปราสาทเถระ, พระจุลสุวรรณประสาทเถระ, พระสังควิชเถระฯลฯ นำพระบรมธาตุหัวเหน่า พระธาตุเขี้ยวฝาง และพระธาตุฝ่าพระบาทขวามาแถบอีสาน
(พระธาตุบังพวน, พระธาตุเวียงงัว, พระธาตุหอแพ และพระธาตุเมืองลา หนองคาย)



_______________________________________________________

เคล็ดการทำจิตขณะไหว้พระบรมธาตุ มีหลายระดับ

1. คิดว่ากำลังไหว้พระพุทธเจ้าและน้อมรับวิมุตติธรรมจากพระพุทธองค์ -ย่อมได้บารมีกุศลธรรมจากองค์พระบรมธาตุเต็มที่
2. คิดว่ากำลังไหว้อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของพระพุทธเจ้า - ย่อมได้บารมีกุศลธรรมน้อยกว่าแบบที่ 1
3. คิดว่ากำลังไหว้ซากกระดูกส่วนหนึ่งของพระพุทธเจ้า - ย่อมได้บารมีกุศลธรรมน้อยกว่าแบบที่ 2
4. คิดว่ากำลังไหว้สัญลักษณ์อย่างหนึ่ง ที่ช่วยให้นึกถึงพระพุทธเจ้า - ย่อมได้บารมีกุศลธรรมน้อยกว่าแบบที่ 3
5. คิดว่ากำลังไหว้วัตถุหรือสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ - ย่อมได้บารมีกุศลธรรมน้อยกว่าแบบที่ 4
6. การไหว้เฉยๆ ไม่เกิดประโยชน์อะไร
7. ไม่ไหว้ ไม่สนใจ ผ่านไปเฉยๆ - บารมีเสื่อมถอย
8. ไม่สำรวม ลบหลู่ - ได้บาปมหันต์

_________________________________________________________

การนมัสการพระบรมธาตุ

-นอกจากการพนมมือไหว้แล้ว ควรเดินเวียนเทียนรอบเจดีย์พระบรมธาตุด้วย 3 รอบ และต้องเวียนขวา
- หากมีเวลา ควรเตรียมดอกบัว ดอกไม้ ธูป เทียน ไปนมัสการ และควรนำทองคำเปลวไปปิดบูชาตามความเหมาะสมด้วยก็ยิ่งดี
- การไหว้พระธาตุ ควรพนมมือยกสูง ให้นิ้วอยู่เหนือศีรษะ ปลายนิ้วมือมุ่งตรงไปยังยอดพระเจดีย์ ค้อมศีรษะลง เพื่อรับพลังกุศลธรรมและวิมุตติธรรมจากองค์พระบรมธาตุได้เต็มที่ ทำให้มีสมาธิในการสักการะ พร้อมตั้งอธิษฐานจิต
_________________________________________________________--------

อานิสงส์การสรงน้ำพระบรมธาตุ มีมากมาย อาทิ

1. ทำให้เย็นกาย เย็นใจ ดับทุกข์และความเดือดร้อนต่างๆ
2. ทำให้จิตใจสดชื่น สะอาด และมีสติ
3. อานิสงส์นี้สามารถแผ่ให้บรรพบุรุษ ญาติมิตร สรรพสัตว วิญญาณทั้งหลายได้เป็นอย่างดี
4. บางครั้งพระบรมธาตุจะเรืองแสง ฉายรัศมีหรือกระจายฉัพพรรณรังสี และวิมุตติธรรมมายังผู้สรงน้ำ - เป็นมหามงคลยิ่ง เคราะห์ร้ายหมดไปอย่างสิ้นเชิง

- น้ำสะอาด น้ำกลั่น อาจประทินของหอม ลอยดอกมะลิ หรือกลีบกุหลาบ หรือเจือน้ำอบอ่อนๆ
_______________________________________________________________

อานิสงส์การทำบุญกับพระบรมธาตุ

1. ถวายฉัตรยอดพระเจดีย์ - ส่งผลให้ได้รับการเคารพยกย่อง เกิดในตระกูลสูง มีสง่าราศี
2. ถวายทองคำ - อานิสงส์ให้ผิวพรรณงามเปล่งปลั่ง บริบูรณ์มั่งคั่ง
3. ถวายเงิน - ทำให้ใจสว่างไสว อยู่เย็นเป็นสุข
4. ถวายอัญมณี - อานิสงส์ให้มีราศี รัศมีกายทิพย์สว่างสดใส ประสบโชคดี
5. ถวายพระเครื่อง - ส่งผลให้มีกำลังใจต่อสู้กับอุปสรรค มีคนช่วยเหลือยามมีอุปสรรค

6. ถวายแผ่นทองคำเปลวปิดองค์พระเจดีย์ - อานิสงส์ให้ผิวพรรณงาม มีราศี ใจสว่าง สดใส และอบอุ่นใจ
7. ถวายอิฐ หิน ปูน ทราย - ส่งผลให้มีชีวิตมั่นคง จิตใจหนักแน่น ไม่โลเล
8. สร้างองค์พระเจดีย์ - ส่งผลให้ได้รับสิ่งที่พึงปรารถนา สุขภาพดี ไม่มีอด
9. ถวายธงหลากสีประดับองค์พระธาตุ - ทำให้มีสง่าราศี กายทิพย์สว่าง
10. ถวายเทียน หรือโคมไฟ - อานิสงส์ให้ใจสว่าง มีชีวิตสะดวกสบาย อุปสรรคลดลง มีปัญญาธรรมสูงขึ้น สู่วิถีทิพย์เนตร

11. ถวายดอกไม้ต่างๆ - ส่งผลให้ใจสงบสะอาด เป็นสุขสดชื่น
12. ถวายธูป หรือเครื่องหอม - ทำให้ใจอบอุ่นมั่นคง จิตสว่าง อุปสรรคลดลง มีกลิ่นกายสะอาด สดชื่นอยู่เสมอ
13. ถวายแผ่นดินปูพื้นเจดีย์ - ส่งผลให้มีบริวารดี มีสมาธิดีขึ้น มีเวลาปฏิบัติธรรมมากขึ้น
14. ถวายกระจกสีประดับองค์พระเจดีย์ - ทำให้กายทิพย์สว่าง มีสง่าราศี เป็นที่ศรัทธาแก่คนทั่วไป เห็นความดีในตัว
15. ถวายผ้าเหลืองครองหุ้มองค์พระเจดีย์ - มีอานิสงส์เพิ่มเนกขัมมบารมี ใจสงบ เข้าสู่วิมุตติธรรมเร็วขึ้น

16. สรงน้ำพระธาตุ - ทำให้ใจสะอาด สงบ สว่างขึ้น กายและใจสดชื่น สุขภาพดี
17. ถวายข้าว อาหาร เวรข้าวบูชาพระธาตุ - ส่งผลให้อุดมสมบูรณ์ อิ่มอกอิ่มใจ สุขภาพดี
18. เวียนเทียนรอบองค์พระธาตุ - อานิสงส์เป็นสิริมงคล ทำให้จิตใจสูงขึ้น สะอาด เป็นการเพิ่มวิสัยปัจจัยแห่งกุศลธรรม
19. แสดงความเคารพอย่างสูงสุดต่อพระธาตุจากใจจริง - ทำให้เป็นที่เคารพยกย่อง มักไม่มีใครเข้าใจผิด ได้บารมีวิมุตติธรรมจากพระบรมธาตุ สู่วิสุทธิมรรคผลนิพพานเร็วขึ้น
20. เป็นเจ้าภาพ หรือมีส่วนช่วยจัดงานฉลองพระธาตุ - ทำให้ประสบความสุขในชีวิต อุดมมั่งคั่ง เป็นที่เคารพยกย่องมีคนช่วยเหลือเสมอ

21. บูรณะซ่อมแซมเจดีย์พระบรมธาตุ - อานิสงส์ให้สุขภาพดี อายุยืน บุคลิกผิวพรรณดี ฐานะมั่นคง
22. สร้างเจดีย์พระบรมธาตุ - ส่งผลให้ชีวิตมั่นคง มีความสุขสมความปรารถนา เป็นที่เคารพยกย่อง เข้าสู่มรรคผลนิพพานเร็วขึ้น
23. ถวายพระบรมธาตุเพื่อบรรจุในเจดีย์ - มีอานิสงส์เป็นที่เคารพยกย่อง มีความสุข สมความปรารถนาในชีวิต ประสบแต่สิ่งดี ได้อริยมรรคผลนิพพานเร็วขึ้น
24. ถวายภาชนะบรรจุพระบรมธาตุในเจดีย์ - ทำให้ชีวิตมั่นคงปลอดภัย มั่งคั่ง บริวารดี มีเกียรติ เป็นที่ยกย่องแก่คนทั่วไป
25. ถวายบทสวด เทปบทสวดบูชาพระธาตุ - ส่งผลให้เป็นที่ยกย่องสรรเสริญจากผู้คนทั่วไป ได้ยินได้ฟังและได้พบแต่สิ่งดีๆ มีเสียงใส ไพเราะ วาจาดี งดงาม สมาธิดี

_____________________________________________

อานิสงส์บูชาพระบรมสารีริกธาตุ - พระธาตุ

1. ไม่ตายด้วยคมศาสตรา-อาวุธของศัตรูผู้มุ่งร้าย
2. ปัญหาอุปสรรคผ่านพ้น ขอให้ตั้งใจจริงบูชาจริง
3. ประกอบการค้าพาณิชย์ จะเจริญรุ่งเรืองไพบูลย์
4. รับราชการ ยศ ตำแหน่งจะเจริญขึ้นเร็ว และเจริญขึ้นเรื่อยๆ
5. มีเมตตาเสน่ห์มหานิยม มหาโชค-มหาลาภ และคลาดแคล้ว
6. เทวดาอารักษ์คุ้มครองรักษาตลอดกาล
7. ครอบครัวเป็นสุข สงบ ร่มเย็น และเจริญรุ่งเรือง
8. มีฤทธิ์เดช อำนาจ วาสนา บารมีแผ่ไพศาล บริวารจะเคารพ หมู่ชนจะยำเกรง อานิสงส์เป็นไปตามอธิษฐาน

_____________________________________________

อานิสงส์การสร้างพระเจดีย์

1. เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ ไม่ประมาทมัวเมาในชีวิต
2. เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
3. เมื่อใกล้ดับขันธ์ไม่หลงลืม
4. ย่อมได้เกิดในประเทศที่เหมาะสมสำหรับสร้างบารมี
5. ย่อมไปบังเกิดในสวรรค์เมื่อยังไม่หมดกิเลสในพระพุทธศาสนา
6. ย่อมได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุมรรคผล นิพพานโดยง่าย

_______________________________________________________________
_______________________________________________________________

(จากเอกสารวัดสังฆทาน)

การบูชาพระบรมสารีริกธาตุ

- บรรจุในเจดีย์ ผอบแก้ว หรือโถกระเบื้องมีฝาครอบ อัญเชิญไว้ในที่สูงเหมาะแก่การกราบไหว้
- สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ น้อมใจระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า ว่ามีพระคุณยิ่งใหญ่ประมาณมิได้ต่อสัตว์โลก
- การจะมีข้าวตอกดอกไม้เครื่องหอมเป็นเพียงส่วนประกอบ
หากบูชาด้วยสิ่งเหล่านั้นอยู่เป็นประจำ แต่จิตใจไม่เคยน้อมคิดถึงพระคุณท่านเลย การบูชานั้นก็เป็นเพียงอามิสบูชา
- การบูชาที่แท้จริง คือการปฏิบัติบูชา ได้แก่ การปฏิบัติตามคำสอนของท่านซึ่งจะทำให้เกิดผลดีกับตนเอง อันจะทำให้เกิดศรัทธาและระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของท่านอย่างลึกซึ้งเข้าไปในจิตใจ
- พระบรมสารีริกธาตุเสด็จมาด้วยคำอธิษฐาน และเสด็จไปได้เมื่อปฏิบัติไม่ถูกต้อง
- การปฏิบัติบูชาที่ถูกต้อง มีผลานิสงส์มากนัก อาจทำให้สำเร็จประดยชน์และสุขสมบูรณ์ได้ทั้งชาตินี้และชาติหน้า หรือประโยชน์อย่างยิ่ง คือ "พระนิพพาน"

- พระบรมสารีริกธาตุ เป็นของหายาก และมีค่ายิ่ง
- การได้กราบไหว้บูชาสักการะพระบรมสารีริกธาตุนี้ มีผลานิสงส์มากเท่ากับได้บูชาสักการะพระพุทธเจ้ามีพระชนม์อยู่ นับว่าเป็นมหามงคล และให้อานิสงส์แก่ผู้สักการะอย่างหาที่เปรียบมิได้ ทำให้ประสบความสำเร็จ และความสุขสมปรารถนาทั้งในชาตินี้และชาติหน้าตราบเข้าสู่นิพพาน
ผลานิสงส์ที่บังเกิดแก่ผู้ที่มีความเคารพเลื่อมใสและกระทำสักการะโดยสุจริตเท่านั้น

_________________________________________________________


พระคาถาอัญเชิญเสด็จพระบรมสารีริกธาตุ -(นะโม 3 จบ)
อิติปิโส วิเสเสอิ
อิเสสพุทธนาเมอิ
อิเมนา พุทธตังโสอิ
อิโสตัง พุทธปิติอิ
_______________________________________________



คำตั้งสัจจาธิษฐานในการกราบบูชาพระบรมสารีริกธาตุ
-(นะโม 3 จบ)

อิมัสสมิญจะ พุทธะเจติเย สุปุติฏฐิตัง ปะระมะสารีริกะธาตุง
อภิปูชะยามะ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ


ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ข้าพเจ้าขอกราบนอบน้อมบูชา พระคุณของพระพุทธองค์ผู้ทรงเปี่ยมด้วยพระเมตตาและพระกรุณาอันหาประมาณมิได้ ที่ได้ทรงเสียสละสั่งสมพระบารมีเพื่อทรงตรัสรู้ และประกาศพระธรรม นำเวไนยสัตว์ออกจากสังสารวัฏฏ์

ข้าพเจ้าขอน้อมจิตและกายวาจา บูชาพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธองค์ด้วยความเลื่อมใสยิ่ง
ขอตั้งสัจจาธิษฐาน ด้วยอานิสงส์ผลแห่งบุญที่ข้าพเจ้าได้กระทำในวันนี้ ขอจงเป็นพลวปัจจัยให้ถึงซึ่งพระนิพพาน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้ธรรมอันใด ขอให้ข้าพเจ้ามีส่วนแห่งธรรมของพระองค์นั้นด้วย

แม้ต้องเกิดอยู่ในภพชาติใดๆ ขอเกิดภายใต้ร่มเงาแห่งพระบวรพุทธศาสนา มีกรรมสัมพันธ์อันดี มีโอกาสได้พบสัตบุรุษ ผู้รู้ธรรมอันประเสริฐ ให้เกิดท่ามกลางกัลยาณมิตร และเป็นสัมมาทิฏฐิทุกชาติไป ให้มีโอกาสศึกษาพระธรรม ฟังธรรม ประพฤติธรรม จนเป็นปัจจัยตามส่งทั้งชาตินี้และชาติหน้าต่อๆไป ให้เจริญด้วยสติ และปัญญาญาณ จนถึงพระนิพพานในกาลอันควรเทอญ
__________________________________________________________

พระคาถาบูชาพระบรมสารีริกธาตุ

อะหัง วันทามิ ธาตุโย, อะหัง วันทามิ สัพพโส, พุทธัง ธัมมัง สังฆัง เอวัง ธาตุโย จัตตารี สะสะมา ทันตา เกสา โลมา นะขา ขจี อะหังวันทามิ ธาตุโย อภิปูชยามิ

(สวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ)

อะหัง วันทามิ อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ปูชะนัตถายะ พรหมะโลเก สะเทวะมนุสสะโลเก ปติฏฐะมานา ปะระะมะสารีริกะธาตุโย เจวะ ธาตุโย จะมัยหัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะฯ

ข้าพเจ้า ขอกราบวันทา พระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุทั้งหลายที่ประดิษฐานอยู่ในพรหมโลก ทั้งในเทวโลกและมนุษย์โลก เพื่อต้องการบูชาพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข เพื่อความพ้นทุกข์แก่ข้าพเจ้า สิ้นกาลนานเทอญฯ

________

ขณะเมื่อสวดมนต์ไหว้บูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระอรหันต์ธาตุ จงตั้งใจสวดภาวนาด้วยพระคาถานี้ ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระอรหันตสาวกทั้งหลาย ตั้งจิตอธิษฐานปรารถนาความดีงาม หมั่นให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เป็นต้น จะเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและครอบครัวสืบไป


ที่มา -1. หนังสือพระธาตุเจดีย์และรอยพระพุทธบาทอันศักดิ์สิทธิ์ในประเทศไทย
2. เอกสารวัดสังฆทาน



____________________________________________________________



Create Date : 04 มิถุนายน 2553
Last Update : 29 สิงหาคม 2554 20:50:21 น.
Counter : 31629 Pageviews.

2 comment
28 พระอรหันต์เมืองไทย - ตอนจบ
สวัสดีค่ะ
มาถึงตอนสุดท้ายแล้วนะคะสำหรับ 28 พระอรหันต์เมืองไทย
หากใครสนใจหนังสือ 28 พระอรหันต์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระธุตังคเจดีย์ วัดอโศการาม นอกจากจะหาได้ที่วัดอโศการามแล้ว
ยังสามารถดาวน์โหลดได้ที่ วัดป่าภูผาสูงค่ะ


24. พระอ.จวน กุลเชฏฺโฐ - วัดเจติยาคีริวิหาร (ภูทอก) อ.ศรีวิไล หนองคาย


- พระอริยเจ้าผู้มีกายและจิตสมควรแก่วิมุตติธรรม
- ท่านมีนิสัยโน้มน้อมมาทางพระธรรมตั้งแต่เยาว์วัย, เมื่อได้ฟังธรรมจากพระกรรมฐาน จิตสงบรวมเป็นหนึ่ง สามารถแยกกายและจิตได้ ท่านจึงได้สละทรัพย์และบ้านเรือนอกบวช
- ท่านมีความเพียรพยายามเป็นเลิศ, มีสติในการแก้ไขกิเลสเฉียบพลัน, อุบายธรรมและปฏิปทาเป็นปัจเจก แปลกจากครูบาอาจารย์รูปอื่น

-2493 ท่านจำพรรษาที่ถ้ำพวง อ.ส่องดาว สกลนคร ได้เกิดจิตปฏิพัทธ์หญิงสาวคนหนึ่ง - จึงคิดหาอุบายแก้ไข โดยยกภาษิต "เนื้อไม่ได้กิน หนังไม่ได้รองนั่ง ยังเอากระดูกมาแขวนคอ"
- ท่านจึงดัดนิสัยตนเองที่ไปหลงรักผู้หญิงเข้า โดยเอากระดูกช้างมาแขวนคอห้อยต่องแต่ง ท่านตั้งใจมั่นว่า
"ตราบใดที่ใจยังตัดใจอาลัยรักในสตรีไม่ได้ ยืน เดิน นั่ง นอน ออกบิณฑบาตร ฉันข้าว ก็จะเอากระดูกช้างแขวนคอไว้ตราบนั้น"
-ไม่ว่าท่านจะเดินจงกรม นั่งสมาธิ หรือรับกิจนิมนต์ไปในหมู่บ้านก็ตาม ท่านเอากระดูกช้างแขวนคอไว้ตลอด จนชาวบ้านเล่าลือกันว่า "ท่านเป็นบ้า"

- เมื่อท่านทำปฏิบัติอย่างนี้ เกิดความละอายใจ เห็นโทษภัยในความลุ่มหลง จิตก็คลายกำหนัดรักใคร่ในหญิงนั้น - เมื่อหลวงปู่ขาว อนาลโย ได้ถามถึงเหตุที่ท่านทำเช่นนั้น ท่านได้กราบเรียนดังที่กล่าว หลวงปู่ขาวชมว่า "อุบายนี้ดีนักแล"

- ท่านชอบท่องเที่ยวแสวงหาครูบาอาจารย์ที่อยู่ตามป่าเขาลึกๆ เช่น เข้าไปศึกษากับพระอ.หล้า ขนฺติโก พระอริยเจ้าผู้อยู่แต่เพียงโดดเดี่ยวบนสันเทือนเขาภูพาน
- ท่านมีสหธรรมิกคือ พระอ.สิงห์ทอง ธมฺมวโร - ได้รับอบรมจากพระอ.มั่นและหลวงปู่ขาว

- พระอ.มั่นยกย่องท่านว่า "กาเยนะ วาจายะ วะเจตวิทธิยา ท่านจวน! เป็นผู้มีกายและจิตสมควรแก่ข้อปฏิบัติธรรม เป็นผู้สามารถรวมจิตทีเดียวถึงฐีติจิต"

- เกิดวันเสาร์ 10 กค.2463 - แรม 10 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก - บ้านเหล่ามันแกว ต.ดงมะยาง อำนาจเจริญ
- อายุ 14-15 ปี ได้พบพระธุดงค์มาปักกลดใกล้บ้าน ก็บังเกิดความเลื่อมใส ตั้งปณิธานว่าต่อไปจะบวชอย่างท่านบ้าง - พระธุดงค์ได้มอบหนังสือ "ไตรสรณคมน์" ของพระอ.สิงห์ ขนฺตฺยาคโม ไว้ให้ - ท่านได้อ่านจึงปฏิบัติตาม เริ่มสวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ บริกรรมภาวนาจิตรวมเป็นหนึ่ง จิตอยู่เฉพาะจิต กายอยู่เฉพาะกาย เวทนาใดก็ไม่มีปรากฎเลย
- หลังจบป.6 อายุย่าง 18 ท่านได้เข้าทำราชการกรมทางหลวงแผ่นดินอยู่ 4 ปี
- ภายหลังได้รับหนังสือ "จตุราลักษณ์" ของพระอ.เสาร์ กนฺตสีโล เมื่อท่านอ่านถึงบทมรณานุสติ จิตก็สลดสังเวชว่า "เราก็ต้องตาย"

- อายุ 20 ปี ท่านสละเงินที่เก็บหอมรอมริบทั้งหมด เป็นเจ้าภาพสร้างมหากฐินคนเดียว, สร้างพระประธาน, สร้างห้องน้ำถวายสงฆ์จนเงินหมด
- อายุ 21ปี อุปสมบทเป็นพระภิกษุมหานิกาย สอบได้นักธรรมตรีพรรษานั้น และต่อมาลาสิกขา
- หลังสึกเป็นฆราวาส ท่านเดินทางไปแสวงหาอาจารย์กรรมฐานธรรมยุต และได้อุปสมบทเป็นพระธรรมยุต 24 มีค.2486 - อุปสมบทแล้ว ท่านได้ท่องปาฏิโมกข์และ 7 ตำนานจบภายใน 1 เดือน
- 2488 พรรษาที่ 3 ท่านอธิษฐานทำความเพียรจะไม่นอนและไม่ฉันตลอดพรรษา ท่านอธิษฐานว่า
"ถ้ายังมีบุญวาสนาอยู่พรหมจรรย์แล้ว ขอให้ได้นิมิตเห็นพระอ.มั่น ภูริทตฺโต"
- หลังจากนั้น 3 วัน ท่านได้นิมิตว่า
ได้เดินทางไปสำนักพระอ.มั่น เห็นท่านกวานลานวัดอยู่ พอเห็นก็รู้ว่านี่คือท่านพระอ.มั่น ท่านเหลือบมาเห็นเข้าก็ทักพระอ.จวนอย่างดีใจว่า "อ้อ ท่านจวนมาแล้ว ท่านจวนมาแล้ว" มีความรู้สึกคล้ายพ่อเห็นลูก ลูกเห็นพ่อ - พอท่านตรงเข้าไปจะกราบนมัสการ พระอ.มั่นก็โก่งหลัง บอกให้ท่านขึ้นขี่หลังเหมือนขี่ม้า แล้วท่านจึงพาเหาะขึ้นบนอากาศจนลิบเมฆ แล้วมาลงที่กลางภูเขาลูกหนึ่ง แล้วบอกว่า "เอาละ ลงนี่แหละ พอดีพอควรแล้ว"
- ท่านพิจารณาเกิดปีติยินดีว่า คงจะมีวาสนาบารมีอยู่ในเพศพรหมจรรย์ จึงเร่งทำความเพียรต่อไป

- 2489 พรรษาที่ 4 ท่านได้ติดตาม พระอริยคุณาธาร (มหาเส็ง ปุสฺโส) ไปอยู่กับพระอ.มั่น วัดป่าบ้านหนองผือ สกล
- ขณะที่ท่านอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือใหม่ๆ ใจก็อดคิดตามประสาปุถุชนไม่ได้ว่า
"เขาเล่าลือกันว่า ท่านพระอาจารย์ใหญ่เป็นพระอรหันต์ เราก็ไม่ทราบว่าจริงหรือไม่ ถ้าเป็นอรหันต์จริง คืนนี้ก็ให้มีปาฏิหาริย์ให้เห็นปรากฎด้วย"
- คืนวันนั้น พอท่านภาวนา ก็ปรากฎนิมิตเห็นท่านพระอ.มั่นเดินจงกรมอยู่บนอากาศ และเหาะขึ้นลงตลอดเวลา และเวลานอนหลับก็ยังฝันเห็นนท่านเดินอยู่บนอากาศเช่นเดียวกัน - ท่านจึงยกมือไหว้ และกล่าวขอขมาว่าเชื่อแล้ว

- หลังจากนั้น ท่านก็เกิดคิดขึ้นมาอีกว่า
"เอ เขาว่าท่านอาจารย์ใหญ่รู้วาระจิตของลูกศิษย์ทุกคน จริงไหมหนอ เราน่าจะทดลองดู ถ้าท่านอาจารย์ใหญ่รู้วาระจิตของเรา ขอให้ท่านอาจารย์ใหญ่มาหาเรา ที่กุฏิคืนวันนี้เถอะ"
- พอท่านคิดได้ประเดี๋ยวเดียว ก็ได้ยินเสียงไม้เท้าเคาะใกล้เข้ามา และกระแทกเปรี้ยงเข้าที่ฝากุฏิของท่าน พร้อมกับเสียงพระอ.มั่นเอ็ดลั่นว่า
"ท่านจวน ทำไมจึงไปคิดอย่างนั้น นั่นไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ รำคาญเรานี่"

- พรรษาที่ 5-6 ปี2490-2491 จำพรรษาที่วัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่ คืนหนึ่ง ขณะนั่งภาวนาในโบสถ์มีนิมิตว่า มีพระเถระรูปหนึ่งได้มาให้โอวาทตักเตือนว่า
"ท่านจวน ท่านอย่าวางแผ่นดิน เพราะความประพฤติของท่านยังไม่สม่ำเสมอ"
- ท่านได้มาพิจารณาดู - แผ่นดินแปลว่า ให้มีความหนักแน่นเหมือนแผ่นดิน - เมื่อถูกกระทบกระเทือนจากอารมณ์ ก็อย่าวอกแวกตั้งใจให้เป็นสมาธิ ไม่หวั่นไหวฟุ้งซ่าน - ท่านจึงได้เขียนจดหมายกราบเรียนถามพระอ.มั่นถึงนิมิตนี้
- พระอ.มั่นได้ตอบจดหมายว่า
"ถึงท่านจวนที่อาลัยยิ่ง
...ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผมได้แนะนำให้ท่านนั้น ขอให้ท่านจงตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติดำเนินไปตามคำที่ผมแนะนำ อย่าได้ประมาท เพื่อจะได้เป็นเกียรติยศแก่พระพุทธศาสนาต่อไป"


- หลังจากนั้นท่านออกวิเวกอยู่บนดอยกับชาวเขาทางเหนือติดพม่า เข้าเชียงตุง พม่า แล้วกลับอีสาน- เมื่อกราบนมัสการพระอ.มั่นที่วัดบ้านหนองผือ พระอ.มั่นได้ถามว่าการภาวนาเป็นอย่างไรบ้าง - ท่านกราบเรียนว่า
"ไม่ดีเหมือนอยู่กับพ่อแม่ครูบาอาจารย์"
พระอ.มั่นจึงบอกว่า "ต่อไปนี้ให้ภาวนาอยู่ทางภาคอีสานนี้แหละ อย่าไปที่อื่นอีกเลย"
- จากนั้นท่านธุดงค์อยู่ป่าเขาถ้ำอีสานมาตลอด

- พรรษา 27-38 พ.ศ.2512-2523 ท่านสร้างวัดเจติยาคิรีวิหาร (ภูทอก) อ.ศรีวิไล หนองคาย ให้เป็นศาสนสถานที่สำคัญสำหรับผู้มุ่งปฏิบัติธรรม - เมื่อใครไปแล้วต่างเกิดซาบซึ้งศรัทธาถ้วนหน้า


- อนุปาทิเสสนิพพานวันอาทิตย์ที่ 27 เมย.2523 - ด้วยอุบัติเหตุเครื่องบินตก ณ ท้องนาทุ่งรังสิต อ.คลองหลวง ปทุมธานี - พร้อมกับพระอ.บุญมา ฐิตเปโม, พระอ.วัน อุตฺตโม, พระอ.สิงห์ทอง ธมฺมวโร, พระอ.สุพัฒน์ สุขกาโม
- 59 ปี 38 พรรษา
__________________________________________________________________

25. พระอ.สิงห์ทอง ธมฺมวโร - วัดป่าแก้วชุมพล บ้านชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร


- พระอริยเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ประเภทสุขวิปัสสโก
- เป็นผู้เคร่งครัดปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ, มีปฏิปทาเที่ยงตรงต่ออริยมรรคอริยผล, มีนิสัยเด็ดเดี่ยวเอาจริงเอาจัง, มีความเพียรเป็นเลิศ, โปรดการเดินจงกรมเป็นพิเศษ, การใช้ปัจจัยสี่ก็ใช้อย่างประหยัดมัธยัสถ์ ไม่สุรุ่ยสุร่าย แม้ของนั้นจะมีมากก็ตาม, ท่านไม่นิยมการก่อสร้างทุกชนิด, แม้งานในวัดก็ไม่ให้มี, ชอบให้พระเณรสร้างจิตใจเพื่อมรรคผลนิพพาน

- ท่านเป็นพระผู้มีอารมณ์ขัน, แสดงออกตรงไปตรงมา, อารมณ์ดีเสมอ, เทศนาและโอวาทท่านน่าฟังมาก โดยเฉพาะเมื่ออยู่กับศิษย์ใกล้ชิด ท่านจะมีเรื่องราวขำขันชวนหัวเราะอยู่เสมอ แต่เป็นหลักธรรมชวนพิจารณา

- ท่านเป็นศิษย์ใกล้ชิดหลวงตามหาบัว และได้รับความไว้วางใจจากหลวงตามหาบัวเป็นพิเศษ
1. ให้เป็นประธานฝ่ายบรรพชิตในการดำเนินงานศพของหลวงปู่บัว - พระอริยเจ้าแห่งวัดป่าหนองแซง อุดร
2. ให้เป็นประธานดำเนินงานศพของหลวงตามหาบัว หากหลวงตาละสังขารไปก่อนท่าน

- เกิดวันเสาร์ 12 กค. 2467- ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 8 ปีชวด - บ้านศรีฐาน ต.กระจาย ยโสธร
- ท่านมีเพื่อนสหธรรมิกและเพื่อนตาย คือ พระอ.จวน กุลเชฏฺโฐ, พระอ.วัน อุตฺตโม - ท่านทั้งสามมักจะไปไหนไปด้วยกัน, รับกิจนิมนต์มักจะไปพร้อมกัน, แม้สุดท้ายนิพพาน ท่านก็นิพพานพร้อมกัน

- ระหว่างจำพรรษาที่วัดป่าศรีฐานใน ท่านได้เกิดสุบินนิมิตว่า
"มีพาหนะ 3 ชนิดคือ ช้างเผือก, ม้าขาว และวัวอุสุภราช - ท่านได้ขี่พาหนะทั้ง 3 ตัวในขณะเดียวกัน และได้ยินเสียงดนตรีบรรเลงออกมาจากหมู่บ้าน ดังมายังศาลาวัด คล้ายชาวบ้านจะมาทอดผ้าป่าหรือทำการกุศลชนิดใดชนิดหนึ่ง - แต่พอมาถึง ปรากฎว่าไม่มีคน มีแต่ดอกไม้นานชนิดลอยมาสูงระดับหน้าอกแล้วเวียนรอบศาลา - ตื่นจากความฝัน ทำให้ท่านมั่นใจว่า การบวชของท่านนั้นจะบรรลุผลอันพึงพอใจ"

- พรรษาที่ 5 จำพรรษากับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ - วัดป่าบ้านนาหัวช้าง อ.พรรณานิคม ปัจจุบันคือวัดป่าอุดมสมพร
- พรรษาที่ 6 จำพรรษากับหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร - วัดป่าบ้านโคกมะนาว อ.พรรณานิคม ท่านเล่าว่า
"การภาวนาเริ่มจะยาก ภาวนาผ่านทุกขเวทนาไม่ได้" ต่อสู้หลายหนแต่เอาชนะไม่ได้ -จึงนำอุบายที่หลวงตามหาบัวแนะนำ โดยให้ใช้สติปัญญาพิจารณาแยกแยะธาตุขันธ์ด้วยการตั้งสัจจะว่า
"จะสู้กับทุกขเวทนี้แบบสละชีวิต เพื่อให้รู้เห็นความจริงของทุกข์ ถึงแม้จะปวดหนักปวดเบาขนาดไหน จะไม่ยอมลุกหนี จะปล่อยให้มันออกมาเลย - ถ้าผ่านทุกขเวทนี้ไม่ได้แล้ว จะไม่ยอมลุกจากที่นั่งเด็ดขาด"
- ท่านต่อสู้อยู่นานหลายชั่วโมง ปรากฎว่าท่านผ่านไปได้ จิตสงบรวมลงน่าอัศจรรย์ ทำให้ท่านมีกำลังใจในการปฏิบัติอย่างมาก

- วิเวกไปอ.สว่างแดนดิน, อ.ส่องดาว,อ.วาริชภูมิ ได้ไปพักกับหลวงปู่ขาว อนาลโย - ขณะพักที่บ้านหวายสะนอย (ภูเหล็ก) อ.ส่องดาวกับหลวงปู่ขาวนั้น ท่านว่าการภาวนาดีมาก นอนนิดเดียวก็อิ่ม จิตสงบละอียดดีมาก
- 2495-2497 พรรษาที่ 9-11 จำพรรษากับหลวงตามหาบัว ที่บ้านห้วยทราย อ.คำชะอี มุกดาหาร
-2499-2502 พรรษาที่ 13-16 จำพรรษากับหลวงตามหาบัวที่วัดป่าบ้านตาด อุดร
- 2508 หลวงปู่ขาวได้แนะนำให้ชาวบ้านชุมพล ไปนิมนต์ท่านมาอยู่เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าแก้วชุมพล

- อนุปาทิเสสนิพพานวันอาทิตย์ 27 เม.ย. 2523 - ด้วยอุบัติเหตุเครื่องบินตก ณ ท้องนาทุ่งรังสิต คลองหลวง ปทุมธานี - พร้อมกับพระอ.บุญมา ฐิตเปโม, พระอ.จวน กุลเชฏฺโฐ, พระอ.วัน อุตฺตโม, พระอ.สุพัฒน์ สุขกาโม
- 55 ปี 35 พรรษา
__________________________________________________________

26. หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต- วัดภูจ้อก้อ ต.หนองสูงใต้ อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร

- พระอริยเจ้าผู้เป็นดั่งผ้าเช็ดเท้าท่านพระอ.มั่น
- ท่านบากบั่น อุตสาหะ, พยายามอย่างยิ่งยวดเพื่อหาทางพ้นทุกข์ ,บารมีธรรมคำสั่งสอนเป็นที่ซาบซึ้งถึงใจ และหยั่งรากฝังลึกลงในหัวใจของมหาชน, สั่งสอนศิษย์ด้วยเมตตาธรรม ดุจพ่อแม่อบรมสั่งสอนลูก
- เป็นศิษย์รุ่นสุดท้ายของพระอ.มั่นที่สำคัญยิ่งรูปหนึ่ง,หลังท่านละสังขารไม่นาน อัฐเป็นพระธาตุ
- หลวงตามหาบัวชมและยกย่องท่านว่า
"เป็นพระที่ซื่อสัตย์ต่อครูอาจารย์ เอาใจใส่ในอาจาริยวัตรเสมอ, แม้ถูกดุด่าก็อดทนต่อคำสั่งสอน ไม่เหนื่อยหน่ายต่อโอวาทธรรมที่ครูอาจารย์พร่ำสอน และเป็นดั่งผ้าเช็ดเท้าของท่านอาจารย์มั่น"

- ท่านถวายอุปัฏฐากแด่ท่านพระอ.มั่นอย่างใกล้ชิด, มีภาระหลายหน้าที่ เช่น สรงน้ำ, ซักย้อมสงบจีวร, ตามไฟถวายเมื่อองค์ท่านจงกรมในยามค่ำคืน่, ดูแลไฟให้ความอบอุ่นยามหนาวเย็น, ชำระอุจจาระปัสสาวะเมื่อองค์ท่านอาพาธ - ท่านได้สังเกตศึกษา ปฏิปทา และจริยาวัตรพระอ.มั่นอย่างใกล้ชิดต่อเนื่องตลอดเวลา 4 ปีสุดท้ายของพระอ.มั่น

- เกิดวันจันทร์ 19 กพ.2454 - ขึ้น 3 ค่ำ ปีกุน - บ้านกุดสระ อ.เมือง อุดร
- อายุ 18 ปี บวชเณร, อุปสมบท 2473 ไม่นานลาสิกขา - ได้แต่งงาน 2 ครั้ง มีบุตร 1 คนกับภรรยาคนแรก, มีบุตร 3 คนกับภรรยาคนต่อมา
- อายุ 32 ปี บวชอีกครั้ง 2486 , ญัตติเป็นธรรมยุต 2488

- 2489 ฝากตัวเป็นศิษย์พระอ.มั่น และตั้งสัจวาจาว่า
"ขอมอบกายถวายชีวิตต่อท่านพระอ.มั่น ผูกขาดทุกลมปราณ ตลอดทั้งคณะสงฆ์ในที่นี้ทุกๆ องค์ด้วย"
- พระอ.มั่น สอนสั้นๆว่า
"กรรมฐาน 40 ห้อง เป็นน้องอาปานสติ - อานาปานสติเป็นยอดมงกุฎของกรรมฐานทั้งหลาย"

- หลวงตามหาบัว ซึ่งเป็นพระเถระที่ดูแลหมู่คณะได้กล่าวเตือนว่า
"เอาให้ดีนะ เมื่อคุณได้มอบกายถวายตัวกับองค์ท่านแบบแจบจมอย่างนี้แล้ว ต้องเข่นหนักนะ"

- 2493 จำพรรษากับหลวงปู่เทสก์ เทสฺรงฺสี- วัดโคกลอย พังงา
- 2494-95 จำพรรษากับหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ - วัดป่าตะโหนด อ.ตะกั่วทุ่ง พังงา
- 2496-2499 จำพรรษากับหลวงตามหาบัว - ป่าบ้านห้วยทราย อ.คำชะอี มุกดาหาร
- 2500 เป็นต้นมา จำพรรษาที่วัดภูจ้อก้อ

- 19 มค.2539 หลวงตามหาบัว ได้มาเยี่ยมอาการอาพาธของหลวงปู่หล้า ซึ่งแพทย์กราบเรียนว่าไม่สามารถแก้ไขให้ดีขึ้นอีกได้ - หลวงตามหาบัวได้เมตตาแนะนำว่า เมื่อการรักษาไม่เกิดประโยชน์อะไรแล้ว ก็ควรหยุดการรักษา ปล่อยให้ท่านอยู่กับธรรมชาติของท่าน"

- ละสังขาร 19 มค.2539 เวลา 13.59
- ถวายเพลิงศพ 28 มค.2539 โดยหลวงตามหาบัวเป็นประธาน
- 84 ปี 52 พรรษา
___________________________________________________________

27. หลวงปู่ผาง ปริปุณฺโณ- วัดประสิทธิธรรม บ้านดงเย็น อ.บ้านดุง อุดรธานี

- พระอริยเจ้าผู้ปรารภความเพียร
- ท่านท่องเที่ยวธุดงค์ไปทั่วไทย, ไม่หวั่นไหวในสุขและทุกข์, นอบน้อมถ่อมตนเข้าหาสำนึกครูบาอาจารย์เสมอ, มีความเป็นอยู่เรียบง่าย แต่ทุกท่วงท่ากิริยาแฝงไปด้วยความหมายแห่งธรรม

- ท่านเป็นศิษย์ต้นและเป็นทายาทธรรมของหลวงปู่พรหม จิรปุญโญ
- ท่านได้ปฏิบัติธรรมติดตามพระอรหันต์องค์สำคัญๆทั้งนั้น เช่น พระอ.มั่น, หลวงปู่พรหม , หลวงปู่แหวน, หลวงปู่ฝั้น, หลวงปู่ชอบ, หลวงปู่ขาว, หลวงปู่ตื้อ, หลวงปู่เทสก์ เป็นต้น

- เกิด 5 เมย.2469 - แรม 6 ค่ำ เดือน 4 ปีขาล - บ้านดงเย็น อุดร
- อุปสมบทอายุ 20 ปี- 2490 จำพรรษากับหลวงปู่พรหมที่วัดประสิทธิธรรมกับหลวงปู่พรหม, ออกพรรษาแล้วได้ติดตามพระอ.มั่น ที่วัดบ้านหนองผือ สกล
- 2491 ตั้งใจจะไปจำพรรษากับพระอ.มั่น แต่กุฏิไม่เพียงพอ - พระอ.มั่นจึงเมตตาให้ท่านไปจำพรรษาที่วัดม่วงไข่ สกล
- 2492 จำพรรษาภูเก้า อ.โนนสัง อุดร - ออกพรรษา วิเวกไปอ.ศรีเชียงใหม่ หนองคาย พักศึกษากับหลวงปู่เทสก์
- 2493 ติดตามหลวงปู่พรหม ซึ่งเตรียมงานประชุมเพลิงองค์หลวงปู่มั่น และได้กราบนมัสการหลวงปู่ขาว - ติดตามหลวงปู่ขาวไปธุดงค์ตามเทือกเขาภูพาน ,ไปศึกษากับหลวงปู่คำดี ปภาโสที่วัดถ้ำผาปู่ เลย ติดตามหลวงปู่คำดีไปยังภูเขาควาย ประเทศลาว
- 2494 จำพรรษาวัดบ้านนาเชือก จ.เลย, ออกพรรษาไปอุปัฏฐากหลวงปู่พรหม- ได้ปฏิบัติธรรมกับหลวงตามหาบัว ,หลวงปู่บัวคำ ,อ.บัว ที่บ้านสามผง
- 2496 จำพรรษากับพระอ.ทองสุก,พระอ.เมฆที่อ.วังสะพุง - ออกพรรษาแล้ววิเวกไปถ้ำผาบิ้ง เพื่อศึกษาธรรมกับหลวงปู่ชอบ
- 2497 ศึกษาธรรมกับหลวงปู่แหวน ที่วัดป่าบ้านปง อ.แม่แตง เชียงใหม่ - หลวงปู่ชอบพาท่านธุดงค์ไปวัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว เชียงใหม่ ได้พบหลวงปู่สิม,หลวงปู่ตื้อ, หลวงปู่หลุย
- 2506 วิเวกทางดงหม้อทอง, ภูวัว ภูทอก -ไปพักกับพระอ.จวน แล้ววิเวกต่อยังภูลังกา
- 2507 จำพรรษากับหลวงตามหาบัว ที่วัดป่าบ้านตาด, วิเวกทางหนองคาย, ลุ่มน.โขง
- 2508 จำพรรษาที่น้ำหนาว เพชรบูรณ์
- 2509 จำพรรษาที่วัดป่าแก้วชุมพล กับพระอ.สิงห์ทอง ธมฺมวโร จ.สกลนคร
- 2512-2516 จำพรรษาที่วัดประสิทธิธรรม ประชุมเพลิงหลวงปู่พรหมเรียบร้อย ท่านได้นำคณะศรัทธาก่อสร้างเจดีย์บรรจุอัฐธาตุและอัฐบริขารของหลวงปู่พรหม
- 2539 จำพรรษาที่วัดประสิทธิธรรม บ้านดงเย็น อ.บ้านดุง อุดร

- อนุปาทิเสสนิพพานด้วยโรคมะเร็งในตับ - ศุกร์ 15 กพ. 2545 - 23.35 น.
- 76 ปี 54 พรรษา
__________________________________________________________

28. หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต - วัดอุดมคงคาคีรีเขต (ดูน) ต.นางาม อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

- พระอริยเจ้าผู้เป็นที่พึ่งของเหล่าพวกกายทิพย์ มีภูตผี พญานาค เทวบุตร เทวดา เป็นต้น
- เหล่าเทวดามักเรียกชื่อท่านว่า "หลวงพ่อน้อยสัตย์ซื่อ" - เพราะเทวดาเอาเหล็กไหลของศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายมาวางไว้ในถ้ำน้ำหนาวที่ท่านพักภาวนาอยู่ ท่านไม่เคยจะสนใจจะหยิบฉวยเอาเลย
- หลวงตามหาบัวกล่าวยกย่องท่านว่า "ท่านเป็นพระประเภทเพชรน้ำหนึ่ง"

- ท่านอุปสมบทถึง 3 ครั้ง ครั้งสุดท้ายได้ถวายตัวเป็นศิษย์พระอ.มั่น ที่วัดบ้านหนองผือ
- พระอ.มั่นได้ให้โอวาทว่า "ให้เที่ยวไปองค์เดียว อยู่คนเดียว และตายคนเดียว"

- ท่านรู้ภาษาสัตว์ ไม่ว่าสัตว์บกหรือสัตว์น้ำ ท่านสามารถสั่งสอนให้อยู่ในโอวาทได้อย่างน่าอัศจรรย์ โดยเฉพาะจระเข้กับงู ผูกพันใกล้ชิดกับท่านเป็นพิเศษ - ท่านสามารถเรียกให้ไปมาได้
- วันที่ท่านนิพพาน จระเข้ที่ท่านเลี้ยง ร้องไห้เสียงดังถึง 3 วัน - ท่านจึงมีคุณสมบัติเด่นในเรื่องลึกลับที่ปุถุชนสัมผัสและเข้าใจได้ยาก

- ท่านเป็นพระพูดน้อยแต่ปฏิบัติมาก ธรรมะที่ท่านแสดงใจความสั้นๆ แต่แหลมคมว่า
"ชีวิตของเรามีเพียงบาตรใบเดียวก็อยู่ได้ และเพียงพอแล้ว"
ท่านทรงจำภาษิตอีสานเก่าๆ ที่เป็นคติธรรมเตือนใจ เช่น
"มีซือบ่ให้ปรากฎ มียศบ่ให้ลือชา มีตำราบ่ให้เฮียนยาก"

- สิ่งใดๆ ถ้าท่านได้ตั้งสัจจะว่าจะทำอะไรแล้ว ท่านจะต้องทำได้จริงๆ แม้นจะยากลำบากสักเพียงใด ท่านจะพยายามทำให้สำเร็จจนได้
- สัจจะบารมี คือคุณธรรมอันเลิศที่หลวงปู่ผางถือปฏิบัติ และเป็นปฏิปทาที่ควรถือเอาเป็นแบบอย่าง

- หลวงปู่คำดี ปภาโส พระอริยเจ้าแห่งวัดถ้ำผาปู่ จ.เลย ได้กล่าวยกย่องหลวงปู่ผางว่า
"หลวงพ่อผาง ท่านเป็นพระที่ปฏิบัติจริงจังมาก ปฏิบัติแบบสละชีวิต ในคราวที่ท่านบำเพ็ญเพียรที่ถ้ำน้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ ในปี 2513 ได้พบโมกขธรรม(หลุดพ้น) จิตของท่านสว่างไสวทั้งกลางวันและกลางคืน"

- เกิดอังคาร 5 สค.2445 - ขึ้น 2 ค่ำเดือน 9 ปีขาล - บ้านกุดกะเสียน อ.เขืองใน อุบล
- 2465 อายุ 20 อุปสมบทพระมหานิกาย และลาสิกขา ได้มีครอบครัวอยู่หลายปี แต่ไม่มีลูก
- อายุ 43 ปี ได้ชวนภรรยาออกบวช ภรรยาได้บวชเป็นแม่ชี ท่านบวชในสงฆ์มหานิกาย แต่ไปศึกษากับพระอ.สิงห์ และพระอ.มหาปิ่น จึงเกิดความเลื่อมใส
- อายุ 47 ปี ขอญัตติ 2491 - อบรมในสำนักพระอ.สิงห์พอสมควร จึงธุดงค์วิเวกลำพัง และเข้าอบรมกับพระอ.มั่น พอสมควร จากนั้นท่องเที่ยววิเวกผู้เดียวในป่าเขาจ.เพชรบูรณ์ ถิ่นทุรกันดารหลายปี
-2492 จำพรรษาวัดป่าบังลังก์ศิลาทิพย์ บ้านแท่น ,แล้วธุดงค์ต่อยังภูผาแดง อ.มัญจาคีรี - ชาวบ้านเรียนที่นั่นว่า "ดูน" มีน้ำไหลออกมาจากภูเขาตลอดปี และชาวบ้านถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะไม่มีพระรูปใดเข้าไปอยู่ได้ - ท่านอยู่จำพรรษาที่นั่นหลายปี และได้ตั้งชื่อวัดว่า "วัดอุดมคงคาคีรีเขต"

- วันเสาร์ที่ 30 เม.ย.2520- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษ์ เสด็จพระราชดำเนินปิดทองฝังลูกนิมิต และนมัสการหลวงปู่ผาง

- อนุปาทิเสสนิพพาน 24 มีค.2525 เวลา 16.45- วัดอุดมคงคาคีรีเขต
- 80 ปี 34 พรรษา






Create Date : 23 มีนาคม 2553
Last Update : 1 กันยายน 2554 19:28:36 น.
Counter : 7126 Pageviews.

2 comment
28 พระอรหันต์เมืองไทย - ตอน 3
สวัสดีค่ะ
รายชื่อ 28 พระอรหันต์นี้ หลวงตามหาบัวได้เป็นผู้พิจารณาอาราธนานิมนต์
พระอรหันตธาตุมาประดิษฐานไว้ที่พระธุตังคเจดีย์ วัดอโศการามค่ะ
ขอสรุปประวัติย่อของพระอรหันต์เมืองไทยต่อนะคะ จากหนังสือ 28 พระอรหันต์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


18. หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน (พระธรรมวิสุทธิมงคล) - วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง อุดรธานี

- พระอริยเจ้าผู้เป็นมหาบุรุษของแผ่นดิน
- ท่านยิ่งใหญ่ด้วยบุญบารมี เป็นมหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุค, ทำประโยชน์ใหญ่ให้แก่ชาติและพระพุทธศาสนา, เป็นพระของแผ่นดินไทยที่ประวัติศาสตร์ต้องจดจารึกเป็นศักดิ์ศรีและเกียรติยศประดับวงศ์พระพุทธศาสนาอย่างสง่างาม, ปฏิปทาและคำสอนของท่านหาผู้ใดเสมอเหมือนได้ยาก
- ท่านสามารถทำในเรื่องที่บุคคลอื่นทำได้ยาก เรื่องที่ยากแสนยาก เมื่อท่านดำริ กลับเป็นเรื่องง่ายประดุจพลิกแผ่นดินได้ ท่านคิดทำเรื่องใดไม่ว่าน้อยใหญ่ กิจนั้นสำเร็จราวปาฏิหาริย์

- ท่านเล่าว่า "เดิมจริงๆ ท่านเคยปรารถนาพุทธภูมิ แต่มาพิจารณาเห็นว่าจะเป็นการเนิ่นช้า จึงถอนความปรารถนานั้นเสีย มุ่งตรงเข้าสู่แดนนิพพานโดยตรง"
- พระอ.มั่น ไว้วางใจและยกย่องท่านว่า
"เป็นผู้ฉลาดทั้งภายนอกภายใน ต่อไปจะเป็นที่พึ่งแก่หมู่คณะได้มาก"
ยามที่พระอ.มั่นนิพพานไป ท่านจึงเป็นแม่ทัพใหญ่ ทดแทนสืบทอดมรดกมรรคปฏิปทาเหมือนยามที่ท่านพระอ.มั่นยังปรากฎอยู่

- 2482 พระอ.มั่นได้กล่าวยกย่องและทำนายภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งซึ่งยังไม่เคยพบเห็นกันมาก่อน ด้วยอนาคตังสญาณว่า
"ในอนาคตอีกไม่นาน จักมีพระหนุ่มรูปหนึ่ง เข้ามาหาเราเพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ เธอจะทำประโยชน์ใหญ่ให้แก่ประเทศชาติและพระพุทธศาสนา"
- และต่อมาเป็นที่ทราบกัว่า ภิกษุหนุ่มรูปนั้นคือ "พระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน"

- เกิด 12 สค.2456 - บ้านตาด อุดรธานี
- ก่อนเกิด โยมบิดาได้สุบินนิมิตว่า "ได้มีด มีดด้ามงาที่ฝักเคลือบด้วยเงิน"
โยมมารดาสุบินนิมิตว่า "ได้ต่างหูทองคำ 1 ข้าง สวยงามมาก"
- โยมตาได้ทำนายสุบินนิมิตไว้ 2 อย่าง
1. ถ้าไปในทางชั่ว มหาโจรสู้ไม่ได้ ยังเป็นหัวหน้ามหาโจรอีก
2. ถ้าไปในทางที่ดีแล้ว จะดีจนถึงที่สุด

- ท่านศึกษาปริยัติ 7 ปี สอบได้นักธรรมเอกและเปรียญธรรม 3 ประโยค - ได้รับความอนุเคราะห์จากสมเด็จมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) เป็นอย่างยิ่ง

- 2485-2492 ท่านได้ไปศึกษาและปฏิบัติธรรมกับพระอ.มั่น 8 ปี - ยอมสยบในภูมิจิตภูมิธรรมอันละเอียดอ่อนแยบยลที่ท่านพระอ.มั่นอบรมสั่งสอนถึง 3 วาระ
- วาระที่ 1 - ท่านนั่งสมาธิตลอดรุ่งติดต่อกันหลายวัน จนก้นพุพองแตกน้ำเหลืองไหลเยิ้ม -
พระอ.มั่นให้อุบายว่า "กิเลสไม่ได้อยู่ที่กายนะ มันอยู่ที่ใจ -เหมือนสารถีฝึกม้า ถ้าม้าหายพยศ การฝึกหนักควรลดลง"
- วาระที่ 2 - ท่านติดสมาธิอยู่ถึง 5 ปี ่จิตสงบแน่วไม่หวั่นไหวดั่งภูผาหิน
พระอ.มั่นให้อุบายว่า "สุขในสมาธิเท่ากับเนื้อติดฟัน -สมาธิทั้งแท่ง เป็นสมุยทัยทั้งแท่ง - ให้ออกเดินทางด้านปัญญา"
- วาระที่ 3 - ท่านเพลินในการพิจารณาด้านปัญญาทั้งวันทั้งคืนเกินตัว ไม่หลับไม่นอน คิดตำหนิสมาธิว่านอนตายอยู่เฉยๆ ปัญญาต่างหากสามารถแก้กิเลสได้ พระอ.มั่นให้อุบายว่า "บ้าหลงสังขาร"
- คือการพิจารณาเพลินเกินตัว ไม่รู้จักประมาณ - สมุทัยแทรกเข้าในจุดนี้ - ให้พักจิตเข้าสมาธิ เหมือนถอนเสี้ยนหนาม -จากนั้นก็เข้าสู้มหาสติมหาปัญญา กิเลสที่ใดตามต้อนจนหมด

- ท่านอยู่อุปัฏฐากรับใช้พระอ.มั่นจนนิพพานในวันที่ 11 พย.2492

- ท่านได้บรรลุธรรมขั้นสูงสุดวันที่ 15 พค.2493 - แรม 11 ค่ำ เดือน 6 - เวลา 5 ทุ่มตรง บนหลังเขา วัดดอยธรรมเจดีย์ จ.สกลนคร

- มกราคม 2553 หลวงตาพระมหาบัวญาณสัมปันโน อายุ 97 ปี พรรษา 76 ได้ยอมสละชีวิตเลือดเนื้อ รบกับความจนในชาติอย่างเด็ดเดี่ยว เมตตามอบทองคำและดอลลาร์เข้าสู่คลังหลวง รวม 15 ครั้ง ทองคำ 967 แท่ง น้ำหนักรวม 12,087.5 กก. ดอลลาร์ 10,214,600$ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนสินทรัพย์ค้ำชูประเทศไทยให้อยู่ยั่งยืนมั่นคง
-(ข้อมูล 2553)

- ด้วยความเมตตาไม่มีประมาณต่อสัตวโลก หลวงตายังสงเคราะห์ต่อไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่ - แม้ชีวิตล้มมลายลงไป ปัจจัยทั้งหมดที่มหาชนศรัทธานำมาถวายในงานศพในอนาคต ท่านมีพินัยกรรมให้นำมอบเข้าสู่พระคลังหลวง ให้เป็นสมบัติของชาติเป็นทุนของลูกหลานสืบไป

- นี่คือชีวิตพระอรหันต์ที่ยังทรงธาตุขันธ์ให้ชาวโลกได้ชื่นชมบุญบารมี - บาทวิถีที่ท่านก้าวย่างผ่านไป นำความสงบสุขและแสงสว่างมาให้แก่สัตวโลกทั้งปวง
_________________________________________________________________________

19. หลวงปู่มหาเขียน ฐิตสีโล (พระอริยเวที) - วัดรังสีปาลิวัน ต.โพน อ.คำม่วง กาฬสินธุ์

พระอริยเจ้าผู้แตกฉานในอรรถและธรรม
- ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ชำนาญทั้งคันถธุระและวิปัสสนาธุระ - ท่านละทิ้งเกียรติยศตำแหน่งในการบริหารคณะสงฆ์ มุ่งเพียงเกียรติอันยิ่งใหญ่คือพระนิพพาน - ละจากความเป็นพระบ้านเข้าสู่ความเป็นพระป่าได้อย่างสนิทใจ

- อุปนิสัยพูดจริงทำจริง, เรียนจริงปฏิบัติจริง บากบั่นมุมานะ ไม่ท้อแท้ต่ออุปสรรคที่มาถึง, รักสงบ, สำรวมระวัง, ปฏิบัติตนเคร่งครัดในธรรมวินัย, ไม่ชอบคลุกคลี, ซื่อตรงต่อธรรมวินัย, หนักแน่นด้วยหิริโอตตัปปะธรรม, มักน้อย, สันโดษ, เรียบง่าย มีระเบียบบริบูรณ์ด้วยข้อปฏิบัติไตรศึกษา ถวายตัวเป็นศิษย์พระอ.มั่น ณ วัดหนองผือนาใน สกล
-ท่านได้บำเพ็ญคุณประโยชน์ไว้ในพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก ทั้งด้านการศึกษา ด้านการปกครอง ด้านการเผยแผ่ ตั้งแต่บรรพชาอุปสมบทจนตลอดอายุขัย

- เกิดวันพุธ 29 ตค 2456 - เดือน12 ปีฉลู - หมู่บ้านโพน อ.คำม่วง กาฬสินธุ์
- 2484 สอบไล่ได้เปรียญธรรม 9 ประโยคที่วัดบวรนิเวศวิหาร พร้อมกับสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)

- ครั้งได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระอ.มั่น กัณฑ์แรกเรื่อง "โทษของการเกิด" และกัณฑ์ที่2 เรื่อง "มุตโตทัย" - ท่านถึงกับลุกจากที่นั่งไปกราบพระอ.มั่น พร้อมกล่าวคำปฏิญาณว่า
"สาสเน อุรํ ทตฺวา ขอมอบกายถวายชีวิตนี้แก่พระพุทธศาสนา ชีวิตทั้งชีวิตนี้ขอมอบไว้ในพระศาสนา ขอให้ท่านพระอาจารย์เป็นสักขีพยานด้วย"
- จากนั้นตราบจนสิ้นอายุขัย ท่านได้ทำสัจวาจานั้นให้เป็นที่ปรากฎแก่ชนทั้งหลาย

- ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดสุทธจินดาลำดับที่ 3 - ท่านมีแนวคิดกว้างไกล บริหารภายในวัด ตั้งเป้าไว้สูงให้พระเณรศิษย์วัดปฏิบัติตามเคร่งครัดและคัดเลือกหมู่คณะเข้ารับการอบรมที่วัดบวร ให้กลับมาเป็นบุคคลากรบริหารวัดช่วยเจ้าอาวาส
- ท่านริเริ่มก่อตั้งมูลนิธิ "สุทธจินดาราชสีมามูลนิธิ" - ได้ผลงานตามวัตถุประสงค์ ทุนทรัพย์เติบใหญ่
- เมื่อวางรากฐานการปกครองและการศึกษา เข้าสู่ความเจริญตามเป้าหมาย - ท่านได้ประกาศท่ามกลางคณะสงฆ์อย่างอาจหาญว่า "จะออกปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานในป่า"
- ตั้งแต่ 2500 เป็นต้น ท่านได้สร้างวัด รังสีปาลิวัน บ้านโพน อ.คำม่วง กาฬสินธุ์ และได้ออกบำเพ็ญตามถ้ำ ผาหลายแห่ง

- ท่านปรารภถึงชีวิตท่านขณะเป็นพระอยู่ในเมืองว่า
"ชีวิตวันหนึ่งคืนหนึ่ง รู้สึกว่าจะน้อยมาก สำหรับที่จะทำความเพียร ไม่เพียงพอเลย - วันหนึ่งๆ มีแต่ต้อนรับผู้คน พูดคุยเรื่องต่างๆ เสียเวลาทำความเพียร เป็นการทำชีวิตให้เป็นหมัน เพราะเรื่องที่พูดนั้นเป็นเรื่องข้างนอกทั้งนั้นเป็นการคลุกคลีด้วยหมู่คณะจนเกินไป อันเป็นทางให้เกิดความประมาท- เป็นปปัญจธรรม คือธรรมอันเป็นเหตุให้เนิ่นช้าในคุณธรรมอันยิ่งขึ้นไป - หลงตัวลืมตัวมัวเมามืดมน อนธการ - คิดๆดูแล้ว ก็สงสารหมู่คณะที่อยู่ในเมือง
ถ้าจะให้เรากลับมาอยู่ในเมืองอีก ให้ตายเสียยังจะดีกว่า - เพราะรู้สึกอึดอัดคับแค้นใจมาก - ฟัง คิด พิจารณา เกิดมากี่ภพกี่ชาติ จึงจะมีโอกาสงามสำหรับบำเพ็ญสมณธรรมเช่นชาตินี้ - "ทุลฺลภขณสมฺปตฺติ" สมณศักดิ์ ตำแหน่ง ห้ามอบายภูมิไม่ได้ - แต่คุณความดี และศีล สมาธิ ปัญญาเท่านั้น ที่ห้ามอบายภูมิได้"

- 4 มิย. 2527 อายุ 71 ปี ท่านป่วยอัมพาต เพราะเส้นโลหิตในสมองแตก ทำให้พูดออกมาไม่เป็นคำพูด ฟังยาก แขนขาซีกขวาไม่ทำงาน ช่วยตัวเองได้ 10% - ท่านป่วยนานถึง 19 ปี ลูกศิษ์ใกล้ชิดช่วยสับเปลี่ยนดูแลพยาบาลมาโดยสม่ำเสมอ
- อนุปาทิเสสนิพพานอย่างสงบ 5 กพ 2546 - เวลา 20.25 - 90 ปี 68 พรรษา
ถวายเพลิงศพวันเสาร์ 15 มีค. 2546
__________________________________________________________

20. หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท - วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม อ.สามโคก จ.ปทุมธานี

พระอริยเจ้าผู้เป็นดั่งผ้าขี้ริ้วห่อทอง - เด็ดเดี่ยวอาจหาญ
- พระอ.มั่นได้ยกย่องท่านว่า "เป็นผ้าขี้ริ้วห่อทอง"
- อุปนิสัยตรงไปตรงมา มีปฏิปทา ยอมหักไม่ยอมงอ , ท่านสละอวัยวะ ทรัพย์ และชีวิตเพื่อธรรม, เป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที, จงรักภักดีต่อท่านพระอ.มั่นยิ่งกว่าชีวิต
- ท่านได้รับความไว้วางใจจากพระอ.มั่น ให้เดินทางไปเฝ้าอุปัฏฐากหลวงปู่เสาร์ ซึ่งอาพาธหนักถึงเมืองนครจำปาศักดิ์ ลาว จนกระทั่งหลวงปู่เสาร์มรณภาพ

- ท่านไม่กว้างขวางเรื่องปริยัติธรรมภายนอก, รอบรู้เฉพาะเรื่องจิตตภาวนา - ท่านปฏิบัติลำบาก แต่รู้เร็ว - คำสอนของท่านเป็นปัจเจกะ มุ่งเน้นด้านจิตใจ - ท่านมีบารมีธรรมที่บ่มบำเพ็ญมาแต่ชาติปางก่อน เป็นสิ่งที่ช่วยเกื้อหนุนอยู่อย่างลึกลับ การปฏิบัติของท่านจึงนับว่ารู้ธรรมเร็วในยุคปัจจุบัน
- ท่านสอนให้พวกเรามองอะไร ไม่ควรมองแต่เพียงด้านเดียว - การมองอะไร ไม่เพียงใช้สายตาเป็นเครื่องตัดสินเท่านั้น แต่ต้องใช้แววตาคือปัญญา - เหมือนดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงสว่างแก่โลก ย่อมไม่ละเลยทั้งกอไผ่และภูผา
- การปฏิบัติของท่านมุ่งเน้นที่ผลการปฏิบัติ มากกว่ารูปแบบการปฏิบัติ เพราะนี่เป็นนิสัยสะท้านโลกาและปฏิปทาที่เป็นปัจจัตตัง ยากที่ใครๆ จะเลียนแบบได้

- หลวงตามหาบัว ได้ยกย่องชมเชยท่านว่า "พระอาจารย์เจี๊ยะเป็นผ้าขี้ริ้วห่อทอง เป็นเพชรน้ำหนึ่งที่หาได้โดยยากยิ่ง"

- เกิดวันอังคาร 6 มิย.2459 - ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 7 ปีมะโรง - บ้านคลองน้ำเค็ม อ.แหลมสิงห์ จันทบุรี
- ค้าขายผลไม้, นิสัยนักเลง, ตรงไปตรงมา, จริงจังในหน้าที่การงาน, ยอมหักแต่ไม่ยอมงอ, พูดจาโฮกฮาก ไม่กลัวคน
- อุปสมบท 11 กค 2480 วัดจันทนาราม
- จำพรรษากับพระอ.กงมา ที่ป่าช้าผีดิบบ้านหนองบัว ปัจจุบันคือวัดทรายงาม จันทบุรี

- ท่านปฏิบัติกรรมฐานด้วยอิริยาบถ 3 คือ ยืนภาวนา, เดินจงกรม, นั่งสมาธิ แบบสละตาย ด้วยการตั้งสัจจะอธิษฐานว่า
"ข้าพเจ้าจะถือเนสัชชิก คือ ในเวลาค่ำคืน ไม่นอนตลอดไตรมาส - ด้วยพุทธานุภาพ ธัมมานุภาพ สังฆานุภาพ ถ้าหากแม้นว่าข้าพเจ้าไม่ทำตามสัจจะนี้ ขอให้ข้าพเจ้าถูกฟ้าผ่าตาย, แผ่นดินสูบตาย, ไฟไหม้ตาย, น้ำท่วมตาย - แต่ถ้าหากว่าข้าพเจ้า ปฏิบัติตามสัจจะที่ตั้งไว้ได้ ขอจงเป็นผู้เจริญงอกงามในธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วเทอญ"

- พรรษาที่ 3 จิตท่านเกิดรวมครั้งใหญ่ใต้ต้นกระบก ด้วยการหยั่งสติปัญญาลงในกายานุปัสสนา หยั่งลงสู่ความจริงประจักษ์ใจ -โลกสมมุติทั้งหลายไม่มีปรากฎขึ้นกับใจ ประหนึ่งว่าแผ่นดินแผ่นฟ้าละลายหมด เหลือแต่จิตดวงบริสุทธิ์เท่านั้น
- ปลายปี 2482 ท่านกราบลาพระอ.กงมา และท่านพ่อลี เดินทางไปยังเชียงใหม่ พร้อมสหธรรมิกคือ พระอ.เฟื่อง โชติโก เพื่อนำธรรมที่รู้เห็นไปเล่าถวายพระอ.มั่น

- พระอ.มั่นทราบเหตุการณ์ล่วงหน้าโดยตลอด จึงปูอาสนะนั่งรอท่า อยู่บนแคร่น้อยๆ - เมื่อได้โอกาสอันสมควรจึงเล่าเรื่องภาวนาให้พระอ.มั่นฟังว่า "ได้พิจารณากาย จนกระทั่งใจนี้มันขาดไปเลย"
- พระอ.มั่นนั่งฟังนิ่ง ยอมรับแบบอริยมุนี ไม่คัดค้านในสิ่งที่เล่าถวายแม้แต่น้อย

- อีกไม่นาน ฟันของท่านพระอ.มั่นหลุด แล้วท่านก็ยื่นให้ - ลป.เจี๊ยะเล่าว่า
"ท่านคงรู้ได้ด้วยอนาคตังสญาณ ว่าเราจะมีวาสนาสร้างภูริทัตตเจดีย์บรรจุทันตธาตุถวายท่านเป็นแน่แท้"
- 2483-2485 หลวงปู่เจี๊ยะเป็นพระคลิานุปัฏฐาก และเป็นปัจฉาสมณะ เป็นประดุจเงาตามตัวพระอ.มั่นมาโดยตลอด
- พระอ.มั่นได้กล่าวชมเชยหลวงปู่เจี๊ยะท่ามกลางหมู่สงฆ์ว่า
"ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ท่านรูปนี้ปฏิบัติลำบากแต่รู้เร็ว - ปฏิบัติเพียง 3 ปี เท่ากับเราปฏิบัติภาวนามาเป็นเวลา 22 ปี อันนี้อยู่ที่นิสัยวาสนา เพราะนิสัยวาสนาของคนมันต่างกัน"

-2492 ท่านภาวนาในป่าดงลึก เชิงเขาบายศรี อ.ท่าใหม่ จันทบุรี เกิดป่วยเป็นไข้มาลาเรียอย่างหนัก ขณะป่วยหนักนั้น ท่านเล่าว่า
"จิตเป็นธรรมชาติที่อัศจรรย์ตลอดเวลา พิจารณาจนกระทั่งจิตดับหมด หยุดความคิดค้น จิตปล่อยวางสิ่งทั้งปวง คว่ำวัฏจักร วัฏจิต แหวกอวิชชาและโมหะอันเป็นประดุจตาข่าย กิเลสขาดสะบั้นออกจากใจ จิตมีอิสระอย่างสูงสุดเกินที่จะประมาณได้"

- 2493 หลังถวายเพลิงศพพระอ.มั่น - ท่านกลับไปจันทบุรี เพื่อโปรดโยมมารดาซึ่งป่วยหนัก หวังจะทดแทนบุญคุณข้าวป้อนด้วยอรรถด้วยธรรม- ท่านจึงสร้างวัดเขาแก้ว ต.ท่าช้าง , และสร้างวัดบ้านสถานีกสิกรรม อ.พลิ้ว ถวายหลวงตามหาบัว

- 2520 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ได้นิมนต์ท่านเป็นเจ้าอาวาส และรวมสร้างวัดญาณสังวราราม ชลบุรี
- 2526 คณะศรัทธาถวายที่ดินบ้านคลองสระ อ.สามโคก ปทุมแก่หลวงตามหาบัว หลวงตาได้นิมนต์ท่านมาอยู่เป็นเจ้าอาส และท่านได้สร้างวัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม

- แม้ท่านจะเป็นเถระผู้ใหญ่ และสร้างวัดใหญ่โตแล้ว ท่านก็ยังเที่ยวภาวนาตามป่าตามเขาท้องถ้ำเงื้อมผา จนร่างกายเดินไม่ไหว
- อนุปาทิเสสนิพพานด้วยความสงบและอาจหาญในธรรม 23 สค 2547 เวลา 23.55 น- รพ.ศิริราช - 88 ปี 68 พรรษา
__________________________________________________________

21. หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ - วัดราษฎรสงเคราะห์ (วัดป่าหนองแซง) อ.หนองวัวซอ อุดร

- พระอริยเจ้าผู้บรรลุโสดาบันตั้งแต่ยังเป็นคฤหัสถ์
- เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ในวัยชรา
- ท่านบวชเป็นตาปะขาวถือศีล8 เคร่งครัด, ติดตามหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ออกธุดงค์ จนบรรลุโสดาบันตั้งแต่เป็นคฤหัสถ์ ท่านมีวิถีจิตมุ่งสู่ความหลุดพ้น
- พระอ.มั่นได้กล่าวทำนายไว้ว่า "ในกาลข้างหน้า ถึงเวลาบารมีสุกงอมเต็มที่ จะมีคนมาโปรด"

- ต่อมา ท่านได้รับอุบายธรรมขั้นสูงจากหลวงตามหาบัว ที่วัดป่าแก้วชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ตามคำทำนายของพระอ.มั่น
- หลวงตามหาบัว แนะวิธีปฏิบัติให้ตอนเย็น- พอรุ่งเช้า ท่านก็จบกิจพรหมจรรย์ เป็นพระอรหันต์
- ท่านเล่าว่า "อวิชชาขาดมันรุนแรงถึงขั้นกายไหว ประหนึ่งว่าคานกุฏิที่อยู่ได้ขาดไปด้วย อัศจรรย์พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ และอัศจรรย์อุบายธรรมที่หลวงตาแนะนำพร่ำสอน -คืนนั้นทั้งคืน จิตตื่นอยู่ไม่หลับไม่นอน เสวยวิมุตติสุข หาสุขอื่นยิ่งกว่าไม่มี"

- หลวงปู่บัว เป็นผู้แก้จิต และแนะนำธรรมขั้นสุดท้ายให้แก่หลวงปู่ศรี มหาวีโร - พระอริยเจ้าแห่งวัดป่ากุง ร้อยเอ็ด - หลวงปู่ศรีจึงเคารพรักท่านเป็นอย่างมาก

- ท่านสามารถระลึกชาติย้อนหลังได้หลายชาติ - ท่านเล่าว่า เคยเกิดที่บริเวณวัดป่าหนองแซงนี้ นานถึง 4 ชาติ และชาตินี้เป็นชาติที่ 5 ชาติสุดท้าย
- ท่านเคยเกิดเป็นหมูป่า, ชาติต่อมาเป็นควายป่า ถูกพรานใจบาปยิงตาย ก่อนตายได้รับทุกข์ทรมานยิ่ง - พรานใจบาปนี้เที่ยวล่าฆ่าสัตว์ตายจำนวนมาก ไม่เคยก่อสร้างบุญกุศล เมื่อเขาตายไปได้เป็นเปรต เสวยผลกรรมเผ็ดร้อน อยู่บริเวณวัดป่าหนองแซงแห่งนี้

- ท่านไม่ได้เรียนเขียนอ่าน แต่ธรรมภายในท่านลึกซึ้ง ท่านภาวนาพุทโธตั้งแต่เป็นฆราวาส, บวชผ้าขาวถือศีล8 เคร่งครัด 3 ปี ติดตามหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ธุดงค์ตามป่าตามเขา ผจญสัตว์ป่าและอันตรายต่างๆ
- ระหว่างเป็นผ้าขาว ได้ฟังธรรมครูบาอาจารย์หลายรูป เช่น พระอ.สุวรรณ สุจิณฺโณ, ลป.สิงห์, ลป.ขาว, ลป.จันทร์ เขมปตฺโต, หลวงปู่อ่อนสา, หลวงปู่คำดี, หลวงตามหาบัว
- แม้อยู่ในวัยชรา แต่ความเพียรพยายามเหมือนพระหนุ่มๆ
- ท่านพอใจต่อการรักษาสัจจะ หากศิษย์คนใดมีจิตใจแน่วแน่ที่จะรักษาสัจจะแล้ว จะเป็นที่นิยมและชอบใจของท่านยิ่งนัก

- เกิด 2431 ที่บ้านเขืองใหญ่ ต.หมูม่น อ.ธวัชบุรี(โป่งลิง) ร้อยเอ็ด
- เป็นช่างประจำหมู่บ้าน, เก่งวิชาอาคมไสยศาสตร์, อาชีพหมอผี ปราบผีสางนางไพร เป็นที่นับถือคนถิ่นนั้น - ท่านยึดมั่นคุณธรรม 2 ประการคือ การมีสัจจะ และการรักษาศีลอย่างเคร่งครัด
- อุปสมบทปี 2482 อายุ 52 ปี วัดบึงพระลานชัย - จำพรรษาอยู่กับพระอ.เพ็ง พุทฺธธมฺโม พระลูกชาย ที่วัดป่าศรีไพรวัน ร้อยเอ็ด

- กลางพรรษาแรก ท่านเจ็บรูหูมาก ได้นั่งสมาธิพิจารณาทุกขเวทนาใต้ต้นลำดวนในวัดติดต่อกัน 3 วัน 3 คืน จึงรู้แจ้งในอริยสัจจ์ จึงเอาชนะความเจ็บปวดได้
- จากนั้นเข้าถวายตัวเป็นศิษย์พระอ.มั่น ที่วัดบ้านหนองผือ สกลนคร - เมื่อไปถึง พระอ.มั่นถามทันทีว่า
"นั่งอยู่ใต้ต้นลำดวนอยู่ 3 วัน 3 คืนนั้น ท่านได้พิจารณาอะไรบ้าง"
- ท่านถึงกับตกใจที่พระอ.มั่นรู้ได้เช่นนั้น จึงกราบเรียนท่านว่า
"กำหนดดูปฏิสนธิตั้งแต่เริ่มแรก พิจารณาการเกิดตั้งแต่เข้าไปอยู่ในครรภ์มารดาต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน"

- 2495 หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ กับพระอ.ศรี มหาวีโร รับนิมนต์จากท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์(จูม พนฺธุโล) วัดโพธิสมภรณ์ อุดร เพื่อสร้างวัดกรรมฐานที่บ้านหนองแซง อุดร - เป็นที่เที่ยวผ่านไปมาของพระอ.กรรมฐานเสมอ เช่น พระอ.ชอบ ฐานสโม, พระอ.หลุย จนฺทสาโร, พระอ.คำดี ปภาโส

- อนุปาทิเสสนิพพาน 2518 - วัดป่าหนองแซง - 87ปี 36 พรรษา
__________________________________________________________

22. หลวงปู่ชา สุภทฺโท (พระโพธิญาณเถร) - วัดหนองป่าพง ต.โนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

พระอริยเจ้าผู้ก้าวล่วงความสงสัยในนิกาย
- ท่านไม่ได้ญัตติเป็นพระฝ่ายธรรมยุต, เป็นผู้ทรงธรรม, เก่งเทศนาโวหารและการเปรียบเปรย, ข้อธรรมของท่านชวนให้คนได้คิดเสมอ, สติปัญญาไว, ดัดนิสัยสานุศิษย์ได้ฉับพลัน, มีบุญบารมีมาก, มีหลวงพ่อพุธ ฐานิโย เป็นสหธรรมิก
- มีนิสัยโน้มเอียงในทางธรรมตั้งแต่วัยเด็ก, กลัวบาป, เป็นคนซื่อสัตย์ ไม่โกหก, รักความยุติธรรม เกลียดความอยุติธรรม, ชอบเล่นแต่งตัวเป็นพระ, พอใจภูมิใจที่ได้แสดงเป็นพระ, ยินดีในผ้ากาสาวพัสตร์และเพศพรหมจรรย์

- ท่านมีความสามารถในการสอนธรรมให้ชาวต่างชาติ, มีศิษย์ต่างชาติจำนวนมาก, มีวัดสาขาทั้งในและต่างประเทศ, มีกฎระเบียบจากวัดหนองป่าพง เป็นต้นแบบทุกสาขาทั่วโลก
- เกิดวันศุกร์ 17 มิย.2461- ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย- บ้านก่อ อ.วารินชำราบ อุบล

- บรรพชาเป็นสามเณ เมื่อ2474 ปฏิบัติครูอาจารย์ 3 ปี และได้ลาสิกขาบทมาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนา
- อุปสมบท 2482 -พรรษาที่ 1-2 สอบนักธรรมชั้นตรีได้ โยมพ่อมักจะบอกว่า "อย่าลาสิกขานะลูก อยู่เป็นพระอย่างนี้แหละดี สึกออกมามันยุ่งยากลำบาก หาความสบายไม่ได้"
- 2490 เดินทางไปกราบนมัสการพระอ.มั่น ที่สำนักหนองผือนาใน สกลนคร - พระอ.มั่นเทศน์สั้นๆว่า "การประพฤติปฏิบัตินั้น ถ้าถือพระธรรมวินัยเป็นหลักแล้ว ก็ไม่ต้องสงสัยในนิกายทั้งสอง" และพระอ.มั่นอธิบายเรื่อง พละ 5,อิทธิบาท 4 - คืนที่ 2 พระอ.มั่นได้แสดงปกิณกธรรมต่างๆ จนจึงท่านคลายความสงสัย มีความรู้ลึกซึ้ง จิตหยั่งสู่สมาธิ เกิดปีติ เหมือนตัวลอยอยู่บนอาสนะ นั่งฟังจนเที่ยงคืน
- ท่านพักสำนักพระอ.มั่นได้ไม่นานนัก แต่ท่านพอใจในรสพระธรรมที่ได้ดื่มด่ำเป็นอย่างยิ่ง ท่านเทียบว่า"คนตาดีพบดวงไฟก็มองเห็นแสงสว่าง ส่วนคนตาบอดถึงจะนั่งเฝ้าดวงไฟ ก็ไม่เห็นอะไร

- หลังกราบนมัสการพระอ.มั่น และศรัทธาท่านแกร่งกล้าขึ้น พร้อมเอาชีวิตเป็นเดิมพันในการทำความเพียร เพราะแนวปฏิบัติชัดเจนขึ้น
- จากนั้น ท่านธุดงค์รอนแรมภาวนาตามป่าเขา ไม่ว่าอยู่ที่ใด มีความรู้สึกว่าพระอ.มั่นคอยติดตามให้คำแนะนำอยู่เสมอ - ผจญภัยอันตรายต่างๆ เป็นไข้ป่า มาลาเรีย ไม่มียารักษาโรค ต้องอาศัยธรรมโอสถช่วยเหลือตนเอง ยอมเป็น ยอมตาย จนจิตใจของท่านกล้าแกร่ง จิตมีธรรมเป็นที่พึ่ง

- ท่านพาลูกศิษย์เดินธุดงค์ไปอ.บ้านแพง นครพนม ได้ขึ้นภูลังกาเพื่อกราบนมัสการ พระอ.วัง - หลังสนทนาแล้ว ท่านเข้าใจในความละเอียดลึกซึ้งของธรรมปฏิบัติมากขึ้น พักอยู่ภูลังกา 3 วันจึงลงมาถึงวัดหนึ่งที่เชิงเขา - ฝนตก ได้หลบฝนเข้าไปนั่งใต้ถุนศาลา จิตกำลังพิจารณาธรรมอยู่ - ทันใดนั้น จิตก็ตั้งมั่นขึ้นแล้วเปลี่ยนไปเหมือนอยู่คนละโลก ดูอะไรก็เปลี่ยนไปหมด เหมือนหน้ามือเป็นหลังมือ, เหมือนแดดจ้าที่มีก้อนเมฆเคลื่อนมาบดบัง แสงแดดก็วาบหายไป, เปลี่ยนนขณะจิตไปวาบๆ ตั้งขึ้นมาก็เปลี่ยนวาบ, เห็นขวด ก็ไม่ใช่ขวด - ดูแล้วไม่เป็นอะไร เป็นธาตุ เป็นของสมมุติขึ้นทั้งนั้น - ไม่ใช่ขวดแท้ ไม่ใช่กระโถนแท้ - น้อมเข้ามาหาตัวเอง ดูทุกสิ่งในร่างกายไม่ใช่ของเรา มันล้วนแต่ของสมมุติ

- มีค.2497 ท่านเดินธุดงค์มาที่ดงป่าพง เห็นเป็นที่สัปปายะ จึงสร้างเป็นวัดหนองป่าพง
- อนุปาทิเสสนิพพาน - พฤหัส 16 มค 2535 - วัดหนองป่าพง -74 ปี 52 พรรษา
__________________________________________________________

23. หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ (พระโพธิธรรมาจารย์เถร) - วัดป่าเขาน้อย ต.เสม็ด อ.เมือง บุรีรัมย์

- พระอริยเจ้าผู้หลุดพ้นด้วยอิริยาบถเดิน
- ท่านเป็นศิษย์ต้นของพระอ.ฝั้น และท่านได้รับโอวาทจากพระอ.มั่นว่า "คำสอนของพระพุทธเจ้าไม่ใช่ของเล่น ถ้าทำเล่นจะไม่เห็นของจริง"
- ท่านเป็นพระที่รักสันโดษ โดดเดี่ยว ปลีกวิเวก, มีจิตฝังลึกลงในธรรมของพระตถาคตด้วยศรัทธา, มีเหตุผลมั่นคง, ปรารถนาจะบวชตั้งแต่เยาว์วัย
- ชอบท่องเที่ยวจาริกธุดงค์ทั่วประเทศและต่างประเทศ, ไม่ยึดติดหมู่คณะ, ไม่ติดสถานที่, ไม่คลุกคลีกับใคร เหมือนนกตัวน้อยๆโผปีกทะยานสู่โลกกว้าง ไม่อาลัยสิ่งใดๆ
- ท่านเป็นพระ "เอเกโก ว" ชอบเที่ยวไปผู้เดียว, บางทีท่านเดินธุดงค์ถึง 2 รอบ จากสกลนครไปทางอุบล ลงไปนครราชสีมา - แล้วย้อนกลับมาทางอุดรแล้วเข้าสกลตามเดิม
- คราวถวายเพลิงศพพระอ.มั่นเสร็จ ท่านเป็นผู้นำออกธุดงไปอ.น้ำโสม อุดร โดยมี พระอ.วัน, พระอ.จวน, พระอ.สิงห์ทอง, พระอ.คำพอง, พระอ.บุญเพ็ญ เขมาภิรโต, พระอ.ประยูร ติดตาม

- ท่านถึงที่สุดแห่งธรรมปี 2515-2524 ที่ถ้ำศรีแก้ว สกลนคร ด้วยอิริยาบถเดิน ขณะกลับกุฏิ
- ท่านเล่าว่า "คำเทศน์ของหลวงปู่ฝั้น และหลวงตามหาบัว เป็นหัวใจอันสำคัญที่นำท่านไปสู่อุดมธรรม"
- ท่านได้นำพระธรรมที่บรรลุรู้ไปประกาศกังวานไกลถึงต่างแดน เป็นที่เลื่อมใสของชาวต่างชาติ
- ท่านเป็นพระ "ปาสาณเลขูปโม" คือสลักความดีลงบนแผ่นหิน คือหัวใจอันแข็งแกร่ง ไม่มีใครสามารถลบทิ้งไปได้ ถูกจารึกตลอดอนันตกาล

- เกิดวันศุกร์ 29 สค.2462 - บ้านตากูก สุรินทร์
- ท่านเป็นช่างทอง วันหนึ่งท่านนั่งกลางทุ่งนาเห็นพระธุดงค์เดินผ่าน เมื่อได้สนทนาเกิดความเลื่อมใส จึงตั้งความปรารถนาไว้ว่า "กาลข้างหน้าจะต้องออกบวชเป็นพระธุดงค์"

- วันหนึ่ง มีผู้หญิงท้องแก่ คลอดก่อนกำหนด ไม่มีใครอยู่ในหมู่บ้าน เธอร้องขอความช่วยเหลือ น้ำคร่ำไหลออกเต็มไปหมด - ท่านไปเห็นจึงได้เข้าไปช่วยเหลือ ช่วยจับ ช่วยดึง ช่วยบอกให้เบ่งๆๆ - สงสารก็สงสาร สังเวชก็สังเวช ทั้งเลือดทั้งคนปะปนออกมา ความเกิดเป็นทุกข์ประจักษ์ใจแบบไม่มีวันลืม เกิดความเบื่อหน่ายในกามขึ้นมาทันใด ได้กระทำไว้ในใจว่า"สักวันหนึ่งจะต้องออกบวชอย่างแน่นอน"

- 2481 อายุ 19 บรรพชาเป็นสามเณรมหานิกาย บวช 1 ปีลาสิกขามาช่วยบิดาทำงาน-2482 อายุ 20 บวชพระมหานิกาย และแสวงหาอาจารย์ ได้พบพระอ.ฝั้น อาจาโร ที่วัดป่าศรัทธาราม นครราชสีมา เกิดความเลื่อมใสท่านอ.ฝั้นยิ่งนัก จึงขอญัตติเป็นธรรมยุต 2484 - ได้ฉายา "สุวโจ" แปลว่า "ผู้ว่ากล่าวตักเตือนง่าย"
- ญัตติแล้วจำพรรษาและศึกษากับพระอ.ฝั้น และพระอ.มหาปิ่น จากนั้นติดตามพระอ.ผั่น ปาเรสโก ออกธุดงค์ไปทางพระธาตุพนม
- ธุดงค์ไปกาฬสินธ์ ขึ้นเทือกเขาภูพาน เข้าพักวัดบ้านหนองผือ กราบนมัสการพระอ.มั่น ท่านให้โอวาทว่า
"อาจารย์ของเธอคือพระอาจารย์ฝั้น ตอนนี้ก็แก่มากแล้ว สมควรที่เธอจะต้องทดแทนบุญคุณ เธอไม่ต้องมาอยู่กับเราที่นี่ ให้ไปปฏิบัติท่านอาจารย์ฝั้น ศึกษาและปฏิบัติกับท่านฝั้นก็เป็นที่เพียงพอแล้ว"
- หลังจากนั้นท่านได้ติดตามอุปัฏฐากพระอ.ฝั้นจนนิพพาน

-2525-2526 ท่านเดินทางไปเผยแผ่ธรรมที่สหรัฐตามคำนิมนต์ - มีผู้ศรัทธาซื้อที่ดินถวายสร้างวัดวอชิงตันพุทธวนาราม 4401 south 360th street Aubrn WA 98001 - 7 เอเคอร์(17.5ไร่)
-2528 สร้างวัดป่าธรรมชาติที่เมืองลาพวนเต้ แคลิฟอร์เนีย สหรัฐ - 5 เอเคอร์



- 2530-2535 สร้างวัดภูริทัตตวนาราม เมืองออนทาริโอ แคลิฟอร์เนีย มีชาวอเมริกันศรัทธาซื้อที่ดิน 60 เอเคอร์(150 ไร่) ราคา 17,500,000 บาท ถวายเพื่อสร้างเป็นวัดเมตตาวนาราม เมืองแวลเลย์เซ้นเตอร์ แคลิฟอร์เนีย

- 2541 เป็นต้นมา จำพรรษาที่วัดป่าเขาน้อย ต.เสม็ด อ.เมือง บุรีรัมย์
- อนุปาทิเสสนิพพาน 5 เมย.2545 -82 ปี 61 พรรษา






Create Date : 22 มีนาคม 2553
Last Update : 1 กันยายน 2554 19:45:47 น.
Counter : 7285 Pageviews.

1 comment
28 พระอรหันต์เมืองไทย - ตอน 2
สวัสดีค่ะ
ขอสรุปประวัติย่อพระอรหันต์เมืองไทยตอนที่ 2 ต่อเลยนะคะ จากหนังสือ 28 พระอรหันต์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ค่ะ

9. พระอ.ฝั้น อาจาโร - วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม สกลนคร

พระอริยเจ้าผู้มีพลังจิตเหนือฟ้าดิน
- ท่านเป็นคนเรียบร้อย, อ่อนโยน, สุขุมเยือกเย็น, กว้างขวาง - ปรารภความเพียรแรงกล้าเด็ดเดี่ยว - ไปตามภูผาป่าเขาเพียงลำพัง, แสวงหาความสงบวิเวก ยินดีต่อความสงบ - มักน้อยสันโดษ พอใจในปัจจัยสี่ที่ตนมีอยู่แล้วได้มาโดยชอบธรรม - เป็นนักต่อสู้เพื่อเอาชนะกิเลส
- มีสหธรรมิกคือ พระอ.สิงห์ ขนฺตฺยาคโม, พระอ.มหาปิ่น, พระอ.กู่, พระอ.อ่อน, พระอ.กว่า

- ท่านมีความเคารพเลื่อมใส ตั้งอยู่ในโอวาทของพระอ.มั่นอย่างถึงใจ - ทำความเพียรทั้งกลางวันกลางคืน ไม่มีเวลาหลับนอน - จนจิตใจของท่านมีกำลังกล้าเป็น "ธรรมดวงเดียว" ไม่เกาะเกี่ยวกับอะไรๆ ทั้งสิ้น

- ท่านมีพลังจิตสูง หาผู้เสมอเหมือนได้ยาก
1. สามารถเรียกฟ้าฝนได้เป็นที่อัศจรรย์ - ปี 2489 ชาวสกลนคร เกิดทุพภิกขภัยอย่างหนัก ฝนฟ้าไม่ตก จึงเข้าไปขอฝนกับท่าน - ท่านนั่งสมาธิบนลานกลางแจ้งครึ่งชั่วโมง - ท้องฟ้าที่มีแดดจ้า พลันมีเสียงฟ้าร้องคำราม เกิดมีก้อนเมฆบดบังแสงอาทิตย์ - มีฝนเทลงมาอย่างหนักถึง 3 ชม - ปีนั้นฝนตกตามฤดูกาล ชาวบ้านได้ทำนาตามปกติทั่วถึง
2. ท่านสร้างวัด ต้องระเบิดหิน - ท่านไม่ต้องการให้หินช่วงไหนแตกร้าว ท่านจะเอาปากกาไปเขียนยันต์ไว้ตรงจุดนั้น - ระเบิดจะแรงขนาดไหน หินนั้นก็ไม่แตกร้าว
3. ท่านนั่งสมาธิใต้ต้นกระบก ลูกกระบกตกลงพื้นเสียงดังน่ารำคาญ - ท่านกำหนดจิตไม่ให้ลูกกระบกตก - ตั้งแต่นั้น ลูกกระบกต้นนั้นไม่หลุดลงพื้นอีกเลย


- พระอ.กงมา ได้เล่าเรื่องพลังจิตของลป.ฝั้นไว้ว่า
"สมัยหนึ่งหลวงปู่ฝั้นได้ธุดงค์ไปจันทบุรี - ท่านได้รับนิมนต์ไปแสดงธรรมในงานศพ มีผู้มาฟังธรรมเป็นจำนวนมาก - ขณะที่ท่านแสดงธรรมอยู่ มีคนกลุ่มหนึ่งเล่นหมากรุก เมาสุรา ส่งเสียงเอะอะโวยวายรบกวน - ท่านส่งกระแสจิตไปปราบพวกขี้เหล้าเหล่านั้น - เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ขี้เหล่าหยุดนิ่งไร้การเคลื่อนไหว - บางคนยืนอ้าปาก, บางคนถือหมากรุก, บางคนคอพับ ไม่สามารถไหวติงได้ - จนท่านแสดงธรรมให้พรจบลง เดินทางกลับ ขี้เหล้าเหล่านั้นจึงกลับมาสู่ภาวะปกติได้"

- ลต.มหาบัวเล่าว่า "ท่านพระอ.ฝั้นสามารถกำหนดจิตให้รถหยุด เครื่องยนต์ไม่ติดอย่างง่ายดาย" - ฉะนั้นเวลานั่งรถ ท่านต้องพยายามทำจิตไม่ให้เพ่งไปที่เครื่องยนต์ ไม่งั้นเครื่องจะดับทันที - ตอนสงครามโลกเครื่องบินญี่ปุ่นจะมาทิ้งระเบิด - คนมาขอให้ท่านอย่าให้ญี่ปุ่นทำได้ - ตอนแรกท่านคิดว่าจะเพ่งให้เครื่องยนต์ดับ -แต่คิดได้ว่าหากทำแบบนั้น เครื่องบินต้องตก ทหารญี่ปุ่นต้องตาย ท่านจึงทำวิธีอื่นแทน

- อีกครั้งในงานศพพระอ.มั่น พระกำลังเตรียมงานกันอยู่ - มีเด็กน้อยถีบจักรยานไปมารบกวน - ลป.ฝั้นท่านจึงพูดว่า "เดี๋ยวเราจะดัดนิสัยไอ้เด็กพวกนี้ จะทำให้รถมันล้ม แต่ไม่ให้มันเจ็บ" - พอท่านพูดจบรถจักรยานเด็กล้มลงทันที -

- ด้วยวัตรปฏิบัติและพลังจิตอันล้ำเลิศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ จึงทรงให้ความเคารพศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง
- เกิดอาทิตย์ 20 สค.2442 - ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 9 ปีกุน - บ้านม่วงไข่ ต.พรรณา สกล
- 2461 บรรพชาเป็นสามเณร เอาใจใส่ ศึกษาเคร่งครัดพระธรรมวินัยอย่างยิ่ง - ถึงขนาดคุณยายท่านได้พยากรณ์ไว้ว่า "ในภายภาคหน้า ท่านจะเข้าไปอาศัยอยู่ในป่าดวงขมิ้นตลอดชีวิต"
- อมตมหานฤพาน 4 มค 2520 - วัดป่าอุดมสมพร สกล - 77 ปี 52 พรรษา

_____________________________________________________

10. หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ - วัดป่าประสิทธิธรรม บ้านดงเย็น อ.บ้านดุง อุดรธานี

พระอริยเจ้าผู้มีอุปนิสัยแก่กล้าในทางธรรม - พระอริยสงฆ์ประเภทขิปปาภิญญา (บรรลุธรรมเร็ว) เป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้าหาได้ยาก
- สละทรัพย์สมบัติ ออกบวช ไม่มีความอาลัยเสียดาย ประดุจบ้วนน้ำลายทิ้งลงบนแผ่นดิน
- ตั้งมั่นในธุดงควัตร ชอบเที่ยวธุดงค์ในลาวและพม่า - มีนิสัยวาสนาแก่กล้า พยายามฟันฝ่ากับอุปสรรคทั้งปวง เพื่อจะขอเอาดวงจิตพ้นทุกข์ให้ได้

- เกิดอังคาร 2431 ปีขาล- บ้านตาล ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน สกลนคร
- สมัยเป็นฆราวาส แต่งงาน 2 ครั้ง
- ครั้งแรก ภรรยาคลอดลูกตายทั้งกลม ท่านเศร้าเสียใจอย่างมาก ทำให้ครุ่นคิดได้ว่า "ทำอย่างไรหนอ ชีวิตของเรานี้ถึงจะได้พบกับความสุขที่แท้จริง"
-ครั้งที่สอง อยู่กินกับภรรยาใหม่ราบรื่น จนออกบวช - ท่านเป็นคนหมั่นขยันฉลาด เป็นพ่อค้ากองเกวียน (นายฮ้อย) จนมีฐานะร่ำรวย -ด้วยความประพฤติดี เป็นที่พึ่งของลูกน้องได้ ท่านจึงได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน
- ต่อมาได้ฟังธรรมจากพระอ.สาร ศิษย์พระอ.มั่น เกิดความดื่มดำซาบซึ้งในรสพระธรรม - จึงขอให้ภรรยาบวชชีก่อน แล้วตัวท่านได้สละทรัพย์สมบัติออกบวชตาม -โดยแจกทรัพย์สินทั้งหมดเป็นทาน ไม่ยินดีอาลัยในทรัพย์เหล่านั้น ผู้คนที่มาเข้าแถวเพื่อรอรับแจกทานจากท่านเป็นแถวยาวเหยียด - ท่านใช้เวลาแจกทานถึง 3 วัน 3 คืนจึงหมด

- 2469 อายุ 37 อุปสมบท ณ วัดโพธิสมภรณ์ -ส่วนน้องชาย น้องสาว น้องเขยได้ฟังคำสอนจากท่านก็ออกบวชตามด้วย
- หลังบวชแล้ว ท่านเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์พระอ.มั่น - ขณะที่ท่านเห็นพระอ.มั่นครั้งแรก ท่านได้นึกประมาทอยู่ในใจว่า
"พระองค์เล็กๆ อย่างนี้นะหรือ ที่ผู้คนร่ำลือกันว่าเก่งนักเก่งหนา ดูแล้วไม่น่าจะเก่งกาจอะไรเลย"
- ครั้นเข้าไปนมัสการพระอ.มั่น ท่านกล่าวขึ้นเสียงดังว่า
"การด่วนวินิจฉัยความสามารถของคน โดยมองดูแต่เพียงร่างกายเท่านั้น ใช้ไม่ได้ จะเป็นการตั้งสติอยู่ในความประมาท"
เมื่อท่านได้ยินถึงกับสะดุ้ง เกิดความอัศจรรย์ในการรู้วาระจิตของท่านพระอ.มั่น บังเกิดศรัทธาแรงกล้า ตั้งสัจวาจาถวายชีวิต

- สมัยท่านธุดงค์ในพม่า ท่านเล่าว่า ขณะที่ท่านนั่งบำเพ็ญเพียงอยู่นั้น ได้ปรากฎมีภาพพระภิกษุมีรัศมีในกายสีฟ้าบอกว่า "เราคือพระอุปคุต เธอเคยเป็นศิษย์ของเรา เธอมีนิสัยแก่กล้า เอาให้พ้นทุกข์นะ "
- พระอ.มั่นชมเชยท่านต่อหน้าพระเถระหลายองค์ว่า
"ท่านพรหม เป็นผู้มีความพากเพียรสูงยิ่ง เป็นผู้มีสติ มีความตั้งใจแน่วแน่ ได้ประพฤติปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดที่สุด เป็นตัวอย่างที่ดี ควรเอาเป็นเยี่ยงอย่าง"
- บางคราวพระอ.มั่นถามท่านต่อหน้าพระเถระทั้งหลายว่า
"ท่านพรหม ท่านเดินทางมาแต่ไกลเป็นอย่างไรบ้าง การพิจารณากาย การภาวนาเป็นอย่างไร"
ท่านตอบอย่างอาจหาญว่า "เกล้าฯ ไม่มีอกถังกถีแล้ว" (ไม่มีความลังเล สิ้นสงสัย)
- พระอ.มั่นได้กล่าวยกย่องว่า
"ท่านพรหม สำเร็จเป็นพระอรหันต์ หลังจากบวชได้เพียงพรรษา 5"
- อนุปาทิเสสนิพพาน 13 พค 2512 เวลา 17.70 ด้วยโรคชรา - 81 ปี 43 พรรษา
______________________________________________________________________

11. หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ - วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว เชียงใหม่

วิสุทธิเทพแห่งดอยแม่ปั๋ง
- ท่านธุดงค์ตามป่าเขาภาคอีสาน ภาคเหนือ,พม่าและอินเดีย ด้วยเท้าเปล่า - มีหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เป็นสหายธรรม
- ยังไม่มีพระอริยคณาจารย์รูปใด ได้รับพระมหากรุณาธิคุณเทียบเท่าหลวงปู่แหวน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินพร้อมพระบรมวงศานุวงศ์ยังวัดดอยแม่ปั๋ง เพื่อนมัสการและสนทนาธรรมกับหลวงปู่แหวนหลายครั้งหลายหน

- เกิดจันทร์ 16 มค.2430 - ขึ้น 14 ค่ำ เดือนยี่ ปีกุน - บ้านนาโป่ง อ.เมือง เลย
- 5 ขวบ ก่อนมารดาจะถึงแก่กรรม ได้เรียกท่านมาใกล้ๆ ได้จับแขนไว้แน่นๆ กล่าวว่า
"ลูกเอ๋ย แม่ยินดีต่อลูก สมบัติใดๆ ในโลกนี้จะเป็นกี่ล้านกี่โกฏิ แม่ก็ไม่ยินดี แม่จะยินดีมาก ถ้าลูกจะบวชให้แม่ เมื่อลูกบวชแล้ว ให้ตายกับผ้าเหลือง ไม่ต้องสึกออกมามีลูกมีเมียนะลูกนะ"
- บรรพชา 9 ขวบ
- อายุ 31 ธุดงค์รอนแรมไปฝากตัวกับพระอ.มั่น ท่านได้กล่าวสอนสั้นๆ ว่า
"ต่อไปนี้ให้ภาวนา ส่วนความรู้ที่เรียนมาให้เอาใส่ตู้ไว้ก่อน"
- หลวงปู่ขาว อนาลโย ซึ่งได้หลุดพ้นผ่านพ้นทุกข์ไปได้แล้ว ชวนท่านกลับอีสานด้วยกัน
หลวงปู่แหวนตอบว่า "ถ้ายังไม่บรรลุพระอรหัตตผลตามความมุ่งหวัง จะไม่ไปจากเมืองเชียงใหม่"

- วันหนึ่งในปี 2512 หลวงปู่ขาว ซึ่งอยู่ที่ถ้ำกลองเพล อุดรธานี ได้ปรารภเป็นเชิงรำพึงอนุโมทนากับสานุศิษย์ว่า
"เมื่อคืนได้นิมิตเห็นท่านแหวนจิตใสเหมือนแก้ว สว่างไสวทั้งองค์ ท่านแหวนได้อรหัตตผลแล้วหนอ"

- อนุปาทิเสสนิพพาน 2 กค 2528 - วัดดอยแม่ปั๋ง- 98 ปี 58 พรรษา
______________________________________________________

12. หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ - วัดดอยธรรมเจดีย์ ต.ตองโขบ อ.โคกศรีสุพรรณ สกล


พระอริยเจ้าแห่งวัดดอยธรรมเจดีย์
- ท่านเรียบง่าย เจ้าระเบียบ มีอุบายละเอียด , การเทศนาธรรมใช้ภาษาง่ายๆ แต่กินใจความลึกซึ้ง - ท่านมีหลวงปู่สาม และท่านพ่อลี เป็นสหธรรมิก
- ท่านได้นำสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ชื่น) ออกเที่ยวธุดงค์ตามป่าเขาภาคตะวันออก ถึงขนาดพระองค์ออกปากชมว่า "การธุดงค์ของพระปฏิบัติกรรมฐานนี้ได้ประโยชน์เหลือหลาย อย่างนี้พระต้องธุดงค์กันให้มากๆ ศาสนาจะได้รุ่งเรือง"

- เกิด 6 พย.2443 - ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ปีชวด - บ้านโคก อ.โคกศรีสุพรรณ สกลนคร
- เคยเป็นหัวหน้านายฮ้อย พาคณะต้อนสัตว์มีวัวควายไปขายกรุงเทพ, แต่งงานอายุ 25 ปี ต่อมาภรรยาพร้อมบุตรในครรภ์ในเสียชีวิตลง ทำให้ท่านรู้สึกสูญสิ้น เป็นเหตุให้ท่านสลดสังเวชและนึกถึงร่มเงาพระพุทธศาสนา
-2482 สร้างวัดเขาน้อย ท่าแฉลบ ตามพระบัญชาของสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์
- 2485 จำพรรษากับพระอ.มั่นที่ป่าช้าบ้านโคก อ.โคกศรีสุพรรณ สกล ได้รับอุบายธรรมสำคัญและได้รับความเมตตาจากพระอ.มั่นเป็นพิเศษ ต่อมาที่แห่งนี้ ท่านได้สร้างเป็นวัดสุทธิธรรมาราม
- 2489 ท่านได้ธุดงค์ตามเทือกเขาภูพาน ได้ปักกลดพักภาวนาที่ในถ้ำ ซึ่งถ้ำนี้เป็นที่อยู่เสือ และต่อมากลายเป็น "วัดดอยธรรมเจดีย์"
- อนุปาทิเสสนิพพาน 17 ตค 2505 - 61 ปี 35 พรรษา
______________________________________________________

13. ท่านพ่อลี ธมฺมธโร (พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์) - วัดอโศกราม อ.เมือง สมุทรปราการ

พระอริยเจ้าผู้มีพลังจิตแก่กล้า - ถึงพร้อมด้วยอำนาจแห่งบารมีและบุญที่สั่งสมไว้แต่ปางบรรพ์ มีภูมิธรรมและพลังจิตสูงยิ่ง, มีจริยวัตรงดงาม มีศรัทธาเต็มเปี่ยมในการเผยแผ่สัจธรรม
- ท่านเป็นศิษย์ที่ท่านพระอ.มั่น โปรดเป็นที่สุด -ยามที่ท่านเดินทางไปคารวะพระอ.มั่นสำนักวัดบ้านหนองผือ สกลนคร ท่านได้รับการต้อนรับจากท่านพระอ.มั่นเป็นกรณีพิเศษ

- ท่านเป็นพระเจ้าอโศกมหาราชกลับชาติมาเกิดเพื่อบรรลุธรรม - เป็นศิษย์ท่านพระอ.มั่นเพียงรูปเดียว ที่ไม่เคยถูกพระอ.มั่นต้องติ - เมื่ออกจากสำนักไป ท่านเป็นผู้ที่ทำให้ชาวพระนครได้รู้จักพระกรรมฐาน และทำให้วงศ์กรรมฐานเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางจนถึงยุคปัจจุบัน

- ท่านบรรลุภูมิธรรมขั้นสูงที่ถ้ำเชียงดาว เชียงใหม่
บรรลุธรรมขั้นสูงสุดที่ถ้ำเขาฉกรรจ์ ปราจีนบุรี
- ท่านยังสามารถจัดงานฉลองกึ่งพุทธกาลได้อย่างยิ่งใหญ่สมศักดิ์ศรีที่เมืองไทยเป็นเมืองแห่งพระพุทธศาสนา
- พระอ.มั่นเมตตา และให้การยกย่องท่านว่า
"มีพลังจิตสูง เป็นผู้เด็ดเดี่ยว อาจหาญ เฉียบขาด ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยธรรม"
- สมศักดิ์ศรีที่ได้รับความไว้วางใจจากพระอ.สิงห์ ขนฺตฺยาคโม ให้เป็น "อัศวินแห่งกองทัพธรรมกรรมฐานสายท่านพระอ.มั่น ภูริทตฺโต" ที่มีธรรมะเป็นอาวุธ

- ปฏิปทาอันละมุนละไมของท่านพ่อลี ทำให้บรรดาสาธุชนเลื่อมใสทั้งกาย วาจา ใจ
- เกิดพฤหัสบดี 31 มค 2449 เวลา 21.00 - แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเมีย - บ้านหนองสองห้อง อ.ม่วงสามสิบ อุบล
- เกิดได้ 9 วัน รบกวนพ่อแม่เป็นการใหญ่ ไม่มีใครสามารถเลี้ยงให้ถูกใจได้ เป็นเด็กที่เลี้ยงยากที่สุด มักร้องไห้เอาแต่ใจเสมอ
- อายุ 11 ปี จิตคิดขึ้นเองว่า "ไม่มีอะไรที่จะทำไม่ได้ ในเรื่องที่จะตอบแทนบุญคูณข้าวป้อนของพ่อแม่" แต่มีอยู่เรื่องหนึ่งที่ทำไม่ได้ จึงพูดกับแม่ว่า
"แม่ มีอยู่เรื่องเดียวที่ลูกจนใจที่สุด ก็แต่เลือดในอกที่ดื่มเข้าไปเท่านั้น ที่หามาตอบแทนพ่อแม่ไม่ได้"

- อายุ 15 ปี ท่านมีคติธรรมฝังแน่นในหัวใจ 3 อย่างคือ
1. ในจำนวนคน 80 หลังคาเรือน ในหมู่บ้านเดียวกันนี้ ท่านจะไม่ยอมให้ใครมาเหยียบหัวแม่ตีนเป็นอันขาด
2. ในบรรดาคนที่เกิดปีเดียวกัน ท่านจะไม่ยอมแพ้ใครในเชิงหาเงิน
3. ถ้าอายุไม่ถึง 30 ปี ท่านจะไม่ยอมมีเมีย จะต้องมีเงินในกระเป๋าตัวเองให้พอเสียก่อน จะไม่ยอมแบมือขอใครกิน -ถ้าจะมีเมียต้องเป็นผู้เลือกเอง ใครจะมาข่มเหงคลุมถุงชนไม่ได้ และผู้ที่จะเป็นเมียจะต้องมีพร้อมทั้งรูปสมบัติ คุณสมบัติ และสกุลสมบัติ

- บวชได้ 2 พรรษา จึงตั้งใจอธิษฐานให้ได้พบครูบาอาจารย์ที่ทรงคุณธรรมว่า
"เวลานี้ ข้าพเจ้ามุ่งหวังเอาดีทางพระศาสนา ขอจงให้ได้พบครูบาอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ภายใน 3 เดือน"
- พบพระอ.มั่น ที่วัดบูรพาราม อุบล สมความตั้งใจ ท่านได้สอนให้บริกรรม "พุทโธ" เพียงคำเดียวเท่านั้น ขณะนั้นพระอ.มั่นกำลังอาพาธ ท่านจึงแนะนำให้ไปพักอยู่ป่าบ้านท่าวังหิน ซึ่งเงียบสงัดวิเวกดี - มีพระอ.สิงห์ ขนฺตฺยาคโม, พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นพระพี่เลี้ยง
- 2474 จำพรรษากับพระอ.มั่นที่วัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่ - พระอ.มั่นได้สั่งให้ท่านพ่อลี ไปปฏิบัติมงคลสถาน 3 แห่งคือ 1. ดอยขะม้อ ลำพูน, 2.ถ้ำบวบทอง เชียงใหม่, 3.ถ้ำเชียงดาว เชียงใหม่

- อนุปาทิเสสนิพพาน - 26 เมย.2505 เวลา 02.00 - วัดอโศการาม- 55 ปี 33 พรรษา
- หลังจากมรณภาพ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี) มีพระบัญชาให้เก็บศพท่านไว้ยังไม่ถวายเพลิง - เอาอย่างพระมหากัสสปะเถระ ที่ในวันหนึ่งในอนาคตกาลจะมีพระศรีอริยเมตไตรย มาเผาศพพระมหากัสสปะอย่างสมศักดิ์ศรี
- "ผู้มีบุญกรรมที่เกี่ยวข้องกับท่านในวันข้างหน้า จะได้มาถวายเพลิงสรีระร่างของท่านอย่างสมศักดิ์ศรี"
- ท่านมีบัญชาอีกว่า ให้บำเพ็ญกุศลและสวดมนต์อุทิศถวายท่านพ่อลีทุกคืน บรรดาบรรพชิตและคฤหัสถ์ซึ่งเป็นคณะศิษย์ท่านพ่อลีได้ปฏิบัติตามมาโดยตลอด
______________________________________________________

14. หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม - วัดป่าอรัญญวิเวก บ้านข่า อ.ศรีสงคราม นครพนม

พระอริยเจ้าผู้มีปฏิปทาประดุจเสือโคร่ง
- รักความสงบสันโดษ, ใฝ่ใจการศึกษา, ตรงไปตรงมา, ข้อวัตรปฏิบัติเข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว เอาจริงเอาจัง, นิสัยโผงผาง พูดจาขวานผ่าซาก, มีลีลาการแสดงธรรมแปลกกว่ารูปอื่น, มีคำคมขำขันแฝงเสมอในเทศนาธรรม, ติดตามพระอ.มั่นภาวนาตามถ้ำป่าลึกภาคเหนือ เช่นถ้ำเชียงดาว

- ปฏิปทาท่านอาจหาญสมเป็นนักรบธรรมของพระอ.มั่น, นิสัยประดุจเสือโคร่ง,ท่านมักปฏิบัติกรรมฐานอย่างอุกฤษฎ์ โดยถือเอาเสือโคร่งเป็นแบบอย่างในอิริยาบถ4
1. ต้องมีน้ำจิตน้ำใจแข็งแกร่งกล้าหาญในการเที่ยวธุดงค์ล่ากิเลส - ประดุจเสือตัวเปรียวเที่ยวล่าเหยื่อไม่กลัวต่อภยันตรายใดๆ
2. ต้องกล้าเที่ยวไปในค่ำคืน - ประดุจเสือไม่เคยกลัวต่อมรณภัยในความมืด
3. ต้องชอบอยู่ในท้องถ้ำที่สงัดจากผู้คน - ประดุจเสือหลีกเร้นซ่อนตัวอยู่ในถ้ำอันลึกลับที่ผู้คนเข้าไปไม่ถึง
4. คิดทำอะไรลงไปแล้วต้องมุ่งความสำเร็จเป็นจุดหมาย - ประดุจแววตาเสือได้จ้องเขม็งไปที่เหยื่อรายใดแล้ว ต้องตามตะปปขย้ำจนสำเร็จ

- ท่านสำเร็จอภิญญาญาณ สามารถเรียกสัตว์ มีเสือเป็นต้น มาขี่เป็นพาหนะในการเดินทางได้, สามารถเที่ยวนรกสวรรค์ได้ตามใจปรารถนา
- มีหลวงปู่แหวน เป็นสหธรรมิกเดินธุดงค์ภาคอีสานและภาคเหนือ, เวียงจันทร์, หลวงพระบาง

- เกิดวันจันทร์ 3 กพ. 2431 - ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ปีชวด - บ้านข่า อ.ศรีสงคราม นครพนม
- 2514 อาพาธด้วยโรคชรา ถึงกาลใกล้นิพพาน ท่านได้แสดงธรรมโปรดสานุศิษย์สั้นๆ ว่า
"สังขารไม่เที่ยง เราเกิดมาก่อน ก็ต้องไปก่อนตามธรรมดา ลมวิปริตแล้ว ธาตุในตัวแปรปรวนแล้ว"
พูดจบท่านให้พรว่า "พุทฺโธ สุโข ธมฺโม สุโข สงฺโฆ สุโข จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ" - พร้อมยิ้มหัวเราะเยาะ ลาโลกสมมุติเป็นครั้งสุดท้ายอย่างอารมณ์ดี ไม่สะทกสะท้าน แล้วนอนตะแคงขวาท่าสีหไสยาสน์ ทิ้งขันธ์ อนุปาทิเสสนิพพาน 19 กพ.2517 เวลา 19.00 - วัดป่าอรัญญวิเวก นครพนม -86 ปี 46 พรรษา
______________________________________________________

15. หลวงปู่สาม อกิญฺจโน - วัดป่าไตรวิเวก อ.เมือง สุรินทร์

พระอริยเจ้าผู้เคร่งครัดในธุดงควัตร
- ท่านกตัญญูกตเวทีต่อพระบูรพาจารย์เป็นที่ตั้ง- เมื่อพระอ.มั่น เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน ท่านนอนเฝ้ารักษาศพท่านอ.มั่นตลอด 3 เดือนจนถึงพิธีประชุมเพลิง

- ท่านได้รับคำแนะนำจากหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ให้เข้าหาพระอ.มั่น
- ท่านไม่ติดสถานที่ ภาวนาตามป่าเขาทุกภาคของไทย ท่านจำพรรษามากแห่งแทบไมซ้ำกัน เป็นหนึ่งในกองทัพธรรมยุคแรกที่ธุดงค์เผยแผ่ธรรมจนได้รับคำชมจากพระอ.มั่นว่า
"เป็นผู้เจริญด้วยธุดงควัตร จำพรรษาได้มากแห่ง และเป็นผู้เคร่งครัดในธุดงควัตร"
- ท่านมีสหธรรมิกคือ พระอ.กงมา และท่านพ่อลี

- ท่านสามารถเข้าฌานสมาบัติได้เชี่ยวชาญ
- 2506 จำพรรษากับกะเหรี่ยงที่บ้านแม่หลอด อ.แม่แตง เชียงใหม่ - ออกพรรษาแล้วเที่ยววิเวกไปแถวเชิงบ้านผาเด่ง อยู่กับแม้วกระเหรี่ยง ทำให้เขาเกิดศรัทธา จึงทำให้ท่านถูกคนอิจฉาริษยาและคิดปองร้ายหมายเอาชีวิต
- คืนวันหนึ่งท่านนั่งเข้าฌานสมาบัติพิจารณาธรรมขั้นสูง ดื่มด่ำรสพระธรรม ท่องเที่ยวไปทั้งเบื้องสูงเบื่องล่าง, โปรดจิตวิญญาณที่ยากไร้ นานพอสมควรท่านจึงถอนจิตออกจากฌานสมาบัติ - พอถอนจิตออก ปรากฎว่าฝากระท่อมทับตัวท่านอยู่ เมื่อเอาออก จุดเทียนขึ้นดู มีเลือดเยิ้มท่วมกาย ,ข้างกายมีก้อนหินตก 1ก้อน, อีกข้างมี 2 ก้อน, มีเลือดเปรอะเกรอะกรังทั่วตัว
- ท่านเล่าว่า พวกโจรผู้ร้ายคงเอาก้อนหินทุบศีรษะและใบหน้าท่านอย่างแรง และคิดว่าท่านคงตายแล้ว จึงตีฝากระท่อมให้ล้มทับตัวท่านไว้ - ท่านรอดตายมาได้อย่างปาฏิหาริย์

- เกิดอาทิตย์ 12 กย. 2442 - บ้านนาสาม ต.นาบัว สุรินทร์
-2469 ศึกษาธรรมกับพระอ.มั่นที่ป่าบ้านสามผง นครพนม พระอ.มั่นแนะนำให้ติดตามพระอ.สิงห์และพระมหาปิ่นออกธุดงค์
- นิพพานที่รพ.ศิริราช 1 กพ.2534 เวลา 19.30 น.-91 ปี 62 พรรษา
______________________________________________________

16. หลวงปู่คำดี ปภาโส (พระครูญาณทัสสี) - วัดถ้ำผาปู่ อ.เมือง เลย

พระอริยเจ้าผู้อ่อนน้อมถ่อมตนเพื่อธรรม
- ท่านมีความสมบุกสมบันทั้งภายนอกและภายใน, สันโดษ, ไม่ชอบการก่อสร้าง
- ท่านศึกษาธรรมจากพระอ.สิงห์ ณ วัดป่าสาลวัน จากนั้นท่องเที่ยวตามป่าเขา จนวาระสุดท้ายท่านกลับมาวัดถ้ำผาปู่และได้รับอุบายธรรมอันสำคัญจากหลวงตามหาบัว และถึงที่สุดแห่งทุกข์

- ท่านมักกล่าวกับคนใกล้ชิดเสมอว่า "มหาบัวเป็นอาจารย์ของอาตมา" - ท่านไม่ถืออายุพรรษา ท่านถือพรหมจรรย์คือพระอรหัตตผลเป็นที่ตั้ง ถ้าหากได้ธรรม แม้จะเอาสามเณรเป็นอาจารย์ท่านก็ยอม
- ท่านมีวิธีการและอุบายแปลกๆ เพื่อหัดทรมาน, ท่านชอบหาที่อยู่น่ากลัว และชอบหาวิธีแก้ความกลัวเฉพาะหน้า เช่น ท่านพักในถ้ำ เสือร้องคำรามหน้าถ้ำ ตัวสั่นแต่ใจสู้ไม่ถอย ภาวนาสอนตนเองว่า
"พระกรรมฐานอะไรมากลัวเสือ เรากลัวเสือมันมากินเรา ก็เรากินสัตว์มาสักเท่าไหร่ กินมาจนเต็มพุง ถ้าเสือจะมากินเราเสียบ้าง ก็ไม่เห็นจะเป็นไร วันนี้เราต้องสู้"
- คิดอย่างนั้นแล้ว ท่านก็รีบเดินออกจากถ้ำไปตามหาเสือ - พอเสือเห็นท่านเดินเข้าไปหาดุ่มๆ มันก็เผ่นแน่บเปิดหนีเข้าป่าหายเงียบไป

- ท่านเคยจิตเสื่อมและราคะกำเริบมาก ถึงกับจะเอามีดโกนมากรีดคอตนเองให้ตายถึง 3 ครั้ง 3 หน แต่เหมือนมีเทวดามาช่วยเสมอ
- ท่านเล่าว่า หากวันนั้นมีผู้หญิงเข้าสู่ป่าที่ท่านพักอาศัยอยู่ ท่านจะต้องข่มขืนเสพเมถุนแน่นอน เพราะเกิดความกำหนัดอย่างมาก - แต่เดชะบุญบันดาล วันนั้น ไม่มีผู้หญิงสักคนเลย ทั้งที่ทุกวันจะมีผู้หญิงมาหาของป่ากันเป็นจำนวนมาก
- ท่านพลิกจิตแก้ตัวท่านเองทันทีอย่างเด็ดขาด ด้วยการเปลียนความคิดที่ฆ่าตัวตายเสียใหม่ว่า
"ถ้าจะตาย เราต้องตายพร้อมกับความเพียรภาวนาเท่านั้น"

- แต่ก่อนท่านผาดโผน แข็งกระด้าง ไม่ยอมใครง่ายๆ แต่ท่านมาแก้เสียใหม่
- ครั้งหนึ่งท่านใช้สามเณรตัดผ้าขาวทำสบง สามเณรเย็บผ้าผิด ท่านฉีกผ้าโยนทิ้ง สามเณรร้องไห้ใหญ่ - ท่านสะเทือนใจมากที่ทำกิริยาอย่างนั้น ผ้าตัดผิด มันก็ตัดผิดไปแล้ว แล้วมาฉีกผ้าทิ้งนี้หาประโยชน์อะไรมิได้
- ท่านเตือนตนเองว่า "เอาล่ะนะ เราจะเอาสามเณรเป็นอาจารย์ ต่อแต่นี้เป็นต้นไป เราจะเปลี่ยนนิสัยใหม่ เปลี่ยนมารยาทใหม่ กิริยาอย่างนี้จะไม่นำเอามาใช้จนกระทั่งวันตาย เปลี่ยนเป็นคนอ่อนโยน ไม่ดุด่าว่ากล่าวใครโดยไร้ซึ่งเหตุและผล"

- เกิดวันพฤหัส 26 มีค. 2445 -แรม 14 ค่ำ ปีขาล - เกิดบ้านหนองคู ต.บ้านหว้า ขอนแก่น
- อนุปาทิเสสนิพพาน - 17 พย 2527 เวลา 13.13 น. รพ.แพทย์ปัญญา กรุงเทพ - 82 ปี 56 พรรษา
______________________________________________________

17. หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร (พระญาณสิทธาจารย์) - วัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว เชียงใหม่

พระอริยเจ้าผู้มีกลิ่นศีลธรรมกำจรกำจาย
- อุปนิสัยละมุนละไม มีเมตตาเป็นสาธารณะ ใจเด็ด มุ่งหวังเพียงความพ้นทุกข์ ได้รับคำชมจากพระอ.มั่นว่า
"เป็นดอกบัวที่ยังตูมอยู่ เบ่งบานเมื่อใด จะหอมกว่าหมู่"
- เมื่อพระอ.มั่นธุดงค์ไปภาคเหนือ ท่านจะติดตามไปอาศัยในรัศมีธรรมของพระอ.มั่นเสมอมา

- ท่านชอบอยู่ตามถ้ำ ภูเขาสูง, เก่งการพิจารณาอสุภะกรรมฐาน - ท่านสามารถอรรถาธิบายในกายคตาสติกรรมฐาน พิจารณากระดูก 300 ท่อนได้อย่างพิสดาร - ท่านถือเคร่งใน "โสสานิกังคธุดงค์" คือธุดงค์ข้อ 11 ว่าด้วยการเข้าไปเยี่ยม และอยู่ในป่าช้า พิจารณาซากศพเป็นวัตร - ท่านเป็นผู้มีใจหนักแน่นมั่นคง ไม่หวั่นไหวในโลกธรรมทั้งหลาย

- เกิดศุกร์ 26 พย.2452 - ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 12 ปีระกา เวลา 21.00 - บ้านบัว ต.สว่าง อ.พรรณานิคม สกลนคร
- คืนที่ท่านมาปฏิสนธิ มารดานิมิตเห็นพระสงฆ์รูปหนึ่งเหาะมาจากท้องฟ้ามีรัศมีในกายเปล่งประกายแลดูเย็นตาเย็นใจ เหาะลงสู่กระต๊อบกลางทุ่งนา - นายสานผู้เป็นบิดาจึงตั้งชื่อลูกชายว่า "สิม" (หมายถึงโบสถ์)
- อายุ 17 ปี ขอบิดามารดาบรรพาเป็นสามเณรมหานิกาย - ต่อมาได้ฟังธรรมพระอ.มั่น, พระอ.สิงห์, พระอ.มหาปิ่น ณ วัดศรีสงคราม นครพนม ได้ปีติเลื่อมใสอย่างมาก จึงตัดสินใจขอถวายตัวเป็นศิษย์พระอ.มั่น - ได้บรรพชาใหม่เป็นสามเณรธรรมยุต

- หลังอุปสมบท ธุดงค์ติดตามพระอ.สิงห์ ขนฺตฺยาคโม และ พระอ.สิงห์สอนอุบายการพิจารณาอสุภกรรมฐานจากซากศพ โดยพาไปขุดซากศพที่ป่าช้าขึ้นมาพิจารณา - ท่านได้อสุภะกรรมฐานจากซากศพว่า
"นี่แหละร่างกาย สักแต่ว่ารูป ไม่ว่ารูปหญิงรูปชาย คืออันเดียวกัน ไม่มีใครสวยใครงามกว่ากัน อสุภํ มรณํ ทั้งนั้น -ไม่นานล่ะ เดี๋ยวมันก็ทยอยตาย ไปทีละคนสองคน หมดไปสิ้นไปไม่มีเหลือ ตายจนกระทั่งหมดโลก"
- 2503 ท่านธุดงค์มาพบถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว เชียงใหม่ และพัฒนาจนเป็นมงคลสถานที่อบรมภาวนา
- อนุปาทิเสสนิพพาน - ศุกร์ 14 สค. 2535 - วัดถ้ำผาปล่อง -82 ปี 63 พรรษา








Create Date : 21 มีนาคม 2553
Last Update : 1 กันยายน 2554 19:52:12 น.
Counter : 9157 Pageviews.

4 comment
มารู้จักกับ 28 พระอรหันต์เมืองไทยกันเถอะ
สวัสดีค่ะ

ได้อ่านหนังสือ 28 พระอรหันต์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระธุตังคเจดีย์ วัดอโศการาม รู้สึกว่าดีมากๆ

อยากให้คนไทยได้รู้จักกับพระอรหันต์เมืองไทยจัง
เพราะเป็นผู้ที่เราควรกราบไหว้เคารพบูชาในคุณธรรมของท่าน และปฏิบัติธรรมตามคำสั่งสอน
หากใครสนใจหนังสือเล่มนี้ ที่วัดอโศการามน่าจะยังมีอยู่ค่ะ
จะขอสรุปประวัติและปฏิปทาของท่านไว้นะคะ


1. หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล (พระครูวิเวกพุทธกิจ) - วัดดอนธาตุ บ้านทรายมูล อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบล

พระปรมาจารย์กรรมฐาน
- มีความเพียรเป็นเลิศ, มีความสงบเสงี่ยม, อ่อนน้อม,สุขุม, พูดน้อย และพอใจแนะนำสั่งสอนผู้อื่นทางนั้นด้วย, เป็นผู้ใฝ่ใจในธุดงควัตร, หนักแน่นในพระธรรมวินัย, ชอบวิเวก, ไม่ติดถิ่นที่อยู่, ต้องเดินธุดงค์ไปหาวิเวกเจริญสมณธรรมตามชายป่าดงพงเขาในไทยและลาว

- ปี 2434-2436 หลวงปู่เสาร์ได้ธุดงค์ผ่านหมู่บ้านคำบง อ.ศรีเชียงใหม่ อุบล - ได้เทศนาสั่งสอนท่านพระอ.มั่น สมัยยังเป็นฆราวาสจนเกิดศรัทธาเลื่อมใสติดตามออกบวช - จุดนี้เป็นความยิ่งใหญ่ของวงศ์กรรมฐานตราบจนถึงปัจจุบัน

- ท่านพูดน้อย, ประพฤติองค์เป็นแบบอย่างแก่สานุศิษย์มากกว่ากล่าวอบรมสั่งสอน, อุปนิสัยโน้มน้าวไปทางพระปัจเจกเจ้า, ไม่มีนิสัยเทศนาธรรมสั่งสอนทั่วไป
- ปี2480 เจ้าจอมมารดาทับทิมนำผ้าป่าทอดถวายและนิมนต์ท่านขึ้นแสดงธรรม - ท่านขึ้นธรรมาสน์ตั้งนโม 3 จบ กล่าวเทศนาสั้นๆว่า "ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค" จบด้วย "เอวังฯ" - แล้วก้าวลงธรรมาสน์

- เกิดวันจันทร์ 2 พย.2404 - แรม 14 ค่ำ เดือนยี่ ปีระกา - อุบล

- วันหนึ่ง หลวงปู่เสาร์นั่งพิจารณาอริยสัจ ได้รู้ได้เห็นตามความเป็นจริงนั้น - ท่านได้ตัดเสียซึ่งความสงสัยเด็ดขาด - จวนจะถึงกาลออกพรรษา ท่านได้บอกกับพระอ.มั่นว่า
"เราได้เลิกการปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว และเราก็ได้เห็นตามความเป็นจริงแล้ว!"
- ท่านพระอ.มั่นได้ยิน ก็กิดปีติอย่างมาก และได้ทราบทางวาระจิตว่า
"หลวงปู่เสาร์พบวิมุตติธรรมแน่นแล้วในอัตภาพนี้"

- อนุปาทิเสสนิพพาน ด้วยอิริยาบถก้มกราบพระประธานในพระอุโบสถวัดมหาอำมาตยาราม นครจำปาศักดิ์ ลาว เมื่ออังคาร 3 กพ.2484 - 82 ปี 62 พรรษา
_______________________________________________________________________

2. พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต - วัดป่าบ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม สกลนคร

- พระอริยเจ้าผู้เป็นบิดาของพระกรรมฐาน
- สุดยอดพระอรหันต์แห่งยุค เป็นบิดาพระกรรมฐาน - ตำนานชีวิตและปฏิปทาของท่านถูกกล่าวขานกันไม่รู้จบ

- 2478 ท่านบรรลุธรรมชั้นสูงสุดที่ถ้ำดอกคำ ต.น้ำแพร่ อ.พร้าว เชียงใหม่ - จากนั้นธุดงค์ไปยังดอยนะโม ท่านได้พูดกับหลวงปู่ขาวว่า "ผมหมดงานที่จะทำแล้ว ก็อยู่สานกระบุงตะกร้า พอช่วยเหลือพวกท่านและลูกศิษย์ลูกหาได้บ้างเท่านั้น"

- ท่านถือธุดงค์ ทรงผ้าบังสกุลตลอดชีวิต, ธุดงค์ภาคอีสานกลาง เหนือในไทย, ลาว,เขมร,พม่า- ชอบอยู่ตามถ้ำ,ป่าลึก - อาศัยบิณฑบาตกับชาวป่าชาวเขา

- ในประวัติศาสาสตร์ของชาติไทย ยังไม่มีพระมหาเถระรูปใดจะยิ่งใหญ่ด้วยวัตรปฏิบัติปฏิปทา ถึงพร้อมด้วยศีลธรรม มีอำนาจจิตยิ่งใหญ่ครอบโลกธาตุ เป็นที่เคารพบูชาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ได้มากมายถึงเพียงนี้
- พระอรหันต์ในประเทศไทย ล้วนเป็นศิษย์ของท่านแทบทั้งนั้น
- เดิมท่านปรารถนาพุทธภูมิ - แต่ด้วยเห็นว่าจะเป็นการเนิ่นช้า จึงถอนความปรารถนานั้น มุ่งมั่นเป็นพระอรหันต์ในปัจจุบันชาติ

- ท่านร่างเล็ก ผิวขาวบาง ,แข็งแรงว่องไว, สติปัญญาดีมาแต่กำเนิด,ฉลาด, ว่าง่ายสอนง่ายในทางที่ถูก, ไม่ยอมทำตามในทางที่ผิด
- เกิด 20 มค 2413 - บ้านคำบง ต.โขงเจียม ศรีเชียงใหม่ อุบล
- อายุ 15 บรรพชาเป็นสามเณร- อายุ 17 บิดาขอร้องให้ลาสิกขาเพื่อช่วยงานทางบ้าน - เมื่อลาแล้วจิตยังหวนคิดถึงร่มผ้ากาสาวพัสต์เสมอ เพราะติดใจในคำสั่งของยายว่า "เจ้าต้องบวชให้ยาย เพราะยายก็ได้เลี้ยงเจ้ายาก"
- อายุ 22 เข้าศึกษาพระธรรมในสำนักหลวงปู่เสาร์ วัดเลียบ - ได้อุปสมบท 2436 ใช้คำ "พุทโธ"

- วันหนึ่งท่านสุบินนิมิตว่า "ได้เดินออกจากหมู่บ้าน - มีป่า ทุ่งเวิ้งว้าง เดินตามทุ่งไป - เห็นต้นชาติต้นหนึ่งที่บุคคลตัดให้ล้มแล้ว ปราศจากใบ - ท่านขึ้นสู่ขอนชาติ พิจารณาดูอยู่ว่าผุพังไปบ้าง และจักไม่งอกอีก - มีม้ามาเทียมขอนชาติ ท่านจึงขี่ม้า - ม้าพาวิ่งไปทิศตะวันออกเฉียงเหนือเต็มฝีเท้า - เห็นตู้พระไตรปิฎกตั้งข้างหน้า วิจิตรด้วยเงินสีขาววาววับเป็นประกายยิ่งนัก - ม้าพาวิ่งเข้าสู่ตู้ ครั้นถึงม้าก็หยุดและหายไป - ท่านมาตู้พระไตรปิฎก แต่มิได้เปิดตู้ - แลดูไปข้างหน้าเป็นป่าชัฏเต็มด้วยขวากหนามต่างๆ

- การที่ท่านออกบวช ชื่อว่าออกจากบ้าน - บ้านคือความผิดทั้งหลาย - ป่าคือกิเลส ซึ่งเป็นความผิดเหมือนกัน - ขอนชาติ คือชาติความเกิด - ม้าคือตัวปัญญาวิปัสสนา จักมาแก้ความผิด - การขึ้นสู่ม้าแล้วม้าพาวิ่งไปตู้พระไตรปิฎก คือเมื่อพิจารณาไปแล้วจักสำเร็จเป็นปฏิสัมภิทานุศาสน์ ฉลาด รู้อะไรๆในการเทศนาวิธีทรมานแนะสั่งสอนสานุศิษย์ให้ได้รับความเย็นใจในข้อปฏิบัติทางจิต - แต่จะไม่ได้จตุปฏิสัมภิทาญาณ เพราะไม่ได้เปิดดูตู้นั้น

- 2478 บรรลุพระอรหัตผลที่ถ้ำดอกคำ ต.น้ำแพร่ อ.พร้าว เชียงใหม่ จึงกลับอีสาน
- อนุปาทิเสสนิพพานที่วัดป่าสุทธาวาส สกล -11 พย 2492 เวลา 02.23 - 80 ปี 56 พรรษา
_____________________________________________________________

3. หลวงปู่สิงห์ ขนฺตฺยาคโม (พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์) - วัดป่าสาลวัน อ.เมือง นครราชสีมา

- พระอริยเจ้าผู้เป็นยอดขุนพลเอก แห่งกองทัพธรรมกรรมฐาน
- เคร่งครัดวินัยมาก เสมือนองค์แทนลป.เสาร์และพระอ.มั่น - เป็น 1 ใน 3 พระบูรพาจารย์สายกรรมฐาน - พระกรรมฐานทั้งมวลล้วนเคยผ่านการอบรมสั่งสอนจากท่านแทบทั้งนั้น

- 2458 ท่านเข้าไปหาพระอ.มั่นที่วัดบูรพาราม อุบล - เห็นพระอ.มั่นเดินจงกรม ท่านจึงนั่งสมาธิรออยู่ที่โคนต้นมะม่วง - เมื่อพระอ.มั่นเหลือบเห็น จึงเรียกขึ้นไปกุฎ แล้วพูดว่า "เราได้รอเธอมานานแล้ว อยากพบ และต้องการชักชวนให้มาปฏิบัติธรรมด้วยกัน"
- พระอ.สิงห์ตอบทันทีว่า "กระผมอยากมาปฏิบัติธรรมกับท่านพระอาจารย์มานานแล้ว"

- พระอ.มั่นสอนให้ท่านพิจารณากายคตาสติข้อ "ปัปผาสัง" ให้เป็นบริกรรม - เมื่อฝึกแล้ว ขณะที่ท่านกำลังสอนนักเรียน ท่านพิจารณากรรมฐานข้อนี้แล้วเพ่งไปที่นักเรียนในชั้น - ทุกคนกลายเป็นโครงกระดูก - ท่านสลดจิตอย่างมาก - ลาออกจากการเป็นครูและติดตามพระอ.มั่นไปทุกแห่ง

- ท่านปรารถนาพุทธภูมิ จึงเข้าป่าปฏิบัติ - ด้วยความวิริยะอุตสาหะพยายาม ท่านจึงรอบรู้เล่ห์กลอุบายกิเลสตัณหาแยบยล ตามฆ่าอาวะกิเลสต่าง จนสามารถรอบรู้นำหมู่คณะพระกรรมฐานเที่ยวอบรมสั่งสอนประชาชนให้ยึดไตรสรณคมและปฏิบัติธรรม

- ครั้งหนึ่งท่านกับพระอ.มหาปิ่นผู้เป็นพระน้องชาย และบรรดาพระอาจารย์ เดินธุดงค์ผ่านถึงปราจีนบุรี - ได้เปิดสำนักปฏิบัติธรรมขึ้นซึ่งเป็นป่าช้า - ชื่อเสียงการสั่งสอนและแสดงพระธรรมเทศนาของท่านลึกซึ้ง จับใจเป็นที่นิยม ได้สร้างความไม่พอใจแก่คนเลวบางคน - ถึงขนาดจ้างมือปืนมาฆ่าท่าน - แต่เกิดปาฏิหาริย์ ขณะมือปืนเล็งยิงท่าน - ต้นไม้ทุกต้นในป่าช้าสั่นไหวแกว่งไกวด้วยแรงพายุโบกสะบัด ต้นไม้ล้มระเนระนาด - มือปืนตกใจจะวิ่งหนี แต่ขาก้าวไม่ออก ปืนตก - มือปืนจึงก้มกราบ พร้อมกล่าวคำสารภาพผิด - ท่านได้อบรมจิตใจของมือปืนด้วยความเมตตาและปล่อยตัวไป
- ต่อมาผู้มีอิทธิพล ได้สำนึกและได้รับฟังธรรมะโอวาทจากท่าน เกิดปีติล้นพ้น เลื่อมใสฝากตัวเป็นลูกศิษย์ และชักชวนกันสร้างสำนักสงฆ์ถวายท่านเพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงคุณของท่านที่ได้เปิดตาเปิดใจพวกเขาให้ได้รับแสงสว่างธรรมะ - "วัดป่าทรงคุณ"

- เกิดวันจันทร์ 27 มค 2432- ขึ้น 7 คำ เดือน 4 ปีฉลู - บ้านหนองขอน อำนาจเจริญ
- สมเด็จพระมหาวีรวงศ์(ติสฺโส อ้วน) นิมนต์พระอ.สิงห์ให้ไปช่วยสร้างวัดป่าสาลวัน ให้เป็นวัดป่าต้นแบบพระวิปัสสนาธุระ
- ตลอดชีวิตของท่าน ได้ทุ่มเทงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา และอบรมสั่งสอน - ได้ตั้งกองทัพธรรที่วัดป่าสาลวัน - แม้มีอุปสรรคมากมาย ท่านก็ฝ่าฟันเอาชนะมาได้ด้วยธรรม
- อนุปาทิเสสนิพพาน 8 กย. 2507 -10.20 น. โรคมะเร็งเรื้อรังในกระเพาะอาหาร ณ วัดป่าสาลวัน - 73 ปี 51 พรรษา
_____________________________________________________________

4. หลวงปู่ดูลย์ อตุโล (พระราชวุฒาจารย์) - วัดบูรพาราม อ.เมือง สุรินทร์

- พระอริยะเจ้าผู้มีความสามารถเป็นเลิศในการสอนธรรม
- มีโวหารอันแหลมคม - เหมือนพี่ชายใหญ่สายพระอ.มั่น - เป็นสหธรรมิกกับพระอ.สิงห์ ขนฺตฺยาคโม - นิสัยเยือกเย็น, พูดน้อย, รักสงบ, จิตใจใฝ่วิเวกมาก - ชอบสวดมนต์บท "อรญฺเญ รุกฺขมูเล วา สุญฺญาคาเร วา ภิกฺขุโว..."

- เมื่อลป.ดูลย์นำข้อธรรมที่รู้เห็นไปกราบเรียนพระอ.มั่น ได้กล่าวยกย่องว่า "ถูกต้อง ดีแล้ว เอาตัวรอดได้ นับว่าไม่ถอยหลังอีกแล้ว ขอให้ดำเนินตามปฏิปทานี้ต่อไป"
- พระอ.มั่นได้สรรเสริญให้ปรากฎต่อศิษย์ทั้งหลายว่า
"ท่านดูลย์นี้ เป็นผู้มีความสามารถอย่างยิ่ง สามารถมีสานุศิษย์และผู้ติดตามมาประพฤติปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก"

- เกิดอังคาร 4 ตค 2431 - แรม 2 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด - บ้านปราสาท สุรินทร์
- บวชอายุ 22 ปี มหานิกาย ได้ฝึกกรรมฐาน โดยจุดเทียนขึ้น 5 เล่ม แล้วนั่งบริกรรมว่า "ขอเชิญปีติทั้ง 5 จงมาหาเรา" ท่านเพียรอยู่ตลอด แต่ไม่ปรากฎผลอันใดเลย
- อายุ 30 ปี ญัตติเป็นธรรมยุต - ออกพรรษาแรกท่านกับพระอ.สิงห์พากันไปฟังธรรมเทศนากับพระอ.มั่นที่วัดบูรพาราม อุบล เกิดความเลื่อมใสอย่างยิ่ง ซาบซึ้งถึงใจ ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน - ออกพรรษาแล้วติดตามพระอ.มั่นธุดงค์ - ได้ปรารภความเพียรอย่างอุกฤษฎ์แรงกล้า จนแสงแห่งพระธรรมเกิดขึ้น
- อนุปาทิเสสนิพพาน 30 ตค 2526 ที่วัดบูรพาราม สุรินทร์ -95 ปี 65 พรรษา
_____________________________________________________________

5. หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ - วัดป่านิโครธาราม บ้านหนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ อุดร

พระอริยเจ้าผู้มีดวงตาเห็นธรรม
- ท่านเป็นศิษย์ที่พระอ.มั่นมอบคำบริกรรมให้โดยเฉพาะ เพราะท่านมีราคะจริต - เบื้องต้นท่านให้คำว่า "กายเภทํ กายมรณํ มหาทุกฺขํ" - ต่อมาท่านให้เปลี่ยนว่า "เยกุชฺโฌ ปฏิกุโล"
- ท่านมีพระอ.ฝั้น, พระอ.กงมา เป็นสหธรรมิกออกธุดงค์

- เกิดอังคาร ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีขาล 2445 - บ้านดอนเงิน ต.แซแล กุมภวาปี อุดร
- อายุ 16-17ปี พ่อแม่พูดว่า "การบวชนี้ได้บุญมาก" - ทำให้ท่านอยากบวชทันที จึงบอกพ่อแม่ว่า "ต้องการบวช ถ้าได้บวชแล้วจะไม่สึก" - พ่อแม่จึงนำไปฝากเป็นศิษย์วัด
- 2461 บรรพชาเป็นสามเณร ได้พบหลวงปู่ดูลย์ อตุโล เกิดศรัทธาเลื่อมใส จึงได้ติดตามลป.ดูลย์

- ท่านได้ขอญัตติใหม่จากลป.เสาร์และพระอ.มั่น - แต่ท่านทั้ง2 ยังไม่ยินยอม ได้ให้เงื่อนไข "3 ให้" ที่ต้องปฏิบัติคือ-
1. ให้ฝึกภาวนาไปอีก 1 ปี
2. ให้ท่องหนังสือนวโกวาทให้จบ
3. ให้ท่องพระปาติโมกข์ให้จบ
- ท่านตั้งใจท่องนวโกวาท 4 วันจบ - ท่องปาฏิโมกข์ 7 วันจบ จึงได้ญัตติ

- 2496 สร้างวัดป่านิโครธาราม ต.หมากหญ้า หนองวัวซอ อุดร
- อนุปาทิเสสนิพพาน ณ รพ.รามา - 27 พค 2524 เวลา 04.00 -80 ปี 58 พรรษา
_____________________________________________________________

6. หลวงปู่ชอบ ฐานสโม- วัดป่าสัมมานุสรณ์ บ้านโคกมน ต.ผาน้อย อ.วังสะพุง เลย

พระอริยเจ้าผู้ทรงอภิญญา - 1. อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้, 2.ทิพโสต หูทิพย์, 3. เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนดใจผู้อื่น, 4.บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้, 5.ทิพจักขุ ตาทิพย์, 6. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป

- นิสัยชอบโดดเดี่ยวเที่ยวไปอยู่ในป่ากว้าง, ทำในสิ่งที่บุคคลอื่นทำได้ยาก, ไม่ชอบเกี่ยวข้องกับหมู่ชนพระเณร, องอาจเด็ดเดี่ยว, อดทนเป็นเลิศ, ไม่กลัวความทุกข์ยากลำบาก, เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย, กล้าได้กล้าเสียในการปราบกิเลส
- ท่านพระอ.มั่นออกปากชมท่ามกลางสภาสงฆ์ว่า
"ให้ทุกองค์ภาวนาให้ได้เหมือนท่านชอบสิ ท่านองค์นี้ภาวนาไปไกลลิบเลย"

- ท่านสามารถแสดงธรรมและสนทนาธรรมเป็นภาษาต่างๆ ได้หมด- เพียงกำหนดจิตดูว่าภาษานั้น เขาใช้พูดกันว่าอย่างไร - ท่านแสดงธรรมโปรดเทวดา พญานาค ตลอดจนภพภูมิต่างๆ ได้อย่างน่าอัศจรรย์
- การธุดงค์ของท่านโลดโผนมาก - ชอบเดินทางกลางคืนหรือจวนสว่างในคืนเดือนหงาย - เที่ยวไปอย่างอนาคาริกมุนี ผู้ไม่มีอาลัยในโลกทั้งปวง
- มีเสือตัวใหญ่ 2 ตัวกระโดดล้อมหน้าล้อมหลังเอาไว้ - ท่านเร่งสติสมาธิ แผ่เมตตากำหนดจิตเข้าข้างใน - สมาธิลึกเข้าไปจนถึงฐานของจิต ปล่อยวางสิ่งทั้งปวง - เมื่อถอนจิตออกมาปรากฎว่าเสือสองตัวได้หายไปแล้ว

- เดินทางไปหมู่บ้านกะเหรี่ยงกลางหุบเขา เพื่อโปรดพี่ชายท่านในอดีตชาติที่รักกันมาก ซึ่งได้เกิดมาเป็นกะเหรี่ยงชื่อเสาร์ ที่ต.ป่ายาง บ้านผาแด่น เชียงใหม่ - โปรดดึงเขาเข้าสู่สายทางธรรม - ต่อมานายเสาร์ได้บวชเป็นพระติดตามท่านตลอดชีวิต

- ท่านเป็นที่เคารพรักของเหล่าเทพยดา - บางคราวหลงกลางป่าหลายๆ วัน เดินทางจากพม่าจะเข้าไทย หลงป่าเจียนตายเพราะหิวกระหาย - เทวดาได้นำอาหารทิพย์มาใส่บาตร ท่านเล่าวว่า อาหารนั้นมีรสอร่อยส่งกลิ่นหอมหวนชวนชื่นใจ ฉันแล้วหายเมื่อย หายหิวไปหลายวัน
- ท่านทำสมาธิทั้งกลางวันกลางคืน - บางคราวพายุฝนกระหน่ำ น้ำป่าไหล ท่านต้องนั่งกอดบาตรจนสว่าง

- ท่านบรรลุธรรมขั้นสูงสุดปี 2487 พรรษาที่ 20 อายุ 43 ปี ที่ถ้ำบ้านหนองยวน พม่า
- ท่านเป็นพระทรงอภิญญา ล่วงรู้สิ่งลึกลับที่คนธรรมดามองไม่เห็น เช่น เทวบุตร เทวดา อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ พญานาค ภูตผีปีศาจมากมาย - แม้แต่ความรู้สึกนึกคิดภายในใจของคน ท่านก็สามารถล่วงรู้ได้
- หลวงปู่มั่นได้ไว้วางใจมอบหมายให้ท่านช่วยดูแลพระเณรที่คิดอะไรนอกลู่นอกทาง ไม่ถูกต้องตามครรลองของผู้ทรงศีลธรรม ท่านก็จะตักเตือน - ท่านมีความรู้ภายในว่องไวไม่แพ้หลวงปู่มั่น - พระเณรทั้งหลายจึงเกรงกลัวท่านมาก

- ท่านระลึกชาติรู้อดีตชาติของท่านเองว่าเคยเกิดเป็นอะไรมาบ้าง - เคยเกิดเป็นพระภิกษุรักษาศีลอยู่กับพระอนุรุทธะ - เคยเป็นสามเณรน้อยลูกศิษย์พระมหากัสสปะ - เคยเกิดเป็นท้าวมหาพรหมในพรหมโลก และเป็นสัตว์หลายชนิด
- เกิดวันพุธ 12 กพ.2444 - ขึ้น 5 ค่ำเดือน 3 ปีฉลู - บ้านโคกมน วังสะพุง เลย
- ได้พบพระอ.มั่น ณ ป่าบ้านสามผง นครพนม - หลวงปู่มั่นได้ให้โอวาทสั้นๆว่า
"ท่านเคยภาวนามาอย่างไร ก็ให้ทำต่อไปเช่นนั้น อย่าได้หยุด - ธรรม 84,000 พระธรรมขันธ์ที่พระพุทธเจ้าท่านทรงแสดงไว้นั้น มันก็อยู่ที่ใจเรานี่แหละ - ถ้าอยากรู้อยากเห็นธรรมเหล่านั้น ก็ให้ค้นหาเอาที่ใจของท่านเอง"
- 2501 ชาวบ้านถวายที่สร้างวัดร้อยกว่าไร่ - ท่านจึงได้รับสร้างเป็นวัดป่าสัมมานุสรณ์
- 2514 ป่วยเป็นอัมพาต
- อนุปาทิเสสนิพพาน 8 มค.2538 - วัดป่าสัมมานุสรณ์ -93 ปี 70 พรรษา
____________________________________________________________

7. หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร - วัดถ้ำผาบิ้ง บ้านนาแก ต.ผาบิ้ง อ.วังสะพุง เลย

พระอริยเจ้าผู้มีปฏิปทามักน้อยสันโดษ หาผู้เสมอได้ยาก
- เดิมท่านนับถือศาสนาคริสต์ แต่นิสัยน้อมทางธรรมตั้งแต่เด็ก
- 7 ขวบ มองดูสายน้ำที่ไหลไปไม่มีวันกลับ - ท่านคิดพิจารณาเทียบชีวิตคนที่ล่วงตายไป ไม่มีวันกลับคืนได้เหมือนสายน้ำ - จึงภาวนาโดยอาศัยสายน้ำเป็นอารมณ์
- 9 ขวบ จิตตกภวังค์ นิมิตเห็นแสงสว่างคล้ายสีรุ้ง - ชอบพระกรรมฐานและการออกบวชอย่างมาก

- พระอ.มั่นยกย่องว่า "เป็นผู้ทรงธุดงค์ธรรม ว่าด้วยความเป็นผู้มักน้อยสันโดษ หาผู้ใดยุคปัจจุบันเสมอได้ยาก"
- เป็นผู้มีความเพียรกล้า- อยู่ง่ายไปเร็ว ชอบท่องเที่ยวไปตามป่าเขา ไม่ติดสถานที่ - ชอบอยู่ป่าและถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร - เป็นศิษย์ที่เข้าใจในอัชฌาศัยของพระอ.มั่นเป็นอย่างดี - สามารถนิมนต์ท่านพระอ.มั่น เข้ามาอยู่จำพรรษาที่วัดบ้านหนองผือได้ จนกลายเป็นสำนักกรรมฐานที่เลื่องชื่อ ผลิตพระอริยะเจ้าเข้าสู่ตลาดมรรคผลนิพพาน
- ท่านได้รับอุบายธรรมสำคัญจากสหธรรมิกเพชรน้ำหนึ่งคือ หลวงปู่ขาว อนาลโย - ด้วยอุบายธรรมแยบยลจากเพื่อนนี้เอง หลวงปู่หลุยจึงได้กล่าวว่า
"การภาวนาจะเป็นไปได้ด้วยดีนั้น นอกจากจะต้องมีครูบาอาจารย์ที่ดีแล้ว ก็ควรจะต้องมีกัลยานมิตรที่ดีด้วย"
-2507 พรรษา 40 ท่านถึงที่สุดแห่งธรรมด้วยวิชาม้างกาย ที่ถ้ำกกกอก อ.วังสะพุง เลย

- เกิดอังคารที่ 3 ปีฉลู - ต.กุดป่อง เลย
- จำพรรษากับลป.เสาร์ที่วัดพระพุทธบาทบัวบก อุดร - ในพรรษานี้ท่านจิตรวมแล้วสะดุ้ง - พระอ.บุญสงสัยว่าการญัตติครั้งที่แล้วคงจะไม่ถูกต้อง จึงได้ให้ญัตติใหม่

- นิพพานจันทร์ 25 ธค 2532 เวลา 00.43 - รพ.หัวหิน ประจวบ - 88 ปี 64 พรรษา
_____________________________________________________________

8. หลวงปู่ขาว อนาลโย - วัดถ้ำกลองเพล อ.เมือง หนองบัวลำภู

พระอริยเจ้าผู้เป็นดั่งเพชรน้ำหนึ่ง
- มีหลวงปู่หลุย เป็นสหธรรมิกที่เกื้อกูลกันในทางธรรม
- ท่านมีใจเด็ดเดี่ยว, มุ่งมั่นในเป้าหมาย, มีเมตตาธรรมเป็นเลิศ, สง่างามประดุจช้างสาร - ท่านมีอดีตชาติเกี่ยวพันกับสัตว์ป่า มีช้างเป็นต้น - ไม่ว่าท่านจะไปเที่ยวที่ป่าเขาลึกเพียงไหน ช้างหัวหน้าฝูงมักจะเข้ามาหาคารวะท่าน - ท่านรู้ภาษาสัตว์ และสัตว์ก็รู้ภาษาของท่านอย่างดี

- เหตุที่ท่านออกบวช เกิดจากภรรยามีชู้ - เมื่อท่านพบภาพคาหนังคาเขาตามคำบอกเล่าชาวบ้าน ท่านจึงเงื้อดาบสุดแรงหมายจะฟันชายชู้และภรรยาชั่ว - แต่เผอิญชายชู้เห็นก่อนและได้ร้องขอชีวิต - ทำให้ท่านเกิดจิตเมตตา จึงเรียกชาวบ้านมาดูเหตุการณ์ พร้อมประชุมญาติและผู้ใหญ่บ้าน - ได้ปรับสินไหมด้วยเงิน พร้อมประกาศยกภรรยาให้ชายชู้อย่างเปิดเผย - ท่านสลดสังเวชจิตเป็นกำลัง จิตหมุนไปทางบวชเพื่อหนีโลกโสมม

- ท่านสามารถระลึกชาติย้อนหลังได้หลายชาติ - เคยเกิดป็นพระภิกษุ 1 ใน 500 รูปติดตามพระเทวทัต มิจฉาทิฐิ- แต่หลังจากได้ฟังธรรมจากพระสารีบุตร จึงหันกลับเข้ามาสู่ทางแห่งสัมมาทิฐิ- สถานที่ต่างๆ ที่ท่านอยู่จำพรรษา มักเป็นสถานที่เคยเกิดเป็นคนหรือสัตว์ต่างๆ ในอดีตชาติ

- ท่านบรรลุธรรมชั้นสุดยอดพรรษาที่ 16-17 ที่กลางทุ่งนา บ้านโหล่งขอด อ.พร้าว เชียงใหม่
- ท่านเล่าว่า "เย็นวันหนึ่ง เมื่อปัดกวาดเสร็จออกที่พักไปสรงน้ำ - เห็นข้าวในไร่ชาวเขากำลังสุกเหลืองอร่าม - เกิดปัญหาขึ้นมาว่า ข้าวมันงอกขึ้นมาเพราะมีอะไรเป็นเชื้อพาให้เกิด - ใจที่พาให้เกิดตายอยู่ไม่หยุด ก็น่าจะมีอะไรเป็นเชื้ออยู่ภายในเช่นเดียวกับเมล็ดข้าว - เชื้อนั้นถ้าไม่ถูกทำลายเสียที่ใจให้สิ้นไปจะต้องพาให้เกิดตายอยู่ไม่หยุด - ก็แล้วอะไรเป็นเชื้อของใจเล่า ถ้าไม่ใช่กิเลสอวิชชา ตัณหาอุปาทาน - ท่านก็คิดทบทวนไปมา โดยถืออวิชชาเป็นเป้าหมาย - พิจารณาย้อนหน้าถอยหลัง อนุโลมปฏิโลมด้วยความสนใจอยากรู้ตัวจริงแห่งอวิชชา - นับแต่หัวค่ำจนดึกไม่ลดละการพิจารณาอวิชชากับใจ

- พอจวนสว่าง จึงตัดสินกันลงได้ด้วยปัญญา - อวิชชาขาดกระเด็นออกจากใจไม่มีอะไรเหลือ - ยุติที่ข้าวสุก หมดการงอกอีกต่อไป - การพิจารณาจิต มาหยุดกันที่อวิชชาดับ กลายเป็นจิตสุก เช่นเดียวกับข้าวสุก - จิตหมดการก่อกำเนิด เกิดในภพต่างๆ อย่างประจักษ์ใจ- สิ่งที่เหลือให้ชมอย่างสมใจคือความบริสุทธิ์แห่งจิตล้วนๆในกระท่อมกลางเขา"

- เกิดอาทิตย์ 28 ธค 2431 - ปีชวด บ้านบ่อชะเนง ต.หนองแก้ว อำนาจเจริญ
- อุปสมบท 2 พค 2432 จำพรรษาวัดที่บวช 6 ปี - สังเกตดูครูอาจารย์เพื่อนพระสามเณร ประพฤติปฏิบัติพระธรรมวินัยลุ่มๆดอนๆ -ไม่สมเจตนาที่ออกบวชเพื่อมรรคผลนิพพาน - จึงกราบลา ตามหาพระอ.มั่น - ได้จำพรรษากับพระอ.มั่นปีแรกที่เชียงใหม่ ท่านเร่งความเพียรแทบไม่ได้หลับนอน
- ญัตติเมื่อ 14 พค 2468 - หลวงปู่ขาวเป็นนาคซ้าย, หลวงปู่หลุยเป็นนาคขวา - หลวงปู่หลุยบวชก่อน 15 นาที
- อนุปาทิเสสนิพพาน ณ วัดถ้ำกลองเพล หนองบัวลำภู - จันทร์ 16 พค 2526 - 94 ปี 57 พรรษา






Create Date : 20 มีนาคม 2553
Last Update : 1 กันยายน 2554 20:05:11 น.
Counter : 47622 Pageviews.

3 comment
1  2  

Kat_kine
Location :
ปทุมธานี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 18 คน [?]