*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
ตัวแบบการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง : Nepal (2)

การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งนั้น ความจริง เป็นเรื่องยากมาก ๆ เพราะทุกฝ่ายมักจะยืนกันคนละที่ และไม่มีทางที่จะมายืนบนจุดเดียวกันได้ หากขาดกระบวนการ Transform Conflict ที่เกิดขึ้นนั้น ดังนั้น ใครคิดจะจัดการปัญหาความขัดแย้ง อาจจะเหนื่อยมากมาย และสุดท้ายอาจจะไม่สำเร็จ ก็ต้องทำใจกันว่า อย่างน้อยจะทำให้ปัญหาความขัดแย้งบรรเทาเบาบ้างลงบ้าง ก็พอแล้ว เพราะสังคมก็ต้องขัดแย้งกันเป็นธรรมดา โดยเฉพาะสังคมในระบอบประชาธิปไตย ถ้ากลัวความขัดแย้ง กลัวความไม่สงบสุข กลัวการเดินขบวนประท้วง ก็ต้องย้ายไปอยู่ประเทศคอมมิวนิสต์ จึงจะเป็นเช่นนั้นได้




การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางด้านความคิดและการเมืองในเนปาล ก็เช่นเดียวกัน ได้มีการดำเนินการหลายอย่างไปพร้อม ๆ กัน เช่น การตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อค้นหาความจริงที่เกิดขึ้นในสังคม (Truth & Reconciliation Committee) พร้อมกับการเยียวยาทางสังคม (Social Healing) การอำนวยความยุติธรรม (Social Justice) และการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยมีภาคเอกชนเข้าดำเนินการแก้ไขปัญหาโลกแตกที่เกิดขึ้นทุกประเทศ ได้แก่ ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น ปัญหาความไม่รับรู้และตื่นตัวเรื่องสิทธิมนุษยชน ปัญหาการไม่ตระหนักถึงหน้าที่ที่ต้องอุทิศต่อสังคม พร้อมกับปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดจากขึ้นจากปัญหาความแตกต่างด้านชนชั้นในสังคม




เนปาล ได้นำกระบวนการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งหลายตัวแบบมาดำเนินการพร้อม ๆ กันไป เช่น การตั้งคณะกรรมการขึ้นมาแสวงหาความจริงและคณะกรรมการสมานฉันท์ (The Truth & Reconciliation Committee) เพราะความจริงเท่านั้นที่จะทำให้คนที่มีความขัดแย้งกัน หากเป็นจริง ตรงไปตรงมา คู่กรณีจะรู้ว่า แท้จริง อาจจะเข้าใจอะไรผิดไป หรือ คนที่ทำผิดนั้น เป็นใคร จะมีกระบวนการดำเนินการกับผู้กระทำผิดนั้นอย่างไร กระบวนการสมานฉ้นท์ จะไม่อาจเป็นจริงได้เลย ถ้าผู้นำ หรือ ผู้ตัดสินบอกว่า "ลืม ๆ ไปซะ" โดยคิดว่า "ไม่ต้องลงโทษผู้กระทำผิด" หรือ ไม่ต้องความจริงให้กระจ่าง เมื่อทำความจริงให้กระจ่างแล้ว ก็อาจที่จะยากในการเยียวยาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ หากได้ค้นหาความจริง หรือ Root of Conflict ตั้งแต่ การยอมรับประวัติศาสตร์ความเลวร้ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม การขอโทษหรือการยอมรับผิดจากความจริงดังกล่าว และมีการกระบวนการ Healing มาเยียวยาพร้อมกับการลงโทษผู้กระทำผิดแล้ว ย่อมจะทำให้สังคมรู้สึกว่า "ความเป็นธรรม หรือ Fairness" อยู่จริงในสังคม และ เมื่อมีความยุติธรรม / Justice เกิดขึ้นจริง ๆ ภายใต้หลักนิติรัฐ ที่ว่า รัฐได้ออกกฎหมายโดยองค์กรที่มีอำนาจและชอบธรรม (Legality) ประกาศบังคับใช้กฎหมายล่วงหน้า ไม่บังคับใช้กฎหมายย้อนหลัง และบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค เท่าเทียม สิ่งเหล่านี้จะทำให้สังคมดำรงอยู่อย่างสงบสุขได้





สำหรับทฤษฎีการบริหารความขัดแย้งนั้น มีหลายตัวแบบ เช่น ตัวแบบสามเหลี่ยม A B C โดยมี D อยู่ตรงกลาง ทั้ง A หมายถึง Actors & Attitude ก็คือ คนที่เกี่ยวข้องในความขัดแย้ง และ ทัศนคติของคนมีความขัดแย้งในขณะนั้น B คือ Behavior ฿ Dynamics หรือ พฤติกรรมต่าง ๆ ของคนที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง และความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในสภาวะการณ์ต่าง ๆ และ C คือ Connector & Compatability -- Contradiction & Common Ground และ D คือ มาตรการต่าง ๆ ที่จะลงมือทำ เพื่อบรรเทาเบาบางปัญหานั้น โดยปกติ การกระทำการศึกษาในขั้นต้น ก็คือ การค้นหาว่ารากของปัญหา หรือ Root of Conflicts มันอยู่ตรงไหนบ้าง

หากจะกล่าวถึงเนปาล อาจจะรากเหง้าปัญหามาจากเรื่องชนชั้น ความไม่ยุติธรรมต่อคนในสังคม กับ ความยากจน รวมถึงปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น ทำให้สังคมไม่พัฒนา และกัดกร่อนความเจริญรุ่งเรืองของชาติ ในขณะที่ผู้นำประเทศของเนปาล คือ กษัตริย์ ร่ำรวยอย่างมาก แต่ประชาชน มีรายได้วันละ ประมาณ ๓๐ ถึง ๖๐ บาท ต่อวันเท่านั้น

ส่วนรากของปัญหาระหว่าง เสิ้อเหลือง เสื้อแดง นั้น อาจจะมีเรื่องของ บุคคลที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ทัศนคติ ต่อระบบการเมือง การรัฐประหาร หลักนิติรัฐ การบังคับใช้กฎหมายที่มีปัญหาเกี่ยวกับความเป็นธรรม ความเสมอภาค กับ ปัญหาในด้านทัศนคติต่อระบบการเมืองว่า ระบบประชาธิปไตย กับการเลือกตั้ง หลักการความโปร่งใส ฯลฯ รวมถึงความขัดแย้งเรื่องการพัฒนาและทรัพยากร ฯลฯ เป็นต้น เหล่านี้ จะเริ่มค้นหารากของปัญหากันอย่างไร จึงจะได้การยอมรับ ซึ่งอาจจะดำเนินการโดยรัฐบาลเป็นผู้ริเริ่มในการตั้งคณะกรรมการอิสระที่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายขึ้นมาค้นหาความจริง และเสนอตัวแบบอันนำไปสู่ความสงบสุขอย่างมั่นคง

เมื่อค้นหาปัญหาได้แล้ว ก็อาจจะมีต้องมีการศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหา ซึ่งอาจจะมี แนวทางในการแก้ไปปัญหาที่เราอาจจะทำนายไว้ได้ เช่น กรณีที่มีข้อเท็จจริงทั้งหมดแล้ว เราเห็นว่า สถานการณ์น่าจะเป็นไปทางบวก (best scenario) หรือ สถานการณ์ไปในทางลบ (worst scenario) หรือ สถานการณ์ที่ไม่เลวร้าย แต่ก็ไม่ดีนัก ( In between scenario) ซึ่งเมื่อแบ่งเป็น ๓ หนทางที่เป็นไปได้แล้ว เราก็อาจจะหาทางนำไปสู่หนทางที่เราต้องการ หรือ เป็นบวกที่สุด ได้ โดยนำเอาข้อเท็จจริงที่มีอยู่ ปัจจัยต่าง ๆ ตามทฤษฎี A B C D ที่ว่าไปแล้ว มาประยุกต์กับสถานการณ์




แนวทางหนึ่งที่มีการใช้บ่อย ๆ เมื่อมีปัญหาความขัดแย้ง คือ การเจราจา หรือ Negotiation. สำหรับการเจราจานั้น อาจจะเป็นการเจรจาแบบไม่มีผลบังคับ ไปยังฟ้องร้องคดีต่อศาล ( หรือ จาก Faciliator, Mediator, Court, Tribunal เป็นต้น) กระบวนการเจรจาที่ใช้ ก็ต้องมีคนกลาง มากำหนดกติกา โดยคนกลาง จะต้องเป็นบุคคลที่ทั้งสองฝ่ายไว้วางใจ เช่น กรณีเสื้อเหลืองเสื้อแดง หรือ เสื้อแดง กับรัฐบาล หากไม่มีคนกลางมาเจราจา ก็ยากที่จะหาข้อยุติได้ เพราะต่างฝ่ายจะต้องปกป้องสถานะของตัวเอง แต่คนกลางที่จะมาปฏิบัติหน้าที่ก็เป็นเรื่องยากมาก ที่จะหาคนที่ไม่มีอคติ ไม่มีความรู้จักกับฝ่ายที่ขัดแย้ง ไม่มีวัฒนธรรมร่วมจนเกิดความเสียหาย ฯลฯ เหล่านี้ ล้วนเป็นเรื่องยาก ในกรณีของการเจราจาของรัฐบาลปัจุจบันกับเสื้อแดง จึงอาจจะมีบุคคลที่ได้รับความนับถือทั้งสองฝ่ายไม่มากนัก เพราะในสังคมไทยที่ผ่านมาได้เลือกข้างจนหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัย องค์กรอิสระ หรือ องค์กรอื่น ที่เกี่ยวข้องกับคดีความ จะเห็นก็คงจะมี ศูนย์ศึกษาสันติวิธีของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่น่าจะพอเป็นไปได้ว่า จะเป็นคนกลางที่ดีได้





อนึ่งขอกล่าวเรื่อง วิธีการเจรจาของรัฐบาลกับเสื้อแดงสักเล็กน้อย ผมเห็นว่า สิ่งที่รัฐบาลเริ่มต้น ก็นับเป็นเรื่องที่ดี รัฐบาลไม่ควรกลัวเสียหน้า และ ควรที่จะเชิญแกนนำมาประชุม ตั้งแต่ก่อนที่พวกเขาจะเดินทางเข้ามาในกรุงเทพเสียด้วยซ้ำ ไม่ใช่รอจนถึงวันที่ไม่มีทางเลือก ก็ค่อยสร้างภาพการเจราจาขึ้นมา แต่อย่างน้อยก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำอะไร ครับ


ในขณะนี้ การเจราจาของทั้งสองฝ่าย เหมือนสร้างภาพ และการพูดอบรมกันเท่านั้น ไมได้มีความหมายอะไร อาจจะเป็นเพราะ ยังไม่ถึงระยะสุกงอมก็เป็นไปได้ แล้วอีกอย่างนะ กระบวนการเจรจานั้น มันต้องเริ่มจาก Dialoque ที่ต้องให้ทั้งสองฝ่ายเริ่มหันหน้ามาแสดงจุดยืน แล้วก็ต้องมีคนกลาง (Mediator/Facilitator) ที่เป็นที่ยอมรับ ไม่ใช่เอาคนกลางที่มีอคติเป็นเป็นผู้กำหนดกติกา เพราะมันเจ๊ง ตั้งแต่ยังไม่เริ่ม .. ในปัจจุบัน ดูเหมือนจะยังไม่ได้เริ่มจุดนี้ด้วยซ้ำไป เพราะเหมือนรัฐบาลก็สอนเสิ้อแดงในการเป็นเด็กดีของสังคม แต่เสื้อแดงก็บอกว่าจุดยืนของผมมีแค่เรื่องยุบสภา ... จะเดินต่อกันอย่างไร ถ้าไม่มีคนกลางที่มีความสามารถในการกำหนดกฎเกณฑ์การเจราจร และกรอบกติกา ที่จะนำไปสู่ Win-Win Resolution ได้

ผมเข้าใจว่า กระบวนการที่รัฐบาลใช้ตอนนี้ คงเป็นขั้นตอนระดับแรก แต่ถ้ารัฐบาลจะมีความจริงใจการแก้ไขปัญหา ก็ต้องมีคนกลางที่กำหนดกติกา และต้องใช้เทคนิควิธีหลายประการ การประชุมแบบพร้อมกันสองฝ่าย การประชุมที่ละฝ่าย ซึ่งจะต้องดำเนินการเป็นการลับ และจะต้องมีการค้นหา Common Ground ของทั้งสองฝ่ายให้ได้ ไม่ใช่ประชุมในลักษณะเปิดเผยแบบนี้ เพราะมันผิดหลักการเจราจา ในลักษณะ Interest-Based อย่างมาก

การค้นหา Commond Ground และ การเจรจาแบบ Interest-Based คือ การมีผลประโยชน์ร่วมกัน โดยให้แต่ละฝ่ายกล่าวว่าต้องการอะไรบ้าง เรียงลำดับกันไป จากนั้น ก็เอามา Interception กัน จัดเป็นกลุ่ม ๆ แล้วก็จะหาทางที่เป็นกลางร่วมกันทั้งสองฝ่ายได้ การกระทำที่กล่าวมา จะต้องไม่กระทำในลักษณะที่รัฐบาลกระทำอยู่ คือ การถ่ายทอดสด เพราะมันคือ การสร้างภาพ โดยทั้งสองฝ่ายจะพยายาม Defense จุดยืนของตน ซึ่งจะได้แค่ Win-Lose Resolution ไม่ได้ Win-Win Resolution แต่ประการใด ...

ประการสุดท้าย คือ การเจราจา มันต้องพูดความจริง ดังนั้น อาจจะมีการพูดล่วงเกิน ฯลฯ ซึ่งหากถ่ายทอดสด ก็จะไม่มีใครพูด ซึ่งไม่ได้อะไรเลย .... ในกระบวนการเจรจาทุกเรื่อง จึงต้องมีพันธะกรณีที่จะต้องเก็บเรื่องที่คุยกันไว้อย่างลับ มืดดำ ที่สุด ไม่อาจจะนำมากล่าวให้ใครฟังได้ และไม่อาจจะนำไปฟ้องร้องกันได้ -- อันนี้ เป็นหลักการสากลที่จะต้องยึดถือ ไม่เช่นนั้นแล้ว ก็จะไม่มีการเจราจาอย่างจริงใจกันแต่ประการใด




หากทั้งสองฝ่ายจริงใจจริงจัง ต้องเลิก Verbal Violence ก่อน คุณอภิสิทธิ์ และ สุเทพฯ ก็ต้องเลิกกล่าวหาพร้อมกับขอโทษฝ่ายเสื้อแดง ที่ไปกล่าวหาว่า เขาเป็น "ศัตรูของแผ่นดิน" หรือ "ล้มล้างสถาบัน" ส่วนเสื้อแดง ก็จะต้องเลิกใช้คำหยาบ ในการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล แต่ให้พูดตามเนื้อหาในทางความเป็นจริง







ถ้าไม่ทำแบบนี้ ... อีกชาติหนึ่งก็ไม่ได้อะไรหรอกครับ



Create Date : 30 มีนาคม 2553
Last Update : 8 มิถุนายน 2553 8:12:38 น. 1 comments
Counter : 2776 Pageviews.

 


โดย: จีนี่ในกระจกแก้ว วันที่: 30 มีนาคม 2553 เวลา:20:00:46 น.  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.