*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
เสื้อแดงบุก รพ.จุฬาลงกรณ์ฯ และ เสื้อแดง กับ รพ.ตำรวจ

เหตุการณ์เมื่อสองสามวันก่อนมีการประโคมข่าวโดยสื่อสารมวลชน และ ผู้บริหาร ร.พ.จุฬาฯ ว่า กลุ่มเสื้อแดงช่างชั่วช้า บุกได้แม้กระทั่ง ร.พ. ซึ่งในภาวะสงครามเขายังไม่ทำกัน ซึ่งผมก็ว่า การกระทำดังกล่าวไม่เหมาะสมเลย แต่แน่นอนที่สุด น่าจะลองเปรียบเทียบว่า ทำไม ร.พ. ตำรวจ จึงยังคงให้การรักษาตามปกติ ทั้ง ๆ ที่อยู่ติดกับผู้ชุมนุมเลย แล้วยังถูกปิดเส้นทางเข้าออก จนเหลือทางเดียว คือ ถนนอังรีดูนังต์ แต่ในขณะที่จุฬา อยู่ห่างไกลจากผู้ชุมนุมมาก เมื่อเปรียบเทียบกับ ราชประสงค์ที่มีผู้ชุมนุมหนาแน่นมาก ๆ

ในขณะที่ รพ.ตำรวจ เห็นผู้ชุมนุม เป็นคนเหมือนกัน ประกาศโครงการ "อโรคา" พร้อมจะดูแลรักษาคนป่วยทุกประเภท รวมทั้งผู้ชุมนุมด้วย แต่ รพ.จุฬาฯ เคยประกาศ ไม่รับรักษา ผู้เจ็บป่วยบางประเภท ได้แก่ ข้าราชการตำรวจ ที่เคยปฏิบัติตามหน้าที่ในการสลายผู้ชุมนุม (เสื้อเหลือง)

ในขณะที่ แพทย์ รพ.ตำรวจ ไม่เคยประณามการชุมนุมของกลุ่มใด ไม่ว่าจะเหลือง หรือ แดง หรือ หลากสี แต่แพทย์ รพ.จุฬาฯ ร่วมเป็นแกนนำในกลุ่มบางสี โดยเฉพาะเหลือง และ หลากสี หรือ ชมพูแปลงร่าง

แพทย์ รพ.จุฬาฯ ยังมีท่าทีสนับสนุนฝ่ายเสื้ออื่น ๆ ที่ไม่ใช่เสื้อแดงตลอดมา รวมถึงการประโคมข่าวว่า เสื้อแดงทำร้าย หรือ ทำลาย ร.พ. พร้อมกับสาบแช่งกลุ่มเสื้อแดง ผ่านอีเมลล์ สื่อสารมวลชน พร้อมกับ การให้สัมภาษณ์ผ่านรายการวิทยุ พร้อมกับคำสาปแช่งต่าง ๆ นานา ... ก็ยังงง เป็นอีเมลล์ของแพทย์จริงหรือไม่ เพราะมีการแถลงการณ์ว่า แพทย์ รพ.จุฬาฯ เป็นกลาง พร้อมจะทุ่มเทฯลฯ

ในขณะที่ แพทย์ และ จนท. รพ.ตำรวจ พร้อมที่จะดูแลคนไข้ทุกประเภท แถมยังเปิดให้บริการกับผู้ป่วยทุกคนเหมือนปกติ ราวกับไม่มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้น แพทย์ และ จนท.ของ รพ.จุฬาฯ บอกว่า "รู้สึกไม่ปลอดภัย" ขอปิดให้บริการทั้งหมด .... พร้อมกับย้ายคนไข้ออกทั้งหมด




บางคนก็ให้เหตุผลว่า แม้แต่โจรใต้ยังไม่เคยบุกโรงพยาบาล แดงเลวกว่าโจรใต้ ฯลฯ อะไรทำนองนั้น ผมว่า ท่านที่ให้เหตุผลนี้ อ่อนเรื่องข้อเท็จจริงและข่าวสารมาก ๆ เพราะจริง ๆ มีการบุกและฆ่าเจ้าหน้าที่ ร.พ. บ่อยครั้งในภาคใต้ เช่น ที่ รพ.บันนังสตา ไล่ยิงบุคลากรทางการแพทย์ “อสม.-ลูกจ้างโรง" ซึ่งมีข่าวจากทีมข่าวอิศรา ก็รายงานว่า "ใต้ป่วนคนร้ายลอบวางระเบิดหน้าโรงพยาบาลบันนังสตา ตูมสนั่นคนไข้ แพทย์ พยาบาลผวา โชคดีไร้คนเจ็บ ส่วนที่เมืองยะลา ซุกบึ้มใส่กระติกวางหน้าร้านขายชานมไข่มุก ชาวบ้านเจ็บ 4 ยิงรายวันยังเพียบ เหยื่อมีทั้งหนุ่มรับจ้างกรีดยาง และบุคลากรทางการแพทย์ "อสม.-ลูกจ้างโรงพยาบาล" ด้าน ผบ.พตท.สั่งคุมเข้มทุกพื้นที่ เน้นนราธิวาส หลังมีข่าวแนวร่วมจ้องป่วนเรียกความสนใจจากโอไอซี

สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ช่วงปลายเดือน เม.ย.ต่อเนื่องต้นเดือน พ.ค. ยังคงเกิดเหตุรุนแรงขึ้นบ้างประปราย โดยเมื่อเวลา 17.10 น.วันเสาร์ที่ 1 พ.ค.2553 พ.ต.ท.วิชัย แจ้งสกุล รองผู้กำกับการ สภ.บันนังสตา จ.ยะลา รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.) ของโรงพยาบาลบันนังสตาว่า เกิดเหตุระเบิดขึ้นบริเวณหน้าโรงพยาบาล ทำให้ผู้ป่วย ตลอดจนแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ต่างตื่นตระหนกไปตามๆ กัน จึงรีบนำกำลังรุดไปตรวจสอบ

ทั้งนี้ จุดเกิดเหตุอยู่บริเวณใต้ป้ายชื่อโรงพยาบาล ใกล้กับประตูทางเข้า ทำให้ป้ายชื่อที่ทำด้วยไม้ได้รับความเสียหาย แต่ไม่มีผู้ใดได้รับอันตราย ห่างกันเล็กน้อยเจ้าหน้าที่พบเศษกล่องพลาสติก ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนโทรศัพท์มือถือ และเศษสายไฟกระจัดกระจายเป็นวงกว้าง จึงเก็บรวบรวมไว้เป็นหลักฐาน

สอบสวนทราบว่า ก่อนเกิดเหตุมีวัยชายรุ่น 4 คนขี่รถจักรยานยนต์ยี่ห้อฮอนด้า รุ่นเวฟ ไม่ทราบสีและหมายเลขทะเบียน ซ้อนท้ายกันมา 2 คัน ป้วนเปี้ยนอยู่ใกล้ๆ จุดเกิดขึ้น จากนั้นได้ขี่รถจักรยานยนต์คันหนึ่งเข้าไปในโรงพยาบาล ส่วนอีกคันรออยู่ด้านหน้า เมื่อรถที่เข้าไปในโรงพยาบาลออกมา ทั้งหมดก็พากันออกรถมุ่งหน้าไปทางบ้านเงาะกาโป หมู่ 3 ต.บันนังสตา จากนั้นไม่นานก็เกิดระเบิดขึ้น เบื้องต้นตำรวจสันนิษฐานว่า คนร้ายลอบนำระเบิดแสวงเครื่องจุดชนวนด้วยโทรศัพท์มือถือ ใส่ในขวดนมพลาสติกน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ใส่ถุงไปวางไว้ที่ใต้ป้ายโรงพยาบาล แล้วจุดชนวนระเบิด คาดว่าเป็นฝีมือของกลุ่มก่อความไม่สงบ

ก่อนหน้านั้น 1 วัน เกิดเหตุคนร้ายไม่ทราบจำนวนดักซุ่มอยู่ข้างทาง ใช้อาวุธสงครามอาก้ายิงถล่มรถกระบะของ นายหามะ เวอะเยาะ อายุ 48 ปี ชาว อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส ขณะขับรถอยู่บนถนนในหมู่บ้านกือลอง–คีรีราช หมู่ 2 ต.ตลิ่งชัน อ.บันนังสตา ส่งผลให้รถพรุนไปทั้งคัน แต่โชคดีที่นายหามะไม่ได้รับอันตราย"

มีข่าวอยู่เยอะแยะ แต่ว่า ผู้ให้ข้อมูลด้านเดียวก็บอกว่า ไม่มี ซึ่งผมขอย้ำว่า ไม่ได้ชื่นชมการกระทำดังกล่าวเลย แต่ว่า ลองค้นดูหาสาเหตุของเรื่องดีไหมครับ แล้วแก้ไขให้ถูกจุด ทำไม รพ.จุฬาฯ จึงไม่น่าไว้วางใจสำหรับคนบางกลุ่ม ฯ ต้องย้อนดูประวัติศาสตร์ แล้วหาทางแก้ไขให้ถูกต้องครับ







ลองมาดูภาพที่ตั้ง และ ขอนำเสนอ บทความในอีกแง่มุมหนึ่งต่อเหตุการณ์นี้









นับตั้งแต่การย้ายพื้นที่ปักหลักการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงจาก “ผ่านฟ้า” มายัง “แยกราชประสงค์” ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายนนั้น กล่าวได้ว่ามีสถานพยาบาลและผู้มารับบริการได้รับผลกระทบจากเสียงและการจราจรที่ไม่สะดวกสบายจากกลุ่มผู้ชุมนุมอยู่พอสมควร สถานพยาบาลที่อยู่ติดกับบริเวณที่ผู้ชุมนุม มี 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลตำรวจและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ความเหมือน–ความต่าง จากการได้รับผลกระทบของโรงพยาบาลตำรวจ–จุฬาฯ
1 และถนนราชดำริ มีพื้นที่ติดกับกลุ่มผู้ชุมนุมโดยตรง ได้รับเสียงจาการปราศรัยบ้าง แต่เมื่อเข้าไปยังอาคารต่างๆ พบว่าเสียงไม่ได้เล็ดลอดเข้าไปมากนัก ทางเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลกล่าวว่า แม้จะได้รับผลกระทบจากเสียงบ้าง แต่ก็ไม่ถึงกับไม่สามารถทนได้ แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ในส่วนต่างๆ ยังคงปฏิบัติหน้าที่อย่างเช่นทุกวัน มีการเปิดรับการรักษาทุกแผนก คนไข้ยังคงรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลอย่างหนาแน่นเป็นปกติ แม้จะมีการย้ายผู้ป่วยบางส่วนออกไปบ้างตั้งแต่ในช่วงแรกๆ เจ้าหน้าที่ดูไม่มีความรู้สึกกลัวหรือหวาดระแวงกลุ่มคนเสื้อแดงแต่อย่างใด การดูแลรักษาความปลอดภัยยังคงมีแค่พนักงานรักษาความปลอดภัยเช่นปกติเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีการเปิดให้กลุ่มผู้ชุมนุมได้เข้าใช้ห้องน้ำและพื้นที่บางส่วนของโรงพยาบาลในการพักผ่อนอาศัยหลับนอนอีกด้วย

โรงพยาบาลจุฬาตั้งอยู่บนถนนพระรามที่ 4 และ ถนนราชดำริ ถ้าเปรียบเทียบความใกล้ไกลกับที่ชุมนุมและความหน้าแน่นของผู้ชุมนุมนั้น กล่าวได้ว่าบริเวณโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีจำนวนผู้ชุมนุมเบาบางกว่าอย่างเห็นได้ชัด

ข้อน่าสังเกตคือ โรงพยาบาลตำรวจซึ่งมีพื้นที่อยู่ในวงล้อมของผู้ชุมนุมราวไข่แดงกลับไม่มีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหรือมีการงดให้บริการการรักษา ทั้งๆ ที่พื้นที่บริเวณนั้นน่าจะมีความเสี่ยงมากกว่า น่าจะได้รับผลกระทบมากกว่า ขณะที่โรงพยาบาลจุฬาฯ มีการย้ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลจำนวนมากหลายระลอกเนื่องจากกังวลถึงความไม่ปลอดภัยจากกลุ่มผู้ชุมนุม

สำหรับเหตุการณ์การบุกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ของกลุ่มคนเสื้อแดงเพื่อตรวจหากำลังทหารที่พวกเขาเชื่อว่าซ่อนตัวอยู่นั้น ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงความไม่เหมาะสมและความไม่เคารพในสถานพยาบาล ภาพที่ปรากฏตามสื่ออาจทำให้คนรู้สึกว่ากลุ่มผู้ชุมนุมเข้าไประรานผู้ป่วยที่กำลังรักษาตัวอยู่อย่างไร้มนุษยธรรม แต่ในข้อเท็จจริงของวันเกิดเหตุ(29โรงพยาบาลตำรวจตั้งอยู่บนถนนถนนพระรามที่ เม.ย.) ตึกที่ถูกสำรวจไม่มีคนไข้อยู่ ส่วนตึกที่มีคนอยู่ไม่มีการขอสำรวจ เรื่องนี้ดูเหมือนพูดถึงกันน้อยกว่าที่ควรจะเป็น

นอกจากนี้ยังมีแพทย์บางคนถึงกับออกมากล่าวว่า “คนที่ poor hygiene เดินพล่านทั่ว รพ. พาเชื้อโรคกระจายทั่วรพ. มันลำบาก การติดเชื้อซ้ำใน รพ. เป็นอะไรที่ลำบาก เชื้อดื้อยา รักษายาก ประสบการณ์ผมถ้าติดเชื้อ a.baumanii ในกระแสเลือดเรียกว่าตาย 90%”

แม้ตั้งใจหรือไม่ก็ตาม แต่ข้อความดังกล่าวดูจะไม่ช่วยทำให้สถานการณ์ดีขึ้นนัก ทั้งยังอาจทำให้เกิดความไม่แน่ใจว่า ความผิดของกรณีนี้อยู่ที่การบุกเข้าไปในโรงพยาบาล หรือการที่คนบุกเข้าไปนั้นเป็นคนประเภท “poor hygiene” ?

ลำดับเหตุการณ์เย็นวันที่ 29 เมษายน 2553
แม้การกระทำดังกล่าวเป็นเรื่องไม่อาจยอมรับได้สำหรับสังคม แต่การพูดถึงมัน หรือวิพากษ์วิจารณ์มันก็ควรอยู่บนฐานของข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นทั้งหมด กล่าวอย่างตรงไปตรงมา ผู้เสพข่าวทั่วไปกับผู้อยู่ในเหตุการณ์อาจมองเห็นความร้ายแรงในระดับที่แตกต่างกันพอสมควร

เย็นวันที่ 29 เมษายน ที่ด้านหลังเวที แกนนำ นปช.อันประกอบด้วย เหวง โตจิราการ,จตุพร พรหมพันธ์ และพายัพ ปั้นเกตุ เริ่มการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนอย่างเช่นทุกๆ วัน โดยพายัพกล่าวว่า เมื่อช่วงเย็นที่ผ่านมาเขาและการ์ดจำนวนหนึ่งได้เข้าไปสำรวจพื้นที่บริเวณโรงพยาบาลจุฬาฯ เนื่องจากหวาดระแวงสงสัยว่ามีเจ้าหน้าที่ทหารเข้าไปประจำบนตึกสูงของโรงพยาบาล เพราะก่อนหน้านั้นมีการย้ายผู้ป่วยออกไปแล้ว ส่งผลให้ตึกสูง 2 ตึกของโรงพยาบาลว่างเปล่า ประตูต่างๆ ถูกปิดล็อกและทั่วทั้งอาคารปิดไฟมืด

พายัพยืนยันกับสื่อมวลชนว่า เขาเห็นบุคคลต้องสงสัยจำนวนหนึ่งอยู่บนอาคารชั้น 3 จริง แต่ไม่สามารถขึ้นไปตรวจสอบได้เนื่องจากทางโรงพยาบาลไม่อนุญาต ผู้สื่อข่าวหญิงคนหนึ่งจึงถามว่ามีรูปถ่ายหรือหลักฐานอะไรมายืนยันข้อเท็จจริง พายัพตอบว่าเขาไม่สามารถถ่ายภาพในระยะของตึกสูงได้ จตุพร จึงกล่าวว่าถ้าอย่างนั้นก็ไปดูกันตอนนี้เลยว่ามีจริงหรือไม่ โดยให้พายัพเป็นผู้นำไป

ด้วยการตัดสินใจที่ “ปัจจุบันทันด่วน” ทำให้แกนนำบางคน เช่น ฌอน บุญประคอง มีสีหน้าตึงเครียด แต่เมื่อสื่อมวลชนต้องการความจริง แกนนำก็ฉวยตอบสนองความต้องการด้วยการพาไปพบ “ความจริง” ด้วยกัน พายัพจึงได้นำทีมการ์ดและผู้สื่อข่าวไปตรวจสอบรพ.จุฬาฯ ในทันทีทันใด

ระหว่างทางไป กองทัพสื่อมวลชนประมาณ 40-50 คน เดินบ้าง วิ่งบ้าง ซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์บ้าง จากเวทีใหญ่มุ่งหน้าโรงพยาบาลจุฬาฯ ผู้สื่อข่าวหญิงคนดังกล่าวได้ขอขึ้นรถมอเตอร์ไซค์คันเดียวกับพายัพด้วย เห็นได้ชัดว่ามีท่าทีเป็นมิตรกันอย่างมาก เมื่อไปถึงก็มีการเจรจากับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลแต่ได้รับการยืนยันว่าไม่อนุญาตให้ขึ้นไปตรวจสอบ

สักครู่หนึ่งมีแพทย์และเจ้าหน้าที่ระดับสูงได้อนุญาตให้กลุ่มการ์ดและสื่อมวลชนประมาณ 100 คน เข้าไปตรวจสอบยังอาคารดังกล่าว โดยตึกที่ขอไปตรวจสอบนั้นเรียกได้ว่าเป็น “ตึกเปล่า” เนื่องจากได้มีการย้ายคนไข้ไปก่อนหน้านี้แล้ว ไม่เหลือคนไข้อยู่เลย เว้นแต่เพียงเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและพยาบาลบางส่วน การผ่านประตูต่างๆ มีการไขกุญแจเปิดให้โดยเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลจุฬาฯ เอง ไม่มีการงัดแงะ ทุบทำลายสิ่งของของโรงพยาบาล ทุกอย่างดูเหมือนผ่านไปด้วยดี จะมีบ้างก็เพียงบริเวณลานจอดรถที่มีการ์ดกลุ่มหนึ่งพยายามใช้กุญแจของตัวเองไขเข้าไปแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ

การเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ ได้รับความกรุณาจากแพทย์และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลเป็นผู้นำทางไปด้วยตนเองตามหลังด้วยการ์ดและขบวนสื่อมวลชนที่ได้แยกย้ายกันไปดูตามบริเวณต่างๆ แต่ก็ไม่พบสิ่งผิดปกติใดๆ

จนกระทั่งมีผู้พบเห็นชาย 2 คนมีท่าทางลับๆ ล่อๆ อยู่บนตึกที่ติดกับสถานที่ที่มีการดำเนินการก่อสร้างอยู่ การ์ดจึงได้ขึ้นไปตรวจสอบ และนำตัวลงมาด้านล่าง หลังการตรวจสอบพบว่า ไม่ใช่ทหาร เป็นแต่เพียงคนงานก่อสร้างที่ทำงานอยู่บริเวณนั้นเท่านั้น พวกเขากล่าวว่า เมื่อเวลาประมาณ 17.00 น.เขาพบเห็นทหารประมาณ 150 คน อยู่ด้านหลังตึกสก.ของโรงพยาบาลจริง แต่เมื่อมีการแถลงข่าวของแกนนำว่าจะมีการตรวจค้นโรงพยาบาล กลุ่มทหารเหล่านั้นก็หายไป

หากจะกล่าวถึงกรณีการคุกคามสื่อดังที่มีประเด็นปรากฏนั้น เท่าที่สังเกตดูตลอดทั้งเหตุการณ์ตั้งแต่ต้นจนจบก็ไม่พบเห็นพฤติกรรมอันเรียกได้ว่าคุกคามสื่อ จะมีก็แต่เพียงการร้องเรียกให้สื่อทำหน้าที่ในการไปร่วมตรวจโรงพยาบาลร่วมกันว่ามีทหารอยู่จริงหรือไม่ โดยเรียกด้วยสรรพนามที่ออกจะน่ารักด้วยซ้ำ อาทิ “น้องคนสวย” – “น้องนักข่าวตัวเล็กๆ” แม้ในภายหลังจะมีข่าวออกมาว่าการพาสื่อบุกโรงพยาบาลครั้งนี้ทำให้“นักข่าวสาววัย 25 ขวบคนหนึ่งก็ต้องตกอยู่ในอาการจิตตกอย่างถึงที่สุด” เรื่องนี้สร้างความงุนงงในคนร่วมเหตุการณ์พอสมควร หากจำไม่ผิดนักข่าวคนดังกล่าวนั้นเองที่ซักถามความจริงว่ามีทหารอยู่จริงหรือไม่อย่างเอาเป็นเอาตาย และขอนั่งซ้อนมอเตอร์ไซค์ไปกับพายัพ ปั้นเกตุ เพื่อไปร่วม “ค้นหาความจริง” แม้จะมีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในวิธีการจนแกนนำจำนวนหนึ่งต้องออกมาขอโทษสังคม แต่มันก็คงไม่ใช่ความผิดของคนตั้งคำถาม หากแต่เพราะความจริงกลายเป็นหยดน้ำในทะเลทรายสำหรับประชาชนไทยผู้หิวกระหาย โดยเฉพาะบรรดาคนที่ poor hygine ซึ่งมักบ่นเสมอว่าสังคมนี้แห้งแล้งนัก



Create Date : 03 พฤษภาคม 2553
Last Update : 23 พฤษภาคม 2553 23:29:44 น. 4 comments
Counter : 2388 Pageviews.

 
ทักทายยามบ่าย สุขสันต์วันชดเชยแรงงานนะจ้า ^^


โดย: หาแฟนตัวเป็นเกลียว วันที่: 3 พฤษภาคม 2553 เวลา:15:12:14 น.  

 
ปายแวะมาอ่านบทวิเคราะห์ค่ะ


โดย: คนที่ใช่ ในวันที่ผิด วันที่: 3 พฤษภาคม 2553 เวลา:15:52:09 น.  

 
ฮัลโหลวันหยุด


โดย: nuyect วันที่: 5 พฤษภาคม 2553 เวลา:11:36:35 น.  

 
มาลงชื่อว่าอ่านแล้ว
เพิ่งคุยเรื่องนี้กับพรรคพวก
ในแง่มุมเดียวกันเลย



โดย: เฒ่าน้อย วันที่: 6 พฤษภาคม 2553 เวลา:9:28:33 น.  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.